You are on page 1of 16

Solar Energy Application

พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และการออกแบบระบบโซลาเซลล์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุขประภาภรณ์
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียของดวงอาทิตย์ แล้วส่ง


กระจายพลังงานมายังโลกในรูปคลื่นรังสี (Solar Radiation) ซึ่งมีค่าพลังงานประมาณ 1368 วัตต์ต่อตารางเมตร
เมื่อเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกจะลดลงเหลือประมาณ 70 % หรือ เหลือค่าพลังงานประมาณ 958-1000 วัตต์ต่อ
ตารางเมตรเท่านั้น พลังงานที่โลกได้รับจะอยูใ่ นรูปของความร้อนและแสง พลังงานที่ ได้เป็นพลังงานปฐมภูมิ ที่
สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานชนิดอื่นๆ ต่อไป อีกหลายชนิดได้แก่ การเกิดพลังงานน้้า พลังงานลม พลังงานจาก
มหาสมุทร รวมถึงการเกิดพลังงานจากฟอสซิล (Fossil) เช่น ถ่านหิน น้้ามัน ก๊าชชีวภาพ ชีวมวลต่างๆ ซึ่งพลังงาน
เหล่านี้กเ็ กิดมาจากสัตว์ และพืช ซึง่ เมื่อพืช สัตว์ ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์แล้ว ก็ท้าการสร้างเซลล์ สร้าง
เนื้อเยื่อโดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photo synthesis) แล้วทับถมเป็นระยะเวลานานหลายล้านปี การน้า
พลังงานจากฟอสซิลมาใช้งาน ในระยะเวลานาน ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมากมาย เนื่องจากมี
การปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ กลับคืนสู่บรรยากาศของโลก พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มนุษย์ใช้งาน
นั้นเป็นไปแบบที่ค่อยไม่รู้สึกตัวว่ามีการใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลา เช่น แสงสว่าง พลังงานความร้อน ซึ่งหาก
ปราศจากพลังงานจากดวงอาทิตย์แล้ว มนุษย์สัตว์ และพืช ก็ จะด้ารงชีพอยู่ไม่ได้ ดังนั้นการน้าพลังงานที่ได้จาก
ดวงอาทิตย์มาใช้งานโดยตรงได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้้า และแสงอาทิตย์ จึงเป็นวิธี การที่มีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สามารถ ใช้งานได้ทุกๆที่ สะดวก รวดเร็ว ไม่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์มีการน้ามาใช้
ตั้งแต่โบราณกาลนานมาแล้ว เมื่อโลกมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ก็มีการค้นพบ
พลังงานใหม่ๆ อีก มากมายหลายชนิด พลังงานไฟฟ้าก็เป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์มากมาย สามารถ ท้า
การควบคุม การส่งกระจายไปในระยะไกลๆได้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของพลังงาน จากรูป แบบหนึ่งเป็นอีก
รูปแบบหนึ่งได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนจากพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงาน
ความร้อน และการ เปลี่ยนจากพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ จากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เป็นต้น
การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยตรงในปัจจุบนั มีการใช้งาน 2 รูปแบบ ใหญ่ๆได้แก่ การผลิตด้วย
พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ และการการผลิตจากแสงอาทิตย์โดยตรง ส่วนการน้าพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้
งานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรงในปัจจุบัน ก็มีการน้ามาใช้งานในสองรูปแบบได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
ความร้อน (Solar Thermal) และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง (Solar Radiation)
1. การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Thermal)
การใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาท้าการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีการใช้งานในปัจจุบัน ใช้ทั้ง
วิธีการสะท้อนแสงดวงอาทิตย์มาใช้งานโดยตรง และการใช้โดยอ้อมโดยการใช้ไอน้้า หรือการใช้ลมร้อนเพื่อหมุน
เจเนอเรเตอร์ (Generator) ดังมีลักษณะต่างๆกันดังนี้
1.1 Solar Concentration เป็นระบบรวมแสงอาทิตย์เพื่อให้ได้ความร้อนที่มากเพียงพอส้าหรับการผลิต
พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ จึงท้าการเพิ่มพลังงานความร้อนให้กับจุดศูนย์รวมของแสงโดยการใช้แผ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

สะท้อนแสงด้วยจานสะท้อนแสงรูปพาราโบลิก ตามรูป เรียกว่าระบบ Solar Concentration ซึ่งจะได้ค่าพลังงาน


ความร้อนที่สูงมากตรงบริเวณจุดโฟกัสของแสง แต่เนื่องจากแผ่นจานสะท้อนแสงจะต้องหมุนรับแสงตามดวง
อาทิตย์ตลอดเวลา การน้าความร้อนมาใช้งาน วิธีการที่สะดวก และนิยมใช้คือ การใช้เครื่องยนต์ความร้อน
(Sterling Engine) หมุนเจเนอเรเตอร์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง แต่ก็ยังมีข้อจ้ากัดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่
คงที่ การใช้พลังงานส้าหรับขับเคลื่อนจานสูง ระบบการผลิตจึงมีความไม่เสถียร ท้าให้การผลิตพลังงานไฟฟ้า
วิธีการไม่ต่อเนื่อง จึงไม่เป็นทีน่ ิยมมากนัก แต่ก็แก้ไขได้โดยการใช้เป็นระบบผสมผสาน (Hybrid) กับระบบอื่นๆ

รูปที่ 1. Solar Concentration Dish


ที่มา: http:// www.integralsystems.org และ http://solar-wind-nature-energy.com

1.2. Parabolic Trough เป็นวิธีการรวมแสงรูปแบบคล้ายจานพาราโบลิค เช่นกัน แต่จะออกแบบจะให้


จานสะท้อนแสงวางยาวเป็นราง การควบคุมการหมุนรางตามแสงอาทิตย์ท้าได้สะดวกขึ้น มีการใช้พลังงานในการ
ขับเคลื่อนรางสะท้อนแสงต่้า สามารถวางบนพื้นดินที่ระดับต่้าๆได้ และยังสามารถที่จะวางรางสะท้อนแสงได้เป็น
จ้านวนมากๆได้ การน้าพลังงานความร้อนออกมาใช้ก็สะดวก โดยการวางท่อน้้าร้อนไปตามแนวจุดโฟกัสของจาน
ความร้อนที่ได้มีค่าความร้อนสูงมากจนน้้าร้อนกลายเป็นไอน้้า (Stream) และมีความดันที่สูงมาก สามารถน้าไป
หมุนสตรีมเทอร์ไบน์ และหมุนเจอเนอเรเตอร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ไอน้้าที่ผ่านเทอร์ไบน์ แล้ว อุณหภูมกิ ็จะ
ลดลงกลั่นตัวเป็นน้้าร้อน ที่สามารถปั้มหมุนวนไปรับพลังงานความร้อนที่จานได้อีก ท้าให้ได้ประสิทธิภาพสูง
ยิ่งขึ้น พลังงานที่ได้จากระบบนี้จึงนิยมใช้งานมากขึ้น

รูปที่ 2. Parabolic trough


ที่มา: http://www.hkengineer.org.hk และ http:// www.trec-uk.org.u

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

1.3. Solar Thermal Tower เป็นวิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้วิธรี วมความร้อนที่ได้จากการสะท้อน


ของแผ่นสะท้อนแสงหลายๆแผ่นมารวมกันที่หอสูง (Tower) แผ่นสะท้อนแสงแต่ละแผ่น ก็จะถูกควบคุมให้
เคลื่อนทีท่ ้ามุมกับดวงอาทิตย์ โดยให้มีการสะท้อนแสงมาตกกระทบกับหอสูงตลอดเวลา ซึ่งภายในหอสูงจะมีท่อ
น้้าร้อน ซึ่งเมื่อน้้าได้รับความร้อนก็จะเดือดกลายเป็นไอ (Stream) ที่มีความดันสูงมาก เพื่อไปหมุนสตรีมเทอร์
ไบน์ และเจนเนอเรเตอร์ท้าการผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ วิธีนี้ต้องมีการสร้างเป็นโครงการขนาดใหญ่ๆ มี
ปริมาณรังสีแสงอาทิตย์ที่มากๆ

รูปที่ 3. Solar Tower


ที่มา: http://www.engineeringnews.co.za

1.4. Solar Chimney Tower เป็นวิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการหมุนของเทอร์ไบน์ทตี่ ิดตั้งอยู่ใน


ปล่องท่อทีม่ ีลมร้อนไหลผ่านตามหลักการเทอร์โมไดนามิกส์ของอากาศ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจากแผงรับ
ความร้อน (Solar Collector) ที่อยู่รอบๆของฐานปล่องลม อากาศจะไหลสูงขึ้น เมือ่ มีพื้นที่รับแสงมาก ปริมาณ
อากาศที่ไหลเวียนก็จะมากขึ้น ก็จะเกิดแรงดูดอากาศที่เย็นกว่าเข้ามาที่ฐาน อากาศที่ร้อนก็จะไหลรวมกันเข้าไปใน
ปล่อง ภายในจะมีการออกแบบให้กระแสลมเร่งความเร็วสูงขึ้นโดยใช้จมูกรีดลม (Nuzzle)ท้าไห้ได้พลังงานมากขึ้น
หมุนใบพัดกังหันลมภายในท่อ ซึ่งติดตั้งเจเนอเรเตอร์เพื่อท้าการผลิตไฟฟ้าออกมาได้ วิธีการผลิตไฟฟ้าวิธีนี้
เพื่อให้ได้พลังงานมากๆ จึงต้องสร้างเป็นโครงการที่มขี นาดใหญ่มากๆ จึงมีการลงทุนสูง และมีการใช้พื้นที่ๆใน
บริเวณที่กว้างมาก จึงเหมาะสมกับประเทศที่มีแสงแดดมาก มีพื้นที่กว้างขวาง เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา หรือ
ประเทศแถวตะวันออกกลาง เป็นต้น

รูปที่ 4. Solar Chimney


ที่มา: http://infranetlab.org และ http:// www.naturalnews.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

2. ระบบการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (Photovoltaic Cell: PV)


การผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซลาเซลล์ (Solar Cell) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากดวง
อาทิตย์โดยตรง ระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆได้แก่ แผง โซลาเซลล์
เครื่องควบคุมการชาร์จประจุแบตเตอรี่ เครื่องปรับระบบไฟฟ้า และแบตเตอรี่ เป็นอย่างน้อยซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ได้
จะจากแผงโซลาเซลล์ต้องมีการค้านวณค่า เพื่อให้พอเพียงต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆดังที่กล่าวยังมี
ขนาด รูปลักษณะ และการท้างานที่หลากหลาย ตามความต้อ งการของผู้ใช้ ในการออกแบบระบบจึงต้องมีความรู้
ความเข้าใจ ในอุปกรณ์ต่างๆเพื่อสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

รูปที่ 5. Solar Home System


ที่มา: http://www.sikaienergy.com

ในการใช้งานของระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องมีอุปกรณ์ในระบบที่จ้าเป็น
หลายชนิด ซึ่งในการเลือกใช้งานต้องมีความเหมาะสม และสมดุลกันจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการ
ออกแบบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาเซลล์ จะต้องใช้ส่วนประกอบที่ส้าคัญดังนี้คือ
2.1 แผงโซลาเซลล์ (Photovoltaic Cell: PV) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นให้เป็นอุปกรณ์ที่สามารถ
เปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดย แซปปิน(Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller)
และเพียสัน (Pearson) ในปี ค.ศ. 1954 ซึ่งท้างานที่บริษัท เบลเทโลโฟน (Bell Telephone) ซึ่งได้ค้นพบเทคโนโลยี
การสร้างรอยต่อ P-N ของผลึกซิลิคอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6
% โดยในระยะเวลาต่อมามีการพัฒนามาขึ้นมากกว่า 15 % ในระยะแรกเริ่มมีการน้าไปใช้งานในการผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าทางด้านอวกาศ ดาวเทียม ระบบสื่อสารต่างๆ จนในปัจจุบันมีการผลิตใช้งานอย่างแพร่หลาย มีราคาถูกลง
และประสิทธิภาพสูงขึ้น

รูปที่ 6. Solar Cell


ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Photovoltaics

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

เซลล์แสงอาทิตย์ท้าจากซิลิคอนที่ใช้วัสดุเช่นเดียวกัน Transistors และวงจรรวม (Integrated Circuit :IC)


โดยผลึกซิลิคอนจะถูกท้าให้ไม่บริสุทธิ์ (Dope) โดยการเติมธาตุที่มิอิเล็กทรอนวงนอกสุดในกลุ่ม 3 และ 5 ซึ่งจะ
ได้ผลึกซิลิคอนที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าต่างกัน (P-Type และ N-type) เมื่อน้ามาต่อเชื่อมกันด้วยกรรมวิธีการแพร่
สารระหว่างผลึกท้าให้ระหว่างรอยต่อมีสภาวะที่เป็นกลาง (Depletion Region) ผลึกซิลิคอนจะวางซ้อนกันเป็นชั้น
บาง (Layer) เมื่อมีอนุภาคโฟตอน (Photon) มาตกกระทบแผ่นชั้นซิลิคอน อิเล็กตรอนที่ได้รับจะท้าให้แผ่นธาตุ
ซิลิคอนมีอิเล็กตรอนทีม่ ีอยู่ไม่สมดุลกันระหว่างชั้นเซลล์ เมื่อมีการต่อเชื่อมขั้วไฟฟ้าออกไปก็จะเกิดการความต่าง
ศักย์ไฟฟ้าขึ้นทีข่ ั้วไฟฟ้านั้น เมื่อน้ามาต่อเชื่อมกันเป็นวงจรไฟฟ้าก็จะเกิดการถ่ายเทอิเล็กตรอนระหว่างขั้ว เกิดมี
กระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรท้าให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาได้

รูปที่ 7. โครงสร้าง Solar Cell


ที่มา: http://www.pv.unsw.edu.au

การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การผลิต เซลล์


แสงอาทิตย์จากสารกึ่งตัวน้าประเภทซิลิคอน กับการผลิตจากสารประกอบชนิดอื่น ๆ เช่น แกลเลี่ยมอาเซไน
แคดเมียมเทลูไลด์ เป็นต้น กลุ่ม เซลล์แสงอาทิตย์ที่ท้าจากสารกึ่งตัวน้าประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของ
ผลึกที่เกิดขึ้นเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบทีอ่ ยู่ในรูปของผลึก (Crystal) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) แบบที่
เป็นรูปผลึก ยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดเป็นก้อนผลึก (Bulk) และแบบฟิล์มบาง (Thin film)
โซลาเซลล์ชนิดผลึกทั้งสองชนิดยังแบ่งออกเป็นชนิดเดี่ยวซิลิคอน (Mono Crystalline Silicon Solar Cell) และ
ชนิดผลึกรวมซิลิคอน (Poly Crystalline Silicon Solar Cell) ส่วนแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก คือ เป็นชนิดฟิล์มบางอะ
มอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell)

รูปที่ 8. ผังชนิดโซลาเซลล์
ที่มา: http://www.egat.co.th

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

ส่วนกลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ท้าจากสารประกอบอื่นๆที่ไม่ใช่ท้ามาจากซิลิคอน เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มี
ประสิทธิภาพสูงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ซึ่งมีราคาแพง จึงไม่นิยมน้ามาใช้ทั่วไปบนพื้นโลก จึงเหมาะส้าหรับใช้
งานบนดาวเทียม หรืออวกาศ สามารถร่วมกับระบบรวมแสงที่มีความเข้มของแสงสูงๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาด้วย
กระบวนการผลิตที่ทันสมัยใหม่ ท้าให้มีราคาถูกลง และคาดว่าจะมีการน้ามาใช้งานมากขึ้นในอนาคต (ปัจจุบันมี
ใช้เพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด)
เซลล์แสงอาทิตย์จะถูกผลิตให้เป็นแผ่นเล็กๆก่อน แล้วจึงน้าเซลล์มาต่อเชื่อมเป็นวงจรส้าเร็จรูปที่เรียกว่า
โมดูล (Module) หรือ พาแนล (Panel) ซึง่ จะท้าให้สามารถก้าหนดค่าก้าลังวัตต์ ที่ มีการก้าหนดค่าแรงดันไฟฟ้า
และค่ากระแสไฟฟ้าที่เหมาะสม สามารถ ต่อเชื่อมออกไปใช้งานได้ทันที แต่เมื่อหากต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่
มีก้าลังวัตต์สูงๆ ก็สามารถท้าได้โดยน้าแผงโซลาเซลล์มาต่อเชื่อมกันเป็นวงจรขนาดใหญ่ (Array) การต่อเชื่อมกัน
นี้อาจจะต่อเป็นวงจรแบบขนาน หรือแบบอนุกรมก็ได้ โดยสามารถก้าหนดค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือกระแสไฟฟ้า
ได้เช่นเดียวกันกับการต่อเซลล์แบตเตอรี่

รูปที่ 9. ขนาดของ Solar Cell


ที่มา: http://science.nasa.gov/headlines/y2002/solarcells.htm

2.2 Charge controller เป็นอุปกรณ์ที่ท้าหน้าที่ชาร์จประจุไฟฟ้าที่ได้รับจากแผงโซลาเซลล์ มาประจุ


ให้กับแบตเตอรี่ ซึ่งการประจุนี้จะต้องไม่ให้มีการประจุมากเกินไป (Over charge) ซึ่งจะมีผลท้าให้แบตเตอรีร่ ้อน
จัด ท้าให้เสื่อมสภาพเร็ว และเมื่อ แบตเตอรี่ มีประจุเต็มแล้วก็จะต้องตัดการชาร์จทันที่ กระแสไฟฟ้าที่ชาร์จ
แบตเตอรีเ่ ป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่มีรูปสัญญาณเป็นพัลล์ (Pulse) และมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงกว่าแบตเตอรี่ประมาณ
15-20% เนื่องจากมีค่าตัวแปรที่มาเกี่ยวข้องในกระบวนการชาร์จแบตอรี่ได้แก่ อุณหภูมิของแบตเตอรี่ ความไม่
คงที่ของกระแส ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายที่ป้อนให้โดยเฉพาะจากแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น แผงโซลาเซลล์ จาก
กังหันลม หรืออื่นๆ จึงต้องใช้อุปกรณ์ประมวลผล (Microcontroller) มาท้าการประมวลผล และควบคุมการท้างาน
วงจรชาร์จประจุ และใช้วงจร PWM (Pulse Width Modulation) มาสร้างรูปสัญญาณไฟฟ้า เพื่อให้การประจุ
แบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

รูปที่ 10. Charge controller


ที่มา: http://www.ecvv.com และ http://www.true-solar.com

2.3 Battery เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บประจุไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าออกไปใช้งานได้ทันที ประดิษฐ์


ครั้งแรกในปี ค.ศ.1859 โดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส แกสตัน พลองค์ (Gaston Plante’) ที่เรียกว่าแบตเตอรีแ่ บบเปียก
(Flooded Type หรือ Wet Type) ต่อมาก็พัฒนาเป็นแบตเตอรีช่ นิดตะกั่วกรด ในปี ค .ศ.1957 ออตโต จาเช (Otto
Jache) ได้ประดิษฐ์แบตเตอรีท่ ี่สามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องคอยเติมน้้ากลั่น และจัดวางได้ทุกแบบ ไม่จ้ากัดวิธีวาง
แบบตั้งเพียงอย่างเดียว ในหลักการจะใช้วัสดุดูดซับน้้ากรดไว้ และผนึกไม่ให้กรดไหลออกมา ท้าให้ไม่ต้องคอย
เติมน้้ากลั่น หรือเรียกได้ว่าเป็น เซลล์แบบแห้ง หรือแบตเตอรีแ่ บบแห้ง ต่อมาได้มีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ดูดซับกรด
ได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ใช้แผ่นซิลิกาไฟเบอร์เป็นตัวดูดซับเรียกว่า แบบ AGM (Absorbed Glass Mats) และแบบ
ที่ใช้เจลเป็นตัวดูดซับกรดเรียกว่า แบบเจล (Gel Battery หรือ Gel cell) ซึ่งเป็นหลักการต้นแบบของแบตเตอรีท่ ี่
พัฒนาต่อๆมาในปัจจุบนั

รูปที่ 11. แบตเตอรี่แบบต่างๆ


ที่มา: http://www.igetweb.com, http://www.storageimage.com และ http://sst.tarad.com

แบตเตอรีท่ ี่ใช้ในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้จัดเก็บพลังงานไฟฟ้า ก็สามารถช้งานได้ทั้งสองแบบ


แต่จะมีการพัฒนาให้มีความเหมาะสมในการใช้งานมากขึ้นโดยที่จะออกแบบให้สามารถจัดเก็บประจุได้มากๆ
และ จ่ายกระแส ไฟฟ้าได้นานๆยิ่งขึ้นที่เรียกว่าเป็นแบบ Deep cycle โดยการออกแบบให้แผ่นธาตุตะกั่วมีความ
หนาเป็นพิเศษ เป็นผลท้าให้ค่าความต้านทานภายในสูง สามารถจัดเกได้สูง แต่จะ จ่ายกระแสออกมาได้ไม่สูงมาก
นัก ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูงๆ ในระยะเวลาสั้นๆ เช่นการใช้กับรถยนต์ ซึ่งมีความ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

ต้องการกระแสที่สูงมากในเวลาการสตาร์ทเครื่องยนต์ จึงไม่เหมาะในการน้าใช้งาน จึงต้องเลือกใช้งานให้ถูกต้อง


ส่วนแบตเตอรี่แบบ Deep cycle จะเหมาะส้าหรับรถไฟฟ้า รถยกของ (Flock lift) เครื่องส้ารองไฟ (Uninterruptible
Power Supply: UPS) หรือการเก็บพลังงานส้ารองจากแหล่งพลังงานทดแทนต่างๆรวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์
ด้วย แบตเตอรี่ทั้งสองแบบนีจ้ ะมีราคา ขนาดและน้้าหนักที่ต่างกัน มาก ถึงแม้ว่าก้าลังวัตต์ต่อชั่งโมง (Watt Hour
:WH) หรือความจุของกระแสไฟฟ้าจะเท่ากันก็ตาม
ในการใช้งานแบตเตอรีต่ ่างๆให้ทนทาน จะต้องทราบ ข้อจ้ากัดทางด้านอุณหภูมิ และระดับความลึกใน
การคายประจุ (Depth of Discharge: DOD) ในระหว่างการท้างานด้วย ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพ และอายุการใช้
งานของแบตเตอรี่ การใช้งานจนพลังงานไฟฟ้าหมด จะเป็นผลท้าให้อายุการใช้งานของแบตเตอรีส่ ั้นลงอย่าง
มากๆ ดังนั้นการใช้งานจึงไม่ควรใช้ประจุไฟฟ้าที่ต่้ากว่าระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ และแบตเตอรีค่ วรเก็บไว้ในทีๆ่
อากาศเย็น ในส่วนการประจุไฟฟ้าจะต้องไม่ประจุกระแสไฟฟ้าที่สูงเกินไปจะท้าให้แบตเตอรีร่ ้อนจัด ท้าให้
เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น

รูปที่ 12.กราฟแสดงจ้านวนครั้งการประจุกับค่า DOD


ที่มา: http://www.mpoweruk.com

2.4 อินเวอร์เตอร์ (Inverter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ปรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่


เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220 V ส้าหรับใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในบ้านโดยทั่วไป อินเวอร์เตอร์ จะออกแบบ
วงจรภายในโดยใช้วงจร Switching แปลงระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับโดยมีสัญญาณความถี่ไฟฟ้า 50
Hz ในระบบที่มีขนาดเล็กๆผู้ผลิตอาจจะรวมวงจรอินเวอร์เตอร์ เข้าเป็นชุดเดียวกับวงจรควบคุมการประจุไฟฟ้า
แบตเตอรี่ (Battery Charger and Controller) ในการใช้งานต้องมีค่าก้าลังงานที่สูงกว่าก้าลังวัตต์ที่ใช้งาน 15-20 %
ทั้งนี้เนื่องจากอินเวอร์เตอร์จะมีประสิทธิภาพประมาณ 80-85 % เช่น ก้าลังวัตต์ที่ต้องการใช้งาน 800 วัตต์ต้องใช้
อินเวอร์เตอร์ขนาด 1 กิโลวัตต์ เป็นต้น

รูปที่ 13. เครื่องอินเวอร์เตอร์


ที่มา: http://www.serve.kipoint.com.tw

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

3. การออกแบบระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์
ในการออกแบบเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กต้องท้าการเลือกระบบตามวัตถุประสงค์การใช้งานก่อน
จากนั้นจึงท้าการหาค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเลือกส่วนประกอบที่เหมาะสมซึ่งมีล้าดับขั้นตอนดังนี้คือ
3.1 ขั้นตอนแรกต้องท้าการหาค่าก้าลังวัตต์สูงสุดที่ใช้งานในการออกแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ใน
ต้องท้าการหาค่าพลังงานสูงสุดที่ต้องการใช้งานก่อน โดยประมาณการค้านวณมาจากภาระงานก้าลังไฟฟ้าของ
อุปกรณ์ทุกๆชนิดรวมกัน เพื่อให้ได้ค่าเป็นก้าลังวัตต์ต่อชั่วโมงใช้งาน (W/h) หาค่าเป็นก้าลังวัตต์ต่อวัน (W/d) เพื่อ
น้าค่าที่ได้ไปเป็นโจทย์ในการหาค่าอื่นๆต่อไป เช่น อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ ตลอดจนแผงโซลาเซลล์ หรือ หาค่า
ก้าลังวัตต์ต่อเดือน (W/m) ในกรณีต้องการหาค่าใช้จ่ายค่าพลังงานต่อเดือนเพื่อเปรียบเทียบราคาค่าหน่วยกับระบบ
ไฟฟ้าจากสายส่งของการไฟฟ้า ในการหาค่าก้าลังวัตต์สูงสุดนี้ต้องเป็นระบบไฟฟ้าชนิดเดียวกัน การออกแบบ
ระบบไฟฟ้าใช้งานสามารถเลือกระบบได้ 2 แบบ คือ
3.1.1 การเลือกใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 12 V ซึ่งมีอุปกรณ์ใช้
งานได้มาก แต่ก็อาจจะออกแบบให้ใช้ระดับแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามที่ต้องการได้เช่น ขนาด 24V หรือ 48V ก็ได้
3.1.2 การใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ประเทศไทยใช้ระดับแรงเคลื่อนไฟฟ้ามาตรฐาน 220 V 50 Hz
ซึ่งมีความเหมาะสมและสะดวกสามารถหาอุปกรณ์สนับสนุนได้ง่าย หรือสามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไปได้
3.2 ขั้นตอนที2่ การเลือกใช้อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้า
ชนิดกระแสสลับกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน จะต้องให้ค่าก้าลังวัตต์ของอินเวอร์เตอร์ สูงกว่าค่าก้าลังวัตต์ที่ใช้
งานจริงเสมอ รวมทั้งต้องเผื่อค่าส้าหรับการสูญเสียก้าลังภายในอินเวอร์เตอร์ ด้วย ซึ่งจะมีค่าประมาณ 15 -20
เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น มีหลอดฟ้ามีก้าลังไฟฟ้ารวม 80 วัตต์ จะต้องใช้อินเวอร์เตอร์ขนาดไม่น้อยกว่า 100 วัตต์
จ่ายไฟฟ้าให้
ในปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรีโ่ ดยตรงมากขึ้น เพื่อ ท้าให้ลดการ
สูญเสียก้าลังไฟฟ้าในอินเวอร์เตอร์ลงได้มาก ถ้า หากมีความจ้าเป็นต้องใช้กอ็ าจจะเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กๆ
ใช้งานเฉพาะจุดที่ต้องการ ท้าให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดความสูญเสียก้าลังงานได้มาก สิ่งที่ต้องค้านึงสิ่งหนึ่ง
คือ วงจรอินเวอร์เตอร์ที่ดีต้องมีการป้องกันการใช้ก้าลังงานของ แบตเตอรีท่ ี่มากเกินไป หรือ DOD (Dept of
Discharge) ซึ่งจะเป็นผลท้าให้อายุแบตเตอรี่สั้นลง โดยปกติจะใช้แบตเตอรีท่ ี่ค่า DOD ไม่ต่้ากว่า 60 %

รูปที่ 14. ไดอะแกรมของวงจรระบบเซลล์แสงอาทิตย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

3.3 ขั้นตอนที่ 3 การเลือกใช้ Charge controller เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็น


ไฟฟ้ากระแสตรง ในการออกแบบวงจรการจัดเก็บประจุแบตเตอรี่ ต้องใช้อุปกรณ์ส้าหรับควบคุมการประจุไฟฟ้า
ลงแบตเตอรีซ่ ึ่งมีการออกแบบให้ท้าการชาร์จประจุที่มีลักษณะเป็นลูกพัลล์ ที่สามารถปรับเปลี่ยนคาบเวลาและ
ขนาดของแรงเคลือ่ นไฟฟ้าได้ย่านกว้างเพื่อให้การชาร์จประจุได้ประสิทธิภาพสูงสุด ตามปริมาณการเปลี่ยนแปลง
พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์ จึงมีการใช้วงจรควบคุมอัตโนมัติโดยใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ในการควบคุม
ข้อที่ควรพิจารณาการเลือกใช้งานได้แก่ เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงมีการสูญเสียต่้า และค่าพลังงานที่ก้าหนดต้องมี
ค่าก้าลังวัตต์ ที่ไม่ต่้ากว่าค่าของแผงโซลาเซลล์ แต่โดยส่วนมากการบอกค่าของโซลาเซลล์จะบอกค่าเป็นก้าลัง
วัตต์ แต่การบอกขนาดของเครื่องชาร์จจะบอกพิกัดก้าลังโวลต์ และค่ากระแส จากตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องชาร์จ
ประจุแรงเคลื่อนขนาด 12 โวลต์ กระแส 10 แอมแปร์ ก็จะสามารถใช้กับแผงโซลาเซลล์ขนาดไม่เกิน 120 วัตต์ แต่
หากแผงโซลาเซลล์ มีก้าลังไฟฟ้าต่้าเกินไปก็จะเกิดการสูญเสียภายใน และมีราคาแพงกว่า ในการเลือกใช้งานต้อง
เลือกให้มีความเหมาะสม
3.4 ขั้นตอนที4่ การเลือกใช้แบตเตอรีส่ ้าหรับจัดเก็บค่าพลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่ที่ใช้กับระบบโซลาเซลล์
เป็นแบบ Deep Cycle ซึ่งจะมีลักษณะที่ต่างจากแบตเตอรีร่ ถยนต์ แบตเตอรี่ส้าหรับรถยนต์จะมีแผ่นตะกั่ว ที่บาง
กว่าท้าให้ค่าความต้านทานภายในต่้าจึงสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงในระยะสั้นๆ ใช้ส้าหรับสตาร์ทเครื่องยนต์
แต่แบตเตอรีส่ ้าหรับใช้งานกับพลังงานแสงอาทิตย์ แผ่นตะกั่วภายในจะมีขนาดที่หนาท้าให้ความต้านทานภายใน
สูง จายกระสะไฟฟ้าได้ไม่สูงแต่จะจ่ายได้ในระยะเวลาที่นานกว่า จึงเป็นผลท้าให้ราคาสูงกว่าแบตเตอรีร่ ถยนต์ 3-
4 เท่าในขนาดเดียวกัน และเนื่องจากการใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะใช้ในลักษณะจัดเก็บประจุไฟฟ้า
ด้วยแบตเตอรีใ่ นตอนกลางวัน แล้วน้ามาใช้งานในตอนกลางคืน การเลือกใช้ขนาดแบตเตอรี่ต้องมีความเหมาะสม
กับขนาดแผงโซลาเซลล์ ซึ่งขนาดที่เหมาะสม คือ ประมาณ 6-8 เท่าขนาดเซลล์แสงอาทิตย์ ตามชั่วโมงการรับแสง
ดังตัวอย่างเช่น แผงโซลาเซลล์ขนาด 120 วัตต์ จะใช้แบตเตอรีข่ นาด 72 -96 แอมแปร์/ชั่วโมง แต่แบตเตอรีท่ ี่
จ้าหน่ายจะมีค่าที่คงที่ตายตัว จึงควรเลือกใช้ขนาดที่สูงกว่า คือ 100 แอมแปร์/ชั่วโมง การใช้ขนาดแบตเตอรีท่ ี่มี
ขนาดเล็กเกินไป นอกจากท้าให้เก็บประจุได้น้อยแล้ว ยังท้าให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่ไม่สามารถประจุไฟฟ้า
เก็บไว้ไช้ได้
3.5 การเลือกใช้แผงโซลาเซลล์ แผงโซลาเซลล์มีหลายชนิดแต่ที่มีการน้ามาใช้งานจริงแบ่งออกได้
เป็น 3 แบบได้แก่
3.5.1 แบบ Amorphous เป็นแผงโซลาเซลล์ที่ไวแสงมากที่สุด สามารถรับแสงที่อ่อนๆได้
รวมทั้งแสงจากหลอดไฟฟ้าต่างๆ จึงท้างานได้ในพื้นที่ที่ มีเมฆหมอก ฝุ่นละออง มีฝนตกชุก ต้น แต่ก็มีผลเสียคือ
พลังงานไฟฟ้าไม่สูงมากนักจึงท้าให้ต้องใช้พื้นที่มาก แผงมีน้าหนักมาก แตกหักได้ง่าย และยังหาอุปกรณ์
ประกอบเพื่อต่อเชื่อมระบบได้ยาก จึงนิยมน้าไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา หรืออุปกรณ์
ไฟฟ้าขนาดเล็กๆ เป็นต้น

รูปที่ 15. แผงโซลาเซลล์แบบ Amorphous


ที่มา: http:// www2.egat.co.th/re/solarcell/solarcell.htm

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

3.5.2 แบบ Crystalline เป็นแผงโซลาเซลล์ที่อยู่ในรูปของผลึกที่ท้าให้เป็นแผนฟิล์มชั้นบางๆซึ่ง


สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบ Mono crystalline หรือแผงชนิดผลึกเดี่ยว และ แบบ Poly crystalline
หรือ ผลึกผสม หรืออาจมีชื่อเป็นอย่างอื่นเช่น Single Crystalline และ Multi Crystalline เป็นแผงโซลาเซลล์ที่ใช้งาน
มากที่สุด แผงแบบ Mono crystalline จะมีประสิทธิภาพดีกว่าและราคาแพงกว่า แบบPoly crystalline เล็กน้อย

รูปที่ 16. แผงโซลาเซลล์แบบ Mono crystalline


ที่มา: http:// www.directindustry.com

รูปที่ 17. แผงโซลาเซลล์แบบ Poly crystalline


ที่มา: http://www.homesolarwindpower.com

ทั้งสองชนิดมีข้อดีคือ หาอุปกรณ์ต่อพ่วงได้ง่าย มีราคาถูก อายุการใช้งานยาวนานกว่า 20ปี ทนทาน ใช้พื้นที่น้อย


กว่า มีน้าหนักเบา แต่มีข้อจ้ากัดคือ ท้างานประสิทธิภาพต่้าในสภาพอากาศที่มีแสงน้อย
3.5.3 แบบ Super amorphous หรืออาจเรียกว่าเป็นแบบ Amorphous Triple Junction แผงโซลาเซลล์
ชนิดนี้จะรวมเอาข้อดีของทั้ง Amorphous และ Crystalline มาไว้ด้วยกัน โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบ Amorphous
สามารถใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงร่วมกับแบบ Crystalline ได้ทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถบิดตัว ม้วนได้ มีน้าหนักเบา
การขนส่งสะดวก สามารถติดตั้งตามพื้นผิวของวัสดุต่างๆได้หลากหลายชนิด มีความทนทานสูงต่อสภาวะอากาศ
สิ่งแวดล้อม มีอายุการใช้นานเกิน 20 ปี แต่มีข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าชนิดอื่นๆ 30-40 % ในอนาคตเมื่อมีราคาถูกลง
ก็จะได้รับความนิยมน้ามาใช้งานอย่างแพร่หลายต่อไป

รูปที่ 18. แผงโซลาเซลล์แบบ Super amorphous


ที่มา: http://www.solarnavigator.net

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

รูปที่ 19. แผงโซลาเซลล์แบบ super amorphous


ที่มา: http://nsthai.com

3.6 ตัวอย่างการออกแบบระบบโซลาเซลล์เล็ก เมื่อมีอุปกรณ์มาต่อเชื่อมเป็นระบบแล้ว จึงต้องท้าการหา


ค่าในแต่ละส่วนตามล้าดับก่อนหลังดังนี้คือ
3.6.1 การหาค่าก้าลังวัตต์ที่ใช้งานจริง โดยก้าหนดให้มอี ุปกรณ์ไฟฟ้า จ้านวน 3 ชนิดปิดเปิดใน
เวลาต่างกันโดยมีรายละเอียดตามตารางดังนี้

ที่ อุปกรณ์ไฟฟ้า กาลังวัตต์ จานวน ชั่วโมงใช้งาน Watt-Hour/Day


1 หลอดไฟฟ้า 20 2 4 160
2 โทรทัศน์ 40 1 3 120
3 พัดลม 40 1 2 80
รวม 120 9 360

3.6.2 การหาค่าอินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้งานต้องไม่ต่้ากว่าค่าก้าลังวัตต์รวมของอุปกรณ์ไฟฟ้า


ทั้งหมดซึ่งจากที่ค้านวณได้เท่ากับ 120 วัตต์
ดังนั้น อินเวอร์เตอร์ทเี่ ลือกใช้มีขนาดที่เหมาะสม = 150 วัตต์
3.6.3 การหาค่าความจุของแบตเตอรี่ ซึ่งจะค้านวณได้จากสูตร
PLoad
QBatt.   TBatt
VBatt.  (% DOD)  E Inverter
เมื่อ QBatt.  ความจุแบตเตอรี่ (Ah)

PLoad  ก้าลังวัตต์รวม (Watt)

VBatt.  โวลต์แบตเตอรี่ (Volt)


% DOD  ค่าระดับความลึกการคายประจุ (40-60%)

EInverter  ค่าประสิทธิภาพอินเวอร์เตอร์ (0.8-0.9)

TBatt.  ระยะเวลาการประจุในแต่ละวัน (ช.ม.)


ดังนั้น Q  (120/12x0.6x0.85)x6 =117.6 Ah
Batt.

ค่าความจุแบตเตอรี่ที่เหมาะสมใช้งาน = 12 Volt 120 Ah

3.6.4 การหาค่าขนาดของแผงโซลาเซลล์ สามารถท้าการหาได้จากสูตร


PLoad
PV 
QC  H  I
S

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

เมื่อ PV= ก้าลังวัตต์ของโซลาเซลล์ (Watt)


Q = ค่าพลังงานแสงที่ได้รับ/วัน (ประมาณ 4 kW-Hour/ Sq m)
C = ค่าความสูญเสียของเซลล์ (ประมาณ 0.8)
H = ค่าความสูญเสียเชิงความร้อน (ประมาณ 0.85)
I = ค่าประสิทธิภาพอินเวอร์เตอร์ (ประมาณ 0.8-0.9)
D = ค่าความเข้มของแสงบนโลก (ประมาณ 1 kW/Sq m)
ดังนั้น PV = 360/ (4000x0.8x0.85x0.85/1000) = 155 วัตต์
ขนาดของแผงโซลาเซลล์ที่เหมาะใช้งาน = 160 วัตต์

3.6.5 การหาค่าเครือ่ งชาร์จประจุแบตเตอรี่ เครื่องควบคุมการชาร์จต้องมีขนาดก้าลังวัตต์ที่ไม่


น้อยกว่าแผงโซลาเซลล์ ซึ่งสามารถท้าการค้านวณได้จากสูตร
PV
C Batt 
VBatt.
เมื่อ ขนาดกระแสประจุ (Ampere)
CBatt 
PV= ก้าลังวัตต์ของโซลาเซลล์ (Watt)
V  โวลต์แบตเตอรี่ (Volt)
Batt .

ดังนั้น CBatt  160/12


CBatt  13.33 A
เครื่องชาร์จประจุแบตเตอรี่ที่เหมาะสม = 12 Volt 15 Ampere

4. การเลือกใช้อุปกรณ์ประยัดพลังงานไฟฟ้า
การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์ มีข้อจ้ากัดการใช้งาน เนื่องจากระบบการผลิตจะได้รับ
พลังงานในตอนกลางวันเท่านั้น จึงต้องมีอุปกรณ์การจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้งานในตอนกลางคืน หรืออย่าง
ต่อเนื่องโดยใช้แบตเตอรี่ ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ยิ่งมีระบบซับซ้อนหรือมีอุปกรณ์ต่อพวงมากขั้นตอนก็
จะท้าให้มีการสูญเสียค่าพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เช่นหากต้องการใช้ไฟฟ้าแรงเคลื่อน 220 โวลต์ก็จะต้องใช้อุปกรณ์
อินเวอร์เตอร์แปลงระบบไฟฟ้าเสียก่อน จึงจะใช้งานได้และอุปกรณ์ก็จะมีค่าสูญเสียภายใน 10-15% ซึ่งถือได้ว่ามี
ค่ามากส้าหรับระบบการผลิตขนาดเล็กๆนี้ วิธีการที่ดีและประหยัดคือการเลือกใช้ระบบไฟฟ้ากระแสตรง และการ
ใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟได้แก่ หลอดไฟฟ้าประหยัดไฟแบบ LED บัลลาสอิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
เป็นต้น

รูปที่ 20. หลอดไฟฟ้า LED


ที่มา: http://www.ledinside.com และ http://lifekills.wordpress.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

รูปที่ 21. ปั้มไฟฟ้ากระแสตรง


ที่มา: http://www.piusiusa.com และ www.tsautoserv.com

5 บทสรุป
การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์โดยการใช้แผงโซลาเซลล์ หากมีการน้ามาใช้เป็นแหล่งพลังงานหลัก จะ
มีข้อจ้ากัดทางด้านพลังงานที่ได้รับอาจไม่คงที่ หรือมีความเสถียรต่้า การรับแสงอาทิตย์จะไม่คงที่แน่นอน ในวันที่
มีฝนตก มีเมฆหมอกมาก ซึ่งจะท้าให้ได้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้การรับแสงอาทิตย์ก็รับได้เพียง
ตอนกลางวันเท่านั้น หากต้องการความเสถียรของระบบก็จะต้องต่อเชื่อมกับระบบอื่นๆ เป็นระบบไฮบริดจ์
(Hydride System)โดยใช้เป็นผลิตพลังงานร่วมกับระบบอื่นๆ เช่นพลังงานน้้า พลังงานลม หรือกับเครื่องยนต์ต่างๆ
เป็นต้น ในส่วนต้นทุนการผลิตของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ถึงแม้ว่าพลังงานที่ได้รับจะเป็นพลังงานที่ฟรีจากดวง
อาทิตย์ แต่ก็มีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องได้แก่ การลงทุนทางด้าน อุปกรณ์เซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งมีราคาแพงถึงกว่าวัตต์ละ
150 บาท อุปกรณ์การติดตั้งต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์ควบคุมระบบการท้างาน ชาร์จคอนโทรล และ อินเวอร์เตอร์ต่างๆ
นอกจากนี้อุปกรณ์ที่ส้าคัญได้แก่ แบตเตอรี่ ซึ่งอุปกรณ์ทุกๆชนิดดังที่กล่าวแล้ว ล้วนมีอายุการใช้งาน ที่ต้องมีการ
ซ่อมบ้ารุงรักษาทั้งสิ้น จึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องน้ามาค้านวณเป็นต้นทุนของระบบ ในการวิเคราะห์ความคุ้มค่า
ความคุ้มทุนต่างๆ

รูปที่ 22. การประยุกต์ใช้งานไฟจราจร


ที่มา: http://www.be2hand.com และ http://www.duckol.com

ดังนั้นการใช้งานพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยการใช้แผงโซลาเซลล์ จึงเหมาะส้าหรับการใช้งาน
ในสถานที่ ที่มีความจ้าเป็น หรือ การแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าเฉพาะจุดเท่านั้น ตามจุดต่างๆที่
ต้องการการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากนัก หรือเป็นการลดการใช้สายส่งระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ต่างๆ
จึงนิยมน้าไปใช้งานในที่ต่างๆ เช่น ไฟฟ้าระบบจราจร ไฟประดับสวน ไฟประภาคาร หรือทุ่นลอยน้้าต่างๆ เป็น
ต้น ซึ่งเมื่อท้าการค้านวณต้นทุนการผลิตที่คุ้มค่าแล้ว จึงจะเหมาะสมในการใช้งาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

รูปที่ 23. การประยุกต์ใช้งานไฟถนนไฟฟ้าประดับสวน


ที่มา: http://www.thaitechno.net และ http://www.tarad.com/night-light/

การผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาเซลก็เป็นพลังงานที่จะมีบทบาทสูงมากยิ่งขึ้นในอนาคต และเมื่อมีการ
พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและราคาถูกลง และมีการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานน้อย
ประหยัดพลังงานซึ่งจะท้าให้มีการน้ามาใช้งานอย่างๆแพร่หลายในอนาคต
5. เอกสารอ้างอิง
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.integralsystems.org
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://solar-wind-nature-energy.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.hkengineer.org.hk
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.trec-uk.org.uk
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.engineeringnews.co.za
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://infranetlab.org
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.naturalnews.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.sikaienergy.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://en.wikipedia.org/wiki/Photovoltaics
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://nsthai.com/howtobuy_solar.htm
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.pv.unsw.edu.au
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://http://www.egat.co.th
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://science.nasa.gov/headlines/y2002/solarcells.htm
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.ecvv.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.true-solar.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.ecvv.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.true-solar.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.igetweb.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.storageimage.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://sst.tarad.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.mpoweruk.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.serve.kipoint.com.tw
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www2.egat.co.th/re/solarcell/solarcell.htm
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.directindustry.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.homesolarwindpower.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.solarnavigator.net
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.ledinside.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://lifekills.wordpress.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


Solar Energy Application

สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.piusiusa.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.tsautoserv.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.be2hand.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.duckol.com
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.thaitechno.net
สื่อสารสนเทศออนไลน์: http://www.tarad.com/night-light/

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรจบ สุ ขประภาภรณ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

You might also like