You are on page 1of 19

โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

บทท ี่ 5
การป ระเ มิ นอ ัน ตร าย ร้ ายแ รง

5.1 บท นำา

ความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงในกระบวนการแยกก๊าซทำาความเย็นแต่ละชนิดออกจาก
ก๊าซแอลพีจี ของบริษัท สยามเพียวแกส จำากัด อาจก่อให้เกิดอุบัติภัยจากการรั่วไหลของก๊าซและเกิด
ไฟไหม้ หรือการระเบิดได้ตลอดเวลา การประเมินความเสี่ยงเป็นกระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือ
สภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นสาเหตุอันตรายที่มีอยู่และแอบแฝงอยู่ โดยพิจารณาถึงโอกาสและความ
รุนแรงของเหตุการณ์ทจี่ ะเกิดขึ้น

5.2 ขอบ เข ตแ ละ วิธี กา รป ระเ มิน อั นต รา ยร้ าย แรง

การประเมินอันตรายร้ายแรงของโครงการจะแบ่งประเด็นการพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็น
ใหญ่ๆ ตามแนวทางทีธ่ นาคารโลกกำาหนดไว้ (World Bank Technica, 1990) คือ การจำาแนก
อันตรายร้ายแรง (Hazard Identification) และการวิเคราะห์อันตรายร้ายแรง (Quantitative Analysis)

(1) การจำาแนกอันตรายร้ายแรง (Hazard Identification) จะพิจารณาเกี่ยวกับ


- แหล่งหรือตำาแหน่งที่มีศักยภาพของอันตรายสูง จะทำาให้ทราบว่ามีอันตรายหรือ
ความเสี่ยงใดบ้าง เพื่อที่จะได้หาวิธีการหรือแนวทางการป้องกันที่เหมาะสม
- ลักษณะหรือชนิดของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น อันตรายในด้านสารเคมีเป็นพิษ
การแผ่รังสีความร้อน หรือแรงดันจากการระเบิด เป็นต้น

(2) การวิเคราะห์อันตรายร้ายแรงเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)


- วิเคราะห์ขนาดหรือปริมาณของสารอันตรายที่ออกจากแหล่งกำาเนิด ทั้งนี้เพราะ
ปริมาณของสาร ซึ่งรั่วไหลออกจากถังเก็บกัก เช่น ถังเก็บกัก LPG จะมีผลกระทบเป็นสัดส่วน
โดยตรงต่อสภาพแวดล้อม ดังนั้นปริมาณของสารที่มีโอกาสรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม จึงจำาเป็นต้อง
มีการวิเคราะห์สำาหรับใช้ในการประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
- การประเมินผลกระทบต่อเนื่อง (Consequence Analysis) ของผลกระทบในพื้นที่
รอบๆ โครงการ เช่น กรณีของก๊าซแอลพีจีรั่วไหลออกสู่บรรยากาศแล้วเกิดการติดไฟรังสีความร้อน
จะแผ่ออกไปโดยรอบกระทบต่อคนงานหรือชุมชนรอบโรงงานได้ ซึ่งระดับความรุนแรงนั้นขึ้นกับ
ระยะทางที่ห่างจากแหล่งติดไฟ (Ignition Source) เป็นสำาคัญ

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

(3) การเสนอมาตรการด้านความปลอดภัย (Safety Measurement)


- เสนอมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการ
วิเคราะห์ข้างต้น
- เสนอแผนปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่โครงการ และพื้นที่ใกล้
เคียง

5.3 การจ ำา แน กอ ั นต รา ยร ้า ยแร งจา กโค รงก าร (ha zar d I de nt ifi ca ti on)

วิธที ี่ใช้ประเมินโอกาสของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ทีจ่ ะนำามาถึงอันตรายร้ายแรง มักจะใช้วิธี


การวิเคราะห์จาก "เครือข่ายการต่อเนื่องของความผิดพลาด" หรือ "fault tree" ซึ่งจะเริ่มจากการ
ลำาดับเหตุการณ์ตามลำาดับจนมาถึงผลท้ายสุดทีจ่ ะเกิดอันตรายร้ายแรงซึ่งอาจจะมีหลายแนวทาง
ทำาให้โอกาสที่จะเกิดจะเป็นผลบวกของโอกาสการเกิดของแต่ละแนวทาง ส่วนในแต่ละแนวทางของ
การเกิดนั้นโอกาสทีจ่ ะเกิดขึ้นเป็นผลคูณของเหตุการณ์ลำาดับตั้งแต่ต้น (ตารางที่ 5.3--1 แสดง
ตัวอย่างของโอกาสทีจ่ ะเกิดสำาหรับเหตุการณ์ย่อยๆ ซึ่งได้มาจากการเก็บข้อมูลทางสถิติ)

ตาร างท ี่ 5.3- 1


ตั วอ ย่ าง ของโ อก าสข องก ารท ี่จะเ กิ ดสำา หร ับ เห ตุ กา รณ ์ย ่อ ย

ตำา แห น่ งที่จ ะเก ิด ผิ ดพ ลา ด ครั ้งต ่อปี


ถังเก็บ 2x10-5
ท่อรั่ว
- กรณีความดันตำ่ากว่า 3 บรรยากาศ 1x10-5
- กรณีความดันมากกว่า 3 บรรยากาศ 1x10-6
ข้อต่อ
- กรณีใช้ปะเก็นธรรมดา 3x10-3
- กรณีใช้ปะเก็นโลหะหรือแบบเส้นด้าย 3x10-4
ท่อขยาย 3x10-3
ฝาปิด 7x10-3
ปัม๊ 1x10-4
ผู้ปฏิบัติงานละเลยต่อสัญญาณเตือน 1x10-2/ครั้ง
สัญญาณเตือนไม่ทำางาน 1x10-2/ครั้ง

บริษัทที่ปรึกษาพิจารณาการเก็บกักโดยลำาดับศักยภาพทีจ่ ะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงตาม
ปริมาณการกักเก็บและชนิดของสาร แสดงในตารางที่ 5.3-2

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

ตา รา งที่ 5. 3-2
ตำา แห น่ งที่ มี แน วโ น้ มที่จ ะเก ิด ผล กร ะทบสู งสุด เมื ่อ มี กา รร ั่ว ไห ลแ ละ อั นต รา ย

สาร กั กเก ็บ อัต รา กา รไ หล ปริ มา ตร ปริม าต ร อุณ หภ ูม ิ ควา ม


ออกจ าก ถัง ถังก ักเ ก็ บ กั กเก ็บ ( o C) ดัน (p si g
( กก./ ชม ) (ลบ .ม) (ลบ.ม) )
แอลพีจี 416.67 67.04 55.87 39.96 319.90
โพรเพน 217.00 36.96 30.80 66.60 244.00
ไอโซบิวเทน 98.47 20.15 16.79 66.77 89.00
นอร์มอลบิวเทน 94.53 18.65 15.54 84.47 61.90
เพนเทน 5.57 1.03 0.88 108.78 70.90

การจำาแนกอันตรายร้ายแรงจากรายละเอียดของโครงการ สามารถพิจารณาได้จากผังบริเวณ
ของโครงการ (plot plan) และข้อมูลการเกิดอันตรายร้ายแรงในอดีตของโครงการและโรงงานที่มี
ลักษณะใกล้เคียงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำามาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัด
ลำาดับความสำาคัญของอันตรายร้ายแรง นอกจากนั้นยังสามารถพิจารณาโดยดูรายละเอียดในส่วนประ
กอบอื่นๆ คือ

(1) องค์ประกอบของสารอันตราย (hazard Component) จากข้อมูลของก๊าซตั้งต้นและก๊าซ


ผลิตภัณฑ์ของโครงการ อ้างถึงตารางที่ 5.3-2 ซึ่งพบว่าสารในโครงการที่มีศักยภาพในการเกิด
อันตรายร้ายแรงสูงของโครงการ คือ ก๊าซแอลพีจี และก๊าซโพรเพน เนื่องจากก๊าซแอลพีจีมีองค์
ประกอบของก๊าซโพรเพนอยู่สูงสุดและมีขนาดบรรจุมากที่สุด ทั้งยังมีอัตราการถ่ายเทเข้าออกถัง
บรรจุสูงสุด รองลงมาเป็นก๊าซโพรเพน ดังนั้นทำาให้มีโอกาสทีจ่ ะเกิดการติดไฟหรือระเบิดเมื่อเกิดการ
รั่วไหลออกสู่ภายนอกมากกว่าก๊าซอื่นๆ

(2) ปริมาณของสารที่มีศักยภาพของอันตราย (Quantity of Potential Hazard Substances)


สารอันตรายส่วนใหญ่ถ้าหากมีปริมาณน้อยจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง แต่ถ้ายิ่งมีปริมาณมาก
ผลกระทบทีเ่ กิดขึ้นก็จะรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลปริมาณการกักเก็บสารเคมีในโรงงานพบว่ามี ก๊าซ
แอลพีจีมีการกักเก็บในปริมาณสูง ประมาณ 67.04 ลูกบาศก์เมตร (33.52 ลูกบาศก์เมตร/ถัง) ซึ่งมาก
เป็นเกือบร้อยละ 50 ของก๊าซโพรเพนมีการกักเก็บในปริมาณสูง ประมาณ 36.96 ลูกบาศก์เมตร
(18.48 ลูกบาศก์เมตร/ถัง)

(3) เหตุชักนำาที่จะทำาให้เกิดความเสี่ยงภัย อาทิ สภาวะการกักเก็บที่มีอุณหภูมิ หรือความดัน


สูง หรือตำาแหน่งที่ตงั้ ของสารเคมีที่ใกล้แหล่งกำาเนิดความร้อนหรือประกายไฟ เป็นต้นจากการ
พิจารณาสภาวะการทำางานและการกักเก็บ พบว่าถังบรรจุก๊าซแอลพีจีมีการเชื่อมต่อในทางเข้าจากรถ
ขนถ่ายซึ่งจะขนถ่ายจากรถเข้าสู่ถังบรรจุผ่านอุปกรณ์ควบคุมต่างๆเป็นบริเวณที่ควบคุมอุณภูมิและ
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

ปัจจัยการติดไฟได้ยากเมื่อเทียบกับก๊าซแอลพีจีที่อยู่ในกระบวนการแยกซึ่งส่วนใหญ่ควบคุมอุณหภูมิ
ลดตำ่าเพื่อแยกก๊าซจึงทำาให้เกิดการติดไฟน้อยกว่า

จากหลักเกณฑ์การพิจารณาดังกล่าวเมื่อนำามาจำาแนกความเสี่ยงตามการจัดแบ่งพื้นที่พบว่า
ลานถังเก็บกักวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ (TANK FARM AREA) เป็นพื้นที่วางถังกักเก็บก๊าซแอลพีจีและ
ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยถังกักเก็บเดิมจำานวน 9 ใบ มีองค์ประกอบของสารอันตราย ปริมาณของสาร
ที่มีศักยภาพของอันตราย และเหตุชักนำาที่จะทำาให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายร้ายแรง

เนื่องจากองค์ประกอบของก๊าซแอลพีจีมีส่วนประกอบของก๊าซโพรเพนสูงสุดถึงร้อยละ 66 ดัง
นั้นลักษณะการรั่วไหลหรือการติดไฟ คลอดจนปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจึงมีความ
สอดคล้องกับคุณสมบัติเฉพาะของก๊าซโพรเพนมากที่สุด กระบวนการศึกษาวิเคราะห์และจำาแนกลักษ
ระอันตรายร้ายแรงสำาหรับโครงการนี้จึงได้อ้างอิงแนวทางการศึกษาที่เสนอแนะโดย US.EPA และ
World Bank Guideline มาใช้พิจารณาดังนี้

1) แยกวิเคราะห์สถานการณ์เป็น 2 กรณี คือ กรณีเหตุการณ์รั่วไหลที่ร้ายแรงทีส่ ุด (A worst-


case release scenario) และกรณีเหตุการณ์รั่วไหลแบบจำาลองทางเลือก (Alternative release
scenario)
2) กำาหนดจุดเชื่อมต่อ (Tie-in) เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดรั่วไหลของก๊าซ
3) จัดให้ก๊าซโพรเพน เป็นสารติดไฟสำาคัญ (Flammable substance)
4) กำาหนดให้การรั่วไหลออกสู่ภายนอกเป็นก๊าซเท่านั้น ไม่มีสถานะเป็นของเหลว การ
วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของพฤติกรรมการรั่วไหลและเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงจึงจำาแนกได้เป็น 2
เหตุการณ์ ประกอบด้วยการติดไฟแบบเปลวไฟที่แรงดัน (Jet Fire) และการติดไฟแบบลูกไฟ (Fire
Ball)

5.4 การ วิ เค รา ะห ์ระ ดั บอ ัน ตร ายร ้า ยแร ง (h az ard Ana ly si s)

(1) ลำาด ับ ขั ้น ตอ นกา รวิ เคร าะ ห์


เมื่อพิจารณาสำาหรับข้อมูลเฉพาะของโครงการ

- มีกรณีศึกษาความรุนแรงสูงสุดคือมีการขัดข้องทำาให้เกิดการแตกทำาลายหรือรัว่ ไหล
ของท่อที่เชื่อมจากถังเก็บก๊าซแอลพีจี
- การจำาแนกแบบของการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีเนื่องจากการล้นออก ซึ่งอาจเกิดจาก
ความบกพร่องทัง้ ระบบป้องกันทางกายภาพ ระบบเตือนภัยไม่ทำางาน และพนักงานผู้ควบคุม
บกพร่อง เช่น มีการขนถ่ายผลิตภัณฑ์ลงถังเก็บกัก พนักงานเปิดวาล์ว และปั๊มผลิตภัณฑ์ลงถังเก็บ
กัก โดยถังเก็บกักมีระบบความปลอดภัย 2 ส่วน คือ มีอุปกรณ์วัดระดับผลิตภัณฑ์ในถัง เมื่อถึงระดับ
อันตรายจะมีสัญญาณเตือน อีกระบบหนึ่งเมื่ออุปกรณ์วัดระดับผลิตภัณฑ์ในถังถึงระดับอันตรายจะส่ง

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

สัญญาณให้ปั๊มหยุดทำางาน แต่ถ้ามีการทำางานบกพร่องในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อาจทำาให้เกิด


อันตรายร้ายแรงขึ้นดังนี้

มีการขนถ่ายก๊าซแอลพีจีจากรถขนส่งเข้าถังเก็บหรือการ
ถ่ายเทก๊าซแอลพีจีเพื่อนำาไปเข้ากระบวนการผลิต

พนักงานเปิด วาล์ว และปั๊ม

ก๊าซแอลพีจีอยู่ในระดับสูงสุดในกรณีป้อนเข้า ระบบส่ง ปกติ ปั๊มหยุดทำางาน


สัญญาณ

ขัดข้อง

ปั๊มยังทำางาน

พนักงาน
ระบบส่ง ปกติ ปั๊มหยุด
ปิดปั๊ม
สัญญาณ ทำางาน
ขัดข้องและเกิดการรั่วไหลของก๊าซ
ไม่อยู่ประจำาที่

อั นต รา ยร ้า ย
- การที่ถังเก็บแตกหรือถูกทำาลายหรือเกิดการรั่วไหล ทำาให้ก๊าซแอลพีจีที่บรรจุไว้ถูก
ปล่อยออกสู่ภายนอกโดยพิจารณาผลกระทบพิจารณาจากผลของก๊าซแอลพีจีว่าติดไฟหรือไม่ ระเบิด
หรือไม่

การรั่วไหลของก๊าซจากท่อ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้


• การกัดกร่อนบริเวณภายในหรือภายนอกของท่อส่งก๊าซ (Corrosion -internal and
external)
• ความบกพร่องจากวัสดุที่ใช้ (Material defect)
• ความบกพร่องจากการก่อสร้าง (Construction defect)
• ความบกพร่องที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดัน (Defect caused by pressure cycling)
• การดำาเนินการที่ผิดพลาด (Improper operations) เช่น การใช้แรงดันมากเกินไป
(Over-pressurisation)
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

• การถูกรบกวนจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (Third party interference) เช่น การก่อสร้าง


ถนน การก่อสร้างสาธารณูปโภคอื่นๆ ใต้ดิน การขุดเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างดิน การก่อสร้างในพื้นที่
ข้างเคียง เป็นต้น
• ปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น การเกิดนำ้าท่วม แผ่นดินทรุด เป็นต้น

จากการวิเคราะห์เหตุการณ์ โดยใช้ฐานข้อมูลของ Pipeline Research committee,


American Gas Association (1985-1994) และ European Gas Pipeline (1970-1972) พบว่า ความ
เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะสัมพันธ์กับขนาดของรูรั่วขนาดต่างๆ บนท่อส่งก๊าซตามสัดส่วนที่ได้แสดงไว้
ในตารางที่ 5.4-1 ซึ่งข้อมูลในตาราง ได้มาจากฐานข้อมูลของอัตราการเกิดความผิดพลาดของท่อส่ง
ก๊าซในสหรัฐอเมริกา (US Gas Pipeline failure rate database)

ตา รา งที่ 5. 4-1
คว าม ถี ่ข องก าร เก ิด รู รั่ วข นาด ต่ าง ๆ บนท ่อส่ง ก๊ าซ

ลักษณะของการเกิด ขนาดของรู ความถี่ของการเกิด คิดเป็นร้อยละ


รอยรั่ว (นิ้ว) ความผิดพลาด
(ต่อ กม ต่อ ปี)
รอยแตก (Rupture) 6 5.75 x 10-6 5
รูเจาะ (Puncture) 4 1.73 x 10-5 15
รู (Hole) 2 3.45 x 10-5 30
รอยรั่ว (Leak) 1 5.75 x 10-5 50
รวม 1. 15 x 10 -4 100

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า รูรั่วขนาด 1 นิ้ว มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากที่สุด คือเป็นร้อยละ 50


ของเหตุการณ์ทั้งหมด

(2) กา รว ิเ คร าะ ห์ ผลที ่เก ิด ขึ ้น


ลักษณะการเกิดอันตราย การวิเคราะห์ลักษณะของการเกิดอันตรายต่างๆ จากความ
เสียหายดังกล่าวข้างต้นทำาได้โดยใช้ Event tree analysis ทัง้ นี้ จากการวิเคราะห์ พบว่า เหตุการณ์
อันตรายที่อาจเกิดขึ้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ Jet fire, Flash fire และ Fireball ซึ่งมี
รายละเอียดในตารางที่ 5.4-2 โดยทั่วไปเมื่อสารไวไฟรั่วไหลจากระบบเก็บกัก สถานะของสารที่ออก
สู่บรรยากาศอาจเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขความดันและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เป็นต้นว่า กรณีของ
ก๊าซที่เก็บกักในรูปของก๊าซหรือของเหลวภายใต้ความดันสูง เมื่อรั่วไหลออกสู่บรรยากาศจะกลายเป็น
ก๊าซ เมื่อสารไวไฟรั่วไหลออกสู่บรรยากาศ จะมีการกระจายตัวที่ช้า กรณีที่เกิดการติดไฟทันที
(Immediate Ignition) จะมีลักษณะการติดไฟเป็นวงกว้าง (Pool Fire) แต่กรณีที่ไม่ติดไฟในทันที

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

(Delayed Ignition) จะมีการระเหยในลักษณะกลุ่มควัน (Dense Cloud) และเมื่อความเข้มข้นของ


กลุ่มควันถึงเปอร์เซ็นต์ตำ่าสุดของการติดไฟ (LFL) แล้วเจอแหล่งกำาเนิดประกายไฟ (Ignition Source)

ตา รา งที่ 5. 4-2
ลักษณ ะอั นต รา ยจ าก กา รเ กิ ดร ูร ั่ วข นา ดต ่า งๆ บ นท่ อส่ง ก๊า ซ

เหต ุก าร ณ์ ลักษณ ะ
Fire ball การรั่วไหลของก๊าซ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงแรก จากนั้นจะลดลง
อย่างรวดเร็วและหากมีการจุดระเบิด เนื่องจากการเกิดไฟฟ้าสถิตย์หรือการ
เกิดประกายไฟ จะทำ าให้เกิด fire ball และอาจตามดัวย Jet fire อันตรายของ
fire ball ส่วนใหญ่จะเกิดจากปริมาณการแผ่รังสีความร้อน ที่เพิ่มมากขึ้นอย่าง
มหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว แต่เนื่องจาก fire ball จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วใน
ช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่ Jet fire จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน
ดังนั้น เมื่อเกิดรอยแตกขึ้นแล้ว ความเสียหายที่เกิดจาก Jet fire จะมีความ
รุนแรงมากกว่าความเสียหายที่เกิดจาก fire ball
Jet fire Jet fire เกิดจากก๊าซที่รั่วไหลออกจากท่อส่งก๊าซ แล้วเกิดการจุดระเบิดใน
ทันที และเกิดการลุกไหม้ในลักษณะคล้ายคบเพลิง (blow torch) ทั้งนี้เปลวไฟ
ทีเ่ กิดขึ้น จะครอบคลุมระยะทางเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของรูรั่ว และความ
ดันในเส้นท่อความร้อนที่แผ่กระจายออกมาจากเปลวไฟของ Jet fire จะขึ้นอยู่
กับประเภทของก๊าซที่รั่วออกมา โดยทั่วไปอุณหภูมิของเปลวไฟจะอยู่ในช่วง
1,600 - 2,000 องศาเซลเซียสทั้งนี้เนื่องจาก jet fire มีปริมาณความร้อนสูง
(high heat flux) ดังนั้นจึงทำ าให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ หรือโครงสร้าง
ใดๆ ทีส่ ัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง
Flash fire ภายหลังจากที่ก๊าซเกิดการรั่วไหล กลุ่มหมอกก๊าซจะแพร่กระจายไปตาม
ทิศทางลม ซึ่งถูกทำ าให้เจือจางลงโดยอากาศที่เข้ามารวมกับกลุ่มหมอกก๊าซนี้
ทัง้ นี้การแพร่จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพของก๊าซ ลักษณะและสภาพ
ของการรั่วไหล และสภาพภูมิอากาศ Flash fire เกิดจากการที่กลุ่มหมอก
ก๊าซเหล่านั้นเกิดการจุดระเบิดขึ้นอย่างฉับพลัน (instantaneous) ดังนั้นผู้ที่อยู่
ในบริเวณดังกล่าวจึงไม่สามารถหลบหนีได้ทัน จึงอาจส่งผลให้มีอัตราการสูญ
เสียชีวิตสูง แต่เนื่องจาก flash fire เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และความเข้มของ
รังสีความร้อนไม่สูงมากนัก ทำ าให้ผู้ที่อยู่บริเวณรอบนอกของกลุ่มหมอกก๊าซที่
ติดไฟนั้น ไม่ได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่า
จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สิน นอกเสียจากว่าจะเกิดเพลิง
ไหม้อย่างต่อเนื่องจากวัตถุที่ติดไฟในขณะทีเ่ กิดการลุกไหม้

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

จะทำาให้เกิดการติดไฟของกลุ่มควันในลักษณะ Fire ball/BLEVE หรืออาจเกิดการระเบิด


(unconfined Vapor Cloud Explosion, UVCE) ย้อนกลับมายังแหล่งกำาเนิด แต่ถ้าไม่มีแหล่งกำาเนิด
ประกายไฟกลุ่มควันจะลอยไปทำาให้เกิดผลกระทบในลักษณะความเป็นพิษ (Toxicity) ต่อสุขภาพ
อนามัย ทั้งนี้การศึกษาสมมติสถานการณ์ของการเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุของก๊าซแอลพีจีรั่ว
ไหลออกทางท่อ อันเนื่องมาจากสาเหตุใดๆและเหตุการรั่วไหลดังกล่าว จะมีโอกาสทำาให้เกิดความ
เสียหายหรืออันตรายร้ายแรงใดบ้าง โดยการวิเคราะห์จากแผนภูมิต้นไม้ หากนำ าเหตุการณ์ความเสีย
หายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุด (นั่นคือ การเกิดรูรั่วขนาด 1 นิ้ว) มาวิเคราะห์โดยใช้ Event tree
analysis (รูปที่ 5.4-1) จะเห็นได้ว่า อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ Jet fire ในกรณีที่เกิด Immediate
Ignition หรือ Flash Fire ในกรณีที่ไม่เกิด Immediate Ignition แต่เกิด Delayed Ignition จาก Event
tree analysis จะเห็นได้ว่า โอกาสที่จะเกิด Jet fire นั้น ค่อนข้างน้อยเนื่องจากโอกาสที่จะเกิด
Immediate ignition นั้นมีเพียง 0.07 ในขณะที่โอกาสที่จะไม่เกิดImmediate Ignition นั้นมีถึง 0.93
(Cox AW, FP Lees and ML Ang, 1990) ส่วนโอกาสที่จะเกิด Delayed ignition และ เกิด Flash
fire นั้น มี8jk 0.8 ในขณะที่โอกาสที่จะไม่เกิด Ignition เลย มีค่า 0.2

รูปที่ 5.4- 1 g en eri c e ve nt tr ee an al ys is ของ กา รเ กิ ดร ูรั ่ว ขน าด 1 นิ้ ว

ซึ่งหลังจากที่ได้ผลสรุปจากการวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้แล้ว ก็จะนำาเหตุการณ์ดัง
กล่าวไปประเมินระดับอันตรายและวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยใช้สมการคำานวณทาง
คณิตศาสตร์ พร้อมกับเปรียบเทียบผลการศึกษาออกมาในเชิงตัวเลขรัศมีความเสียหาย และผลกระ
ทบที่เกิดขึ้นทั้งกับชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ในบริเวณโดยรอบเหตุการณ์จำาลองนั้น รวมทั้งนำาผลการ
ศึกษาดังกล่าวไปกำาหนดมาตรการป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รายละเอียดวิธีการ
ศึกษาและการวิเคราะห์สถานการณ์จำาลองอันตรายร้ายแรง

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

5.4. 1 การ วิ เค รา ะห ์สถา นก ารณ ์ก าร รั ่ว ไห ล

1) กรณีเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่วไหลแบบร้ายแรง (A worst-case release scenario)


การศึกษาและวิเคราะห์ก๊าซรั่วร้ายแรงจะเป็นการประเมินเหตุการณ์รั่วไหลของก๊าซแอลพีจี
จากท่อลำาเลียงที่ถังบรรจุในลักษณะการรั่วไหลแบบร้อยละ 100 โดยมีปริมาณรั่วไหลสูงสุด ทั้งนี้
อัตราการไหลของแอลพีจี (สัดส่วนของโพรเพนร้อยละ 60 และบิวเทนร้อยละ 40) ผ่านเข้าถังและออก
ถังด้วยอัตรา 416.67 กิโลกรัม/ชั่วโมง ดังนั้นอัตราการไหลของโพรเพนเป็น 250 กิโลกรัม/ชั่วโมงและ
อัตราการไหลของบิวเทน 166.67 กิโลกรัม/ชั่วโมง

ดังนั้นสัดส่วนโมลของโพรเพน = {(250/44.09)/[(250/44.09)+(166.67/58.12)]}
สัดส่วนโมลของโพรเพน = 0.66
สัดส่วนโมลของบิวเทน = 0.34
the partial vapor pressure ของโพรเพน = 0.66 x 174.8
VPm = 115.37 psig @ 37.78oc
และ the partial vapor pressure ของบิวเทน = 0.34 x 58.8
VPm = 19.99 psig @ 37.78oc
หาค่า A ซึ่งเป็นพื้นที่ผิวของ pool formed ของทั้งสองก๊าซได้ดังนี้

A = QS × DF
โดยที่: A = Maximum area of pool (square feet) for depth of one
centimeter
QS = Quantity released (pounds)
DF = Density Factor

โพรเพน A
= 416.67 x 0.83 x 2.2
= 760.85 ตร.ฟุต
บิวเทน A = 416.67 x 0.81 x 2.2
= 742.50 ตร.ฟุต
จากสมการ B-7 Risk management program guidance for offsite consequence
analysis เพื่อหาอัตราการระเหยของก๊าซแอลพีจีได้ว่า

QR = 0.0035 × U0.78 × MW2/3 × A × VP


(B-7)
T
โดยที่ : QR = Evaporation rate (pounds per minute)
U = Wind speed (meters per second)
MW = Molecular weight (given in Exhibit B-2, Appendix B)
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

A = Surface area of pool formed by the entire quantity of the mixture


(squarefeet)
VPm = Vapor pressure (mm Hg) (VP from Equation B-4 above)
T = Temperature ;Kelvin (K)

QR = {0.0035 x 1/310.78} x {[(44.09)2/3x(760.85)x(115.37)]+ [(58.12)2/3x(742.50)x(19.99)]


= 14.85 ปอนด์/นาที
= 6.75 กิโลกรัม/นาที

การประเมินความเสียหายในกรณีเหตุการณ์รุนแรงที่สุด (worst case) ของการที่ก๊าซ


แอลพีจีรั่วไหลออกจากท่อที่แตกหักร้อยละ 100 จะประยุกต์สมการการระเบิดของ TNT เป็นสมการ
พื้นฐานที่ใช้ประเมินรัศมีของความเสียหายที่เกิดขึ้น อ้างถึงสมการ C-1 Risk management program
guidance for offsite consequence analysis โดยการสมมติว่าก๊าซแอลพีจีกลายเป็น vapor cloud
และมีโอกาสติดไฟได้ที่ความดันมากกว่า 1 psi จะได้รัศมีของความเสียหายที่เกิดขึ้นดังนี้

D = 17 × [0.1 × Wf ×HCf]1/3 (C-1)


HCTNT

โดยที่ : D = Distance to overpressure of 1 psi (meters)


W = Weight of flammable substance (kilograms or pounds/2.2)
HCf = Heat of combustion of flammable substance (kilojoules per kilogram
HCTNT = Heat of explosion of trinitrotoluene (TNT) (4,680 kilojoules per kilogram)

แทนค่า Wf = 6.75 กิโลกรัม/นาที


HCf = ((0.66 x 21690)+(0.34x21290))x (1.055/2.2)
= 10,336.1 kj/kg
HCTNT = 4,680 kj/kg

D = 17 × [0.1 × 6.75 ×10,336.1]1/3


(C-1)
4,680
= 19.42 เมตร (ที่ความดันมากกว่า 1 psi)

2) กรณีเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่วไหลแบบจำาลองทางเลือก (Alternative release scenario)


การศึกษาและวิเคราะห์ก๊าซแอลพีจีรั่วไหล อาจจำาลองทางเลือกของเหตุการณ์ที่เกิดตามมา
ดังนี้

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

1) การติดไฟของก๊าซที่ขนส่งภายใต้ความดันในเส้นท่อ เมื่อเกิดการรั่วไหลใน
ลักษณะของแรงดัน หรือที่เรียกว่า “blows” จะออกสู่บรรยากาศในทิศทางของแนวรั่วนั้นๆ และเมื่อ
เกิดการติดไฟทันทีจะมีลักษณะแบบ jet fire เผาไหม้ในเวลาที่รวดเร็ว ไม่มีการสะสมของก๊าซ จึงใช้
ระยะเวลาการรั่วไหล 1 วินาที

2) กรณีที่มีการรั่วไหลแล้วไม่ตดิ ไฟในทันทีทันใด ก๊าซที่รั่วไหลบางส่วนที่เป็นก๊าซ


เบาจะกระจายไปในบรรยากาศ ส่วนก๊าซที่หนักและสะสมอยู่ด้านล่างและเมื่อเกิดการติดไฟของก๊าซ
จะเกิดการลุกไหม้ในลักษณะปฏิกิริยาลูกโซ่และก๊าซที่สะสมอญ่จะติดไฟในลักษณะลูกไฟหรือ fire
ball

เมื่อก๊าซเกิดรั่วไหลด้วยความดันภายในท่อ ลักษณะรูปทรงของการเคลื่อนที่และ
การขยายตัวของก๊าซจากตำาแหน่งที่รั่วจะขึ้นอยู่กับแรงดันภายในท่อ ซึ่งจะเกิดรูปทรงลักษณะวงรี
(ellipse) ในทิศทางตรงกันข้ามกับศูนย์กลางของรูที่รั่วไหลและเฉียงขึ้นสู่บรรยากาศ โดยอาจเกิดการ
ติดไฟทัง้ ลักษณะของ fire ball หรือ jet fire จะมีรูปทรงคล้ายกับการขยายตัวของก๊าซด้วย

การประเมินผลกระทบที่เกิดจากเพลิงไหม้จะพิจารณาจากระดับพลังงานความร้อน
ต่างๆในช่วง 4.0-37.5 kW/m2 และนำาค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์กำาหนดของผลกระทบต่อ
อุปกรณ์และบุคคลในระดับพลังงานต่างๆ ดังตารางที่ 5.4.1-1

ตา รา งที่ 5. 4.1 -1
ผล กร ะทบจ าก ระ ดั บพ ลังง าน คว ามร ้อ นท ี่ม ีต่ อทร ัพ ย์สิ นแ ละ มน ุษ ย์

ระดับพลังงาน ประเภทของความเสียหาย
2
ความร้อน (kW/m ) ผลกระทบต่ออุปกรณ์ทรัพย์สิน ผลกระทบต่อมนุษย์
37.5 - ทำาลายอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต - 100% เสียชีวิตภายใน 1 นาที และ
1% เสียชีวิตภายใน 10 วินาที
25.0 - ระดับพลังงานตำ่าสุดที่ไม้ติดไฟโดยไม่ - 100% เสียชีวิตภายใน 1 นาที และ
มีเปลวไฟ บาดเจ็บสาหัสภายใน 10 วินาที
12.5 - ระดับพลังงานตำ่าสุดที่ไม้ติดไฟด้วย - 1% เสียชีวิตภายใน 1 นาที และ
เปลวไฟและท่อพลาสติกละลาย ผิวหนังไม้ภายใน 10 วินาที
4.0 - - รู้สึกแสบผิวหนังถ้าอยู่นานกว่า 20
วินาที แต่ไม่ทำาให้พุพอง

ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันตามลักษณะของการติดไฟ
และขนาดรูรั่วหรือปริมาณที่รั่วไหลของก๊าซแอลพีจี และผลการวิเคราะห์เหตุการณ์ของการเกิด fire
ball และ jet fire สามารถประเมินระดับผลกระทบได้ดังนี้
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

ก) กรณีเกิดไฟไหม้แบบลูกไฟ (fire ball)


การรั่วไหลของก๊าซทันทีทันใดและเกิดลูกไฟ ซึ่งเกิดจากการที่กาซแอลพีจีสันดาปกับ
อากาศที่อุณหภูมิติดไฟ ลูกไฟที่เกิดขึ้นจะมีขนาดแตกต่างกันตามปริมาณของก๊าซที่รั่วไหล และ
คุณสมบัติเฉพาะของก๊าซแอลพีจี เมื่อก๊าซพุงออกด้วยแรงดันสูงจะเกิดการแพร่สูงบรรยากาศอย่าง
รวดเร็ว ดังนั้นโอกาสการติดไฟและเกิดลุกไฟจึงต้องเกิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจประเมินรัศมีการแผ่
ความร้อนตามระดับพลังงานความร้อน อ้างถึงตารางที่ 5.4.1-1 ตามสมการ D-30 Risk
management program guidance for offsite consequence analysis ดังนี้

q = 2.2 Ωa R Hc mf 0.67 (D-30)


4πL 2
โดยที่ : q = Radiation received by the receptor (Watts per square meter)
mf = Mass of fuel in the fireball (kg)
Ωa = Atmospheric transmissivity
Hc = Heat of combustion (Joules per kilogram)
R = Radiative fraction of heat of combustion
L = Distance from fireball center to receptor (meters)

จากสมการคำานวณความเร็วของการสันดาปสารติดไฟประเภทก๊าซแอลพีจี พบว่า

tc = 0.45 mf 1/3 for mf < 30,000 kg (D-31)


และ tc = 2.6 mf 1/6 for mf > 30,000 kg (D-32)

โดยที่ : mf = Mass of fuel (kg)


tc = Combustion duration (seconds)

แทนค่า mf = 6.75 กิโลกรัม/นาที หรือ 0.11 กิโลกรัม/วินาที


tc = 0.45 (0.11)1/3 เพราะ 0.11 < 30,000 kg
tc = 0.22 วินาที

การรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีที่ไหลออกปริมาณ 0.11 กิโลกรัม (ร้อยละ 100 หรือกรณีท่อ


แตกหัก) จะถูกสันดาปอย่างรวดเร็วและเผาไหม้หมดภายใน 0.22 วินาที หากกำาหนดให้เกิดลูกไฟ
เมื่อมีการรั่วไหลของก๊าซในเวลานานที่สุดเท่าที่แรงดันในท่อยังมีระดับสูงสุด คือนาน 10 วินาที ผล
การประเมินระยะทางจากจุดศูนย์กลางไฟ กรณีเกิด fire ball ทีร่ ะดับพลังงานความร้อน 37.5, 25.0,
12.5 และ 4.0 kW/m2 ดังตารางที่ 5.4.1-2 และรูปรัศมีความร้อนดังรูปที่ 5.4.1-1

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

ตาร างท ี่ 5.4. 1- 2


ระ ยะท างจา กจุ ดศู นย ์ก ลา งไ ฟ ก รณี เกิ ด fir e b al l

ระดับพลังงานความร้อน (kW/m2) รัศมีการแผ่ความร้อน (เมตร)


37.5 4.54
25.0 5.56
12.5 7.86
4.0 13.89

จากสมการ (D-30) แปลงได้ว่า

L = 2.2 Ωa R Hc mf 0.67 1/2


4π q
แทนค่าระดับพลังงานความร้อน 37.5, 25.0, 12.5 และ 4.0 kW/m2

L = 2.2 (1.0)(0.4)(10.33 x 106)(1.1) 0.67 1/2

4(3.14)(37.5x 103)

ทีค่ ่าระดับพลังงานความร้อน 37.5 kW/m2 จะมีรัศมีการแผ่ความร้อน 4.54 เมตร

ข) กรณีเกิดไฟไหม้แบบ jet fire


กรณีที่ก๊าซเกิดการรั่วไหลในปริมาณตำ่า ไม่เกินร้อยละ 20 และไม่เกิดการติดไฟอย่าง
ทันทีทันใดนั้น กาซที่รั่วไหลออกจากท่อในบริเวณพื้นทีโ่ ล่ง มีอากาศถ่ายเทดี จะมีการเจือจางไปใน
บรรยากาศส่วนใหญ่ และความเข้มข้นไอในบรรยากาศจะไม่เกินกว่าขีดจำากัดการติดไฟตำ่าสุด (LFL)
ดังนั้นโอกาสการสันดาปและติดไฟด้วยตัวเองเกิดขึ้นได้ยาก ยกเว้นมีการสันดาปโดยมีการกระทำา
จากภายนอก ซึ่งกรรีนี้จะเกิด fire ball ในการสันดาปครั้งแรก และเปลวไฟที่ติดบริเวณจุดรั่วไหลจะลุ
ดกไหม้ก๊าซในลักษณะไฟไหม้แบบ jet fire โดยที่ jet fire จะครอบคลุมบริเวณที่ใกล้กว่า fire ball
กรณีแรกและระดับอันตรายน้อยกว่า ครอบคลุมพื้นที่ใกล้กว่า แต่จะมีความยาวของเปลวไฟทีจ่ ะเกิด
จากแรงดันของก๊าซ ดังนั้น ลักษณะเปลวไฟและรัศมีความร้อนของก๊าซที่พุ่งเผาไหม้จะเป็นลำายาว
เป็นวงรีจากตำาแหน่งที่ติดไฟ ทัง้ นี้จากกรณีการคำานวณโดยใช้สมการจาก Techniques for
Assessing Industrial Hazards ในเอกสาร World Bank Technical paper number 55 (WTP55)
1990 จะสามารถหาค่ารัศมีการแผ่ความร้อนได้จากสมการ

I = Xg Qp
4πr2
และ Qp = ‫ױ‬QHc , = 0.35 ‫ױ‬
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

โดยที่ Xg = 0.2
Q = 0.11 กิโลกรัม/วินาที
Hc = Heat of combustion = 10.33 x 106 Joules per kilogram
I = ระดับพลังงานความร้อน 37.5, 25.0, 12.5 และ 4.0 kW/m2
L = ระยะทางการแผ่รังสีความร้อนของ jet fire (meters)

หากกำาหนดให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีไปในบริเวณที่ไม่มีผลกระทบในแนวเฉียงสู่
อากาศ ผลการประเมินระยะทางความยาวของเปลวจากจุดศูนย์กลางไฟ กรณีเกิด jet fire ที่ระดับ
พลังงานความร้อน 37.5, 25.0, 12.5 และ 4.0 kW/m2 ดังตารางที่ 5.4.1-3 และรูปรัศมีความร้อนดัง
รูปที่ 5.4.1-2

ตาร างท ี่ 5.4. 1- 3


ระ ยะท างข องเปล วจา กจุ ดศ ูน ย์ กล าง ไฟ กรณ ีเก ิด je t fir e

ระดับพลังงานความร้อน (kW/m2) รัศมีการแผ่ความร้อน (เมตร)


37.5 0.41
25.0 0.50
12.5 0.71
4.0 1.26

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเกิดไฟไหม้แบบ jet fire จะมีรัศมีของเปลวไฟและความร้อนที่


แคบกว่าการเกิดลูกไฟหรือ fire ball แต่ถ้าลักษณะการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีมีทิศทางขนานกับพื้น
หรือช่อเปิดของรอยรั่วมีทิศทางขนานกับพื้นดิน ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใน
แนวเดียวกันกับเปลวไฟหรือความร้อน หรือพื้นที่ที่เป็นจุดศูนย์กลางของเปลวไฟนั้นๆ จะมีความ
รุนแรงไม่น้อยกว่าการเกิดลุกไฟ ซึ่งพื้นที่เสี่ยงอันตรายทีจ่ ะมีโอกาสเกิดรั่วไหลของก๊าซและทำาให้เกิด
การรั่วไหลในแนวขนานหรือแนวระนาบดินเป็นถังบรรจุโพรเพน

5.5 มาต รก าร ด้ านค วามป ลอ ดภ ัย

จากการวิเคราะห์และประเมินผลของอุบัติภัยที่เกิดขึ้น0ะเห็นว่าเหตุการณ์แรกที่เป็นต้นเหตุ
ของการเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด คือการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีที่มีลักษณะสมบัติของความไวไฟ
ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา ดังนั้นมาตรการการป้องกันที่สำาคัญคือ ป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล
ของก๊าซแอลพีจี นอกเหนือจากการออกแบบกระบวนการผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ ให้ปลอดภัยและ
ป้องกันการรั่วไหลแล้ว มาตราการความปลอดภัยทีจ่ ะช่วยเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกัน

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG


โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

และควบคุมอุบัติภัยร้ายแรง ได้แก่ระบบการหยุดการทำางานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน (Emergency


Shutdown System) เพื่อลดปริมาณการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีในขณะเกิดเหตุ

5.5. 1 มาต รก าร ป้อง กั นก าร เก ิด อุ บั ติภ ัย

มาตรการควบคุมและลดหรือบรรเทาอุบัติภัยที่เกิดขึ้น มาตรการป้องกันการเกิดอุบัติภัย จะ
ครอบคลุมถึงเรื่อง
• การออกแบบ การสร้าง และการติดตั้ง เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนการ
ใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน
• ระบบความปลอดภัย
• การทำางานหรือการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
• การซ่อมบำารุงเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือ
• การทดสอบ ตรวจสอบ เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือ
• การควบคุมการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น กระบวนการผลิต วัตถุดิบ เครื่องจักร
• การฝึกอบรม (Training)
• การตรวจประเมินความปลอดภัย (Safety Audits)
• การปฏิบัติตามข้อกำาหนด (Code of Practices)
สำาหรับมาตรการควบคุมและลดหรือบรรเทาอุบัติภัยที่เกิดขึ้น จะครอบคลุมถึงเรื่อง
• ระบบการเตือนภัย
• ระบบการตรวจวัด
• ระบบและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำาหรับปฏิบัติการฉุกเฉิน เช่น ระบบการดับเพลิง
ชุดป้องกันอันตรายจากก๊าซแอลพีจี
• หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน เช่น การดับเพลิง การระงับเหตุรั่วไหลของก๊าซแอลพีจี
• แผนปฏิบัติการฉุกเฉิน และการฝึกซ้อม
• เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย

5.5. 2 หลั กก าร กา รว างแ ผน การจ ัด กา รอ ุบ ัต ิภ ัยจ าก กา รร ั่ วไ หล ขอ งก๊ าซ แอล พีจ ี


การจัดการอุบัติภัยจากการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการบริหารจัดการ
ความเสี่ยงจากการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจี โดยยึดหลักการของการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk
Management) ในโรงงาน ก็เหมือนหลักการบริหารทั่วไปซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. การชี้บ่งอันตราย
2. การวิเคราะห์ผลของอุบัติภัยที่เกิดขึ้น (Consequence Analysis)
3. การควบคุมหรือปฏิบัติการตอบโต้
4. ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ :
• ระเบียบปฏิบัติสำาหรับการปฏิบัติงาน
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

• ระเบียบปฏิบัติสำาหรับการซ่อมบำารุง
• ระเบียบปฏิบัติสำาหรับการทดสอบและการตรวจสอบ
• ระเบียบปฏิบัติสำาหรับการควบคุมในการเปลี่ยนแปลง (Change Control)
5. การฝึกอบรม
6. การวางแผนฉุกเฉิน (Emergency Response Planning)
7. การสอบสวนอุบัติเหตุ
8. การตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Audits)

1) การ บ่ งช ี้ อัน ตร าย (Ha zar d Id en ti fi cat io n)


โดยเฉพาะโรงงานจะต้องมีการดำาเนินงานในการชี้บ่งอันตรายเพื่อสร้างความมั่นใจว่า
กระบวนการผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำางานต่าง ๆ และพื้นที่การทำางานทุกแห่งมีการ
ดำาเนินงานเพื่อป้องกัน และควบคุมให้เกิดความปลอดภัยตามนโยบายและแผนงานของโรงงาน

2) การ วิ เค รา ะห ์ผ ลข องอ ุบ ัติ ภั ยที่ เกิ ดข ึ้ น (Co ns eq ue nc e


An al ys is)
เมื่อโรงงานได้ชี้บ่งอันตรายและแจกแจงรายละเอียดเครื่องจักรอุปกรณ์ กระบวนการผลิต
พื้นที่ กิจกรรมใดบ้างที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงทีจ่ ะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัตภิ ัยร้ายแรง ซึ่ง
ต้องทำาการวิเคราะห์และประเมินผลของอุบัติภัยที่เกิดขึ้น (Consequence Analysis) เพื่ออธิบาย
ลักษณะของอุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นและการส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้
อย่างไรบ้าง โดยแจกแจงถึงปัจจัย และเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติภัยนั้น ๆ โดยต้องสร้าง
สถานการณ์จำาลองของอุบัติภัยร้ายแรงและเลือกสถานการณ์ที่เกิดแล้วส่งผลรุนแรงทีส่ ุด โดยต้อง
พิจารณาถึงความหนาแน่นของประชากรและสภาพอากาศ ความเร็วและทิศทางลม รวมทั้งชนิดและ
สถานะของก๊าซแอลพีจีที่รั่วไหล และต้องคำานึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจด้วย เช่น การ
ระเบิด ต้องคำานวณรัศมีของคลื่นความดัน กรณีเกิดไฟไหม้ต้องคำานวณรัศมีของลูกไฟและค่า
การแผ่รังสีความร้อนต่อระยะทาง ถ้าสารพิษรั่วไหล ก็ต้องคำานวณความเข้มข้นของสารพิษที่จะแพร่
กระจายไปในระยะทางต่าง ๆซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของโรงงาน
ในการป้องกัน บรรเทาหรือลด และควบคุมการเกิดอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้มิให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน
และเป็นข้อมูลที่สำาคัญสำาหรับชุมชนในการเตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ

3) การ คว บค ุม (Co ntr ol Me as ure)


การควบคุมทางวิศวกรรมเป็นสิ่งแรกทีโ่ รงงานต้องดำาเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้น
ตอนของการออกแบบ การกำาหนดคุณสมบัติ เทคนิคการสร้าง และการตรวจทดสอบของวัสดุที่จะนำา
มาใช้ในการสร้างเครื่องจักรอุปกรณ์ ท่อส่ง ถังปฏิกิริยาเคมี ภาชนะบรรจุก๊าซแอลพีจี เป็นต้น และสิง่
อำานวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสาธารณูปโภค (Facilities and Utilities) เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรม
เหล่านี้เป็นไปตามมาตรฐานทางอุตสาหกรรมที่เหมาะสมและข้อกำาหนด กฎระเบียบของราชการ
มาตรการความปลอดภัยที่สำาคัญสำาหรับอุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นในโรงงาน ระบบความปลอดภัยเป็น
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

สิ่งที่ต้องให้ความสำาคัญคู่กับการควบคุมทางวิศวกรรมในการออกแบบ เพื่อเป็นการป้องกันเสริมกรณี
การออกแบบผิดพลาดหรือเกิดข้อบกพร่องจากการใช้งาน เช่น ระบบหยุดการทำางานฉุกเฉินระบบ
เตือนภัย วาล์วนิรภัย เป็นต้น

4) ระเบ ีย บปฏิ บั ติ (Pro ce du re s)


การบริหารความเสี่ยงต้องพิจารณาถึงวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัย เพราะขั้นตอนและ
วิธีปฏิบัติในการทำางาน (Operating Procedures) เป็นเรื่องที่ถูกนำามาศึกษาวิเคราะห์เพื่อชี้บ่ง
อันตรายว่าการปฏิบัติงานใดบ้างที่เห็นต้นเหตุนำาไปสู่การเกิดอุบัติภัยร้ายแรงได้ และจะเกิดได้ด้วย
ปัจจัยหรือเงื่อนไขอะไรการปฏิบัติทำางานเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดอุบัติภัยร้ายแรงได้ จึงจำาเป็นที่
ต้องกำาหนดขั้นตอนและวิธปี ฏิบัติในการทำางาน (Operating Procedures) เพื่อคนงานปฏิบัติงานได้
ถูกต้องขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการซ่อมบำารุง การทดสอบ และการตรวจสอบเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มี
ความเสี่ยงต่อการกิดอุบัติภัยต้องมีระบบซ่อมบำารุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ซึ่ง
สามารถชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่เครื่องจักรอุปกรณ์จะชำารุดเสียหายได้ระเบียบปฏิบัติที่ต้องนำามาใช้

1. ระเบียบปฏิบัติในการทำางาน (Operating procedures) ทีร่ วมถึงการเปิด-ปิด


สิ่งอำานวยความสะดวกทั่วไป การสุ่มตัวอย่าง การหยุดทำางานฉุกเฉิน (emergency shutdown) และ
การเปลี่ยนกะทำางาน
2. ระเบียบปฏิบัติในการซ่อมบำารุง (Maintenance Procedures) ทีร่ วมถึงตาราง
การซ่อมบำารุงปกติ การซ่อมบำารุงเชิงแก้ไข (corrective Maintenance) การซ่อมบำารุงเชิงป้องกัน
(Preventive Maintenance) และการอนุญาตให้ปฏิบัติงาน (Work Permit)
3. ระเบียบปฏิบัติในด้านความปลอดภัย (Safety Procedures) ทีก่ ล่าวถึงการฝึก
ปฏิบัติด้านความปลอดภัยโรงงาน (ภายใต้สภาวะการทางานปกติและไม่ปกติ) การอพยพเคลื่อนย้าย
การตอบโต้เหตุฉุกเฉินและวิธีการปฐมพยาบาล
4. ระเบียบปฏิบัติการทดสอบและตรวจสอบ (Inspection and Testing
Procedures) ทีเ่ กี่ยวข้องกับ
อุปกรณ์อำานวยความสะดวกต่าง ๆ ในขณะปฎิบัติงาน การซ่อมบำารุง และการตรวจสอบงาน
5. ระเบียบปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร (Communication Procedures) ซึ่งมี
ความสำาคัญมากในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเนื่องจากระเบียบปฏิบัติอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นในโรงงาน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระเบียบปฏิบัติสำาหรับการบริหารความเสี่ยงต้องได้
รับการควบคุมและพิจารณาอย่างเหมาะสมโดยบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหารของโรงงาน

5) การ ฝึ กอ บร ม (Tr ai ni ng)


จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมพบว่า 2 ใน 3 ของอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความ
ผิดพลาดของคนมากกว่าความล้มเหลวของเครื่องจักรอุปกรณ์หรือความบกพร่องในการออกแบบ ถึง
การบริหารความเสี่ยงโดยวิธีการออกแบบเป็นสิง่ ที่สำาคัญที่สุด แต่ก็ต้องไม่ละเลยเรื่องของปฏิบัติงาน
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

ถ้าคนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการปฏิบัติงานอาจจะเกิดจากความไม่รู้ จึงจำาเป็นที่จะต้องให้ผู้ปฏิบัติงาน
ทุกคนรู้ เข้าใจ ถึงการปฏิบัติงานอย่างความปลอดภัยการฝึกอบรม จึงเป็นกิจกรรมในการคบริหาร
ความเสี่ยงที่สำาคัญ เพื่อให้บุคลากรในโรงงานได้รับการศึกษาให้มีความคุ้นเคยกับการทำางานและข้อ
ปฎิบัติด้านความปลอดภัย เช่น การฝึกอบรมพนักงานใหม่ เป็นการให้การศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับ
พนักงานใหม่ทุกคนก่อนที่จะเริ่มงาน การแนะนำาให้ข้อมูล และเดินชมโรงงานทั้งหมด การฝึกอบรม
ขณะปฎิบัติงาน (On-the-Job Training) เป็นการเรียนในห้องเรียน และการฝึกปฎิบัติจริงคู่กันไป
เป็นต้น ในการฝึกอบรมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าฝึกอบรมมีความเข้าใจในเทคนิคการทำางานขั้นพื้นฐาน
และหลักการควบคุมกระบวนการทำางานต่าง ๆ จึงควรมีการประเมินผลทั้งด้านข้อเขียนและการสอบ
ปากเปล่าความรู้ด้านความปลอดภัย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผปู้ ฏิบัติงานต้องได้รับการฝึกอบรม นอกจาก
การ อบรมในห้องเรียน ต้องทำาการฝึกซ้อม และการฝึกปฎิบัติ เช่น การปฐมพยาบาล การแจ้งเหตุ
อันตราย การดับเพลิง การฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูความรู้เป็นสิ่งสำาคัญที่ต้องจัดให้กับพนักงาน หัวหน้า
งาน เจ้าหน้าที่ และผู้จัดการที่ปฎิบัติงานในโรงงาน บุคลากรทุกคนต้องได้รับเพื่อให้ทราบถึงการ
เปลี่ยนแปลงในเรื่องอุปกรณ์ ระบบ ข้อจำากัดในการจัดการกับสารเคมี ชนิดใหม่ หรือในเรื่องอื่น ๆ ที่
อาจมีผลต่อความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายลง และควร
จัดฟื้นฟูความรู้ให้พนักงานอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะความชำานาญงานของผู้ปฎิบัติงานจะเริ่มเสื่อม
สภาพเมื่อเวลาผ่านไปเกินกว่า 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำาหรับกิจกรรมที่ไม่ได้กระทำาบ่อย ๆ

6) กา รว างแ ผน ฉุก เฉ ิน (Emer ge nc y Pl an ni ng)


การเตรียมพร้อมรับเหตุฉกุ เฉินเป็นระบบวางแผนล่วงหน้าของโรงงานเพื่อกำาหนดแผน
งาน และหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อเตรียมพร้อมรับและตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้
การจัดองค์กรสำาหรับการเตรียมพร้อมรับและตอบโต้เหตุฉุกเฉินจะต้องระบุถึงสายงานการบังคับ
บัญชาและหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกให้ชัดเจน องค์กรนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฎิบัติงาน
ดังต่อไปนี้
• กำาหนดและพัฒนาแผนปฏิบัติตอบโต้เหตุฉุกเฉินของโรงงาน
• ฝึกซ้อมแผนปฎิบัติและพิจารณาทบทวน หาข้อบกพร่องและผิดพลาดเพื่อนำา
มาแก้ไขแผนปฏิบัติตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
• ปรับปรุงและพัฒนาวิธปี ฎิบัติในการตอบโต้เหตุฉุกเฉินตามแผนที่นำามาปฎิบัติ
• จัดฝึกอบรม ฝึกซ้อมและฝึกปฎิบัติแก่คนงานในโรงงาน
• จัดตั้งและดำาเนินการต่าง ๆ ในศูนย์บัญชาการฉุกเฉิน (Eemergency
Command Center)
• ประสานงานกิจกรรมด้านเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ในโรงงาน
• ติดต่อสื่อสารกับหน่วยราชการและองค์กรท้องถิ่นเพื่อขอความช่วยเหลือ
• ควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน เช่น
ระบบสัญญาณเตือนภัยไฟฉุกเฉิน สารดับเพลิง วิทยุสื่อสาร อุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์
ปฐมพยาบาล
สำาหรับหัวข้อในการฝึกอบรมควรประกอบด้วย
AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG
โค รงการโ รงงา นผลิตสารทำาความเย็นคุณภา พสู ง บริษั ท ส ยามเพียวแกส จำากัด

• การตอบโต้และการระงับเหตุขั้นต้น
• การแจ้งเหตุและการเตือนภัยให้องค์กรทราบ
• การจัดตั้งและการปฎิบัติงานของศูนย์บัญชาการ
• ระบบติดต่อสื่อสาร
• การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
7) กา รสอ บสว นอ ุบ ัต ิเ หตุ (Acc id en t In ve st ig at io n)
การสอบสวนอุบัติเหตุเป็นการบริหารความเสี่ยงที่สำาคัญในการค้นหาความจริงถึง
สาเหตุ และปัจจัยที่ทำาให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ เพื่อชี้บ่งอันตรายและกำาหนด
มาตรการป้องกัน การสอบสวนอุบัติเหตุจะได้ผลสำาเร็จ ถ้ามิได้กระทำาเพื่อค้นหาตัวผู้กระทำาผิด การ
สอบสวนอุบัติเหตุเป็นการเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง คนงานจึงต้องความตระหนักในกา
รายงานความผิดพลาดหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นวัตถุประสงค์ของการสอบสวนอุบัติเหตุคือ

• เพื่อค้นหาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น
• เพื่อหามาตรการหรือวิธีการไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก
• เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุ

ในการสอบสวนอุบัติเหตุต้องกำาหนดตัวบุคคล ควรจัดทีมสอบสวนซึ่งประกอบด้วย
ฝ่ายบริหาร และหัวหน้างานในงานต่าง ๆ กัน เข้าร่วมรับผิดชอบทำาการสอบสวนทันทีให้เร็วทีส่ ุดเท่า
ทีจ่ ะทำาได้เพื่อจะได้เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ ได้ครบถ้วน สมบูรณ์ เชื่อถือได้ในการนำา
ไปสอบสวน มีการสัมภาษณ์ สอบถาม คนที่รับผิดชอบและผู้ที่เห็นหรืออยู่ในเหตุเหตุการณ์ ตรวจ
สอบข้อมูลทางเทคนิคต่าง ๆ และศึกษาเปรียบเทียบกับอุบัติเหตุคล้ายกันที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ข้อมูล
ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุควรจัดทำาเป็นเอกสารและเก็บรักษาไว้อย่างดี รายงานการสอบสวน
อุบัติเหตุต้องเก็บเป็นบันทึก เพราะในรายงานจะประกอบด้วยรายละเอียดการ ปฎิบัติงานของโรงงาน
ที่ผ่านมา และข้อมูลการสอบสวน ข้อสรุป ข้อแนะนำา และวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมรายงานการ
สอบสวนอุบัติเหตุจะสมบูรณ์เมื่อได้กระทำาการปรับปรุงแก้ไขทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว

8) การ ตร วจสอ บ (Au di ts)


การตรวจสอบเป็นเครื่องมือที่สำาคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อควบคุม กำากับ
และดูแลการปฎิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยร้ายแรงให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ และ
ประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อการปรับปรุงการดำาเนินงานให้ดียิ่งขึ้นกระบวนการตรวจสอบสามารถทำาได้
หลายรูปแบบ เช่น การตรวจสอบการปฏิบัติงาน การทบทวนบันทึกและเอกสาร การตรวจสอบการ
ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน รวมทัง้ การสัมภาษณ์บุคคลการตรวจสอบต้องมี
การจัดทำาเป็นรายงาน และนำาผลการตรวจสอบเข้าสู่กระบวนการทบทวนเพื่อให้เกิดการพัฒนาและ
ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

AIR SAVE CO ., L TD 4881/EIA/CH5_SPG

You might also like