You are on page 1of 11

บทที่ 4

ความแปรปรวนของราคาตราสารหนี้ ( Bond Price Volatility )

เนื้อหาของบทนี้ตองการจะใหเขาใจความสัมพันธระหวางอัตราผลตอบแทนและราคาตาสารหนี้
และรายละเอียดอื่นๆเชน
- วิธีวัดความแปรปรวนของราคาตราสารหนี้
- Duration ( Macaulay Duration, Modified Duration )
- Convexity
- การคํานวณการเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่ออัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลง
- คุณสมบัติและลักษณะของความสัมพันธของตราสารหนี้

4.1 ความสัมพันธระหวางราคาตราสารหนี้และอัตราผลตอบแทน
ความสัมพันธระหวางราคาตราสารหนี้กับอัตราผลตอบแทนในที่นี้จะหมายถึงเฉพาะตราสารหนี้
ประเภทที่ไมมีอนุพันธพวงมาดวยเทานั้น ( Option -Free Bond ) ซึ่งตามปกติแลวเมื่ออัตราผลตอบแทน
ที่นักลงทุนตองการ ( Required Yield ) เพิ่มขึ้นราคาตราสารจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ลดลง ในทาง
ตรงกันขามเมื่ออัตราผลตอบแทนที่ตองการลดลงราคาตราสารหนี้ก็จะเพิ่มขึ้น ความสัมพันธระหวางอัตรา
ผลตอบแทนที่ตองการกับราคาตราสารหนี้สามารถแสดงไดดังรูปขางลาง

รูปที่ 4.1 ความสัมพันธระหวางอัตราผลตอบแทนและราคาตราสารหนี้


ราคา
(Price)

อัตราผลตอบแทน (Yield)

อยางไรก็ตามความสัมพันธระหวางอัตราผลตอบแทนและราคาตราสารหนี้ มีคุณสมบัติและ
ลักษณะของความสัมพันธที่แตกตางกันออกไประหวางตราสารหนี้ประเภทตางๆ เชนตราสารหนี้ระยะสั้น

22
และระยะยาวหรือแมแตตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ยสูงหรือจายดอกเบี้ยตํ่า ความสัมพันธเหลานี้สามารถนํา
มาสรุปไดดังนี้

คุณสมบัติขอที่ 1 : แมวาราคาตราสารหนี้ประเภท Option - Free Bond ( OFB ) จะมีความ


สัมพันธไปในทิศทางตรงกันขามกับอัตราผลตอบแทนเหมือนกันก็ตาม แต อัตราการเปลี่ยนแปลงของ
ตราหนี้แตละประเภทจะไมเหมือนกัน
คุณสมบัติขอที่ 2 : ในกรณีที่อัตราผลตอบแทนที่ตองการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอย การเพิ่มขึ้น
หรือลดลงของราคาตราสารหนี้จะไมแตกตางกันมากนัก
คุณสมบัติขอที่ 3 : ในกรณีที่อัตราผลตอบแทนที่ตองการเปลี่ยนแปลงคอนขางมาก
ราคาตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นจะไมเทากับกับราคาตราสารหนี้ที่ลดลง
คุณสมบัติขอที่ 4 : ถาอัตราผลตอบแทนที่ตองการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในอัตราที่เทากัน ราคาตรา
สารที่เพิ่มขึ้นจะมากกวาราคาตราสารที่ลดลง

ความสัมพันธของอัตราผลตอบแทนและราคาตราสารหนี้ขางตนคือเหตุผลที่อธิบายวาทําไมเสน
กราฟที่แสดงความสัมพันธของตัวแปรทั้งสองจึงเปนเสนโคงแทนที่จะเปนเสนตรง นอกจากนั้นแลว
ลักษณะของตราสารหนี้ที่แตกตางกันจะมีผลทํ าใหการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารเมื่ออัตราผลตอบ
แทนเปลี่ยนแตกตางกันดวยเชนกันซึ่งพอจะสรุปไดดังนี้

ลักษณะประการที่ 1 : ตราสารหนี้ที่มีอายุเทากันแตอัตราดอกเบี้ยไมเทากัน ตราสารหนี้ที่


จายอัตราดอกเบี้ยตํ่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของราคามากกวา ตราสารหนี้ที่จายอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งหมาย
ความวาตราสารหนี้ที่ไมจายดอกเบี้ย ราคาตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด
ลักษณะประการที่ 2 : ตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ยในอัตราที่เทากันแตอายุไมเทากันตราสารหนี้
ที่มีอายุยาวกวา จะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่มากกวา

นอกจากอัตราดอกเบี้ยจะมีผลตอการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้แลว Yield to Maturity


ที่ใชในการซื้อขายตราสารหนี้ก็มีผลตอการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ดวยเชนกัน กลาวคือ ตรา
สารที่มี Yield to Maturity สูงราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปมากกวาตราสารหนี้ที่มี Yield to
Maturity ตํ่า นักลงทุนที่เขาใจความสัมพันธตางๆที่กลาวมาขางตนจะสามารถบริหารการลงทุนของตนใน
ตราสารหนี้ไดอยางมีประสิทธิภาพ เชนเมื่อคาดวาอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโนมลดลงในอนาคต กลยุทธ
ที่เหมาะสมคือ การลงทุนในตราสารหนี้ประเภทที่จายดอกเบี้ยตํ่าหรือตราสารหนี้ที่มีอายุคอนขางยาวเนื่อง
จากราคาจะเพิ่มขึ้นมากกวาตราสารหนี้ประเภทอื่น เปนตน

23
4.2 วิธีวัดความแปรปรวนของราคาตราสารหนี้
ความแปรปรวนของราคาตราสารหนี้มีวิธีวัดอยู 3 แบบดวยกันคือ 1) การวัด Price Value จาก
การเปลี่ยนแปลงของ Yield (Price Value of a Basis Point) 2) การวัด Yield Value จากการเปลี่ยนแปลง
ของราคา(Yield Value of a Price Change) และ 3) การวัดดวย Duration ซึ่งก็มีดวยกัน 2 แบบคือ
Macaulay Duration และ Modified Duration ในที่นี้จะกลาวถึงรายละเอียดเฉพาะการวัดแบบที่ 3หรือการ
วัดดวย Duration เทานั้น

Duration
การวัดความแปรปรวนของราคาตราสารหนี้ดวย Duration เปนการวัดการเปลี่ยนแปลงของ
ราคาตราสารหนี้เมื่อ Yield เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กนอย (dP/dy) ถาหากเปนการเปลี่ยนแปลงที่คอนขาง
มากจะวัดดวย Convexity แทน ในการคํานวณ Duration จะเริ่มจากสมการราคาตราสารหนี้ที่เคยกลาวมา
ในบทกอนหนานี้แลวคือ

( 4.1) P = C/ (1+y) + C/ (1+y)2 + . .+ C/ (1+y)n + M/ (1+y)n


โดย P = ราคาตราสารหนี้
C = ดอกเบี้ยรับในงวด 6 เดือน
n = จํานวนงวดที่มีการจายดอกเบี้ย
M = จํานวนเงินที่ไดรับเมื่อครบกําหนดไถถอน
จากสมการ (4.1) ใชเทคนิคจากแคลคูลัสทํา First derivative สมการ (4.1) จะได

(4.2) dP = (-1)C + (-2)C + . . . (- n)C + nM


dy (1+ y )2 (1+y )3 (1+y)n+1 (1+y)n+1

เปลี่ยนรูปสมการ (4.2) ใหมแลวหารดวยราคา P จะไดสมการ (4.3)

(4.3) dP 1 = - 1 [ 1C + 2C + . . . + nC + nM ] 1
dy P 1+y (1+y) (1+y)2 (1+y)n (1+y)n P

สวนที่อยูในวงเล็บและหารดวยราคา P คือ Macaulay Duration

n
∑ tC + nM
t=1
(4.4) Macaulay Duration = (1+y)t ( 1+y)n
P

24
นําคา Macaulay Duration แทนในสมการที่ (4.3)

(4.5) dP 1 = - 1 Macaulay Duration


dy P 1+y

ในเมื่อ Modified Duration เทากับ Macaulay Duration หารดวย 1+ y

(4.6) dP 1 = - Modified Duration


dy P
นอกจากการคํานวณ Duration ดวยวิธีขางตนแลวเรายังอาจคํานวณดวยวิธีที่งายกวา โดยการนําเอาสมการ
ราคาแบบงายมาใชแทนคือ

1 - 1
(4.7) P = C ( 1 + y )n + 100
y ( 1 + y) n

ทํา First Derivative สมการ (4.7) แลวหารดวยราคา P ก็จะไดสูตรในการคํานวณ Duration อีกแบบหนึ่ง


ซึ่งนาจะคํานวณไดงายกวาสูตรแรกดังนี้

C 1 - 1 n(100 - C / y )
y2 ( 1 + y )n + ( 1 + y )n+1
(4.8) Modified Duration =
P
จากสมการ (4.8) ถานํามาคูณดวย 1 + y ก็จะได Macaulay Duration

ตัวอยางที่ 4.1 : ตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ย 5% , 2ครั้งตอป อายุ7 ป ขายในราคา 85 บาท อัตราผลตอบ


แทนจนครบกําหนดอายุ (Yield to Maturity) 9%
2.5 1- 1 + 14 (100 - 2.5/0.045)
2 14
Modified Duration = (0.045) (1.045) (1.045)15

85

= 1234.57 (0.46) + 0.16 = 6.68


85
เปลี่ยนใหเปน Duration / ป โดยหารดวย 2 ไดเทากับ 3.34 สามารถทําใหเปน Macaulay Duration โดย
หารดวย 1.09 เทากับ 6.13

25
Duration ไมวาจะเปน Macaulay หรือ Modified ตางก็มีคุณสมบัติที่สอดคลองกับการแปรปรวนของราคา
ตราสารหนี้ที่กลาวมาแลวขางตนซึ่งพอจะสรุปใหนักลงทุนในตราสารหนี้เขาใจไวดังนี้คือ

- Duration ที่คํานวณไดมักจะนอยกวาอายุของตราสารหนี้ยกเวนแตตราสารหนี้ประเภทที่ไมจาย
ดอกเบี้ย ( Zero - coupon bond ) Duration จะเทากับอายุของตราสาร
- ตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ยในอัตราตํ่าจะมี Duration ที่สูงกวาตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ยในอัตรา
สูง ซึ่งหมายความวาตราสารหนี้ประเภท Zero-coupon bond จะมี Duration สูงที่สุด
- ตราสารหนี้ที่มีอายุการไถถอนนานจะมี Duration ที่สูงกวาตราสารหนี้ที่อายุสั้น
- ตราสารหนี้ที่มี Yield to Maturity สูงความแปรปรวนของราคาจะอยูในระดับตํ่าทําให Duration
ตํ่าตามไปดวย

นักลงทุนที่ตองการจะทราบวาตราสารหนี้ใดจะมีราคาเปลี่ยนแปลงมากนอยเพียงใด สามารถที่
คํานวณไดถาหากทราบวาตราสารหนี้นั้นมี Duration เทาไหร โดยนําเอาสมการ (4.6) มาคูณดวย dy หรือ
การเปลี่ยนแปลงของ Yield จะทําใหไดสมการที่ ( 4.9) ขางลาง

(4.9) dP = - Modified Duration * dy


P

จากตัวอยางที่ยกมาขางตน ตราสารหนี้อายุ 7 ป ซื้อมาในราคา 85 บาท Yield 15.5% ถา Yield ลดลง 0.1%
หรือ 10 Basis Points ราคาจะเปลี่ยนแปลงไปอยางไร

dP = - 4.4164 ( -0.001) = 0.44 %


P
หรือถาหากตองการทราบการเปลี่ยนแปลงราคาตราสารหนี้ที่เปนตัวเงินก็สามารถทําไดดวยการคูณสมการ
(4.9) ดวยราคาหรือ P
dP = 0.44 * 85 = 0.374 บาท

4.3 Convexity
ดังที่กลาวมาแลววา Duration จะใชวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ได เฉพาะกรณีที่
Yield เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กนอยเทานั้น แตถาหากเปนการเปลี่ยนแปลงที่คอนขางมากแลว Durationก็
ไมสามารถที่จะวัดไดอยางแนนอน จําเปนตองใชเครื่องมืออีกอยางหนึ่งคือ Convexity สูตรในการคํานวณ
สามารถที่จะหาไดจากการใช Taylor series มาชวยในการประมาณราคาที่เปลี่ยนแปลงไปดังนี้

(4.10) dP = dP dy + 1 d2P (dy)2 + error


dy 2 dy2

26
หาร (4.10 ) ดวยราคา P ทั้งสองขางเพื่อจะหาเปอรเซนตการเปลี่ยนแปลงของราคา

(4.11) dP = dP 1 dy + 1 d2P 1 (dy)2 + error


P dy P 2 dy2 P P

Term แรกขวามือของสมการ (4.11) คือการเปลี่ยนแปลงของราคาอันเนื่องมาจาก Duration ในขณะที่


Term ที่สองขวามือคือการเปลี่ยนแปลงของราคาอันเนื่องมาจาก Convexity โดย

(4.12) Convexity = d2P 1


dy2 P

และการเปลี่ยนแปลงราคาอันเนื่องจาก Convexity จะหาไดจาก


(4.13) dP / P = 1 / 2 ( Convexity )(dy)2

Second Derivative ของสมการราคาตราสารหนี้ที่จะใชในการหา Convexity นั้นคือ


n
(4.14) d2P2 = ∑ t(t + 1)Ct+2 + n(n + 1 n+2
)M
dy t=1 (1 + y) (1 + y )

เนื่องจาก convexity ที่คํานวณไดจะเปนตองวดที่มีการจายดอกเบี้ยดังนั้นถาตองการจะทําใหเปนตอป คาที่


คํานวณไดจะตองหารดวยจํานวนงวดใน 1 ปยกกําลังสองอีกที

(4.15) Convexity / ป = Convexity / งวด


m2
เชนเดียวกับการคํานวณ Duration ที่สามารถนําเอาสมการราคาตราสารหนี้อยางงายมาประยุกตใช ทําให
ไมจําเปนตองรวมขอมูลหลายๆปเขาดวยกันใหยุงยากดังนี้

(4.16) d2P = 2C [ 1 - 1 ] - 2Cn + n(n + 1)(100-C/y)


dy2 y3 (1+y)n y2(1 + y)n+1 (1 + y)n+2

ตัวอยางที่ 4.2: ตราสารหนี้อายุ 5 ป อัตราดอกเบี้ย 3.5% จาย2ครั้ง อัตราผลตอบแทนจนหมดอายุ


(Yield to Maturity) 10% ราคา 100 บาท Convexity จะเปนเทาไหร ?

d2P = 2*1.75 [ 1 - 1 ] - 2*1.75*10 + 10*11*(100-1.75/0.05)


dy2 (0.05)3 (1.05)10 (0.05)2(1.05)11 (1.05)12
= 10,808 - 8187.13 + 5,981
= 8,602

27
Convexity = 8,602 / 1,000
= 8.602 ตองวด^2
= 8.602 /4 = 2.15 / ป
หมายเหตุ : การหาเลขที่ยกกําลังจํานวนมากๆสามารถใชเครื่องคิดเลขธรรมดาที่มีฟงคชั่นคณิตศาสตรไดโดยใชั
Log เชน (1.05)13 = Log (1.05)13 = 13*Log(1.05) เปด Log(1.05) ได 0.0211 คูณ 13 = 0.2754 เปด Antilog ได
1.8856 เปนตน

4.4 การเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้จาก Duration และ Convexity


ดังที่กลาวมาแลววาสมการ (4.11) นั้นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาอันเนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงของอัตราผลตอบแทนเปน 2 สวนดวยกันคือ การเปลี่ยนแปลงที่ไมมากนักโดยหาจาก Modified
Duration และ การเปลี่ยนแปลงที่คอนขางมากจะหาจาก Convexity

จากตัวอยางในการคํานวณหา Convexity ขางตนเมื่อนํามาคํานวณ Modified Duraion จะได 3.86


ตอป ถาหากสมมุติวาอัตราผลตอบแทนที่ตองการเพิ่มขึ้น 2% ราคาของตราสารจะลดลงเทาไหร ?

เปอรเซนตการเปลี่ยนแปลงของราคาจาก Duration = - (Modified Duration) dy


= - (3.86) * ( 0.02 )
= - 0.0772 = -7.7%
เปอรเซนตการเปลี่ยนแปลงของราคาจาก Convexity = 1 ( Convexity ) (dy)2
2
= 0.5 * 18.73 * (0.02)2
= 0.0037
= 0.4%
รวมการเปลี่ยนแปลงราคาอันเนื่องจาก Duration และ Convexityรวมกันเทากับ -7.7+0.4 = - 7.3%

จากตัวอยางขางตนการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจาก Convexity มีไมมากนักเพราะ Convexity ตํ่าแต


ถาเปนตราสารหนี้อื่นที่มี Convexity สูงราคาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปมากกวานี้ก็ได การใช Convexity มา
ชวยในการวิเคราะหจึงทําใหเราสามารถคํานวณการเปลี่ยนแปลงราคาตราสารหนี้ไดใกลเคียงความจริง
มากยิ่งขึ้น

28
นอกจากนั้นแลวนักลงทุนสามารถใช Convexity มาชวย ในการตัดสินใจเลือกตราสารหนี้ที่จะ
ลงทุนไดอีกดวย จากกราฟขางลางจะเห็นวาตราสารหนี้ที่หนึ่งและตราสารหนี้ที่สองมีราคาและ Yield เทา
กันแตตางกันตรงที่ Convexity ของตราสารหนี้ที่สองสูงกวาของตราสารหนี้ที่หนึ่ง

รูปที่ 4.2 การเปรียบเทียบตราสารที่ Convexity ตางกัน

ตราสารที่หนึ่ง

ราคา ตราสารที่สอง

อัตราผลตอบแทน (Yield )

จากรูปขางบนจะเห็นไดวาไมวาราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตราสารหนี้ที่สองซึ่งมี
Convexity สูงกวา ตราสารหนี้ที่สองจะมีราคาสูงกวาเสมอ กลาวคือถาหากอัตราผลตอบแทนที่ตองการ
สูงขึ้นราคาของตราสารหนี้ที่สองจะลดลงนอยกวาตราสารหนี้ที่หนึ่ง ในทางตรงกันขามถาหากอัตราผล
ตอบแทนที่ตองการลดลงตราสารหนี้ที่สองก็จะมีราคาสูงขึ้นมากกวาตราสารหนี้ที่หนึ่ง เมื่อเปนเชนนี้นัก
ลงทุนก็จําเปนตองจายอะไรบางอยางสําหรับตราสารหนี้ที่สอง เชนอาจจะตองยอมรับอัตราดอกเบี้ยที่ตํ่า
กวาตราสารหนี้ที่หนึ่ง เปนตน อยางไรก็ตาม Premium ที่นักลงทุนจะตองจายสําหรับตราสารหนี้ที่สองจะ
มากหรือนอยนั้นก็แลวแตวานักลงทุนคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอยางไร ถาหากนักลง
ทุนคาดวาอัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอย Convexity ก็จะไมมีผลตอราคาแตอยางใดนักลงทุน
อาจไมยอมจาย Premium สําหรับตราสารหนี้ที่มี Convexity สูงกวาก็ได ในทางตรงกันขามถาหากคาดวา
อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนคอนขางมากนักลงทุนก็จะยอมจาย Premium มากขึ้น นอกจากนั้นแลวหาก
Premium ของ Convexity สูงจนเกินไปนักลงทุนก็อาจจะใชกลยุทธการลงทุนแบบที่เรียกวา “ ขาย
Convexity ” ก็ได กลาวคือยอมขายตราสารหนี้ที่สองและไปลงทุนในตราสารหนี้ที่หนึ่งแทน

กลาวโดยสรุปแลว Convexity ของตราสารหนี้ประเภท Option-free bond (OFB)จะมีคุณสมบัติที่


นักลงทุนควรจะทําความเขาใจไวดังนี้

29
- คุณสมบัติประการที่ 1 : เมื่ออัตราผลตอบแทนที่ตองการเพิ่มขึ้น ( ลดลง )
Convexity ของตราสารจะลดลง (เพิ่มขึ้น) คุณสมบัติเชนนี้
เรียกวา “ Positive Convexity ” คุณสมบัติขอนี้ Imply ไดวา Duration
ของตราสารหนี้ประเภท OFB จะเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันขาม
กับ Yield ซึ่งจะเห็นไดจากกราฟวาเสนที่สัมผัสกับกราฟที่แสดงความ
สัมพันธระหวางราคาตราสารหนี้กับอัตราผลตอบแทนนั้นจะ
ชันขึ้นเมื่ออัตราผลตอบแทนลดลงและจะแบนราบลงเมื่อ อัตราผล
ตอบแทนเพิ่มขึ้น
รูปที่ 4.3 การเปลี่ยนแปลงของ Duration เมื่ออัตราผลตอบแทนเปลี่ยน
1 เมื่ออัตราผลตอบแทน ↓ Slope ( Duration ) ↑
ราคา เมื่ออัตราผลตอบแทน ↑ Slope ( Duration ) ↓

2
3
อัตราผลตอบแทน ( Yield )

- คุณสมบัติประการที่ 2 : ถาหากกําหนดใหอัตราผลตอบแทนและอายุของตราสารหนี้
เทากันตราสารหนี้ที่จายอัตราดอกเบี้ยตํ่าจะมี Convexity สูง
คุณสมบัติขอนี้จะสอดคลองกับ Duration ที่จะสูงในตราสารหนี้
ที่จายอัตราดอกเบี้ยตํ่าดวยเชนกัน
- คุณสมบัติประการที่ 3 : สําหรับตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนและ Modified Duration
เทากันตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ยตํ่าจะมี Convexity ตํ่าดวย

4.5 การคํานวณ Duration และ Convexity อยางงาย


สูตรในการคํานวณ Duration และ Convexity ที่อธิบายมาแตตน อาจจะดูยุงยากสําหรับผูที่ไมมี
พื้นฐานทางคณิตศาสตรมากนัก แตถาหากเขาใจความคิดพื้นฐานในการคํานวณทั้งสองตัวแลวก็อาจจะใช
สูตรอยางงายๆมาคํานวณไดเชนเดียวกัน โดยผลลัพทที่ไดก็ไมแตกตางกันมากนัก สามารถชวยใหนักลง
ทุนเปรียบเทียบตราสารหนี้ที่ตองการจะลงทุนไดเชนเดียวกับสูตรที่ซับซอน
การคํานวณจะเริ่มตนเปนขั้นตอนดังนี้
- หาการเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่ออัตราผลตอบแทนที่ตองการเพิ่มขึ้นเล็กนอยแลวให P+ เทากับ
ราคาใหมที่เปลี่ยนแปลงไป

30
- หาการเปลี่ยนแปลงของราคาเมื่ออัตราผลตอบแทนที่ตองการลดลงเล็กนอยแลวให P-
เทากับราคาใหมที่เปลี่ยนแปลงไป
- ถาให P0 คือราคาตราสารหนี้ตอนเริ่มตน เราจะสามารถคํานวณหา Duration ไดจากสูตร

(4.17) Approximate Duration = P - - P+


2(P0)(∆y)
ในทํานองเดียวกันเราก็สามารถคํานวณ Convexity ไดจากสูตรงายขางลาง
(4.18) Approximate Convexity = P+ + P- - 2P0
P0(∆y)2

ตัวอยางที่4.3 : จากตัวอยางในการคํานวณ Duration ขางตนที่กําหนดให ตราสารหนี้อัตราดอก


เบี้ย6% อายุ 7 ป ราคา 80.22 บาท Yield 10% ถาใหอัตราผลตอบแทนจนหมดอายุ เปลี่ยนแปลง
ไป 0.10% สามารถคํานวณ Duration ไดดังนี้

Approximate Duration = 80.645761 - 79.782847 = 0.643415


2* (80.2188) * (0.001) 0.16
= 4.02 เทียบกับ 5.6 จากการหาดวยสูตรเดิม

Approximate Convexity = 79.782847 + 80.645761 – 160.436 = 0.00489


80.2188* (0.001)2 0.0000802

= 60.97

4.6 ขอควรระวังในการนํา Duration และ Convexity ไปใช


ดังที่ไดกลาวมาแตตนแลววา Duration และ Convexity สามารถนํามาใชไดกับตราสารหนี้
ประเภท Option - free bond เทานั้น ฉะนั้นขอที่ควรระวังประการแรกก็คือ ไมควรนําไปใชกับตราสารหนี้
ที่มี Option นอกจากนั้นการนําเอา Duration ไปใชกับตราสารประเภท CMO อาจจะพบวา Duration อาจ
จะสูงกวาอายุของตราสารก็ได จึงไมควรฝงใจวา Duration ของตราสารหนี้ที่จายดอกเบี้ยจะตองตํ่ากวา
อายุของตราสารหนี้เสมอไป

ขอที่ควรทราบอีกประการหนึ่งคือ ในการคํานวณ Duration และ Convexity Cash flow จะถูกคิด


ลดดวย Discount rate เพียงอัตราเดียว ซึ่งในความเปนจริงแลวอัตราดอกเบี้ยตลาดจะเปลี่ยนแปลงไป
ตลอดเวลา นอกจากนั้นแลวยังมีสมมติฐานวา Yield Curve เปนแบบ Flat และเปลี่ยนแปลงแบบขนาน

31
(Parallel Shift) เทานั้น ในบทตอไปเราจะไดเรียนรูเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ Yield Curve วาไมไดเปลี่ยนแปลง
แบบขนานแตเพียงอยางเดียวแตยังมีการเปลี่ยนในรูปแบบอื่นๆอีกดวย ในภาวะที่ตลาดมี Yield Curve ที่
ไมสอดคลองกับสมมติฐานที่ใชในการคํานวณทั้ง Duration และ Convexity ก็ไมควรจะนํามาใชในการ
วิเคราะหตราสารหนี้

32

You might also like