You are on page 1of 9

หน่วยที่ 2 : ความรู้ทวั่ ไปเกี่ยวกับภาษีอากร

1. ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1.1 หลักความเป็นธรรม
ความเป็นธรรมระหว่างผู้เสียภาษีด้วยกันเอง และระหว่างรัฐกับประชาชน แนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นธรรมทาง
ภาษีอากรมีรากฐานจาก
1. หลักความเป็นธรรมสัมบูรณ์ ผู้เสียภาษีทุกคนจะต้องเสียภาษีคนละเท่าๆกัน มีรากฐานมาจากแนวคิดที่ว่า ค่าใช้จ่ายของ
รัฐบาลควรกระจายไปยังประชาชน / ผูเ้ สียภาษีทุกคนในจำานวนที่เท่ากัน
จำานวนภาษี = รายจ่ายทั้งหมดของรัฐบาล / จำานวนผู้เสียภาษีอากร
ตัวอย่าง คือ ภาษีรัชชูปการ
ข้อเสีย : ภาระภาษีของผู้มีเงินได้ตำ่าสูงกว่าภาระภาษีของผู้มีรายได้สูง
2. หลักความเป็นธรรมสัมพัทธ์ แบ่งออกได้เป็นสองหลักย่อย คือ
2.1 หลักผลประโยชน์ ผูท้ ี่ได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการใดๆ ของรัฐ จะต้องเป็นผู้เสียภาษีเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
ในการผลิตสินค้าหรือบริการเหล่านั้นตามสัดส่วนหรือขนาดของประโยชน์ที่ตนได้รับ เช่น ภาษีการใช้ถนน ค่าธรรมเนียม
ผ่านทางหรือค่าใบอนุญาตทำาการต่างๆ
ข้อดี : จำานวนภาษีที่จัดเก็บสอดคล้องกับการใช้จ่ายในการผลิตสินค้าและบริการของรัฐ
ข้อเสีย : สินค้าและบริการสาธารณะหลายอย่างที่รัฐจัดสรรไม่อาจกำาหนดมูลค่าของประโยชน์ที่แต่ละคนจะได้รับ
หรืออาจวัดมูลค่าได้แต่เป็นประโยชน์ทางสังคม เช่น การเก็บค่าบำารุงการศึกษา เป็นต้น
2.2 หลักความสามารถในการเสียภาษี วัดจากทรัพย์สิน รายได้ หรือการใช้จ่ายของแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวโยงกับทฤษฎี
การเสียสละเท่ากัน แบ่งออกเป็น 3 ทฤษฎีดังนี้ คือ
1. ทฤษฎีการเสียสละสัมบูรณ์เท่ากัน ผู้เสียภาษีทุกคนควรเสียสละอรรถประโยชน์ในจำานวนที่เท่ากัน จึงต้องเก็บจาก
ผู้มีรายได้สูงมากกว่าที่จะเก็บจากผู้มีรายได้ตำ่ากว่า
2. ทฤษฎีการเสียสละตามสัดส่วนเท่ากัน ผูเ้ สียภาษีทุกคนควรเสียสละอรรถประโยชน์ในสัดส่วนเดียวกันทั้งหมด
3. ทฤษฎีการเสียสละส่วนเพิ่มเท่ากัน ผูเ้ สียภาษีทุกคนควรเสียสละอรรถประโยชน์ที่ตนมีอยู่จนกระทั่ง
อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มของผู้เสียภาษีแต่ละรายเท่ากัน เป็นการเก็บภาษีที่มีอัตราก้าวหน้ามากที่สุด
ข้อดี : ก่อให้เกิดความเป็นธรรมสองด้านด้วยกันคือ
- ความเป็นธรรมในแนวนอน : ความสามารถเสียภาษีในจำานวนเท่ากัน เสียภาษีในจำานวนที่เท่ากัน
- ความเป็นธรรมในแนวตั้ง : ความสามารถเสียภาษีในจำานวนแตกต่างกัน เสียภาษีในจำานวนที่แตกต่างกัน

1.2 หลักความแน่นอน
ความแน่นอนที่เกี่ยวกับภาษีอากรควรประกอบด้วยความแน่นอนในด้านต่างๆ ดังนี้
1.ความแน่นอนหรือแจ่มชัดในตัวบทกฎหมาย
2.ความแน่นอนในวิธีปฏิบัติจัดเก็บ ไม่เช่นนั้นแล้วจะชักนำาไปสู่การทุจริตของเจ้าหน้าที่
3.ความแน่นอนในด้านภาระภาษีว่าตกต้องกับผู้ใด
4.ความแน่นอนในการลดรายจ่ายของภาคเอกชน
5.ความแน่นอนในการทำารายได้แก่รัฐบาล

3. หลักความเป็นกลาง
มีโครงสร้างเป็นกลางทางเศรษฐกิจมากที่สุด ไม่เปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนรูปแบบการบริโภคหรือการออม
การแข่งขันผลิตสินค้าและบริการของผู้ผลิต ตลอดจนการทำางานกลไกของตลาด
ความเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางทางเศรษฐกิจของภาษีอากร พิจารณาได้ จากด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ด้านการบริโภค ภาษีที่เก็บจากสินค้าและบริการที่ที่มีความเป็นกลางในทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ภาษีการขายทั่วไป ซึ่ง
เก็บในอัตราที่เท่ากัน แต่รัฐบาลจงใจใช้ความไม่เป็นกลางทางเศรษฐกิจของภาษีอากร บิดเบือนรูปแบบของการบริโภคให้อยู่
ในลักษณะที่สังคมเห็นว่าเหมาะสมมากขึน้ เช่น การเก็บภาษีจากบุหรี่ สุรา หรือสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ในอัตราที่สูงเพื่อลดการ
บริโภค
2.ด้านการออมและการลงทุน รัฐบาลใช้ความไม่เป็นกลางทางเศรษฐกิจของภาษีอากรกระตุ้นให้เกิดการออมและการลงทุน
ให้เป็นไปในรูปแบบที่ต้องการมากขึ้น เช่น เก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่ตำ่าเพื่อกระตุ่นให้มีการออมมากขึ้น
เป็นต้น
3.ด้านการผลิต รัฐบาลใช้ความไม่เป็นกลางทางเศรษฐกิจของภาษีอากรแปรเปลี่ยนรูปแบบการผลิต เช่น ให้สิทธิประโยชน์
แก่การผลิตที่ใช้เครื่องจักรมากกว่าการใช้แรงงาน ทำาให้มีการเปลี่ยนแปลงการผลิตมาใช้เครื่องจักรมากขึ้น หรือเก็บจาก
วัตถุดิบนำาเข้ามาสูงกว่าทีผ่ ลิตได้ในประเทศ ทำาให้มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศสำาหรับการผลิตมากขึ้น เป็นต้น

4. หลักอำานวยรายได้
เป็นภาษีที่ทำารายได้สูงให้กับรัฐบาล จึงควรประกอบด้วยภาษีอากรน้อยประเภท แต่ละประเภทสามารถทำารายได้ให้
กับรัฐบาลได้สูง ดังนัน้ ลักษณะภาษีอากรที่อำานวยรายได้ให้กับรัฐบาลได้ดี ควรมีลักษณะดังนี้
ประการแรก เป็นภาษีอากรที่มีฐานกว้าง คือ ครอบคลุมจำานวนผู้เสียภาษีอากรจำานวนมาก และฐานภาษีที่เรียกเก็บ
ต้องมีขนาดใหญ่ด้วย เหมาะสมกับประเทศที่กำาลังพัฒนา ตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้ หรือภาษีการขาย เป็นต้น ข้อดี คือ ลดผลก
ระทบกระเทือนต่อการทำางานและการออม ฯลฯ
ประการที่สอง อัตราภาษีลักษณะก้าวหน้าเมื่อฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น รัฐบาลได้รับรายได้ภาษีอากรมากขึ้นใน
สัดส่วนที่สูงกว่าการขยายตัวของฐานภาษี
ปัจจุบันภาษีที่น่าอำานวยรายได้ คือ ภาษีมรดกหรือภาษีทรัพย์สิน แต่ยังไม่มีการบังคับใช้
* ภาษีมูลค่าเพิ่มมีลักษณะอำานวยรายได้พอสมควรเพราะเก็บจากการขายสินค้าและการให้บริการหลายชนิด และมีผู้
เสียภาษีมาก

5. หลักความยืดหยุ่น
เป็นระบบที่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึน้ การจัดเก็บภาษีอากรมากขึ้น ทำาให้
ลดการใช้จ่ายของภาคเอกชน ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา การว่างงานสูงขึน้ ส่งผลลดการจัดเก็บภาษี เพื่อที่รายได้ของประชาชน
จะได้ไม่ลดลงมากนักช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
หากเปรียบเทียบภาษีที่มีโครงสร้างอัตราตามราคากับอัตราตามสภาพ / อัตราต่อหน่วยแล้ว ภาษีที่ใช้อัตราตามราคา
จะแปรเปลี่ยนไปตามภาสะเศรษฐกิจได้มากกว่า เช่น ราคาสูง ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ถ้าราคาลดลง ภาษีที่จัดเก็บได้ก็จะลดลง
ในขณะที่อัตราภาษีตามสภาพภาษีที่จัดเก็บได้จะเท่าเดิมตลอด
ถ้าภาษีอากรใดมีความยืดหยุ่นสูง รายได้ภาษีอากรจะผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจได้มาก ทำาให้รายได้ภาษีอากร
ของรัฐบาลขาดความแน่นอน และในยามเศรษฐกิจตกตำ่าอาจทำารายได้ให้กับรัฐบาลไม่เพียงพอตามที่ต้องการได้

6. หลักประสิทธิภาพในการบริหาร
เป็นระบบที่เสียค่าใช่จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากรจะเกิดขึ้นทั้งภาครัฐ ผูจ้ ัดเก็บภาษี
และภาคเอกชนผู้เสียภาษี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับภาครัฐบาลเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง เจ้าหน้าที่ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลจ่ายจาก
ภาษีอากรที่เก็บมาได้จากประชาชน ฉะนัน้ ผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีอากรขั้นสุดท้ายก็คือประชาชน

2. โครงสร้างทั่วไปของภาษีอากร
2.1 ภาระภาษีและการผลักภาระภาษี
ภาระภาษี (incidence or burden of taxation) : ส่วนของรายได้ที่แท้จริงที่ลดลงอันเนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีอากร
ของรัฐบาล
ภาระภาษีแยกพิจารณาเป็นสองนัย คือ
1.ภาระภาษีตามกฎหมาย (statutory incidence) หรือภาระภาษีอย่างเป็นทางการ (formal incidence) : ภาระใน
จำานวนหนี้ภาษีอากรของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายกำาหนดไว้ โดยดูจากบุคคลที่กฎหมายกำาหนดให้เป็นผู้มีหน้า
ที่เสียภาษีเป็นสำาคัญ Ex. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือผู้ประกอบการ
2.ภาระภาษีในทางเศรษฐกิจ (economic incidence) หรือภาระภาษีที่แท้จริง (effective incidence) : ภาระของภาษีที่
ตกต้องอยู่กับบุคคลในขั้นสุดท้าย กล่าวคือบุคคลผู้นั้นไม่สามารถผลักภาระภาษีต่อไปให้ผู้อื่นได้อีกแล้ว Ex.ภาระภาษีที่แท้
จริงตกอยู่กับผู้บริโภคเพียงผู้เดียว (ผู้ประกอบการผลักภาระภาษี โดยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าและรับบริการ)

การผลักภาระภาษี (tax shifting) : การที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำาหนดถ่ายเทหรือแบ่งภาระภาษีบางส่วน


หรือทั้งหมดไปให้กับบุคคลอื่น มีอยู่สองวิธคี ือ
1.การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า (forward shifhing) : การผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นราคาสินค้าหรือ
บริการ Ex. ผูผ้ ลิตผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคสินค้า โดยการขึ้นราคาสินค้า
2.การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง (backward shifhing) : การผลักภาระภาษีไปให้เจ้าของปัจจัยการผลิตโดยการลดค่า
จ้างแรงงาน หรือกดราคาปัจจัยการผลิต Ex. ผูผ้ ลิตผลักภาระภาษีไปให้ไปให้เจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น
โดยการลดค่าจ้างแรงงาน หรือกดราคาปัจจัยการผลิต
ผลจากการผลักภาระภาษี คือ ภาระภาษีที่แท้จริงตกต้องอยู่กับบุคคลสามกลุ่ม คือ ผู้บริโภคสินค้า เจ้าของปัจจัยการ
ผลิต และผู้ผลิตสินค้านั้นเอง
การกำาหนดขอบเขตของการผลักภาระภาษี ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านด้วยกัน คือ
1.ระดับการแข่งขันของตลาด Ex. ตลาดผูกขาด ผู้ผลิตย่อมมีอำานาจในการกำาหนดราคาสินค้าได้มาก ผูผ้ ลิตสามารถ
ผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคโดยการขึ้นราคาค่าภาษีอากรได้ง่ายกว่าตลาดแข่งขัน
2.ลักษณะของสินค้า Ex. สินค้าที่มีความคงทนถาวร สามารถผลักภาระภาษีไปให้แก่ผู้บริโภคได้มากกว่าสินค้าที่เน่า
เสียง่าย
3.ประเภทของภาษีอากร Ex. ภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่ผลักภาระได้ง่ายกว่าภาษีทางตรง
4.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ Ex. ภาวะเงินเฟ้อ มีการใช้จา่ ยคล่องเนื่องจากปริมาณเงินในท้องตลาดมีมาก
ผู้ขายสินค้าก็ย่อมสามารถขายสินคำ้าได้มากกว่าการขายสินค้าในขณะที่ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศฝืดเคือง

2.2 ฐานภาษี
ฐานภาษี (tax base) : สิ่งที่เป็นมูลเหตุขั้นต้นที่ทำาให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร หรือสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการประเมิน
ภาษีอากร Ex. ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือเงินได้ (สุทธิ) เป็นต้น ฐานภาษีที่สำาคัญ ได้แก่
1.ฐานรายได้ (income) เพราะรายได้เป็นเครื่องวัดความสามารถในการเสียภาษี (ability-to-pay) ของบุคคลได้ดีที่สุด
Ex. รายได้ของบุคคลธรรมดา นิติบคุ คล รายได้ในรูปผลได้จากทุน หรือรายได้จากการรับมรดก
2.ฐานการบริโภค : การนำาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าหรือบริการมาเป็นฐานเรียกเก็บภาษีอากร Ex. ผู้ที่บริโภค
มากจึงควรต้องเสียภาษีให้กับสังคมมาก เป็นต้น เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการโดยทั่วไป เช่น ภาษีการ
ขายทั่วไป (general sales tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (value Added tax) หรือที่เรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการเฉพาะอย่าง
เช่น ภาษีสรรพสามิต (excise tax)
3.ฐานทรัพย์สิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สินเฉพาะอย่าง เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีบำารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและ
ที่ดิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเก็บจากทรัพย์สินโดยรวม เช่น ภาษีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์รวมกัน
* การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินเฉพาะอย่าง จัดเก็บจากทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่
ระบุหรือกำาหนดมูลค่าได้ง่าย เช่น ที่ดิน อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ ฯลฯ
* การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินสินโดยรวม ต้องนำามูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดมารวมกัน เพื่อเป็นฐานในการ
ประเมินภาษี
* ถ้าฐานภาษีอากรกว้าง รัฐบาลอาจจัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยไม่จำาเป็นต้องใช้อัตราภาษีสูง และในขณะเดียวกันก็
ไม่จำาเป็นต้องจัดเก็บภาษีอากรมากประเภทด้วย

2.3 อัตราภาษี
ประเภทของอัตราภาษี แบ่งเป็น
1.อัตราคงที่หรืออัตราตามสัดส่วน (flat rate or proportional rate) : อัตราภาษีคงที่ตลอดไม่ว่าฐานภาษีจะเป็น
จำานวนเท่าใด Ex. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 30 ของรายได้สุทธิ และอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 ของรายรับ
ข้อดี : - สะดวกในด้านการคำานวณภาษี เพราะมีเพียงอัตราเดียว
- รายได้ภาษีอากรของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงไปในอัตราส่วนเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของฐานภาษี
2.อัตราก้าวหน้า : อัตราภาษีที่เรียกเก็บจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น คือ เมื่อมีเงินได้สุทธิสูงขึ้น จะต้อง
เสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
ข้อดี : - โครงสร้างภาษีอากรมีลักษณะยืดหยุน่ ทางด้านรายได้ของรัฐบาล กล่าวคือ เมื่อฐานภาษีเปลี่ยนแปลงไป
รายได้จากภาษีอากรของรัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงไปในสัดส่วนที่สูงกว่าการเปลี่ยนแปลงของฐานภาษี
- เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
3.อัตราถอยหลัง : อัตราภาษีที่เรียกเก็บจะลดลงเมื่อฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น อัตราภาษีประเภทนี้ไม่สอดคล้องกับ
หลักความเป็นธรรมทางภาษีอากร เมื่อฐานภาษีเพิ่มกลับทำาให้รายได้ภาษีอากรของรัฐบาลลดลง ก่อให้เกิดปัญหาในด้านการ
หารายได้ของรัฐบาล
การพิจารณาโครงสร้างอัตราภาษีว่าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ถอยหลัง หรือคงที่ กระทำาได้โดย
1. การพิจารณาจากการเปรียบเทียบระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ย (average tax rate) กับอัตราภาษีส่วนเพิ่ม (marginal
tax rate)
อัตราภาษีเฉลี่ย : จำานวนภาษีทั้งหมดที่ต้องเสีย / ฐานภาษีทั้งหมด
อัตราภาษีส่วนเพิ่ม : จำานวนภาษีส่วนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้น / ฐานภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้น

สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ย และอัตราภาษีส่วนเพิม่ ได้ดังนี้


ถ้าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบคงที่หรือตามสัดส่วน อัตราภาษีส่วนเพิม่ = อัตราภาษีเฉลี่ย
ถ้าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า อัตราภาษีส่วนเพิ่ม > อัตราภาษีเฉลี่ย
ถ้าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบถอยหลัง อัตราภาษีส่วนเพิ่ม < อัตราภาษีเฉลี่ย

2.การพิจารณาเปรียบเทียบจำานวนภาษีที่ต้องเสียกับรายได้ของผู้รับภาระภาษีที่แท้จริง
ถ้าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบคงที่หรือตามสัดส่วน อัตราภาษีคงที่ตลอดไม่ว่ารายได้จะเป็นเท่าใด
ถ้าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า อัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อรายได้สูงขึ้น
ถ้าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบถอยหลัง อัตราภาษีจะลดลงเมื่อรายได้สูงขึ้น

2.4 องค์ประกอบอื่นของโครงสร้างภาษีอากร
1.ระบบการชำาระภาษี แบ่งได้เป็น
1.1 การชำาระภาษีโดยการประเมินตนเอง (self-assessment) : ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อแสดง
ข้อความต่างๆ พร้อมทั้งจะต้องคำานวณภาษีที่จะต้องเสียด้วยตนเองและจะต้องชำาระภาษีอากรตามที่คำานวณได้พร้อมกับยื่น
แบบแสดงรายการภาษีต่อเจ้าพนักงานภายในกำาหนดเวลา เหมาะสมสำาหรับภาษีอากรทั่วไปที่มีฐานกว้างครอบคลุมผู้เสียภาษี
จำานวนมากและประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความรู้ความเข้าใจในระบบภาษีอากร Ex. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา /
นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ
1.2 การชำาระภาษีโดยการประเมินของเจ้าพนักงาน (authoritative-assessment) : ผูเ้ สียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดง
รายการ เพื่อแสดงรายละเอียดต่างๆ สำาหรับการคำานวณภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษี โดยไม่ต้องชำาระภาษีในตอน
นัน้ เหมาะสมในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีจำานวนไม่มาก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรอยู่ในระดับตำ่า Ex. ภาษีบำารุง
ท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น (อังกฤษ ออสเตรเลีย มาลาเซีย)

2.วิธีขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากร แยกได้เป็นสองระดับ คือ


2.1 การขจัดข้อโต้แย้งในระดับบริหาร ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อผู้มีอำานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ในระดับบริหารตาม
ที่กฎหมายกำาหนดไว้ อธิบดีกรมสรรพกร/ผูแ้ ทนกรมอัยการ
กรุงเทพมหานคร ผูแ้ ทนกรมการปกครอง
ผู้มีอำานาจวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีภาษีอากร >> คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผูว้ ่าราชการจังหวัด/ผู้แทน
ท้องที่จังหวัดอื่น สรรพกรเขต/ผู้แทน, อัยการจังหวัด/ผูแ้ ทน

กรณีภาษีโรงเรือนและที่ดิน >> ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร >> เขตกรุงเทพมหานคร


>> คณะเทศมนตรี >> เขตเทศบาล
>> คณะกรรมการสุขาภิบาล >> เขตสุขาภิบาล
>> ผู้ว่าราชการจังหวัด >> องค์การบริหารส่วนจังหวัด

การยื่นอุทธรณ์ กรณีภาษีอากร >> ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน


กรณีภาษีโรงเรือนและที่ดิน >> ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน

2.2 การขจัดข้อโต้แย้งในระดับศาล ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำาวินิจฉัยชี้ชาดอุทธรณ์

3.การบังคับใช้กฎหมายภาษีอากร บทลงโทษทางภาษีอากรนั้น แยกได้เป็น


โทษทางอาญา การหลีกเลี่ยงหรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติต่างๆ ตามกฎหมายภาษีอากร กำาหนดไว้เป็นโทษปรับหรือ
จำาคุก หรือทั้งปรับทั้งจำาคุก Ex. หลีกเลี่ยงภาษี โทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำา
โทษทางแพ่ง * เบี้ยปรับ : เงินที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ภาษีอากร Ex. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำาหนดเบี้ยปรับไว้เป็น 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของ
จำานวนภาษีอากรที่ชำาระขาด หรือของจำานวนภาษีอากรที่ต้องชำาระแล้วแต่กรณี
* เงินเพิ่ม : เงินที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการไม่ชำาระภาษีอากรภายในกำาหนดเวลาตามกฎหมาย (ดอกเบี้ย)
Ex. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

หมายเหตุ : ถ้ากฎหมายภาษีอากรกำาหนดให้ผู้เสียภาษีอากรยื่นอุทธรณ์ในระดับบริหารไว้ ผู้เสียภาษีอากรจะนำาคดีขึ้นสู่ศาล


โดยตรงไม่ได้ ต้องอุทธรณ์ในระดับบริหารเสียก่อน
3.การจำาแนกประเภทภาษีอากร

1.การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามระดับรัฐบาลผู้จัดเก็บ จำาแนกได้ 2 ประเภท คือ


1.1 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง หรือภาษีระดับประเทศ (nation taxes) Ex. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา /
นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ
1.2 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่นหรือภาษีระดับท้องถิ่น (local taxes) ควรเป็นภาษีประเภทที่จัดเก็บได้ไม่
ยากนัก ฐานภาษีอยู่เป็นหลักแหล่งในท้องถิ่นนั้นเคลื่อนย้ายข้ามท้องถิ่นได้ยาก นอกจากนี้ยังเป็นภาษีที่เกี่ยวโยงกับผล
ประโยชน์ที่รัฐบาลท้องถิ่นให้กับผู้เสียภาษีด้วย Ex. ภาษีบำารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ฯลฯ
2.การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ภาษีทางตรง : ภาษีที่ผู้เสียภาษไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ ภาระภาษีทั้งหมดจะต้องตกอยู่กับผู้ที่
มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย ส่วนใหญ่เป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้หรือฐานทรัพย์สิน เป็นเครื่องมือทางภาษีอากรที่ทาง
รัฐบาลใช้ในการกระจายรายได้ให้เป็นธรรม Ex. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีผลได้
จากทุน เป็นต้น
1.2 ภาษีทางอ้อม : ภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ โดยทั่วไปเป็นภาษีที่เก็บจากฐานการใช้จ่าย
หรือฐานการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ เนื่องจากเป็นภาษีที่ผลักภาระได้ง่ายมีผลในทางเพิ่มราคาสินค้าหรือ
บริการ เป็นภาษีที่มีลักษณะถอยกลัง (regressive tax) จึงมีผลทำาให้การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมมากขึ้น Ex. ภาษีการขาย
ทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น
ปัจจุบัน รายได้ภาษีอากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ของภาษีที่จัดเก็บได้ทั้งหมดเป็นภาษีทางอ้อม ประมาณร้อย
ละ 30 เป็นภาษีทางตรง เนื่องจากภาษีทางอ้อมเป็นภาษีแบบถอยหลัง (ผูม้ ีรายได้ตำ่าจะรับภาระภาษีสูงกว่าผู้มีรายได้มาก)
3.การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามวิธีการประเมินภาษี กระทำาได้ 2 วิธี คือ
3.1 ภาษีตามราคาหรือมูลค่า (a valorem tax) : ภาษีที่จัดเก็บตามราคาหรือมูลค่าของฐานภาษี Ex. อัตราภาษีเงินได้
นิติบุคคล ร้อยละ 30 ของกำาไรสุทธิ หรืออัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 ของราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือการให้บริการ
ข้อดี : จำานวนภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บได้เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าของสิ่งที่ใช้เป็นฐาน
ภาษี
ข้อเสีย : การบริหารการจัดเก็บอาจมีปัญหายุ่งยากในด้านการกำาหนดราคาหรือมูลค่าของสิ่งที่ใช้เป็นฐานภาษี
การเก็บภาษีตามราคาหรือมูลค่าส่วนใหญ่จะใช้กับภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษี
ศุลกากร ฯลฯ
3.2 ภาษีตามปริมาณหรือตามสภาพ (specific tax) : ภาษีที่จัดเก็บตามปริมาณของสิ่งที่ใช้เป็นฐานภาษี อัตราภาษีที่
เรียกเก็บจึงเป็นอัตราต่อปริมาณของฐานภาษี โดยวัดออกมาเป็นจำานวนชิ้น ความยาว ปริมาตร นำ้าหนัก ฯลฯ Ex. ภาษี
สรรพสามิต ที่เรียกเก็บจากบุหรี่หรือยาสูบบางชนิด กำาหนดเป็นอัตราตามนำ้าหนัก หรือที่เรียกเก็บจากไม้ขีดไฟ กำาหนดเป็น
อัตราตามรายกลัก
ข้อดี : สามารถคิดคำานวณภาษีได้ง่ายโดยไม่ต้องมีข้อยุ่งยากเกี่ยวกับการกำาหนดราคา หรือมูลค่าของฐานภาษี
ข้อเสีย :เมื่อราคาหรือมูลค่าของสิ่งที่ใช้เป็นฐานภาษีเพิ่มสูงขึ้น ภาษีที่จัดเก็บได้จะไม่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
4.การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามหลักเกณฑ์อื่นๆ
4.1 การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามฐานภาษี
* ภาษีเก็บจากฐานรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ฯลฯ
* ภาษีเก็บจากฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีการซื้อ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม
* ภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำารุงท้องที่ ภาษีรถยนต์ ฯลฯ
4.2 การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามอัตราภาษี
* ภาษีอัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา / นิติบุคคล
* ภาษีอัตราตามสัดส่วน เช่น ภาษีการค้า ภาษีการขาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
* ภาษีอัตราถอยหลัง เช่น ภาษีบำารุงท้องที่ ฯลฯ
4.3 การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะการใช้เงินภาษี
* ภาษีเพื่อกิจการทั่วไป (general tax) : ภาษีที่จัดเก็บเพื่อนำารายได้เข้างบประมาณแผ่นดินสำาหรับใช้จ่ายใน
กิจการทั่วไปของรัฐ
* ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง (earmarked tax) : ภาษีที่จัดเก็บเพื่อนำารายได้ไปใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่ง
โดยเฉพาะ จะนำาไปใช้เพื่อกิจการอื่นไม่ได้
4.4 การจำาแนกประเภทภาษีอากรตามความถาวรของกฎหมายภาษีอากร
* ภาษีถาวร หรือภาษีปกติ (permanent tax) : ภาษีที่จัดเก็บอยู่เป็นประจำา หรือมีลักษณะถาวรจนกว่าจะมี
กฎหมายยกเลิกไป
* ภาษีชวั่ คราว (temporary tax) : ภาษีที่จัดเก็บเป็นการชั่วคราวในเวลาที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเพื่อการ
หนึ่งการใดในแต่ละช่วงเวลา เมื่อสิ้นเหตุฉุกเฉิน การเก็บภาษีนั้นก็จะสิ้นสุดลง Ex. เงินช่วยชาติในระหว่างสงคราม เป็นต้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยในปัจจุบัน >>> เป็นภาษีเก็บจากฐานรายได้ ภาษีอัตราตามสัดส่วน ภาษีเพื่อกิจการทัว่ ไปและ


เป็นภาษีถาวร
ภาษีบำารุงท้องที่ของไทยในปัจจุบัน >>> เป็นภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน ภาษีอัตราถอยหลัง ภาษีเพื่อกิจการทัว่ ไปและ
เป็นภาษีถาวร

ผลกระทบของภาษีอากรโดยทั่วไป

1.ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร
2.ผลกระทบด้านการกระจายรายได้ ภาษีทางตรงโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นภาษีก้าวหน้า ภาระภาษีส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้มีรายได้
สูงหรือมีฐานะดีมีผลทำาให้การกระจายรายได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนภาษีทางอ้อมโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นภาษี
ถอยหลัง ภาระภาษีส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้มีรายได้น้อย มีผลทำาให้การกระจายรายได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นธรรม
3.ผลกระทบต่อผลผลิตของชาติ การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลมีผลกระทบต่อการบริโภค การลงทุนและการออมของภาค
เอกชน จึงเป็นผลต่อเนื่องไปถึงระดับการผลิต หรือผลผลิตของชาติ
การหลบหนีภาษีอากรและการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

1.การหลบหนีภาษีอากร (tax evasion) : การไม่เสียภาษีอากร หรือเสียภาษีอากรน้อยกว่าที่ควรจะเสีย Ex. การไม่ยื่นรายการ


ภาษี การยื่นรายการภาษีไม่ครบถ้วน ลักลอบการนำาสินค้าเข้าประเทศหรือออกนอกประเทศ
2.การหลีกเลี่ยงภาษีอากร (tax avoidance) : ผู้เสียภาษีอาศัยช่องโหว่หรือคลุมเครือของกฎหมายเพื่อทำาให้เสียภาษีอากรน้อย
ลงโดยมิได้กระทำาผิดกฎหมาย แต่ถือได้ว่าขัดเจตนารมณ์ของกฎหมาย Ex. การเก็บภาษีนำ้ามันเบนซินแพงกว่าที่เรียกเก็บจาก
แก๊ส ผูใ้ ช้รถยนต์เปลี่ยนเครื่องยนต์จากที่ใช้นำ้ามันเบนซินมาเป็นที่ใช้แก๊ส เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง เป็นต้น
การป้องกันการหลบหนี้ภาษีอากรและหลีกเลี่ยงภาษีอากร คือพยายามยกระดับความสมัครใจในการเสียภาษีอากร
ของประชาชน ทำาให้ระบบภาษีมีความเป็นธรรมมากขึ้น เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรของเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บ
ภาษีอากร กำาหนดบทลงโทษอย่างรุนแรงสำาหรับการหลบหนีภาษีอากร ทำาให้บทบัญญัติของกฎหมายภาษีอากรมีความ
กระจ่างชัดมากขึ้นและมีช่องโหว่น้อยลง ฯลฯ

You might also like