You are on page 1of 10

บทที่ 7

การหามูลคาตราสารดอกเบี้ยลอยตัวธรรมดาและแบบผกผัน
( Floating Rate & Inverse Floating Rate Securities )

เนือ้ หาสวนนี้จะครอบคลุมถึงวิธีการประเมินมูลคาตราสารดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งประกอบไปดวย


- อัตราผลตอบแทนปจจุบัน (Current Yield)
- สวนตางสุทธิ (Effective Yield)
- รายไดเหลี่ยม (Current Marginal Income)
- ราคาวันจายดอกเบี้ย (Implied Coupon Date Price)
- วิธีการประเมินมูลคาตราสารดอกเบี้ยผกผัน

ในวิธีการประเมินมูลคาตราสารหนี้ทั่วไป ขอสมมุติฐานที่สําคัญอันหนึ่ง คือตองทราบกระแส


เงินสดในอนาคตของตราสารนั้น จึงจะสามารถหาอัตราผลตอบแทนจนไถถอน ( Yield to Maturity ) แต
ตราสารหนี้บางประเภทนั้นเราจะไมสามารถทราบกระแสเงินที่แนนนอนของตราสารนั้นได ตราสารดอก
เบี้ยลอยตัวและตราสารดอกเบี้ยลอยตัวผกผันก็เปนหนึ่งในตราสารประเภทนี้ เราจึงจําเปนตองใชวิธี
ประเมินมูลคาที่แตกตางไปจากวิธีทั่วไป เชน ตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัวทั้งแบบธรรมดาและแบบผกผัน
ซึ่งจะไดกลาวถึงแตละประเภทตามลําดับตอไป

7.1 ตราสารดอกเบี้ยลอยตัว
7.1.1 ลักษณะทั่วไป
ตราสารดอกเบี้ยลอยตัว หมายถึง ตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ยใหเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราอาง
อิง ( Reference Rate ) บวกดวยสวนตาง ( Margin ) โดยจะกําหนดระยะเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอก
เบี้ยไวลวงหนา เชนทุก 3 หรือ 6 เดือน ในตลาดทุนตางประเทศจะนิยมใชอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเปนอัตรา
อางอิง อาทิ LIBOR SIBOR เปนตน

สํ าหรับประเทศไทยนั้นเรายังไมมีอัตราดอกเบี้ยอางอิงระยะสั้นที่ใชเปนมาตรฐานแนนอน ใน
ปจจุบันจึงมีการใชอัตราอางอิงกันอยู 2 อัตราคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกูยืมลูกคาชั้นดี ( MLR ) ของธนาคาร
พาณิชยขนาดใหญ และ Thai Baht Fixed ซึ่งธนาคารขนาดใหญเปนผูเสนออัตราในแตละวันผานเครือขาย

53
ขอมูลระหวางประเทศอยาง Reuter และ Moneyline Telerate กอนหนานี้แมวาจะมีความพยายามที่
พัฒนาอัตราอางอิงระยะสั้นอยาง BIBOR แตก็ไมไดรับความนิยมจนตองเลิกไปในที่สุด สําหรับอัตราที่ใช
กันอยูนั้น MLR เปนอัตราสําหรับการกูยืมไมคอยมีความเคลื่อนไหวมากนัก สวน Thai Baht Fixed นั้น
เปนการคํานวณมาจาก Swap Rate ซึ่งก็ไมใชอัตราสําหรับการกูยืมในระยะสั้นอยูดี แตเนื่องจากยังไมมี
อัตราอางอิงอื่นที่ดีกวา การออกตราสารหนี้ดอกเบี้ยลอยตัวในระยะหลังจึงใช Thai Baht Fixed มากกวา

เงือ่ นไขที่ผูออกนิยมกําหนดไวในตราสารหนี้ดอกเบี้ยลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ตราสารจะ


จายคือ Cap และอัตราดอกเบี้ยตํ่าสุดที่ตราสารจะจาย หรือ Floor

7.1.2 วิธีคิดมูลคา
เนือ่ งจากเราไมสามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตของตราสารดอกเบี้ยลอยตัวได ผลที่ตามมา
ก็คือเราไมสามารถหากระแสเงินสดในอนาคตที่แนนอนได วิธีการประเมินมูลคาตราสารดอกเบี้ยลอยตัว
จึงตองใชวิธีตั้งแตอยางงายไปจนถึงอยางยากดังนี้
1) อัตราผลตอบแทนปจจุบัน ( Current Yield )
เปนการหาอัตราผลตอบแทนปจจุบันที่งายที่สุดและสะดวกในการใช โดยสามารถหาไดจากสูตร

อัตราผลตอบแทนปจจุบัน = อัตราดอกเบี้ยในปจจุบัน x 100


ราคาปจจุบัน

2) สวนตางสุทธิ ( Effective Margin )


ในการคํานวณหาสวนตางสุทธิ (Effective Margin ) เปนการหาสวนตางสุทธิเมื่อเทียบกับอัตราอาง
อิงที่ตราสารนั้นใชอางอิงอยู สําหรับเหตุผลที่อยูเบื้องหลังในการคํานวณแบบนี้คือ เปนการหาผลตอบ
แทนสวนที่เกินตนทุนของการกูยืม ผลตอบแทนดังกลาวจะประกอบไปดวย สวนที่ผูออกกําหนดไวให
สวนที่สองเปน Capital Gain จากการซื้อตราสารหนี้ในราคาที่ตํ่ากวาราคาพาร สวนตนทุนการกูยืมก็เปน
การสมมุติวาวาเราสามารถกูยืมไดในอัตราดอกเบี้ยอางอิง

อยางไรก็ดี เราสามารถคํานวณสวนตางสุทธิไดถึง 3 วิธดี วยกัน คือ วิธีอยางงาย ( Simple Margin :


SM ) วิธีทบตน ( Compound Margin : CM ) และ วิธีคิดลดสวนตาง ( Discounted Margin : DM ) การซื้อ
ขายตราสารลอยตัวในประเทศไทยปจจุบันซื้อขายดวย DM ซึ่งเปนมาตรฐานที่กําหนดโดยศูนยซื้อขายตรา
สารหนี้ไทย อยางไรก็ดีจะไดกลาวถึงวิธีการคํานวณแบบอื่นๆดวยเพื่อใชในการเปรียบเทียบ

แบบที่ 1
สูตรการคํานวณหาสวนตางสุทธิอยางงาย ( Simple Margin : SM)

54
(7.1 ) SM = QM + ( M - P )
N

QM คือ มูลคาไถถอนคืนหรือราคาพาร สวนใหญใหเทากับรอยละ 100


P คือ Dirty Price หรือ Gross Price ซึ่งหามาจาก Clean Price บวกดอกเบี้ยคางรับ
M คือ สวนตางที่กําหนดไว
N คือ อายุไถถอนของตราสารที่กําหนดไว

ตัวอยางที่ 7.1 : การคํานวณหา Simple Margin สมมุติวาตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเทากับ


MLR บวกดวย 50 Basis Point อายุ 5 ป มูลคาตราสารซื้อขายกันที่ 98% ของราคาพาร
Simple Margin = 0.50 + ( 100 - 98 ) = 90 Basis Point
5

สูตรขางตนเรายังไมไดคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
เราสามารถปรับปรุงสูตรขางตนในรวมผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาไดดังตอไปนี้

( 7.2 ) SM = QM + ( M - Adjusted Price )


N

ซึ่ง Adjusted Price อาจจะขยายไดดังนี้


( 7.3 ) SM = QM + [ M - { P + ( I + QM ) x fl - c } ]
N

SM คือ สวนตางอยางงาย ( % )
M คือ มูลคาไถถอนหรือราคาพาร
P คือ Dirty Price หรือ Gross Price
I คือ อัตราดอกเบี้ยอางอิงที่จะใชคํานวณหาดอกเบี้ยที่จะจายในงวดตอไป
QM คือ สวนตางที่กําหนดไว
fl คือ สัดสวนของปจากวันที่ซื้อขายจนถึงวันที่จายดอกเบี้ยครั้งตอไป (หารดวยจํานวนวันจริง)
C คือ ดอกเบี้ยที่จะไดรับครั้งตอไป
N คือ อายุไถถอนของตราสารหนี้ ( ป )

55
ตัวอยางที่ 7.2 : สมมุติวาตราสารดอกเบี้ยลอยตัวสกุลบาท ซึ่งจะครบกําหนดไถถอนวันที่ 31 พฤษภาคม
2545 ตราสารนี้จะจายดอกเบี้ยทุกวันที่ 31 พฤษภาคม และ 30 พฤศจิกายน ในแตละป ณ อัตราดอกเบี้ยอาง
อิง บวกดวยรอยละ 0.50 อัตราดอกเบี้ยสมมุติวาใชอัตรา MLR ของหาธนาคารใหญ ในวันที่จายดอกเบี้ย
30 พฤศจิกายน 2539 ไดกําหนดอัตราดอกเบี้ยที่จะจายงวดตอไปตามอัตราดอกเบี้ยอางอิงซึ่งในวันนั้น
MLR เฉลี่ยเทากับรอยละ 10 ตอมาในวันที่ 30 มกราคมจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2540 อัตราดอกเบี้ยอาง
อิงลดลงเหลือรอยละ 9 และราคาของตราสารดอกเบี้ยลอยตัวอยูที่รอยละ 99 ของราคาพาร เราจะหาสวน
ตางไดดังตอไปนี้

P = 99 + ( 10 + 0.5 ) x 61 = 100.75
365

c = ( 10 + 0.50 ) x 182 = 5.24


365

fl = 121 / 365 = 0.34

N = ( 365 + 365 + 365 + 365 + 365 + 121 ) / 365 = 5.1945

SM = 0.50 + [ 100 - { 100.75 + ( 9 + 0.5 ) x 0.34 - 5.24 } ]


5.1945
= รอยละ 0.77 หรือ 77 Basis Point

แบบที่ 2
วิธีทบตน ( Compound Margin )
การคํานวณตามวิธีขางตนนั้นยังไมไดพิจารณาถึงกระแสเงินที่ไหลเขามาในอนาคต การคํานวณ
แบบทบตน หรือ Compound Margin นั้นเปนการพิจารณาถึงกระแสเงินในอนาคต ดวยการสมมุติวา
อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ณ ปจจุบันเปนอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปตลอด แลวนํามาเปรียบเทียบกับอัตราดอก
เบี้ยอางอิงของตราสารนั้นเพื่อหา Effective Margin

ตัวอยางที่ 7.3: ตราสารดอกเบี้ยลอยตัวมีอัตราดอกเบี้ยเทากับอัตราดอกเบี้ย Thai Baht Fixed บวกดวย 50


Basis Point อายุ 5 ป ขณะนั้นราคาซื้อขายในตลาดอยูที่รอยละ 98 ของราคาพาร การคํานวณหา Effective
Margin ดวยวิธีทบตนทําไดดังตอไปนี้

56
ขั้นแรก
เริม่ ตนดวยการหาอัตราผลตอบแทนที่ตองการ ( Yield to Maturity ) ดวยการสมมุติวา อัตราดอก
เบี้ยในปจจุบันของพันธบัตรจะคงที่ไปจนครบกําหนดไถถอน
N = 5
i = 6 + 0.50 = 6.50 จายดอกเบี้ยปละสองครั้ง
P = 98
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนจนถึงไถถอน ( Yield to Maturity ) เทากับรอยละ 6.98
ขั้นที่สอง
นําไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยอางอิงก็จะได Effective Margin หรือ Compound Margin คือ
6.98 - 6.0 = รอยละ 0.98 หรือเทากับ 98 Basis Point

แบบที่ 3
การคํานวณหาสวนตางสุทธิโดยวิธีคิดลดสวนตาง ( Discounted Margin : DM)
เนื่องจากการคํานวณหาสวนตางแบบ Simple ที่กลาวไปแลวขางตนนั้นมีขอจํากัดที่สําคัญคือ ไมได
รวมผลของอัตราผลตอบแทนปจจุบันที่มีตอสวนตางดังกลาว ถาราคาเกิดตํ่ากวาหรือสูงกวาราคาพาร และ
สมมุติวาการเกิด Capital Gain หรือ Loss จะคงที่ตลอดอายุของตราสาร วิธีการหาสวนตางแบบคิดลด
( Discounted Margin ) จะชวยแกไขขอจํากัดขางตน อยางไรก็ดีเพื่อชวยใหสะดวกในการคํานวณจะสมมุติ
ใหอัตราดอกเบี้ยที่จายสมํ่าเสมอตลอดอายุของตราสาร ซึ่งจะหาไดจากสูตรดังตอไปนี้
n-1
( 7.4 ) P x { 1 + ( I1 + DM ) x fl } = C + ∑ ( I2 + QM ) x vi + M x Vn - 1
100 i=1 h

โดย DM = Discounted Margin


P = Dirty Price ( Clean Price + ดอกเบี้ยคางรับ )
I1 = อัตราดอกเบี้ยอางอิงจากวันที่กําหนดจนถึงวันจายดอกเบี้ยครั้งตอไป
I2 = อัตราดอกเบี้ยอางอิงที่สมมุติวาจะเปนในงวดการจายดอกเบี้ยครั้งตอไป
fl = สัดสวนระยะเวลาตั้งแตวันที่ซื้อจนถึงวันจายดอกเบี้ยงวดตอไป
C = ดอกเบี้ยที่จะไดรับในงวดที่กําลังจะมาถึง
n = จํานวนครั้งที่จายดอกเบี้ย
QM = สวนตาง
h = จํานวนครั้งที่จายดอกเบี้ยตอป
M = มูลคาไถถอน
v = ตัวประกอบคิดลดซึ่งเทากับ 1 / { 1 + ( I2 + DM ) / 100h }

57
ตามสมการขางตนเทอมทางดานซายมือเปนตนทุนของหลักทรัพยที่ปรับดวยอัตราดอกเบี้ยอางอิง
จนถึงวันจายดอกเบี้ยครั้งแรก ทํานองเดียวกันดอกเบี้ยที่จายในแตละงวดหลังงวดแรกก็จะสมมุติใหเทา
กับ ( I2 + QM ) / h ในกรณีที่ตราสารดอกเบี้ยลอยตัวไมมีกําหนดไถถอนคืน ( Perpetual ) สูตรในการ
หา Discounted Margin คือ
( 7.5 ) P x { 1 + ( I1 + DM ) x fl } = k + 100 x ( I2 + QM )
100 ( I2 + DM )

การคํานวณสวนตางสุทธิดวยวิธีคิดลด ( Discount Margin ) นั้นคอนขางจะยุงยาก ปจจุบันสูตรการ


คํานวณดวย DM ที่ศูนยซื้อขายตราสารหนี้ไทยกําหนดใหใชเปนมาตรฐานสําหรับการซื้อขายตราสารดอก
เบี้ยลอยตัวนั้น จึงกําหนดให I1 และ I2 เปนอัตราเดียวกัน ไมเชนนั้นแลวก็จะเปนการยุงยากสําหรับนักลง
ทุนที่จะหา I1 โดยเฉพาะในกรณีที่ใช Thai Baht Fixed เปนอัตราอางอิง อยางไรก็ดีการกําหนดใหอัตรา
ทั้งสองเทากันนั้นไมไดทําใหราคาที่คํานวณไดแตกตางกันมากนัก

7.1.3 การคํานวณแบบอื่นๆ
รายไดสวนเหลี่ยม ( Current Marginal Income )
การคํานวณแบบนี้จะแสดงถึงรายไดตอปที่ไดจากตราสารดอกเบี้ยลอยตัวหลังจากการพิจารณาการ
กูยืมเพื่อมาลงทุน หรือเปนการหาขนาดความแตกตางระหวางตนทุนในการลงทุนและผลประโยชนที่ได
รับจากการลงทุนซึ่งสามารถคํานวณไดจากสูตร

( 7.6 ) Co + QM - ( P x C1 )
100

โดย Co = อัตราดอกเบี้ยอางอิง
C1 = ตนทุนการกูยืม
QM = สวนตางที่ระบุ
P = ราคา

จากสูตรขางตน ปจจัยที่มีผลตอขนาดของรายไดสวนเหลื่อมของตราสารดอกเบี้ยลอยตัว ไดแก


ราคาตราสารและตนทุนการกูยืมของตราสาร นอกจากนั้นขนาดของสวนตางจะมีผลตอชวงกวางระหวาง
ตนทุนในการกูยืมกับผลตอบแทนในการลงทุนดวย

58
ตัวอยางที่ 7.4 : ตราสารดอกเบี้ยลอยตัวของบริษัทหนึ่งมีอายุไถถอน 5 ป จายดอกเบี้ยตามอัตรา Thai Baht
Fixed บวกดวยสวนตาง 50 BP มีราคาซื้อขายอยูที่รอยละ 98 และสมมุติวาตนทุนการกูยืมกับอัตราดอก
เบี้ยอางอิงคือตัวเดียวกัน จากสูตรในการคํานวณเราจะได
( 10 + 0.50 ) - ( 98 x 10 ) = 0.70
100
เพราะฉะนั้นรายไดสวนเหลื่อมจะเทากับ 0.7% ตอป หรือประมาณ 70 Basis Point

ราคาวันรับจายดอกเบี้ย ( Implied Coupon Date Price )


ในกรณีที่ทานซื้อตราสารหนี้ดอกเบี้ยลอยตัว และใชอัตราดอกเบี้ยอางอิงเปนตนทุนในการระดม
เงินแลว ราคาวันจายดอกเบี้ยหรือ ICDP คือราคาที่ขายแลวคุมทุนเปนวิธีที่เราใชในการ Mark to Market
แกตราสารหนี้ทถี่ ืออยู สูตรในการคํานวณราคาวันจายดอกเบี้ยประกอบไปดวยสองสวน คือ ตนทุนทั้ง
หมดของการลงทุนกับผลตอบแทนที่ไดรับจากการลงทุน
( 7.7 ) ICDP = { P + ( P x D1 x C1 ) } - ( C0 x D2 )
365 x 100 365

โดย ICDP = ราคาวันจายดอกเบี้ย ( Implied Coupon Date Price )


P = ราคาซื้อขายที่เปน Dirty Price
D1 = จํานวนวันนับตั้งแตวันซื้อหลักทรัพยจนถึงวันจายดอกเบี้ยงวดถัดไป
D2 = จํานวนวันระหวางชวงจายดอกเบี้ย
C0 = ดอกเบี้ยในปจจุบัน
C1 = ตนทุนของเงินทุน

เทอมแรกในวงเล็บแสดงถึงตนทุนในการลงทุน สวนเทอมที่สองแสดงถึงผลตอบแทนที่ไดรับจาก
การลงทุน ขนาดที่แตกตางกันระหวางเทอมแรกและเทอมที่สอง คือ รายไดที่จะไดรับในงวดจายดอกเบี้ย
ครั้งตอไปเพื่อใหคุมทุน คาที่คํานวณไดของราคาจนถึงวันจายดอกเบี้ยนั้น หมายความวา ยิ่งตนทุนการ
กูยืมมาลงทุนและราคาตราสารตํ่าเทาไหร ราคาจนถึงวันจายดอกเบี้ยก็ยิ่งตํ่าแสดงถึงตนทุนรวมในการลง
ทุนในตราสารหนี้ก็ตํ่าตามไปดวย
ตัวอยางที่ 7.5 : ราคาวันจายดอกเบี้ย ( ICDP )
สมมุติวาตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีเงื่อนไขดังตอไปนี้ อัตราดอกเบี้ย : จายดอกเบี้ยทุกหก
เดือนที่ Thai Baht Fixed บวก 50 BP โดยอัตราดอกเบี้ย Thai Baht Fixed หกเดือนเทากับ 10% ซื้อตรา
สารหนี้มาเมื่อวันที่ 10 กันยายน จายดอกเบี้ยครั้งสุดเมื่อ 30 มิถุนายน จายดอกเบี้ยครั้งตอไปวันที่ 30
ธันวาคม ราคาซื้อขายเทากับรอยละ 98 ขั้นตอนในการคํานวณ ICDP มีดังตอไปนี้

59
ขั้นแรก หา Dirty Price
Dirty Price = Clean Price + ดอกเบี้ยทบตน
= 98 + ( 10.5 x 92 )
365
= 100.65
ขัน้ ทีส่ อง หาตนทุนของการถือตราสารดอกเบี้ยลอยตัวจนถึงวันจายดอกเบี้ย
= Dirty Price x จํานวนวันที่ซื้อจนถึงวันจายดอกเบี้ย x ตนทุนการกูยืม
365 x 100
= 100.65 x 91 x 10 = 2.51
365 x 100
ขั้นที่สาม หัก จํานวนดอกเบี้ยที่จะไดรับในวันจายดอกเบี้ยงวดตอไป
= อัตราดอกเบี้ยที่จะจายงวดตอไป x จํานวนวันระหวางงวดจายดอกเบี้ย
365
= 10.5 x 183 = 5.26
365
ราคา ICDP เทากับ 100.65 + 2.51 - 5.26 = 97.90

ราคาในตลาดรองเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป
ราคาในตลาดรองของตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัวนั้น ถาอัตราอางอิงสูงขึ้นและราคาตราสารตํ่า
กวาราคาพารแลว รายไดสวนเหลี่ยมก็ยิ่งมากขึ้น
( 7.8 ) P1 = ( C0 - C1 ) x N + P0
12

โดย P1 = ราคาใหมหลังอัตราดอกเบี้ยอางอิงเปลี่ยนแปลง
P0 = ราคาตราสารกอนอัตราดอกเบี้ยอางอิงเปลี่ยนแปลง
C0 = อัตราดอกเบี้ยที่จายงวดที่จะถึงซึ่งเทากับอัตราดอกเบี้ยอางอิง บวก ดวยสวนตาง
C1 = อัตราดอกเบี้ยใหมอันเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอางอิงในตลาดเปลี่ยนแปลงไป
N = จํานวนเดือนที่ เหลือ
ตัวอยางที่ 7.6: ราคาในตลาดรองเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนไป สมมุติวาในวันที่กําหนดอัตราดอกเบี้ยของ
ตราสารดอกเบี้ยลอยตัวที่จายในงวดตอไปอีกหกเดือน อัตราดอกเบี้ยอางอิง Thai Baht Fixed เทากับรอย
ละ 10 และกําหนดสวนตางไวที่รอยละ 0.50 หรือเทากับ 50 Basis Point ฉะนั้นอัตราดอกเบี้ยที่จะจายงวด
ตอไปจึงเทากับรอยละ 10.5 และวันเดียวกันนั้น ไดมีการซื้อขายกันที่ราคาพาร แตอีกหนึ่งเดือนตอมา
อัตราดอกเบี้ยอางอิงสูงขึ้นเปนรอยละ 10.5 ราคาใหมหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยอางอิงเปลี่ยนจะเทากับ
( 10.5 - 11 ) x 5 + 100 = 99.79
12

60
7.2 ตราสารดอกเบี้ยผกผัน ( Inverse Floating Notes )
ตราสารดอกเบี้ยผกผัน ( Inverse Floating Notes ) เปนตราสารที่จายดอกเบี้ยผกผันตรงกันขามกับ
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว กลาวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยอางอิงเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยของตราสารประเภทนี้ก็จะ
ลดลง ในทางตรงกันขาม เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง อัตราดอกเบี้ยของตราสารประเภทนี้ก็จะเพิ่มขึ้น นอก
จากนั้นผูถือตราสารดอกเบี้ยผกผันจะเปรียบเสมือนการขาย Cap ของดอกเบี้ย ( เพดานของอัตราดอกเบี้ย )
กลาวคือผูถือตราสารจะไดรับอัตราดอกเบี้ยเทากับ Cap ของอัตราดอกเบี้ยคูณดวยจํานวนเทา ( ตามปกติ
มักจะเปนสองเทา ) แลวลบดวยอัตราดอกเบี้ยอางอิง ตราสารประเภทนีจ้ ึงเปนการผสมผสานกันระหวาง
ตราสารดอกเบี้ยคงที่กับตราสารดอกเบี้ยลอยตัว

เราสามารถที่จะอธิบายที่มาของอัตราดอกเบี้ยของตราสารดอกเบี้ยไดโดยวิธีการที่เรียกวา การสราง
ตราสารหลักหรือ Collateral ตราสารที่ใชเปน Collateral ในที่นี้คือ ตราสารดอกเบี้ยคงที่ โดยมีเงื่อนไขวา
กระแสเงินของตราสารดอกเบี้ยคงที่เทากับกระแสเงินจากตราสารดอกเบี้ยลอยตัวรวมกับตราสารอัตรา
ดอกเบี้ยผกผัน ขั้นตอนของวิธีการสราง คือ เราตองสรางตราสารหลัก Collateral ขึ้นมาซึ่งในที่นี้คือ ตรา
สารดอกเบี้ยคงที่ ขั้นตอนตอมา คือเราตองนํากระแสเงินจากดอกเบี้ยคงที่ไปจายใหเพียงพอที่จะจายใหกับ
ตราสารดอกเบี้ยลอยตัวและตราสารดอกเบี้ยผกผัน โดยมีคุณสมบัติสองประการดวยกันคือ

ประการแรก อัตราดอกเบี้ยที่จายของตราสารดอกเบี้ยลอยตัวกับตราสารดอกเบี้ยผกผันจะเทากับ
หรือนอยกวาอัตราดอกเบี้ยของตราสารอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งเปน Collateral
ประการที่สอง ราคาพารของตราสารดอกเบี้ยลอยตัวกับตราสารดอกเบี้ยผกผันจะเทากับหรือนอย
กวา ของตราสารอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งเปน Collateral เราสามาถเขียนความสัมพันธขางตนในเชิงสมการได
วา

( 7.9 ) ราคาตราสารดอกเบี้ยคงที่ = ราคาตราสารดอกเบี้ยลอยตัว + ราคาตราสารดอกเบี้ยผกผัน

หรือจะเขียนไดอีกอยางวา
( 7.10 ) ราคาตราสารดอกเบี้ยผกผัน = ราคาตราสารดอกเบี้ยคงที่ - ราคาตราสารดอกเบี้ยลอยตัว

ตัวอยางการสราง Collateral ขางตนก็เชน สมมุติวาเรามีตราสารดอกเบี้ยคงที่ 8% อายุ 10 ป จาย


ดอกเบี้ยทุกครึ่งปมูลคา 100 บาทเปนหลักประกันหรือ Collateral ในการสรางตราสารดอกเบี้ยลอยตัวที่มี
มูลคาพาร 50 ลานบาท และตราสารดอกเบี้ยผกผันมูลคา 50 ลานบาท สมมุติวาอัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยน
แปลงทุกหกเดือนโดยที่
ตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว : อัตราดอกเบี้ยอางอิง + 2%
ตราสารอัตราดอกเบี้ยผกผัน : Cap - อัตราดอกเบี้ยอางอิง โดยที่เรายังไมทราบ Cap

61
และสมมุติวาราคาพารทั้งหมดของตราสารดอกเบี้ยลอยตัวกับตราสารดอกเบี้ยผกผันเทากับราคา
พารของหลักประกัน 100 ลานบาท ฉะนั้นคาเฉลี่ยถวงนํ้าหนักของตราสารทั้งสองจะเทากับ

0.5 x ( อัตราดอกเบี้ยอางอิง + 2% ) + 0.5 x ( Cap % - อัตราดอกเบี้ยอางอิง ) = 8%

จากสมการขางตนเราจะไดคา Cap เทากับ 14% ฉะนั้นไมวาอัตราดอกเบี้ยอางอิงจะเปนเทาไหรก็


ตาม อัตราดอกเบี้ยของตราสารทั้งสองจะเทากับอัตราดอกเบี้ยของตราสารดอกเบี้ยคงที่หรือ Collateral คือ
8% อยางไรก็ตามอาจจะเกิดปญหาขึ้นมาไดถาหากอัตราดอกเบี้ยอางอิงเกินรอยละ 14 สูตรขางตนทําให
อัตราดอกเบี้ยของตราสารประเภทนี้เปนลบ ดังนั้นเพื่อปองกันไมใหอัตราดอกเบี้ยเปนลบ จึงตองกําหนด
อัตราดอกเบี้ยขั้นตํ่าไว หรือที่เรียกวา Floor โดยทั่วไปแลวอัตราดอกเบี้ยขั้นตํ่านี้เทากับศูนยหรือเทากับวา
เราตองกําหนดเพดานของอัตราดอกเบี้ยของตราสารดอกเบี้ยลอยตัวไวที่ 15% เมื่อเปนเชนนี้ในการสราง
ตราสารที่เปน Collateral จากตราสารดอกเบี้ยลอยตัวกับผกผัน จําเปนตองกําหนดคาอัตราดอกเบี้ยสูงสุด
ใหกับตราสารดอกเบี้ยลอยตัวและคาอัตราดอกเบี้ยตํ่าสุดใหกับตราสารดอกเบี้ยผกผันดวย

62

You might also like