You are on page 1of 2

การสอบสวนการระบาดโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานส้มตาปูดอง

อาเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 10 – 11 กุมภาพันธ์ 2552


อรวรรณ เรืองสนาม วท.ม.*, สุภาภรณ์ มิตรภานนท์ วท.ม.**
*
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด , ** สานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08.30 น. งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาล
ร้อยเอ็ด ได้รับแจ้งจากพยาบาลเวรตรวจการว่า มีผู้ป่วยอาการอาหารเป็นพิษหลังจากการรับประทานส้มตา เข้า
รับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม จานวน 4 ราย และบางส่วนทยอยเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ดังนั้น
ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อาเภอเมืองและ สสจ .ร้อยเอ็ด จึงได้ออกดาเนินการสอบสวน และควบคุม
โรคทันที วัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ค้นหาสาเหตุ แหล่ง ที่มาของการแพร่
ระบาด และแนวทางในการป้องกันควบคุมโรค โดยศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่
รักษาในโรงพยาบาล สัมภาษณ์ผู้ป่วย สัมภาษณ์เจ้าของร้านขายส้มตา ค้นหาผู้ป่วยรายอื่นในชุมชน สารวจ
สิ่งแวดล้อม และเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
ผลการสอบสวน พบผู้ป่วย จานวน 54 ราย เป็นเพศหญิง 32 ราย เพศชาย 22 ราย อายุระหว่าง 6 - 56 ปี
กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะอยู่ในพื้นที่อาเภอเมือง 52 ราย อาเภออื่นๆ 2 ราย ส่วนใหญ่รับการรักษาที่ รพ.ร้อยเอ็ด 20
ราย สถานีอนามัย 7 ราย โรงพยาบาลเอกชน/คลินิก 8 ราย ซื้อยากินเอง 18 ราย รพ.ต่างจังหวัด 1 ราย หลังรับ
การรักษาทุกรายมีอาการดีขึ้นและจาหน่ายออกจากโรงพยาบาลในวันต่อมา อาการและอาการแสดงที่พบ คือ ปวด
ท้อง ร้อยละ 88.4 อาเจียน ร้อยละ 46.5 และถ่ายเป็นน้า ร้อยละ 100 อาหารที่สงสัย คือ ส้มตาปูนาดอง ซึ่งกลุ่ม
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.8 ให้ข้อมูลว่าซื้อส้มตาจากร้าน นาง ก. ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด รองลงมาคือ ส้มตา
จากร้านแม่ค้าในหมู่ที่ 2 ต.โนนรัง ร้อยละ 12.9 พบผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วย วันที่ 10 ก.พ.52 เวลา 15.00 น. รายล่าสุด
เริ่มป่วยวันที่ 12 ก.พ.52 เวลา 09.00 น. ระยะฟักตัวสั้นสุด 2 ชั่วโมง ระยะฟักตัวยาวที่สุด 24 ชั่วโมง ระยะฟักตัว
เฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการขายส้มตาทั้ง 2 แห่ง ถึงแหล่งที่มาของปูดอง แม่ค้าส้มตา
ทั้ง 2 แห่งซื้อปลาร้าและปูสดจากแม่ค้าขายส่งทีต่ ลาดสระทอง (แม่ค้าขายปูมาจาก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม) ซื้อปู
นาครั้งละ 5 –10 กก. นามาล้างและทาปูดองเอง
จากการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เก็บ RSC ผู้ป่วย 15 ราย พบเชื้อ Vibrio parahemolyticus
จานวน 7 ราย เก็บ RSC แม่ค้าและผู้สัมผัสร่วมบ้านของร้านส้มตา นาง ก. 12 ราย ผลการตรวจพบเชื้อ Vibrio
parahemolyticus 2 ราย คือ แม่ค้าส้มตา (นาง ก.) จากการสอบถาม ไม่มีอาการป่วย ส่วนลูกสาว นาง ก. มีอาการ
ป่วยในวันที่ 10 ก.พ.52 Swabมือแม่ค้า เก็บตัวอย่างปูนานึ่ง ปูแสมดอง น้าปลาร้าและตัวอย่างสิ่งแวดล้อมจากร้าน
ส้มตานาง ก. ผลการตรวจไม่พบเชื้อก่อโรค และสุ่มเก็บตัวอย่างน้าปลาร้า ปูดอง จากร้านส้มตาร้านอื่นๆ ในเขต
เทศบาล 11 ตัวอย่าง ไม่พบเชื้อก่อโรค
สรุป การระบาดของอาหารเป็นพิษในครั้งนี้ลักษณะการระบาดเป็นแบบแหล่งโรคร่วมกัน สาเหตุของการ
ระบาดน่าจะเกิดจากการปนเชื้อ Vibrio parahemolyticus แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการปนเปื้อนที่ชัดเจนได้ แต่
จากข้อมูลแม่ค้าขายส้มตา ซึ่งตรวจพบเชื้อในอุจจาระแต่ไม่มีอาการป่วย อาจเป็นไปได้ว่าเกิดการปนเปื้อนเชื้อจาก
แม่ค้าไปยังอาหารที่นามาประกอบขาย ทาให้ผู้ที่ซื้อไปรับประทานมีอาการป่วย จากลักษณะอาการ อาการแสดงของ
ผู้ป่วยและระยะฟักตัวของโรค เข้าได้กับเชื้อ Vibrio parahemolyticus และผลการตรวจเพาะเชื้อในอุจจาระผู้ป่วย
ตรวจพบเชื้อ Vibrio parahemolyticus เช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการระบาดของโรคนี้อีก มาตรการใน
การควบคุมและป้องกันโรค เน้นการให้ ความรู้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์
การระบาดของโรค เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ปลาร้าและปูดองจะต้องต้มก่อนนามาปรุง

คาสาคัญ : อาหารเป็นพิษ ส้มตา ปูดอง

You might also like