You are on page 1of 277

หน้า ๑ (เล่มที่ ๕)

เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๑

ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ กําหนดให้ดําเนินการ


ปฏิรูปประเทศ และให้ดําเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลตามที่กําหนด โดยให้เป็นไป
ตามที่ กํ าหนดในกฎหมายว่ าด้ วยแผนและขั้ นตอนการดํ าเนิ นการปฏิ รู ปประเทศ ซึ่ งอย่ างน้ อยต้ อ งมี
วิ ธี ก ารจั ด ทํ า แผน การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนและหน่ ว ยงานที่ เกี่ ย วข้ อ ง ขั้ น ตอนในการดํ า เนิ น
การปฏิรูปประเทศ การวัดผลการดําเนินการ และระยะเวลาดําเนินการปฏิรูปประเทศทุกด้าน และต่อมา
ได้มีการตราพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับ
เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นมา โดยกําหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
ด้านต่าง ๆ เพื่อรับผิดชอบในการจัดทําแผนการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน เพื่อกําหนดกลไก วิธีการ
และขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
และรายงานต่อรัฐสภาเพื่อทราบแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ต่อไป
เพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะรัฐ มนตรีได้ มีม ติเมื่ อวัน ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ แต่ งตั้ งคณะกรรมการปฏิ รูป
ประเทศด้านต่าง ๆ จํานวน ๑๑ คณะ อันประกอบด้วย คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
ด้ า นสาธารณ สุ ข คณ ะกรรมการปฏิ รู ป ประเทศด้ า นสื่ อ สารมวลชน เทคโนโลยี ส ารสนเทศ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และคณะกรรมการ
ปฏิ รู ป ประเทศด้ า นการป้ อ งกั น และปราบปรามการทุ จ ริ ต และประพฤติ มิ ช อบ เพื่ อ รั บ ผิ ด ชอบใน
การดําเนินการจัดทําร่างแผนการปฏิรูปประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด
ตลอดจนได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง
เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทําร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ด้วยแล้ว
บัดนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ได้ดําเนินการจัดทําร่างแผนการปฏิรูปประเทศ
เป็นที่เรียบร้อย และได้เสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เห็นชอบร่างแผนการปฏิรูปประเทศ
ตามที่ สํ า นั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ในฐานะฝ่ า ยเลขานุ ก าร
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ และสภานิติบัญ ญั ติแห่งชาติ
ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ รับทราบแผนการปฏิรูปประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หน้า ๒
เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ เมษายน ๒๕๖๑
ในการนี้ เพื่ อ ให้ เป็ น ไปตามที่ กํ า หนดในมาตรา ๖ วรรคสอง แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ แ ผน
และขั้นตอนการดําเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ส่วนที่ ๑
ภาพรวมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
๑.๑ บทนา
๑.๑.๑ บริบทตามข้อกาหนดของรัฐธรรมนูญ
รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๖๐ มี ข้ อ ก าหนดที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
การสาธารณสุข ๗ มาตรา ดังนี้
๑) หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ
บริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่
กฎหมายบัญญัติ และบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออั นตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
มาตรา ๔๘ สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือ
ตามที่กฎหมายบั ญญัติ และบุค คลซึ่งมีอายุเกิน หกสิบปี และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุค คล
ผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
๒) หมวด ๔ หน้ า ที่ ของปวงชนชาวไทย มาตรา ๕๔ วรรคสอง รั ฐ ต้อ งด าเนิ น การให้
เด็ ก เล็ ก ได้ รั บ การดู แ ลและพั ฒ นาก่ อ นเข้ า รั บ การศึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นาร่ า งกาย จิ ต ใจ วิ นั ย อารมณ์ สั ง คม
และสติ ปั ญ ญาให้ ส มกั บ วั ย โดยส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และภาคเอกชน
เข้ามีส่วนร่วมในการดาเนินการด้วย มาตรา ๕๕ รัฐต้องดาเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุข
ที่มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพอย่ า งทั่ ว ถึง เสริ ม สร้ างให้ ประชาชนมี ค วามรู้ พื้น ฐานเกี่ ย วกับ การส่ ง เสริม สุ ข ภาพและ
การป้องกันโรค และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยบริ ก ารสาธารณสุ ข ดั ง กล่ า ว ต้ อ งครอบคลุ ม การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ การควบคุ ม และป้ อ งกั น โรค
การรั ก ษาพยาบาล และการฟื้ น ฟู สุ ข ภาพด้ ว ย และรั ฐ ต้ อ งพั ฒ นาการบริ ก ารสาธารณสุ ข ให้ มี คุ ณ ภาพ
และมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรา ๕๘ การดาเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดาเนินการ
ถ้ า การนั้ น อาจมี ผ ลกระทบต่ อ ทรั พ ยากรธรรมชาติ คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม สุ ข ภาพ อนามั ย คุ ณ ภาพชี วิ ต
หรือส่วนได้ส่วนเสียสาคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รั ฐต้องดาเนินการ
ให้ มี ก ารศึ ก ษาและประเมิ น ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพของประชาชนหรื อ ชุ ม ชน
และจัดให้ มีการรับ ฟังความคิดเห็ นของผู้มีส่ว นได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนามา
ประกอบการพิจารณาดาเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ และบุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับ
ข้อมูล คาชี้แจง และเหตุผ ลจากหน่ว ยงานของรัฐ ก่อนการดาเนินการหรืออนุญาต และในการดาเนินการ
หรื ออนุญาต รั ฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่ งแวดล้ อม และความหลากหลาย
ทางชีว ภาพน้ อยที่ สุ ด และต้ องด าเนิ น การให้ มี การเยี ย วยาความเดื อ ดร้ อ นหรื อเสี ย หายให้ แ ก่ป ระชาชน
หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า
๓) หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๗๑ รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
อั น เป็ น องค์ ป ระกอบพื้ น ฐานที่ ส าคั ญ ของสั ง คม จั ด ให้ ป ระชาชนมี ที่ อ ยู่ อ าศั ย อย่ า งเหมาะสม ส่ ง เสริ ม
และพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง รวมตลอดทั้ง
ส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาให้ ไปสู่ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และรัฐ พึงส่งเสริม
และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น และรัฐพึงให้ความช่วยเหลือ

เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สู งอายุ คนพิการ ผู้ ย ากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้ สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
และคุ้ ม ครองป้ อ งกั น มิ ใ ห้ บุ ค คลดั ง กล่ า วถู ก ใช้ ค วามรุ น แรงหรื อ ปฏิ บั ติ อ ย่ า งไม่ เ ป็ น ธรรม รวมตลอดทั้ ง
ให้การบาบัด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระทาดังกล่าว และในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคานึงถึงความจาเป็น
และความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรม
๔) หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๕๘ ให้ดาเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อย
ในด้านต่างๆ ให้เกิดผล (ช. ด้านอื่นๆ) ข้อ (๔) ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและ
ประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน และข้อ (๕) ให้มี
ระบบการแพทย์ปฐมภูมทิ ี่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
๑.๑.๒ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จากการทบทวนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข พบว่า มีทั้งหมด ๔๖ ฉบับ ได้แก่
(๑) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒) พระราชบัญญัติ
การแพทย์ ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓) พระราชบัญญัติโ รคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ (๔) พระราชบัญญัติสุ ขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๕) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๖) พระราชบัญญัติ
คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ (๗) พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.
๒๕๔๒ (๘) พระราชบั ญญัติควบคุม ผลิ ตภัณฑ์ยาสู บ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๙) พระราชบัญญัติควบคุ มเครื่องดื่ ม
แอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๐) พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ (๑๑) พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๒) พระราชบั ญ ญั ติ อ งค์ ก ารเภสั ช กรรม พ.ศ. ๒๕๐๙ (๑๓) พระราชบั ญ ญั ติ อ าหาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔) พระราชบั ญ ญั ติ เ ครื่ อ งมื อ แพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๕) พระราชบั ญ ญั ติ เ ครื่ อ งส าอาง พ.ศ. ๒๕๕๘
(๑๖) พระราชบั ญ ญั ติ ส ถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และที่ แ ก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม (ฉบั บ ที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙
(๑๗) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ (๑๘) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. ๒๕๒๒ (๑๙) พระราชกาหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๐) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒๑) พระราชบั ญ ญั ติเ ชื้ อ โรคและพิ ษ จากสั ต ว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒๒) พระราชบั ญญั ติวิ ชาชี พ
เภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒๓) พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและ
การผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ (๒๕) พระราชบัญญัติวิชาชีพ
ทันตกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ (๒๖)พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบาบัด พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒๗)พระราชบัญญัติวิชาชีพ
เทคนิ ค การแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒๘)พระราชบั ญ ญั ติ วิ ช าชี พ การแพทย์ แ ผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖
(๒๙) พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ (๓๐) พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อ
สุ ข ภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ (๓๑) พระราชบั ญญั ติ ควบคุมการส่ งเสริ มการตลาดอาหารส าหรั บทารกและเด็ กเล็ ก
พ.ศ. ๒๕๖๐ (๓๒) พระราชบั ญญั ติคุ้ มครองเด็ กที่ เกิดโดยอาศั ยเทคโนโลยี ช่ วยการเจริ ญพันธุ์ ทางการแพทย์
พ.ศ. ๒๕๕๘ (๓๓) พระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. ๒๔๙๙ (๓๔) พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๓๕) พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓๖) พระราชกฤษฎีกา
จัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๒ (๓๗) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน
วัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๕ (๓๘) พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การ
มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ (๓๙) พระราชบัญญัติว่าด้วยการมอบหมายเจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพ ตามความ
ในมาตรา ๑๔๘ (๓) (๔) และ (๕) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. ๒๕๕๐ (๔๐) พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๒ (การชันสู ตรพลิ กศพ)

(๔๑) พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ (๔๒) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา


คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (๔๓) พระราชบัญญัติความลั บทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไข
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๘ (๔๔) พระราชบัญญัติในการอานวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน พ.ศ. ๒๕๕๖
(๔๕) พระราชบั ญญั ติ รั ก ษาความสะอาดและความเป็ น ระเบี ย บเรี ยบร้ อยของบ้ า นเมื อง พ.ศ. ๒๕๓๕
(๔๖) พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. ๒๕๒๘
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขดาเนินการปรับปรุงแก้ไขและยกร่างกฎหมายไปแล้วจานวนทั้งหมด
๒๖ ฉบับ มีผลบังคับใช้แล้ว ๕ ฉบับ อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานต่างๆ จานวน ๒๑ ฉบับ ได้แก่
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๑ ฉบับ สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๗ ฉบับ คณะรัฐมนตรี ๓ ฉบับ และกรมใน
กระทรวงสาธารณสุข จานวน ๑๐ ฉบับ
๑.๑.๓ ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป
ในการจั ด ท าแผนการปฏิ รู ป ประเทศด้ า นสาธารณสุ ข คณะกรรมการปฏิ รู ป ประเทศ
ด้านสาธารณสุข ได้นารายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศของสภาปฏิรูป
แห่ งชาติ และสภาขับ เคลื่ อนการปฏิรู ป ประเทศ มาใช้ประกอบการพิ จารณาด้ว ย ซึ่งมี ผ ลการศึกษาและ
ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ ด้านระบบบริการ
สาธารณสุ ข ด้านการคุ้มครองผู้ บริ โภคและบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุ ข และด้านความยั่งยืนและ
เพียงพอด้านการเงินการคลังสุขภาพ ดังนี้
๑) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีประเด็นและข้อเสนอในการปฏิรูประบบสาธารณสุข ดังนี้
๑.๑) การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ ซึง่ ปัจจุบันมีลักษณะแยกส่วน ขาดความหลากหลาย
มีปัญหาความเหลื่อมล้าระหว่างกองทุน อีกทั้งกลไกการบันทึกและใช้ข้อมูลในภาพรวมทั้งภาครัฐและเอกชนยัง
มีความอ่อนแอ ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างไม่ทั่วถึง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพบริการสุขภาพ
โดยมี ข้อเสนอ คือ (๑) เปลี่ย นฐานของระบบบริการจาก “โรงพยาบาลเป็นฐาน” เป็น “พื้นที่เป็นฐาน”
กาหนดให้มี “คณะกรรมการสุขภาพพื้นที่/อาเภอ (District/Local Health Board)” เน้นระบบการพัฒนา
เครือข่ายที่มีทีมผู้ให้บริการสหวิชาชีพ (Matrix Team) และบริการ เป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก มีกลไกการเงินที่
พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์จาเพาะพื้นที่ และ พัฒนาระบบข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงทั้งระบบ รวมถึงให้มีการปฏิรูป
การแพทย์ฉุกเฉิน ปฏิรูปความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ เพื่อให้ครบสมบูรณ์ของระบบบริการสุขภาพ
๑.๒) การปฏิรูประบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยคุกคามสุขภาพ
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของความเป็นเมือง และโรคที่เกิดจากปัจจัยกาหนดสุขภาพ
เพิ่มขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว แต่ ยั งขาดระบบข้อ มูล เพื่ อการเฝ้ า ระวัง ด้านการป้ องกั นโรคและภั ยคุก คามสุ ขภาพ
ขาดกลไกการมีส่วนร่วมและการบูรณาการในการจัดการเพื่อพัฒนาสุขภาพในระดับพื้นที่และท้องถิ่น กฎหมาย
และข้อระเบี ย บบางประการยั งไม่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุ ขภาพและการมีสุ ขภาพที่ดีในระดับชุมชน จึงมี
ข้อเสนอ คือ ยึดหลักการ “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies Approach: HiAP) และให้
ส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการปฏิบัติการ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดูแล
สุขภาพตนเองของชุมชน บุ คคลและครอบครัว ดังแนวทาง (๑) ปรับวิธีการดาเนินงานในทุกขั้นตอนของ
หน่วยงานทุกระดับต้องใช้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (Participatory
Healthy Public Policy Process: PHPPP) (๒) การพัฒนากลไก “คณะกรรมการสาธารณสุขระดับจังหวัด ”

และ “คณะกรรมการสาธารณสุขระดับชุมชนหรือท้องถิ่น” เพื่อให้เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนและเครือข่าย


พันธมิตร (Collective Leadership) ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคท้องถิ่น ภาคพลเมือง
ภาคประชาสังคม และภาควิชาการหรือวิชาชีพ (๓) พัฒนาขีดความสามารถ (Capacity Building) ให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพที่ดี (Healthy Environment) (๔) การพัฒนา
กฎหมายเพื่อการปฏิรูประบบงานการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค และภัยคุกคามสุขภาพ
๑.๓) การปฏิรูประบบบริหารจัดการและการเงินการคลังด้านสุขภาพ เนื่องจาก
ในปั จ จุ บั น กลไกในการอภิ บ าลระบบยั ง ขาดเอกภาพ ท าให้ มี ก ารกระจายสถานพยาบาลและเครื่ องมื อ
ทางการแพทย์ราคาแพงที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ รวมถึงสิทธิประโยชน์และกลไกการจ่ายต่างกันในแต่ละ
ระบบประกั น สุ ข ภาพของรั ฐ มี ข้ อ เสนอ คื อ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการนโยบายสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ ซึ่ ง จะมี
คณะกรรมการ ๓ ระดับ คือ (๑) คณะกรรมการกาหนดนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Policy
Board) (๒) คณะกรรมการสุขภาพเขต (Area Health Board) และ (๓) คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพและ
ป้องกันโรคระดับจังหวัด เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพในระดับประเทศและระดับพื้นที่
สาหรับการปฏิรูประบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
เติบโตเร็ วกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง กองทุนประกันสุ ขภาพภาครัฐทั้งสามระบบมีการแยกส่ วน
ไม่เหมือนกันทั้งระดับการจ่ายและวิธีการจ่าย มีข้อเสนอ คือ (๑) จัดตั้งคณะกรรมการประกันสุขภาพแห่งชาติ
หรื อสภาประกั นสุ ขภาพแห่ งชาติ เป็ น หน่ ว ยงานกลางในการบริห ารจั ดการกองทุ นสุ ข ภาพต่ า งๆ พั ฒ นา
สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ขั้ น พื้ น ฐานด้ า นสุ ข ภาพที่ เ หมาะสมของประชาชนทุ ก คน (๒) จั ด ตั้ ง ส านั ก มาตรฐานและ
การจั ดการสารสนเทศระบบบริการสุ ขภาพแห่งชาติ (สมสส.) เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการข้อมูล
สารสนเทศการประกันสุขภาพ (๓) เพิ่มภาษีผลิตภัณฑ์หรืออาหารและเครื่องดื่มที่เป็นภัยต่อสุขภาพ รวมทั้ง
เพิ่มการประกันสุขภาพในกลุ่มประชากรต่างๆ และการพัฒนาการแพทย์แผนไทยคู่ขนานกับแพทย์แผนปัจจุบัน
และ (๔) การกระจายอานาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่ภูมิภาค เช่น ระบบเขตสุขภาพ เพื่อเสริมสร้าง
ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณด้านสุขภาพภาครัฐ
๒) สภาขั บ เคลื่ อ นการปฏิ รู ป ประเทศ (สปท.) มี ป ระเด็ น และข้ อ เสนอในการปฏิ รู ป
ระบบสาธารณสุขที่ขับเคลื่อนต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ดังนี้
๒.๑) การจั ด ตั้ ง คณะกรรมการนโยบายสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ เพื่ อ ให้ มี ก ารอภิ บ าล
ระบบบริ ก ารสุ ข ภาพ ทั้ ง ในระดั บ ประเทศ และระดั บ พื้ น ที่ โดยการออก ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ
คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ... ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมรับฟังความเห็ น
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ และวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ขณะนี้อยู่
ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการออกร่างพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวต่อไป
๒.๒) การจัดตั้งสานักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบบริการสุขภาพ
แห่งชาติ (สมสส.) ในรูปแบบองค์การมหาชน เพื่อทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ
การประกันสุขภาพ และเป็นคลังข้อมูลบริการสุขภาพที่ สนับสนุนการบริหารจัดการ การบริการสุขภาพและ
งานวิ จั ย ซึ่ ง เป็ น จุ ด ตั้ ง ต้ น ของการวางรากฐานการพั ฒ นาระบบสารสนเทศบริ ก ารสุ ข ภาพของประเทศ
ในภาพใหญ่ เพื่ อ ให้ ป ระชาชนได้ รั บ การบริ ก ารสุ ข ภาพที่ ป ลอดภั ย เท่ า เที ย ม และมี คุ ณ ภาพ
โดยเสนอให้ออก ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสานักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบบริการ

สุขภาพแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ... ทั้งนี้ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งสานักงานมาตรฐานและการจัด การ


สารสนเทศระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว และรอการเสนอ
ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖ เพื่อให้สานักงานมาตรฐานและการจัดการสารสนเทศระบบ
บริการสุขภาพแห่งชาติที่จะจัดตั้งขึ้นสามารถดาเนินการตามแผนที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบต่อไป
๒.๓) การป้ อ งกั น และควบคุ ม ปั จ จั ย เสี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพด้ า นอาหารและโภชนาการ
ในประเด็นการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้าตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ เพื่อจัดการกับปัญหาโรค
อ้ วนและโรคไม่ ติ ดต่ อเรื้ อรั ง โดยมี ข้ อ เสนอ คื อ ควรมี ก ารทบทวนพิ กั ด การจั ด เก็ บ ภาษี ส รรพสามิ ต ให้ มี
ความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยออกร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายสรรพสามิต
พ.ศ. ... เพื่อลดหรื อบรรเทาความรุ นแรงของผลกระทบจากการบริโ ภคเครื่องดื่มที่มีน้าตาลที่มากเกินไป
และเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการ
๒.๔) การปฏิ รู ป การแพทย์ แ ผนไทยและระบบยาสมุ น ไพรแห่ ง ชาติ พร้ อ ม
ร่างพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. ...และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยยังขาดการดูแลคุ้มครอง
อย่างจริงจังทาให้ถูกฉกฉวยและละเมิดสิ ทธิ์จากการหายาใหม่ของต่างชาติ จึง มีความจาเป็นที่จะส่งเสริมและ
พัฒนาให้การแพทย์ แผนไทยมีศักยภาพและมาตรฐาน ให้ บริการคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมี
ข้อเสนอ คือ (๑) ปฏิรู ประบบบริการการแพทย์แผนไทยให้ มีมาตรฐานคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
(๒) ปฏิรูปการคุ้มครองภูมิปัญญาไทยเพื่อให้มรดกไทยเป็นมรดกโลก (๓) ปฏิรูปอุตสาหกรรมสมุนไพรและ
การตลาด (๔) ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาไทยและยาจากสมุนไพร (๕) ปฏิรูป
โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการด้านการแพทย์แผนไทย (๖) ปฏิรูปการจัดการศึกษาด้านการแพทย์แผน
ไทย (๗) ปฏิรูปการพัฒนากาลังคน (๘) ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวกับยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ
โดยออกร่างพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. ...และร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา
การแพทย์ แ ผนไทย (ฉบั บ ที่ ..) พ.ศ. ...ทั้ ง นี้ ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ส มุ น ไพร พ.ศ. ... ได้ ผ่ า น
การพิจ ารณาของส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ ขณะนี้กระทรวง
สาธารณสุขกาลังจัดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อดาเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีและสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป สาหรับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผน
ไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... อยู่ระหว่างการพิจารณาของสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๒.๕) ระบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาล ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิต
จากอุ บั ติ เ หตุ จ ราจรสู ง เป็ น อั น ดั บ สองของโลก และเป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง ในภู มิ ภ าค ระบบการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น
มีความสาคัญที่การช่วยชีวิตและการรักษาชีวิตให้ทันเวลา ลดความสูญเสียและความพิการ โดยมีข้อเสนอ คือ
(๑) จัดตั้งศูนย์ รับ แจ้ งเหตุฉุกเฉิน แห่งชาติเลขหมายเดียว (๒) ปฏิรูประบบความรู้และความสามารถเรื่อง
การปฐมพยาบาลและการฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (First-Aid and Resuscitation) (๓) เพิ่มบริการการแพทย์
ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (๔) จัดให้มีศูนย์จ่ายงานที่มีประสิทธิภาพ (๕) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ
และกรุ งเทพมหานครเป็ น ผู้ ดาเนิ น งานและบริห ารจัดการการแพทย์ฉุ กเฉิ นนอกโรงพยาบาลของจั งหวั ด
(๖) ให้ เ ป็ น อ านาจหน้ า ที่ ข ององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการบริ ห ารจั ด การการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น
นอกโรงพยาบาล ทั้งนี้ ได้เสนอให้ออกร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบ
กิจ การวิทยุ กระจายเสี ย ง วิ ทยุ โ ทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (มีเ นื้อหาเกี่ยวกั บ
การจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ) โดยในระยะที่ผ่านมาสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้พั ฒนา

ระบบการแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัล เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินภายใต้ระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ๑๖๖๙


และเมื่ อ วั น ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ กระทรวงสาธารณสุ ข ร่ ว มกั บ ส านั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
สานักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จั ดทาโครงการ “เจ็บป่ว ย
ฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP) เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน
วิกฤต เข้ารั บการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยไม่ต้องส ารองจ่าย
ในระยะ ๗๒ ชั่วโมงแรก โดยมีศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และออกประกาศ
มีผลประกาศใช้
๒.๖) การปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ ประเทศไทยมีนโยบายและแผนการพัฒนา
ระบบบริ การปฐมภู มิ มาอย่ างต่ อ เนื่ อ งกว่ า ๑๐ ปี ส่ งผลให้ ประชาชนเข้ าถึงระบบบริ การสุ ขภาพเพิ่ มขึ้ น
แต่ในด้านคุณภาพของระบบบริการปฐมภูมิ พบว่าปัญหาเร่งด่วนในระบบบริการปฐมภูมิ สรุปได้ ๓ ด้าน คือ
(๑) ระบบบริ การปฐมภู มิ (๒) การบริ หารการเงิ นการคลั ง และ (๓) กาลั งคนด้ า นสุ ขภาพ มี ข้อ เสนอ คื อ
(๑) หน่วยบริการปฐมภูมิจัดบริการรวมกลุ่มเป็น Primary Care Cluster ดูแลประชาชนร่วมกัน Cluster
ละประมาณ ๑ – ๓ หมื่น คน (๒) บริ หารและหมุนเวียนทรัพยากรร่วมกันในกลุ่มบริการปฐมภูมิทั้งด้าน
งบประมาณ และบุคลากร (๓) กลุ่มบริการปฐมภูมิให้บริการแก่ประชาชน ตามปัญหาของพื้นที่ และประสาน
กิจกรรม ร่วมกับองค์กรภาคประชาชน โดยเน้นภารกิจด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นหลักมากกว่า
การให้ บ ริ ก ารรั ก ษาพยาบาล และ (๔) ประชาชนได้ รั บ บริ ก ารตามปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง และตาม
ความเร่งด่วนในแต่ละพื้นที่
สาหรับด้านการบริหารการเงินการคลัง มีข้อเสนอ คือ (๑) บูรณาการเงินที่เกี่ยวกับ
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(Promotion and Prevention: P&P) จากทุกแหล่ง ทุกกองทุน บริหารร่วม
ที่คณะกรรมการสุขภาพเขตและระดับอาเภอ (๒) มีวงเงินจัดสรรเพิ่มมากขึ้นกว่าแบบเดิม ๓ - ๔ เท่า (๓) จัดสรร
ให้ ห น่ ว ยบริ การปฐมภูมิเป็ น เงิน ก้อน (Lump sum) ตามหั ว ประชากร และตามเงื่อนไข ข้อตกลงของ
คณะกรรมการสุ ขภาพเขตและระดับอาเภอ และ (๔) ปรับหลั กเกณฑ์ให้ หน่วยบริการปฐมภูมิส ามารถรับ
งบประมาณเป็นของตนเองโดยตรง
ด้ า นกาลั งคนด้ า นสุขภาพ มีข้อเสนอ คื อ (๑) หมุนเวี ยนและบริห ารบุคลากร
ทุกสาขาในกลุ่มบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) (๒) พัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุข
ที่มีอยู่ในการร่วมจัดระบบบริการ (๓) วางแผนพัฒนาและผลิตบุคลากร และ (๔) มีมาตรการในการธารงรักษา
ให้บุคลากรคงอยู่ในระบบ
ด้านการพัฒนาระบบติดตาม ประเมินผล มีข้อเสนอ ดังนี้ (๑) ทุกกองทุนกาหนด
เป้าหมาย ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ ร่วมกันและใช้เป็นกรอบดาเนินการทั้งประเทศ ภายใต้การกากับของ NHPB
(๒) ทบทวนและพั ฒ นา รู ป แบบการรายงาน ตั ว ชี้วั ดด้า นสุ ขภาพที่ ไม่เ ป็น ภาระแก่ห น่ ว ยบริก าร ภายใต้
การกากับของ NHPB (๓) การประเมินผล ให้เป็นหน้าที่หลักของกรมวิช าการ กระทรวงสาธารณสุข และ
สถาบันต่างๆ ที่เกี่ย วข้อง โดยไม่น ารายงานของหน่วยบริการมาเป็นข้อมูล หลั กในการสรุป (๔) สนับสนุน
การวิจัยและปรับปรุงรูปแบบวิธีการประเมินผล ใช้ระบบสารสนเทศมาช่วยในการพัฒนาเครื่องมือ (๕) สนับสนุน
และมีกลยุทธ์จูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินและรายงานสุขภาพของตนเอง (๖) ยกเลิกการกาหนด
เกณฑ์จัดสรรเงินจากกองทุนมาเป็นแรงจูงใจในการรายงานข้อมูล หรือใช้เป็นเกณฑ์ประเมินมาตรฐานบริการ
ปฐมภูมิ ที่จะทาให้ข้อมูลที่ได้ขาดความน่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทา (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายบริการ


ปฐมภูมิ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙) เพื่อรองรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ และได้จัดทา
ร่างพระราชบัญญัติร ะบบการแพทย์ ปฐมภูมิ และบริการสาธารณสุ ข พ.ศ. ...ซึ่งคาดว่าจะสามารถนาเข้าสู่
การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ก่อนสิ้นปี ๒๕๖๐
๒.๗) การปฏิรู ปความรอบรู้ และการสื่อสารสุขภาพ ประชาชนที่มีความสามารถ
ในการดูแลสุขภาพตนเองมีจานวนน้อย ในขณะที่ข่าวสารด้านสุขภาพมีเป็นจานวนมาก แต่ขาดระบบการคัดกรอง
และการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ทาให้ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง จึงมีข้อเสนอ คือ
(๑) ปฏิรูปยุทธศาสตร์และกลไกในการขับเคลื่อนด้านความรอบรู้และการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ (๒) ปฏิรูป
ระบบการประเมินผลโดยเน้นผลลัพธ์ที่ประชาชนมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรม
สุขภาพที่พึงประสงค์ในทุกกลุ่มวัย (๓) จัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมความรอบรู้และการสื่อสารสุ ขภาพ
แห่งชาติ และ (๔) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ควรร่วมมือกันเพื่อ
สนับสนุนให้เกิดโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate School) โรงพยาบาลรอบรู้ด้านสุขภาพ
(Health Literate Hospital) และชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Communication)
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้กาหนดเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในยุ ทธศาสตร์
๒๐ ปีของกระทรวง และอยู่ในวาระปฏิรูปเร่งด่วน (Quick win) ของกระทรวง และได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้
ด้านสุขภาพ ณ โรงพยาบาลอาเภอหลายแห่ง ขณะเดียวกันกรมอนามัย ได้วางแผนการขับเคลื่อนความรอบรู้
ด้านสุขภาพไว้ ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙) โดยมีเป้าหมายให้ สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความรอบรู้ด้าน
สุขภาพ (Health Literate Societies) โดยใช้ ๔ กลไกในการขับเคลื่อนการดาเนินงาน คือ กลไกการสื่อสาร
(Communication) การพั ฒ นาศัก ยภาพบุ ค ลากร (Capacity Building) การสร้ า งความผู ก พั น
(Engagement) และการเรียนรู้แบบเสริมพลัง (Empowerment) ควบคู่กับการกากับ ติดตามอย่างเข้มข้น
(Intensive M&E)
๒.๘) การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพของประชาชน : สิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพ
โครงสร้างระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยประกอบด้วย ๓ ระบบหลัก คือ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล
ข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะของ
ประชากรที่ระบบคุ้มครองอยู่ และสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้า และ
ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึน้ ในระบบบริการสุขภาพที่จาเป็นต้องมีการแก้ไข โดยมีข้อเสนอ คือ การลดความเหลื่อมล้า
ระหว่างระบบหลักประกันสุขภาพ ด้วยการจัดการชุดสิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพ (Core health benefit
package) ระหว่างหลักประกันสุขภาพของรัฐ และมีสิทธิประโยชน์เสริมตามความต้องการของกองทุนและ
ประชาชน และออกพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๑ (๘) ระบุให้คณะกรรมการนโยบายฯ มีหน้าที่ดาเนินการประกาศชุดสิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพ
ของประชาชนอยู่แล้ว

๑.๒ สถานการณ์และแนวโน้ม
๑.๒.๑ สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก
๑) การแพร่ ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ
โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของไวรัส เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดนก

โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์เป็นต้น ซึ่งเป็นภัยคุกคามทั้งต่อระดับสุขภาวะของ


ประชาชนไทยและเป็นภัยคุกคามต่อภาระทางการคลังและการจัดระบบตอบโต้ภัยฉุกเฉินด้านสุขภาพ
๒) การนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดบริการสุขภาพ ภายใต้สังคมดิจิทัลทาให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวมไปถึงเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์
เช่น การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สาหรับใช้ในการระบุมะเร็งผิวหนังโดยมีอัตราความแม่นยาในระดับเดียวกับ
ผู้เชี่ยวชาญ การใช้ Big Data ในการวางนโยบายด้านสุขภาพ เป็นต้น
๓) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ๑๗ เป้าหมายหลัก ๑๖๙ เป้าหมายย่อย
โดยเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขและสุขภาพประกอบด้วย เป้าหมายการมีสุขภาพดีในทุกช่วงอายุ
เป้าหมายเรื่องสิทธิสตรีและเด็กผู้หญิง เป้าหมายเรื่องการเข้าถึงน้าสะอาด โดยเป้าหมายที่ท้าทายในการบรรลุ
เป้ า หมายการพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น คื อ (๑) หยุ ด ยั้ง การระบาดของโรคเอดส์ มาลาเรี ย วั ณ โรค โรคติ ด ต่ อ
ในกลุ่ มประเทศเขตร้ อน โรคไวรั ส ตับ อั กเสบ โรคติด ต่อที่ เกิด จากการบริ โ ภคน้า อาหารที่ไ ม่ส ะอาดและ
โรคติดต่อต่างๆ (๒) ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อลงหนึ่งในสามของการตายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
และแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต และ (๓) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ลดการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
ลงให้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปี พ.ศ. ๒๕๕๘
๑.๒.๒ สถานการณ์และแนวโน้มภายใน ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยยังขาดเอกภาพการทางาน
และขาดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ มีความเหลื่อมล้าของการกระจายทรัพยากร ขณะเดียวกันประชาชน
ยังมีแนวโน้มจะป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้ อรังและการบาดเจ็บเพิ่มสูงขึ้น และมีความรอบรู้ด้านสุ ขภาพที่ไม่
เพี ย งพอ รวมทั้ ง ได้ รั บ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ จ ากหลั ก ประกั น สุ ข ภาพที่ แ ตกต่ า งกั น นอกจากนี้ ยั ง มี ค วามเสี่ ย ง
ด้านสถานะทางการคลังจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายจ่ายด้านหลักประกันสุขภาพ
๑) สถานะสุขภาพของคนไทย
๑.๑) การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ จากข้อมูลปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ประเทศไทยมีการสูญเสีย
ปีสุขภาวะ (DALYs) จากโรคหรือการบาดเจ็บที่สามารถป้องกันได้ อาทิ การเสพติดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อุ บั ติ เ หตุ ท างถนน โรคหลอดเลื อ ดสมอง เบาหวาน โรคซึ ม เศร้ า ทั้ ง นี้ อุ บั ติ เ หตุ ท างถนนถื อ เป็ น สาเหตุ
อัน ดับ หนึ่งของการสู ญเสี ยปี สุขภาวะในประชาชนไทยอายุ ๑๕ – ๒๙ ปี และเมื่อพิจารณาอัตราการตาย
ต่อหนึ่ งแสนประชากรทั้ งประเทศพบว่ ายั ง ไม่มี แนวโน้ม ลดลงอย่ างชั ดเจน โดยพบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
ประเทศไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่ากับ ๒๒.๓ ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ขณะเดียวกันใน
ส่วนอัตราตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากโรคมะเร็ง เบาหวาน ระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และ
โรคหัวใจและหลอดเลือด ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ๓๔๓.๑ ราย ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็น ๓๕๕.๓ ราย ต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เช่นเดียวกับอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นจาก
๕.๙ รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็น ๖.๕ รายต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
นอกจากนี้ จากการสารวจสุขภาพคนไทยด้วยการตรวจร่างกาย พ.ศ. ๒๕๕๗ พบว่า มีความชุกของผู้มีภาวะ
น้าหนักเกินเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๓๗.๕ และมีผู้อยู่ในภาวะอ้วนร้อยละ ๑๐.๙ เช่นเดียวกับจานวนผู้มีความดัน
โลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ ๒๔.๗ และ ร้อยละ ๘.๙ ตามลาดับ ทั้งนี้ ในกลุ่มวัยรุ่น (๑๕ – ๒๑
ปี) พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทั้งการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ พฤติกรรม
เสี่ยงทางเพศ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการทาแท้ง ขณะที่กลุ่มวัยทางาน (๑๕ – ๕๙ ปี) มีแนวโน้มป่วยด้วย

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทาให้ในอนาคตการเข้าสู่สังคมสูงวัยต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นกับการดูแล
รักษามากขึ้นหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน
๑.๒) การเจ็ บ ป่ ว ยด้ ว ยโรคติ ด ต่ อ ในกลุ่ ม โรคติ ด ต่ อ พบว่ า ประเทศไทยประสบ
ความสาเร็จกับการจัดการปัญหาผู้ติดเชื้อ HIVs ผู้ป่วยโรคเอดส์ การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIVs จากแม่สู่ลูก
รวมถึงโรคมาลาเรีย แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของวัณโรคได้ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคที่มา
ขึ้นทะเบียนรักษาคิดเป็นเพียงร้อยละ ๕๕.๓ ของผู้ป่วยทั้งหมด ขณะเดียวกันยังพบการป่วยด้วยโรคไวรัสตับ
อักเสบบีเพิ่มขึ้นจาก ๙.๙๓ ราย ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็น ๑๐.๑๒ รายต่อประชากร
หนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของคนไทยยังนาไปสู่ความเสี่ยง
ของการระบาดของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ที่จะนาไปสู่ปัญหาสาคัญของการจัดการโรคติดต่อในอนาคตต่อไป
๒) ระบบสุขภาพของประเทศไทย
๒.๑) โครงสร้ างการบริหารระบบสาธารณสุขของประเทศ ประเทศไทยมีกระทรวง
สาธารณสุขเป็นผู้มีบทบาทหลักในการกาหนดและดาเนินนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยมีองค์กร
หลักที่เกี่ยวข้อง เช่น สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการพัฒนานโยบายสาธารณะโดยการมีส่วน
ร่วมของประชาชน สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการสนับสนุนเงินทุนสาหรับการจัด
กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น ขณะเดียวกันประเทศไทยยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อใช้ใน
การกาหนดทิศทางและนโยบายของประเทศจานวนมาก พร้อมทั้งมีการจัดทาแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ
สาหรับใช้ในดาเนินงาน อย่างไรก็ตาม การดาเนินงานยั งขาดการบูรณาการและความเป็นเอกภาพ ซึ่งจะ
กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของแผนยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติด้านโรคมะเร็งที่ยังมีปัญหาในเชิงการนาไป
ปฏิบัติ แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกาลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่ยังไม่สามารถนาไปดาเนินงานให้บรรลุตาม
วัตถุประสงค์ได้เช่นกัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการตั้งหน่วยงานในภูมิภาคเพื่อการบริหารในรูปแบบเขตพื้นที่
เช่น เขตบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพเพื่อประชาชนของส านักงานคณะกรรมการ
สุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
๒.๒) ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขของประเทศ
ไทยยังขาดกลไกนโยบายและทรัพยากรในการสนับสนุนการดาเนินงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง ระบบข้อมูล
ข่าวสารยังขาดคุณภาพ ไม่ครอบคลุม มีความซ้าซ้อน และขาดกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ มีระบบจัดการ
ข้อมูลที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการข้อมูลของแต่ละระบบ และไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันข้อมูลกันได้
โดยเฉพาะมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ มาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของ
การใช้ข้อมูลสุขภาพ ขณะเดียวกันยังพบปัญหาการเข้าถึงข้อมูลและการใช้ประโยชน์ที่เกิดจากความไม่เข้าใจ
ประโยชน์ของข้อมูล นอกจากนี้ บุคลากรผู้ให้บริการต้องใช้เวลาจานวนมากในการจัดทารายงานข้อมูล และ
ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลสุขภาพสุขภาพของตน
๒.๓) กาลังคนด้านสุขภาพ ประเทศไทยมีแนวโน้มขาดแคลนกาลังคนด้านสุขภาพใน
ภาพรวมลดลงและมีทิศทางการกระจายบุคลากรที่ดีขึ้นในทุก ๕ วิชาชีพหลัก ทั้งแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ
พยาบาลเทคนิ ค ทั น ตแพทย์ และเภสั ช กร แต่ ยั ง พบความแตกต่ า งของสั ด ส่ ว นบุ ค ลากรระหว่ า ง
กรุงเทพมหานครกับภาคอื่นๆ โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์และพยาบาลเทคนิค และเมื่อพิจารณาการกระจาย
แพทย์เป็นรายจังหวัดจะพบว่ากรุงเทพมหานครมีสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ ๑ คน ต่าที่สุด เท่ากับ ๗๑๖ คน
ขณะที่จังหวัดบึงกาฬมีสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ ๑ คน สูงที่สุด เท่ากับ ๕,๙๐๖ คน ขณะเดียวกันยังพบว่า
๑๐

บุคลากรแพทย์ต้องประสบปัญหาคุณภาพชีวิตการทางานที่ย่าแย่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ การฟ้องร้องคดีต่อ


บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นคดีอาญา ล้วนเป็นสาเหตุที่ทาให้ขวัญกาลังใจในการทางานของบุคลากรลดลง
๒.๔) ระบบหลักประกันสุขภาพ ประเทศไทยสามารถจัดระบบหลักประกันสุขภาพ
ที่ครอบคลุมให้แก่ประชาชนไทยกว่าร้อยละ ๙๙.๙๓ โดยส่วนใหญ่อยู่ภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
และสามารถช่วยลดภาวะครัวเรือนล้มละลายและครัวเรือนที่ตกอยู่ในภาวะยากจนจากภาระค่าใช้จ่ายทาง
สุขภาพ จากร้อยละ ๕.๗ และ ๒.๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นร้อยละ ๒.๓ และ ๐.๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ อย่างไรก็
ตาม ยั ง พบความแตกต่ า งของสิ ท ธิ ป ระโยชน์ แ ละระบบการจ่ า ยเงิ น ระหว่ า งแต่ ล ะหลั ก ประกั น สุ ขภาพ
ขณะเดียวกันรายจ่ายของแต่ละระบบหลักประกันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าสัดส่วนรายจ่ายของ
หลั กประกัน สุ ขภาพถ้ว นหน้ า ประกัน สั งคม และสวัส ดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ จะเพิ่มจากร้อยละ
๑๒.๗๐ ของรายจ่ายรวมภาครัฐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็น ร้อยละ ๑๖.๕๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๘๐
๒.๕) การคุ้ มครองผู้ บริ โ ภค ปั จจุบั น สิ ทธิ ของผู้ บริ โ ภค ยังไม่ได้ รับการคุ้ม ครองตาม
กฎหมายโดยเฉพาะปัญหาความปลอดภัยของผู้บริโภค และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ โดย
ผู้บริโภคขาดข้อมูล ข่าวสารที่จาเป็นและเพียงพอในการตัดสินใจ ขณะเดียวกันยังขาดการทางานคุ้มครอง
ผู้ บ ริ โ ภคในเชิงรุ ก เช่น เดีย วกั บ การขาดประสิ ท ธิภ าพการดาเนินงานและการบู รณาการของหน่ว ยงานที่
เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
๑.๓ ความสอดคล้องของแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขกับร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) และแผนแม่บท

๑.๓.๑ ความสอดคล้องของแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขกับร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙)
การปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขมีความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.
๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ใน ๔ ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขั น โดยการ
พัฒนาสาขาบริการที่ไทยมีศักยภาพที่สอดคล้องกับบริบทโลกในอนาคต ได้แก่ ธุรกิจบริการสุขภาพและการ
เสริมสร้างสุขภาวะ และสถานบริการสุขภาพและความงาม และการส่งเสริมธรุกิจบริการทางการแพทย์ โดย
ต้องมีการลงทุนอย่างจริงจังในการผลิตบุคลากรทางการแทพย์ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการและ
เครื่องมือแพทย์ รวมทั้งมาตรฐานการบริการ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีได้เอง ซึ่งจะ
เป็นการสร้างฐานที่เข้มแข็งในการเป็นศูนย์กลางบริการทางแพทย์ของภูมิภ าคในระยะต่อไป ยุทธศาสตร์การ
พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ครอบคลุมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกันและควบคุมปัจจัย
เสี่ยงที่คุกคามสุขภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี และการส่งเสริมให้ชมุชนเป็นฐานใน
การสร้างสุ ขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่ ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยการสร้าง
หลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาระบบบริหารจัดการหลักประกัน
สุขภาพ และยุทธศาสตร์การปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ โดยบทวนบทบาทภารกิจของ
หน่ ว ยงานภาครั ฐ ให้ มี ความเหมาะสม รวมทั้งถ่า ยโอนภารกิ จที่ส าคัญเพื่อกระจายอานาจสู่ ท้ องถิ่น ปรั บ
โครงสร้างและระบบบริหารงานราชการใหม่ในรูปแบบของหน่วยงานพิเศษที่ต้องอาศัยการดาเนินงานที่มีความ
ยืดหยุ่น คล่ องตัว ไม่ยึ ดติดกับ โครงสร้างและระบบราชการแบบเดิม และพัฒ นา ปรับระบบวิธีการปฏิบัติ
ราชการให้ทันสมัย มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความโปร่งใส ยืดหยุ่น และคล่องตัวสูง ลดความซ้าซ้อน รวมถึงเปิดโอกาส
ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการอย่างเหมาะสม
๑๑

๑.๓.๒ ความสอดคล้องของแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙)
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ได้ถูกถ่ายทอดเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ระยะ ๕ ปี โดยมีประเด็นด้านสาธารณสุขใน ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การ
เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีตลอดช่วงชีวิต ลดปัจจัยเสี่ยงด้าน
สุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ และพัฒนาระบบดูแล/สร้างสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมกับสังคมสูงวัย ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้้าในสังคม โดยจัดบริการ
ด้า นสุ ข ภาพให้ กั บ ประชากรที่ อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ ห่ า งไกล และกระจายการให้ บ ริ การสาธารณสุ ข ที่ มีคุ ณ ภาพให้
ครอบคลุมและทั่วถึง ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยพัฒนา
ระบบมาตรฐานสินค้าที่ร่วมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและยา พัฒนาตลาด/อุตสาหกรรมอาหารที่เป็ นอาหาร
เพื่อสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพบริการสุขภาพ ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพ ยุทธศาสตร์การ
เสริ มสร้ างความมั่นคงแห่ งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศ สู่ ความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยสร้างความร่ว มมือใน/
ต่างประเทศ ในการวางระบบเฝ้าระวัง/ป้องกัน/ควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ และยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่าง
ประเทศเพื่อการพัฒนา เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการบริการด้านสุขภาพ

๑.๔ ร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
การจัดทาร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ดาเนินการภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญที่กาหนดไว้ใน
หมวด ๑๖ การปฏิรู ป ประเทศ มาตรา ๒๕๘(ช ด้านอื่นๆ) ได้แก่ (๔) ปรั บระบบหลักประกัน สุขภาพให้
ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียม
กัน และข้อ (๕) ให้มีร ะบบการแพทย์ปฐมภูมิ ที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลประชาชนในสั ดส่ ว นที่
เหมาะสม รวมถึงได้พิจารณาประเด็นอื่นที่ นาสู่การออกแบบนโยบายและระบบที่สมบูรณ์ สนับสนุนให้การ
ขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมี
โอกาสทัดเทียมกัน และประเทศมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคานึงถึงการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้งภายนอกและ
ภายในที่จะส่งผลถึงการสาธารณสุขของประเทศ และความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศทั้งในระยะ
ยาว และระยะกลาง
การกาหนดประเด็นการปฏิรูปฯ ได้คานึงถึงองค์ประกอบ ๔ ด้าน ได้แก่ (๑)ด้านระบบบริหารจัดการ
ด้านสุขภาพ ที่ให้ความสาคัญกับการมีกลไกในการกาหนดนโยบายสุขภาพแห่งชาติที่มีความเป็นเอกภาค การ
กระจายอานาจในการบริหารจัดการไปยังเขตสุขภาพ การมีระบบสารสนเทศสุขภาพ และการวางแผนกาลังคน
สุขภาพ (๒)ด้านระบบบริการสาธารณสุข มุ่งพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ฉุกเฉิน
และการสร้ างเสริมป้ องกัน และควบคุมโรค (๓)ด้านการคุ้มครองผุ้บริโภคและบุคลากรด้านการแพทย์และ
สาธารณสุข ให้ความสาคัญในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค
(๔)ด้านความยั่งยืนและเพียงพอด้านการเงินการคลังสุขภาพ โดยการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ
ทุกระบบให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม และยั่งยืน
๑๒

ร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ได้กาหนดเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด รวมถึงวงเงินและแหล่งเงินในภาพรวม ดังนี้
๑.๔.๑ เป้าหมายการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
“ประชาชนทุกภาคส่วนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีส่วนร่วมในการวางระบบในการดูแลสุขภาพ
ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จาเป็น และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุข
ภาวะ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ระบบสาธารณสุขที่เป็นเอกภาพและการอภิบาลระบบที่ดี”
๑.๔.๒ วัตถุประสงค์
๑) เพื่อให้มีระบบบริการปฐมภูมิที่มีความครอบคลุม ตอบสนองความจาเป็น รวมถึงการปรับ
ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีความยั่งยืน พอเพียงมีประสิทธิภาพ และสร้างความเป็นธรรม ประชาชนมีความ
รอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอที่จะดูแลตนเองจากความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ป้องกันได้
๒) เพื่อให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสุ ขภาพที่เหมาะสม ในการบริหารจัดการระบบ
สุขภาพและสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ครอบคลุม ปลอดภัย สาหรับประชาชนในทุกพื้นที่ ทุก
ระดับ
๓) เพื่อให้ระบบสุขภาพไทยมีเอกภาค มีการบูรณาการงานด้านสุขภาพของทุกหน่วยงาน มี
การกระจายอานาจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตัดสินใจ เพื่อบริหารระบบสุขภาพให้ประชาชนได้
ประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในแต่ละพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรอันจากัด
๑.๔.๓ เป้าพึงประสงค์ในภาพรวม
๑) ระบบบริการปฐมภูมิมีความครอบคลุม ตอบสนองความจาเป็น และระบบหลักประกัน
สุขภาพความยั่งยืน พอเพียงมีประสิทธิภาพ สร้างความเป็นธรรม
๒) มีข้อมูลสารสนเทศที่ใช้บริหารจัดการการเงินการคลัง การบริการในระบบสุขภาพและ
สาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการมีสุขภาพ สุขภาวะที่ดี
๓) ระบบสุขภาพของประเทศมีเอกภาพ การดาเนินงานด้านสุขภาพของทุกภาคส่วนเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน มีการกระจายอานาจและความรับผิ ดชอบให้แต่ละพื้นที่ โดยมีระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการ
แก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ ระบบบริการมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และจัดบริการเป็นเครือข่าย ภายใต้
การติดตามกากับที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล
๔) ประชาชนไทยมี สุ ขภาวะและคุณ ภาพชีวิ ตที่ดี บนหลั ก การสร้ างน าซ่อ ม และผู้ ที่ไ ม่ใ ช่
ประชาชนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จาเป็นอย่างมี
คุณภาพ ทั้งการรับบริการและการรับภาระค่าใช้จ่าย
๑.๔.๔ ตัวชี้วัด
๑) คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรังดีขึ้นจนสามารถชะลอหรือยุติการ
ถดถอยสู่ภาวะพึ่งพิง
๒) มีระดับการตระหนักรู้ด้านสุขภาพสูงขึ้น สามารถดูแลตัวเองและใช้บริการสุขภาพได้อย่าง
เหมาะสม (อัตราการนอนโรงพยาบาลโดยไม่จาเป็นซึ่งวัดด้ว ย ACSC ลดลง/อัตราการตายของกลุ่มโรคที่
สามารถป้องกันการตายโดยไม่จาเป็นลดลง)
๑๓

๓) รายจ่ายสุขภาพรวมภาครัฐต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔.๓


และไม่เกินร้อยละ ๕.๒
๔) มีระบบบันทึกสุขภาพดิจิทัล ที่ใช้งานได้จริงในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมไม่น้อย
กว่าร้อยละ ๘๐ ของสถานพยายาลทั้งหมดในแต่ละจังหวัด ภายใน ๕ ปี รวมถึงมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์
ความรู้จากสารสนเทศสุขภาพในระบบ DHR และระบบ National Data Clearing House เพื่อสนับสนุนการ
ตัดสินใจทางคลินิกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของสถานพยาบาลทั้งหมดในประเทศ
๑.๔.๕ วงเงินและแหล่งเงินในระยะ ๕ ปี
๑) ประเด็ น ระบบบริ ห ารจั ด การด้ า นสุ ข ภาพ วงเงิ น รวม ๖๕ ล้ า นบาท แหล่ ง เงิ น ได้ แ ก่
งบประมาณแผ่นดิน และ สธ.
๒) ประเด็นระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ วงเงินรวม ๘,๘๙๐ ล้านบาทสาหรับ ๕ ปี
หรือเฉลี่ย ๑,๑๗๘ ล้านบาทต่อปี โดยวงเงินนี้เท่ากับ ๒๗ บาทต่อประชากรต่อปี (ร้อยละ ๐.๕๔ ของรายจ่าย
สุขภาพภาครัฐในแต่ละปี)
๓) ประเด็นกาลังคนสุขภาพ วงเงินรวม ๒๗๐ ล้านบาท สาหรับ ๕ ปี แหล่งเงินได้แก่กองทุน
งบประมาณแผ่นดิน และกองทุน สวรส.
๔) ประเด็นระบบบริการปฐมภูมิ ไม่ได้ระบุวงเงินรวม
๕) ประเด็ น การแพทย์ แ ผนไทย วงเงิ น รวม ๗๘๓ ล้ า นบาท จากงบประมาณแผ่ น ดิ น
และภาคเอกชน
๖) ประเด็นการแพทย์ฉุกเฉิน ไม่ได้ระบุวงเงินรวม
๗) ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค วงเงินรวม ๒,๒๐๒ ล้านบาท แหล่งเงิน
ได้แก่ กรมอนามัย ครบควบคุมโรค งบประมาณแผ่นดิน
๘) ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ งบประมาณรวมประมาณ ๑,๑๙๕.๖๘ ล้านบาท แหล่งเงิน
ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน กสทช. สธ. สวรส. สภาวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัย
๙) ประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ระบุวงเงินงบประมาณ
๑๐)ประเด็น ระบบหลักประกันสุ ขภาพ วงเงินรวม ๑๖๙.๙ ล้านบาท โดยใช้แหล่ งเงินจาก
งบประมาณแผ่นดิน
๑๔

ส่วนที่ ๒
เรื่องและประเด็นปฏิรูป
๒.๑ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ๔ ประเด็นปฏิรูปย่อย
ได้แ ก่ การจั ดตั้งคณะกรรมการนโยบายสุ ขภาพแห่ งชาติ การกระจายอานาจโดยการตั้งเขตสุ ขภาพและ
คณะกรรมการเขตสุขภาพ การปรับบทบาท โครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุข และระบบบริหารสถานบริการของ
กระทรวงสาธารณสุข
๒.๑.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
ระบบสุขภาพไทยมีเอกภาพ มีการบูรณาการงานด้านสุขภาพของทุกหน่วยงาน มีการกระจายอานาจ
และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตัดสินใจ เพื่อบริหารระบบสุขภาพ ให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดและ
สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในแต่ละพื้นที่ ภายใต้ทรัพยากรอันจากัด
 ประชาชน : ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารระบบสุขภาพภายใต้การกระจาย
อานาจในการบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพให้แต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง
 สังคม : ชุมชนท้องถิ่นทุกภาคส่วนในสังคมร่วมรับรู้และตระหนักถึงสภาพปัญหา และความสาคัญ
ด้านเอกภาพของระบบ ร่วมคิดร่วมทาและร่วมรับผิดชอบในการจัดระบบสุขภาพในแต่ละพื้นที่
 ประเทศ : ระบบสุข ภาพของประเทศมี เอกภาพ การด าเนิน งานด้ านสุ ขภาพของทุ กภาคส่ว น
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการกระจายอานาจและความรับผิดชอบให้แต่ละพื้นที่ โดยมีระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการ
แก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ ระบบบริการมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และจัดบริการเป็นเครือข่าย ภายใต้การ
ติดตามกากับที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
๑) เป้าหมายระยะ ๒๐ ปี
 ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพอย่าง
เป็นธรรมรวมถึงการได้รับการส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ
และคุณภาพชีวิตที่ดี
 ประชาชน องค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เขตสุ ขภาพสามารถจัดการกับ
ปัญหาสุขภาพและจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและสามารถบริหารระบบสุขภาพและทรัพยากรด้าน
สุ ขภาพได้ด้ว ยตนเองอย่ างมีป ระสิ ท ธิภ าพและมีธ รรมาภิบาลภายใต้การสนับสนุนและกากับติดตามโดยภาครั ฐ
ส่วนกลาง
 บุค ลากรด้ านสุ ขภาพมี ความมั่ น คง ปลอดภั ย มีข วั ญและก าลั ง ใจตลอดจนมีส มรรถนะที่
เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
 นโยบายด้านสุขภาพของประเทศเป็นเอกภาพ ส่งผลให้การดาเนินงานของทุกๆ ภาคส่วน
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการบูรณาการ เกิดดุลยภาพแห่งอานาจ และเกิดประสิทธิภาพของระบบ
๒) เป้าหมายระยะ ๕ ปี
 มี ก ารจั ด ตั้ ง กลไกระดั บ ชาติ ที่ มี ส มรรถนะสู ง เพื่ อ ก าหนด ขั บ เคลื่ อน และติ ด ตามก ากั บ
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในภาพรวม และด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพ ทั้งระบบการเงินการ
คลัง กาลังคน ระบบบริการ ข้อมูลข่าวสาร ยาและเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
๑๕

 ระบบบริการในเขตพื้นที่ถูกออกแบบให้รองรับกับสภาพปัญหาสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทิศทางการพัฒนาระบบบริการมีความชัดเจน และมีแผนที่เป็นรูปธรรม
 มีกองทุนสุขภาพระดับเขตพื้นที่ ที่บริหารแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้สามารถ
จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม โดยใช้กลไกการคลังเพื่อสนับสนุนการจัดบริการในทุกมิติ ทั้ง
ด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ให้บริการ
 มีการจัดตั้งกลไกระดับเขตที่มีสมรรถนะสูง เพื่อขับเคลื่อนในระดับปฏิบัติการ ให้สอดคล้อง
กับนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับประเทศ และกลไกสนับสนุน ติดตามกากับประเมินผลการทางานของเขตที่ชัดเจน
ทั้งในระดับประเทศ เขต จังหวัดและอาเภอ ผ่านระบบแผนและงบประมาณ โดยมีการทบทวนบทบาท โครงสร้าง
ระบบงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านการตรวจประเมินผลและการรับรองต่างๆ
๓) เป้าหมายระยะ ๑ ปี
 มีการสร้างการรับรู้และรับฟังความเห็นต่อทิศทางการปฏิรูปด้านสาธารณสุขทั้งในและนอก
กระทรวงสาธารณสุข
 มี ก ารจั ด ตั้ ง กลไกบริ ห ารการปฏิ รู ป อย่ า งมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งขึ้ น ในกระทรวง
สาธารณสุข
 มีข้อเสนอเรื่อง รูปแบบ กลไก โครงสร้าง และระบบงานด้านต่างๆ ที่ครอบคลุมประเด็นเรื่อง
กลไกระดับชาติ กลไกการบริหารจัดการระดับเขต กลไกการสนับสนุน ติดตามกากับและประเมินผล รูปแบบการ
บริหารเครือข่ายภายในภาครัฐ (กระทรวงสาธารณสุข) การทบทวนบทบาท โครงสร้าง ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
สุขภาพ และข้อเสนอด้านกฎหมาย
๒.๑.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๑.๓ ตัวชี้วัด
 มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
 มีการจัดตั้งเขตสุขภาพ
 มีคณะกรรมการเขตสุขภาพ
 มีการจัดตั้งกองทุนสุขภาพระดับเขตพื้นที่
 มีการปรับบทบาทกระทรวงสาธารณสุข ในการทาหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านสุขภาพของ
ประเทศ (National Health Authority)
 สถานบริการในกระทรวงสาธารณสุขมีการบริหารรวมกันเป็นเครือข่าย มีอิสระคล่องตัวและ
มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการ
๒.๑.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
๖๕ ล้านบาท แหล่งเงินสานักงบประมาณและกระทรวงสาธารณสุข
๑๖

๒.๑.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ประเด็ น ปฏิรู ป : ระบบบริ ห ารจั ด การ ระบบสุขภาพไทยมีเอกภาพ ๑.มีคกก.นโยบาย
ด้านสุขภาพ มี ก ารบู ร ณาการงานด้ า น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
๑) การจั ด ตั้ ง คณะกรรมการนโยบาย สุขภาพของทุกหน่วยงาน มี ก าหนดทิ ศ ทาง
สุขภาพแห่งชาติ การกระจายอานาจและการ แ ล ะ จั ด ท า
๒) การกระจายอานาจโดยการตั้งเขต มีส่ ว นร่ ว มของทุ กภาคส่ ว น นโยบายหลักด้าน
สุขภาพและคณะกรรมการเขตสุขภาพ ในการตัดสินใจ เพื่อบริหาร ระบบสุขภาพของ
๓) การปรับบทบาทและโครงสร้างของ ระบบสุขภาพ ให้ประชาชน ประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข ไ ด้ ป ร ะ โ ย ช น์ สู ง สุ ด แ ล ะ ๒.ประชาชนใน
สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ เขตสุ ขภาพได้รั บ
ใ น แ ต่ ล ะ พื้ น ที่ ภ า ย ใ ต้ บ ริ ก า ร ที่ มี
ทรัพยากรอันจากัด คุ ณ ภ า พ ไ ด้
มาตรฐาน เป็ น
ธรรม ใกล้ บ้ า น
และไร้รอยต่อ
๓. กระทรวง
สาธารณสุข มีการ
ปรับบทบาทเพื่อ
ทาหน้าที่เป็น
๑๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ผู้รับผิดชอบด้าน
สุขภาพของ
ประเทศ
(National
Health Authority)
๑) ตั้ ง คณะท างานร่ ว มเพื่ อ การปฏิ รู ป คกก.ปฏิรูป ๕๐.๐ สานักงบ มีกลไกบริหารการปฏิรูป มีคณะทางานร่วม
ระบบบริหารจัดการ เพื่อเสนอรูปแบบ ประเทศด้าน ประมาณ ระบบบริหารจัดการด้าน เ พื่ อ ก า ร ป ฏิ รู ป
โครงสร้ า ง องค์ ป ระกอบ ระบบงาน สาธารณสุข สุขภาพ ร ะ บ บ บ ริ ห า ร
ระบบงบประมาณของกลไกนโยบาย (คปสธ.) จั ด ก า ร ศึ ก ษ า
ระดับ ชาติ และระดับ พื้ น ที่ รวมทั้ ง แ ล ะ จั ด ท า
กลไกสนับสนุนติดตามประเมินผล ข้ อ เ ส น อ ก า ร
- ระดับส่วนกลาง เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง
- ระดับเขต Blue Print for
- ระดับจังหวัด Change และ
Action Plan for
Change
๒) ทบทวนบทบาทโครงสร้างของ คปสธ. เพื่ อ ปฏิ รู ป โครงสร้ า งและ ระดับความสาเร็จ
หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อ สธ. บ ท บ า ท ข อ ง ก ร ะ ท ร ว ง ของการใช้ ก ลไก
ทาหน้าที่สานักงานเลขานุการของกลไก คณะทางาน สาธารณสุ ข ในทุ ก ระดั บ บริหารการปฏิรูป
๑๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ระดับชาติ กลไกระดับเขต กลไก ร่วมเพื่อการ เพื่ อให้ พ ร้ อมสนั บ สนุ นการ ในการจั ด โ ครง
สนับสนุน ปฏิรูป ท างานของคกก.นโยบาย สร้างและบทบาท
-ระบบบริการปกติและการแพทย์ฉุกเฉิน สุ ข ภ าพแห่ ง ช าติ / ส านั ก ห น่ ว ย ง า น ใ ห ม่
-ระบบส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค เลขานุการกลาง เขตสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการ
-ระบบคุ้มครองผู้บริโภคและผู้รับบริการ สานักงานเขตสุ ขภาพ และ ท างานของคกก.
-ระบบการเงินการคลัง อื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ นโยบายสุ ข ภาพ
-ระบบกาลังคน แห่งชาติและอื่นๆ
-ระบบยา เทคโนโลยี และการวิจัย
-ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ
-ระบบการบังคับใช้กฎหมาย
-ระบบการเป็นหน่วยงานรับรอง
๓) ทบทวนระบบแผนและงบประมาณ คปสธ. เพื่อให้เกิดบูรณาการของ มี ก ารบู ร ณาการ
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการ สธ. แผนงานแผนเงินและการ แผนงานและงบ
บูรณาการ คณะทางาน ดาเนินแผนที่สอดคล้องกับ ประมาณของทุ ก
ร่วมเพื่อการ ขอบเขตภารกิจและอานาจ ภ า ค ส่ ว น ทั้ ง ใ น
ปฏิรูป หน้าที่ ร ะ ดั บ ป ร ะ เ ท ศ
แ ล ะ ร ะ ดั บ เ ข ต
พื้นที่
๑๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๔)ศึกษารูปแบบเพื่อดาเนินการบริหาร คปสธ. เพื่อศึกษาและประเมินผล ระดับความสาเร็จ
จัดการระบบสุขภาพในรูปเขตสุขภาพ สธ. การดาเนินการบริหาร ของการใช้กลไก
๑-๒ เขต (โดยใช้อานาจบริหาร) คณะทางาน จัดการระบบสุขภาพ ในรูป บริหารการระบบ
ร่วมเพื่อการ เขตสุขภาพ ในเขตที่ สุขภาพ ในรูปเขต
ปฏิรูป คัดเลือกไว้ตามข้อเสนอ สุขภาพ ในเขต
คณะทางานร่วมเพื่อการ ทดลอง
ปฏิรูปฯ
๕) ขยายผลเพื่อให้ครอบคลุมทุกเขต - คณะทางาน เพื่อศึกษาและประเมินผลการ ระดับความสาเร็จ
(รวม กทม.) ร่วมฯ ด าเนิ น การบริ ห ารจั ด การ ของการใช้กลไก
- คปสธ. ระบบสุ ข ภาพ ในรู ป เขต บริหารการระบบ
- สธ. สุขภาพ ในทุกเขต รวมกทม. สุขภาพ ในรูปเขต
- กทม. ตามข้อเสนอคณะทางานร่วม สุขภาพ ทุกเขต
เพื่อการปฏิรูปฯ และกทม.
๖) เตรียมการบริหารจัดการโครงสร้าง -คปสธ. เพื่อเตรียมความพร้อมใน มี ก า ร แ ก้ ไ ข
ใหม่/ภายใต้กฎหมายใหม่ -สธ. การดาเนินการในทุกระดับ ปรับปรุงกฎหมาย
-ส่วนกลาง -ก.พ. ที่เกี่ยวข้อง
-ระดับเขต -กพร.
-ระดับจังหวัด
๒๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔

๖.๑) จัดตั้งคณะกรรมการนโยบาย -คณะทางาน เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มใน มี (ร่ า ง)พ.ร.บ.


สุขภาพแห่งชาติ/สานักเลขานุการกลาง ร่วมฯ การจั ด ตั้ ง คกก.นโยบาย โ ค ร ง ส ร้ า ง ก า ร
และอื่นๆ (กาลังคน/การเงิน/ข้อมูล -คปสธ. สุ ข ภ าพแห่ ง ช าติ / ส านั ก บ ริ ห า ร ร ะ บ บ
สารสนเทศ ฯลฯ) -สธ. เลขานุ ก ารกลางและอื่ น ๆ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
-ก.พ. (ก าลั ง คน/การเงิ น /ข้ อ มู ล พ.ศ...ที่กาหนดให้
-กพร. สารสนเทศ ฯลฯ) มี ค กก.นโยบาย
๖.๒) จัดตั้งเขตสุขภาพ/สานักงานเขต -คณะทางาน เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มใน สุขภาพแห่งชาติ/
สุขภาพ ร่วมฯ ก า ร จั ด ตั้ ง เ ข ต สุ ข ภ า พ / เขตสุขภาพ/คกก.
-คปสธ. คณะกรรมการเขตสุขภาพ/ เขตสุขภาพ
-สธ. สานักงานเขตสุขภาพ
-ก.พ.
-กพร.
๖.๓) จัดตั้งกองทุนเขตสุขภาพ -คณะทางาน เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มใน มีการแก้ไข พรบ.
ร่วมฯ ก า ร จั ด ตั้ ง ก อ ง ทุ น เ ข ต ห ลั ก ป ร ะ กั น
-คปสธ. สุขภาพ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
-สธ. พ.ศ. ๒๕๔๕
๒๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๗) บริหารงานตามรูปแบบที่ปฏิรูป -คปสธ.
-สธ.
๘) ทบทวน/ยกร่างกฎหมาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการ
ปฏิรูป
๘.๑) ร่าง พ.ร.บ.โครงสร้างการบริหาร -คณะทางาน เพื่ อ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการ มี ค ณะกรรมการ
ร ะ บ บ สุ ข ภ า พ แ ห่ ง ช า ติ ( เ พื่ อ ตั้ ง ร่วมฯ นโยบายสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ / พิ จ า ร ณ า ร่ า ง
คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ/ -คปสธ. จั ด ตั้ ง เ ข ต สุ ข ภ า พ / พ.ร.บ. โครงสร้าง
เขตสุขภาพ/คณะกรรมการเขตสุขภาพ/ -สธ. คณะกรรมการเขตสุขภาพ/ การบริห ารระบบ
กองทุนเขตสุขภาพ) กองทุนเขตสุขภาพ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
พ.ศ. ...
๘.๒) แก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ -คณะทางาน แก้ ไ ข พ.ร.บ.หลั ก ประกั น มี ค ณะกรรมการ
แห่ งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ (เพื่อตั้งกองทุน ร่วมฯ สุขภาพแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๕ พิ จ า ร ณ า แ ก้ ไ ข
ระดับเขต) -คปสธ. เพื่ อ จั ด ตั้ ง กองทุ น สุ ข ภาพ พ.ร.บ.หลักประกัน
-สธ. ระดั บ เขตพื้ น ที่ ที่ บ ริ ห าร สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ
แบบมีส่ว นร่วมของทุกภาค พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อ
ส่ ว น มี ค วามโปร่ ง ใส และ จั ด ตั้ ง ก อ ง ทุ น
การกระจายงบที่ เป็น ธรรม สุขภาพระดับเขต
เ พื่ อ ใ ห้ ส า ม า ร ถ จั ด ส ร ร พื้นที่
งบประมาณให้กับหน่วยงาน
๒๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ได้ อ ย่ า งเหมาะสม โดยใช้
กลไกการคลังเพื่อสนับสนุน
การจัดบริการในทุกมิติ

๘. ๓ ) แก้ ไ ข ป รั บ ป รุ ง กฎ ห ม า ย ที่ -คณะทางาน เพื่อปรับโครงสร้าง บทบาท มี ค ณะกรรมการ


เกี่ยวข้อง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ร่วมฯ ภารกิจกระทรวงสาธารณสุข พิ จ า ร ณ า แ ก้ ไ ข
แผ่นดิน พ.ร.บ.องค์การมหาชน/ระเบียบ -คปสธ. ป รั บ ป รุ ง
ส านั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่ า ด้ ว ยการ -สธ. ก ฎ ห ม า ย ที่
บริ ห ารงานของหน่ ว ยบริ ก ารรู ป แบบ เกี่ยวข้อง
พิเศษ และฯลฯ
๙) การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ต่ อ ร่ า ง -คณะ ๕.๐ สธ. รั บ ฟั ง คว ามคิ ด เห็ น และ มีคณะอนุกรรม
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสุขภาพจาก อนุกรรมการ ข้ อ เสนอแนะต่ อ ร่ า งแผน การตามมาตรา
หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง ใน/นอก ช่วย คปส และทิศทางการปฏิรูประบบ ๑๘ (๓)
กระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชน และ ดาเนินการ บริ ห ารจั ด การด้ า นสุ ข ภาพ มี ก ารชี้ แ จงแผน
ประชาชน ตามมาตรา ทั้ ง ในและนอกกระทรวง และรั บ ฟั ง ความ
๑๘ (๓) สาธารณสุ ข หน่ ว ยงานที่ คิ ด เ ห็ น ข อ ง
- คปสธ. เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และ ห น่ ว ย ง า น ที่
- สธ. ประชาชน เพื่อประกอบการ เกี่ ย วข้ อ ง/ภาค
ดาเนินการ เอกชน/ประชาชน
๒๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑๐) การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ทั้ง -คณะ ๑๐.๐ สธ. เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร มีแผนสื่อสารและ
ภายใน/ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข อนุกรรมการ เกี่ยวกับแผนและทิศทางการ ประชาสัมพันธ์
และที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ปฎิ รู ป ระบบสุ ข ภาพ ให้
๑๘(๓) ห น่ ว ย ง า น ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง
-คปสธ. สื่อมวลชนและสาธารณชน
-สธ. ได้รับ ทราบและเข้ าใจเรื่อ ง
การปฏิรูปด้านสาธารณสุข
๑๑) ติดตาม กากับ ความก้าวหน้าของ -คณะ เพื่อเป็นกลไกติดตามกากับ มี ร ายงานผลการ
การดาเนินงานปฏิรูป อนุกรรมการ และประเมินผลการปฏิรูปฯ ด า เ นิ น ก า ร ต่ อ
ติดตามกากับ คณะอนุกรรมการ
ทุก ๓ เดือน
๑๒) รายงานผลการดาเนินงาน ต่อ -คณะ เพื่อเป็นกลไกติดตามกากับ มี ร ายงานผลการ
คปสธ. ทุก ๓ เดือน อนุกรรมการ และประเมินผลการปฏิรูปฯ ด า เ นิ น ก า ร
ติดตามกากับ ต่ อ คปสธ.ทุ ก ๓
เดือน
ประเด็นปฏิรูป : ระบบบริหารจัดการ สถานบริการของกระทรวง ๑. ประสิทธิภาพ
ด้านสุขภาพ สาธารณสุข มีการจัดบริการ ก า ร บ ริ ก า ร ที่
๔) ปฏิรูประบบบริหารสถานบริการ ร่ ว ม กั น เ ป็ น เ ค รื อ ข่ า ย เพิ่มขึ้นของสถาน
ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเพิ่ม เดี ย วกั น ในระดั บ เขตพื้ น ที่ บ ริ ก า ร ที่ จั ด
๒๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ประสิทธิภาพ อย่างไร้รอยต่อ จัดบริการ บริ ก ารร่ ว มเป็ น
อย่างมีทิศทาง ไม่ซ้าซ้อน มี เครือข่ายเดียวกัน
ระบบส่ งต่อและส่ งกลั บที่ มี ในระดับเขตพื้นที่
ประสิ ท ธิ ภ าพ และมี ก าร อย่างไร้รอยต่อ
บ ริ ห า ร เ ค รื อ ข่ า ย ที่ เ ป็ น ๒. ประสิ ท ธิ ภ าพ
เอกภาพ มี อิ ส ระ คล่ อ งตั ว ก า ร บ ริ ห า ร
ใช้ ท รั พ ยากรที่ มี อ ยู่ อ ย่ า ง ท รั พ ย า ก ร ที่
จากัด ให้ เกิดประสิ ทธิภ าพ เพิ่ ม ขึ้ น จากการ
สู ง สุ ด เ ปิ ด โ อ ก า ส ใ ห้ บริหารเครือข่ายที่
เป็นเอกภาพ และ
ประชาชนในเขตสุขภาพเข้า มีอิสระ
มามีส่ว นร่ว มในการบริห าร ๓. การมีส่วนร่วม
จัดการเครือข่าย ทั้งในระดับ บริ ห ารจั ด การใน
สถานบริการและระดับเขต เครื อ ข่ า ยฯ ของ
โดยโดยมุ่งสู่ประโยชน์สูงสุด ประชาชนในเขต
ต่อประชาชน เข้าถึงบริการ ๔. บุ ค ลากรใน
ที่ มี คุ ณ ภ า พ คุ้ ม ค่ า เครือข่ายฯ มีขวัญ
เห ม า ะ สม ใ ก ล้ บ้ า น ไ ร้ กาลั งใจ ได้รับค่า
รอยต่อ และเป็นธรรม ตอบแทนและ
สิ ท ธิ ป ร ะ โ ย ช น์
สอดคล้ อ งกั บ ผล
๒๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ก า ร ป ฏิ รู ป ก า ร
บ ริ ห า ร ส ถ า น
บริ ก ารกระทรวง
สธ.
๑) ศึกษารูปแบบของเครือข่ายสถาน -คณะทางาน สถานบริการของกระทรวง มี ผ ล ก า ร ศึ ก ษ า
บริการของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมฯ สาธารณสุ ข จัดบริการร่ว ม รู ป แ บ บ ข อ ง
(สป.สธ./กรมต่างๆ) - คปสธ. เป็ น เครื อ ข่ า ยเดี ย วกั น ใน เครื อ ข่ า ยสถาน
-รูปแบบปัจจุบัน : ยังเป็นหน่วยราชการ - สธ. ร ะ ดั บ เ ข ต พื้ น ที่ อ ย่ า ง ไ ร้ บ ริ ก า ร ข อ ง
-เครือข่ายบริการในรูปแบบ SDU ร อ ย ต่ อ ใ น รู ป แ บ บ ที่ กระทรวง
-เครือข่ายบริการในรูปแบบองค์กร เหมาะสม จั ด บริ ก ารได้ ส า ธ า ร ณ สุ ข
มหาชน ครอบคลุมทุกมิติ ตอบสนอง (สป.สธ./กรม
-เครือข่ายบริการในรูปแบบสหการ ปั ญ หาสุ ข ภาพในพื้ น ที่ ไ ด้ ต่างๆ)
ขึ้นกับท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

๒)ทบทวนบทบาทกระทรวงสาธารณสุข -คณะทางาน เ พื่ อ ป รั บ บ ท บ า ท ข อ ง ระดับความสาเร็จ


ในการสนับสนุนเครือข่ายสถานบริการ ร่วมฯ กระทรวงสาธารณสุ ข ให้ ข อ ง ก า ร ป รั บ
-คปสธ. พร้ อ มส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น บทบาทหน่วยงาน
-สธ. เครือข่ายสถานบริการ เพื่อ ใหม่เพื่อสนับสนุน
การพั ฒ นาระบบบริ ก าร เครื อ ข่ า ยสถาน
๒๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
สุ ข ภาพ ทุ ก ระดั บ อย่ า งมี บริการ
ประสิทธิภาพ

๓) ดาเนินการบริหารเครือข่ายใน -คณะทางาน เพื่ อ ศึ ก ษาและประเมิ น ผล ระดับความสาเร็จ


รูปแบบใหม่ ๑-๒ เขตสุขภาพ ร่วมฯ ก า ร ด า เ นิ น ก า ร บ ริ ห า ร ของการด าเนิ น
-คปสธ. เ ค รื อ ข่ า ย ส ถ า น บ ริ ก า ร ก า ร บ ริ ห า ร
-สธ. รูปแบบใหม่ ในทุกเขตตาม เครื อ ข่ า ยสถาน
ข้ อ เสนอทุ ก คณะท างาน บริ ก าร ใน เ ข ต
ร่วมพื่อการปฏิรูปฯ ทดลอง
๔) ขยายผลการดาเนินการให้ครอบคลุม -คณะทางาน เพื่อศึกษาและประเมินผล ระดับความสาเร็จ
ทุกเขตสุขภาพ ร่วมฯ การดาเนินการบริหาร ของการด าเนิ น
-คปสธ. เครือข่ายสถานบริการ การบริ ห ารเครื อ
-สธ. รูปแบบใหม่ ในทุกเขต ตาม ข่ายสถานบริการ
ข้อเสนอคณะทางานร่วม ใน ๑๒ เขต
เพื่อการปฏิรูปฯ
๕) เตรียมการบริหารเครือข่ายสถาน -คณะทางาน เพื่อเตรียมความพร้อมใน มี ร ะ เ บี ย บ ห รื อ
บริการในรูปแบบใหม่ ร่วมฯ การดาเนินการ กฎหมายรองรั บ
-คปสธ. สถานะของ
๒๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
-สธ. เครื อ ข่ า ยสถาน
บ ริ ก า ร ข อ ง
กระทรวงสธ.

๖) บริหารเครือข่ายสถานบริการใน -คณะทางาน
รูปแบบใหม่ ร่วมฯ
-คปสธ.
-สธ.
๗) ทบทวนยกร่างกฎหมายมี่เกี่ยวข้อง -คณะทางาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการ มี ค ณะกรรมการ
ร่วมฯ ปฏิรูป พิจารณาทบทวน/
-คปสธ. ปรั บ ปรุ ง /ยกร่ า ง
-สธ. ก ฎ ห ม า ย ที่
เกี่ยวข้อง
๘) การรั บ ฟั ง คว ามคิ ด เห็ น ต่ อ ทิ ศ -คณะ รั บ ฟั ง คว ามคิ ด เห็ น และ มี คณะอนุ กรรมการ
ทางการปฏิรูปสถานบริการในกระทรวง อนุกรรมการ ข้อเสนอ แนะต่อทิศทางการ ตามมาตรา ๑๘
สาธารณสุ ข ทั้ ง ใน/นอกกระทรว ง ตามมาตรา ป ฏิ รู ป ส ถ า น บ ริ ก า ร ใ น (๓ )
สาธารณสุ ข หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ๑๘(๓) กระทรวงสธ.ทั้ ง ใน/นอก มี ก ารชี้ แ จงแผน
ภาคเอกชน และประชาชน คปสธ. กระทรวงสธ. หน่ ว ยงานที่ และรั บ ฟั ง ความ
สธ. เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และ คิดเห็นของหน่วย
๒๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูป ๑ : ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับผิดชอบ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ประชาชน เพื่อประกอบการ งานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง/
ดาเนินการ ภาคเอกชน/
ประชาชน
๙) การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ทั้ง -คณะทางาน เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร มีแผนสื่อสารและ
ภายใน/ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข ร่วมฯ เ กี่ ย ว กั บ แ ผ น แ ล ะ ทิ ศ ประชาสัมพันธ์
และที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ทางการสถานบริ ก ารใน
๑๘ (๓) กระทรวงสธ. ให้หน่วยงานที่
-คปสธ. เกี่ ย วข้ อ ง สื่ อ มวลชนและ
-สธ. สาธารณชน ได้รับทราบและ
เข้ า ใจเรื่ อ งการปฏิ รู ป ด้ า น
สาธารณสุข
๑๐) ติดตาม กากับ ความก้าวหน้าของ -คณะ เพื่อเป็นกลไกติดตามกากับ มี ร ายงานผลการ
การดาเนินงานปฏิรูป อนุกรรมการ และประเมินผลการปฎิรูป ด า เ นิ น ก า ร ต่ อ
ติดตามกากับ คณะอนุกรรมการ
ทุก ๓ เดือน
๑๑) รายงานผลการดาเนินงาน ต่อ -คณะ เพื่อเป็นกลไกติดตามกากับ มี ร ายงานผลการ
คปสธ. ทุก ๓ เดือน อนุกรรมการ และประเมินผลการปฎิรูป ด า เ นิ น ก า ร
ติดตามกากับ ต่ อ คปสธ.ทุ ก ๓
เดือน
๒๙

๒.๑.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) มีร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติโครงสร้างการบริหารระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ...
หลักการ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการมีคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ กาหนดให้มีเขตสุขภาพ
คณะกรรมการเขตสุขภาพ กองทุนเขตสุขภาพ
เหตุผล โดยที่ปัจจุบันระบบสุขภาพอันประกอบด้วยการบริการรักษาพยาบาล การดาเนินงานด้าน
สาธารณสุข การควบคุมดูแลกิจการและปัจจัยที่คุกคามต่อสุขภาพ ตลอดจนการประกันสุขภาพ ได้มีการดาเนินการ
โดยหลายหน่วยงานทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นภายนอก แต่ยังไม่มีหน่วยงานหลักใน
การทาหน้าที่กาหนดนโยบาย และประสานงาน ไม่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทาให้ขาดความเป็น
เอกภาพเชิ งนโยบาย อีก ทั้ง การจั ดบริ ก ารสาธารณสุ ข ในเขตกรุ งเทพมหานครและภู มิภ าคที่มี การจั ดโ ดยหลาย
หน่วยงานทั้งภาครัฐ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมี
อิสระต่อกันทาให้ขาดความเป็นเอกภาพ เกิดการแข่งขัน และขาดความร่วมมือกันในการดูแลสุขภาพประชาชน อีกทั้ง
ในปัจจุบัน มีหลายปั จจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม หรือสิ่ ง
ปนเปื้อนในอาหาร สภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลให้การดาเนินการด้านระบบสุขภาพไม่ทั่วถึง ขาดประสิทธิภาพ มีความ
ซ้าซ้อน สิ้นเปลืองในการดาเนินการ มีการใช้ทรัพยากรไม่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทาให้ประชาชนไม่มีสุขภาพที่ดี
สมควรให้มีคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทาหน้าที่กาหนดนโยบายสุขภาพแห่งชาติ และตรวจสอบ
กากับ ดูแลหน่วยงานต่างๆ ที่มีการดาเนินการในระบบสุขภาพ และกาหนดเขตสุขภาพ โดยให้มีคณะกรรมการเขต
สุขภาพเพื่อทาหน้าที่ประสาน กากับ การจัดระบบบริการ การจัดการทรัพยากรและกาลั งคน การลงทุน ตลอดจน
แผนงานบริการของหน่วยงานที่ดาเนินการด้านสาธารณสุขในเขตพื้นที่ อันเป็นการกระจายอานาจในงานด้านระบบ
สุขภาพ เพื่อให้ระบบสุขภาพ ของประเทศเป็นไปโดยทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้า มีเอกภาพ ประสิทธิภาพ เสมอภาค
คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ทาให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่างพระราชบัญญัติโครงสร้างการบริหารระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ....
มาตรา .... ในกรณีที่มีกฎหมายใดกาหนดเกี่ยวกับนโยบายด้านระบบสุขภาพ เรื่องใดไว้โดยเฉพาะ ก็ให้
ดาเนินการไปตามกฎหมายเฉพาะนั้น เว้นแต่นโยบายด้านระบบสุขภาพใด ขัดหรือแย้งกับนโยบายด้านระบบสุขภาพ
ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ให้เป็นไปตามที่กาหนดในพระราชบัญญัติ
มาตรา ..... ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบสุขภาพ” หมายความว่า ระบบการประกันสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ ระบบการดูแลสุขภาพ
และการบริหารจัดการสาธารณสุ ขอันเป็นไปเพื่อการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ และให้หมายความ
รวมถึงภาวะสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ
“ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ” หมายความว่า กลไกและกระบวนการ ในการรวบรวม วิเคราะห์
เผยแพร่ข้อมูลบนพื้นฐานที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันเวลา และนาไปใช้ เพื่อการบริหารจัดการระบบสุขภาพของรัฐ
“การลงทุน” หมายความว่า การลงทุนในที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับระบบสุขภาพที่มีมูลค่า
สูง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยงบประมาณของรัฐ เงินรายได้อื่น หรือเป็นการร่วมลงทุนกับเอกชน
“เขตสุขภาพ”หมายความว่าเขตบริการทางด้านสุขภาพตามที่คณะกรรมการกาหนด
“องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น ” หมายความว่า องค์การบริหารส่ว นจังหวัด เทศบาล องค์การบริห าร
ส่วนตาบล กรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
๓๐

“กองทุนเขตสุขภาพ” หมายความว่า กองทุนต่างๆ ในระบบสุขภาพ เช่น กองทุนสานักงานหลักประกัน


สุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น กองทุนผู้ประสบภัยจากรถ กองทุนแรงงานต่างด้าว กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและ
สิทธิ และกองทุนอื่นๆ ที่มีการจัดสรรเงินให้สถานบริการภายในเขตสุขภาพ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
หมวด ๑ คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ..... ให้มีคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ จานวน.....คน ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตาแหน่งจานวน.....คน ได้แก่ ...........
(๔) กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจานวน...คน ได้แก่ .....
(๕) กรรมการผู้แทนองค์กรเอกชนสาธารณสุขที่เป็นผู้แทนในคณะกรรมการเขตสุขภาพ
(๖) กรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ซึ่ ง คณะรั ฐ มนตรี แ ต่ ง ตั้ ง จ านวน...คน จากบุ ค คลที่ มี ค วามรู้ ความ
เชี่ยวชาญหรือประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ด้านการแพทย์ ด้านบริหารการสาธารณสุข ด้านการเงินการคลัง ด้าน
การศึกษาและวิจัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ด้านละ
หนึ่งคน
ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง
ผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด
มาตรา ....กรรมการตามมาตรา ....(๔) (๔) และ (๖) มีวาระการดารงตาแหน่ง คราวละ....ปี
มาตรา... คณะกรรมการมีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดทิศทางและจัดทานโยบายหลักด้านระบบสุขภาพของประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุกห้าปี ซึ่งอาจทบทวนแก้ไข
นโยบายดังกล่าวได้ทุกปีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(๒) พิจารณากลั่นกรองนโยบายเกี่ยวกั บระบบสุขภาพของหน่วยงานของรัฐต่างๆ ให้สอดคล้องกับ
นโยบายหลักด้านระบบสุขภาพของประเทศก่อนนาเสนอคณะรัฐมนตรี
(๓) ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลงทุน การบริหารงาน และการพัฒนาระบบการ
ดูแลสุขภาพ ตลอดจนแผนการจัดหา การได้มา และการใช้กาลังคนและเงิน ตามมาตรา ๑๒ ให้สอดคล้องกับนโยบาย
หลักด้านสุขภาพของประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๔) พิจารณาให้ความเห็นต่องบประมาณรายจ่ายประจาปีที่เกี่ยวกับระบบสุขภาพ ที่หน่วยงานของ
รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดทาแล้ว เพื่อประกอบการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๕) กากับ ติดตาม และประเมินผลการดาเนินงานตามนโยบายหลักด้านระบบสุขภาพของประเทศ
เพื่อให้การดาเนินงานตามแผนปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามนโยบายดังกล่าว และสามารถปฏิบัติได้อย่าง
๓๑

เป็นรูปธรรม รวมทั้งเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามนโยบาย


ดังกล่าวนั้นต่อคณะรัฐมนตรี
(๖) เชิญข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งเอกสารหรือข้อมูล
เพื่อประกอบการพิจารณาดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) เสนอแนะต่ อคณะรั ฐ มนตรีเ พื่ อ พิ จ ารณาก าหนดมาตรการทางการเงิ น หรื อ การคลั ง ที่ เ ป็ น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของระบบสุขภาพ
(๘) ประกาศสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการบริการสาธารณสุขที่ผู้รับบริการสาธารณสุขจะได้รับจากหน่วย
บริการสาธารณสุข
(๙) พิจ ารณาให้ ความเห็ น หรือ ข้อเสนอแนะต่อร่ างกฎหมายทั้งปวงที่เกี่ยวกับการพั ฒ นาระบบ
สุขภาพของประเทศ
(๑๐) พิจารณาให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในกรณี พันธสัญญาสัญญาระหว่าง
ประเทศ แผนงานโครงการ และระเบียบข้อกฎหมายที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ
(๑๑) ประกาศกาหนดเขตสุขภาพ
(๑๒) ออกข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา .... ให้ หน่ วยงานของรั ฐที่มีหน้าที่จัดให้ มีระบบสุ ขภาพร่วมกันจัดทาแผนปฏิบัติการว่าด้ว ย
การลงทุน การบริหารงาน และการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ตลอดจน แผนการจัดหา การได้มา และการใช้
กาลังคนและเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการประกาศกาหนด โดยอย่างน้อยต้อง
(๑) กาหนดมาตรการสร้างความสมดุลและความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการจากระบบสุขภาพ
(๒) กาหนดมาตรการการจัดหา การได้มา และการใช้กาลังคนและเงินอย่างมีประสิทธิภาพและมีความ
ยั่งยืนในระบบสุขภาพทุกระบบ
(๓) กาหนดกลไกและกระบวนการในการกากับดูแลเพื่อให้บริการของหน่วยงานผู้ให้บริการสุขภาพ
เป็ น ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มาตรฐาน และคุ ณ ภาพรวมทั้ ง การด าเนิ น การเพื่ อ สร้ า งหลั ก ประกั น ว่ า หน่ ว ยงาน
ผู้ให้บริการสุขภาพจะให้บริการตามมาตรฐาน
(๔) จัดให้มีการบริการระบบสุขภาพและกาลังคนกระจายไปยังหน่วยบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและ
มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการรับและส่งต่อการบริการระหว่างหน่วยบริการสุขภาพ
(๕) จัดให้มีการเชื่อมโยงระหว่างระบบสุขภาพไปยังเขตสุขภาพอย่างสมดุล
(๖) จัดให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อ บังคับที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบ
สุขภาพ
มาตรา .... เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลงทุนการบริหารงาน และการพัฒนา
ระบบการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแผนการจัดหา การได้มาและการใช้กาลังคนและเงิน ตามมาตรา ๑๑ (๓) แล้ว ให้
หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในระบบสุขภาพดาเนินการตามภารกิจที่กาหนดในแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลงทุน การ
บริหารงาน และการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตลอดจนแผนการจัดหา การได้มา และการใช้กาลังคนและเงิน
ในกรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง แก้ไขปรับปรุงแผนปฏิบัติ
การว่าด้วยการลงทุน การบริหารงาน และการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแผนการจัดหา การได้มา และ
๓๒

การใช้กาลังคนและเงิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายหลักด้านระบบสุขภาพหรือเพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจ
ของหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งเห็นว่า การดาเนินการตามนโยบายหลักด้านระบบสุขภาพ
และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลงทุน การบริหารงาน และการพัฒนาระบบการ ดูแลสุขภาพ ตลอดจนแผนการจัดหา
การได้มา และการใช้กาลังคนและเงิน จะขัดแย้งกับอานาจ หน้าที่ตามกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นมีหน้าที่ต้อง
ปฏิบัติ ขัดแย้งกับนโยบายหรือแผนอื่นที่คณะรัฐมนตรีกาหนด หรือมีปัญหาอื่นใดที่ไม่อาจปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการว่า
ด้วยการลงทุน การบริหารงาน และการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแผนการจัดหา การได้มา และการใช้
กาลังคนและเงินได้ให้หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยขี้ขาด
มาตรา .... ให้ ส านั ก งานปลั ด กระทรวงสาธารณสุ ข ท าหน้ า ที่ เ ป็ น ส านั ก งานเลขานุ ก ารของ
คณะกรรมการ และมีอานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รั บ ผิ ด ชอบงานธุ ร การ งานประชุ ม การศึ ก ษาข้ อ มู ล และกิ จ การต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ งานของ
คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้ง
ภาครัฐและเอกชนที่ดาเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และดาเนินการเพื่อให้เกิดการทางานร่วมกันในระดับนโยบาย
ยุทธศาสตร์และแผนงานด้านสุขภาพ
(๓) ประสานงานกับเขตสุขภาพเพื่อให้บรรลุผลตามมติของคณะกรรมการ
(๔) สารวจ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ด้านสุขภาพ เพื่อจัดทารายงานหรือ
เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์ และริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใด ๆ เพื่อประโยชน์
ในการดาเนินงานของคณะกรรมการ
(๖) ช่วยเหลือและให้คาแนะนาหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดให้มีระบบสุขภาพ และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นตามที่ได้รับการร้องขอ
(๗) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ด้ านระบบสุขภาพของ
ประเทศ
(๘) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด ๒ เขตสุขภาพ
มาตรา .... ให้คณะกรรมการกาหนดเขตสุขภาพซึ่งประกอบด้วยจังหวัดหนึ่ง หรือกลุ่มจังหวัดที่มีพื้นที่
ติดต่อกันโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการระบบสุขภาพในระดับพื้นที่โดยการอานวยการ
ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพ ในเขตพื้นที่ให้เป็นไปตามนโยบายหลักด้านระบบสุขภาพของประเทศ ให้
กรุงเทพมหานครเป็นเขตสุขภาพตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ..... ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพ
มาตรา .... ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร
มาตรา .....ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพ ประกอบด้วย....
๓๓

มาตรา …. ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย….


มาตรา ....ให้คณะกรรมการเขตสุขภาพและคณะกรรมการเขตสุขภาพกรุงเทพมหานครมีอานาจ
หน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดยุทธศาสตร์ในการจัดระบบบริการ การจัดสรรทรัพยากร การลงทุน และการให้บริการ
ด้านสาธารณสุขในเขตสุขภาพให้สอดคล้องกับความจาเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพ โดยเชื่อมโยงและ
สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาระบบสุขภาพ
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการให้บริ การสาธารณสุขภายในเขตสุขภาพและเขต
สุ ข ภาพใกล้ เ คี ย ง รวมทั้ ง ประสานการใช้ จ่ า ยงบประมาณเพื่ อ ประโยชน์ ใ นการจั ด บริ ก ารสาธารณสุ ข อย่ า งมี
ประสิทธิภาพ
(๓) สนับสนุนการดาเนินงานด้านต่าง ๆ ของสถานบริการสาธารณสุขในเขตสุขภาพ
(๔) รวบรวมข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การบริ ห ารจั ด การระบบสุ ข ภาพภายในเขตสุ ข ภาพ เพื่ อ เสนอต่ อ
คณะกรรมการ
(๕) กากับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดาเนินงานเกี่ยวกับระบบสุขภาพในเขตสุขภาพ
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษา เสนอแนะ หรือดาเนินการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่
คณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพมอบหมาย
(๗) รายงานผลการดาเนินการของเขตสุขภาพต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ....ให้มีกองทุนเขตสุขภาพ
มาตรา .....ให้มีคณะกรรมการกองทุนเขตสุขภาพ ประกอบด้วย
มาตรา ....ให้คณะกรรมการกองทุนเขตสุขภาพ มีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
มาตรา... ให้ ส านักงานปลั ดกระทรวงสาธารณสุ ขจัดตั้งสานักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
เขตสุขภาพและคณะกรรมการสุขภาพกรุงเทพมหานคร โดยมีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รั บ ผิ ด ชอบงานธุ ร การ งานประชุ ม การศึ ก ษาข้ อ มู ล และกิ จ การต่ า ง ๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ งานของ
คณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพหรือคณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในเขตสุขภาพ
(๓) สารวจ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ด้านสุขภาพเพื่อจัดทารายงานหรือ
เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์ และริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใด ๆ เพื่อประโยชน์
ในการดาเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพหรือคณะกรรมการเขตสุขภาพกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี
(๕) ช่วยเหลือและให้คาแนะนาหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดให้มีระบบสุข ภาพ และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในเขตสุขภาพตามที่ได้รับการร้องขอ
(๖) เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการด้านระบบสุขภาพในเขตสุขภาพ
(๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการเขตสุขภาพหรือคณะกรรมการเขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร
มอบหมาย
๓๔

๒) แก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อจัดตั้งกองทุนสุขภาพระดับเขตพื้นที่


ที่บ ริ ห ารแบบมี ส่ ว นร่ ว มของทุกภาคส่ ว น มีความโปร่ง ใส และการกระจายงบที่ เป็น ธรรม มี การกากั บติด ตามที่
เหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม โดยใช้กลไกการคลังเพื่อสนับสนุนการ
จัดบริการในทุกมิติ ไม่ใช่ใช้การเงินนาระบบ
๓) ปรับปรุงกฎหมาย”พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๓” เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฎิรูปประเทศ
ด้านสาธารณสุข และพระราชบัญญัติโครงสร้างการบริหารระบบสุขภาพแห่งชาติ นโยบายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เกิด
ความคล่องตัวและสอดคล้องกับเป้าหมายของงานที่จะต้องปฏิบัติ รวมทั้งให้มีการประสานการปฏิบัติงาน และการใช้
งบประมาณเพื่อที่จะให้การบริหารงานของทุกหน่วยบรรลุเป้าหมาย และลดความซ้าซ้อน มีการมอบอานาจให้ปฏิบัติ
ราชการแทนได้กว้างขวางขึ้น เพื่อลดขั้นตอน และเพื่อให้การปฏิบัติราชการสามารถอานวยความสะดวกและให้บริการ
แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔) ปรับปรุงกฎหมาย“พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน
(ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙” เพื่อปรับอานาจหนาที่ของสวนราชการขึ้นใหม และปรับปรุงการบริหารงานให้สอดคล้อง
กับยุทธศาสตร์ ชาติ แผนปฎิรู ปประเทศด้านสาธารณสุ ข และพระราชบัญญัติโ ครงสร้างการบริหารระบบสุ ขภาพ
แห่งชาติ นโยบายสุขภาพแห่งชาติ
๕) ปรับปรุงกฎหมาย “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอานาจ พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙” เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การมอบอานาจการปฏิบัติราชการแทนในเขตสุขภาพ เพื่อใหั
การบริหารราชการเป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๖) ศึกษาระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๐
เพื่อศึกษาแนวทางการจั ดรู ปแบบหน่ว ยงานของรัฐ ที่เป็นการจัดโครงสร้างรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ ในการ
ปฎิรูประบบบริหารสถานบริการกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการจัดบริการร่วมกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในระดับเขต
พื้นที่อย่างไร้รอยต่อ จัดบริการอย่างมีทิศทาง ไม่ซ้าซ้อน มีระบบส่งต่อและส่งกลับที่มีประสิทธิภาพ และมีการบริหาร
เครือข่ายที่เป็นเอกภาพ มีอิสระ คล่องตัว ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๗) ยกร่างระเบียบการบริหารบุคคลที่เกี่ยวของการกาหนดตาแหนงและการใหไดรับเงินเดือนและเงินประจา
ตาแหนง การเกลี่ยอัตรากาลังระหวางสวนราชการตาง ๆ ภายในกรม/เขตสุขภาพ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (ระเบียบ
กระทรวงสาธารณสุข หรือกฎหมายที่สูงกว่า) เพื่อบริหารทรัพยากรบุคคลที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพ ให้ความยืดหยุ่น
แก่ผู้บริหารที่จะจัดสรรคนให้เหมาะสมกับงาน
๘) ปรับ ปรุงและพัฒ นากฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุ ขภาพ การ
คุ้มครองผู้บริโภคและผู้ให้บริการ และการกระจายอานาจ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฎิรูปด้ารสาธารณสุข : ระบบ
บริหารจัดการด้านสุขภาพและสามารถดูแลประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓๕

๒.๒ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ


๒.๒.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) เป้าหมายระยะยาว ๒๐ ปี
 ประชาชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ ดี สามารถเข้าถึงสารสนเทศเพื่อพัฒนาความ
ฉลาดทางสุขภาพ (Health literacy) มีข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal health records) ที่ครบถ้วน ปลอดภัย
สามารถเข้าถึงและบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพของตนได้เมื่อต้องการ และมีเทคโนโลยี ดิจิทัลที่ช่วยสนับสนุนการดูแล
ตนเอง (self-care) และได้รับบริการให้คาแนะนาด้านสุขภาพและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้อย่างสะดวกและทั่วถึง
 ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารมี ร ะบบข้ อ มู ล และสารสนเทศที่ ทั น สมั ย สามารถให้ บ ริ ก ารสุ ข ภาพและ
สาธารณสุขแก่ประชาชนทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพที่ มี
คุณภาพและประสิทธิภาพ มีการใช้สารสนเทศเหล่านั้นในการวิเคราะห์วางแผน และพั ฒนาการจัดบริการให้คุณภาพ
และประสิทธิภาพดีขึ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนให้เกิดระบบบริการแบบไร้รอยต่อ และมีการใช้
ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ที่ครอบคลุมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ในการสนับสนุนการตัดสินใจ ทาง
การแพทย์และการบริหารจัดการระบบสุขภาพ การให้บริการแพทย์ทางไกล (telemedicine) การเฝ้าระวัง และสื่อสาร
เตือนภัยด้านสุขภาพและการควบคุมโรค รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพในรูปแบบใหม่ สนับสนุนให้
เกิดอุตสาหกรรม และโอกาสทางเศรษฐกิจด้านสุขภาพและสาธารณสุข

รัฐบาลและผู้บริหารมีข้อมูลสารสนเทศที่ใช้บริหารจัดการการเงินการคลัง การบริการ
ในระบบสุขภาพและสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการมีสุขภาพ สุขภาวะที่ดี หรือลดปัญหาสุขภาพ
ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ห่างไกล กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการ
๒) เป้าหมายระยะกลาง ๕ ปี
 ระบบสาธารณสุข สถานบริการและสถานพยาบาลภาครัฐ โดยเฉพาะในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ในการพัฒนากระบวนการทางานและการบริหารจัดการ (Digital
transformation) ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบการเงินการคลั งสุ ขภาพ ระบบบริห ารงานบุคคล และการจัดการ
ทรัพยากรอื่นๆ ในระบบดิจิทัล
 บุ ค ลากรในระบบสุ ข ภาพส่ ว นใหญ่ มี ค วามเข้ า ใจประโยชน์ และข้ อ จ ากั ด ของ
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ ผู้บริหารระบบสุขภาพนาข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์
และพัฒนาระบบอย่างสม่าเสมอ ทั้งในด้านการบริหารจัดการ (Business analytics) และในการรักษาพยาบาล
(Clinical & health analytics)
 การส่งต่อผู้ ป่วยระหว่างหน่วยบริการระดับต่างๆ เริ่มมีการใช้ระบบข้อมูล สุขภาพส่วน
บุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic health records) เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการ
 เริ่ ม มี เทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื่ อ สุ ข ภาพในรู ป แบบใหม่ที่ ส ามารถน ามาใช้ ส นั บ สนุ น
การจัดบริการสุขภาพได้จริง รวมถึง ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ในการสนับสนุนการตรวจ
วิ นิ จ ฉั ย และพยากรณ์ ก ารเกิ ด โรค และการบริ ห ารจั ด การระบบสุ ข ภาพ โดยเฉพาะในระบ บการแพทย์ แ ละ
การสาธารณสุขพื้นฐาน (Primary care) ระบบการดูแลสุขภาพและให้บริการแพทย์ทางไกล (telehealth &
telemedicine) ทั้งในกรณีระหว่างสถานพยาบาลระดับต่างๆ ระหว่างผู้ให้บริการกับประชาชน โดยเฉพาะกรณี
๓๖

การดูแลประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และระบบการเฝ้าระวังและสื่อสารเตือนภัยด้านสุขภาพและการควบคุมโรคอย่าง
ทันท่วงที
มีกลไกอภิบาลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระดับชาติ ซึ่งรวมถึงกลไกบูรณาการสารสนเทศ
สุขภาพ เช่น ระบบแลกเปลี่ยนประวัติสุขภาพผู้ป่วยอิเล็กทรอนิกส์ (Health information exchange) และระบบ
สารสนเทศกลางด้านบริการ ด้านบุคลากร และด้านการคลังสุขภาพ
มีกลไกอย่างเป็นระบบในการผลิตและพัฒนาคนที่ทางานเกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศสุ ขภาพ ทั้งระดับปฏิบัติการ นั กวิจัย และระดับบริหารจัดการ ให้ เพียงพอกับการนาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศสุขภาพมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
 มีกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยและความลับส่วนบุคคล
ของข้ อ มู ล สุ ข ภาพ โดยพิ จ ารณาประโยชน์ ทั้ ง การป้ อ งกั น ส่ ว นบุ ค คลและการเปิ ด เผยข้ อ มู ล ที่ จ าเป็ น เพื่ อ
การรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่อง ปลอดภัย มีคุณภาพ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการนาข้อมูลสุขภาพไปใช้ประโยชน์ต่อยอด
ในการบริ หารงาน การวิจั ยและพัฒ นาทางการแพทย์และสาธารณสุ ข โดยมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมในกรณี
ที่ต้องละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล
มี ม าตรฐานข้ อ มู ล สุ ข ภาพในทุ ก มิ ติ ร วมถึ ง กลไกในการดู แ ลมาตรฐานเพื่ อ ให้ ร ะบบ
สารสนเทศต่างๆ ทางานร่วมกันได้ (Interoperability) ให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้แบบไร้รอยต่อด้วยความปลอดภัย
และเป็นประโยชน์กับการบริการสุขภาพ การบริหารจัดการและงานวิจัยและพัฒนา
๒.๒.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๒.๓ ตัวชี้วัด
๑) ระยะ ๑ ปี
(๑) มีแผนแม่บทการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพของประเทศ
(๒) มีคณะกรรมการสารสนเทศสุขภาพแห่งชาติ และองค์กรหลักเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน
การปฏิรูปและบูรณาการสารสนเทศของชาติ
(๓) มีองค์กรมหาชน ให้มาทาหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางพัฒนามาตรฐานและจัดการระบบ
ข้อมูลบริการสาธารณสุขของประเทศ (National Health Data Clearing House) สาหรับการคลังสุขภาพภาครัฐ
และทามาตรฐานส่วนเกี่ยวข้อง
(๔) มีองค์ความรู้ และแบบจาลองเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาล
ชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปสู่ระบบดิจิทัล
(๕) มีผลงานวิจัยและองค์ความรู้ในการวางแผนการบูรณาการสารสนเทศสุขภาพของชาติ
๒) ระยะ ๕ ปี
(๑) ประชาชนเสี ยระยะเวลารอคอยการเข้ารับบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุ ข
ลดลง
๓๗

(๒) โรงพยาบาลและระบบริการทางการแพทย์ปฐมภูมิ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ในแต่ล ะ


จังหวัด มีระบบบันทึกสุขภาพดิจิทัล (DHR) ในระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ภายใน ๓ ปี
(๓) สัดส่วนเวลาที่ใช้ไปในการทางานบันทึกข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรในสถานบริการ
สุขภาพภาครัฐลดลง
(๔) ระบบบริ ก ารผู้ ป่ ว ยนอก/ใน และระบบการแพทย์ ป ฐมภู มิ ลดหรื อ เลิ ก ใช้ ก ระดาษ
(paperless)
(๕) ประเทศมีระบบมาตรฐานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพครบทุกมิติ
(๖) มี กฎหมาย และระเบียบที่ปรับปรุ งให้ เอื้ อต่อระบบบันทึก สุ ขภาพดิ จิทัล และระบบ
การแพทย์ทางไกล ภายใน ๓ ปี
(๗) มีบุคลากรที่จบหลักสูตรด้านเวชศาสตร์สนเทศ เพิ่มขึ้น ๒,๐๐๐ คน และมีบุคลากรที่ผ่าน
การอบรมระยะสั้นเรื่อง เวชศาสตร์สนเทศ จานวน ๘,๐๐๐ คน
(๘) ไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ ๕๐ ของสถานพยาบาลทั้ ง หมดในประเทศ มี ก ารวิ เ คราะห์ แ ละ
สังเคราะห์องค์ความรู้จากสารสนเทศสุขภาพในระบบ DHR และระบบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจทางคลินิก
(๙) มีกลไกที่สามารถบูรณาการสารสนเทศสุขภาพทุกระดับ เพื่อการนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง
๒.๒.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
วงเงินรวม ๘,๘๙๐ ล้านบาทสาหรับ ๕ ปี หรือเฉลี่ย ๑,๑๗๘ ล้านบาทต่อปี โดยวงเงินนี้เท่ากับ ๒๗ บาท
ต่อประชากรต่อปี (ร้อยละ ๐.๕๔ ของรายจ่ายสุขภาพภาครัฐในแต่ละปี)
๓๘

๒.๒.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑ . ก า ร พั ฒ น า ร ะ บ บ บั น ทึ ก ๗,๓๐๕.๐ งบประมาณ
สุขภาพดิจิทัล Digital Health แผ่นดิน
Record (DHR) และ การสนับสนุน
Digital Transformation ของ
ระบบบริการสุขภาพ
๑.๑ การพัฒนา DHR ๓,๕๐๕.๐ งบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ
แผ่นดิน คุณภาพบริการ
(๑) การจัดทาแผนแม่บทเพื่อการ  กระทรวง งบประมาณ มีแผนแม่บทใน ๑
พัฒนาระบบบันทึกสุขภาพดิจิทัล สาธารณสุข (สธ.) แผ่นดิน ปี
 กระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม (ดศ.)
(๒) การลงทุน และพัฒ นาระบบ  สธ. ๑๖๙.๐ งบประมาณ ครบ ๗๗ จังหวัด
ส า ห รั บ จั ด ก า ร Provincial  ดศ. แผ่นดิน ใน ๕ ปี
Health Information Exchange  สวทช.
( ๓ ) ก า ร ส นั บ ส นุ น ก า ร จ้ า ง  สธ. ๙๖๐.๐ งบประมาณ  Health IT
๓๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
บุคลากรสารสนเทศสุขภาพ และ  ดศ. แผ่นดิน ๒,๐๐๐ FTE
นักวิเคราะห์ ข้อ มูล สุ ขภาพ หรื อ  สานักงาน ก.พ.  Analyst ๔๐๐
กา ร จ้ า ง เ ห ม าห น่ ว ย ง า น ที่ มี FTE
ศักยภาพ
(๔) การจั ด สรรงบประมาณ  สานัก ๒,๓๗๖.๐ งบประมาณ มี ก ารพั ฒ นา DHR
เพิ่มเติม (Incentives) เป็นลาดับ งบประมาณ แผ่นดิน ต่อเนื่อง
ขั้ น เพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด ระบบ (สงป.)
DHR ให้ใช้ประโยชน์ได้จริง
๑.๒ การปรั บ ระบบบริ ก ารสู่  สธ. ๓,๘๐๐.๐ งบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ
ระบบดิจิทัล  ดศ. แผ่นดิน ลดภาระงาน ลด
 สถาบันวิจัย เวลารอคอยรับ
ระบบ บริการ
(๑) การจัดทาแผนแม่บทเพื่อการ สาธารณสุข มีแผนแม่บท
ป รั บ ร ะ บ บ บ ริ ก า ร เ พื่ อ ใ ช้ (สวรส.) ใน ๑ ปี
ประโยชน์จากระบบดิจิทัลในการ  สวทช.
พัฒนากระบวนการบริการ  มหาวิทยาลัย
(๒) การพั ฒ นาแบบจ าลองการ  สธ. ๕๐.๐ งบประมาณ  เครือข่ายบริการ
ปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพสู่  ดศ. แผ่นดิน ปฐมภูมิ (PCC) ๒๐
๔๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ร ะ บ บ ดิ จิ ทั ล แ ล ะ ท ด ล อ ง  สถาบันวิจัย แห่ง
ด าเนิ น การในสถานพยาบาล ระบบ  โรงพยาบาลชุมชน
ระดับต่าง ๆ สาธารณสุข (รพช.) ๔ แห่ง
(สวรส.)  โรงพยาบาลศูนย์
 สวทช. (รพศ.) หรือ
 มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลทั่วไป
(รพท.) ๒ แห่ง

(๓) การขยายผลการพัฒนาระบบ  สธ. ๓,๗๕๐.๐ งบประมาณ PCC รพช. รพศ และ


บริการปฐมภูมิ และโรงพยาบาล แผ่นดิน รพท. ทั่วประเทศใน
ในสั ง กั ดส านั ก ปลั ดกระทรวง ๕ ปี
สาธารณสุ ขระดั บ ต่ า งๆ สู่ ร ะบบ
ดิจิทัลทั่วประเทศ
๒. ระบบและองค์ ก รหลั ก เพื่ อ ๕๘๕.๐ งบประมาณ ระบบสารสนเทศ
ขับเคลื่อนการปฏิรูปและการบูรณาการ แผ่นดิน สุขภาพมีโครงสร้าง
สารสนเทศสุขภาพของชาติ พื้นฐานที่ดี
(๑) การจั ดตั้ งและด าเนิ นการ  คณะกรรมการ ๕.๐ งบประมาณ มีคณะกรรมการใน
คณะกรรมการสารสนเทศสุ ขภาพ ปฏิรูปประเทศ แผ่นดิน ๑ ปี
๔๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
แห่งชาติ ด้านสาธารณสุข
(คปสธ.)
(๒) การก าหนดองค์ กรหลั กและ  คปสธ. ๑๐๐.๐ งบประมาณ มีองค์กรหลักใน ๑
ดาเนินการสนั บสนุ นการขับเคลื่ อน แผ่นดิน ปี
การปฏิ รู ปและการพั ฒนาระบบ
สารสนเทศสุขภาพของประเทศ
(๓) การจั ดตั้งองค์กรมหาชนท า  คปสธ. มีองค์กรดังกล่าวใน
หน้าที่ National Health Data ๑ ปี
Clearing House และทามาตรฐาน
ส่วนที่เกี่ยวข้อง
( ๔ ) ก า ร จั ด ท า แ ผ น แ ม่ บ ท  องค์กรหลัก ๑๐.๐ งบประมาณ มีแผนแม่บทใน ๑ ปี
เทคโนโลยี ส ารสนเทศสุ ข ภาพ  สธ. แผ่นดิน
แห่งชาติ National Health IT  ดศ.
Master Plan

(๕) การปรั บ ปรุ งกฎหมาย และ  องค์กรหลัก ร่างกฎหมาย ใน ๒


กฎ ระเบี ย บด้ า นสารสนเทศ  สธ. ปี
สุ ข ภ า พ แ ล ะ ด้ า น อื่ น ๆ ที่  ดศ.
๔๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
เกี่ยวข้อง
(๖) การพั ฒ นามาตรฐานและ  องค์กรหลัก ๑๑๐.๐ งบประมาณ มีมาตรฐานครบทุก
จั ด การมาตรฐานระบบข้ อ มู ล  สธ. แผ่นดิน มิติ
บริการสาธารณสุขของประเทศ  ดศ.
(๗) การบู ร ณาการสารสนเทศ  องค์กรหลัก ๒๕๐.๐ งบประมาณ ใน ๕ ปี
สุ ข ภ าพระดั บ ประเทศ และ  สธ. แผ่นดิน
ส่งเสริมการนาไปใช้เพื่อประโยชน์  ดศ.
สาธารณะ

(๘) การพั ฒ นาก าลั ง คนด้ า น ๗๐.๐ งบประมาณ มีระบบบูรณาการที่


สารสนเทศสุขภาพ แผ่นดิน ใช้งานได้ใน ๕ ปี
- หลักสูตรและเนื้อหาด้าน  องค์กรหลัก มีกาลังคนเพียงพอ
ส า ข า เวชสารสนเทศ (Medical  มหาวิทยาลัย และมีคุณภาพ
Informatics)
- บรรจุ เนื้ อหาสารสนเทศ  องค์กรหลัก มีหลักสูตรกลางที่
สุ ข ภ า พ ใ น ห ลั ก สู ต ร ข อ ง  มหาวิทยาลัย ได้รับการยอมรับ
สถาบั นการศึ กษาที่ ผลิ ตบุ คลากร
๔๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
วิชาชีพสุขภาพต่างๆ
- สนับสนุนการอบรมระยะสั้น  องค์กรหลัก หลักสูตรวิชาชีพ
สาหรับบุคลากรระดับปฏิบัติการ  สธ. สุขภาพมีเนื้อหาด้าน
 ดศ. สารสนเทศสุขภาพ
(๙) การพัฒนาฐานข้อมูลบุคลากร  สภาวิชาชีพ ๔๐.๐ งบประมาณ ผู้ได้รับการอบรม
สุขภาพ และวิชาชีพสุขภาพ  สธ. แผ่นดิน ๕,๐๐๐ คน ในห้าปี
 กระทรวง
ศึกษาธิการ
(ศธ.)
๓. การสนับสนุนการวิจัยและ ๑,๐๐๐.๐ งบประมาณ มี องค์ ความรู้ และ
พั ฒ น า เ พื่ อ ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร ใ ช้ แผ่นดิน เครื่องมือที่จาเป็นต่อ
ประโยชน์จากสารสนเทศสุขภาพ การปฏิรูป
(๑) การวิจั ยและการพั ฒนากลไก  สวทช. ๔๐๐.๐ งบประมาณ
กระบวนการ และเครื่องมือ เพื่อการ  สวรส. แผ่นดิน
สนับสนุน Digital Transformation  สานักงาน
กองทุน
สนับสนุนการ
วิจัย (สกว.)
๔๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
 สานักงาน
คณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ
(วช.)
( ๒ ) ก า ร วิ จั ย ที่ จ ะ ส นั บ ส นุ น  สวทช. ๑๕๐.๐ งบประมาณ
ขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสารสนเทศ  สวรส. แผ่นดิน
สุขภาพของประเทศ  สกว.
 วช.
(๓) การสารวจสุขภาพประชาชนและ  สวทช. ๓๐๐.๐ งบประมาณ
การเก็ บตั วอย่ างชี วภาพเพื่ อ  สวรส. แผ่นดิน
สนับสนุนการทา National Biobank  สกว.
 วช.
(๔)การสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การ  องค์กรหลัก ๑๕๐.๐ งบประมาณ
ป ร ะ ยุ ก ต์ ใ ช้ ป ร ะ โ ย ช น์ จ า ก  สธ. แผ่นดินและ
สารสนเทศสุขภาพในทุกระดับ  ดศ. จากงบเอกชน
๔๕

๒.๒.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
ไม่มี
๔๖

๒.๓ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๓: กาลังคนสุขภาพ


๒.๓.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) เป้าหมายระยะยาว ๒๐ ปี
 ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพอย่าง
ครอบคลุม ทั่วถึง รวมถึงได้รับการส่งเสริมสนับสนุนความรู้ เพื่อนาไปสู่การสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี
 องค์กรด้านสุขภาพ รวมถึงสถานพยาบาล หน่วยบริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
มีบุคลากรสุขภาพที่เพียงพอ มีคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการจัดบริการสุขภาพตามมาตรฐาน และมีการบริหารจัดการ
บุคลากรที่สามารถตอบสนองกับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในแต่ละช่วงเวลา ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
 ระบบการศึกษาและการผลิตบุคลากรสุขภาพมีศั กยภาพและขีดความสามารถในการ
ผลิตและพัฒนาบุคลากรที่ตอบสนองต่อความต้องการของระบบสุขภาพในปัจจุบันและในอนาคต
 บุคลากรสุขภาพมีความสุขในการทางาน ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย มีสมรรถนะที่
สอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง
๒) เป้าหมายระยะกลาง ๕ ปี

สัดส่วนบุคลากรสุขภาพต่อประชากรในระดับประเทศเพียงพอและสอดคล้องกับระดับ
การพัฒนาของประเทศและแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข โดยมีแผนผลิตและพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับ
แผนความต้องการกาลังคน
 ความเหลื่อมลาของการกระจายบุคลากรสุขภาพระหว่างเขตสุขภาพลดลง และไม่มี
พืนที่ที่ขาดแคลนบุคลากรซาซาก
 องค์กรและหน่ วยงานในระดับต่างๆ มีส มรรถนะในการบริห ารจัดการกาลั งคนด้าน
สุขภาพมีการลงทุนเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เหมาะสม มีการกระจายอานาจการบริหารจัดการกาลังคนภาค รัฐ มี
ระบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรที่มีขีดความสามารถคงอยู่ในระบบอย่าง
ยั่งยืน
 มีระบบข้อมูลสารสนเทศระดับชาติที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรสุขภาพอย่าง
เป็ น ระบบ ทั งจ านวน การกระจาย การผลิ ต การจ้ า งงาน และการเคลื่ อ นย้ า ยเพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจในสภาพ
ตลาดแรงงานของบุคลากรสุขภาพ (Health labour market)โดยครอบคลุมทังในภาครัฐและภาคเอกชน
๒.๓.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๓.๓ ตัวชี้วัด
๑) ระยะ ๑ ปี
(๑) มีคณะกรรมการกาลังคนสุขภาพที่มีอานาจในการกาหนดนโยบายกาลังคนสุขภาพของประเทศ
(๒) มีองค์กรหลักเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปกาลังคนสุขภาพของประเทศ โดย
อาจกาหนดให้เป็นหน่วยงานหนึ่งในสานักงานสนับสนุนคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติที่จะมีการจัดตังขึนในอนาคต
๔๗

(๓) มีผลงานวิจัยและองค์ความรู้เรื่องสถานการณ์และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการ
บริหารจัดการบุคลากรสุขภาพในระดับต่าง ๆ
๒) ระยะ ๕ ปี
(๑) กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ ๘๐ มีการ
ใช้ระบบบริหารจัดการบุคลากรแบบดิจิทัลและมีการเชื่อมโยงข้อมูล
(๒) มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศกาลังคนด้านสุขภาพระบบดิจิทัลที่บูรณาการข้อมูลจาก
ฝ่ายบริการ ฝ่ายผลิต และฝ่ายวิชาชีพต่างๆ และมีการนาไปใช้ในการบริหารจั ดการและการกาหนดนโยบายในทุก
ระดับ ตังแต่ระดับหน่วยงาน จังหวัด เขต ประเทศ
๒.๓.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
วงเงินรวม ๒๗๐ ล้านบาท สาหรับ ๕ ปี
๔๘

๒.๓.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : กาลังคนสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส) ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑๒๓๔ ๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑. จั ด ตั้ ง กลไกระดั บ ชาติ ใ นการ ๔๕.๐ งบประมาณ
พัฒนาและกาหนดนโยบาย แผ่นดิน
๑ . ๑ จั ด ตั ง แ ล ะ ด า เ นิ น ก า ร คปสธ. ๕.๐ งบประมาณ มีคณะกรรมการ
คณะกรรมการกาลังคนสุขภาพ แผ่นดิน
๑.๒ จัดตังและดาเนินงานหน่วยงาน คปสธ. ๔๐.๐ งบประมาณ มีองค์กรหลักที่
หลั ก เพื่ อสนั บสนุ นการขั บเคลื่ อน แผ่นดิน มีศักยภาพสูง
การปฏิ รู ป และการพั ฒ นาระบบ และสามารถ
กาลังคนสุขภาพของประเทศ ขับเคลื่อนงานได้
ตามเป้าหมาย
๒. พัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากร ๑๒๕.๐ งบประมาณ
บุคคลด้านสุขภาพในระบบดิจิทัล แผ่นดิน
๒.๑ การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาและ องค์กรหลัก ๕.๐ งบประมาณ มี ม าตรฐานใน
กาหนดมาตรฐานข้อมูลสารสนเทศ สธ. ดศ. แผ่นดิน ๓ ปี
กาลังคนด้านสุขภาพของประเทศ
๒.๒ การส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา องค์กรหลัก ๕๐.๐ งบประมาณ มี ฐ า น ข้ อ มู ล
สภาวิ ชาชี พ กระทรวงสาธารณสุ ข และ แผ่นดิน ภายใน ๕ ปี
๔๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : กาลังคนสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส) ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑๒๓๔ ๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
และสถานพยาบาลต่างๆ ในภาครั ฐ หน่วยงาน
และเอกชน ท าฐานข้ อมู ลบุ คลากร หรือภาคส่วน
ดิจิทัล ที่เกี่ยวข้อง
๒.๓ การสนั บสนุ นสถานพยาบาล องค์กรหลัก ๕๐.๐ งบประมาณ หน่ วยงานส่ วน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการใช้ สธ. ดศ. แผ่นดิน ใ ห ญ่ ใ ช้ ร ะ บ บ
ระบบบริ ห ารจั ด การบุ ค คลแบบ บ ริ ห า ร บุ ค ค ล
ดิจิทัล ดิจิทัล
๒.๔ การขั บ เคลื่ อ นการเชื่ อ มโยง องค์กรหลัก ๒๐.๐ งบประมาณ มีระบบที่ใช้งาน
และบูรณาการสารสนเทศบุคลากร แผ่นดิน ได้ภายใน ๕ ปี
สุขภาพ
๓. การกระจายอ านาจและการ องค์กรหลัก ๑๐๐.๐ งบประมาณ มีองค์ความรู้
สร้างสมรรถนะการบริ หารจัดการ สธ. สวรส. แผ่นดิน และเครื่องมือที่
บุคลากร กองทุน สวรส. จาเป็นต่อการ
๓.๑ วิจั ยแนวทางและรู ปแบบการ องค์กรหลัก กระจายอานาจ
กระจายอานาจการจัดการบุคลากร สธ. สวรส. และการสร้าง
สุขภาพ วช. สมรรถนะใน
๓.๒ พั ฒ นาแบบจ าลองถ่ า ยโอน องค์กรหลัก ด้านการบริหาร
อานาจการบริ หารจั ดการบุ คลากร สธ. สวรส. จัดการและ
๕๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : กาลังคนสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส) ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑๒๓๔ ๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
สุขภาพ วช. พัฒนาบุคลากร
๓.๓ การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ องค์กรหลัก สุขภาพ
ทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพ สธ. สวรส.
๓.๔ ทดลองการถ่ายโอนอานาจตาม องค์กรหลัก
แบบจาลองในเขตสุขภาพ ๒ เขต สธ.
๓.๕ วิ จั ย และพั ฒ นา รู ป แบบการ สธ. สวรส.
จ้ า ง ง า น ร ะ บ บ ก า ร ป ร ะ เ มิ น วช.
สมรรถนะ
๓.๖ พั ฒ นาระบบการประเมิ น องค์กรหลัก
ผู้บริหารสถานพยาบาล โรงพยาบาล สธ. สวรส.
ของรัฐ
๓.๗ วิจัยส่งเสริมขีดความสามารถใน สวรส. วช.
การบริ ห ารจั ด การและพั ฒ นา
กาลังคน
๕๑

๒.๓.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
ไม่มี
๕๒

๒.๔ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ


๒.๔.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) ในภาพรวมของการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster: PCC) เพื่อประโยชน์
ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติประกอบด้วย
(๑) ประชาชน: ประชาชนมีสุขภาพดีแม้อยู่ไกลโรงพยาบาล บนหลักการสร้างนาซ่อม
(๒) สังคม: ประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท รวมถึงประชาชนกลุ่มเปราะบาง
สามารถเข้าถึงบริการที่มีความจาเป็นอย่างเท่าเทียมละเป็นธรรมด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
(๓) ประเทศ: มีระบบบริการสาธารณสุขปฐมภู มิ ที่ตอบสนองต่อความจาเป็นทางสุขภาพของ
ประชาชนไทย ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นธรรมและยั่งยืน
๒) เป้าหมายระยะยาว (๒๐ ปี)
(๑) ครอบคลุมประชากร ~ ๑๐๐% ครอบคลุมประชากร ภาครัฐ (๗๕%) รัฐ-เอกชน (๑๐%);
ภาคเอกชน (๑๕%)
(๒) สถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรเพื่อให้บริการปฐมภูมิ: ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษา
(๓) M & E : KPI
 ลด Burden of Diseases โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NCD เพิ่มระดับของ Well-being
ต่อเนื่อง
 เพิ่ม Quality of Care และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลด ACSC และ ACG ต่อเนื่อง
 Cost per Capita มีความคุ้มค่า ไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบและสัมพัทธ์กับประโยชน์ที่
ประชาชนได้รับทั้งสุขภาวะ (Well-being) และคุณภาพบริการ (Quality of Care)
๓) เป้าหมายระยะกลาง ๕ ปี ความครอบคลุมประชากร ~ ๓๕%
(๑) การให้บริการและระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster: PCC) มีความสมบูรณ์
และได้รับการสนับสนุนจาก พชอ./พชข.: ทีมภาคีเครือข่ายแนวราบ/แนวดิ่ง (Matrix Teams/Links/Networks),
Catchment Area, Register Population, ชื่อแพทย์คู่กับชื่อประชาชน, GMR: Mature Interoperability; Full
Data Availability, มี Specific Package ตามความจาเพาะและความจาเป็นของพื้นที่ , ประชาชนเชื่อมั่นศรัทธา
(Mutual Trust and Confidence): ~ ๓๕% ของหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งหมด ภาครัฐ: ๒๕% รัฐเอกชน: ๕%
ภาคเอกชน ๕%
(๒) สถาบันการศึกษาที่ผลิ ตบุคลากรเพื่อให้บริการปฐมภูมิ มีการให้บริการและระบบบริการ
(Primary Care Cluster: PCC) ที่มีความสมบูรณ์: ~ ๕๐% ของสถาบันการศึกษา
(๓) M & E : KPI (โดยเปรียบเทียบ Before – After และ Case – Control)
 ลด Burden of Diseases โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NCD เพิ่มระดับของ Well-being
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ
๕๓

 เพิ่ม Quality of Care และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลด ACSC และ ACG


 Cost per Capita มีความคุ้มค่า ไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบและสัมพัทธ์กับประโยชน์ที่
ประชาชนได้รับทั้ง สุขภาวะ (Well-being) และคุณภาพบริการ (Quality of Care)
๔) เป้าหมายระยะสั้น ๑ ปี
(๑) มีกรณีตัวอย่างรูปแบบ “ภายในภาครัฐ” “เชื่อมภาครัฐ-เอกชน” “ภายในภาคเอกชน” และ
“ในสถาบันการศึกษา” วางระบบพื้นฐาน และมีแผนการดาเนินการในระยะยาว พร้อมไปกับประชาสัมพันธ์และชี้แจง
ให้ประชาชนเข้าใจ
(๒) วางระบบการควบคุมกากับและประเมินผล (Monitoring and Evaluation) บนพื้นฐานของ
การพัฒนาตัวชี้วัด (Key Performance Indicators: KPI) เพื่อให้แสดงให้เห็นถึงความจาเพาะของการให้บริการ
ปฐมภูมิประกอบด้วย สุขภาพและสุขภาวะ (Health and Well-being): Burden of Diseases, Subjective Well-
being, Objective Well-being คุณภาพบริการ (Quality of Care): Utilization Rate, Coverage of Preventive
and Health Promotion Activities), Ambulatory Care Sensitive Condition (ACSC); Adjust Clinical
Groups (ACG), Responsiveness, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, ความพึงพอใจของผู้ให้บริการ การลงทุนที่คุ้มค่า
ในสัดส่วนต่อกับจานวนประชากร (Cost per Capita)
(๓) ด้านการเงินการคลัง
 มีกรณีตัวอย่างของการพัฒนา “ชุดสิทธิประโยชน์จาเพาะ (Specific Package)” เพื่อ
ตอบสนองตามความจาเพาะและความจาเป็นทางสุขภาพภายในอาเภอ และเขต (กรณี กทม.) ภายใต้การบริหาร
จัดการของ “คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอาเภอ/เขต (พชอ./พชข.) บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
อาเภอ/เขต และโดยเฉพาะอย่ างยิ่งการมีส่วนร่วมทางการเงินองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นและกรุงเทพมหานคร:
มีกรณีตัวอย่างอย่างน้อย ๑๐ อาเภอ ในจังหวัดต่างๆ และ ๑ เขตใน กทม.
 มีการจัดตั้งกองทุนบริการปฐมภูมิ( PRIMARY CARE FUND) โดยเป็นกองทุนเฉพาะ
สาหรับระบบบริการปฐมภูมิและคลินิกหมอครอบครัว รวมถึงมีกลไกการบูรณาการงบประมาณจากภาคส่วนต่างๆใน
ระดับปฐมภูมิ เพื่อให้เกิดระบบสนับสนุนงบประมาณ(Payment mechanism) สาหรับคลินิกหมอครอบครัวและ
ระบบปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
(๔) ด้านระบบข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
 ให้มีกรณีตัวอย่างของการมีแพทย์ในฐานะสมาชิกของทีม/ภาคีเครือข่าย ที่มีอยู่ภายใน
อาเภอและมีความพร้อม และมีชื่อแพทย์คู่กับชื่อประชาชน เพื่อพัฒนาให้มี Global Medical Records ของ
ประชาชน โดยแพทย์ ที่เป็นผู้ดูแลมีชื่อคู่กับชื่อประชาชน จานวนอย่างน้อย ๑๐ แห่ง โดยกาหนดให้กระจายใน ๙
อาเภอ และจานวน ๑ เขต ในกรุงเทพมหานคร
 มีกรอบกฎหมายปกป้อง ความลับ (Confidentiality) และความเป็นส่วนตัว (Privacy)
ของข้อมูลใน Global Medical Records (GMR) ของประชาชน และปกป้องแพทย์ที่มีชื่อคู่กับชื่อประชาชน ใน
ฐานะผู้ ดู แ ล GMR ของประชาชน พร้ อ มไปกั บ การพั ฒ นาให้ ร ะบบมี ก ารเชื่ อ มโยงตามคุ ณ ลั ก ษณะของ
Interoperability และมีข้อมูลอยู่ในระบบตามคุณลักษณะของ Data Availability เป็น โครงการการพัฒนาใน
ระดับชาติ
๕๔

(๕) ประชาสั ม พัน ธ์ ให้ ป ระชาชนทราบ พร้อ มกั บชี้ แจงทาความเข้ าใจให้ ประชาชนทราบถึ ง
พัฒนาการ และผลสัมฤทธิ์ (รวมถึงอุปสรรค) ของการดาเนินการ
๒.๔.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๔.๓ ตัวชี้วัด
๑) ระยะ ๑ ปี :
(๑) เพิ่มการดูแลที่คลินิกหมอครอบครัวหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ คิดเป็น PCC Visit >
๓๐๐,๐๐๐ ครั้ง
(๒) การเข้ารับบริการผู้ป่วยนอก(OP Visit) ของโรงพยาบาลภาครัฐ (รพศ.รพท.และ รพช.)
ลดลง ≥ ๑ ล้านครั้ง
(๓) มีพื้นที่ต้นแบบในการลงทะเบียนชื่อแพทย์คู่กับประชาชน(GMR) ๕๐ พื้นที่
(๔) มีพื้นที่ต้นแบบที่สามารถจัดรูปแบบบริการสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาว Triple Aim
จานวน ๕๐ พื้นที่และ พัฒนา ๑๖ พื้นที่ Health literacy community of practice
(๕) เกิดกองทุนบริการปฐมภูมิ(PRIMARY CARE FUND)
(๖) มีชุดสิทธิประโยชน์สาหรับบริการปฐมภูมิและคลินิกหมอครอบครัวที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
ระยะยาว
๒) ระยะ ๕ ปี
(๑) มีคลินิกหมอครอบครัวที่จัดรูปแบบบริการและใช้ชุดสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมาย
ระยะยาว Triple Aim จานวน ๒,๒๘๐ ทีม
(๒) มีระบบการลงทะเบียนชื่อแพทย์คู่กับประชาชน(GMR)ครอบคลุมทุกคลินิกหมอครอบครัว
(๓) การคัดกรองโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น สามารถพบผู้ป่วยรายใหม่ > ๑.๕ ล้านคน
(๔) สามารถลดการเข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก(OP Visit)ของโรงพยาบาล ≥ ๓ %ของ
ปัจจุบัน
(๕) จานวนและอัตราการรับบริการในลักษณะผู้ป่วยในของกลุ่มโรค ACSC (Primary Care or
Ambulatory Care Sensitive Conditions๓๖) ลดลง (Total Admission /Admission Rate) โดยวัดผลดังนี้
- ลดการเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน (Decrease ER Visit)
- ลดการเข้ารับบริการผู้ป่วยในสาหรับโรค Asthma/COPD
๓) ระยะ ๑๐ ปี :
(๑) มีคลินิกหมอครอบครัวที่จัดรูปแบบบริการและใช้ชุดสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมาย
ระยะยาว Triple Aim จานวน ๖,๕๐๐ ทีม
(๒) ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ > ๖๐ %
๕๕

(๓) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมได้ > ๖๐%


(๔) ลดต้นทุนของการบริการในโรงพยาบาลภาครัฐได้ ๑๓,๐๖๔ ล้านบาท
(๕) ลดค่ารักษาจากภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๑๙,๕๗๙ ล้านบาท
(๖) ลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง,ค่าอาหาร และอื่น (ส่วนเพิ่มเติม) ๘,๙๕๙ ล้านบาท
(๗) ลดค่าเสียโอกาสจากการขาดงานของครอบครัว ๑๙,๕๗๗ ล้านบาท
๔) ระยะ ๒๐ ปี :
(๑)ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ > ๗๐ %
(๒)ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมได้ > ๗๐%
(๓)ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการของ PCC >๙๐%
๒.๔.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
-
๕๖

๒.๔.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
กิจกรรมที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพบริการและการวัดประเมินผลแนวใหม่(Quality service & Evaluation)
๑.๑ พัฒนารูปแบบบริการ หน่วยให้บริการ งบดาเนินการ งบประมาณ  เครือข่าย - การใช้บริการผู้ป่วย
ปฐมภูมิ (คลินิกหมอครอบครัว) สปสธ. กทม. ๒๐%ของ แผ่นดิน บริการทุกระดับ ในและห้องฉุกเฉินด้วย
องค์กรปกครอง งบประมาณ ร่วมกันจัดบริการ ภาวะที่ป้องกันได้ลดลง
ส่วนท้องถิ่น จากสาม ในรูปแบบบริการที่ - คุณภาพชีวิตของ
มีประสิทธิภาพ
หน่วยสนับสนุบงบ กองทุนและ ประชาชนโดยเฉพาะ
งบประมาณ (Value based ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดีขึ้น
ประมาณ :
ทางด้าน Interventions) จนสามารถชะลอหรือ
สปสช. สุขภาพ มุ่งสู่เป้าหมายระยะ ยุติภาวะแทรกซ้อน
กรมบัญชีกลาง ทั้งหมด ยาว“Triple Aim”
สานักงาน - จานวนคลินิกหมอ
เกิดความเป็นธรรม
ประกันสังคม -งบลงทุ น ครอบครัวคุณภาพ
ครอบคลุมด้านการ
สานัก ๒๐%ของงบ ๓,๒๕๐ ทีมในปี
สร้างเสริมสุขภาพ
งบประมาณ ลงทุน ๒๕๖๙ และครอบคลุม
(ตลอดจนการสร้าง
ทุกพื้นที่ในปี ๒๕๘๐
หน่วยสนับสนุน ทางด้าน ความรอบรู้ด้าน
๕๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ทางวิชาการ: สุขภาพ สุขภาพ) การ
สภาวิชาชีพ ทั้งหมด ป้องกันโรค การ
ราชวิทยาลัย รักษาพยาบาลและ
แพทย์เวชศาสตร์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ครอบครัว สวรส. โดยเน้นแนวทาง
ดูแลตามหลัก
เวชศาสตร์ครอบครัว
(แต่แรกต่อเนื่องทุก
เรื่องเบ็ดเสร็จ)โดย
แพทย์ และทีม
สหวิชาชีพ และ
เชื่อมโยงกับบริการ
เฉพาะโรค บริการ
ทางสังคม

๑.๒ พัฒนารูปแบบบริการ มุ่งสู่ สปสธ. สวรส. ๑๕๐ สานัก  เกิ ด ต้ น แบบ  Parameter
๕๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
เป้าหมายระยะยาว Triple aim สรพ. สปสช. งบประมาณ ค ลิ นิ ก ห ม อ สาหรับคลินิกหมอ
 วิจัยเชิงพัฒนาและวิจัย ค ร อ บ ค รั ว แ ล ะ ครอบครัวประมาณ
มุ่งเป้า ในปีที่ ๑ จานวน ๕๐ เครื อ ข่ า ยบริ ก าร ๑๐ ตัว
พื้นที่ของคลินิกหมอครอบครัว ป ฐ ม ภู มิ ต า ม  มีระบบการบริหาร
โดยมี การสร้างต้นแบบ Health เป้าหมายข้อ ๑.๑ จัดการตัวชี้วัดแนวใหม่
literacy community of  เ กิ ด ตั ว ชี้ วั ด ที่ สาหรับคลินิกหมอ
practice ไปพร้อมกันใน ๑๖ ต อ บ ส น อ ง ต่ อ ครอบครัวและหน่วย
พื้นที่และ ขยายงานวิจัยในปีที่ ๒ เป้าหมายระยะยาว บริการปฐมภูมิ
ไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิที่มี ข อ ง ก า ร ป ฏิ รู ป  เกิดคู่มือแนวทาง
บริบทเฉพาะและพัฒนาต่อเนื่อง ระบบบริการปฐมภูมิ ดาเนินงานในคลินิก
ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของ และตรงตามบริบท หมอครอบครัว
ประเทศ ของพื้นที่  มีระบบบริการที่มี
 พัฒนาระบบประเมินผล  เกิ ด ระบบการ คุณภาพและได้ผลลัพธ์
และการจัดการตัวชี้วัด ในคลินิก จัดการตัวชี้วัดของ ตามเป้าหมาย
หมอครอบครัวและหน่วยบริการ ค ลิ นิ ก ห ม อ “Triple Aim”
ปฐมภูมิ ค ร อ บ ค รั ว ที่ มี
ประสิ ทธิภ าพ ตรง
๕๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ต า ม บ ริ บ ท ข อ ง
พื้ น ที่ แ ล ะ
ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ
เป้าหมายระยะยาว
Triple Aim
 ไ ด้ รู ป แ บ บ
ร ะ บ บ ส นั บ ส นุ น
เครื อ ข่ า ยบริ ก าร
ครอบคลุ มหกด้า น
ของระบบบริ ก าร
สุ ข ภ า พ ต า ม
แนวทางของ
องค์ การอนามั ยโลก
และสอดคล้ อ งกั บ
ข้ อ เสนอปฎิ รู ป อี ก
สามด้านได้แก่ ด้าน
ร ะ บ บ บ ริ ห า ร
๖๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
จั ด ก า ร ร ะ บ บ
การเงิ น การคลั ง
และระบบ
ห ลั ก ป ร ะ กั น
สุ ข ภาพด้า นระบบ
สารสนเทศ และ
ด้ า น ร ะ บ บ
เสริ ม สร้ า งความ
รอบรู้ด้านสุขภาพ
 เ กิ ด ค ว า ม
รั บ ผิ ด ช อ บ ต่ อ
ผลลัพธ์ทางสุขภาพ
ระหว่างคลินิกหมอ
ค ร อ บ ค รั ว กั บ
ประชาชนในพื้ น ที่
รับผิดชอบ
๑ . ๓ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ เ รี ย น รู้ ด้ า น สปสธ. สานัก เพื่อเป็นกลไกระดับ เกิ ด ศู น ย์ เ รี ย นรู้ ด้ า น
๖๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
เวชศาสตร์ ค รอบครั ว และการ กทม. งบประมาณ เขตสุ ข ภาพในการ เวชศาสตร์ ค รอบครั ว
พัฒนาระบบปฐมภูมิระดับเขต ขั บ เ ค ลื่ อ น ง า น และการพั ฒ นาระบบ
ป ฐ ม ภู มิ แ ล ะ ป ฐ ม ภู มิ ร ะ ดั บ เ ข ต
เวชศาสตร์ครอบครัว สุขภาพทุกแห่งภายใน
การขยายผลพื้ น ที่ ปี ๒๕๖๑
คลิ นิกหมอครอบครัว
ต้นแบบ ศูนย์อบรม
ด้ า นปฐมภู มิ แ ละ
เ ว ช ศ า ส ต ร์
ค ร อ บ ค รั ว แ ล ะ
ศู น ย์ ป ระสานงาน
ก า ร ผ ลิ ต แ พ ท ย์
เวชศาสตร์ครอบครัว
๑ . ๔ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ เ รี ย น รู้ ด้ า น สปสธ. สานัก เพื่อเป็นกลไกระดับ เกิ ด ศู น ย์ เ รี ย นรู้ ด้ า น
เวชศาสตร์ ค รอบครั ว และการ กทม. งบประมาณ จังหวัดในการ เวชศาสตร์ ค รอบครั ว
พัฒนาระบบปฐมภูมิระดับจังหวัด ขับเคลื่อนงาน และการพั ฒ นาระบบ
ปฐมภูมิและ ปฐมภู มิ ร ะดั บ จั ง หวั ด
เวชศาสตร์ครอบครัว ทุ ก จั ง หวั ด ภ าย ในปี
๖๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
การขยายผลพื้นที่ ๒๕๖๕
คลินิกหมอครอบครัว
ต้นแบบ ศูนย์อบรม
ด้านปฐมภูมิและเวช
ศาสตร์ครอบครัว และ
ศูนย์ประสานงาน
การผลิตแพทย์
เวชศาสตร์ครอบครัว
กิจกรรมที่ ๒ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
๒.๑ พัฒนาระบบ Electronics สธ.(สป.สปค) ๒๐๐.๐ สานัก - ประชาชนในพื้นที่ ความครอบคลุ ม การ
record ในคลิ นิกหมอครอบครั ว สวทช. กทม. งบประมาณ ต้นแบบรับรู้ชื่อ ล ง ท ะ เ บี ย น ข อ ง
(E-PCC) และการลงทะเบีย นชื่อ แพทย์ประจาตัว ป ร ะ ช า ช น ใ น พื้ น ที่
แพ ท ย์ คู่ ป ร ะช า ช น “ Global - เพื่อให้ข้อมูลการ ต้นแบบ
medical record” (GMR) ดูแลสุขภาพกลับ
ไปสู่ประชาชน
- เพื่อนาการบันทึก
๖๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ข้อมูล electronics
มาใช้ในกระบวน
การดูแลของ PCC
- มีการประมวลผล
ข้อมูลสาคัญได้
(Data Center)
๒.๒ จัดทา Data Center เชื่อม - เพื่อให้ “หมอ
ข้อมูลกับหน่วยบริการระดับอื่นๆ ประจาตัว”
รวมถึงหน่ วยงานภาคสังคมอื่น ๆ สามารถประมวล
นอกเหนื อ จากหน่ ว ยงานภาค ข้อมูลสาคัญในการ
สุ ข ภ าพ เช่ น ศธ . มท. พม. ดูแลสุขภาพให้กับ
เป็นต้น ประชาชนที่อยู่ใน
ความดูแล
-เพื่อให้มีการ
ประมวลผลข้อมูล
เพื่อการบริหาร
จัดการ
๖๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒.๓ นา Application การดูแล เพื่อให้ประชาชนมี
สุขภาพ สาหรับทุกช่วงกลุ่มวัยไป ความรอบรู้ทาง
ใช้ใน ๕๐ พื้นที่ต้นแบบ และสร้าง สุขภาพ
การรับรู้ให้กับประชาชน
กิจกรรมที่ ๓ การพัฒนาด้านการเงินการคลัง
๓.๑ พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ คณะกรรมการจั ดท า ๕๐ สานัก เกิดชุดสิทธิ ชุดสิทธิประโยชน์
(Benefit package) และต้นทุน ชุ ดสิ ทธิ ประโยชน์ งบประมาณ ประโยชน์หลักและ สาหรับคลินิกหมอ
บริการของคลินิกหมอครอบครัว สปค. สปสช . ชุดสิทธิประโยชน์ ครอบครัว
และหน่วยบริการปฐมภูมิ กรมบั ญ ชี ก ลาง เสริมในทุกกองทุน มีข้อมูลต้นทุนการ
ประกันสังคม บริการของคลินิกหมอ
ครอบครัว (PCC)
๓.๒ การจั ดตั้งกองทุน บริ การ คณะกรรมการจัดทา  เกิดกลไกการ ความเพียงพอด้าน
ป ฐ ม ภู มิ จั ด ท า แ น ว ท า ง ก า ร ชุดสิทธิประโยชน์ สนับสนุน การเงินสาหรับการ
สนับสนุนงบประมาณ สปค. สปสช. งบประมาณ บริการปฐมภูมิที่มี
กรมบัญชีกลาง (Payment) คุณภาพตามเป้าหมาย
ประกันสังคม สาหรับคลินิกหมอ ระยะยาว
๖๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ครอบครัวที่มี
ประสิทธิภาพและ
ยั่งยืน
 เกิดกลไกการที่
สามารถบูรณาการ
งบประมาณจาก
ภาคส่วนต่างๆใน
ระดับปฐมภูมิ
 เกิดกองทุน
เฉพาะสาหรับระบบ
บริการปฐมภูมิและ
คลินิกหมอครอบครัว
กิจกรรมที่ ๔ พัฒนากาลังคนสุขภาพด้านปฐมภูมิ (HEALTH WORKFORCE)
๔.๑ ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ สปสธ. ราชวิทยาลัย ๓๐๐,๐๐๐ งบอุดหนุน  เพื่อเป็น  ทุกโรงเรียนแพทย์
ครอบครัวรองรับการปฏิรูประบบ FM โรงเรียนแพทย์ บาท/คน/ปี โครงการ ช่องทางสาคัญ มีหลักสูตร New-tract
บริการปฐมภูมิ แพทยสภา ผลิตแพทย์ สาหรับการผลิต สาหรับ FM
๔.๑.๑ เพิ่มกาลังการผลิต New- เพื่อชาว แพทย์เวชศาสตร์  ร้อยละของจานวน
๖๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
tract สาหรับ FM ในทุก ชนบท ครอบครัว ๖,๕๐๐ บุคลากรปฐมภูมิที่เข้า
โรงเรียนแพทย์ คนใน ๑๐ ปี ศึกษาต่อแพทย์เวชศาสตร์
๔.๑.๒ จัดให้มีช่องทางเข้าศึกษา  เพื่อสนับสนุน ครอบครัวต่อปี
ต่อแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ให้บุคลากรที่ เป้าหมาย ร้อยละ ๒๐
สาหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน ปฏิบัติงานในหน่วย  ร้อยละของจานวน
หน่วยบริการปฐมภูมิ บริการปฐมภูมิ แพทย์ในโครงการผลิต
๔.๑.๓ จัดให้มีแนวทางการเข้า เช่นเจ้าหน้าที่ แพทย์เพื่อชาวชนบท
ศึกษาต่อแพทย์เวชศาสตร์ สถานีอนามัย เข้าศึกษาต่อหลักสูตร
ครอบครัวในโครงการผลิตแพทย์ สามารถเข้าศึกษา แพทย์เวชศาสตร์
เพื่อชาวชนบท ต่อแพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวต่อปี คิดเป็น
ครอบครัว ร้อยละ ๕๐
 เพื่อแก้ปัญหา
การคงอยู่ของ
แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัว
 เพื่อส่งเสริมให้
แพทย์ในโครงการ
๖๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ผลิตแพทย์เพื่อชาว
ชนบทเข้าศึกษาต่อ
แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัว
๔.๒ พัฒนาโรงพยาบาลในสังกัด สปค. สบพช. ๓๕๐,๐๐๐ งบอุ ด หนุ น  เพื่อเพิ่มศักยภาพ  จานวนสถาบันและ
กระทรวงสาธารณสุ ข และใน กทม. ราชวิทยาลัย บาท/คน/ปี หม ว ด ผลิ ต แหล่งผลิตแพทย์ ศักยภาพการผลิต
สั ง กั ด อื่ น เช่ น กทม. เป็ น แหล่ ง FM แพทยสภา แพทย์เวชศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์เวชศาสตร์
ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ครอบครัว รองรับรัฐธรรมนูญ ครอบครัวในสังกัด
 เพื่อพัฒนาหน่วย กระทรวงสาธารณสุข
บริการปฐมภูมิให้ กทม. โรงเรียนแพทย์
เป็นแหล่งผลิต ตาม แผน ๑๐ ปีของ
แพทย์เวชศาสตร์ การผลิตแพทย์ FM
ครอบครัว  โรงพยาบาลในสังกัด
 เพื่อให้การผลิต สธ. มีแหล่งผลิต
แพทย์เวชศาสตร์ แพทย์ FM ทุกจังหวัด
ครอบครัว
สอดคล้องกับ
๖๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
เป้าหมายระยะ
ยาวของการปฏิรูป
บริการปฐมภูมิ
 เพื่อให้การผลิต
แพทย์เวชศาสตร์
ครอบครัวบูรณการ
กับระบบบริการ
ปฐมภูมิ
๔.๓ จัดทาหลักสูตรพัฒนา สปค. สบช. ๑๕ สานัก เพื่อให้การผลิตและ หลักสูตรพัฒนา
สมรรถนะตอบสนองเป้าหมาย สภาวิชาชีพ งบประมาณ พัฒนาแพทย์ สมรรถนะ Triple
ระยะยาวTriple Aim สาหรับ ราชวิทยาลัย FM เวชศาสตร์ครอบครัว Aim ทั้งการผลิตและ
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและ โรงเรียนแพทย์ และทุกสหสาขา พัฒนาสาหรับทุกสาขา
ทุกสหสาขาวิชาชีพครอบคลุม วิชาชีพสอดคล้อง วิชาชีพ
๔.๓.๑ หลักสูตรเพื่อการ กับเป้าหมายระยะ
ผลิตสหวิชาชีพ ยาวของการปฏิรูป
๔.๓.๒ หลักสูตรเพื่อการพัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิ
ผู้ ป ฏิ บั ติ ง า น ใ น ค ลิ นิ ก ห ม อ Triple Aim
๖๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ครอบครัว
๔.๔ การคงคนไว้ในระบบ กยผ. สปค. บค. ๑๕๐บาท/ สานัก  เพื่อส่งเสริมการ  ค่าตอบแทนที่
จัดทากลไกสร้างแรงจูงใจสาหรับ กลุ่มกฏหมาย ปชก. งบประมาณ ผลิตกาลังคน เหมาะสมสาหรับ
บุคลากรในคลินิกหมอครอบครัว สธ. สสส. สุขภาพด้านปฐมภูมิ แพทย์เวชศาสตร์
ทั้งในรูปแบบ Incentive และ รองรับนโยบาย ครอบครัวและ
non-incentive คลินิกหมอ สหวิชาชีพในคลินิก
ครอบครัว หมอครอบครัว
 เพื่อส่งเสริมการ  อัตราการคงอยู่
คงอยู่และ ของสหวิชาชีพใน
ปฏิบัติงานอย่าง คลินิกหมอครอบครัว
เต็มศักยภาพของ มากกว่าร้อยละ ๘๕
บุคลากรในคลินิก
หมอครอบครัว
๔.๕ พัฒนาสาขาต่อยอดสาหรับ สปค. สบพข. ๓,๐๐๐,๐๐๐ งบอุดหนุน  เพื่อส่งเสริม  เกิดหลักสูตรสาขา
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดย สบช. ราชวิทยาลัย บาท/คน/ปี หมวดผลิต คุณภาพและความ ต่อยอดแพทย์
ร่วมมือกับสถาบันทั้งในและ FM โรงเรียน อาจารย์แพทย์ เชี่ยวชาญในแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว
ต่างประเทศ แพทย์ เวชศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว หลักครบทุกประเด็น
๗๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ครอบครัว ครอบคลุมประเด็น สาคัญ
ที่สาคัญ  ศูนย์แพทย์ศาสตร์
 สร้างเครือข่าย ศึกษาAffiliatedกับ
ทางวิชาการกับ สถาบันต่างประเทศ ๑
สถาบันชั้นนาของ แห่ง/ภาค
ทั้งในและ
ต่างประเทศ
กิจกรรมที่ ๕ พัฒนากลไกอภิบาลระบบ (Governance)
๕.๑ จัดทาพระราชบัญญัติระบบ กลุ่มกฏหมาย ๓.๐ สป. เพื่อให้เป็นกลไก เกิดการขับเคลื่อน
สุขภาพปฐมภูมิและกฏหมายลูก สธ. สปค. หลักในการจัดการ ระบบสุขภาพปฐมภูมิที่
ให้เกิดระบบ มุ่งหวัง
สุขภาพปฐมภูมิที่
มุ่งหวัง
๕.๒ พัฒนากลไกการอภิบาล สปสธ. กทม. ๑๓.๐ สป.  เกิดข้อเสนอเชิง  ข้อเสนอเชิง
ระบบ โครงสร้างการบริหาร โ ค ร ง ส ร้ า ง ก า ร โครงสร้างการบริหาร
จัดการและจัดตั้งหน่วยงานที่ บริหารจัดการระบบ จัดการระบบบริการ
รับผิดชอบระบบบริการปฐมภูมิ
๗๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ในทุกระดับ บริการปฐมภูมิ ปฐมภูมิ
 จัดให้มี  เกิดหน่วยงานใน
หน่วยงานที่บริหาร การบริหารจัดการ
จัดการและ ระบบบริการปฐมภูมิ
สนับสนุนให้เกิด ในทุกระดับ
การจัดรูปแบบ
บริการของคลินิก
หมอครอบครัวที่ได้
มาตรฐานและ
เป็นไปตาม
เป้าหมายการ
จัดบริการปฐมภูมิ
๕.๓ คณะอานวยการขับเคลื่อน สธ. ๘.๐ เพื่อให้เป็นองค์กรที่  มีคณะอานวยการ
แผนการปฏิรูประบบปฐมภูมิ ทาหน้าที่สนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนแผนการ
ส่งเสริม และ ปฏิรูประบบปฐมภูมิ
อานวยการให้  เกิดระบบปฐมภูมิที่มี
ผู้เกี่ยวข้องสามารถ
๗๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบบริการปฐมภูมิ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ขับเคลื่อนให้เกิด คุณภาพ
ระบบปฐมภูมิตาม
แผนการปฏิรูป
ระบบปฐมภูมิ
๗๓

๒.๔.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
ไม่มี
๗๔

๒.๕ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๕: การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ


๒.๕.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
ประเทศไทยมี ค วามมั่ ง คั่ ง จากการนวดไทยและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส มุ น ไพร การแพทย์ แ ผนไทย
มีความมั่นคงในระบบบริการสุขภาพ และพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
๒.๕.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๕.๓ ตัวชี้วัด
๑) ประเด็นอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
(๑) ภายในปี ๒๕๖๒ประเทศไทยมีฐานข้อมูล (Big Data) สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพ
(๒) ร้อยละของตลาดกลางสมุนไพรสามารถเปิดดาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ร้อยละของการมีรายได้เพิ่มขึ้นของเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร
(๔) ร้อยละของมูลค่าสารสกัดสมุนไพรสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศเพิ่มขึ้น
(๕) ร้อยละของมูลค่าวัตถุดิบ สารสกัด และผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้น ๑ เท่าตัว
๒) ประเด็นระบบบริการการแพทย์แผนไทย
(๑) ร้อยละความสาเร็จของการติดตั้งบริการการแพทย์แผนไทยในระบบบริการปฐมภูมิ (PCC)
(๒) ร้อยละระดับการรับรู้และเชื่อมั่นของประชาชนต่อบริการการแพทย์แผนไทย
(๓) มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย สังกัดกรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก ภาคละ ๑ แห่ง
(๔) ร้อยละความสาเร็จของการจัดทามาตรฐานนวดไทยในระดับชาติ และระดับสากล พร้อม
หน่วยประเมินและรับรองมาตรฐานนวดไทย
๓) ประเด็นระบบการศึกษาการแพทย์แผนไทย
(๑) มีการใช้หลักสูตรใหม่ในการผลิตแพทย์แผนไทยบัณฑิต ภายในปี ๒๕๖๔
(๒) มีการใช้หลักสูตรเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ภายในปี ๒๕๖๒
(๓) มีระบบการศึกษาต่อเนื่องภายในปี ๒๕๖๒
(๔)ภายในปี ๒๕๖๔ประเทศไทยมีตาราอ้างอิงมาตรฐาน (Standard Textbook) ด้านการแพทย์แผนไทย
(๕) ร้อยละของแหล่งฝึกภาคปฏิบัติและประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน
๒.๕.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
วงเงินรวม ๗๘๓ ล้านบาท แหล่งเงินจากสานักงบประมาณ และภาคเอกชน
๗๕

๒.๕.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑ . ป ร ะ เ ด็ น อุ ต ส า ห ก ร ร ม
สมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
โครงการที่ ๑โครงการพั ฒ นา กรม พท. ๑๕๐.๐ -สานัก มี ร ะ บ บ ภายในปี ๒๕๖๒
ฐานข้อมูลสมุนไพร (Big Data) สธ. ร่วมกับ งบประมาณ ฐ า น ข้ อ มู ล ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย มี
๑ . จั ด ท า โ ค ร ง ก า ร จั ด ตั้ ง ดศ. NECTEC -ภาค สมุ นไพร (Big ฐานข้อมูล(Big Data)
ค ณ ะ ท า ง า น พั ฒ น า ร ะ บ บ และมหาวิทยาลัย เอกชน Data) ที่สามารถ ส มุ น ไ พ ร ที่ มี
ฐานข้อมูลสมุนไพร (Big Data) ใช้ เพื่ อการวาง ประสิทธิภาพ
ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ยุทธศาสตร์ การ
๒.ลงนามความร่ ว มมื อ เพื่ อ การ ส่ งเสริ มธุ รกิ จ
พั ฒ น า ฐ า น ข้ อ มู ล ร ะ ห ว่ า ง ของประกอบการ
หน่ ว ยง า น แ ละ ก ระ ท รว ง ที่ และสร้างความรู้
เกี่ยวข้อง ความเชื่อมั่นของ
๓.จัดทามาตรฐานข้อมูลสมุนไพร ผู้ใช้สมุนไพร
๔.พั ฒ นาระบบการเชื่ อ มโยง
วิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล
ระหว่างหน่วยงาน และกระทรวง
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
๗๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๕.ปรั บแก้ ไขระเบี ยบ กฎหมาย ที่
เป็ น อุ ป สรรคต่ อ การเชื่ อ มโยง
ข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
๖.พัฒนา Application ให้กับ
User ในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่ ม
เกษตรกร กลุ่ ม ผู้ ป ระกอบการ
ผลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส มุ น ไพร กลุ่ ม
ผู้ประกอบการนาเข้าและส่งออก
วัตถุดิบ สารสกัด และผลิตภัณฑ์
สมุ น ไพรกลุ่ ม ผู้ ป ระกอบการ
E-Commerce กลุ่มประชาชนผู้ใช้
สมุนไพรไทยเป็นต้น
๗.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
รายงานผลการดาเนินงาน
โครงการที่ ๒โครงการจั ด ตั้ ง กรม พท. ๑๕๐ .๐ -สานัก เ กิ ด ต ล า ด -ร้อยละของตลาดกลาง
ตลาดกลางวั ต ถุ ดิ บ สารสกั ด ร่วมกับ กษ. (ตลาดกลาง งบประมาณ กลางสมุ นไพร สมุ น ไพรสามารถเปิ ด
สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและ พณ. และ เมืองสมุนไพร -ภาค ของประเทศทั้ง ด าเนิ น การได้ อ ย่ า งมี
ศูนย์ให้ค าปรึ กษาผู้ประกอบการ สภาอุตสาหกรรม ๑๓ แห่งๆละ เอกชน ในส่วนกลาง ประสิทธิภาพ
สมุนไพรครบวงจร
๗๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑.จั ด ท าโครงการและแต่ ง ตั้ ง ๑๐ ล้าน และเมือง -ร้อยละของการมีรายได้
คณะกรรมการร่ ว มภาครั ฐ และ บาท ส่วน สมุนไพร รวม เพิ่มขึ้นของเกษตรกร
เอกชน เพื่อผลักดัน ให้เกิดตลาด กลาง ๒๐ ๑๔ แห่ง ผู้ปลูกสมุนไพร
กลางสมุนไพรของประเทศ ล้านบาท
๒.จั ด ตั้ ง คณะกรรมการบริ ห าร
ก าห นด บทบาท หน้ า ที่ และ
ระเบียบ วิธีการการบริหารจัดการ
ตลาดกลางสมุนไพรทั้งส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาค
๓.จั ดตั้งตลาดกลางวัตถุดิบ สาร
สกัดสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
แ ล ะ ศู น ย์ ใ ห้ ค า ป รึ ก ษ า
ผู้ประกอบการสมุนไพรครบวงจร
ของประเทศ
๗๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๔.ผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด ตลาดกลาง
วั ต ถุ ดิ บ ส า ร ส กั ด ส มุ น ไ พ ร
ผลิ ต ภัณ ฑ์ส มุ น ไพร และศูน ย์ ใ ห้
คาปรึกษาผู้ประกอบการในเมือง
ส มุ น ไ พ ร ทั้ ง ๑ ๓ แ ห่ ง แ ล ะ
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ ตลาด
กลางของประเทศผ่ า นระบบ
ฐานข้อมูลสมุนไพร (Big Data)
๕.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
รายงานผลการดาเนินงาน
โครงการที่ ๓โครงการพั ฒ นา กรม พท. ๑๒๐.๐ สานักงบ มี โ รงงานสาร ร้ อ ยละของมู ล ค่ า สาร
อุตสาหกรรมสารสกัด สธ. ร่วมกับ ประมาณ สกั ด สมุ น ไพร สกั ด สมุน ไพรสามารถ
๑ . จั ด ท า โ ค ร ง ก า ร พั ฒ น า องค์การเภสัช ภาคเอกชน ของประเทศที่ ส ร้ า ง ร า ย ไ ด้ ใ ห้ กั บ
อุตสาหกรรมสารสกัด กรรม สมอ.
๒.จั ด ทาแผนการพั ฒ นาโรงงาน ได้ ม าตรฐาน ประเทศเพิ่มขึ้น
อก. วท.
สารสกั ด สมุ น ไพรขององค์ ก าร สภาอุตสาหกรรม สากล
เภสั ช กรรมโดยส่ งเสริ มการร่ ว ม
ทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
๗๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓.จัดทา และประกาศมาตรฐาน
สารสกั ด สมุ น ไพรที่ มี ศั ก ยภาพ
และสามารถแข่งขันได้
๔. ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย และพั ฒ นา
นวัตกรรมการสกัดสมุนไพรเพื่อให้ได้
สารสกัดที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนในการ
ผลิตสารสกัด สามารถแข่งขันได้ และ
นามาใช้ในระบบบริการสุขภาพ อาทิ
นาสมุนไพรกระท่อม และกัญชามาใช้
ประโยชน์ ในการรั กษาโรคทางการ
แพทย์ แผนไทยและการแพทย์ แผน
ปัจจุบัน
๕.แก้ ไ ขระเบี ย บ กฎกระทรวง
หรื อ กฎหมายที่ เ ป็ น อุ ป สรรคใน
การพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด
สมุนไพร
๖.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
รายงานผลการดาเนินงาน
๘๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
โครงการที่ ๔โครงการสร้ า ง กรม พท. ๑๐๐.๐ สานักงบ ประชาชนไทยมี ร้ อ ย ล ะ ข อ ง มู ล ค่ า
ความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ที่ ร่วมกับ พณ. ประมาณ ความเชื่อมั่นต่อ วัตถุดิบ สารสกัด และ
ดีของสมุนไพรไทย ททท. สภา ภาค สมุ นไพรไทย ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ส มุ น ไ พ ร
อุตสาหกรรม เอกชน รู้ จั ก เชื่ อมั่ น ภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ชอบ และใช้ ๑ เท่าตัว
ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์
สมุนไพรไทย
๑ . จั ด ท า โ ค ร ง ก า ร แ ต่ ง ตั้ ง
คณะกรรมการสร้างความเชื่อมั่น
และสร้ า งภาพลั ก ษณ์ ที่ ดี ข อง
สมุนไพรไทย
๒.ส ารวจเพื่ อ วั ด ระดั บ ความ
เชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพรของ
ประชาชนในประเทศ
๓.จั ด ทาสื่ อประชาสั มพั น ธ์ เพื่ อ
สร้างการรับรู้ ทัศนคติ และความ
เ ชื่ อ มั่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม กั บ
ก ลุ่ ม เ ป้ า ห ม า ย ทั้ ง ใ น แ ล ะ
ต่างประเทศ
๘๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๔.จั ด ท าตราสั ญ ลั ก ษณ์ และ
ระเบี ย บ หลั ก เกณฑ์ เ พื่ อ การ
รั บ รองคุ ณ ภาพของผลิ ต ภั ณ ฑ์
สมุนไพรไทยและประเมินรับรอง
ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
๕.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
รายงานผลการดาเนินงาน
๒. ป ร ะ เ ด็ น ร ะ บ บ บ ริ ก า ร
การแพทย์แผนไทย
โครงการที่ ๑ พั ฒ นารู ป แบบ กรม พท. ๑๒.๐ สานัก ติ ด ตั้ ง บริ ก าร -ร้ อ ยละความส าเร็ จ
บริ การด้ านการแพทย์แ ผนไทย งบประมาณ การแพทย์แผน ของการติ ด ตั้ ง บริ ก าร
แ ล ะ ติ ด ตั้ ง บ ริ ก า ร ร่ ว ม กั บ ไทยในระบบ การแพทย์ แผนไทยใน
สหวิชาชีพใน Primary Care บริการปฐมภูมิ ระบบบริ ก ารปฐมภู มิ
Cluster (PCC) (PCC) (PCC)
-ปี ๖๑จ านวน -ร้อยละระดับการรับรู้
๕๐๐ แห่ง แ ล ะ เ ชื่ อ มั่ น ข อ ง
-ปี ๖ ๒ -๖ ๕ ประชาชนต่ อ บริ ก าร
จานวน๓,๒๕๐ การแพทย์แผนไทย
แห่ง
๘๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑. แต่ ง ตั้ ง คณะท างานจั ด ท า
รู ป แบบบริ ก ารด้ า นการแพทย์
แผนไทย
๒.จั ด ท ารู ป แบบบริ ก ารด้ า น
การแพทย์แผนไทยระดับปฐมภูมิ
- บริการการแพทย์แผนไทย
ชุมชน (แผนไทยเฟิร์ส)
- นายาสมุนไพรทดแทนยา
แผนปัจจุบันสมุนไพรประจาบ้าน
ยาแผนไทยประจาตัว
- Application ตรวจธาตุเจ้า
เรื อ น เมนู อ าหารประจ าธาตุ
ต ารั บ สมุ น ไพรปรั บ สมดุ ล และ
สมุนไพรเฟิร์ส
- จั ดทาชุดความรู้ และผลิ ตสื่ อ
สาธารณะด้านการแพทย์แผนไทย
และสมุน ไพรไทย เพื่อสร้ างการ
รั บ รู้ แ ละปรั บ พฤติ ก รรม (HL)
การดูแลสุขภาพให้กับประชาชน
๘๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓.ทดลองรู ป แบบบริ ก ารด้ า น
การแพทย์ แ ผนไทยร่ ว มกั บ ที ม
สหวิชาชีพ (PCC)
๔.ขยายบริ ก ารให้ ค รอบคลุ ม
เป้าหมาย
๕.ส ารวจการรั บ รู้ แ ละความ
เชื่ อ มั่ น ต่ อ บริ การการแพทย์ แผน
ไทย ติ ด ตาม ประเมิ น ผล และ
จัดทารายงาน
โครงการที่ ๒ จัดตั้งโรงพยาบาล กรม พท. ๑๕๐.๐ สานักงบ -ก่ อ ส ร้ า ง -มีโรงพยาบาล
ก า ร แ พ ท ย์ แ ผ น ไ ท ย แ ล ะ ประมาณ โรงพยาบาล การแพทย์แผนไทย
ก า ร แ พ ท ย์ พื้ น บ้ า น ไ ท ย ก า ร แ พ ท ย์ และการแพทย์พื้นบ้าน
ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก แผนไทยและ ไทย สังกัดกรมการ
ก า ร แ พ ท ย์ แพทย์แผนไทยและ
พื้ นบ้ านไทย การแพทย์ทางเลือก
ประจาภาคเหนือ ภาคละ ๑ แห่ง
จ. พิษณุโลกและ
สามารถเปิ ด
ให้บริการ
๘๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ประชาชนได้ในปี
๒๕๖๓
-ก่ อ ส ร้ า ง
โรงพยาบาลฯใน
พื้ นที่ ภาคกลาง
อี ส านและใต้
๑ . จั ด ท า ค า สั่ ง ค ณ ะ ท า ง า น ในปี ๒๕๖๕
ด าเนิ น การจั ด ตั้ ง โรงพยาบาล
ก า ร แ พ ท ย์ แ ผ น ไ ท ย แ ล ะ
การแพทย์พื้นบ้านไทยภาคเหนือ
จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก ระหว่ า งกรม
พท. ร่วมกับพื้นที่
๒.สารวจ จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม
กับการก่อสร้างโดยต้องอยู่ติดกับ
โรงพยาบาลแผนปัจจุบัน
๓.ออกแบบการใช้พื้นที่ จัดวางอาคาร
และแบบอาคารที่ จ ะก่ อ สร้ า งที่
เหมาะสมต่ อการจั ดบริ การด้ าน
การแพทย์ แผนไทยและการแพทย์
พื้นบ้านไทยอย่างมีเอกลักษณ์
๘๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๔.จัดทาคาของบประมาณ เสนอ
ของบประมาณในการก่ อ สร้ า ง
ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
๕ . เ ต รี ย ม ก า ร ก่ อ ส ร้ า ง แ ล ะ
ดาเนินการก่อสร้างปีงบประมาณ
๒๕๖๒
๖.จั ด หาบุ ค ลากรที่ จ าเป็ น โดย
การถ่ายโอนจากกรมการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บางส่ ว น โดยเน้ น การจ้ า งงาน
ผู้ พิ การทางสายตา หมอพื้ นบ้ าน
และประชาชนในพื้ น ที่ เป็ น หลั ก
ปี ง บประมาณ ๒๕๖๒ เพื่ อ เปิ ด
ใ ห้ บ ริ ก า ร ใ น ปี ง บ ป ร ะ ม า ณ
๒๕๖๓
๗.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
รายงาน
๘๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
โครงการที่ ๓พั ฒนามาตรฐาน กรม พท. ๕๐.๐ สานักงบ -มี มาตรฐาน -ร้ อ ยละความส าเร็ จ
นวดไทยในระดั บ สากลเพื่ อ สธ. ร่ ว มกั บ ประมาณ น ว ด ไ ท ย ใ น ข อ ง ก า ร จั ด ท า
รองรั บ การประกาศเป็ น มรดก วธ.และ กกท. ร ะ ดั บ ช า ติ มาตรฐานนวดไทยใน
ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม ข อ ง ม ว ล แ ล ะ ร ะ ดั บ ระดั บ ชาติ และระดั บ
มนุษยชาติ ของ UNESCO สากล สากล พ ร้ อ มหน่ ว ย
-มี ห น่ ว ย ประเมิ น และรั บ รอง
ประเมิ น และ มาตรฐานนวดไทย
รั บ ร อ ง
มาตรฐานการ
นวดไทย
๑.จั ด ท าโครงการ และแต่ ง ตั้ ง
คณะกรรมการ
๒.จัดทามาตรฐานนวดไทยในระดับ
สากล (National /International
Standard) พร้ อมทั้ งหลั กเกณฑ์
แนวทางการประเมินมาตรฐาน
๘๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓ . ตั้ ง ห น่ ว ย ป ร ะ เ มิ น ผ ล
(Certification Body) ภายใต้
กรมการแพทย์ แ ผนไทยและ
การแพทย์ ท างเลื อ กที่ ส ามารถ
ประเมินรับรองมาตรฐานนวดไทย
ทั้งในและต่างประเทศ
๔.สร้างภาพลักษณ์ใหม่ของนวด
ไ ท ย ร ว ม ถึ ง จ ด ลิ ข สิ ท ธิ์ ต ร า
สัญลักษณ์นวดไทย
๕.นานวดไทยมรดกทาง
วั ฒ นธรรมของมวลมนุ ษ ยชาติ
(UNESCO) ไปเผยแพร่ ใ นงาน
มหกรรมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๓๒
ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ๒๕๖๓
๖.ติ ด ตาม ประเมิ น ผล จั ด ท า
รายงาน
๘๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓. ประเด็ นระบบการศึ กษา
การแพทย์ แผนไทย
โครงการที่ ๑พั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง กรม พท. ๕ ล้าน สานักงบ แพทย์แผนไทยมี -มีการใช้หลั กสู ตรใหม่ใน
หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต ร่วมกับ บาท ประมาณ ส ม ร ร ถ น ะ การผลิ ตแพทย์ แผนไทย
และเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพแพทย์ สถาบันการศึ สู ง ใ น ร ะ บ บ บัณฑิต ภายในปี ๒๕๖๔
แผนไทย กษาที่ผลิต บริ การสุ ขภาพ -มีการใช้หลักสูตรเพิ่มพูน
บัณฑิตแพทย์ และได้ รั บการ ทักษะวิชาชีพแพทย์แผน
แผนไทย และ ย อ ม รั บ จ า ก ไทยและแพทย์ แผนไทย
สานักงาน สหวิชาชีพ ประยุกต์ ภายในปี ๒๕๖๒
คณะกรรมการ -มี ร ะ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า
การอุดมศึกษา ต่ อ เ นื่ อ ง ภ า ย ใ น ปี
(สกอ.) ๒๕๖๒
๑ . จั ด ท า โ ค ร ง ก า ร แ ต่ ง ตั้ ง
คณะกรรมการร่ ว มระหว่างกรม
พท.ฯ สถาบั น การศึ ก ษาที่ ผ ลิ ต
บั ณ ฑิ ต แพทย์ แ ผนไทย และ
ส านั ก งานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา (สกอ.)
๘๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒.ปรั บ ปรุ ง หลั ก สู ต รการแพทย์
แ ผ น ไ ท ย บั ณ ฑิ ต โ ด ย เ พิ่ ม
ระยะเวลาในการฝึ ก ภาคปฏิ บั ติ
ข อ ง แ พ ท ย์ แ ผ น ไ ท ย ฝึ ก หั ด
(Internship) ๑ ปี ภ ายในปี
๒๕๖๔
๓.พัฒนาหลั กสู ตรเพิ่มพูนทักษะ
วิช าชีพ ให้ กับ บั ณ ฑิต แพทย์ แ ผน
ไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์
หลักสูตร ๑ ปีภายในปี ๒๕๖๒
๔.พัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่อง
เพื่ อ เพิ่ ม พู น ความรู้ ใ ห้ กั บ แพทย์
แผนไทยภายในปี ๒๕๖๒
๕.แก้ไข พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผน
ไทยพ.ศ.๒๕๕๖กฎกระทรวง
ระเบียบที่เป็นอุปสรรค
๖.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
รายงานผลการดาเนินงาน
๙๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
โค รงกา รที่ ๒ พั ฒ น าต ารา กรม พท. ๑๐.๐ สานัก มี ต าราอ้ างอิ ง ภ า ย ใ น ปี ๒ ๕ ๖ ๔
อ้ า งอิ ง มาตรฐาน (Standard ร่วมกับ งบประมาณ มาตรฐานด้ า น ประเทศไทยมี ต ารา
Textbook) ด้านการแพทย์แผน สถาบันผลิต ก า ร แ พ ท ย์ อ้ า งอิ ง มาตรฐานด้ า น
ไทย บัณฑิต แผนไทยของ การแพทย์แผนไทย
การแพทย์ ประเทศ
แผนไทย
๑ . จั ด ท า โ ค ร ง ก า ร แ ต่ ง ตั้ ง
คณะกรรมการพัฒนาตาราอ้างอิง
มาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทย
๒.รวบรวม ถ่ า ยทอด ปริ ว รรต
สั งคายนาองค์ความรู้ การแพทย์
แผนไทย ทั้ ง ด้ า นเวชกรรมไทย
เภสั ช กรรม ผดุ งครรภ์ไ ทย และ
การนวดไทยภายในปี ๒๕๖๓
๓.จั ด ท าต าราอ้ า งอิ ง มาตรฐาน
ด้ านการแพทย์ แผนไทยภายในปี
๒๕๖๓
๙๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๔.ประกาศเป็ น ต าราอ้ า งอิ ง
มาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทย
ของประเทศ ภายในปี ๒๕๖๔
๕.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
สรุปผลการดาเนินงาน
โครงการที่ ๓พั ฒ นาแหล่ ง ฝึ ก กรม พท. ๓๖.๐ สานัก มี แ ห ล่ ง ฝึ ก ร้ อ ยละของแหล่ ง ฝึ ก
ภาคปฏิบัติ ข องแพทย์แ ผนไทย ร่วมกับ (๑๒ แห่งๆละ งบประมาณ ประสบการณ์ ภ า ค ป ฏิ บั ติ แ ล ะ
ฝึ ก หั ด แ ล ะ แ ห ล่ ง ฝึ ก สปสธ. ๓ ล้านบาท) วิ ช า ชี พ ก า ร ประสบการณ์วิชาชีพที่
ประสบการณ์ วิ ช าชี พ ร่ ว มกั บ สถาบันผลิต แพทย์แผนไทยที่ ได้มาตรฐาน
มีมาตรฐาน และ
สถาบันอุดมศึกษา บัณฑิตการ เพี ยงพอต่ อการ
แพทย์แผน ฝึ กภาคปฏิ บั ติ
ไทย ของแพทย์ แผน
ไทยฝึกหัด
๑ . จั ด ท า โ ค ร ง ก า ร แ ห ล่ ง ฝึ ก
ภ า ค ป ฏิ บั ติ แ ล ะ แ ห ล่ ง ฝึ ก
ประสบการณ์วิชาชีพแพทย์แผน
ไทย
๙๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยเพื่อเศรษฐกิจ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒.พั ฒนาแหล่ งฝึ กภาคปฏิ บั ติ และ
แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพแพทย์
แผนไทยในโรงพยาบาลสังกัดสานักงาน
ปลั ดกระทรวงสาธารณสุ ข และ
โรงพยาบาลการแพทย์ แผนไทยและ
การแพทย์พื้นบ้านไทยประจาภาค
๓.พัฒนาอาจารย์แพทย์แผนไทย
ในแหล่ ง ฝึ กประสบการณ์วิชาชี พ
กับแหล่งเพิ่มพูนทักษะ
๔.ติดตาม ประเมินผล และจัดทา
สรุปผลการดาเนินงาน
๙๓

๒.๕.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) ปรับแก้ไขระเบียบ กฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
๒) แก้ไขระเบียบ กฎกระทรวง หรือกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัดสมุนไพร
๓) แก้ไข พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ กฎกระทรวง ระเบียบที่เป็นอุปสรรค
๙๔

๒.๖ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน


๒.๖.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
ทุกคนบนแผ่นดินไทยเข้าถึงและได้รับบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลา
และมีมาตรฐาน
๒.๖.๒ เป้าหมายรวม
๑) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลาและมีมาตรฐาน
๒) เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะทุพพลภาพที่ป้องกันได้จากโรค/ภาวะฉุกเฉิน
๓) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
๒.๖.๓ ตัวชี้วัด
๑) ประชาชนมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี
๒) ประชาชนเข้าถึงและได้รับบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ทันเวลาและมี
มาตรฐาน อย่างน้อยร้อยละ ๙๐
๒.๖.๔ กิจกรรมโครงสร้างบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
๑) เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
(๑) มีการทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
(๒) มีคณะกรรมการนโยบายระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ (National ECS Board) และระดับ
เขต (Regional ECS Board)
(๓) มีระบบสารสนเทศสาหรับ สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่บูรณาการ
ข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล การบริการในห้องฉุกเฉิน การส่งต่อผู้ป่วยและการจัดการสาธารณภัย
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข (National Emergency Care Information System)
(๔)สามกองทุน สุขภาพหลั กกาหนดชุดสิทธิประโยชน์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และวิธีการชดเชย
บริการตามชุดสิทธิประโยชน์นั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและยั่งยืน
(๕) มีกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินระดับเขต
๒) ตัวชี้วัด
(๑) มีคณะกรรมการระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(National ECS Board)และระดับเขต
(Regional ECS Board)
(๒) มี National Emergency Care Information System
(๓) ระดับความสาเร็จในการจัดทาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการแพทย์ฉุกเฉินและการชดเชย
(๔) มีกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินระดับเขตทุกเขต
๙๕

๒.๖.๕ กิจกรรมระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
๑) เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
(๑) มีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน(ทุกกรณี)ที่มีมาตรฐานโดยดาเนินงานภายใต้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และแยกศูนย์สั่งการและอานวยการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน อยู่ใต้การดาเนินงานของ
กระทรวงสาธารณสุข
(๒) สนับ สนุ นการพัฒ นาบริการนอกเวลาส าหรับผู้ ป่ว ยไม่ฉุกเฉินเพื่อลดความแออัดในห้อง
ฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐบาล
(๓) มีโ ครงสร้ างและกลไกการประสานงานด้านการแพทย์และสาธารณสุ ขในภาวะโรค/ภัย
สุขภาพระดับประเทศ ระดับเขตและระดับจังหวัด และมีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน
๒) ตัวชี้วัด
(๑) ร้อยละของจังหวัดที่มีศูนย์สั่งการและอานวยการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน แยก
จากศูนย์รับแจ้งเหตุ(ทุกกรณี) > ๘๐%
(๒) ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐไม่แออัดอย่างน้อยร้อยละ ๙๐
(๓) มีโครงสร้างและกลไกการประสานงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ระดับประเทศ ระดับ
เขต และระดับจังหวัด
๒.๖.๖ กิจกรรมกาลังคนด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
๑) เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุขทั้งหมดมีแผนลงทุน
เชิงบูรณาการผลิตและธารงรักษาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้เพียงพอแก่ความต้องการในระยะ ๑๐ ปี
๒) ตัวชี้วัด
มีแผนผลิตและธารงรักษาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้เพียงพอแก่ความต้องการในระยะ ๑๐ ปี
๒.๖.๗ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๙๖

๒.๖.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๑ โครงสร้างบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
๑. ทบทวนบทบาทหน้าที่ของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ
การแพทย์ฉุกเฉิน
๑.๑ศึกษาหาข้อสรุปและทบทวน สธ.
บทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑.๒ การรับฟังความคิดเห็น สธ.
หน่วยงานภายใน/นอก กระทรวง
สาธารณสุข ทั้งภาครัฐ และ
เอกชน มูลนิธิ
๑.๓ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สธ.
ประชาชน หน่วยงานทั้งภายใน/
ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒. มีคณะกรรมการนโยบาย สธ.
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ
และระดับเขต (National and
Regional ECS Board)
๙๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๒ . ๑ จั ด ตั้ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร สธ.
นโยบายระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
ระดับชาติและระดับเขต
๓. กองทุ น ระบบการแพทย์
ฉุกเฉินระดับเขต
๓.๑ แก้ไข พรบ.การแพทย์
ฉุกเฉิน เพื่อจัดตั้งกองทุน
การแพทย์ฉุกเฉินระดับเขต
๓.๒ การรับฟังความคิดเห็น
หน่วยงานภายใน/นอก กระทรวง
สาธารณสุข ทั้งภาครัฐ และ
เอกชน มูลนิธิ
๓.๓ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์
ประชาชน หน่วยงานทั้งภายใน/
ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๔ ดาเนินการจัดตั้งกองทุน
การแพทย์ฉุกเฉินระดับเขต
๙๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๔. มีระบบสารสนเทศสาหรับการ
พัฒนาคุณภาพระบบการแพทย์
ฉุกเฉินที่บูรณาการข้อมูลด้าน
การแพทย์ฉุกเฉินนอก
โรงพยาบาล การบริการในห้อง
ฉุกเฉิน การส่งต่อผู้ป่วยและการ
จัดการสาธารณภัยด้านการแพทย์
๔.๑ จัดตั้งกลไกการพัฒนาระบบ
สารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน
ร่วมกับกลไกการพัฒนาระบบ
สารสนเทศแห่งชาติ
๔.๒ ศึกษาและทบทวนข้อมูล
และสารสนเทศในระบบ
การแพทย์ฉุกเฉิน
๔.๓ จัดทาแผนการลงทุนพัฒนา
ระบบสารสนเทศการแพทย์
ฉุกเฉิน
๙๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๔.๔ ดาเนินการพัฒนาระบบ
สารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน
๔.๕ การติดตามผลการ
ดาเนินงาน
๕. สามกองทุนสุขภาพหลัก
กาหนดชุดสิทธิประโยชน์ด้าน
การแพทย์ฉุกเฉิน และวิธีการ
ชดเชยบริการตามชุดสิทธิ
ประโยชน์
๕.๑ ศึกษาข้อมูลและทบทวนชุด
สิทธิประโยชน์ด้านการแพทย์
ฉุกเฉินของกองทุนต่างๆ
๕.๒ พัฒนากลไกการจ่ายเงินตาม
คุณภาพการรักษาพยาบาล
ฉุกเฉิน (Value-Based
Payment)
๑๐๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๒ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
๑)ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน(ทุก
กรณี)ที่มีมาตรฐานโดยดาเนินงาน
ภายใต้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และแยกศูนย์สั่งการและ
อานวยการด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขที่มีมาตรฐาน อยู่ใต้
การดาเนินงานของกระทรวง
สาธารณสุข
๑.๑ ศึกษาหาข้อสรุป แนวทางใน
การแยกศูนย์สั่งการและ
อานวยการด้านการแพทย์และ
สาธารณสุข
๑.๒ การรับฟังความคิดเห็น
หน่วยงานภายใน/นอก กระทรวง
สาธารณสุข ทั้งภาครัฐ และ
เอกชน มูลนิธิ
๑๐๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑.๓ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์
ประชาชน หน่วยงานทั้งภายใน/
ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑.๔ พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร
ศูนย์สั่งการและอานวยการด้าน
การแพทย์และสาธารณสุข
๑.๕ ดาเนินการตามแผนงานที่
กาหนด
๑.๖ ติดตาม กากับ
ความก้าวหน้าการดาเนินงาน
๒. สนับสนุนการพัฒนาบริการ
นอกเวลาสาหรับผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน
เพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉิน
โรงพยาบาลรัฐบาล
๑๐๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๒.๑ ศึกษา การบริการ และ
แนวทางการลดผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน
มาใช้บริการห้องฉุกเฉิน
๒.๒ สนับสนุนการพัฒนาบริการ
นอกเวลา
๒.๓ มีแผนลงทุนด้านเครือ่ งมือ
อาคารสถานที่เพื่อพัฒนาห้อง
ฉุกเฉินคุณภาพ
๒.๔ ดาเนินการตามแผนงานที่
กาหนด
๒.๕ ติดตาม กากับ
ความก้าวหน้าการดาเนินงาน
๓. โครงสร้างและกลไกการ
ประสานงานด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขในภาวะโรค/ภัย
สุขภาพ
๑๐๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๓.๑ ศึกษาและทบทวนกลไก
ประสานงานระหว่างหน่วยงาน
ภายในกระทรวงสาธารณสุขและ
ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
๓.๒ พัฒนากลไกการ
ประสานงานด้านการแพทย์และ
สาธารณสุข
๓.๓ พัฒนาศักยภาพหน่วย
ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านแพทย์และ
สาธารณสุขให้มีมาตรฐาน
๓.๔ มีลงทุนสนับสนุนโลจิสติกส์
ให้หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินด้าน
แพทย์และสาธารณสุข
๓.๕ ดาเนินการตามแผนงานที่
กาหนด
๓.๖ ติดตาม กากับ
ความก้าวหน้าการดาเนินงาน
๑๐๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๓ กาลังคนด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
๑.แผนผลิตและธารงรักษา
บุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้
เพียงพอแก่ความต้องการในระยะ
๑๐ ปี
๑.๑ ศึกษา ทบทวนความ
ต้องการบุคลากรด้านการแพทย์
ฉุกเฉินในระยะ ๑๐ ปี
๑.๒ จัดทาแผนผลิตและธารง
รักษาบุคลากรด้านการแพทย์
ฉุกเฉินในระยะ ๑๐ ปี
๑๐๕

๒.๖.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
ไม่มี
๑๐๖

๒.๗ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค


๒.๗.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) เพื่อพัฒนาระบบงาน P&P ให้มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ
๒) อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (LE) ไม่น้อยกว่า ๘๕ ปี
๓) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า ๗๕ ปี (HALE)
๒.๗.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔
๒.๗.๓ ตัวชี้วัด
๑) อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
๒) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี
๓) DALYs averted
๔) cost per DALYs averted
๒.๗.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
วงเงินรวมประมาณ ๒,๒๐๒ ล้านบาท
๑๐๗

๒.๙.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑. การปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งการ
ท างานด้ านการ สร้ างเสริ ม
สุขภาพและป้องกันโรค
๑) จัดตั้ง NHPB ปรากฏอยู่ในแผนการจัดตั้ง NHPB อยู่แล้ว
๒) ปรับโครงสร้างภายใน ก.สธ. ระบบงาน P&Pมี
ส่วนกลาง โครงสร้ างการ
(๒.๑) ยุ บ รวมหน่ ว ยงานที่ มี ก.สธ. ท างาน และ -ผลส าเร็ จ ของการยุ บ
ภารกิ จ คล้ า ยคลึ ง กั น ไว้ ด้ ว ยกั น อั ตราก าลั งที่ ร ว ม ห น่ ว ย ง า น ที่ มี
(กรมอนามั ย กรมควบคุ ม โรค เหมาะสมในทุ ก ภารกิจคล้ายคลึงกันไว้
สถาบั น โรคทรวงอก สถาบั น ระดั บ ที่ จะท า ด้วยกัน
มะเร็ ง แห่ ง ชาติ สถาบั น วั ค ซี น ใ ห้ ส า ม า ร ถ -ผ ล ส า เ ร็ จ ข อ ง ก า ร
แ ห่ ง ช า ติ แ ล ะ ส ถ า บั น วิ จั ย ทางานได้อย่างมี ท บ ท ว น / ป รั บ ป รุ ง
วิทยาศาสตร์สาธารณสุข) ประสิทธิภาพ คณะกรรมการระดับชาติ
( ๒ . ๒ ) ท บ ท ว น / ป รั บ ป รุ ง ก.สธ. และ และระดับ จั งหวั ดให้ มี
คณะกรรมการระดั บ ชาติ แ ละ หน่วยงานที่ ความเหมาะสม
ระดับจังหวัดให้มีความเหมาะสม เกี่ยวข้อง
๑๐๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓) ที่ระดับเขต/จังหวัด/อาเภอ: สป. สธ. ๑.๐ กรมอนามัย
พิ จ ารณาปรั บ โครงสร้ า ง และ กรมอนามัย กรม -ผ ล ส า เ ร็ จ ข อ ง ก า ร
จานวนบุคลากรด้าน P&P และ กรมควบคุม ควบคุม ด า เ นิ น ง า น ป รั บ
Strategic Information โรค โรค โ ค ร ง ส ร้ า ง ข อ ง
(๓.๑) ทบทวนงาน P&P ที่หน่วยงาน หน่ ว ยงานระดั บ เขต/
แต่ละระดับ (เขต/จังหวัด/อาเภอ) จั ง หวั ด /อ าเภอและ
ต้องรับผิดชอบ จ านวนบุ ค ลากร ด้ า น
(๓.๒) ก าหนดโครงสร้ า ง และ P&P และ Strategic
อัตรากาลังที่เหมาะสมกับงาน Information
(๓.๓) ปรับโครงสร้าง/อัตรากาลัง
ตามผลการทบทวน
๔) กาหนดให้บทบาทของ PCC สป.สธ -ร้อยละของ
ต้องเน้นด้าน P&P ให้มากกว่า งบประมาณ PCC ที่ใช้
งานด้านการรักษา จ่ายสาหรับกิจกรรมด้าน
P&P
๕) ทบทวนบทบาทภารกิจ และ สป.สธ. ๑๐.๐ หน่วย -ผ ล ส า เ ร็ จ ข อ ง ก า ร
สั ม ฤทธิ ผ ลขององค์ ก รมหาชนที่ กรมอนามัย งานที่ ทบทวนบทบาทภารกิจ
เกี่ ย วข้ อ ง โดยต้ อ งตอบโจทย์ ที่ กรมควบคุม เกี่ยวข้อง และสั ม ฤทธิ ผ ลของ
สาคัญ คือ โรค กพร. (อาจ องค์กรมหาชน
๑๐๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
(๑) องค์ ก รเหล่ า นั้ น สามารถ องค์กร จาเป็น
ด าเนิ น การได้ ต ามเป้ า ประสงค์ มหาชนที่ ต้องได้รับ
ของการจัดการตั้งองค์กรหรือไม่ เกี่ยวข้อง การ
(๒) งบประมาณด้ า นบริ ห าร จัดสรร
เพิ่มเติม
จัดการที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดผลลัพธ์ จาก
ที่เพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมหรือไม่ รัฐบาล)
๖) ปรับปรุงกฎระเบียบของ ก.พ. สานักนายก -ผ ล ส า เ ร็ จ ข อ ง ก า ร
และ กพร. ให้ มี ค วามยื ด หยุ่ น รัฐมนตรี กพ. ปรั บ ปรุ ง กฎระเบี ย บ
และหน่วยงานมี autonomy กพร. ของ ก.พ. และ กพร.
๒. ปรับปรุงระบบงบประมาณของ ใช้งบประมาณค่อนข้าง ก า ร จั ด ส ร ร
งานด้ า นส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพและ น้อยจากหน่วยงานที่มี งบ ป ร ะ ม า ณ
ป้องกันโรค ส่วนเกี่ยวข้อง เป็นไปใน
๑) ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้ ก.คลัง สธ. ทิศทางที่ -ระดับความสาเร็จของ
การจัดสรรงบประมาณของ NHPB สสส. สอดคล้องกับ ก า ร ป รั บ ป รุ ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความ สปสช. นโยบาย กฎระเบียบเพื่อให้การ
เชื่อมโยงกับทิศทาง/นโยบาย/ ทิศทาง และ จัดสรรงบประมาณของ
ยุทธศาสตร์/ลาดับความสาคัญของ ลาดับ หน่วยงาน
งานตามที่ NHPB กาหนด ความสาคัญ
๑๑๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ของปัญหาการ -ร้อยละของงบประมาณ
พัฒนางานด้าน รายจ่ า ยภาครั ฐ ด้ า น
P&P P&P ที่สอดคล้องกับ
นโยบาย ทิศทาง และ
ลาดับความสาคัญของ
ปั ญ หาการพั ฒ นางาน
ด้าน P&P
๒ ) สร้ างระบบให้ เกิ ด fiscal สธ. -ระดั บความส าเร็จของ
accountability ขององค์ ก ร สร้างระบบให้เกิด fiscal
มหาชน – ทั้ ง ตั ว ผู้ บ ริ ห าร (เช่ น accountability ของ
ต าแหน่ ง ผู้ จั ด การ เลขาธิ ก าร องค์กรมหาชน
เป็นต้น) และบอร์ดบริหาร -ร้อยละของงบประมาณ
รายจ่ า ยภาครั ฐ ด้ า น
P&P ที่สอดคล้องกับ
นโยบาย ทิศทาง และ
ลาดับความสาคัญของ
ปั ญ หาการพั ฒ นางาน
ด้าน P&P
๑๑๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓) ปรั บ ปรุ ง กฎระเบี ย บเพื่ อ ให้ สปสช. -ระ ดั บค ว าม ส าเ ร็ จ
ปรั บ ปรุ ง กฎระเบี ย บ
งบประมาณ P&P ของ สปสช. เพื่ อ ให้ ง บปร ะมา ณ
ต้ อ งอยู่ ใ นการดู แ ลก ากั บ ของ P&P ของ สปสช. ต้อง
โรงพยาบาล สาธารณสุขจังหวัด อยู่ ใ นการดู แ ลก ากั บ
ของโรงพยาบาล
และสาธารณสุขอาเภอ (แทนที่จะ สาธ ารณ สุ ข จั ง หวั ด
เป็นสานักงานของสปสช. เอง) และสาธารณสุขอาเภอ
-ร้อยละของงบประมาณ
รายจ่ า ยภาครั ฐ ด้ า น
P&P ที่สอดคล้องกับ
นโยบาย ทิศทาง และ
ลาดับความสาคัญของ
ปั ญ หาการพั ฒ นางาน
ด้าน P&P
๓.ทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
กฎระเบียบ
๑) ปรั บ ปรุ งกฎระเบี ย บ รวมถึ ง รง. ก.คลัง ผู้ สู ง อ า ยุ -ร้ อ ยละของผู้ สู ง อายุ
กลไกทางการเงิน เพื่อสนับ สนุ น สานักนายก คุณภาพชีวิตที่ (อายุมากกว่า ๖๐ ปี)
ให้องค์กรทุกภาคส่วนรับผู้สูงอายุ รัฐมนตรี ดี แ ล ะ พึ่ ง ที่มีงานทา
เข้าทางาน (Active aging) ตาม ตัวเองได้
สมรรถนะที่เหมาะสม
๑๑๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒) ปรั บ ปรุ ง มาตรฐานด้ า นการ ลดความเสี่ ย ง
ป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ต่ อ ก า ร เ กิ ด
ของโรงพยาบาลที่รั บ ดูแลผู้ ป่ ว ย การระบาดของ
จากต่างประเทศ (Medical Hub) โ ร ค ติ ด ต่ อ
อันตราย
(๒.๑) กาหนดสมรรถนะที่สาคัญ กรมควบคุม
และจ าเป็ น ด้ า นการป้ อ งกั น โรค โรค กรมการ
ติด เชื้ อส าหรั บ โรงพยาบาลที่ รั บ แพทย์ กรม
ผู้ป่วยต่างชาติ สนับสนุน
(๒.๒) ก าหนดเวชภั ณฑ์ อุ ปกรณ์ บริการ ๑.๐ กรม
เครื่องมือด้านกาแพทย์ที่สาคัญและ สุขภาพ ควบคุม
จาเป็นขั้นพื้นฐานที่โรงพยาบาลที่ โรค
รับผู้ป่วยต่างชาติต้องมี

(๒.๓) ปรั บ ปรุ งกฎระเบี ย บการ กรม


ต่ อ อ า ยุ ใ บ อ นุ ญ า ต ป ร ะ ก อ บ สนับสนุน
กิจการสถานพยาบาล บริการ
สุขภาพ
๑๑๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๔.การพัฒนากาลังคนด้าน P&P
๑) competency mapping สป.สธ.
(๑.๑) จัดทา competency สป.สธ. ๕.๐ กรม ระบบงาน -ผลสาเร็จของการ
mapping ของตาแหน่งงานต่างๆ กรมอนามัย, อนามัย P&P มี จัดทา Competency
ด้าน P&P ทั้งระบบ กรมควบคุม กรม บุคลากรที่มี map
โรค ควบคุม สมรรถนะ
(๑.๒) การสื่อสารให้มหาวิทยาลัย โรค เหมาะสม
รับทราบคุณลักษณะของบัณฑิตที่ ปฏิบัติงาน
พึงประสงค์
(๑.๓) ปรับปรุงระบบการคัดเลือก -ผ ล ส า เ ร็ จ ข อ ง ก า ร
ข้ า ร า ช ก า ร ใ ห ม่ เ พื่ อ ใ ห้ ไ ด้ ปรั บ ปรุ ง ระบ บกา ร
ข้าราชการใหม่ที่มีสมรรถนะที่พึง คั ด เลื อ กบุ ค ลากรที่ มี
ประสงค์ สมรรถนะที่ เ หมาะสม
เข้าทางาน
(๑.๔) ปรับปรุงระบบการพัฒนา ไม่ต่ากว่า สป.สธ. ระบบงาน -จ านวนบุ ค ลากรที่ มี
สมรรถนะบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ๑๐.๐ ลบ. กรม P&P มี ความรู้ ค วามสามารถ
ต่อปี อนามัย, บุคลากรที่มี ไ ด้ รั บ ก า ร ย อ ม รั บ
กรมควบคุม ความรู้ ร ะ ดั บ ช า ติ แ ล ะ
โรค ความสามารถ นานาชาติ ที่ ไ ด้ รั บ การ
๑๑๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ได้รับการ พัฒนาขึ้นใหม่
ยอมรับระดับ
ชาติและ
นานาชาติ
๒) ค่าตอบแทนสาหรั บบุ คลากร ระบบงาน -อั ต ราส่ ว นนั ก ระบาด
สาขาขาดแคลนพิเศษ P&Pมี บุ คลากร วิ ท ยาภาคสนามต่ อ
(๒.๑) ทบทวนค่าตอบแทนให้กับ สป.สธ. ที่ มี ส มรรถนะ ประชากร ๒๐๐,๐๐๐
บุ ค ลากรสาขาขาดแคลนพิ เ ศษ กรมอนามัย เหมาะสม คน
อย่างเหมาะสม กรมควบคุม ปฏิบัติงาน
(๒.๒) ปรั บปรุ งระเบี ยบการจ่ าย โรค
ค่าตอบแทนให้ กับ บุ คลากรสาขา
ขาดแคลนพิเศษอย่างเหมาะสม
๕. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
๑) Public Health Laboratory &
Research Laboratory
( ๑ . ๑ ) ม อ บ ห ม า ย ใ ห้ ค ณ ะ คกก.วิชาการ
กรรมการวิช าการ (ภายใต้คณะ กรมควบคุม
กรรมการโรคติ ด ต่ อ แห่ ง ชาติ โรค
ดาเนิ น การจั ดท าแผนเสนอตาม
ระบบหรือแนวทางที่กาหนด
๑๑๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๗ : การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
(๑.๒) ลงทุนในการจัดตั้ง Public คกก.วิชาการ
Health Laboratory & Research กรมควบคุม
Laboratory โรค
(๑.๓) พั ฒ นาบุ ค ลากรอย่ า ง มหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า
ต่อเนื่อง ๗๕๐ ล้าน
บาท
๒) การพัฒนาระบบวิจัย คกก.วิชาการ
กรมอนามัย
กรมควบคุม
โรค
มหาวิทยาลัย
วช. สวทช.
๓) การลงทุ น เพื่ อ พั ฒ นาระบบ สป.สธ. ๑,๔๐๐.๐ สป.สธ.
การจั ด การภาวะฉุ ก เฉิ น ทาง กรมอนามัย กรม
สาธารณสุขตามแผนฯ ที่ได้จัดทา กรมควบคุม อนามัย
ไว้แล้ว โรค กรม
ควบคุม
โรค
๑๑๖

๒.๗.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานผู้สูงอายุ
๒) กฎระเบียบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางการเงินให้กับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการจ้างแรงงาน
ผู้ที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปี
๓) กฎระเบียบการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
๔) ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรสาขาขาดแคลนพิเศษ
๑๑๗

๒.๘ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ


๒.๘.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) ประชาชนไทยทุกคนมีทักษะในการเข้าถึงและประมวลข้อมูลสุขภาพเพื่อใช้ ประกอบการตัดสินใจ
ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
๒) สังคมไทยเป็นสังคมรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literate societies) คือสังคมที่ประชาชนทุก
คนเข้าถึง เข้าใจข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ และประยุกต์ใช้ของประชาชน สามารถตัดสินใจดูแลสุขภาพของ
ตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
๓) ประเทศไทยมีระบบสาธารณสุข การศึกษา สวัสดิการสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชน
สามารถเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และปรับใช้ข้อมูลและบริการต่างๆ ในสังคม เพื่อตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองและ
ครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
๒.๘.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๘.๓ ตัวชี้วัด
๑) ปริมาณข้อมูลสุขภาพที่เป็นเท็จและถูกเผยแพร่มีน้อยลง
๒) ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น
๓) พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในประชาชนทุกกลุ่มวัยเพิ่มขึ้น
๔) ประชาชนมีอัตราการเจ็บป่วยลดลง
๕) ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายสุขภาพด้านการรักษาพยาบาลลดลง
๒.๘.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
งบประมาณรวมประมาณ ๑,๑๙๕.๖๘ ล้านบาท
๑๑๘

๒.๕.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑. การพัฒ นาระบบสื่ อสาร ๘๐.๐
สุขภาพ
๑.๑ มีระบบการคุ้มครองด้านการ ดศ. สธ. ๑๒.๐ สานัก -ข้อมูลสุขภาพ -การเจ็บป่วยที่ป้องกัน
สื่อสารโดยมีหน่วยงานกลาง คัด งบประมาณ ที่ ถู ก ต้ อ งและ ได้ลดลง
กรองข้ อ มู ล ด้ า นสุ ข ภาพ ข้ อ มู ล เ ข้ า ถึ ง
ข่ า วสารที่ จ าเป็ น ถู ก ต้ อ ง ทั น ประชาชน
การณ์ และมีประสิทธิภาพในการ -ป ร ะ ช า ช น
ปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมสุ ข ภาพ ส า ม า ร ถ ใ ช้
ตรวจจับข้อมูลเท็จ ตอบโต้ข้อมูล ข้ อ มู ล เ พื่ อ
สุขภาพที่ไม่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ตั ด สิ น ใ จ
ต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ จัดการสุขภาพ
- งบดาเนินงาน (จ้างเหมา ได้ ด้ ว ยตนเอง
คนทางาน) ๒๐ คน*๕๐,๐๐๐ (Self-manage
บาท* ๑๒ เดือน ment) แ ล ะ
ครอบครัวได้
๑๑๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑.๒ เพิ่มช่องทางสื่อสารมวลชน กสทช. ๖๘.๐ กสทช. -ผั ง ร า ย ก า ร -จานวนผังรายการ
สาธารณะทางสุขภาพและ ป ร ะ จ า ด้ า น -จานวนสื่ อ ครอบคลุ ม
แนวทางเขียนสื่อสุขภาพ สุ ข ภาพบรรจุ และเข้ า ถึ ง ประชาชน
ใ น ส ถ า นี ทุกพื้นที่
โทรทั ศ น์ ข อง
รัฐรับผิดชอบ
-วิ ท ยุ ท้ อ งถิ่ น
หนั ง สื อ พิ ม พ์
หอกระจาย
ข่ า ว ใ น พื้ น ที่
เคเบิ้ลทีวี
๒. การพัฒนา ๓ ระบบใหญ่ ๕๙๒.๗๘
๒.๑ การพัฒนาระบบการ หน่วยบริการ ๕๒.๖๘ งบ -องค์กรที่สร้าง -จ านวนองค์ ค วามรู้
สาธารณสุข สุขภาพทุก ต้น และใช้ข้อมูลที่ สุ ข ภ า พ ( HLO) ทั้ ง
- งบดาเนินงาน (พัฒนา สังกัด สังกัด เชื่อถือได้ health และ non
มาตรฐาน+ประเมินรับรอง เขตสุขภาพ health sector ที่
มาตรฐาน) (สาธารณสุข) สธ. กทม. กระจายครอบคลุ มทุก
ปี ๖๑ : ๑๐๐ แห่ง *๑๐ คน* ๓ วัน พื้นที่
๑๒๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
*๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๒-๖๔ : ๒๐๐ แห่ง *๑๐ คน* ๓ วัน
*๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๕ : ๑๗๘ แห่ง *๑๐ คน* ๓ วัน
*๒,๐๐๐ บาท
๒.๒ การพัฒนาระบบการศึกษา สถานศึกษา ๒๔๐ .๐ งบ ส ถ า น ศึ ก ษ า -จานวนสถานศึ กษาที่
ที่ จ ะช่ ว ยยกระดั บ การรู้ ห นั ง สื อ ทุกสังกัด ต้น ร อ บ รู้ ด้ า น เป็ น องค์ ก รรอบรู้ ด้ า น
และทั ก ษะสุ ข ภาพน าไปสู่ ก าร สังกัด สุขภาพ สุขภาพ
ปรั บ วิ ธี ก ารสอนและหลั ก สู ต ร
ด้ ว ยกระบวนการส่ ง เสริ ม ความ
รอบรู้ด้านสุขภาพด้วย V-shape
ตั้งแต่เด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ ก
แ ล ะ ย ก ร ะ ดั บ ป ฏิ สั ม พั น ธ์
(Interactive HL) และคิดวิเคราะห์
(Critical HL) ของนักเรียนในระดับ
มัธยมศึกษา
- งบด าเนิ น งาน (พั ฒ นา
มา ตร ฐ าน +ป ร ะเ มิ น รั บร อ ง
มาตรฐาน)(สถานศึกษา)
๑๒๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ปี ๖๑ : ๓,๐๐๐ แห่ง *๒ คน* ๒ วัน
*๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๒-๖๔ : ๗,๕๐๐ แห่ง *๒ คน*๒
วัน *๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๕ : ๔,๕๐๐ แห่ง *๒ คน* ๒ วัน *
๒,๐๐๐ บาท

๒.๓ พัฒนาระบบวัฒนธรรมและ สศช. ๓๐๐.๑ งบ ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ -เป็ น ประเด็ น หนึ่ ง ใน


ความเชื่อ (หมู่บ้าน) ๗๕,๐๓๒ ทุกกระทรวง ต้น ชาติ ๒๐ ปี แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ
แห่ง สังกัด แล ะสั งค มแ ห่ ง ช า ติ
ปี ๖๑ : ๗,๕๐๐ แห่ง *๒ คน* ๑ วัน และแผนพัฒนาของทุก
*๒,๐๐๐ บาท กระทรวง
ปี ๖๒-๖๔ : ๑๘,๗๕๘ แห่ง *๒ คน*๑
วัน *๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๕ : ๑๑,๒๕๐ แห่ง *๒ คน* ๑ วัน
*๒,๐๐๐ บาท

๓. การศึกษาวิจัยเชิงประเมินผล ๑๗๘.๙
๑๒๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓.๑ ส ารวจความรอบรู้ ด้ า น สานักงาน ๒๐.๐ สานัก พ ฤ ติ ก ร ร ม -ระดับความรอบรู้ด้าน
สุขภาพของประชาชนไทยทุก ๓ สถิติแห่งชาติ งบประมาณ สุ ข ภ า พแล ะ สุ ข ภ า พ แ ล ะ ร ะ ดั บ
ปี ๕ ปี ๑๐ ปี ผลลั พ ธ์ ที่ พึ ง ปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้น
ประสงค์ ของ
ประชาชน
๓.๒ การวิจัยการทางาน ด้วย หน่วยบริการ ๙๐.๐ -วช วิธีการทางาน -ป ร ะ ช า ช น มี พ ลั ง
ฐานข้ อ มู ล เชิ ง ประจั ก ษ์ ใ นการ สุขภาพทุก -สวรส. ใหม่เชิงบริบท อ านาจในการจั ด การ
ท างาน(Evidence Based สังกัด และสิ่งแวดล้อม สุขภาพตนเอง
ที่ เ รี ย ก ว่ า Implementation
science research Practice (๑๖
กระทรวง) กระทรวงละ
๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๓.๓ จัดทาต้นทุน (Unit cost) คณะกรรมการ ๔๓.๙ สานัก ต้ น ทุ น ที่ -มี ข้ อ มู ล ต้ น ทุ น (Unit
สาหรับการสนับสนุนด้านการเงิน จัดทาชุดสิทธิ งบประมาณ แท้จริงสาหรับ cost) การบริ ก ารของ
ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ปรับจาก ประโยชน์ การจัด บริการ กระบวนการส่ ง เสริ ม
ก า ร ใ ห้ สุ ข ศึ ก ษ า แ ล ะ ป รั บ IHPP สภาวิจัย ตา ม ชุ ด สิ ท ธิ ความรอบรู้สุขภาพเป็น
พฤติกรรมสุขภาพ เป็นการใช้ HITAP แห่งชาติ ประโยชน์ด้วย ชุดสิทธิประโยชน์
กระบวนการส่งเสริมความรอบรู้ สปค. กระบวนการ
๑๒๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
สุขภาพV-shapeในระบบบริการ สปสช. สวรส. ส่งเสริม ความ
สุขภาพทุกมิติ กรมบัญชีกลาง รอบรู้สุขภาพ
ปี ๖๑ : ๑๐๐ แห่ง *๒ คน* ๕ วัน * ประกันสังคม
๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๒-๖๔ : ๒๐๐ แห่ง *๒ คน* ๕ วัน
*๒,๐๐๐ บาท
ปี ๖๕ : ๑๗๘ แห่ง *๒ คน* ๕ วัน *
๒,๐๐๐ บาท

๓.๔ Center of Health Literacy ก.สธ. และ ๒๕.๐ สานัก ค ลั ง ปั ญ ญ า -Center of Health
excellence รวบรวมงานวิจัยและ ภาคีด้าน งบประมาณ health Literacy excellence
องค์ความรู้วิชาการ สุขภาพทุก literacy กลาง และกระจายทุ ก
- Application สังกัด หน่วยงาน

๔. พัฒนากาลังคนด้านการ ๒๘๙.๐
๑๒๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ส่งเสริม ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
๔.๑ พัฒนาชุดสมรรถนะหลักและ กพร. ๑๗๕.๐ สานัก แ พ ท ย์ -ร้ อ ย ล ะ ๓ ๕ ข อ ง
รูปแบบ หลั กสู ตร การฝึกอบรม กพ. งบประมาณ เ จ้ า ห น้ า ที่ / เจ้าหน้าที่แต่ละสังกัด
ส าหรั บ บุ คลากรสาธารณสุ ขทุ ก บุ ค ล า ก ร
ระดับ (๓๕,๐๐๐ คน) ส า ธ า ร ณ สุ ข
ปี ๖๑ = ๓,๕๐๐ คน*๕,๐๐๐ ร อ บ รู้ ด้ า น
บาท/คน/ปี สุ ข ภ า พ
ปี ๖๒-๖๔ : ๘,๗๕๐ คน*๕,๐๐๐ (Health literate
บาท/คน/ปี staff)
ปี ๖๕ = ๕,๒๕๐ คน*๕,๐๐๐
บาท/คน/ปี

๔.๒ พัฒนาหลักสูตรและผลิต มหาวิทยาลัย ๔๐.๐ งบ นัก ศึ ก ษารอบ -นักศึกษาผ่านหลักสูตร


นักศึกษาด้านส่งเสริมความรอบรู้ มหาวิทยา รู้ดา้ นสุขภาพ ส่ ง เสริ ม ความรอบรู้
ด้านสุขภาพ (๒,๐๐๐ คน) ลัย ด้านสุขภาพ

ปี ๖๑ = ๒๐๐ คน*๒๐,๐๐๐
๑๒๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
บาท/คน/ปี
ปี ๖๒-๖๔ : ๕๐๐ คน*๒๐,๐๐๐
บาท/คน/ปี
ปี ๖๕ = ๓๐๐ คน*๒๐,๐๐๐
บาท/คน/ปี
๔.๓ เพิ่ม การทางานเชิ งการ หน่วยบริการ ๔๙.๐ สานัก ศั ก ยภาพการ -ร้อยละ ๗๐ เจ้าหน้าที่
ขับเคลื่อนมากกว่าการให้บริการ สุขภาพทุก งบประมาณ ท า ง า น เ ชิ ง ที่ผา่ นการประเมิน
และให้ความรู้หรือสอน(on the สังกัด ขับเคลื่อนการ
job training) ๒๔,๕๐๐ คน (ร้อย ปฏิ รู ป บริ ก าร
ละ ๗๐ ของ ๔.๑) ปฐมภูมิ
ปี ๖๑ = ๒,๔๕๐ คน*๒,๐๐๐
บาท/คน/ปี
ปี ๖๒-๖๔ : ๖,๑๒๕ คน*๒,๐๐๐
บาท/คน/ปี
ปี ๖๕ = ๓,๖๗๕ คน*๒,๐๐๐
บาท/คน/ปี

๔.๔ พัฒ นาต่ อ ยอดน าเสนอ มหาวิทยาลัย ๒๕.๐ สานัก -คุ ณภาพการ -จานวนนวัตกรรมด้าน
๑๒๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ผลงานวิจัยด้านการส่งเสริมความ เครือข่าย งบประมาณ ให้บริการ การส่งเสริมความรอบรู้
รอบรู้ด้านสุขภาพโดยร่วมมือกับ สมาคมภาค -ส ร้ า ง เ ค รื อ ด้านสุขภาพ
สถาบั น ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ เอเชียและ ข่ า ย ท า ง -สมาคมส่ ง เสริม ความ
(๕ คนๆ ละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท) ยุโรป วิ ช า ก า ร กั บ ร อ บ รู้ ด้ า น สุ ข ภ า พ
สถาบั น ชั้ น น า Affiliated กั บ สถาบั น
ของทั้งในและ ต่ า งประเทศ ๑ แห่ ง /
ต่างประเทศ ภาค
๕. พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ๕๕.๐
ความ รอบรู้ด้านสุขภาพ
๕.๑ ประกาศการปฏิรูปความ สานักนายก ๕.๐ ต้น กระแสสั ง คม -จ า น ว น ห น่ ว ย ง า น
รอบรู้ ข องประชาชนเป็ น วาระ รัฐมนตรี สังกัด ขั บ เ ค ลื่ อ น องค์กรที่ประกาศความ
แห่งชาติ (National Agenda) ค ว า ม ร อ บ รู้ ร่วมมือ
ด้านสุขภาพ -จานวนช่องทางสื่อ
๕.๒ คณะกรรมการสร้างเสริม สานักนายก ๕.๐ ต้น ค ณ ะ บุ ค ค ล ๑ ชุด จากหลากหลาย
ความรอบรู้ แ ละสื่ อ สารสุ ข ภาพ รัฐมนตรี สังกัด ก า กั บ ทิ ศ ภาคีผู้มีส่วนได้เสีย
แ ห่ ง ช า ติ โ ด ย ค า สั่ ง ส า นั ก ทางการปฏิรูป
นายกรัฐมนตรี ค ว า ม ร อ บ รู้
ด้านสุขภาพ
๕.๓ จั ด ท าข้อ เสนอและร่ า ง คกก.สร้าง ๑๕.๐ สวรส. กลไกกฎหมาย ร่างระเบียบฯ
๑๒๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ระเบี ย บส านั กนายกรั ฐ มนตรี ว่ า เสริมความ สภาน า ไ ป สู่ แ ผ น
ด้วยการส่งเสริมความรอบรู้ด้าน รอบรู้ฯ วิจัย
แ ล ะ ง บ
สุขภาพ ประมาณ
๕.๔ ก ล ไ ก ท า งก า ร เ งิ น แ ล ะ สานักนายก ๒๕.๐ สานักงาน แหล่งทุน -จานวนงบประมาณที่
งบประมาณ จากแหล่งทุน เช่น รัฐมนตรี สลากกิน ได้รับการจัดสรร
ส านั ก งานสลากกิ น แบ่ ง รั ฐ บาล แบ่ง
หรือระบบภาษี รัฐบาล
หรือ
ระบบ
ภาษี

๕.๕ องค์กรกลางมีความเป็ น คณะกรรม ๕.๐ สานัก องค์ กรอิ สระ -สถาบันส่ งเสริมความ
อิส ระ มื อ อาชีพ ที่ ท าหน้ า ที่ การสร้าง งบประมาณ เชื่ อมร้ อยภาคี ร อ บ รู้ ด้ า น สุ ข ภ า พ
ประสานความร่ ว มมื อ /บริ ห าร เสริมความ ต่ างๆ ทั้ งใน ระ ดั บ ป ร ะเ ท ศ แ ล ะ
ภาคีเครือข่ายแบบ synergic ทั้ง รอบรู้ฯ แ ล ะ ต่ า ง สถาบันในเครือ
ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมใน สานักนายก ป ร ะ เ ท ศ ที่
และนอกประเทศ รัฐมนตรี ระบบราชการ
ไม่คล่องตัว ให้
๑๒๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๘ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ประเทศ
สามารถ
ขับเคลื่อนการ
ปฏิ รู ปค ว า ม
ร อ บ รู้ ด้ า น
สุ ข ภ า พ เ ป็ น
รูปธรรม
๑๒๙

๒.๕.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
ร่างระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ
๑๓๐

๒.๙ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๙: การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ


๒.๙.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
เกิ ด แนวทางการบู ร ณาการงานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคด้ า นสุ ข ภาพในประเทศที่ เ ป็ น ระบบ
มีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
๒.๙.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๙.๓ ตัวชี้วัด
๑) ร้อยละของผู้ได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากบริการด้านสุขภาพ ที่ลดลง
๒) ร้อยละของผู้ได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากบริการด้านสุขภาพ ที่ได้รับการเยียวยาทันท่วงที
๓) ร้อยละของประชาชนมีความรู้เท่าทัน เกี่ยวกับการคุ้มครองบริการ และผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านต่างๆ
๒.๙.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
-
๑๓๑

๒.๙.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑.ทบทวน ออกแบบ โครงสร้าง เกิดแนวทาง - ร้ อ ยละของผู้ ไ ด้ รั บ
กระบวนการ และ กฎหมาย ที่ การบูรณาการ ผลกระทบอั น ไม่ พึ ง
เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค งานคุ้มครอง
ผู้บริโภคด้าน ประสงค์ จากบริ การ
ด้านสุขภาพ จัดทาข้อเสนอ แผน สุขภาพใน ด้านสุขภาพ ที่ลดลง
แม่ บ ท แผนปฏิ บั ติ ก าร แผน ประเทศที่เป็น - ร้ อ ยละของผู้ ไ ด้ รั บ
กากับ ติดตาม ที่เหมาะสม เกิ ด ระบบ ผลกระทบอั น ไม่ พึ ง
ประโยชน์สูงสุดที่เหมาะสม เป็น มีมาตรฐาน ประสงค์ จากบริ การ
ธรรม ต่ อ ผู้ รั บ บริ ก าร และ ผู้ เพื่อให้เกิด
ความต่อเนื่อง ด้ านสุ ขภาพ ที่ ได้ รั บ
ให้ บ ริ ก าร โดยมี เ ป้ า หมายการ
ด าเนิ น การให้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายใน มั่นคง และ การเยียวยาทันท่วงที
พ.ศ. ๒๕๖๕ ยั่งยืน มี - ร้อยละของประชาชน
ประสิทธิภาพ มี ค ว า ม รู้ เ ท่ า ทั น
ทั้ ง นี้ จ ะ ต้ อ ง มี แ ผ น แ ม่ บ ท และเกิด
แ ผ น ป ฏิ บั ติ ก า ร แ ผ น ก า กั บ เกี่ยวกั บการคุ้มครอง
ประโยชน์สูงสุด
สาหรับกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม แก่ผู้บริโภค บริการ และผลิตภัณฑ์
ผู้พิการแยกต่างหากด้วย ด้านสุขภาพ สุขภาพด้านต่างๆ
๑๓๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑.๑) (ร่ า ง)แก้ ไ ข พ.ร.บ. วิ ธี สธ. -ล ด ภ า ร ะ - ตั ว ชี้ วั ด ด้ า น
พิจารณาคดีผู้บริโภค การรักษา ค่าใช้จ่ายด้าน ส า ธ า ร ณ สุ ข ข อ ง
และการช่วยชีวิตคนไม่ใช้สินค้า สาธารณสุ ข ที่ ประเทศดี ขึ้ น เช่ น
หรือบริการ ยกเว้นบริการเสริม ไม่จาเป็น อายุ ขั ย อั ต ราการ
ความงาม -รักษาบุคลากร ป่วย
ด้านสาธารณสุข
ไ ว้ ใ น ร ะ บ บ
ข อ ง รั ฐ ใ ห้
๑.๒) (ร่ า ง) พ.ร.บ.มาตรฐาน สธ.
ได้มากที่สุด
การปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข
: กาหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน -ลดจานวนคดี
ในเวลา-นอกเวลา กรณีฉุกเฉิน ฟ้ อ งร้ อ งและ
กาหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม ร้ อ ง เ รี ย น
กลไกการคุ้ ม ครองในกรณี ที่ ทางการแพทย์
บุคลากรจาเป็นต้องปฏิบัติงาน -คุ ณ ภาพชี วิ ต
เ กิ น ม า ต ร ฐ า น เ พื่ อ ส น อ ง ของบุ ค ลากร
นโยบายของรัฐ สาธารณสุ ข ดี
ขึ้น
๑.๓) (ร่าง) พ.ร.บ.วิธีพิจารณา สธ.
๑๓๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
คดีทางการแพทย์ สร้างกลไกใน
การพิพากษาคดีทางการแพทย์
ในระบบไต่สวนเพื่อช่วยเหลือผู้
พิพากษาในการทาคาพิพากษา
ภายใต้ พ ยานหลั ก ฐานทาง
การแพทย์ ที่ มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ
และเป็ น กลาง โดยไม่ก้าวล่ ว ง
ดุลพินิจโดยอิสระของศาล
๑.๓.๑) ตั้ ง คณะกรรมการ สธ.
ผู้เชี่ยวชาญคดีทางแพทย์

๒ . จั ด ร ะ บ บ ก า ร เ ยี ย ว ย า
ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจาก
การบริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพ อย่ า งมี
ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ เ ป็ น ธ ร ร ม
เหมาะสม และ ทัน ท่ว งที โดยมี
เป้ าหมายการดาเนิ นการให้ แล้ ว
เสร็จ ภายใน พ.ศ. ๒๕๖๓

๓.ผู้ รั บ บริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพมี


๑๓๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ความรู้ เ ท่ า ทั น เกี่ ย วกั บ การ
คุ้ ม ครองบริ ก าร และผลิ ต ภั ณ ฑ์
สุขภาพด้านต่าง ๆ เช่น ผลลัพธ์
ของการให้บริการ ความเสี่ยงต่อ
ผลกระทบที่เกิดจาการให้บริการ
การเตื อ นภั ย ด้ า นสุ ข ภาพที่ ค วร
ระวัง เป็นต้นโดยมีเป้าหมายการ
ด าเนิ น การให้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายใน
พ.ศ. ๒๕๖๓
๓.๑) อาหารปลอดภัย
ต้นน้า
๓.๑.๑) ผลั ก ดั น ให้ มี ก ารน า สธ. กษ. ๑.มี ก ารออก ๑.ร้อยละของสินค้า
ระบบ GAP ที่ขณะนี้ยังเป็นแบบ สคบ. และ กฎหมายบังคับ เกษตร ทั้งพืช ผัก
สมั ค รใจ ให้ เ ป็ น มาตรการทาง หน่วยงานที่ เกษตรกรให้ มี เนื้อสัตว์ และสัตว์น้า มี
กฎหมาย (สนั บ สนุ น เกษตรกร เกี่ยวข้อง มาตรฐาน GAP ความปลอดภัยมาก
ด้ า นเกษตรปลอดภั ย เกษตร พร้อมทั้งมีคู่มือ ยิ่งขึ้น
อินทรีย์) ปฏิบัติงานและ
การอบรม
๑๓๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒ . มี ร ะ บ บ
กากับดู แลเพื่อ
ติ ด ต า ม ก า ร
บั ง คั บ ใ ช้
กฎหมายใน
เบื้ อ งต้ น เน้ น
เชิงส่งเสริมและ
ใ ห้ ค ว า ม รู้
เกษตรกร

๓.๑.๒) มีมาตรการตรวจสอบ สธ. กษ. มีระบบการ ร้อยละของสินค้า


สินค้าอาหาร ณ ด่านนาเข้าให้ มี สคบ. และ ทางานและ อาหารที่นาเข้ามีความ
ประสิทธิภาพ หน่วยงานที่ การตรวจสอบ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
เกี่ยวข้อง เน้นเชิงรุก
มากกว่าเชิง
รับ

๓.๑.๓) ผลักดันให้มีมาตรฐาน สธ. กษ. ๑.ทุกแหล่ง ๑.รัอยละของแหล่ง


๑๓๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
แหล่ งการผลิ ตมากยิ่ งขึ้น โดยใช้ สคบ. และ ผลิตอาหารมี ผลิตอาหารมีมาตรฐาน
ห ลั ก ก า ร ส า ก ล ป รั บ ใ ช้ เ ป็ น หน่วยงานที่ มาตรฐาน มากยิ่งขึ้น
กฎหมาย เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งคู่มือ ๒.ร้อยละของผู้ป่วยโรค
การปฏิบัติงาน อาหารเป็นพิษลดลง
และการอบรม
๒.มีระบบ
กากับ ติดตาม
เน้นเชิงรุก
มากกว่าเชิง
รับ
ต้นน้าและกลางน้า
๓.๑.๔) ผลั กดั น ให้ มี กฎหมาย สธ. กษ. มีกฎหมาย ร้ อ ยละของรถขนส่ ง
บังคับใช้ในเรื่องของการขนส่งและ สคบ. และ และระบบการ อาหารตลอดห่ วงโซ่ มี
การเก็บรักษาอาหารตลอดห่วงโซ่ หน่วยงานที่ ตรวจสอบ มาตรฐาน ความสะอาด
(ซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาส าคั ญ ที่ ยั ง ไม่ มี เกี่ยวข้อง ผู้ขนส่งสินค้า และตรวจสอบได้
หน่ วยงานใดดาเนิ นการและเป็ น อาหารให้มี
ส่วนที่ทาให้เกิดความไม่ปลอดภัย) สุขลักษณะที่ดี
กลางน้า
๑๓๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓.๑.๕) ผลั ก ดัน ให้ มีกฎหมาย สธ. กษ. ๑.ทุกตลาดสด ๑.ร้อยละของ
มาตรฐาน:ตลาดสด/ร้านอาหาร/ สคบ. และ น่าซื้อ/ร้าน ร้านอาหาร/แหล่ง
แหล่งจ าหน่ายอาหารปรุงสาเร็ จ หน่วยงานที่ อาหารที่ จาหน่ายอาหารปรุง
และมีการนาไปปฏิบั ติ มีการคัด เกี่ยวข้อง จาหน่ายอาหาร สาเร็จ มีมาตรฐานมาก
กรองโดยใช้ Test Kits และการ ปรุงสาเร็จมี ยิ่งขึ้น
Tracing (QR code) มาตรฐาน ๒. ร้อยละของ
พร้อมทั้งคู่มือ ร้านอาหาร/แหล่ง
การปฏิบัติงาน จาหน่ายอาหารปรุง
และอบรม สาเร็จ มีความ
๒ . มี ร ะ บ บ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ก ากั บ ติ ดตาม ๓.ร้อยละของผู้ป่วยที่
เ น้ น เ ชิ ง รุ ก เกิดจากโรคทางเดิน
มากกว่าเชิงรับ อาหารและน้า รวมทั้ง
๓.องค์กร อาหารเป็นพิษลด
ปกครองส่วน น้อยลง
ท้องถิ่นมีการ
บังคับใช้
กฎหมาย
ปลายน้า
๑๓๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓.๑.๖) มีมาตรการดาเนินการ สธ. กษ. ๑.มีระบบการ ร้อยละของการโฆษณา
กับ สื่ ออิ เล็ กทรอนิ ก ส์ และเคเบิ ล สคบ. และ ตรวจสอบการ ที่ไม่ถูกต้องและผิด
ทีวีอย่างจริงจัง หน่วยงานที่ โฆษณาอย่าง กฎหมายลดลง
เกี่ยวข้อง ต่อเนื่อง จริงจัง
เน้นเชิงรุก
มากกว่าเชิงรับ
๒.ให้องค์
ความรู้แก่
ผู้บริโภคอย่าง
ต่อเนื่อง
รวมทั้งเข้าถึง
กลุ่มแม่บ้าน
มากขึ้น
๓.๑.๗) มีระบบฐานข้อมูลและ สธ. กษ. มีระบบฐาน มีระบบฐานข้อมูลที่เป็น
นาไปใช้ เพื่ อการวางแผนในการ สคบ. และ ข้อมูลเพื่อการ รูปธรรม มีผู้ รับผิดชอบ
ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผล หน่วยงานที่ วางแผนในการ เพื่ อการแลกเปลี่ ยน
เกี่ยวข้อง ตัดสินใจ ข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
ป้องกันและ และประเทศ มี การ
แก้ไขปัญหา ประมวลผลข้อมูล มีการ
๑๓๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
อาหาร ที่ไม่ นาไปใช้เพื่อการวางแผน
ปลอดภัยได้ แ ล ะ ตั ด สิ น ใ จ ข อ ง
อย่างมี ผู้บริหารในทุกระดับ
ประสิทธิภาพ

๓.๑.๘)ภาครั ฐ มี ร ะบบการ สธ. กษ. ทุกหน่วยงาน ๑.ร้อยละของ


ทางานที่มี คุณภาพโดยน าระบบ สคบ. และ ของภาครัฐที่ หน่วยงานภาครัฐที่มี
คุ ณ ภ า พ อ า ห า ร ป ล อ ด ภั ย ที่ หน่วยงานที่ ควบคุม ดูแล ระบบการทางานที่ได้
สอดคล้องกับสากล เกี่ยวข้อง อาหารตลอด มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ห่วงโซ่ มี ๒.มีหน่วยงานต้นแบบ
ระบบการ ระบบคุณภาพงาน
ทางานที่เป็น อาหารปลอดภัย
มาตรฐาน
สอดคล้องกับ
หลักการสากล

๓.๑.๙)สนั บ สนุ น ประชาชน สธ. กษ. อ า ห า ร ทุ ก ร้ อ ย ล ะ ข อ ง อ า ห า ร


บริ โ ภ ค อา หา ร ปล อด ภั ย ( ปี สคบ. และ ประเภทมีความ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้ง
๑๔๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๙ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท)
เงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒๕๖๑-๒๕๖๒ ผั ก ผลไม้ ปี หน่วยงานที่ ปลอดภั ย มาก ผั ก ผลไม้ ปี ๒๕๖๑-
๒๕๖๓-๒๕๖๔ เนื้ อ สั ต ว์ แ ละ เกี่ยวข้อง ยิ่ ง ขึ้ น เ น้ น ๒๕๖๒ เนื้ อ สั ต ว์ แ ละ
อื่นๆ) โรงพยาบาล(ปี อื่ น ๆ ปี ๒ ๕ ๖ ๕ ๓ -
๒๕๖๑)/ ๒๕๖๔
โ ร ง เ รี ย น
(ปี ๒๕๖๒)/
วัด(ปี ๒๕๖๓)
๑๔๑

๒.๙.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
๒) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑
๓) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐
๔) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
๑๔๒

๒.๑๐ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๑๐: ระบบหลักประกันสุขภาพ


๒.๑๐.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) เป้าหมายระยะ ๒๐ ปี
 ประชาชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี
 มีความเป็นธรรมสาหรับประชาชนทุกกลุ่ม (รวมทั้งบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิและคน
ต่างด้าว) ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จาเป็นอย่างมีคุณภาพ และมีการร่วมรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายตามกาลัง
ความสามารถในการจ่าย
 ประเทศสามารถรองรับค่าใช้จ่ายด้านหลักประกันสุขภาพได้อย่างยั่งยืน และมีแหล่งเงินที่
เพียงพอสาหรับการจัดบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
๒) เป้าหมายระยะ ๕ ปี
 ประชาชนมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงขึ้น สามารถดูแลตัวเอง และใช้บริการสุขภาพได้
อย่างเหมาะสม
 ประชาชนทุ ก กลุ่ ม มี โ อกาสเท่ า เที ย มกั น ในการเข้ า ถึ ง บริ ก ารสาธารณสุ ข ที่ จ าเป็ น อย่ า งมี
คุณภาพ
 มี ก ลไกหลั ก ในการบริ ห ารจั ด การทางการคลั ง สุ ข ภาพระดั บ ชาติ โดยค่ า ใช้ จ่ า ยด้ า น
หลักประกันสุขภาพอยู่ในระดับ ที่การคลังของประเทศสามารถรองรับได้ และสถานพยาบาลใช้กรอบแนวคิดการ
จัดบริการที่เน้นความคุ้มค่า
๓) เป้าหมายระยะ ๑ ปี
 มีแผนวิจัยพัฒนาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง
 มี ก ารก าหนดชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ห ลั ก ที่ ส ามารถด าเนิ น การได้ ใ นบางเรื่ อ ง และได้ แ ผนการ
ดาเนินงานหลักประกันสุขภาพสาหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะสิทธิและคนต่างด้าว
 มีการศึกษาทางเลือกแหล่งรายได้เพิ่มเติม และรูปแบบสิทธิประโยชน์และบริการ รวมถึงจัดทา
กลไกบริหารจัดการด้านการคลังสุขภาพ เรื่องธุรกรรมการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการ และพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง
เรื่องการคลังบริการสุขภาพ และมาตรฐานรายงานต้นทุน พร้อมทั้งนาร่องการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ และกลไก
การจ่ายที่เน้นความคุ้มค่า
๒.๑๐.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
๒.๑๐.๓ ตัวชี้วัด
๑) ระยะ ๒๐ ปี
 อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
 รายจ่ายสุขภาพรัฐต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔.๓ ของ GDP
 รายจ่ายสุขภาพภาครัฐต่อรายจ่ายภาครัฐรวม (GGHE: GGE) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๗
๑๔๓

 มี แ ห ล่ ง เ งิ น เ พิ่ ม เ ติ ม ส า ห รั บ ก า ร จั ด บ ริ ก า ร ห ลั ก ป ร ะ กั น สุ ข ภ า พ อ ย่ า ง ยั่ ง ยื น
อีกอย่างน้อยร้อยละ ๐.๘ ของ GDP
 สถานการณ์ด้านการเงินของหน่วยบริการภาครัฐไม่เกิดวิกฤต
 รายจ่ายต่อหัวที่ปรับด้วยโครงสร้างประชากรในสิทธิประโยชน์หลักของแต่ละกองทุน ต่างกัน
ไม่เกินร้อยละ ๑๐
 รายจ่ายสุขภาพรวมภาครัฐต่อผลผลิตมวลรวม (GGHE: GDP) ไม่เกินร้อยละ ๕.๒
๒) ระยะ ๕ ปี
 อั ต ราการนอนโรงพยาบาลโดยไม่ จ าเป็ น ซึ่ ง วั ด ด้ ว ย Ambulatory Care Sensitive
Condition: ACSC ลดลง
 อั ตราการตายของกลุ่ มโรคที่ สามารถป้ องกั นการตายโดยไม่ จ าเป็ น (Amenable and
preventable deaths) ลดลง
 รายจ่ายสุขภาพรัฐต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓.๕ ของ GDP
 รายจ่ายสุขภาพภาครัฐต่อรายจ่ายภาครัฐรวม (GGHE: GGE) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๗
 สถานการณ์ด้านการเงินของหน่วยบริการภาครัฐไม่เกิดวิกฤต
 มีแหล่งเงินเพิ่มเติมสาหรับการจัดบริการหลักประกันสุขภาพอย่างยั่งยืน อีกอย่างน้อยร้อยละ
๐.๒๕ ของ GDP
 รายจ่ายต่อหัวที่ปรับด้วยโครงสร้างประชากรในสิทธิประโยชน์หลักของแต่ละกองทุน ต่างกัน
ไม่เกินร้อยละ ๑๐
 รายจ่ายสุขภาพภาครัฐต่อผลผลิตมวลรวม (GGHE: GDP) ไม่เกินร้อยละ ๔.๒
๓) ระยะ ๑ ปี
 มีแผนวิจัยพัฒนาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในเรื่องโรคเรื้อรัง ให้สามารถดูแลตัวเองและใช้
บริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
 มีการกาหนดรายการในชุดสิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพ เพื่อใช้ในระบบประกันสุขภาพของ
รัฐทุกระบบ จานวน ๓ เรื่อง
 มี ก ารก าหนดรายการในชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ เ สริ ม โดยมอบหมายให้ แ ต่ ล ะกองทุ น รวมทั้ ง
สานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นผู้ดาเนินการ
 มีข้อเสนอแผนปฏิรูปการคุ้มครองด้านสุขภาพแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมทั้งผู้ที่
ไม่ใช่ประชาชนชาวไทย ทีร่ วมถึงแหล่งเงิน
 มีแผนปฏิรูปเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของการดาเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพ ผ่านการหา
แหล่งการคลังเพิ่มเติม
 มี ก ารคาดการณ์ ผ ลกระทบทางการคลั ง วางระบบ หลั ก เกณฑ์ และแนวทางพิ จ ารณา
งบประมาณแผ่นดิน เพื่อสนับสนุนการดาเนินหลักประกันสุขภาพของประเทศ
๑๔๔

 มีข้อเสนอมาตรการอย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมการรองรับกรณีหลักประกันสุขภาพไม่ได้รับ
งบประมาณสนับสนุนตามอัตราที่กาหนด
 ได้ แผนการปฏิ รู ปการจ่ ายเงิน แบบเพิ่ม ความคุ้ ม ค่า (Value-based Health Service
Payment Model)
๒.๑๐.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
ค่า ใช้ จ่ ายส าหรั บ การปฏิ รู ป ระบบหลั ก ประกัน สุ ขภาพ ๑๖๙.๙ ล้ า นบาท โดยใช้ แหล่ งเงิ นจาก
งบประมาณแผ่นดิน
๑๔๕

๒.๑๐.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑. กาหนดชุดสิทธิประโยชน์หลัก ๒๐.๕๕ หน่วยงานที่
สาหรับ คนไทยทุกคน รวมทั้งชุด รับผิดชอบ
สิ ท ธิ ป ระโยชน์ เ สริ ม และมี ก าร หลักในแต่ละ
ประมาณการค่ า ใช้ จ่ า ยตามชุ ด กิจกรรมย่อย
สิทธิประโยชน์ รวมถึงแหล่ งเงิน
ส า ห รั บ ก า ร จั ด ห ลั ก ป ร ะ กั น
สุขภาพ
๑.๑ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์  กระทรวง กระทรวง ชุดสิทธิประโยชน์ รายการชุดสิทธิ
สาธารณสุข
ห ลั ก พ ร้ อ ม ป ร ะ ม า ณ ก า ร  องค์กรวิชาชีพ
สาธารณสุข หลัก ประโยชน์หลักอย่าง
ค่าใช้จ่ายและแหล่งเงิน  สานักงาน
น้อย ๓ ประเภทในปี
(๑) พัฒนารูปแบบการกาหนดชุด หลักประกัน แรก
สุขภาพ
สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ห ลั ก และเริ่ ม แห่งชาติ
ดาเนินการในเรื่องที่พร้อม (สปสช.)
๑๔๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
(๒)ดาเนินการเต็มรูปแบบ  สานักงาน
ประกันสังคม
(สปส.)
 กรมบัญชีกลาง
 สถานพยาบาล
ภาคประชา
สังคม
๑.๒ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์  กระทรวง  สปสช. ชุดสิทธิประโยชน์ รายการชุดสิทธิ
สาธารณสุข
เสริ ม ๑ พร้ อ มประมาณการ  สปส. เสริม๑ ประโยชน์เสริม๑
 องค์กร
ค่าใช้จ่ายและแหล่งเงิน วิชาชีพ  กรมบัญชีกลาง
(๑)พัฒนารูปแบบการกาหนดชุด  สปสช.
สิ ทธิ ประโยชน์ เ สริ ม ๑ และเริ่ ม  สปส.
ดาเนินการในเรื่องที่พร้อม  กรมบัญชีกลาง
(๒)ดาเนินการเต็มรูปแบบ  สถานพยาบาล
 ภาคประชา
สังคม
๑๔๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๑.๓ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์  คปภ.  สานักงาน ชุดสิทธิประโยชน์ รายการชุดสิทธิ
เสริ ม ๒ พร้ อ มประมาณการ  กระทรวง คณะกรรมการ เสริม ๒ ประโยชน์เสริม ๒
ค่าใช้จ่ายและแหล่งเงิน สาธารณสุข การกากับและ
(๑)พัฒนารูปแบบการกาหนดชุด  องค์กร ส่งเสริมการ
สิ ทธิ ประโยชน์ เ สริ ม ๒ และเริ่ ม วิชาชีพ ประกอบธุรกิจ
ดาเนินการในเรื่องที่พร้อม  สปสช.
ประกันภัย
(คปภ.)
(๒)ดาเนินการเต็มรูปแบบ  สปส.
 สปสช.
 กรมบัญชีกลาง
 สปส.
 สถานพยาบาล
 ภาคประชา  กรมบัญชีกลาง
สังคม
๒. การคุ้ ม ครองด้ า นสุ ข ภาพแก่  กระทรวง ๑๑.๕๐  คนต่างด้าว ๑. มีระบบการคุ้มครอง
บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ สาธารณสุข  บุคคลที่มีปัญหา
ด้านสุขภาพสาหรับ
บุคคลที่มีปัญหาสถานะ
รวมทั้ ง ผู้ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ป ระชาชนไทย สถานะและสิทธิ และสิทธิ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่
รวมถึงแหล่งเงิน ประชาชนไทย
๑๔๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๒.๑ ก าหนดแผนการจั ด ระบบ  กระทรวง ๐.๕๐  กระทรวง  นักท่องเที่ยว ๒. มีร่างกฎหมาย
ความคุ้มครองแก่บุคคลที่มีปัญหา แรงงาน สาธารณสุข ต่างชาติ สาหรับระบบการ
สถานะและสิทธิ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่  กระทรวง  กระทรวง คุ้มครองด้านสุขภาพ
ประชาชนไทย มหาดไทย แรงงาน สาหรับบุคคลที่มีปัญหา
 กระทรวง
การ สถานะและสิทธิ รวมทั้ง
ท่องเที่ยว ผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทย
และกีฬา ๓. มีการกาหนดแหล่ง
๒.๒ การปรั บ ปรุ ง กฎหมายและ ๑.๐๐ เงินสาหรับใช้ในการ
จัดทาร่างกฎหมายสาหรับการจัด คุ้มครองสุขภาพบุคคล
หลักประกันสุขภาพและแหล่งเงิน ที่มีปัญหาสถานะและ
สาหรับคนต่างชาติ สิทธิ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่
ประชาชนไทย
๒.๓ การด าเนิ น การน าร่ อ ง ๑๐.๐๐ เบี้ยประกัน
ดาเนินการระบบประกันสุขภาพ
ส าหรั บ คนต่ า งด้ า ว บุ ค คลที่ มี
ปั ญ หาสถานะและสิ ท ธิ รวมทั้ ง
นักท่องเที่ยวต่างชาติ
๑๔๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๓. พัฒนากลไกหลักในการบริหาร ๖๗.๓๐ หน่วยงานที่
จัดการทางการคลังสุขภาพ รับผิดชอบ
ระดับประเทศ หลักในแต่ละ
(เชื่อมโยงกับประเด็นการปฏิรูป กิจกรรมย่อย
เรื่องระบบเทคโนโลยีและ
สารสนเทศสุขภาพ)
 กระทรวง
๓.๑ การจัดตั้งสานักงานกลางทา การคลัง ๔๗.๓๐  กระทรวง เกิดสานักงานกลาง
หน้ าที่ พั ฒ นามาตรฐานและการ  กระทรวง สาธารณสุข
จัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะการ สาธารณสุข
 สานักงาน  สานักงาน
เบิกจ่ายค่าบริการ กลาง กลาง
(๑) พัฒนากลไกการจ่ายรูปแบบ  องค์กร ก ล ไ ก ก า ร จ่ า ย มี มีการพัฒ นากลไกการ
วิชาชีพ เอกภาพ จ่ายอย่างน้อย ปีละ ๑
ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สปสช.
เช่ น การจ่ า ยที่ ส นั บ สนุ น ให้ เ กิ ด  สปส.
เรื่อง
บริ ก ารแบบเพิ่ ม ความคุ้ มค่ าใน  กรมบัญชีกลาง
บริการประเภทต่างๆ  สถานพยาบาล

(๒)พัฒนาระบบ Clearing system  กระทรวง การส่ ง เบิ ก และการ


๑๕๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สาธารณสุข เบิกจ่ายมีเอกภาพ
 สานักงาน

๓.๒ การปรั บ ปรุ งกลไกการจ่ าย ๒๐ กลาง ค ร อ บ ค ลุ ม ทุ ก


เพื่อใช้ร่วมกันในระดับประเทศ ประเภทบริการ
(๑)ปรับปรุงกลไกการกระจายเงิน
แ ล ะ จ่ า ย ช ด เ ช ย เ ดิ ม ใ ห้ มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
(๒)พัฒนา Auditing system ให้
เป็นมาตรฐานเดียวกัน
(๓)ระบบสารสนเทศกลางเพื่ อ
เชื่อมโยงทุกกองทุน
๔. จั ด ท ากฎหมายส าหรั บ การ
อ ภิ บ า ล ก า ร ค ลั ง ร ะ บ บ
หลักประกันสุขภาพ
(พิจารณาได้จากกิจกรรมของการ
ปฏิรูปเรื่องระบบบริหารจัดการ
๑๕๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
ด้านสุขภาพ)

๕. ระบบสารสนเทศทางการคลัง ๔๗.๘๗ หน่วยงานที่


ร ะ บ บ บ ริ ก า ร สุ ข ภ า พ แ ล ะ รับผิดชอบ
มาตรฐานสารสนเทศทางการคลัง หลักในแต่ละ
กิจกรรมย่อย
๕.๑ การพัฒนามาตรฐานรายงาน  กระทรวง  กระทรวง ระบบประกันสุขภาพ ๑.ระบบสารสนเทศด้าน
ต้นทุนการจัดบริการ การทดลอง สาธารณสุข สาธารณสุข ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย เศรษฐกิจสุขสุขภาพและ
(กศภ.)
ใช้ แ ละขยายผลให้ ทุ ก หน่ ว ย (กอง  สปสช.
จานวน ๓ ระบบ หลั กประกั น สุ ขภาพ
บ ริ ก า ร ทั้ ง รั ฐ แ ล ะ เ อ ก ช น เศรษฐกิจ ๒. โปรแกรมมาตรฐาน
 สปส.
ดาเนินการ สุขภาพและ ร า ย ง า น ต้ น ทุ น
หลักประกัน  กรมบัญชีกลาง สถานพยาบาล
(๑)จัดทามาตรฐาน
สุขภาพ
(๒)ทดลองใช้งาน
(๓)ขยายผลให้แก่หน่วยบริการทั้ง
ภาครัฐและเอกชน
๕.๒ การพั ฒ นามาตรฐานการ  กระทรวง  กระทรวง ประเทศไทยมี ๑. ชุ ด มาตรฐาน ๑
จัดเก็บข้อมูลสถิติสาหรับการคลัง สาธารณสุข สาธารณสุข สารสนเทศที่ใช้ในการ ระบบ
๑๕๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
สุขภาพและเศรษฐกิจสุขภาพเพื่อ (กศภ.) (กศภ.) วางแผนทาง ๒ . ดั ช นี ก า ร
ใช้ จั ด ท าดั ช นี ก ารเปลี่ ย นแปลง  กระทรวง การคลังบริการ เปลี่ยนแปลงราคาและ
ราคาและปริมาณบริการ พาณิชย์ สุขภาพ ปริมาณบริการ
(สานักงาน
ดัชนีเศรษฐกิจ
การค้า)
 กระทรวงการ
(๑)พัฒนาต้นแบบ คลัง
(สานักงาน
(๒)ดาเนินการต่อเนื่องทุกปี เศรษฐกิจการ
คลัง)
 ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย
 สานักงาน
สถิติ
แห่งชาติ
 กระทรวง
๕.๓ การพั ฒ นาแบบจ าลอง  กระทรวง
คณิ ต ศา สตร์ ป ระกั น ภั ย แล ะ สาธารณสุข สาธารณสุข
เศรษฐมิ ติ ท างการคลั ง บริ ก าร (กศภ.) (กศภ.)
 สปสช.
สุขภาพ
๑๕๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
 สปส.  สปสช.
 กรมบัญชีกลาง
 สปส.
 ศูนย์วิจัยของ
มหาวิทยาลัย/  กรมบัญชีกลาง
สถาบันวิจัย
๖ . ก า ร พั ฒ น า ต้ น แ บ บ ก า ร  กระทรวง ๒๑.๕๘  กระทรวง การจัดบริการมี ๑. มีรูปแบบการ
จั ด บริ ก ารแบบเพิ่ ม ความคุ้ ม ค่ า สาธารณสุข สาธารณสุข ประสิทธิภาพและ จัดบริการแบบเพิ่ม
แ ล ะ ไ ด้ รั บ ก า ร ช ด เ ช ย อ ย่ า ง  สปสช. ประสิทธิผลสูงขึ้น ความคุ้มค่า และ
เหมาะสม และการขยายผลไปสู่ ดาเนินการได้จริงใน
 สปส.
เรื่องอื่น พื้นที่ทดลองในเรื่องโรค
 กรมบัญชีกลาง เรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง และ
การใช้ยาสมเหตุผล

(๑)พัฒนาต้นแบบ  สถานพยาบาล ๒. มีการพัฒนาเพิ่มปี


๑๕๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
(๒)ขยายไปสู่บริการเรื่องอื่น  ภาคประชา ละ ๒ เรื่อง
สังคม

 กระทรวง
๗. การเพิ่ ม ความรอบรู้ ด้ า น คนไทยมีความรอบรู้
สุขภาพแก่ประชาชน สาธารณสุข ด้านสุขภาพ มี
 สปสช. พฤติกรรมทางสุขภาพ
(พิจารณาได้จากกิจกรรมของการ  สปส.
ปฏิรูปเรื่องความรอบรู้ด้าน ดีขึ้น และสามารถ
 กรมบัญชีกลาง
สุขภาพ) ดูแลตัวเองตลอดจนใช้
 สถานพยาบาล บริการสุขภาพได้อย่าง
 ภาคประชา เหมาะสม
สังคม
 องค์กร
ปกครองส่วน
ท้องถิ่น

๘. การศึกษาและขับเคลื่ อนเพื่อ  คณะกรรม ๑.๑๐ หน่วยงานที่ เพิ่มแหล่งเงิน จานวน งบประมาณสุ ข ภาพ


๑๕๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
เพิ่ ม แหล่ ง เงิ น ส าหรั บ บริ ก าร การปฏิรูป รับผิดชอบ ๔๐,๐๐๐ ล้ า นบาท ภ า ค รั ฐ เ พิ่ ม ขึ้ น จ า ก
สุขภาพที่ภาครัฐมีส่วนร่วม ประเทศด้าน หลักในแต่ละ สาหรับค่าใช้จ่ายด้าน ปี ง บประมาณ พ.ศ.
สาธารณสุข กิจกรรมย่อย สุ ข ภ า พ ภ า ค รั ฐ ๒๕๖๒
(คปสธ.) ภายในปีงบประมาณ
 กระทรวง พ.ศ. ๒๕๖๖
สาธารณสุข
๘.๑ จั ด ท าข้ อ เสนอแนะแหล่ ง  คปสธ. ๐.๑ คปสธ. ข้อเสนอแนะแหล่ง มีข้อเสนอแนะแหล่งเงิน
เงินเพิ่มเติมสาหรับบริการสุขภาพ เงินเพิ่มเติมเบื้องต้น
เพิ่ ม เติ ม ด้ า นสุ ข ภาพ
ที่ภาครัฐมีส่วนร่วม สาหรับบริการสุขภาพที่
ภาครัฐมีส่วนร่วม
๘.๒ จัดตั้งคณะทางานศึกษาความ  กระทรวง ๑.๐ กระทรวง ผลการศึกษาที่ มี ผ ล ก า ร ศึ ก ษ า ที่
เป็ น ไปได้ ข องแหล่ งเงิ น เพิ่ ม เติ ม สาธารณสุข สาธารณสุข สามารถนามาใช้เพื่อ ทั น ส มั ย ต ล อ ด
ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง และ (ภายใต้การ ขับเคลื่อนได้ ระยะเวลาการท างาน
ก า ร ป รั บ ป รุ ง ก ร ะ บ ว น ก า ร กากับของ พัฒนา
งบประมาณ หรื อแก้ระเบียบและ คปสธ.)
กฎหมายที่จาเป็น
๑๕๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑๐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
วงเงิน
ระยะเวลา(พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ (ล้านบาท) แหล่งเงิน
๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔๑๒๓๔
๘.๓ ขั บ เคลื่ อ นเพื่ อ ให้ เ กิ ด การ  คปสธ. และ มีแหล่งเงินเพิ่มเพื่อ มีแหล่งเงินเพิ่มจานวน
จัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม ภาคส่วนที่ การบริการสุขภาพที่ ไ ม่ น้ อ ย ก ว่ า ร้ อ ย ล ะ
เกี่ยวข้อง ภาครัฐมีส่วนร่วม ๐.๒๕ ของ GDP ภายใน
ปีงบประมาณ ๒๕๖๕
๑๕๗

๒.๑๐.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
 ๑) กรณีหลักประกันสุขภาพสาหรับคนไทย เสนอให้มีการตรากฎหมาย เพื่อเป็นกรอบในการ
ปฏิบั ติงาน ร่ วมกัน ระหว่างกองทุน ในการมีสิทธิประโยชน์หลั กร่วมกันทั้งแนวคิด หลั กการ นิยามเชิงปฏิบัติการ
คณะกรรมการชุดต่างๆ และอานาจหน้าที่ของกรรมการแต่ละชุด การดาเนินการในทางปฏิบัติ โดยสาระสาคัญของ
กฎหมายดังนี้
๑.๑) มี ชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ห ลั ก ด้ า นสุ ข ภาพ โดยค านึ ง ถึ ง การตี ค วามทางกฎหมาย ประเด็ น
กระบวนการยุติธรรมทางศาล การคุ้มครองสิทธิทั้งผู้รับบริการและผู้ให้การบริบาล ซึ่งมีความละเอียดอ่อน และอาจ
เป็นความขัดแย้งที่ไม่สมควรเกิดได้
๑.๒) มีชุดสิทธิประโยชน์เสริมด้านสุขภาพ ซึ่งหลักประกันสุขภาพภาครัฐแต่ละหน่วยงานสามารถ
กาหนดแตกต่างกันได้
๑.๓) มีชุดสิทธิประโยชน์เสริมด้านสุขภาพที่เป็นทางเลือก เพื่อร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบริการ
สุขภาพโดยตรงจากประชาชนในส่วนที่เกินจากชุดสิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพ คานึงถึงความเป็นธรรม และการมี
หนี้สินล้นพ้นตัวของครัวเรือนที่ต้องจ่ายบริการสุขภาพโดยตรง ดังนี้
(๑) สร้างแรงจูงใจส่งเสริมระบบประกันสุขภาพเสริมสิทธิประโยชน์เสริมด้านสุขภาพที่เป็น
ทางเลือกร่วมรับผิดชอบต้นทุนโดยจ่ายก่อนป่วย กรณีที่ไม่ใช่สิทธิประโยชน์หลัก (เช่น ค่าห้อง อาหารพิเศษส่วนเกินค่า
อุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น)
(๒) สร้างระบบร่วมรับผิดชอบจ่ายเมื่อป่วย กรณีชุดสิทธิประโยชน์เสริมที่ขยายจากชุดสิทธิ
ประโยชน์หลัก (เช่น คลินิกนอกเวลา การทาหัตถการไม่เร่งด่วนนอกเวลา)
(๓) กรณีที่กาหนดให้มีระบบร่วมรับผิดชอบจ่ายเมื่อป่วย สาหรับกรณีชุดสิทธิประโยชน์หลัก
ต้องกาหนดเพดานร่วมจ่ายต่อปี (Annual ceiling) เพื่อลดภาระ กรณีผู้ที่เป็น โรคเรื้อรังและออกแบบให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตาบล แล้วแต่ว่าเป็นประชากรของเขตใด) มีส่วนรับผิดชอบ
ต้นทุนส่วนนี้สาหรับผู้ที่ยากไร้ตามที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๙
(๔) ต้องออกแบบให้ มีระบบติดตามความเหลื่ อมล้ าที่สั งคมยอมรับได้ยากเพื่อร่ว มกั น
ติดตามผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์
๑.๔) ให้มีคณะกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ เพื่อทาหน้าที่เป็นกลไกกลางในการจัดการ
สิทธิประโยชน์สุขภาพ (ภาคผนวก ๑) และจัดให้มีสานักงานเป็นหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุข ทาหน้าที่เป็น
เลขานุการของคณะกรรมการฯ ดาเนิน การให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตาม
ประเมินผลการดาเนินการตามชุดสิทธิประโยชน์เหล่านั้นโดยให้สานักงานได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล
๒) กรณีการคุ้มครองด้านสุขภาพแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่ประชาชน
ไทย รวมถึงแหล่งเงินมีความจาเป็นต้องเร่งดาเนินการปรับปรุงกฎหมายคนเข้าเมือง และจัดทากฎหมายสาหรับการ
จัดประกันสุขภาพภาคบังคับสาหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราวซึ่งรวมถึงคนต่างด้าวที่เข้ามาทางานใน
ประเทศไทยโดยผิดกฎหมายและไม่มีใบอนุ ญาตทางาน โดยยึดหลักสิ ทธิมนุษยชน หลักความยั่งยืนทางการคลั ง
หลักการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ และหลักประสิทธิภาพ (ภาคผนวก ๒) เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพในประเทศ
ไทย ป้องกันและลดความเสี่ยงทางสุขภาพจากการระบาดของโรคติดต่อในประเทศไทย รวมทั้งปัญหาทางการคลัง
สุขภาพทั้งต่อตัวคนต่างด้าวเองและต่อสถานพยาบาลที่ให้บริการเมื่อเกิดการเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ จากการที่
คนต่างด้าวไม่สามารถชาระค่ารักษาพยาบาลได้ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรสุขภาพของประเทศไทยมีประสิทธิภาพและ
เป็นระบบที่ยั่งยืน จาเป็นที่จะต้องมีการจัดระบบประกันสุขภาพ ให้คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการ
ชั่วคราว

ส่วนที่ ๑
ภาพรวมการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
๑.๑ บทนา
๑.๑.๑ บริบทตามข้อกาหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่เกี่ยวข้อง
๑) มาตรา ๒๕๗ การปฏิรูปประเทศต้องดาเนินการเพื่อบรรลุเปูาหมาย ได้แก่ (๑) ประเทศชาติมีความ
สงบเรี ยบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒ นาอย่างยั่งยืนตามหลั กปรัช ญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ (๒) สังคมมีความ
สงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้า (๓) ประชาชนมีความสุข มี
คุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒) หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความ
คิดเห็นฯ เว้นแต่โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคง
คุ้มครองสิทธิเสรีภ าพของบุคคลอื่น รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือเพื่อปูองกัน
สุขภาพของประชาชน / มาตรา ๓๕ บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอ
ข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ / มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพใน
การติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ
๓) หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๙ รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ
หน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการฯ / มาตรา
๖๐ รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอั นเป็นสมบัติของชาติ เพื่อ
ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนฯ /มาตรา ๖๑ รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่
มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ
๑.๑.๒ ข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑) วิทยุและโทรทัศน์ อาทิ พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๑ พ.ร.บ. องค์กร
จัดสรรคลื่ น ความถี่และกากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสี ยง วิทยุโ ทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
๒) สิ่งพิมพ์ ได้แก่ พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
๓) ภาพยนตร์ ได้แก่ พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
๔) โทรคมนาคม ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ พ.ร.บ. การประกอบ
กิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๙ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๐

๑.๒ สถานการณ์และแนวโน้ม
๑.๒.๑ สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก
๑) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทาง
เทคโนโลยี (Technology Disruption) ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อโดยรวม โดยเฉพาะการเข้ามา
ของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สมาร์ททีวี โทรทัศน์ดิจิตอล ตลอดจนการมีผู้ให้บริการ Platform หลัก
จากต่างประเทศ อาทิ Facebook Youtube Line และ Twitter ซึ่งมีส่วนแบ่งรายได้มากกว่า
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสื่อของไทย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากได้ช่วยเพิ่มช่องทางในการ
ติดต่อและรับข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการ
สื่อสารมวลชน รวมทั้งสื่อมวลชนที่ต้องแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพให้สอดรับกับเทคโนโลยีดังกล่าว
ทั้งในแง่ของคุณภาพของเนื้อหาสาระ ต้นทุนและรายได้จากการดาเนินการ
๒) การเปลี่ ย นแปลงบทบาทของผู้ บ ริ โ ภคสื่ อ กลายเป็ น ผู้ ผ ลิ ต สื่ อ สื บ เนื่ อ งจากการพั ฒ นาทาง
เทคโนโลยีข้างต้น ผู้บริโภคสื่อ บางส่ว นสามารถเป็นทั้ง ผู้ รับและเป็นผู้ คิดหรือสื่อสารส่ งต่อข้อมูล
ออกไป โดยการเปลี่ ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบันที่บริโภคสื่อและข้อมูล
ข่าวสารที่หลากหลาย ทั้งในด้านการสร้างสรรค์และด้านที่ต้องระมัดระวังในขณะเดียวกัน
๑.๒.๒ สถานการณ์และแนวโน้มภายใน
๑) จริยธรรมในการทาหน้าที่ ในบางกรณีสื่อยังขาดจริยธรรมในการทาหน้าที่ ทาให้มีการเสนอข่าวสาร
ทีไ่ ม่เหมาะสม มากกว่าการนาเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์สาหรับสาธารณชนทาให้เนื้อหาของข่าว
ในบางสื่อเป็นเนื้อหาที่ไม่มีคุณค่าเพียงพอสาหรับประเทศชาติและประชาชน
๒) ความรู้เท่าทันสื่อของประชาชน ประชาชนผู้เสพสื่อยังไม่อาจแยกแยะคุณภาพของสื่อ ยังไม่เข้าใจ
จริยธรรมของสื่อ ทาให้มีประชาชนจานวนมากสนับสนุนสื่อที่ ไม่มีมาตรฐานด้านคุณภาพ ทาให้การ
แก้ไขสื่อให้ทางานอย่างมีคุณภาพเป็นเรื่องที่ยาก เพราะสื่อจะนาเสนอเรื่องราวข่าวสารที่ประชาชนผู้
เสพสื่ อนิย ม นอกจากนี้ ข้อมูลและข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้น ส่ว นหนึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็ นโทษ
หรือไม่เป็นประโยชน์ อาทิ ข่าวลวง และข่าวปลอม
๑.๓ ความสอดคล้องกับร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ
แผนปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์ชาติ ในส่วน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ข้อ ๑.๒ การพัฒนาศักยภาพในการปูองกันประเทศ พร้อมรับมือกับ
ภัยคุกคามทั้งทางทหารและภัยคุกคามอื่น ๆ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการ
แข่งขัน ข้อ ๒.๑ การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ มุ่งเน้นที่การพัฒนาเพิ่มผลิตภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่มูลค่า
ข้อ ๓.๑ การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึง
ประสงค์ โดยบูรณาการร่วมระหว่าง ยุทธศาสตร์ที ๖ ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการภาครัฐ ข้อ ๖.๓ การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม
ทั น สมั ย มี ขี ด สมรรถนะสู ง และสามารถปฏิ บั ติ ง านอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ มี ค วามคุ้ ม ค่ า และเที ย บได้ กั บ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


มาตรฐานสากล สามารถรองรั บ กั บ สภาพแวดล้ อมในการปฏิ บั ติ งานที่มี ค วามหลากหลายซั บซ้ อ นมากขึ้ น


และทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
๑.๔ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อดาเนินการแล้วเสร็จ
๑.๔.๑ เป้าหมายรวม
๑) “การมุ่งเน้นการสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของการทาหน้าที่ของสื่อบนความรับผิดชอบกับการ
กากับที่มีความชอบธรรม และการใช้พื้นที่ดิจิทัล เพื่อการสื่อสารอย่างมีจรรยาบรรณ ดารงรักษา
เสรี ภาพของการแสดงออก การรับรู้ของประชาชน ด้วยความเชื่อว่าเสรีภาพของการสื่ อสารคือ
เสรีภาพของประชาชนตามแนวทางของประชาธิปไตย”
๒) สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ในการให้ความรู้ แก่ประชาชน ปลูกฝังวัฒนธรรมของชาติ และปลูกฝัง
ทัศนคติที่ดี

๑.๔.๒ ตัวชี้วัดที่สาคัญ
๑) หลั ก สู ต รด้ า นสื่ อ ศึ ก ษาได้ รั บ การบรรจุ ใ นการศึ ก ษาภาคบั ง คั บ (ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา) และ
ระดับอุดมศึกษา ภายในปี ๒๕๖๒
๒) จานวนรายการที่มีเนื้อหาสาระสร้างสรรค์มีประโยชน์ บนสานึกของความเป็นไทยร่วมสมัย และ
สอดคล้องกับการดารงตนของประชาชนในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างผู้มีอารยธรรม เพิ่มขึ้น

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๓) มี พ.ร.บ. ส่ ง เสริ ม จริ ย ธรรมและวิ ช าชี พ สื่ อ มวลชนบั งคั บ ใช้ และคู่ มื อมาตรฐานกลางทางด้ า น
จริยธรรมของวิชาชีพสื่อ
๔) สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพ และผังรายการมีการจัดสรรช่วงเวลา
ให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเป็นผู้ผลิต ในรูปแบบเช่าเวลาหรือผลิต
รายการร่วมกันในอัตราส่วน ร้อยละ ๓๐ หรือ ๔๐
๕) มีระบบการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
กับสื่อออนไลน์ต่างประเทศ มีการจัดตั้งส่วนงานหรือหน่วยงานทาหน้าที่ประสานงานที่มีรูปแบบ
ชัดเจน มีลักษณะเป็น Official Point of Contact เพียงหน่วยงานเดียว
๖) มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. .... และ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... และมีการจัดทานโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์การ
รักษาความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานสาคัญด้านสารสนเทศของประเทศ ตลอดจน แผน
เตรียมความพร้อมหรือประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับ
อุตสาหกรรมหรือระดับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของหรือมีโครงสร้างพื้นฐานสาคัญด้านสารสนเทศของ
ประเทศโดยสอดคล้องกับมาตรฐานในระดับสากล
๗) กสทช. ดาเนินการให้มีความพร้อมในการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน ๘๑๔ - ๘๒๔ เมกะเฮิรตซ์ และ
๘๕๙ - ๘๖๙ เมกะเฮิรตซ์ ไว้ใช้งานและให้บริการเป็นการเฉพาะภารกิจด้านปูองกันและบรรเทา
สาธารณภัย และประโยชน์สาธารณะ ในต้นปี ๒๕๖๔
๘) มีพระราชบัญญัติว่าด้วยดาวเทียมสื่อสารและการดาเนินกิจการในอวกาศ พ.ศ. .... และกฎหมายอื่น
ที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานทาหน้าที่ด้านอวกาศแห่งชาติ
๙) การให้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐ มีมาตรฐานความแม่นยา ความรวดเร็ว และมีช่องทาง
การติดต่อสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้น
๑๐) หลักสูตรด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัลได้รับการบรรจุในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของภาครัฐของ
หน่วยงานต่าง ๆ
๑.๔.๓ วงเงินและแหล่งเงิน
๑) ใช้แหล่งเงินงบประมาณประจาปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม กระทรวงศึกษาธิการ สานักงาน กสทช. สานักงานตารวจแห่งชาติ (กองบังคับการปราบปราม
การกระท าความผิ ด เกี่ ย วกั บ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) กระทรวงการคลั ง
(กรมสรรพากร) กระทรวงมหาดไทย (กรมปู อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย ) ส านั ก งานปลั ด
สานักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒) เงินสนับสนุนจากกองทุน เช่น กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ


กิจการโทรคมนาคมฯ และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นต้น
๓) เงินสนับสนุนจากภาคเอกชน และองค์กรสื่อในรูปแบบประชารัฐ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


ส่วนที่ ๒
เรื่องและประเด็นปฏิรปู
๒.๑ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน
๒.๑.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือการมีส่วนร่วมของรัฐ -สื่อ-เอกชน-และประชาชน ในการร่วม
รณรงค์การใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันสื่อ
๒) การวางระบบ-กลไกในการเรียนรู้และมีประสบการณ์ร่วมในการเรียนรู้ด้านสื่อศึ กษา เพื่อให้เกิด
ความรู้จัก การรู้จริต และการรู้เท่าทันนวัตกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ทัน
กับพลวัตการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบในทุกระดับ
๓) การเปิดพื้นที่แห่งการบ่มเพาะสื่อ (media lab) ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอด
นวัตกรรมสื่อสาร ที่ร่วมกันพัฒนา “คลังปัญญาของแผ่นดิน” อันได้แก่ เนื้อหาสาระที่สร้างสรรค์
มีประโยชน์ บนสานึกของความเป็นไทยร่วมสมัย และสอดคล้องกับการดารงตนของประชาชน
ในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างผู้มีอารยธรรม
๒.๑.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
๑) ระยะ ๑-๒ ปี การจั ด รณรงค์ ใ นสื่ อ สารมวลชนและบนสื่ อ ดิ จิ ทั ล ในรู ป แบบของ
การประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์ ที่หลากหลาย และการใช้คนดัง (Celebrities) ใน
แวดวงบันเทิงและกีฬา เป็นผู้นาเสนอ (presenters) ในการเชิญชวนให้ประชาชนรู้จักเลือก ที่
จะบริโภคสื่อที่มีคุณภาพและมีคุณค่า รวมทั้ง การจัดสัมมนาเรื่อง “การรู้เท่าทันสื่อ” ในโรงเรียน
และในมหาวิทยาลัยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
๒) ระยะ ๓-๕ ปี การบรรจุสาระเกี่ยวกับ “การรู้เท่าทันสื่อ” ให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาในระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเป็นวิชาพื้นฐานระดับอุดมศึกษา
๒.๑.๓ ตัวชี้วัด (ณ สิ้นแผนปี ๒๕๖๔)
๑) หลั กสู ตรด้านสื่ อศึกษาได้รับการบรรจุในการศึกษาภาคบังคับ (ระดับมัธ ยมศึกษา) และ
ระดับอุดมศึกษา ภายในปี ๒๕๖๒
๒) จ านวนการใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต เป็ น เครื่ อ งมื อ หรื อ ช่ อ งทางเพื่ อ ก่ อ ให้ เ กิ ด การคุ ก คาม ล่ อ ลวง
และการกลั่นแกล้ง (Cyberbullying) ที่ได้รับการบันทึก ลดลงร้อยละ ๕๐
๓) จานวนรายการที่มีเนื้อหาสาระสร้างสรรค์มีประโยชน์ บนสานึกของความเป็นไทยร่วมสมัย และ
สอดคล้องกับการดารงตนของประชาชนในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างผู้มีอารยธรรม เพิ่มขึ้น
๔) มีมาตรการทางภาษีที่ช่วยลดภาระทางภาษีให้กับภาคธุรกิจที่มีโครงการการณรงค์ส่งเสริมการใช้
สื่ออย่างสร้างสรรค์ นอกเหนือจากที่สามารถนามาเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีตามปกติ
๒.๑.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
ใช้แหล่งเงินงบประมาณประจาปีของ ศธ. เงินสนับสนุนจากกองทุน กทปส. และเงินสนับสนุนจาก
ภาคเอกชนองค์กรสื่อในรูปแบบประชารัฐ
ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

๒.๑.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส) วงเงิน
ผู้รับ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑. การจัด รณรงค์ ในสื่ อ สารมวลชน กสทช. องค์กรสื่อ ส ร้ า ง ค ว า ม  Cyber Bullying ที่
และบนสื่อดิจิทัล ในรูปแบบของการ (สถานีวิทยุ และ ตระหนักในกลุ่ม บันทึก ลดลงร้อยละ
ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ด้ ว ย วิ ธี ก า ร โทรทัศน์ ในกากับ ประชาชนทั่วไป ๕๐
ประชาสัมพันธ์ ที่หลากหลาย โดยให้มี ของภาครัฐ) กองทุน
การวางแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารที่ กทปส. กรม  จานวนรายการRating
ชัดเจน เป็นกรอบในการทางาน ประชาสัมพันธ์ กอง ต่า ลดลงร้อยละ ๕๐
งานโฆษก ศธ. วธ.  จานวนการรายงานหรือ
๒. ใช้คนดัง (Celebrities) ในแวดวง กสทช. องค์กรสื่อ สร้างความ ร้องเรียนการนาเสนอ
บั น เทิ ง แ ละกี ฬ า เป็ น ผู้ น าเสนอ (สถานีวิทยุ และ ตระหนักในกลุ่ม ข้อมูลข่าวสารที่ไม่
(presenters) ในการเชิ ญ ชวนให้ โทรทัศน์ ในกากับ ประชาชนทั่วไป เหมาะสมเข้าสู่ในระบบ
ประชาชนรู้จักเลือกที่จะบริโภคสื่อที่มี ของภาครัฐ) กองทุน
คุณภาพและมีคุ ณค่า ทั้งนี้ พิจ ารณา กทปส. กรม ผู้ตรวจการด้านสื่อ
นาเสนอให้สอดคล้องกับกลุ่มเปูาหมาย ประชาสัมพันธ์ กอง ทั้งหมด
และช่วงเวลาที่เหมาะสม งานโฆษก ศธ. วธ.
๓. การจัดสัมมนาเรื่อง “การรู้เท่าทัน ศธ. กองทุน กทปส. สร้างความ
สื่อ” ในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย มท. (ผู้ ว่ า ราชการ ตระหนักในกลุ่ม
และในสถานที่ ส าธารณะส าหรั บ จังหวัด) นักเรียน
กลุ่ ม เปู า หมายที่ อ ยู่ น อกสถานศึ ก ษา นักศึกษา
ทั้ ง ในกรุ ง เทพและต่ า งจั ง หวั ด อย่ า ง
ต่อเนื่อง
๔. การบรรจุสาระเกี่ยวกับ “การรู้เท่า ศธ. ยกระดั บ ความ หลั ก สู ต รด้ า นสื่ อ ศึ ก ษา
ทันสื่อ” ให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาใน รู้ เ ท่ า ทั น สื่ อ ใน ได้รบั การบรรจุ
ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายหรื อ ก ลุ่ ม นั ก เ รี ย น
นักศึกษา
เที ย บเ ท่ า แ ละ เ ป็ น วิ ช า พื้ น ฐา น
ระดับอุดมศึกษา

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒.๑.๕ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) การเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของกองทุนด้านสื่อตามกฎหมายต่าง ๆ เพื่อบูรณาการสนับสนุนการ
พัฒนาความรู้เท่าทันสื่อของประชาชน
๒) ควรมีกลไกการกากับดูแลสื่อโดยภาคประชาชนและการรู้เท่าทันสื่อ ในรูปแบบคณะกรรมการที่
มีผู้แทนจากองค์กร อาทิ ด้านการเฝูาระวังสื่อ ผู้บริโภค สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ด้านสิทธิ
มนุ ษยชน โดยมี ห น้ า ที่ใ นการส่ งเสริ มให้ ผู้ บ ริโ ภคมี ความรู้เ ท่ าทั นสื่ อทุ ก ประเภทอย่า งเป็ น
รู ป ธรรม สนั บ สนุ น การมีส่ ว นร่ว มของประชาชนในการกากับดูแ ลสื่ อ ตรวจสอบ เฝู าระวั ง
รับเรื่องร้องเรียนและร่วมแก้ไขปัญ หาการกระทาอันไม่เหมาะสมของสื่อ ตลอดจน ดาเนินการ
และสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นการส่งเสริมให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อ

๒.๒ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๒ : แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐาน


วิชาชีพสื่อ
๒.๒.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) การสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด สภาผู้ ป ระกอบการและนั ก วิ ช าชี พ ด้ า นสื่ อ สารมวลชนระดั บ ชาติ ใ น
การท าหน้ า ที่ กากับ ดูแ ลกั น เองของผู้ ป ระกอบการและผู้ ประกอบวิ ช าชีพ ซึ่ งด าเนิ นการใน
มาตรฐานสากล บนพื้ น ฐานของการเคารพกฎหมาย ส านึ ก แห่ ง ความรั บ ผิ ด ชอบ
และด้านมาตรฐานและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
๒) การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนา-เสริมสร้างศักยภาพของนักสื่อสารมวลชน
๓) การสนับสนุนให้เกิดระบบผู้ตรวจการ (ombudsman) เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ และกากับ
มาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรมวิชาชีพ ทั้ง ในระดับองค์กร ในระดับกลุ่มวิชาชีพ และใน
สภาระดับชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
๔) การสนับสนุนให้เกิดคู่มือมาตรฐานกลางทางด้านจริยธรรมของวิชาชีพสื่อ
๒.๒.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
๑) ระยะเวลาภายในปี ๒๕๖๑
 เริ่มกระบวนจัดทาร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน รวมทั้งรับ
ฟังความเห็นตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
 สร้างความเข้าใจกับองค์กรวิชาชีพสื่อ ผู้ประกอบการสื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 พ.ร.บ. ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒) ระยะเวลาภายในปี ๒๕๖๒
 จัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนตามกฎหมาย โดยเริ่มกระบวนการสรรหากรรรมการสรรหา
และการเลือกกรรมการบริหารสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
 จัดตั้งสานักงานของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
 องค์กรวิชาชีพสื่อจดแจ้งเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
 ตัง้ คณะกรรมการจริยธรรมในสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
 จัดทามาตรฐานกลางทางด้านจริยธรรมของวิชาชีพสื่อ
๓) ระยะเวลาในปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕
สภาวิชาชีพสื่อมวลชนผลักดันแผนงานและกลไกต่าง ๆ ตามกาหนดไว้ในกฎหมายให้เป็นรูปธรรม
๒.๒.๓ ตัวชี้วัด
๑) มี พ.ร.บ. ส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชนบังคับใช้ และมีคู่มือมาตรฐานกลางทางด้าน
จริยธรรมของวิชาชีพสื่อ
๒) เกิดการรวมกลุ่มของผู้ประกอบกิจการสื่อเป็นองค์กรวิชาชีพสื่อ
๓) มีคณะกรรมการบริหารสภาวิชาชีพสื่อมวลชนและกลไกต่าง ๆ ตามกฎหมายเกิดขึ้น
๔) องค์กรวิชาชีพสื่อจดแจ้งเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพสื่อมวลชนจานวนไม่น้อยกว่า ๑๐ องค์กร
๕) มีกลไกการตรวจสอบที่มีผู้แทนผู้บริโภคในทุกระดับของผู้ประกอบกิจการสื่อ องค์กรวิชาชีพสื่อ
และสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
๖) มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสื่อที่เขมแข็งและทางานร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่ออย่างใกล้ชิดและ
สร้างสรรค์
๗) มีระบบการติดตามผลการร้องเรียนด้านจริยธรรมของผู้บริโภคสื่อที่เป็นรูปธรรม
๘) มีการอบรมเพื่อสร้างมาตรฐานด้านจริยธรรมสื่อในระดับต่าง ๆ รวมถึงการเพิ่มทักษะในการ
ปฏิบัติหน้าที่แก่บุคคลากรในวิชาชีพไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ คนภายในปี ๒๕๖๕
๙) เกิดหลักสูตรจริยธรรมและรู้เท่าทันสื่อในระบบการศึกษาและนอกระบบอย่างกว้างขวาง
๑๐) สื่อมวลชนได้รับการร้องเรียนด้านปัญหาจริยธรรมน้อยลง
๒.๒.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
ใช้แหล่งเงินงบประมาณประจาปีของ สปน. (ช่วงเตรียมการ) และกรมประชาสัมพันธ์

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๐

๒.๒.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
(ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ
บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑) จั ด ตั้ งคณะท างานยกร่ า ง พ.ร.บ. สปน. สคก.  เริ่มกระบวน  มี พ.ร.บ. ส่ ง เสริ ม
ประกอบด้ วยตั วแทนคณะกรรมการ องค์กรสื่อ จัดทาร่าง จริยธรรมและวิชาชีพ
กฤษฎีกา ,ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ, ผู้ พ.ร.บ. สื่ อ มวลชนบั ง คั บ ใช้
ประกอบกิจการสื่อ, ตัวแทนภาควิชา ส่งเสริม และคู่ มื อ มาตรฐาน
ก า ร ด้ า น นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ จริยธรรมและ ก ล า ง ท า ง ด้ า น
สื่ อ ส า ร ม ว ล ช น แ ล ะ ตั ว แ ท น มาตรฐาน จริยธรรมของวิชาชีพ
คณะกรรมการปฏิ รู ป ประเทศด้ า น วิชาชีพ สื่อ
สื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อมวลชน  มี ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร
๒ ) น า เ ส น อ ร่ า ง ก ฎ ห ม า ย ใ ห้ สปน. สคก.  สร้างความ บริ ห ารสภาวิ ช าชี พ
คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ตรวจ องค์กรสื่อ เข้าใจกับ ผู้ที่ สื่อมวลชนและกลไก
เพื่ อ น าเสนอคณะรั ฐ มนตรี อ นุ มั ติ เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ ตามกฎหมาย
หลักการ  พ.ร.บ. เกิดขึ้น
๓) น าเสนอร่ า ง พ.ร.บ.ต่ อ ฝุ า ยนิ ติ สปน. รัฐสภา ส่งเสริม
บัญญัติพิจารณาตามกระบวนการของ จริยธรรมและ
รัฐธรรมนูญ มาตรฐาน
วิชาชีพ
สื่อมวลชน
พ.ศ. .... มีผล
บังคับใช้
๔) สานักงานปลัดนายกรัฐมนตรีเป็น สปน. (ช่ ว ง
ฝุ า ยธุ ร การชั่ ว คราวเพื่ อ ริ เ ริ่ ม การ เตรียมการ)
สรรหากรรมการบริหารและสานักงาน
สภาวิชาชีพสื่อมวลชน

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๑

๒.๒.๕ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) คณะกรรมการฯ ได้ศึกษาข้อเสนอที่ผ่านมาโดย สปช. สปท. และหน่วยงานอื่น ๆ แล้ว เห็นควร
ปรับปรุงใหม่ โดยใช้ร่างกฎหมายซึ่งมีสรุปสาระสาคัญและหลักการ ดังนี้
๑.๑ เหตุผลและความจาเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
โดยที่มาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพ
สื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่ง
วิช าชีพ เสรี ภ าพดั งกล่ าวให้ ค รอบคลุ มถึ งเจ้ าหน้ าที่ ของรัฐ ซึ่งปฏิบั ติห น้ าที่ สื่ อมวลชนแต่ใ ห้
คานึ งถึงวัตถุป ระสงค์และภารกิจของหน่ว ยงานที่ตนสั งกัดอยู่ด้ว ย เพื่อให้ การคุ้มครองสิ ทธิ
เสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมี
องค์กรที่จะทาหน้าที่ดังกล่าวตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
๑.๒ สาระสาคัญของพระราชบัญญัติ
(๑) สาระสาคัญโดยภาพรวมของร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการกากับดูแลกันเองของสื่อมวลชนวิชาชีพใน
ประเทศไทยให้ มีป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น โดยยั งคงรัก ษาหลั ก การ “กากั บ ดูแ ลกั นเอง” ของ
สื่อมวลชนโดยองค์กรวิชาชีพ แต่ให้มีองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมาทา
หน้าที่กากับดูแลสื่อที่ไม่ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพใด
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มมาตรการในการกากับดูแลกั นเองให้เข้มข้นขึ้น โดยให้องค์กรสื่อมวลชน
ทุกแขนงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนด้านจริยธรรมภายในองค์กร (Media
Ombudsman) ไม่ว่าองค์กรสื่อมวลชนนั้น จะถูกกากับดูแลโดยตรงจากองค์กรวิชาสื่อที่จัดตั้ง
ขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ยังให้เพิ่มมาตรการลงโทษองค์กรสื่อมวลชนที่ไม่ปฏิบัติ
ตามมติขององค์กรวิชาชีพที่สังกัด หรือองค์กรวิชาชีพสื่อที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้วแต่กรณี
ให้มีมาตรการส่งเสริมจริยธรรมและทักษะวิชาชีพผ่านการฝึกอบรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยให้
สภาวิชาชีพที่จะตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการดาเนินการ
ให้แก่องค์กรวิชาชีพที่ทาหน้าที่ฝึกอบรมในระดับต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมและสนับสนุน
การมีส่วนร่วมและความตื่นตัวของภาคประชาชนในการกากับดูแลสื่อมวลชน ผ่านการอบรม
เรียนรู้เพื่อให้เท่าทันสื่อ
จัดให้มีกลไกในการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชี พสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ปฏิบัติ ตาม
กรอบจริยธรรมวิชาชีพจากการถูกแทรกแซงโดยรัฐและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
(๒) กลไกการดาเนินงานขององค์กรวิชาชีพสื่อที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
เพื่อให้การดาเนินงานการกากับดูแลกันเองของสื่อมวลชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ
ส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน องก์กรสื่อมวลชนและองค์กรวิชาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่
จะจัดตั้งขึ้นใหม่หรือรวมกลุ่มกันในอนาคตทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค หรือจังหวัดที่ประสงค์จะ
เป็นสมาชิกตามร่างพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเป็น อิสระใน
การนาเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นได้อย่างแท้จริง และมีการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนโดย

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๒

ตระหนั ก ถึ ง มาตรฐานทางจริ ย ธรรมและมาตรฐานวิ ช าชี พ ตลอดจนให้ ค วามเป็ น ธรรมแก่


ประชาชนที่ ได้รั บ ผลกระทบจากการประกอบวิ ช าชีพ สื่ อมวลชน จึง จาเป็น ต้องมีก ารจั ดตั้ ง
สภาวิชาชีพสื่อมวลชนขึ้นตามกฎหมายเพื่อกาหนดมาตรการต่าง ๆ ในกฎหมาย และเพื่อเป็น
กลไกในการขั บ เคลื่ อนการกั บกั บดู แลกัน เองทางด้า นจริย ธรรมให้ เกิ ดผลสั มฤทธิ์ อย่ างเป็ น
รูปธรรม โดยให้ความสาคัญกับการกาหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเป็นอิสระ
ของสื่อมวลชน การส่งเสริม สนับสนุน และกากั บดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมและ
มาตรฐานวิช าชีพสื่อมวลชน การรวมกลุ่มของสื่อมวลชนและการให้คุณค่าแก่การกากับดูแล
กันเองทางจริยธรรมสื่อมวลชน ผ่านกลไกการดาเนินงานของสภาวิชาชีพสื่อและองค์กรวิชาชีพ
ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๒.๑ คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
ร่างพระราชบัญญัตินี้กาหนดให้มีคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วยประธาน
กรรมการ กรรมการซึ่ งสมาชิ กคั ด เลื อกกั นเองจากผู้ ประกอบวิช าชี พ สื่ อ มวลชน กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสรรหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
และด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละ ๑ คนจานวนทั้งสิ้น ๙ คน
ทั้งนี้ ให้ คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้ ส รรหากรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิตามระเบียบที่กาหนดตาม
พระราชบัญญัตินี้
อานาจหน้าที่ที่สาคัญของคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
๑). กาหนดมาตรฐานกลางของจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับ และให้ กลไกการส่ งเสริมจริยธรรม
สื่อมวลชนที่คณะกรรมการจะกาหนดนั้นต้องมีเรื่องอย่างน้อยตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย
๒). ส่งเสริมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนให้แก่สมาชิก โดยการจัดฝึกอบรม หรือ
สัมมนา หรือศึกษาดูงาน หรือดาเนินการอื่นใด และสนับสนุนให้สมาชิกดาเนินการดังกล่าวให้แก่
ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์ กรสื่อมวลชนที่เป็นสมาชิกของตน เพื่อให้มีอุดมการณ์ร่วมกันในการ
ประกอบวิชาชีพโดยคานึงถึงจริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพสื่อมวลชน
๓). ส่งเสริมการรวมกลุ่มและการกากับดูแลกันเองขององค์กรสื่อมวลชนและองค์การวิชาชีพ
สื่อมวลชนในระดับชาติ ภูมิภาค
๔). พิจารณาเรื่องร้องเรี ยน ในกรณีมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
หรือกรณีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนละเมิดจริยธรรมผ่านองค์กรสื่อมวลชนที่สังกัด
๕). พิจารณา ตักเตือน ปรับ หรือแก้ไขข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อเสนอแนะขององค์กร
วิช าชีพ สื่ อ มวลชน หรื อ ดาเนิ นการโดยตรงแล้ ว แต่ก รณี ในกรณีที่ มีก ารร้อ งเรี ยนว่า องค์ก ร
สื่อมวลชน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกาหนด เผยแพร่คาวินิจฉัย
เรื่องร้องเรียนต่อสาธารณชน ตลอดจนการกาหนดโทษปรับทางปกครอง และการส่งคาวินิจฉัย
ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ให้ กสทช. ดาเนินการตามกฎหมายว่า ด้วย กสทช. และกฎหมายอื่นที่
เกี่ยวข้อง เพื่อลงโทษผู้ที่กระทาการฝุาฝืนจริยธรรมสื่อมวลชน
๖). กาหนดระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องต่างๆ ตามที่กาหนดในร่างพระราชบัญญัตินี้

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๓

องค์ประกอบของคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
ให้ ค ณะกรรมการสภาวิ ช าชี พ สื่ อ มวลชน ประกอบด้ ว ยตั ว แทนที่ เ สนอโดยองค์ ก รวิ ช าชี พ
สื่อมวลชน ๕ คนและผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
และ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านละ ๑ คน รวมเป็น ๙ คน
กรรมการที่เสนอชื่อโดยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนให้มาจากการเลือกกันเองขององค์กรวิชาชีพ
สื่อมวลชนตามกลุ่มต่อไปนี้
๑). กลุ่มสภาวิชาชีพหนังสือพิมพ์
๒). กลุ่มสภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์
๓). กลุ่มสภาวิชาชีพด้านสื่อออนไลน์
๔). กลุ่มสมาคมวิชาชีพด้านหนังสือพิมพ์ระดับชาติ
๕). กลุ่มสมาคมวิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ระดับชาติ
๖). กลุ่มสมาคมวิชาชีพสื่อมวลชนระดับท้องถิ่น
ให้องค์กรวิชาชีพแต่ละกลุ่มคัดเลือกกันเองให้เหลือกลุ่มละ ๒ คนโดยต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ที่มีสังกัด ๑ คนและผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอีก ๑ คน
ให้มีคณะกรรมการสรรหาขึ้นมาคณะหนึ่ง จานวน ๙ คนประกอบด้วย
๑). คณบดี หั ว หน้ า ภาควิ ช า หรื อ ผู้ แ ทนคณะหรื อ ภาควิ ช าทางด้ า นนิ เ ทศศาสตร์ หรื อ
สื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยของรัฐเลือกกันเองให้เหลือ ๓ คน
๒). คณบดี หั ว หน้ า ภาควิ ช า หรื อ ผู้ แ ทนคณะหรื อ ภาควิ ช าทางด้ า นนิ เ ทศศาสตร์ ห รื อ
สื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลือกกันเองให้เหลือ ๓ คน
๓). คณบดี หั ว หน้ า ภาควิ ช า หรื อ ผู้ แ ทนคณะหรื อ ภาควิ ช าทางด้ า นนิ เ ทศศาสตร์ หรื อ
สื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยเอกชนเลือกกันเองให้เหลือ ๓ คน
ให้คณะกรรมการสรรหาดาเนินการคัดเลือกผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่องค์กรวิชาชีพ
สื่ อ มวลชนเลื อ กกั น เองและเสนอมาให้ เ หลื อ จานวน ๕ คน โดยต้ องค านึ ง ถึ ง สั ด ส่ ว นของผู้
ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนอิสระและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่มีสังกัด ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว
ต้องมีจานวนเท่ากัน และให้ต้องมีตัวแทนจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนครบทุกกลุ่ม
ในวาระเริ่มแรก ให้สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีทาหน้าที่เป็นหน่วยธุรการในการสรรหา
คณะกรรมการสภาวิชาชาชีพสื่อมวลชน
๒.๒ คณะกรรมการจริยธรรมสื่อมวลชน
ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ ก าหนดให้ มี ค ณะกรรมการจริ ย ธรรมสื่ อ มวลชน แต่ ง ตั้ ง โดย
คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อทาหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนองค์กรสื่อมวลชนที่
ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง แล้วส่งให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
วินิจฉัยต่อไป

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๔

๒.๓ งบประมาณของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
ให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีรายได้จากช่องทางต่างๆ ดังนี้
ให้สานักงาน กสทช. จัดสรรเงินทุนของกองทุน กทปส. ให้แก่สภาวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อใช้ในการ
บริหารงานตามหน้าที่อย่างเพียงพอ
เงินรายได้ส่วนที่ใช้ไม่หมด ไม่ต้องส่งคืนรัฐ แต่ให้มีการทบทวนจานวนเงินรายได้ทุก ๕ ปี
๒.๔ สานักงานคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นนิติบุคคลและไม่เป็นหน่วยงานของ
รัฐ โดยอยู่ภายใต้การกากับดูแลของคณะกรรมการสภาวิชาชีพ
ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแต่งตั้งผู้อานวยการ และรองผู้อานวยการ ๑ คนทา
หน้าที่บริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตุประสงค์และอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสภาวิชาชีพ
สื่อมวลชน โดยให้มีฝุายต่างๆ อย่างน้อยดังนี้
๑). ฝุายรับเรื่องร้องเรียน
๒). ฝุายส่งเสริมการกากับดูแลกันเอง
๓). ฝุายส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อและคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ
๔). ฝุายเสริมจริยธรรมและส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน
๕). ฝุายวิจัยและพัฒนาระบบการกากับดูแลกันเอง
๖). ฝุายบริหารกลาง
บทเฉพาะกาล
กาหนดกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนโดยกาหนดให้ มี
คณะท างานเพื่ อ เตรี ย มการจั ด ตั้ ง สภาวิ ช าชี พ สื่ อ มวลชนตามกฎหมาย จ าน วน ๙ คน
ประกอบด้วย ผู้แทนสานัก งานปลัดนายกรัฐมนตรี ผู้แทนองค์กรอิสระ ผู้แทนองค์การวิชาชีพ
สื่อมวลชน ผู้แทนสภาวิชาชีพสื่อและภาคประชาชน ทาหน้าที่ดาเนินกิจการใด ๆ ให้เป็นไป
ตามที่พระราชบัญญัตินี้กาหนดไว้ เพื่อนาไปสู่การจัดตั้งสภาวิช าชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยมี
กาหนดระยะเวลาในการดาเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมให้แล้วเสร็จภายในกาหนดสองปีนับ
แต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ให้ สานักงานปลัดนายกรัฐมนตรีทาหน้าที่หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
จนกว่าจะมีสภาวิชาชีพสื่อ ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะทางานเพื่อเตรียมการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีหน้าที่ รับจดแจ้งองค์กรสื่อมวลชน องค์การวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นสมาชิกสภาวิ ชาชีพ
สื่อมวลชน ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม ให้คาปรึกษาแนะนาแก่องค์กรสื่อมวลชน และ
องค์ ก ารวิ ช าชี พ สื่ อ มวลชน ด าเนิ น การเพื่ อ ให้ เ กิ ด การเลื อ กตั้ ง คณะกรรมการสภาวิ ช าชี พ
สื่อมวลชน

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๕

๒) ร่างมาตรฐานกลางทางด้านจริยธรรมของวิชาชีพสื่อ โดยมีสรุปสาระสาคัญ ดังนี้


ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทั้งหลาย พึงนาเสนอ ข้อมูลข่าวสารด้วยความรับผิดชอบบนพื้นฐานของ
จริยธรรม และสนับสนุนการใช้สื่อเพื่อการรั บรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของพลเมือง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (องค์กร) จึงออกข้อบังคับว่าด้วย
มาตรฐานกลางทางด้านจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมาบังคับใช้
 บททั่วไป
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อ พ.ศ.
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
‘ข่าว’หมายถึง เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย พาดหัวข่าว
ความนา เนื้อข่าว
‘ภาพข่ า ว’หมายถึ ง ภาพเหตุ ก ารณ์ ห รื อ ภาพบุ ค คลที่ สื่ อ สารเรื่ อ งราว โดยมี ห รื อ ไม่ มี
คาบรรยายภาพรวมทั้งภาพอื่นใดที่นาลงในพื้นที่สื่อ
‘การแสดงความคิดเห็น’ หมายถึง บทบรรณาธิการ คอลัมน์ บทความ การ์ตูน หรือรูปแบบ
อื่นใดอันเป็นการติชม วิพากษ์วิจารณ์ หรือข้อเสนอแนะ
‘เนื้อหาทั่วไป’ หมายถึง สารคดี สารคดีเชิงข่าวหรือรายงานหรือสกู๊ปบทวิเคราะห์ หรือ
ข้อเขียนอื่นใดที่ปรากฏในพื้นที่สื่อ
‘สื่อ’ หมายถึง
‘ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ’ หมายถึง
ข้อ ๔ สื่อและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต้องไม่ประพฤติปฏิบัติการใด ๆ อันจะนามาซึ่งความ
เสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพ
 หลักจริยธรรมทั่วไป ความถูกต้องและข้อเท็จจริง
ข้อ ๕ สื่อต้องตรวจสอบและไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระของข่าวจนคลาดเคลื่อนหรือเกินจาก
ข้อเท็จจริง
ข้อ ๖ สื่อต้องละเว้นการเสนอข่าวด้วยความลาเอียงหรือมีอคติเป็นเหตุให้ข่าวนั้นบิดเบือน
อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลในข่าวและความเข้าใจผิดในสังคม
ข้อ ๗ สื่ อต้องไม่พาดหั วข่าวและความนาเกินไปจากข้อเท็จจริงในข่าว และต้องสะท้อน
ใจความสาคัญหรือเนื้อหาหลักของข่าว
ประโยชน์สาธารณะ
ข้อ ๘ สื่อต้องนาเสนอข่าว ภาพข่าว ความเห็น และเนื้อหาทั่วไป ด้วยความบริสุทธิ์ใจโดย
ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือหมู่คณะ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๖

ข้อ ๙ สื่อพึงเสนอข่าว ภาพข่าว ความเห็น และเนื้อหาทั่ว ไป โดยตระหนักถึงความสาคัญ


และอรรถประโยชน์ของข่าวต่อสาธารณะ และไม่เสนอข่าวในทานองชวนเชื่อหรือเร้าอารมณ์
ให้คนสนใจในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

 ความสมดุลและเป็นธรรม
ข้อ ๑๐ สื่อต้องแสดงความพยายามในการให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝุาย
ข้ อ ๑๑ สื่ อ ต้ อ งเปิ ด โอกาสให้ ฝุ า ยที่ ถู ก กล่ า วหาแสดงข้ อ เท็ จ จริ ง เมื่ อ ข่ า วที่ น าเสนอมี
การพาดพิงอัน อาจเกิดความเสี ยหายแก่บุคคลหรือองค์กร หรือได้แสดงให้ เห็ นถึงความ
พยายามในการให้ความเป็นธรรมแล้ว
ข้อ ๑๒ สื่อต้องให้ความเที่ยงธรรมเมื่อบุคคลหรือองค์กรที่ถูกพาดพิงเห็นว่าการแสดงความ
คิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง
 การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้อ ๑๓ สื่ อ ต้ องเสนอข่ า วโดยค านึ ง ถึ ง ศั ก ดิ์ศ รี ค วามเป็ นมนุ ษ ย์ ข องบุ ค คลที่ ต กเป็ น ข่ า ว
โดยเฉพาะอย่ างยิ่ ง ต้องให้ ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิ ทธิมนุ ษยชนของเด็ก สตรี
ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งต้องไม่เป็นการซ้าเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี
ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีอัตลักษณ์แตกต่างในสังคม
ข้อ ๑๔ หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอภาพข่าวที่อุจาด ลามกอนาจาร หรือน่าหวาดเสียวโดย
ไม่คานึงถึงความรู้สึกของสาธารณชนอย่างถี่ถ้วน
ข้อ ๑๕ สื่อพึงละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้ อ ๑๖ สื่ อ พึ ง ระมั ด ระวั ง การเสนอข่ า ว ภาพข่ า ว ความเห็ น หรื อ เนื้ อ หาทั่ ว ไป ต่ อ
สถานการณ์ ที่ มี ค วามขั ด แย้ ง หรื อ มี ค วามรุ น แรง อั น จะเป็ น การสร้ า งหรื อ เพิ่ ม ความ
หวาดระแวงที่มีอยู่แล้วในชุมชนหรือสังคม
ข้อ ๑๗ สื่อพึงระมัดระวังการเสนอข่าว ภาพข่าว ความเห็น หรือเนื้อหาทั่วไป อันเป็นการ
ไม่เคารพต่อเชื้อชาติ ศาสนา และชาติพันธุ์
ข้อ ๑๘ สื่อพึงหลีกเลี่ยงการใช้คาที่ไม่สุภาพ หรือภาษาที่สื่อความหมายเชิงเหยียดหยาม
หรืออยู่ในข่ายประทุษวาจา หรือแสดงนัยเชิงลบ
 หลักกระบวนการทางาน การปกปิดและเคารพแหล่งข่าว
ข้ อ ๑๙ สื่ อ ต้ อ งไม่ เ สนอข่ า วโดยเลื่ อ นลอยปราศจากแหล่ ง ที่ ม า พึ ง ระบุ ชื่ อ บุ ค คลที่ ใ ห้
สัมภาษณ์หรือให้ข่าวอย่างเปิดเผย เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิดเพื่อสวัสดิภาพและความ
ปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็นประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน
ข้อ ๒๐ สื่อต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับเมื่อได้ให้คามั่นแก่
แหล่งข่าวนั้นไว้ และต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝงที่ปรากฏในพื้นที่สื่อไว้เป็นความลับ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๗

 ความรับผิดชอบในการแก้ข่าว
ข้อ ๒๑ สื่อต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลงพิมพ์แก้ไขข้อผิดพลาดอันเกิดจากการเสนอ
ข่ า วโดยไม่ ชั ก ช้ า หากข้ อ ผิ ด พลาดนั้ น ส่ ง ผลกระทบต่ อ ชื่ อ เสี ย งของบุ ค คลหรื อ องค์ ก ร
ให้ดาเนินการขออภัยพร้อมกันไปด้วย
 การแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น
ข้อ ๒๒ สื่อต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว ต้องละเว้นอามิสสิ นจ้างและประโยชน์
ทับซ้อน
ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต้องไม่อวดอ้างหรืออาศัยตาแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือ
ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบธรรม
ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่าหรือผลประโยชน์ใด ๆ
เพื่อให้กระทาการหรือไม่กระทาการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับ
ข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง รอบด้าน
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อพึงละเว้นการรับอภิสิทธิ์หรือตาแหน่งเพื่อให้กระทาการหรือ
ไม่กระทาการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่าง
ถูกต้องรอบด้าน
 การได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ละเมิด
ข้อ ๒๖ สื่อต้องบอกที่มาของข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากการ
ขออนุญาตจากแหล่งข้อมูลนั้นแล้ว
ข้อ ๒๗ สื่อพึงใช้วิธีที่สุภาพและซื่อสัตย์ในการได้มาซึ่งข่าวสาร
 โฆษณาที่ไม่แอบแฝงและงมงาย
ข้อ ๒๘ สื่ อ ต้อ งแสดงให้ เห็ น ชั ดว่ า ข้ อ ความที่เ ป็ น บทความซื้ อ พื้ นที่ คื อ ประกาศโฆษณา
จะแอบแฝงเป็นการเสนอข่าวหรือความคิดเห็นมิได้
ข้อ ๒๙ สื่ อพึงใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบให้ ประกาศโฆษณาทั้งหลายอยู่ภ ายใน
ขอบเขต ของศีลธรรมและวัฒนธรรม และพึงระมัดระวังที่จะไม่เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่
ประกาศโฆษณาที่น่าจะเป็นภัยแก่สังคมหรือสาธารณะ
ข้อ ๓๐ สื่อพึงหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ประกาศโฆษณาที่มีเหตุใ ห้น่าเชื่อว่าเจ้าของประกาศ
โฆษณานั้น เจตนาจะทาให้ผู้อ่านหลงเชื่อในสิ่งที่งมงาย

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๘

๒.๓ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๓ : การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน


และเทคโนโลยีสารสนเทศ
๒.๓.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) การปรั บ ปรุ ง การจั ด สรรคลื่ น ความถี่ ให้ เป็ น ไปอย่า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ รวมทั้ง ปรับ ปรุ ง ระบบ
ใบอนุญาตประกอบกิจการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนไทย
และเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์
๒) การวางระบบสนับสนุนการกระตุ้นการผลิต และเผยแพร่ “นวัตกรรม” ด้านการสื่อสาร ทั้งใน
ระดับโครงข่ายการสื่อสาร เครื่องมือสื่อสาร ข้อมูลข่าวสารและสาระบันเทิงที่สร้างสรรค์ ส่งเสริม
การสร้างเสริมสติปัญญา สนับสนุนการเรียนรู้เรื่องไทยในบริบทสังคมโลก มีขีดความสามารถใน
การแข่งขันและส่งออกไปสร้างรายได้ในระดับนานาชาติ
๓) การพิจารณาปรับปรุงมาตรการภาษี และกลไกการสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดทางเลือก
ในการเข้าถึง และการบริโภคเนื้อหาข่าวสารและข่าวสารที่หลากหลาย มีประโยชน์ รวมทั้ง
สอดคล้องกับจริตของสาธารณชน
๔) การจัดทาระบบการจูงใจต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการบริหารโครงข่าย เทคโนโลยี
และผลผลิตด้านเนื้อหาสาระข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพ และดาเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
มีคุณภาพ ที่สามารถสร้างเสริมสติปัญญา และสร้างรายได้ทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ
๕) การส่งเสริมการส่งออกนวัตกรรม และผลผลิตจากอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี
สารสนเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ
๒.๓.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
๑) การปฏิรูปการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ
กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยให้ความสาคัญกับการปรับเปลี่ยน
วิธีการประมูลคลื่นความถี่สาหรับกิจการวิทยุและโทรทัศน์จากการใช้ราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ตัดสิน
เป็นการใช้คุณสมบัติและข้อเสนอในเชิงคุณภาพรายการของผู้เข้าประมูล (Beauty Contest)
 ระยะที่หนึ่ง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอให้มีการแก้ไข
ปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ในประเด็นสาคัญเร่งด่วน ตามร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและ
กิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
 ระยะที่สอง (ดาเนินการต่อเนื่อง เริ่มปี พ.ศ. ๒๕๖๑) รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ด าเนิ น การจั ด ท าแผนงานหรื อ แนวทางเพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ มี ก ารพั ฒ นาศั ก ยภาพของ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๑๙

สื่ อ สารมวลชน ผู้ ป ระกอบกิ จ การกระจายเสี ย งและกิ จ การโทรทั ศ น์ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง


เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตรายการ รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ
๒) กาหนดทิศทางและเปู าหมายของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ ๒ ใหม่ ให้ส อดคล้ องกับเทคโนโลยีที่
เปลี่ยนแปลง และเป็นไปตามสภาวะความต้องการในการใช้คลื่นความถี่ในอุตสาหกรรมวิทยุ
โทรทัศน์ในปัจจุบัน
๓) พิจารณาจัดตั้งโครงข่ายแห่งชาติ เพื่อบริหารจัดการโครงข่ ายวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม
ทั้งโครงข่ายเคเบิล โครงข่ายดาวเทียม และโครงข่ายภาคพื้นดิน เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มี
อยู่ แ ล้ ว ให้ เ กิ ดประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด ซึ่ งจะเป็ น การลดภาระผู้ ประกอบการอุ ตสาหกรรมวิ ท ยุ
โทรทัศน์
๔) พิจารณาปรับปรุง การบริหารจัดการโทรทัศน์ที่เป็นของรั ฐ องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจ เช่น
สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) องค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ (Thai
PBS) บริษัท อ.ส.ม.ท. จากัด (มหาชน) (MCOT) สถานีโทรทัศน์รัฐ สภา สถานีโ ทรทัศน์
กองทัพบก (ททบ.๕) เพื่อให้การใช้คลื่น ความถี่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น และ
ส่งเสริมสนับสนุนกิจการโทรทัศน์ของชุมชนตามวัตุประสงค์ของแผนแม่บทฉบับที่ ๑
๕) การปฏิ รู ป สถานี วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ แ ห่ ง ประเทศไทย (สทท.) เพื่ อ ยกระดั บ การ สื่ อ สารของรั ฐ
ประชาชน และสาธารณประโยชน์
 ระยะที่ ๑ ภายในปี ๒๕๖๑ ส านัก งานปลั ดส านักนายกรัฐ มนตรี ใ นฐานะหน่ว ยงานแม่
เป็นผู้รับผิดชอบจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทางานปฏิรูปสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
เพื่อทาหน้าที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยต้องจัดทา
แผนให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปนี้แล้วดาเนินการนาเสนอเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ /
สถานี วิ ทยุ โ ทรทัศ น์ แห่ งประเทศไทยเริ่มจัดสรรช่ว งเวลาให้ ห น่ว ยงานภาครัฐ และภาค
ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเป็นผู้ผลิต ในรูปแบบเช่าเวลาหรือผลิตรายการร่วมกันใน
อัตราส่วน ร้อยละ ๓๐ หรือ ๔๐ และดาเนินการประเมินผล / สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่ง
ประเทศไทย (สทท.) เริ่มมุ่งเน้นงานด้านการผลิตข่าว และเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์
ต่อสังคมให้มีความทันสมัยและตอบสนองความต้องการของภาครัฐ และประชาชน เพื่อให้
สามารถสื่ อสารข่าวสารของภาครัฐ เป็นไปอย่างมี ประสิ ท ธิภ าพและสามารถแข่ งขันกั บ
ช่อง ข่าวอื่น ๆ ได้
 ระยะที่ ๒ ภายในปี ๒๕๖๒ สทท. เริ่ ม จั ด สรรช่ ว งเวลาให้ ห น่ ว ยงาน ภาครั ฐ
และภาคประชาชนเข้ามีส่ ว นร่ว มในการเป็นผู้ ผ ลิตในรูปแบบเช่าเวลาหรือผลิตรายการ
ร่วมกัน ในอัตราส่ วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๐ และดาเนินการประเมินผล / เริ่มปรับปรุง
โครงสร้ า งและการบริ ห ารงานของหน่ ว ยงานให้ มี ค วามเป็ น อิ ส ระและคล่ อ งตั ว ในการ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๐

บริหารงาน รวมทั้งตอบสนองความต้องการ ของภาครัฐและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ


/ เตรียมพร้อมพัฒนาให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยระดับชาติทั้งภาคภาษาไทย
และภาคภาษาอังกฤษ โดยให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย (สทท.) ส่วนภูมิภาคเดิม
๘ เขต เป็ น สถานี วิทยุโ ทรทั ศน์ส าธารณะดิจิ ทัล ประเภทท้ องถิ่น ๔ ภาคตามกรอบของ
กฎหมาย
๒.๓.๓ ตัวชี้วัด
๑) มีร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
๒) มีแผนงานหรือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของสื่อสารมวลชน ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง
และกิจการโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตรายการ
๓) มีแผนงานหรือแนวทางการพัฒนาส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ
๔) การเพิ่มจานวนของบุคลากรด้านสื่อสารมวลชนและผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ
โทรทัศน์ที่มีคุณภาพ จริยธรรมหรือจรรยาบรรณ
๕) แผนการปฏิรู ป สถานี โ ทรทัศน์แห่ งประเทศไทย จัดทาโดยคณะกรรมการหรือคณะทางานฯ
ที่แต่งตั้งโดยสานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
๖) ผังรายการของสถานี โ ทรทัศน์แห่ งประเทศไทยที่มีการจัดสรรช่ว งเวลาให้ ห น่ว ยงานภาครัฐ
และภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเป็นผู้ผลิต ในรูปแบบเช่าเวลาหรือผลิตรายการร่วมกัน
ในอัตราส่วน ร้อยละ ๓๐ หรือ ๔๐
๗) แผนงานพัฒนาด้านการผลิตข่าวและเนื้อหาสาระ
๒.๓.๔ วงเงินและแหล่งเงิน สานักงาน กสทช. และกรมประชาสัมพันธ์

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๑

๒.๓.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส) วงเงิน
ผู้รับ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑) กาหนดทิศทางและเปูาหมายของ กสทช.
แผนแม่ บ ทฯ ฉบั บ ที่ ๒ ใหม่ ให้
สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
และเป็นไปตามสภาวะความต้องการ
ในการใช้คลื่นความถี่ในอุตสาหกรรม
วิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน
๒) ให้ กสทช. พิ จารณาเรี ยกคื นคลื่ น กสทช.
ความถี่ ที่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ ป ระโยชน์ หรื อ ใช้
ประโยชน์ ไม่ คุ้ มค่ าหรื อน ามาใช้
ป ร ะ โ ย ช น์ ใ ห้ คุ้ ม ค่ า ยิ่ ง ขึ้ น ใ น
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีมูลค่าทาง
เศรษฐกิจมากกว่า
๓) ควรมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี ก าร กสทช. สคก.
ประมูลคลื่นความถี่สาหรับกิจการวิทยุ
และโทรทั ศ น์ จ ากการใช้ ร าคาสู ง สุ ด
เป็นเกณฑ์ตัดสิน เป็นการใช้คุณสมบัติ
และข้ อ เสนอในเชิ งคุ ณ ภาพรายการ
ของผู้เข้าประมูล (Beauty Contest)
๔) พิ จารณาจั ดตั้ งโครงข่ ายแห่ งชาติ ดศ. (บริษัท
เพื่ อ บริ ห ารจั ด การโครงข่ า ยวิ ท ยุ NBN)
โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ทั้งโครงข่าย
เคเบิล โครงข่ายดาวเทียม และโครงข่าย
ภาคพื้นดิน เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง
จะเป็ น การลดภาระผู้ ป ระกอบการ
อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์
ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
๒๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : การปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส) วงเงิน
ผู้รับ (ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๕) พิ จ ารณาปรั บ ปรุ ง การบริ ห าร NBT Thai PBS ผั ง ร า ย ก า ร ข อ ง
จัดการโทรทัศน์ที่เป็นของรัฐ องค์กร อ.ส.ม.ท. ส ถ า นี โ ท ร ทั ศ น์ แ ห่ ง
อิ ส ร ะ แ ล ะ รั ฐ วิ ส า ห กิ จ เ ช่ น สถานีโทรทัศน์ ประเทศไทยที่มีการจัดสรร
สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) รัฐสภา ช่ ว งเวลาให้ ห น่ ว ยงาน
องค์ ก ารแพร่ ภ าพและกระจายเสี ย ง สถานีโทรทัศน์ ภ า ค รั ฐ แ ล ะ ภ า ค
เพื่อสาธารณะ (Thai PBS) บริษัท กองทัพบก ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมใน
อ.ส.ม.ท. จ ากั ด (มหาชน) (MCOT) (ททบ.๕) การเป็นผู้ผลิต ในรูปแบบ
สถานีโทรทัศน์รัฐสภา สถานีโทรทัศน์ เช่าเวลาหรือผลิตรายการ
กองทัพบก (ททบ.๕) เพื่อให้เป็นการ ร่วมกันในอัตราส่วน ร้อย
ใช้ ค ลื่ น ความถี่ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ ละ ๓๐ หรือ ๔๐
สาธารณะที่ คุ้ ม ค่ า มากยิ่ ง ขึ้ น และ
ส่งเสริมสนับสนุนกิจการโทรทัศน์ของ
ชุมชนตามวัตุประสงค์ของแผนแม่บทฯ
ฉบับที่ ๑

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๓

๒.๓.๕ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
ปรับรวมกฎหมาย ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ และ (๓) พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม
พ.ศ. ๒๔๙๘

๒.๔ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๔ : การปฏิรูปแนวทางการกากับดูแลสื่อออนไลน์


๒.๔.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) การพัฒนาส่งเสริมและกากับการบริหารจัดการร่วมกันของเครือข่ายความร่วมมือในการเฝูาระวัง
ข้ อ มู ล ขาดความน่ า เชื่ อ ถื อ โดยเป็ น การร่ ว มมื อ ระหว่ า งหน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาคประชาชน
ตามแนวทางประชารัฐ
๒) การนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบตรวจสอบข้อมูล และคุ้มครอง
การทาธุรกรรมออนไลน์ของประชาชน และปราบปรามอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
๓) การนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบูรณาการงานด้านการแจ้งเตือนภัยออนไลน์
การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การตรวจสอบ และการระงับการเผยแพร่ข้อมูล-ข้อความที่ผิดกฎหมาย
รวมทั้งระบบแจ้งกลับ และการเยียวยาผู้เสียหายจากภัยทางออนไลน์
๔) การจัดทากลไกการประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหา
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๕) มาตรการปกปูองและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์
๖) ระบบการเข้าถึงสื่อออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคานึงถึงความปลอดภัย และข้อมูล
ส่วนบุคคล
๒.๔.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
๑) การปฏิรูปด้านช่องทางการประสานงานกับผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ที่อยู่ในประเทศ
และต่างประเทศ
 พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ การจัดตั้งส่วนงานหรือหน่วยงานที่ทาหน้าที่ในการประสานงานกับ
ผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ในและต่างประเทศ ให้มีลักษณะ Official Point of Contact
เพียงหน่วยงานเดียว
 พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ การจัดตั้งส่วนงานหรือหน่วยงานที่ทาหน้าที่ในการดาเนินการ
มาตรการทางกฎหมาย โดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง เพื่อเป็นการกดดันผู้ให้
บริการสื่อออนไลน์ต่างประเทศ
ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
๒๔

 พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ ระบบศูนย์ข้อมูลกลางการระงับการแพร่หลายข้อมูลที่ไม่เหมาะสม


หรื อ ผิ ด กฎหมาย เป็ น ระบบรองรั บ การแจ้ ง ข้ อ มู ล จากทุ ก ภาคส่ ว นได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง และ
ตลอดเวลาตามแนวทางรายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิรูปด้านช่องทางการ
ประสานงานกับผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป
ประเทศ
 พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากร เพื่อให้ครอบคลุม
การเก็บภาษีจากธุรกิจออนไลน์ต่างประเทศ ซึ่งใช้ระบบ Content Delivery Network
(CDN) ในประเทศ
๒) การปฏิรูปการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media)
 พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ให้
ครอบคลุมการใช้สื่อออนไลน์ / ยกร่างกฎหมายที่จะปกปูองคุ้มครองกลุ่มเด็กและเยาวชนใน
การใช้สื่อออนไลน์เป็นการโดยเฉพาะ และผลักดันให้มีผลบังคับใช้
 พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ มาตรการเสริมการลงทะเบียนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน อาทิ
เช่น มาตรการเสริมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถทาให้การตรวจสอบตัวตน
ที่แท้จริงของผู้ใช้งานได้ การจากัดจานวนซิมของผู้ใช้แต่ละคน / จัดทาศูนย์กลางข้อมูล
พื้นฐานผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงภายใต้ขอบเขตที่กาหนด และหน่วยงาน
ภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง
๒.๔.๓ ตัวชี้วัด
๑) มีระบบการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม) กับสื่อออนไลน์ต่างประเทศ มีการจัดตั้งส่วนงานหรือหน่วยงานทาหน้าที่ประสานงานที่มี
รูปแบบชัดเจน มีลักษณะเป็น Official Point of Contact เพียงหน่วยงานเดียว
๒) แผนงานหรือโครงการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่างประเทศ เพื่อให้
มีการจัดทาโครงการร่วมกับภาครัฐ ในการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัย
๓) มีระบบการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่ทาหน้าที่ Official Point of Contact กับหน่วยงาน
ต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่มีหน้าที่ตามกรอบกฎหมายของตัวเอง เพื่อให้เกิดการรวมศูนย์ ข้อมูลและ
การบริหารจัดการในการประสานงานกับผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่างประเทศ
๔) มีระบบหรือหน่วยงานที่ทาหน้าที่ในการใช้มาตรการทางกฎหมายต่อผู้ให้บริการสื่อออนไลน์
ต่างประเทศ อาทิเช่น ยื่นฟูองร้องทางแพ่ง ในกรณีเป็นการเผยแพร่เนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงแห่งชาติและสถาบันหลักของประเทศ ที่ไม่สามารถเจรจาขอความร่วมมือได้ โดยมี
ประสานความร่วมมือกับฝุายตารวจ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๕

๕) มีแนวทางหรื อมาตรการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ที่กากับดูแล กับผู้ให้บริการ


ภายในประเทศ โดยเฉพาะการตรวจสอบข้อมูลจราจร การปิดกั้นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูล
ไม่เหมาะสมและผิดกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๖) มี ร ะบบศู น ย์ ข้ อมู ล กลางการระงั บ การแพร่ ห ลายข้ อมู ล ที่ ไ ม่เ หมาะสมหรื อผิ ด กฎหมายที่ มี
ผลกระทบต่อด้านความมั่นคงในทุกมิติ เป็นระบบรองรับการแจ้งข้อมูลจากทุกภาคส่วนได้อย่าง
ทั่วถึงและตลอดเวลา เฉพาะหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนที่รับผิดชอบสามารถ
เข้า ถึง ในทุ กพื้ น ที่ การส่ งคาสั่ ง ศาลที่ใ ห้ ปิด กั้น URL ที่เ ผยแพร่เนื้ อหาไม่ เหมาะสมและ
ผิดกฎหมายไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในลักษณะไร้กระดาษ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางรายงาน
ผลการศึ ก ษาและข้อ เสนอแนะการปฏิ รู ป ด้า นช่ องทางการประสานงานกั บ ผู้ ให้ บ ริ การสื่ อ
ออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
๗) มี ร ะบบตรวจสอบข้ อ มู ล การท าธุ ร กิ จ ออนไลน์ ข องผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารสื่ อ ออนไลน์ ต่ า งประเทศ
โดยเฉพาะธุ ร กิ จ โฆษณาบนสื่ อ ออนไลน์ ต่ า งประเทศ โดยก าหนดให้ บ ริ ษั ท ผู้ ใ ห้ บ ริ ก าร
โทรศัพท์มือถือรายงานผลการ transaction ในการทาธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือที่จ่ายเป็น
ค่าซื้อของหรือค่าโฆษณา เพื่อให้สามารถทราบยอดค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าวของผู้ใช้บริการ
๘) จ านวนการลดลงของการเผยแพร่ ข้ อ มู ล ที่ ไ ม่ เ หมาะสมและผิ ด กฎหมายบนสื่ อ ออนไลน์
ต่างประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและสถาบันหลั กของประเทศ
ในแต่ละปี
๙) มี แผนงานหรื อโครงการการสร้างความร่ว มมื อระหว่ างประเทศ อาทิ ประชาคมเศรษฐกิ จ
อาเซียนเพื่อต่อรองในการดาเนินการมาตรการด้านภาษี ความร่วมมือในด้านการปราบปราม
อาชญากรรมทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในแต่ละปี
๑๐) แผนงานหรื อ โครงการประสานความร่ ว มมื อ ผ่ า นเครื อ ข่ า ยหรื อ องค์ ก รในต่ า งประเทศที่ มี
การทางานด้านการสืบสวน ปราบปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือมีภารกิจเกี่ยวกับ
Cyber Security ในแต่ละปี
๒.๔.๔ วงเงินและแหล่งเงิน (๑) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (๒) สานักงาน กสทช.
(๓) สานักงานตารวจแห่งชาติ (กองบังคับ การปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม
ทางเทคโนโลยี/บก.ปอท.) และ (๔) กระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร)

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๖

๒.๔.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : การปฏิรูปแนวทางการกากับดูแลสื่อออนไลน์
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
(ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ผิดชอบ
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑) การจัดตั้งส่วนงานหรือหน่วยงานที่ ดศ. กสทช. มี ก ารจั ด ตั้ ง ส่ ว นงานท าหน้ า ที่
ทาหน้าที่ ในการประสานงานกับ ผู้ใ ห้ ประสานงานที่มีรูปแบบชัดเจน มี
บริการสื่อออนไลน์ในและต่างประเทศ ลักษณะเป็น Official Point of
ให้ มีลั กษณะ Official Point of
Contact Contact เพียงหน่วยเดียว
๒) ผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมาย กค. มีระบบหรือหน่วยงานที่ทาหน้าที่
ประมวลรัษ ฎากร เพื่ อ ให้ค รอบคลุ ม ในการใช้มาตรการทางกฎหมาย
การเก็ บ ภาษี จ ากธุ ร กิ จ ออนไลน์ ต่อผู้ให้บริการสื่อออนไลน์
ต่างประเทศ ต่างประเทศ
๓ ) ผ ลั ก ดั น ใ ห้ เ กิ ด ก า ร แ ก้ ไ ข พม ศธ. กสทช.
พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ คุ้ ม ค ร อ ง เ ด็ ก กองทุนสื่อ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ครอบคลุมการใช้สื่อ สร้างสรรค์ฯ
ออนไลน์
๔) มาตรการเสริมการลงทะเบียนผู้ใช้ กสทช.
โทรศัพท์มือถือระบบเติม เงิน / จัดทา
ศู น ย์ ก ล า ง ข้ อ มู ล พื้ น ฐ า น ผู้ ใ ช้
โทรศัพท์มือถือ
๕) เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ การก ากั บ ตร. (ปอท.) จานวนการลดลงของการ
ตรวจสอบการใช้ สื่ อ ออนไลน์ ที่ ไ ม่ ดศ. เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมและ
เหมาะสม ผิ ด กฎหมายบนสื่ อ ออนไลน์
ต่างประเทศ โดยเฉพาะข้อมูลที่
กระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ
และสถาบันหลักของประเทศ ใน
แต่ละปี

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๗

๒.๔.๕ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประมวลรัษฎากร หรือกฎหมายอื่นที่อยู่ในการกากับดูแลของหน่วยงาน
ในกระทรวงการคลัง ให้ครอบคลุมประเภทการทาธุรกิจในสื่อออนไลน์ต่างประเทศ การระบุถึง
อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในประเทศไทยเสมือนเป็นสานั กงาน
หรือสาขาที่ตั้งในประเทศ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายประมวลรัษฎากรครอบคลุมถึง
๒) แก้ไขระเบียบระเบียบของ กสทช. ให้ชัดเจนว่าการให้บริการ CDN ที่ใช้เครือข่ายในประเทศ
เป็นกิจการที่ต้องลงทะเบียน หรือให้อยู่ในการกากับดูแลเช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่น เนื่องจาก
บริการ CDN เป็นการส่งผ่านหรือเป็นการเรียกใช้งานข้อมูลในต่างประเทศ เสมือนเป็นทางออก
สู่อินเทอร์เน็ตอีกประเภทหนึ่ง
๓) แก้ไขระเบียบและประกาศของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรองรับการจัดตั้ง
ระบบศูนย์ข้อมูลการระงับการแพร่หลายข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมายที่ มีผลกระทบต่อ
ด้านความมั่นคงในทุกมิติ
๔) แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ โดยเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของมาตราที่คานึงถึง
สิทธิ ข้อมูล และความเป็นส่ ว นตัว ของเด็ก ให้ มีคานิยาม และมาตราที่ระบุถึงการปกปูอง
คุ้มครองเด็กจากสื่อให้ครอบคลุมทั้งสื่อมวลชนและสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์
๕) ยกร่ า งกฎหมายที่ จ ะปกปู อ งคุ้ ม ครองกลุ่ ม เด็ กและเยาวชนในการใช้ สื่ อ ออนไลน์ เ ป็ น การ
โดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับกฎหมาย COPPA ในประเทศสหรัฐอเมริกา

๒.๕ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๕ : การปฏิรูปการบริหารจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ /


กิจการอวกาศ และระบบและเครือ่ งมือด้านการ
สือ่ สารมวลชนและโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุน
ภารกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ
๒.๕.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องครอบคลุมหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสาคัญทั้ง
ของภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการรวมกลุ่มร่วมดาเนินการในระดับภาคส่วน (Sector)
๒) การน าเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมดิ จิ ทั ล มาสนั บ สนุ น งานด้ า นการปู อ งกั น และบรรเทา
สาธารณภัยการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอวกาศของประเทศ
๓) การบูรณาการหน่วยงานความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน และเนื้องานด้านข้อมูลเพื่อการปูองกันภัย
ธรรมชาติ และสาธารณภัยต่าง ๆ ให้เกิดเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ
๒.๕.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
๑) การปกปูองคุ้มครองและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสาคัญด้าน
สารสนเทศของประเทศ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๘

 ระยะที่หนึ่ง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐบาลดาเนินการจัดทานโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์


การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานสาคัญด้านสารสนเทศของประเทศ
พร้อมทั้งผลักดันพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
พ.ศ. .... และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ออกมาใช้บังคับ
 ระยะที่สอง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ หน่วยงานต่าง ๆ ดาเนินการจัดทาแผนเตรียมความ
พร้ อมหรื อประเมินความเสี่ ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับ
อุ ต สาหกรรมหรื อ ระดั บ หน่ ว ยงานที่ เ ป็ น เจ้ า ของหรื อ มี โ ครงสร้ า งพื้ น ฐานส า คั ญ
ด้านสารสนเทศของประเทศ
๒) การปฏิรูประบบและเครื่องมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนภารกิจการปูองกัน
และบรรเทาสาธารณภัย และประโยชน์สาธารณะ
จัดทาแผนแม่บทเพื่อนาเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย รวมถึงการนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ดิจิทัลมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารและโทรคมนาคมเพื่อภารกิจปูองกันและบรรเทา
สาธารณภัยและประโยชน์สาธารณให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๑
๓) การปฏิรูปการกากับดูแลกิจการอวกาศและการให้บริการดาวเทียมสื่อสารของประเทศไทย
จัดทาพระราชบัญญัติว่าด้วยดาวเทียมสื่อสารและการดาเนินกิจการในอวกาศ พ.ศ. .... และ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และจัดตั้ง หรือมอบหมายหน้าที่ในกิจการอวกาศแห่งชาติให้หน่วยงาน
๒.๕.๓ ตัวชี้วัด
๑) มี พ ระราชบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยการรั ก ษาความมั่ น คงปลอดภั ย ไซเบอร์ แ ห่ ง ชาติ พ.ศ. .... และ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
๒) มีการจัดทานโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐาน
สาคัญด้านสารสนเทศของประเทศ ตลอดจน แผนเตรียมความพร้อมหรือประเมินความเสี่ยง
ด้านการรั ก ษาความมั่น คงปลอดภั ยทางไซเบอร์ในระดับ อุตสาหกรรมหรื อระดั บหน่ว ยงาน
ที่เป็ น เจ้ าของหรื อมีโ ครงสร้า งพื้นฐานส าคัญ ด้านสารสนเทศของประเทศโดยสอดคล้ องกั บ
มาตรฐานในระดับสากล
๓) การเพิ่มขึ้นของจานวนบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
๔) กสทช. ดาเนินการให้มีความพร้อมในการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน ๘๑๔ - ๘๒๔ เมกะเฮิรตซ์
และ ๘๕๙ - ๘๖๙ เมกะเฮิรตซ์ ไว้ใช้งานและให้บริการเป็นการเฉพาะภารกิจด้านปูองกันและ
บรรเทาสาธารณภัย และประโยชน์สาธารณะ ในต้นปี ๒๕๖๔
๕) มีพระราชบัญญัติว่าด้วยดาวเทียมสื่อสารและการดาเนินกิจการในอวกาศ พ.ศ. .... และกฎหมาย
อื่นที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานทาหน้าที่ด้านอวกาศแห่งชาติ
๒.๕.๔ วงเงินและแหล่งเงิน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สานักงาน กสทช.
กระทรวงมหาดไทย (กรมปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย)

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๒๙

๒.๕.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การปฏิรูปการบริหารจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ / กิจการอวกาศ และระบบและเครื่องมือด้านการสื่อสารมวลชนและโทรคมนาคม
เพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ผิดชอบ (ล้าน แหล่ง
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑) ผลักดันร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย ดศ. สคก. มี พ.ร.บ. ว่า พ.ร.บ. มี ผ ลบั ง คั บ ใช้
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยการรักษา ภายในปี ๒๕๖๑
แห่งชาติ พ.ศ. .... กฎหมายคุ้มครอง ความมั่นคง
ข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีผลบังคับใช้ ปลอดภัยไซ
เบอร์ฯ และ
พ.ร.บ.
คุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคลฯ
๒ ) จั ด ท า ก ร อ บ น โ ย บ า ย แ ล ะ ดศ.
ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความมั่นคง
ปลอดภั ย ไซเบอร์ โดยใช้ ก รอบใน
ระดับสากล
๓) กากับดูแล ติดตามทุกหน่วยงานใน ดศ. สมช.
การดาเนิ นการตามแผนพัฒนารัฐบาล มท. (ปภ.)
ดิ จิ ทั ล ฯ ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ –
๒๕๖๑) ในมิติความมั่นคงของชาติ ด้าน
ความปลอดภัยสาธารณะ ภัยธรรมชาติ
และภาวะวิกฤต
๔) หน่ วยงานภาครั ฐที่ เกี่ ยวข้ องและ กสทช. ตร.
กสทช. ร่วมกันจัดทาแผนแม่บทเพื่อนา ดศ. มท.
เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาใช้เป็น (ปภ.) สธ.
โครงสร้างพื้ นฐานด้ านการสื่ อสารและ
โทรคมนาคมเพื่ อภารกิ จปู องกั นและ
บรรเทาสาธารณภัย
ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
๓๐

๒.๕.๕ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
๑) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ....
๒) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
๓) กฎหมายแม่บทสาหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในอวกาศ
๔) กฎหมายเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมของประเทศไทย

๒.๖ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๖ : การปฏิรูประบบการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร


ภาครัฐ
๒.๖.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) การบู รณาการการบริ ห ารจัดการระบบ กลไก และการกระบวนการนาเสนอข้อมูล ข่าวสาร
ภาครัฐให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
๒) การจัดตั้งระบบคลังข้อมูลข่าวสารความรู้อัจฉริยะ (Intelligence –Information/Knowledge
Center System) และการพัฒนาบุคลากรของรัฐในด้า นการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ในยุคดิจิทัล
๓) การนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางจัดระบบการเชื่อมโยงช่องทางช่องทางการร้องเรียน
–การประสานงานด้านการติดตาม-และการตอบรับผลการร้องเรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๒.๖.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
๑) ระยะปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ เร่งรัดการดาเนินการของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการด้ านการประชาสัมพันธ์ และการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร
ภาครัฐ
๒) ระยะปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ ปรับบทบาทของสถาบันการประชาสัมพันธ์ให้ดาเนินการในเชิงรุก
รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารในยุคดิจิทัล เพื่อบรรจุในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ
ของหน่วยงานต่าง ๆ
๓) ระยะปี ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ ให้หน่วยงานที่มีหลักสูตรการอบรมบุคลากรให้มีการบรรจุ สาระเนื้อหา
เกี่ยวกับการสื่อสารในยุคดิจิทัล
๒.๖.๓ ตัวชี้วัด
๑) การให้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐ มีมาตรฐานความแม่นยา ความรวดเร็ว และมีช่องทาง
การติดต่อสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้น
๒) หลักสูตรด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัลได้รับการบรรจุในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของภาครัฐของ
หน่วยงานต่าง ๆ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๓๑

๒.๖.๔ วงเงินและแหล่งเงิน กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๓๒

๒.๖.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๖ : การปฏิรูประบบการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
ผู้รับ
(ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผิดชอบ
บาท) เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑ ) เ ร่ ง รั ด ก า ร ด า เ นิ น ก า ร ข อ ง สปน. กรม การให้ข้อมูลข่าวสารของ
คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์
หน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐ มี
เพื่ อ เป็ น กลไกในการบู ร ณาการด้ า น
การประชาสั ม พั น ธ์ และการบริ ห าร ประชาสัมพันธ์ของ มาตรฐานความแม่นยา
จัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐ ความรวดเร็ว และมี
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
ที่เพิ่มมากขึ้น
๒) ปรั บ บทบาทของสถาบั น การ สปน. กรม หลักสูตรด้านการสื่อสาร
ประชาสัมพันธ์ให้ดาเนินการในเชิงรุก ประชาสัมพันธ์
หน่วยงาน ในยุคดิจิทัลได้รบั การ
รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารใน ประชาสัมพันธ์ของ บรรจุในการฝึกอบรม
ยุค ดิ จิ ทั ล เพื่ อ บรรจุ ใ นการฝึ ก อบรม หน่วยงานภาครัฐ
เจ้ า หน้ า ที่ ข องภาครั ฐ ของหน่ ว ยงาน เจ้าหน้าที่ของภาครัฐของ
ต่าง ๆ หน่วยงานต่าง ๆ
๓) กาหนดหลักสูตรอบรม / จัดอบรม สถาบันอบรม
สัมมนาเรื่องการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ หลักสูตรผุ้บริหาร
และการสื่ อ สารสาธารณะ ให้ แ ก่ ระดับสูง เช่น
หน่ ว ยงานที่ รั บ ผิ ด ชอบ ด้ า นกา ร วปอ. สถาบัน
ประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ พระปกเกล้า
สถาบันการ
ประชาสัมพันธ์
เป็นต้น

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


๓๓

รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ


๑. นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการ
๒. นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ กรรมการ
๓. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร กรรมการ
๔. นายธงชัย ณ นคร กรรมการ
๕. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ กรรมการ
๖. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด กรรมการ
๗. ร้อยเอก ประยุทธ เสาวคนธ์ กรรมการ
๘. นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ กรรมการ
๙. นายเสรี วงษ์มณฑา กรรมการ
๑๐. นายสุทธิชัย หยุ่น กรรมการ
๑๑. ศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยี


สารสนเทศ
๑. นายเสรี วงษ์มณฑา ผู้ช่วยเลขานุการ
๒. นางสาวกุลทิพย์ ศาสตระรุจจิ ผู้ช่วยเลขานุการ

ร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ด้ านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑


ส่วนที่ ๑
ภาพรวมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
๑.๑ บทนา
การปฏิรูปประเทศด้านสังคม เป็นหนึ่งใน ๑๑ ด้านของการปฏิรูปประเทศที่ต้องดาเนินการตาม
รัฐธรรมนู ญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ หมวดที่ ๑๖ บัญญัติให้ดาเนินการปฏิรูปประเทศ
เพื่อให้บรรลุเปูาหมาย ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย สามัคคีปรองดอง พัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ สังคม
มีความสงบสุข เป็นธรรม มีโอกาสทัดเทียม ขจัดความเหลื่อมล้า ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งให้มีกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดาเนินการปฏิรูป
ประเทศ ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดาเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ และมีผล
บังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ขึ้น
รวมทั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม จานวน ๑๓ คน ซึ่งมีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
เป็นประธานกรรมการ ตามประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐
โดยที่ การจัดทาแผนการปฏิรูปประเทศด้า นสังคม ต้องมีความชัดเจน กาหนดวิธีการ ขั้นตอน
กลไกและเปูาหมาย มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สาคัญต้องนาแผน
ดั ง กล่ า วนี้ ไ ปปฏิ บั ติ ภ ายใน ๑ ปี แ ละให้ เ ห็ น ผลสั ม ฤทธิ์ ภ ายใน ๕ ปี พร้ อ มทั้ ง ให้ มี ก ารติ ด ตามการ
ดาเนินงานตามแผน และรายงานผลต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ คณะกรรมการปฏิรูป
ประเทศด้านสังคม จึงได้ดาเนิน กระบวนการจัดทาแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคมอย่างเป็นขั้นตอน
โดยทบทวนบริบทตามข้อกาหนดของรัฐธรรมนูญ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลผลการศึกษา
และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการปฏิรูปด้านสังคมที่ได้ มีการจัดทามาแล้ว ทั้งของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
(สปช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์
แนวโน้มภายนอกและภายในที่สาคัญด้านสังคม พิจารณาความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ
วิเคราะห์สังเคราะห์วางกรอบประเด็นการปฏิรูปสังคมที่สาคัญ กาหนดเปูาหมายและผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่า
จะเกิดขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑.๑.๑ บริบทตามข้อกาหนดของรัฐธรรมนูญ
การปฏิ รู ปประเทศด้านสั งคม นอกจากจะเป็นไปตามบทบั ญญัติ หมวดที่ ๑๖ ของ
รัฐธรรมนูญ แล้ว ยังมีบริบทความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดต่างๆ และ
มาตราต่างๆ ที่สาคัญ ดังนี้
๑) หมวด ๓ สิทธิเ สรีภาพของปวงชนชาวไทย ทั้งในการได้รับสิทธิ เสรีภาพและ
ความคุ้มครองในระดับบุคคลอย่างเท่า เทียมกัน รวมถึงสิท ธิของผู้บ ริโภคที่ย่อ มได้รับการคุ้มครอง
ตลอดจนระบุถึงสิทธิของบุคคลและชุมชนในด้านต่าง ๆ อาทิ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปะ วัฒนธรรม และ
จารีตประเพณี การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การจัดให้มีระบบสวัสดิการของ
ชุมชน อาทิ มาตรา ๒๗ มาตรา ๓๒ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖

๒) หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ โดยรัฐต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น


ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่
สาธารณะสาหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น สิทธิและมีส่วนร่วมในการได้ใช้ดาเนินการด้วย และหากการดาเนินการของรัฐอาจ
มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึง
ต้องเปิ ด เผยข้อมูล หรือข่ าวสารสาธารณะ และจั ด ให้ประชาชนเข้า ถึงข้อ มูลข่าวสารได้โดยสะดวก
ตลอดจนจัดให้มีมาตรการ กลไกที่มี ประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่างๆ
อาทิ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑
๓) หมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้รัฐดาเนินการตรากฎหมาย
และกาหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องต่างๆ โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป
ประเทศด้ า นสั ง คม ในเรื่อ งการส่ ง เสริ ม และให้ ความคุ้ ม ครองชาวไทยกลุ่ม ชาติ พั น ธุ์ ต่า งๆ การให้
ความช่ว ยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมให้ มี
ความสามารถในการทางานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพ คุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัย
ได้รับรายได้สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดารงชีพ การส่งเสริม
การออมเพื่อการดารงชีพเมื่อพ้นวัยทางาน การส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่
ระบบสหกรณ์ประเภทต่างๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน
การส่งเสริมให้ ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ อาทิ มาตรา ๖๘ มาตรา ๗๐
มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๘
๔) หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่และ
อานาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ ตามมาตรา
๒๕๐ และมาตรา ๒๕๓ กาหนดให้การดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเปิดเผยข้อมูล
และมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย
๑.๑.๒ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การปฏิรูปประเทศด้านสังคม ดาเนินงานตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการ
ดาเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ และจากการทบทวนบริบทตามข้อกาหนดของรัฐธรรมนูญ
ในส่วนที่เกี่ยวข้อง จะมีข้อกฎหมายสาคัญเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ซึ่งสามารถจั ดเป็น
กลุ่มต่างๆ ได้แก่ การสร้างหลักประกันในการดารงชีวิต ของประชาชน การกาหนดสิทธิชุมชนและ
การส่งเสริมการจัด สวัสดิการชุมชน การให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส การสนับสนุนกิจการ
ที่ให้บริการทางสังคม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลายฉบับทั้งในส่วนของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กฎกระทรวง ระเบียบ
สานักนายกรัฐมนตรี และประกาศของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
๑) การสร้างหลักประกันในการดารงชีวิตของประชาชน อาทิ พ.ร.บ.กองทุนการออม
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ร.บ.กองทุนบาเหน็ จบานาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ร.บ.ประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๒

พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น


จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ และ (ร่าง) พ.ร.บ.กองทุนบาเน็จบานาญแห่งชาติ พ.ศ. ....
๒) การกาหนดสิ ทธิชุมชนและการส่งเสริมการจัด สวัสดิก ารชุมชน อาทิ พ.ร.บ.
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ร.ฎ.จัด ตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ร.บ.กองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘ พ.ร.บ.
สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ร่าง) พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน พ.ศ. .... และ (ร่าง) พ.ร.บ.สิทธิชุมชน พ.ศ. ....
๓) การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อกลุ่ มผู้ ด้ อยโอกาส อาทิ พ.ร.บ.ผู้สู ง อายุ พ.ศ. ๒๕๔๖
พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ กฎกระทรวงสิ่งอานวยความสะดวกในอาคารสาหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ
และคนชรา พ.ศ. ๒๕๔๘ กฎกระทรวงกาหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอานวยความสะดวก
หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. ๒๕๕๖ และกฎกระทรวงกาหนดวิธีการและค่าธรรมเนียมคาขอพิสูจน์ความเป็น
บิดาซึ่งมีความเป็นสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด พ.ศ. ๒๕๕๓
๔) การสนับสนุนกิจการที่ให้บริก ารทางสังคม อาทิ ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่ า ด้ ว ยการสร้ า งเสริ ม กิ จ การเพื่ อ สั ง คมแห่ ง ชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ (ร่ า ง) พ.ร.บ. ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ
เพื่อสังคม พ.ศ. .... และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๙๑) เรื่อง กาหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของวิสาหกิจเพื่อสังคม
๕) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม อาทิ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนา
เด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๖๐ พ.ร.บ. ลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ และระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครประจา
หมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๔
๑.๑.๓ ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการปฏิรูป
จากการศึกษาทบทวน ข้อเสนอการปฏิรูปประเทศของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
พบว่า สปช. ได้จัดทาข้อเสนอประเด็นการปฏิรูป รวมทั้งสิ้น ๓๗ ด้าน โดยมีข้อเสนอการปฏิรูปที่เป็น
ภาพรวมเกี่ยวกับด้านสังคมในหลากหลายด้าน อาทิ การปฏิรูปสวัสดิการสังคมที่ให้ความสาคัญกับระบบ
ประกันสังคมถ้วนหน้า ระบบสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสาหรับเด็กปฐมวัย ระบบสวัสดิการสังคมกลุ่ม
ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ คนพิการ คนชายขอบ สวัสดิการที่อยู่อาศัย การส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชา
สังคม และระบบกลไกบริหารจัดการระบบสวัสดิการสังคม การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสุขภาพ และด้านสังคม การปฏิรูประบบเพื่อสร้างเสริมชุมชน
เข้มแข็งที่มุ่งเน้ น การเพิ่มสิทธิแ ละบทบาทของชุมชนในการบริหารจัด การทรัพยากรและทุนชุมชน
สวัสดิการชุมชน และสัมมาชีพชุมชน และการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของระบบและ
กลไกการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค ระบบข้อมูลและความปลอดภัยของผู้บริโภค ระบบชดเชย

ความเสียหายของผู้บริโภค กลไกและมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐ และปรับปรุงกฎหมาย


ที่เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกันได้ทบทวน ข้อเสนอการปฏิรูปประเทศของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป
ประเทศ (สปท.) ซึ่งได้คัดเลือกประเด็นและแนวทางปฏิรูปประเทศของ สปช. เพื่อผลักดันให้เกิดผล
ในทางปฏิบัติ จานวน ๑๐๐ เรื่อง ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประสานงานรวม ๓ ฝุาย
(ครม. สนช. และ สปท.) พบว่า มีประเด็นข้อเสนอการปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมที่เป็น
รายละเอียดของการดาเนินการด้านต่างๆ อาทิ การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบ
โครงสร้างองค์กรทางสังคมใหม่และตลาดการลงทุนทางสังคม ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุให้ความสาคัญกับการ
สร้างหลักประกันความมัน่ คงด้านรายได้เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ โดยเร่งรัดการดาเนินการตาม พ.ร.บ.
กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ การพัฒนากฎระเบียบที่เอื้อให้ อปท. สามารถดาเนินการพัฒนา
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยออกเป็นระเบียบกระทรวงมหาดไทย การขับเคลื่อนต้นแบบงานบูรณาการ
เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เน้นสนับสนุนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
และการปฏิรูปเศรษฐกิจผู้สูงอายุ ทั้งการสร้างงาน/รายได้/ที่อยู่อาศัย/การพัฒนาผลิตภัณฑ์สาหรับ
ผู้สูงอายุ ส่วนการสร้างความเข้มเเข็งให้ชุมชน มุ่งเน้นการปฏิรูปสัมมาชีพชุมชน การเงินฐานรากและ
ร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. .... และระบบสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนียน
ขณะที่การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้บริการทางสังคมมีการปฏิรูปทั้งโครงสร้างองค์กรภาครัฐ และ
การสร้างธรรมาภิบาล ประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ โดยเน้นพัฒนาศูนย์ข้อมูลสาหรับ
การบริหารงานและบูรณาการข้อมูลในระดับต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน และกาหนดช่องทาง
การให้บริการที่เหมาะสม อีกทั้ง ยังให้ความสาคัญกับการพัฒนาศักยภาพศูนย์บริการคนพิการ และ
การปฏิรูประบบการเรียนรู้เพื่อสร้างคนไทยให้เป็นพลเมืองดี วินัยเด่น
นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาถึงข้อเสนอการปฏิรูปด้านสังคมของหน่วยงานอื่น ได้แก่
คณะกรรมการบริ ห ารราชแผ่ น ดิ น ตามกรอบการปฏิ รู ป ประเทศ ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ และการสร้ า ง
ความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ในประเด็นปฏิรูปเรื่อง การสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง โดยผลักดันเรื่อง
ยุติธรรมชุมชน พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน และกระทรวงการคลัง ในประเด็น
การปฏิรูปเรื่องธนาคารที่ดินและร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน พ.ศ. .... ที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากข้อเสนอของ
สปท. อาทิ ให้ธ นาคารมีอานาจดาเนิน การผ่านสถาบันการเงินที่ มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นได้ และ
การกาหนดทุนเรือนหุ้นของธนาคาร
๑.๒ สถานการณ์และแนวโน้ม
การพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ช่วยยกระดับทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้คนหลายกลุ่ม
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะท้อนได้จากการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ การจ้างงานที่เพิ่ม ขึ้น
รายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น สัดส่วนคนยากจนที่ลดลง การเข้าถึงบริการทางสังคมต่างๆ ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม
การเติบโตดัง กล่าวอยู่ในอัต ราที่ลดลง อี กทั้งยังพบปัญหาและข้อท้าทายต่อการเติบ โตอย่างยั่งยื น
ในอนาคตหลายด้ า น จึ ง ต้ อ งทบทวนวิ เ คราะห์ ส ถานการณ์ แ นวโน้ ม ทั้ ง ภายน อกประเทศและ
ภายในประเทศ ที่เป็นประเด็นสาคัญต่อการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ดังนี้

๑.๒.๑ สถานการณ์และแนวโน้มภายนอก
๑) ความก้าวหน้ าของเทคโนโลยีส่งผลต่ อความเป็นไปได้ในการบริหารจัด การ
ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยโลกได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีดิจิทัล
จะเป็นทั้งเครื่องมือสนับสนุนการทางาน และเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปฏิสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับชีวิตในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนา
อุปกรณ์ทางการแพทย์ การพัฒนาการเรียนรู้ นอกจากนี้ เทคโนโลยีจะส่งผลให้การจัดเก็บ วิเคราะห์
และการบริหารจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์
สื่อสารดิจิทัล อุปกรณ์โทรคมนาคมดิจิทัล และการใช้ดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุ รกิจการเงิน
และธุรกิจบริการอื่นๆ ที่จะส่งผลให้การรวบรวมและกระจายข้อมูลไปยังคนจานวนมากทาได้ง่ายและ
รวดเร็วมากขึ้นผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนฐานของบริการที่มีการแบ่งปันการใช้ทรัพยากร
(Shared Services) ที่มีต้นทุนต่าลง ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้าน Cloud
Computing และ Big Data ที่มีความสามารถในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ อันจะ
ท าให้ ก ารใช้ ป ระโยชน์ จ ากข้ อ มู ล ในการวางแผนพั ฒ นาบริ ก ารทางสั ง คมสามารถท าได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
๒) กระแสการเติ บ โตของหุ้ น ส่ ว นการพั ฒ นาทางสั ง คม โดยเฉพาะวิ ส าหกิ จ
เพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) วิสาหกิจเพื่อสังคมและกระแสเรื่องการประกอบการเพื่อสังคม
ได้ถูกกล่าวถึงและดาเนินการอย่างกว้างขวางทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ว่าเป็นหนึ่งใน
โมเดลทางเลือกสาคัญที่เป็นคาตอบสาหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในศตวรรษหน้า ดังจะเห็นได้ อย่าง
ชัดเจนในการประชุมสุดยอดผู้นาโลก หรือ G๘ ในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ ที่ประเด็นเรื่องระบบเศรษฐกิจใหม่
(Social Economy) และตลาดการลงทุนเพื่อสังคม (Social Impact Investment Market) เพื่อ
สนับสนุนให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างกว้างขวาง โดยมีการดาเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศ
ต่างๆ ทั่วโลก อาทิ อังกฤษมีวิสาหกิจเพื่อสังคมกว่า ๗ หมื่นแห่ง ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า ๑ ล้านอัตรา
โดยที่เกือบครึ่งเป็นการจ้างงานกลุ่มด้อยโอกาส และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า ๑ ล้านล้านบาท ขณะที่
เกาหลีใต้มีวิสาหกิจเพื่อสังคมกว่า ๓ พันแห่ง และภาครัฐได้ สนับสนุนทางด้านกฎหมาย เงินทุน และ
ระบบสนับสนุน๑ แสดงถึงรูปแบบใหม่ของการให้บริการสังคมที่ดาเนินการโดยภาคส่วนอื่นที่จะช่วย
สนับสนุนภาครัฐในการจัดบริการทางสังคมให้มีความครอบคลุมทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
๓) กระแสโลกาภิวัตน์และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเชื่อมต่อและการเคลื่อนย้าย
ระหว่างกันที่มีมากขึ้น ทาให้ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยมีโอกาสที่จะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มี
คนหลากหลายเชื้อชาติ ทัศนคติ ความคิดอยู่ร่ วมกันมากขึ้น รวมถึงคนไทยมีโอกาสในการรับรู้ข้อมูล
ข่าวสารและวัฒนธรรมจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม แม้ว่ าโลกาภิวัตน์ทาให้รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนมี
ความเหมือนกัน (Homogeneity) มากขึ้น แต่ยังคงมีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่หลากหลายที่คนใน
สังคมต้องเปิดกว้างและทาความเข้าใจ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและ
มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หากขาดการสร้างภูมิ คุ้มกันในการเลือกรับวัฒนธรรมดังกล่าว นอกจากนี้


สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (๒๕๕๘). วาระปฏิรูปพิเศษ ๑ : วิสาหกิจเพื่อสังคม.

โลกาภิวัตน์ยังส่งผลให้เกิดการหลั่งไหลของสินค้าและบริการข้ามเขตพรมแดนทาได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิด
ประโยชน์ตอ่ ผู้บริโภคมีทางเลือกบริโภคสินค้าทั้งเรือ่ งคุณภาพและราคาที่เหมาะสมมากขึน้ ขณะที่อีกด้านหนึง่
สินค้าที่หลากหลายจานวนมากจากต่างประเทศมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน จาเป็นต้องอาศัยการดาเนินงาน
ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑.๒.๒ สถานการณ์และแนวโน้มภายใน
๑) การเปลี่ ยนแปลงโครงสร้างประชากร
ไปสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัย
อย่างสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๔ โดยจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุถึง
ร้ อ ยละ ๒๐ และสั ดส่ วนดั งกล่ าวจะเพิ่ มขึ้ นอย่ างต่ อเนื่ อง
ขณะที่ วั ยเด็ กและวั ยแรงงานมี สั ด ส่ วนลดลง โดยวั ยเด็ กมี
สัดส่วนคิดเป็นร้อยละ ๑๖ ขณะที่วัยแรงงานคิดเป็นร้อยละ โครงสร้างประชากรของประเทศไทย ป 0–

๖๔ และในปี ๒๕๗๙ จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ ๓๐


ขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลงเหลือ ร้อยละ ๑๔
และ ร้อยละ ๕๖ ตามลาดับ๒ ซึ่งการลดลงของวัยแรงงานอาจ
ส่งผลต่อรายได้ภาครัฐที่จะนามาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ
รวมถึงการจัดสวัสดิการต่างๆ ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายในกลุ่ม
ผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น ที่มา: การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. – , สศช.

๒) ประชากรไทยโดยเฉลี่ยมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายตลอดช่วงชีวิตและมีการออม
อยู่ในระดับต่า ส่งผลต่อความมั่นคงในการดารงชีวิตในวัยสูงอายุ จากข้อมูลบัญชีกระแสการโอน
ประชาชาติประเทศไทย ปี ๒๕๕๖ (National Transfer Account : NTA) พบว่า ประชากรวัยแรงงาน
เท่านั้นที่เกินดุลรายได้เฉลี่ยประมาณ ๒๗,๘๖๐ บาท/คน ขณะที่วัยเด็ก วัยเรียน และวัยสูงอายุมีค่าใช้จ่าย
ที่สูงกว่ารายได้ อย่างไรก็ตาม รายได้ที่เกินดุลของวัยแรงงานยังไม่สามารถชดเชยหรือปิดส่วนขาดดุล
บัญชีกระแสการโอนประชาชาติประเทศไทย ปี ๒๕๕๖ รายได้ ของตนเองตลอดช่ วงชี วิ ต ๓ นอกจากนี้ ข้ อมู ล
การส ารวจภาวะเศรษฐกิ จ และสั ง คมของครั ว เรื อ น
ของส านั กงานสถิ ติ แห่ งชาติ ๔ พบว่ า การออมของ
ครั วเรื อนเฉลี่ ยต่ อเดื อนลดลงจาก ๕,๗๕๘ บาท ในปี
๒๕๕๘ เป็น ๕,๐๗๖ บาท ในปี ๒๕๖๐ และหนี้สินเฉลี่ย
ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก ๑๕๖,๗๗๐ บาท เป็น ๑๗๗,๑๒๘
บาท ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้สูงอายุ
ที่มา: คานวณโดย สศช. (๒๕๕๘) ร้อยละ ๒๔ ไม่มีเงินออม๕


สศช. (๒๕๕๖). การคาดประมาณประชากรไทยของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๘๓

สศช. (๒๕๕๘). บัญชีกระแสการโอนประชาชาติประเทศไทย ปี ๒๕๕๖

ข้อมูลการออมของครัวเรือนและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนจากการสารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในช่วง ๖ เดือนแรกของปี ๒๕๖๐
โดยสานักงานสถิตแิ ห่งชาติ

ข้อมูลการออมผู้สูงอายุจากการสารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยสานักงานสถิติแห่งชาติ

ทั้งนี้ หน่ว ยงานภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ มีการดาเนินการในการส่งเสริมและ


ขยายความคุ้มครองเพื่อสร้างหลักประกันทางรายได้ให้กับประชากรไทยในวัยสูงอายุ ทั้งแบบบังคับและ
สมัครใจในกลุ่มผู้ที่อยู่ในระบบและนอกระบบ อาทิ การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็น
หลักประกันความมั่นคงทางรายได้สาหรับผู้ที่มีอายุ ๑๕-๖๐ ปี ที่ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็น
สมาชิกกองทุนอื่นที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ อย่างไรก็ตาม มีแรงงานนอกระบบที่สมัครเป็นสมาชิก
กองทุนการออมแห่งชาติ จานวน ๕๒๙,๖๓๓ คน หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ ๒.๕ จากแรงงานนอกระบบ
ที่มีจานวนทั้งสิ้น ๒๑.๔ ล้านคน๖ อีกทั้ง สัดส่วนแรงงานไทยที่มีหลักประกันรายได้ทั้งภาคบังคับและ
สมัครใจมีเพียงประมาณร้อยละ ๔๔ ของแรงงานทั้งหมด และแรงงานส่วนใหญ่ยังมีเงินออมไม่เพียงพอ
สาหรับการดารงชีวิตในยามสูงวัย โดยปัจจุบัน อัตราทดแทนรายได้ของระบบบานาญ (Replacement
Rate) ของแรงงานในระบบประกันสังคมอยู่ที่เพียงร้อยละ ๑๙ เท่านั้น๗
๓) คุณภาพของคนไทยในภาพรวมยังมีปัญหา รวมถึงปัญหาเชิงคุณธรรมที่ยังคง
เป็ น ปั ญ หาส าคั ญ และยั ง ไม่ มี ร ะบบรองรั บ เชิ ง สถาบั น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม โดยเด็ ก ไทยมี ปั ญ หา
เชิงคุณภาพที่สั่งสมมาจากปัญหาระบบการศึกษาและการเลี้ยงดู แรงงานมีผลิตภาพต่า และสังคมไทย
ในภาพรวมยังมีปัญหาคุณธรรม จริยธรรม โดยข้อมูลจากสภาปฏิรูปแห่ งชาติ (๒๕๕๘) และผลสารวจ
คุณธรรมของศูนย์คุณธรรมและนิด้าโพลในปี ๒๕๕๙ ระบุถึงการขาดจิตสานึกสาธารณะ การขาดความ
รับผิดชอบต่อสังคม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม การขาดการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็น
รากฐานที่นามาสู่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาการขาดความสามัคคีและความขัดแย้งในสังคม ปัญหา
การฟุูงเฟูอเกิน ตัว ถึงแม้ว่าในประเทศไทยได้ริเริ่มงานอาสาสมัครหรือจิตอาสาในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔
ที่องค์การสหประชาชาติ (United Nation) ได้ประกาศให้เป็นปีอาสาสมัครสากล และประเทศไทย
ได้ออกปฏิญญาอาสาสมัครไทยและนโยบายพัฒนาอาสาสมัครขึ้นและมีอ าสาสมัครในประเทศไทย
เกิดขึ้นเรื่อยมาจนในปี ๒๕๔๗ เกิดภัยพิบัติสึนามิในภาคใต้ และเหตุการณ์สาคัญอย่างงานพระราชพิธี
ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่เกิด
จิตอาสาเฉพาะกิจขึ้นจานวนมาก เกิดเป็นกระแสอาสาสมัครขนาดใหญ่ (Volunteer Megatrend) ขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครในประเทศไทยมักเป็นการรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ ทางานโดยไม่สังกัด
องค์กร และส่วนใหญ่เน้นการตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะหน้าหรือกิจกรรมเฉพาะกิจและขาดความต่อเนื่อง
๔) ประเด็นด้านความเหลื่อมล้าด้านรายได้ยังเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แม้ที่ผ่านมา
ประเทศไทยสามารถลดสัดส่วนคนจนจากร้อยละ ๖๕.๑๗ สัดส่วนคนจนและสัมประสิทธิค์ วามไม่เสมอภาค (Gini) ด้านรายได้

ในปี ๒๕๓๑ เหลือเพียงร้อยละ ๗.๒ ในปี ๒๕๕๘ แต่ความ


เหลื่อมล้าทางรายได้ที่วัดจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค
(Gini coefficient) กลับลดลงเพียงเล็กน้อยจาก ๐.๔๘๗ ในปี
๒๕๓๑ เหลือ ๐.๔๔๕ ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูง

ที่มา: ประมวลโดย สศช.



ข้อมูลจานวนสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐) จากกองทุนการออมแห่งชาติ และข้อมูลจานวนแรงงานนอก
ระบบจากการสารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสานักงานสถิติแห่งชาติ

ข้อมูลสัดส่วนแรงงานไทยที่มีหลักประกันรายได้และอัตราทดแทนรายได้ของระบบบานาญ คานวณโดยสานักงานเศรษฐกิจการคลัง

เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน๘ และนามาสู่ความไม่เท่ากันของทุนที่มีในการพัฒนา
ศักยภาพคน โดยที่สังคมไทยยังมีปัญหาความเหลื่อมล้าในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและสาธารณสุข
โดยมีความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ระหว่างโรงเรียนในเมือง-นอกเมือง และโรงเรียนในสังกัดต่างๆ รวมถึง
ยังมีความเหลื่อมล้าด้านสินทรัพย์และการถือครองที่ดินอีกด้วย โดยกลุ่มผู้ที่ถือครองที่ ดินร้อยละ ๑๐ ที่
ถือครองที่ดินมากที่สุด มีส่วนแบ่งการถือครองที่ดินมากกว่าร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนกลุ่มผู้ที่ถือ
ครองที่ดินร้อยละ ๔๐ ที่ถือครองที่ดินน้อยที่สุด มีส่วนแบ่งการถือครองที่ดินเพียงร้อยละ ๑.๒ เท่านั้น๙
๕) ความเหลื่อมล้าด้านการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม สามารถจาแนกได้ตาม
กลุ่มเปูาหมายสาคัญที่มีความไม่เสมอภาคในการได้รับการคุ้มครองทางสังคม ดังนี้
๕.๑) กลุ่ ม แรงงานนอกระบบ แรงงานกลุ่ ม นี้ ส่ ว นใหญ่ ยั ง ไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง
สวั สดิ การที่ จาเป็ น ก่อ ให้ เกิ ด ความแตกต่า งด้ านความคุ้ม ครองระหว่ างแรงงานในและนอกระบบ
ซึ่งแม้ว่ าภาครั ฐจะเปิ ด โอกาสให้ แ รงงานนอกระบบสามารถเข้า สู่ระบบประกัน สังคมภาคสมัค รใจ
เพื่อเป็นความคุ้มครองทางสังคมอย่างหนึ่งให้กับแรงงานนอกระบบ อย่างไรก็ตาม มีแรงงานนอกระบบเพียง
๒.๒ ล้านคน (ประมาณร้อยละ ๑๐) จากแรงงานนอกระบบ ๒๑.๔ ล้านคน ที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม
ภาคสมัครใจ ๑๐ ทั้งนี้ อาจเกิด จากปัญหาการรับรู้ ข้อมูลด้านประกันสังคม และมีรายได้ไม่เพียงพอ
เพื่อจ่ายสมทบเข้าระบบประกันสังคม นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาการ
ทางานด้านต่างๆ อาทิ ปัญหาด้านค่าตอบแทน ปัญหาการทางานหนัก และปัญหาการไม่ได้รับการจ้างงาน
อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการได้รับสิทธิในการเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย๑๑ ทาให้แรงงานนอกระบบขาดแต้มต่อ
ในการพัฒนาเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง
๕.๒) กลุ่มคนพิการยังถูกจากัดการเข้าสู่ตลาดงาน
๑๒
 สถานการณ์กลุ่มคนพิการในปัจจุบัน ข้อมูล ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๐
พบว่า ประเทศไทยมีคนพิการที่มีบัตรประจาตัวคนพิการทั่วประเทศ จานวน ๑,๘๐๒,๓๗๕ คน คิดเป็น
ร้อยละ ๒.๗๒ ของประชากรทั้งประเทศ โดยส่วนใหญ่ประสบความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทาง
ร่างกาย จานวน ๘๗๘,๘๘๘ คน (ร้อยละ ๔๘.๗๖) รองลงมาคือ ความพิการทางการได้ยินหรือ
สื่ อ ความหมาย จ านวน ๓๒๙,๔๓๗ คน (ร้ อ ยละ ๑๘.๒๘) และความพิ ก ารทางการเห็ น จ านวน
๑๘๘,๐๕๐ คน (ร้อยละ ๑๐.๔๓) เมื่อพิจารณาช่วงอายุ พบว่า คนพิการส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ ๖๐
ปี ขึ้ น ไป จ านวน ๙๑๘,๔๐๗ คน (ร้ อยละ ๕๐.๙๖) รองลงมาอยู่ ระหว่ างอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี จ านวน
๘๐๒,๐๕๘ คน (ร้อยละ ๔๔.๕) ซึ่งอยู่วัยแรงงาน แต่กลับพบว่า มีคนพิการเพียง ๒๒๗,๙๒๔ คน (ร้อยละ


สศช. (๒๕๕๘). ข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้าในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘ และ Sondergaard et al.
(๒๐๑๖). Thailand - Systematic Country Diagnostic : Getting Back on Track - Reviving Growth and Securing Prosperity for All.
Washington, D.C. : World Bank Group.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (๒๕๕๘). วาระที่ ๒๘ การปฏิรูประบบเพือ่ สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาธนาคารที่ดิน
๑๐
ข้อมูลแรงงานนอกระบบที่เข้าเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา ๔๐) ปี ๒๕๕๙ โดยสานักงานประกันสังคม และข้อมูลจานวนแรงงานนอก
ระบบจากการสารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสานักงานสถิติแห่งชาติ
๑๑
การสารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๕๘ สานักงานสถิตแิ ห่งชาติ, ๒๕๖๐
๑๒
รายงานสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย (ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๐) โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

๒๘.๔๒) ที่ส ามารถประกอบอาชีพได้ โดยที่ยังมี คนพิการที่มี ศักยภาพ แต่ ยังไม่งานท าอีก จานวน
๔๕๕,๙๙๐ คน (ร้อยละ ๕๖.๘๕)
 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคการเข้าถึงการทางานของคนพิการ ปัญหาการจ้างงาน
คนพิการมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ
ทาให้ เกิด การสงเคราะห์ คนพิการรูปแบบใหม่ โดยให้ ค นพิการทางานไม่ต รงตามศัก ยภาพ รวมถึ ง
การกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อประกอบอาชีพแก่คนพิการ ผ่านกองทุนส่งเสริมและพั ฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ มีจานวนเพียง ๑๘,๐๖๖ ราย คิดเป็นเงินประมาณ ๗๙๕.๗๗ ล้านบาท๑๓
จากเงิ น กองทุ น ทั้ งสิ้น ๑๐,๑๗๐ ล้ านบาท ๑๔ โดยพบปัญหาการอนุมั ติเ งินกองทุน ซึ่งพิ จารณา
รายโครงการ (Project based) ทาให้การนาเงินกองทุนมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเป็นไปได้ยาก
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ ส่งผลให้เมื่อเดือนมกราคม
๒๕๖๐ มีตัวแทนคนพิการเข้าเรียกร้องความเสียหาย ๓๖๑,๐๐๐ บาท กรณีสร้างสถานีรถไฟฟูาบีทีเอส
แต่ไม่มีลิฟต์ และอุปกรณ์อานวยความสะดวกให้คนพิการครบ ๒๓ สถานี๑๕
๕.๓) กลุ่ ม ผู้ ไ ร้ สั ญ ชาติ ยั ง ประสบปั ญ หาเรื่ อ งการได้ รั บ สั ญ ชาติ จากข้ อมู ล
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้จัดทาทะเบียนราษฎรของบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ โดยกลุ่มบุคคล
ไร้รัฐ ไร้สัญชาติมีจานวน ๔๘๘,๑๐๕ คน โดยตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ – เมษายน ๒๕๖๐ ประเทศไทยได้ให้
สัญชาติไทยแก่คนไร้รัฐไร้สัญชาติไปแล้วจานวน ๒๕๓,๗๔๒ คน โดยแบ่งเป็น (๑) กลุ่มชาวไทยภูเขา
(๒) บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕
(๓) กลุ่มที่ได้รับสัญชาติตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
(๔) กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์จานวนมาก
รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายดังกล่าวกระจายตามภูมิภาคต่างๆ ทาให้การสารวจ
และการกาหนดสถานะบุคคลทางกฎหมายทาได้ล่าช้า ขาดความสมบูรณ์ และมีความคลุมเครือใน
การลงบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ ยังมีข้อจากัดในทางปฏิบัติ ในกรณีของบุคคลที่มีสถานะบุคคลทาง
กฎหมายแล้วแต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ ทั้งการศึกษา และการบริการด้านสุขภาพ
รวมถึ ง เสรีภ าพในการเดิ น ทาง รวมถึง ปั ญหาการขาดความมั่น คงทางด้ านที่ดิ น ทากิ น และปัญ หา
กรรมสิทธิ์การถือครองที่ดิน เกิดการฟูองร้องดาเนินคดีในข้อหาบุกรุก ในปี ๒๕๕๘ สานักงาน
คณะกรรมการสิท ธิมนุ ษ ยชนแห่ งชาติ ได้ รับเรื่ องร้องเรียนกรณี ความขัดแย้ งเกี่ย วกับที่ ดินทากินและ
ที่อยู่อาศัย รวมถึงคาสั่ง คสช. ทั้งสิ้น ๕๐ คาร้อง โดยครอบคลุมพื้นที่ ๓๐ จังหวัด และคิดเป็นจานวนที่ดิน
ซึ่งมีการเรียกคืน หรืออยู่ระหว่างการพิพาทเป็นพื้นที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่๑๖

๑๓
ข้อมูลผลการอนุมัติการกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ โดยกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๑๔
ข้อมูลสถานะกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ณ เดือนสิงหาคม ๒๕๖๐ จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๑๕
ไทยรัฐ, ๒๑ มกราคม ๒๕๖๐. https://www.thairath.co.th/content/๘๔๐๖๕๐
๑๖
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๕๘
๑๐

๖) ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคยังมีข้อจากัด
 กลไกการคุ้มครองผู้ บริ โภคในปัจจุบัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ บริ โภค พ.ศ. ๒๕๒๒
และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกลไกสาคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านการดาเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภคที่ได้มีการจัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สาหรับให้บริการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ไม่ได้
รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าหรือบริการ รวมทั้งให้บริการรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่
ไปรษณีย์ เว็บไซต์ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (www.ocpb.go.th) และผ่านห้างสรรพสินค้า และ
ร้านสะดวกซื้อต่างๆ ซึ่งสถิติการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ อยู่ที่
๘,๔๖๑ ราย เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่มีจานวน ๗,๕๘๖ ราย๑๗ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่น
นอกจาก สคบ. ที่รับเรื่องราวร้องเรียนจากผู้บริโภคด้วย อาทิ สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรมการค้าภายใน สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
 อุปสรรคของการคุ้ มครองผู้ บ ริ โ ภค การใช้ ป ระโยชน์ จากข้ อ มู ล ยัง จ ากั ด อยู่
เฉพาะในหน่วยงานของตนเอง ทาให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้ถูกนามาใช้เพื่อปูองกันและแก้ไขปัญหาของ
ประเทศอย่า งเป็น ระบบ อีกทั้ง แม้ว่ าจะมีหน่วยงานที่ทาหน้ าที่คุ้มครองผู้ บริ โภคอยู่แ ล้ว แต่ยังไม่
สามารถคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิได้มากเท่าที่ควร เนื่องด้วยพฤติกรรมการบริโภคสินค้า
จากโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดในการพิสูจน์ความถูกต้องในตัว
สินค้าและบริการ ประกอบกับความซับซ้อนของกระบวนการผลิตและระบบตลาด ทาให้ผู้บริโภคประสบ
ปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบมากขึ้น ตลอดจนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
ที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการควบคุมสินค้าและบริการให้มีความปลอดภัยเป็นหลัก ในขณะที่ข้อกาหนดเกี่ยวกับ
การเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคยังมีน้อ ย นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานมีภารกิจในการอานวยความ
สะดวกประชาชนให้สามารถร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของสินค้าและบริการที่ไม่เป็นธรรมได้ทั้งในระบบ
สายด่วน และบริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ แต่เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในแต่ละหน่วยงานจานวนมาก
มีขอบเขตปัญ หากว้างกว่า กฎหมายและความรับ ผิด ชอบของหน่วยงานนั้นๆ ทาให้ห น่วยงานต้อ ง
ประสานงานกับหน่วยงานอื่น และเป็นผลให้ปัญหาของผู้บริโภคได้รับการตอบสนองอย่างล่าช้าและ
ไม่ทันเหตุการณ์
๗) ระบบจั ด การข้ อ มู ล ทางสั ง คมของประเทศยั ง เป็ น ลั ก ษณะการด าเนิ น การ
จากหลายส่วน โดยที่มีหน่วยงานต่าง ๆ จัดทาข้อมูลแต่ยังมิได้บูรณาการให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ดาเนินการจัดทาฐานข้อมูลประชาชน (เลขประจาตัว
ประชาชน ๑๓ หลัก) สานั กงานเศรษฐกิจ การคลัง กระทรวงการคลัง จัด เก็บข้ อมูล ผ่านโครงการ
ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และออกแบบระบบฐานข้อมูลให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น
เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ อาทิ รายได้ เงินฝาก การถือครองที่ดินซึ่งในการลงทะเบียนจะใช้ข้อมูลจากบัตร
ประจาตัวประชาชน Smart Card ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเลขประจาตัวประชาชน ๑๓ หลัก
จากกระทรวงมหาดไทย กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(พม.) รวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุ โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ติดสังคม กลุ่มผู้ติดบ้าน กลุ่มผู้ติดเตียง

๑๗
ข้อมูลสถิติรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภค ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ จากสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
๑๑

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม. ได้จัดทาฐานข้อมูลกลุ่มทางสังคม ๕ เปูาหมาย ได้แก่ กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง


กลุ่มผู้ทาการขอทาน และกลุ่มสมาชิกโครงการหมู่บ้านสหกรณ์และโครงการพระราชดาริ ซึ่งมีการ
จัดเก็บข้อมูลแล้วเสร็จ ส่วนกลุ่มราษฎรบนพื้นที่สูง และกลุ่มสมาชิกนิคมสร้างตนเองนั้นยังอยู่ในระหว่าง
การจัดเก็บข้อมูล และข้อมูลการช่วยเหลือกลุ่มเปูาหมาย อาทิ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การลงทะเบียน
ผู้ทาการขอทานที่มีความสามารถ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการที่ถูกจัดตั้งเพื่อบูรณาการข้อมูล ได้แก่
คณะกรรมการเฉพาะกิ จ เพื่ อ พั ฒ นาระบบฐานข้ อ มู ล ใหญ่ โดยมี สศช. ร่ ว มกั บ ส านั ก งานพั ฒ นา
วิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยีแห่ งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิ กส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลและการบริการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบ
ข้อมูลทางสังคมในหลายประเทศนั้น จะเป็นการบูรณาการข้อมูลบุคคลในมิติต่างๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์ด้าน
สวัสดิการจากโครงการต่างๆ ที่บุคคลนั้นได้รับปรากฏอยู่เพียงฐานข้อมูลเดียว (Integrated Social Registry)
๘) การพัฒนาในระดับชุมชนมีการฟื้นฟูมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังมีข้อจากัดเชิงระบบ
ในหลายส่วนที่ทาให้ชุมชนจานวนมากยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้
 การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน ในช่ ว งหลั ง เกิ ด วิ ก ฤติ เ ศรษฐกิ จ ในปี ๒๕๔๐
มี น โยบายในการพั ฒ นาและกระจายความเจริ ญ ไปสู่ ภู มิ ภ าคและท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ฟื้ น ฟู แ ละสร้ า ง
ฐานเศรษฐกิจในชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ จนเกิดการจัดระบบรูปแบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
เพื่อดาเนินภารกิจต่าง ๆ ให้ลุล่วง ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพในชุมชน ที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม
วิสาหกิจมากกว่า ๘๔,๗๕๙ แห่ง๑๘ สหกรณ์ ๘,๑๙๕ แห่ง๑๙ ร้านค้าชุมชน ๑๙,๒๗๐ แห่ง ตลาดชุมชนอีก
๑,๓๕๙ แห่ ง๒๐ อีกทั้ง ยังมีการจัดสวัสดิการผ่านกองทุนสวัสดิการชุมชนกว่า ๕,๙๓๐ กองทุน๒๑
การจัดการการเงินชุมชน ผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ๗๙,๕๖๖ กองทุน๒๒ สหกรณ์และเครดิต
ยูเนี่ยน กว่า ๖๑๑ แห่ง๒๓ และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ๓๔,๕๓๐ กลุ่ม๒๔
 ข้อจากัดของการสร้า งความเข้มแข็งของชุมชน ปั จจุบั นสัด ส่ว นของชุม ชน
ที่เข้มแข็งยังมีอยู่ไม่มากนัก ประกอบกับแนวคิดการพัฒนาจากภาครัฐยังเป็นลักษณะจากบนลงล่าง
โดยมองชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา ทาให้สิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนยังถูกจากัดและยังไม่มี
บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายใดก าหนดเนื้ อ หารายละเอี ย ดแห่ ง สิ ท ธิ ดั ง กล่ า วไว้ ทั้ ง ที่ ถู ก ก าหนดไว้ ใ น
รัฐธรรมนูญ อีกทั้ง ยังมีปัญหาในเรื่องความขัดแย้งระหว่างที่ดินรัฐกับชุมชน ซึ่งคาดว่าเนื้อที่ประเภท
ที่ดินของรัฐแต่ละประเภท (ไม่น้อยกว่า) ๗๙๗,๘๔๘ ไร่ ที่มีประชากรที่อยู่อาศัยและทากินในเขตที่ดิน
ของรัฐรวมกว่า ๑๑,๙๑๙,๐๐๖ คน๒๕ นอกจากนี้ ทุนที่คนในชุมชนมียังถือว่าจากัด โดยคนไทยราว ๒.๒
ล้านคน ถือว่าอยู่ในสภาวะเปราะบาง โดยร้อยละ ๔๐ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ส่วนอีกร้อยละ ๓๗ ไม่มี

๑๘
ข้อมูลจานวนวิสาหกิจชุมชน ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ จากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๑๙
ข้อมูลจานวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกประเภท ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐
ข้อมูลจานวนร้านค้าชุมชนและตลาดชุมชน สืบค้น ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/๒๒๖๖.
๒๑
ข้อมูลจานวนกองทุนสวัสดิการชุมชนจากคู่มือการดาเนินงานสวัสดิการชุมชน ปี ๒๕๖๑ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
๒๒
ข้อมูลจานวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสืบค้น ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/๒๒๖๖.
๒๓
ข้อมูลจานวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกประเภท ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ จากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๔
สานักงานเศรษฐกิจการคลัง (๒๕๕๔). โครงการวิจัยเรื่อง บทบาทของระบบการเงินฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน.
๒๕
http://www.landactionthai.org/land/index.php?option=com_content&view=article&id=๑๙๖๘:๒๐๑๗๐๙๒๒new๗&catid=๘๗&Itemid=๕๔๖
๑๒

โฉนดที่ ดิ น และที่ เ หลื อ ไม่ มี ที่ ดิ น เพี ย งพอในการท ามาหากิ น ๒๖ ผลการส ารวจการถื อ ครองที่ ดิ น
เพื่อการเกษตรเมื่อปี ๒๕๕๖ ของสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดกว่า
๑๔๙.๒๔ ล้านไร่ ร้อยละ ๕๒ เป็นพื้นที่เช่า ร้อยละ ๒๐ ติดจานอง อีก ๑.๑๕ แสนไร่ อยู่ในกระบวนการ
ขายฝากซึ่งมีความเสี่ยงที่ที่ดินจะหลุดมือจากเกษตรกรไปเป็นของเจ้าหนี้นอกระบบ หรือสถาบันการเงิน
ทั้งของรัฐและเอกชน หากไม่สามารถชาระหนี้ตามกาหนด ๒๗ รวมถึงหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่มี
บทบาทสนับสนุนชุมชนมีมากกว่า ๖๐ แห่ง๒๘ แต่ต่างมีพันธกิจและตัวชี้วัดของตนเองและไม่บูรณาการ
การทางานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างแท้จริง
๙) สถานการณ์ ของการลงทุน ทางสั งคมจากภาคส่ วนต่า งๆ มี แนวโน้ม เพิ่ มขึ้ น
โดยเงินบริจาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก ๖.๕ หมื่นล้านบาท ในปี ๒๕๕๔ เป็น ๗.๕ หมื่นล้านบาท ในปี
๒๕๕๗ ขณะที่งบประมาณสาหรับทากิจกรรม CSR ของบริษัทเอกชนมีมูลค่ากว่า ๑ หมื่นล้านบาทต่อปี๒๙
ขณะที่มีวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ขึ้นทะเบียนประมาณ ๔๐๐ กิจการ๓๐ โดยมีประเภทกิจการหลากหลาย
อาทิ การพัฒ นาชนบทโดยสมาคมพัฒ นาประชากรและชุมชน (PDA) การสร้างผลิต ภัณฑ์สมุนไพร
โดยเครือข่ายชุมชนของมูลนิธิ รพ.อภัยภูเบศร์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
โดยบริษัทนวัตกรรมชาวบ้าน
๑๐) คนไทยส่วนใหญ่นิยมให้บริจาคเงิน แต่ยังมีสัดส่วนการลงมือทากิจกรรมจิตอาสา
ที่ค่อนข้างน้อย
 สถานการณ์การทากิจกรรมจิตอาสา จากการสารวจของ Charities Aid Foundation
ที่ได้จัดทา World Giving Index ในปี ๒๕๖๐๓๑ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือ
สังคมในสัดส่วนร้อยละ ๖๘ ซึ่งเทียบเท่ากับสัดส่วนการบริจาคเงินของคนในประเทศไอซ์แลนด์ ขณะที่
การเสียสละเวลาไปทางานอาสาสมัครเพื่อช่ วยเหลือสังคมของคนไทยกลับมีเพียงร้อยละ ๑๙ ซึ่งต่ากว่า
ประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและเมียนมาร์ที่มีสัดส่วนการทางานอาสาสมัครสูงถึงร้อยละ ๕๕
และ ๕๑ ตามลาดับ นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สาคัญที่ผ่านมา อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และงาน
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ก่อให้เกิดจิตอาสาเฉพาะกิจขึ้นจานวนมาก ซึ่งเป็นการสร้างกระแสจิตอาสาขนาดใหญ่ขึ้นในสังคมไทย
 ลักษณะของการทากิจกรรมจิตอาสา การทากิจกรรมจิตอาสาหรืออาสาสมัคร
ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีการทางานโดยไม่สังกัดองค์กร และ
ส่วนใหญ่เน้นการตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะหน้าหรือกิจกรรมเฉพาะกิจ ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้สื่อสังคม

๒๖
https://www.isranews.org/isranews-scoop/๕๓๗๙๓-land-๖๑๗๓๒.html
๒๗
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (๒๕๕๘). วาระที่ ๒๘ การปฏิรูประบบเพื่อสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาธนาคารที่ดิน
๒๘
ใช้ ข้อมูลจากเอกสารการประชุมสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ ๖ ภาคผนวก ๑ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นฐานคิดและเพิ่มเติมองค์กรเครือข่ายอื่นๆ
๒๙
ข้อมูลเงินบริจาคและงบประมาณสาหรับกิจกรรม CSR ของภาคเอกชน โดย TDRI (๒๕๖๐)
๓๐
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (๒๕๕๘). วาระปฏิรูปพิเศษ ๑ : วิสาหกิจเพื่อสังคม.
๓๑
Charities Aid Foundation. (๒๐๑๗) CAF World Giving Index ๒๐๑๗ : A global view of giving trends.
๑๓

ออนไลน์ (Social Network) ในการรวมกลุ่มทากิจกรรม นอกจากนี้ การบริหารจัดการอาสาสมัครยัง


ขาดองค์กรเฉพาะในการบริหารจัดการอาสาสมัครเพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมประสานงานอาสาสมัคร๓๒
๑.๓ ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ
ความสอดคล้องของการปฏิรูปด้านสังคมกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ พบว่า ประเด็นการปฏิรูป
ประเทศด้านสังคม มีความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ในหลายส่วน ทั้งการสร้าง
หลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อรองรับการเป็นสังคมสูงวัย การให้ความช่วยเหลือกลุ่ม
ผู้ด้อยโอกาส และการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งที่มุ่งเน้นการเพิ่มบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรและทุนชุมชน สวัสดิการชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาค
ทางสั งคม ที่ให้ความสาคัญกับการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้คนทุกกลุ่มในสังคม
การเพิ่มรายได้ ให้ กั บกลุ่มผู้มี รายได้ น้ อย (ประชากรร้อยละ ๔๐ ที่ มีรายได้ต่ าที่ สุด) และผู้ด้ อยโอกาส
มีความมั่นคงทางรายได้ในสังคมสูงวัย การสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางสังคมอย่างทั่วถึง การสร้าง
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อคนทุกกลุ่มวัย ตลอดจนการเพิ่มพลังความสามารถ (Empowerment) ให้กับ
ชุมชน รวมถึง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่ให้ความสาคัญกับวิสาหกิจ
ชุ ม ชน ส าหรั บ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารสร้ า งความเติ บ โตบนคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม
จะสอดคล้องในประเด็นที่ให้ความสาคัญกับระบบจัดการน้าชุมชน การรักษาความมั่นคงของชนบทและ
ฐานทรัพยากรชุมชน
อีกทั้ง การปฏิรูปประเทศด้านสังคม ให้ความสาคัญกับการส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ และ
การปรับเปลี่ยนค่านิยมและเสริมสร้างคุณธรรมของสังคมในภาพรวม ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์
การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในส่วนของการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม
และการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต นอกจากนี้ ข้อเสนอแนวทางปฏิรูปด้านสังคมยังมุ่งไปที่การปรับเปลี่ยน
กลไกดาเนินการภาครัฐในส่วนต่างๆ สาหรับการให้บริการทางสังคมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ยิ่งขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
๑.๔ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อดาเนินการแล้วเสร็จ
๑.๔.๑ วัตถุประสงค์รวม
ปฏิรูปสังคมในประเด็นสาคัญต่าง ๆ เพื่อนาไปสู่สังคมคุณภาพ โดยการสร้างความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านการออม สวัสดิการ และการลงทุนเพื่อสังคม การสร้างโอกาสที่เป็นธรรม
โดยไม่แบ่งแยก โดยการให้โอกาสแก่คนทุกกลุ่มตามศักยภาพที่มีและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ
คนทุ ก กลุ่ ม การเสริ ม สร้ า งพลั งทางสั ง คม โดยการพั ฒ นาความรู้ แ ละปั ญ ญาในการแก้ ปั ญ หาและ
ใช้ศักยภาพในพื้นที่แก่คนและองค์กรฐานราก (ชุมชน/องค์กรในท้องถิ่น) และการสร้างความเป็นอันหนึ่ง
อัน เดี ยวกั น ของสั งคม ผ่า นการเสริม สร้ างพลั งแห่ง การช่ วยเหลือ อย่ างสร้ างสรรค์ ของคนในสั งคม
เพื่อนาไปสู่การสร้างสังคมคุณภาพในที่สุด

๓๒
เครือข่ายจิตอาสา. (๒๕๕๙). เอกสารประกอบการประชุมระดับชาติ ด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ ๒ (๒๘ – ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙)
๑๔

๑.๔.๒ เป้าหมายรวม
๑) คนไทยมีหลักประกันทางรายได้ในวัยเกษียณที่เพียงพอต่อการดารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
๒) สังคมไทยเป็นสังคมแห่งโอกาสและไม่แบ่งแยก
๓) ภาครัฐมีข้อมูลและสารสนเทศด้านสังคมที่บูรณาการทุกหน่วยงานและเปิดโอกาส
ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้
๔) ชุมชน/ท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง โดยสามารถจัดการกันเองและทางานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ได้
๕) คนไทยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น
๑.๕ ตัวชี้วัด
๑.๕.๑ อัตราทดแทนรายได้ของระบบบานาญ (Replacement Rate) มากกว่าร้อยละ ๓๐
๑.๕.๒ สัดส่ วนของกลุ่ม ผู้เ สียเปรี ยบในสัง คมที่มี ศักยภาพ สามารถประกอบอาชี พได้ และ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๑.๕.๓ จานวนชุดข้อมูลที่ได้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและเปิดเผยให้ประชาชนนาไปใช้
ประโยชน์ได้
๑.๕.๔ ร้ อ ยละของชุ ม ชนที่ มี ปั ญ หาการมี ส่ ว นร่ ว มในระดั บ มากและปานกลางลดลงอย่ า ง
ต่อเนื่อง
๑.๕.๕ การใช้เวลาของประชากรในการให้บริการชุมชนเพิ่มขึ้น
๑.๖ วงเงินและแหล่งเงิน
แหล่งเงินจากงบประมาณแผ่นดิน
๑๕

ส่วนที่ ๒
เรื่องและประเด็นการปฏิรูป
จากการประมวลสังเคราะห์ข้อเสนอการปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) การขับเคลื่อน
การปฏิรูปผ่านสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และข้อเสนอการปฏิรูปอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้
บริบทข้อกาหนดและประเด็นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงสถานการณ์ด้านสังคมที่ยังเป็นปัญหา
และโจทย์ความท้าทายทั้งภายนอกและภายในประเทศ พบว่า การจะนาพาสังคมไทยไปสู่สังคมคุณภาพ
ทั้ ง ในมิ ติ เ รื่ อ งความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ และสั ง คม การสร้ า งโอกาสที่ เ ป็ น ธรรมโดยไม่ แ บ่ ง แยก
การเสริ ม สร้ า งพลั ง ทางสั ง คม และการสร้ า งความเป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ของสั ง คม ให้ บ รรลุ
ตามเปูาหมายยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี จาเป็นต้องปฏิรูป เพื่อการปรับเปลี่ยนการดาเนินงานในหลายด้าน
ทั้ ง ในส่ ว นที่ เ ป็ น การสานต่ อ การปฏิ รู ป ส าคั ญ ในช่ ว งที่ ผ่ า นมา และการสร้ า งเสริ ม กลไก วิ ธี ก าร
ดาเนิ นงานอื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม พบประเด็นหลักที่ต้องได้เร่ง
ด าเนิ น การปฏิ รู ป ใน ๕ เรื่ อ งส าคั ญ ได้ แ ก่ ๑) การออม สวั ส ดิ ก าร และการลงทุ น เพื่ อ สั ง คม
๒) การช่วยเหลือและเพิ่มขีดความสามารถกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม ๓) การจัดการข้อมูลและ
องค์ความรู้ทางสังคม ๔) การพัฒนาระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง และ ๕) การสร้างการมีส่วนร่วม
การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
๑๖

โดยตลอดระยะเวลาทางานในระหว่างเดือนกันยายน ถึงธันวาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการปฏิรูป


ประเทศด้านสังคม ได้ศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในแต่ละประเด็นหลักทั้ง ๕ เรื่อง พร้อมทั้ง
ได้ มี ก ารประชุ ม หารื อ เฉพาะกลุ่ ม ร่ ว มกั บ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญในด้ า นต่ า ง ๆ และ
การปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการพัฒนาชุมชน ด้านหลักประกันและสวัสดิการทางสังคม
ด้านการจัดการข้อมูล ด้านการลงทุนเพื่อสังคม รวมแล้ว กว่า ๑๓ ครั้ง เพื่อนาความเห็นและข้อเสนอแนะ
จากการประชุมเฉพาะกลุ่ม และการหารือมาจัดทาวิธีการ ขั้นตอน กลไก การปฏิรูปให้มีความชัดเจน
ยิ่ ง ขึ้ น นอกจากนี้ ได้ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการเพื่ อ ช่ ว ยด าเนิ น การตามมาตรา ๑๘(๓) แห่ ง
พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดาเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อช่วยดาเนินการจัด
ประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นข้อเสนอการปฏิรูปประเทศด้านสังคม โดยได้จัดประชุมรับฟัง
ความเห็ น ๔ ครั้ง ในกรุงเทพมหานคร และภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ณ จั งหวัด อุด รธ านี ภาคใต้
ณ จั งหวั ด นครศรีธ รรมราช และภาคเหนื อ ณ จั งหวั ด เชี ย งราย มี ผู้ เ ข้า ร่ วมทั้ ง สิ้น รวม ๗๓๕ คน
จากภาครั ฐ ร้ อ ยละ ๕๓ ภาคประชาชน ร้ อ ยละ ๒๔ สื่ อ มวลชน ร้ อ ยละ ๑๗ ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ แ ละ
ภาคเอกชน ร้อยละ ๖ โดยผู้เข้าร่วมประชุมล้วนเห็นด้วยกับข้อเสนอแผนการปฏิรูปประเทศด้ านสังคม
ที่มีรายละเอียดในลักษณะ (๑) แผนการปฏิรูปเป็นเรื่อง (agenda based) ครอบคลุมเรื่องและ
ประเด็นด้านการออม สวัสดิการ และการลงทุนเพื่อสังคม การช่วยเหลือและเพิ่มขีดความสามารถ
สาหรับผู้เสียเปรียบในสังคม และการจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ทางสังคม (๒) แผนการพัฒนา
เป็นพื้นที่ (area based) ครอบคลุมเรื่องและประเด็นการพัฒนาระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง และ
(๓) แผนการจัดกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนสังคม (social movement) ครอบคลุมเรื่องและ
ประเด็นการสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม โดยมีรายละเอียด
ในแต่ละเรื่องและประเด็นปฏิรูป ดังนี้
๑๗

๒.๑ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการ และการลงทุนเพื่อสังคม


ประเด็นการปฏิรูปการออม สวัสดิการ และการลงทุนเพื่อสังคม เป็นประเด็นสาคัญประเด็นหนึ่ง
ในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic Security) ซึ่งจะเป็นการยกระดับ
คุณภาพและประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการพื้นฐานของรัฐ และการยกระดับรายได้ของประชาชน โดยมี
เปูาหมายให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันทางรายได้ และได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม รวมทั้งสถาบั น
ทางสังคมสามารถแบ่งเบาภาระการลงทุนทางสังคมของรัฐบาล ซึ่งจะนาไปสู่ สังคมคุณภาพ (Social
Quality)
ประเด็นการปฏิรูปการออม สวัสดิการ ได้ให้ความสาคัญกับ (๑) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
กองทุน การออมแห่ งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นหลักประกันทางสังคมแก่ผู้ที่ไม่มี สวัสดิการอื่นรองรับ
(๒) การสร้างระบบให้คนไทยมีบาเหน็จบานาญหลังพ้นวัยทางาน (๓) การพัฒนาการออมภาคบังคับ
(๔) การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสมและเป็นธรรม
นอกจากนี้ ยังรวมถึงประเด็นด้านการลงทุนเพื่อสังคม ที่ให้ความสาคัญกั บ (๑) การใช้วิสาหกิจ
เพื่อสังคมกับการพัฒ นาสังคม (๒) การสนับสนุนให้วัด ช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้น และ
(๓) การเสริมสร้างและพัฒนากองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่น
กู้ยืมเพื่อการพัฒนาสังคม

๒.๑.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) ผู้สูงวัยมีหลักประกันรายได้ที่พอเพียงเมื่อถึงวัยเกษียณ
๒) องค์กรปกครองท้องถิ่นและสถาบันทางสังคม มีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดบริการ
ทางสังคม
๑๘

๓) ปรับปรุงสิทธิประโยชน์สวัสดิการสังคมให้เหมาะสม เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ


๔) เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ภาครัฐและการออมภาคประชาชน
๒.๑.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ : ๑ - ๕ ปี
๒.๑.๓ ตัวชี้วัด
๑) อัตราทดแทนรายได้ของระบบบานาญ (Replacement Ratio)๓๓ อยู่ในระดับที่
เพียงพอต่อการดาเนินชีวิตเมื่อถึงวัยเกษียณ
๒) สวัสดิการที่ได้รับมีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น
๓) มี การระดมทุ นและการจั ดการการออมภาคบั งคั บและภาคสมั ครใจเพื่ อลดภาระ
งบประมาณภาครัฐ
๒.๑.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
งบประมาณแผ่นดิน

๓๓
อัตราทดแทนรายได้ของระบบบานาญ (Replacement Ratio) หมายถึง สัดส่วนของระดับเงินบานาญรายเดือนที่ได้รับ
เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้เดือนสุดท้ายก่อนการเกษียณหรือเลิกทางาน (สภาปฏิรูปแห่งชาติ, ๒๕๕๘) โดยตามหลักสากล
ไม่ควรต่ากว่าร้อยละ ๔๐ (Jorge Roldos, ๒๐๐๗, ”Pension Reform and Macroeconomic Stability in Latin
America”,IMF Working Paper, International Monetary Fund)
๑๙

๒.๑.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
กิจกรรมที่ ๑ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
วิธีการ หน่วยงานหลัก มีเฉพาะ งบ ๑. ประชาชนที่ ๑. สมาชิก กอช.
ปรับปรุงรูปแบบการตลาด ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กอช. กรณี ประมาณ เป็นกลุ่ม เพิ่มขึ้นจาก ๖ แสน
การอานวยความสะดวกแก่กลุ่มเปูาหมาย มีเงิน แผ่นดิน อาชีพนอก คนเป็น ไม่ต่ากว่า
หน่วยงานร่วม ๑ ล้านคนภายในปี
ได้แก่ ได้แก่ กค./มท. สมทบ ระบบเข้ามา
 การอานวยความสะดวกกับผู้ฝาก ภาครัฐ เป็นสมาชิก พ.ศ.๒๕๖๑ และ
 การมีปฏิสัมพันธ์กบ ั การออมชุมชน พม./รง. /กษ./ เพิ่มเติม กอช. เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นเป็น ๑๕
 ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จูงใจให้เกิดการออม
กศ./สานักงาน ๒. สมาชิก กอช. ล้านคนภายในปี
ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๖๕
 พิจารณาความเหมาะสมเงินสมทบภาครัฐ ได้รับสิทธิ ๒. สมาชิก กอช. ได้รับ
ถ้ามีความจาเป็น ประโยชน์ เงินบานาญไม่ต่า
ขั้นตอน ที่คุ้มค่าและ กว่าคนละ ๑,๕๐๐
ให้คณะกรรมการ กอช. จัดทาแผนปรับปรุง เหมาะสม บาทต่อเดือน
การบริหารงานองค์กร เพื่อใช้เป็นแนวทาง ๓. มีการปฏิบัติตาม
ดาเนินการ หรือนาเสนอ ครม. กรณีที่มี MOU ระหว่างกอช.
ความจาเป็น และหน่วยงานร่วม
กลไกและการปรับปรุงกลไก อย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการ กอช. และ กอช. เป็น ๔. กฎกระทรวงและ
ผู้ดาเนินการร่วมกับ กค. และหน่วยงานอื่น พ.ร.บ. มีการแก้ไข
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประเด็นการเพิ่ม
เงินสมทบจาก
ภาครัฐให้เหมาะสม
กับเปูาหมาย
กิจกรรมที่ ๒ สร้างระบบให้คนไทยมีบาเหน็จบานาญหลังพ้นวัยทางาน
๒๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
วิธีการ หน่วยงานหลัก เงิน งบ ประชาชนมีความ ๑. มี พ.ร.บ.ว่าด้วย
ออกกฎหมายว่าด้วยกองทุนบาเหน็จบานาญใน ได้แก่ กค. สมทบ ประมาณ มั่นคงด้านรายได้ กองทุนบาเหน็จ
รูปแบบการออมภาคบังคับ และใช้หลักการ หน่วยงานร่วม ภาครัฐที่ แผ่นดิน เมื่อถึงวัย บานาญในรูปแบบ
ระดมการออมทั้งผู้รับสวัสดิการสังคม เจ้าของ ได้แก่ รง./พม./ อาจ เกษียณอายุ/หลัง การออมภาคบังคับ
กิจการ (นายจ้าง) และรัฐบาล พ้นวัยทางาน ภายใน ๒ ปี
ขั้นตอน มท. เกิดขึ้น (พ.ศ. ๒๕๖๒)
นาเสนอกฎหมายต่อ สนช. โดยเร็ว หลัง ๒. ประชาชนมีรายได้
กลไกและการปรับปรุงกลไก ประกาศ ไม่ต่ากว่าร้อยละ
ดาเนินการโดย กค. เป็นผู้ริเริ่มร่วม ใช้กฎ ๓๐ ของรายได้
กับหน่วยงานอื่นๆ และภาคประชาสังคม หมาย สุดท้ายที่ประชาชน
ได้รับภายใน ๑๕ ปี
กิจกรรมที่ ๓ ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากสวัสดิการต่าง ๆ ให้เหมาะสมและเป็นธรรม
วิธีการ หน่วยงานหลัก ปรับงบ ประชาชน ๑. แก้ไขกฎหมายและ
ศึกษาและปรับปรุงกฎหมายและอนุบัญญัติ ได้แก่ กค. ประมาณ ในแต่ละระบบ อนุบัญญัติที่
จากระบบสวัสดิการที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความ หน่วยงานร่วม ที่ใช้อยู่ สวัสดิการ ได้รับ เกี่ยวข้องให้เสร็จ
เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้รับสวัสดิการ ได้แก่ รง./พม. ปัจจุบนั ให้ สิทธิประโยชน์ ภายใน ๒ ปี
ขั้นตอน ที่เหมาะสมและ
สอดคล้อง เป็นธรรม ๒. กฎ/ระเบียบ
๑. ให้ กค. ตั้งคณะกรรมการร่วมกับ
หน่วยงานอื่นเพื่อศึกษาหลักการ และ กันหลัง ที่เกี่ยวข้องได้รับ
นาเสนอ ครม. การแก้ การทบทวนและ
๒. เมื่อ ครม. อนุมัติแล้ว ให้หน่วยงาน กฎหมายที่ ปรับปรุง
เจ้าของเรื่องแก้กฎหมายและอนุบัญญัติ ออกใหม่
ต่างๆ ให้เป็นไปตามมติ ครม. และ
ขั้นตอนทางนิตบิ ัญญัติ
กลไกและการปรับปรุงกลไก
ให้ กค. เป็นเจ้าของเรื่อง พิจารณาร่วม กับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รง. พม. และ
๒๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
กองทุนการออมต่างๆ

กิจกรรมที่ ๔ พัฒนาการออมภาคบังคับ
วิธีการ หน่วยงานหลัก ใช้งบ ๑. ประชาชนมี ๑. มีกฎหมายที่
๑. จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่วนหนึ่ง ได้แก่ กค. ประมาณ เงินออมจาก กาหนดให้จัดสรร
คืนกับผู้เสียภาษีตามเลขบัตรประจาตัว ของ การบริโภค เงินจาก
ประชาชนเพื่อเป็นเงินออมของผู้เสียภาษี หน่วยงาน สินค้าและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
จนอายุ ๖๐ ปี บริการของตน คืนผู้บริโภคเป็น
ขั้นตอน ๒. ประชาชน เงินออมโดยตรง
๑. พิจารณาระเบียบต่างๆ ภายใต้กฎหมายที่ ทุกคนเข้าสู่ ภายในปี ๒๕๖๒
กค. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ ระบบภาษี ๒. เงินออมของ
การออม เพื่อเสนอหลักการต่อ ครม. ประชาชนจากการ
๒. เมื่อ ครม. เห็นชอบ ให้หน่วยงานที่ คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เกี่ยวข้องแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายและ (VAT) เพิ่มขึ้น
อนุบัญญัติที่ตนรับผิดชอบให้สอดคล้อง ๓. จานวนประชาชน
กับมติ ครม. นอกระบบภาษีที่
กลไกและการปรับปรุงกลไก เข้าสู่ระบบภาษี
๑. กค. เป็นผู้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่ เพิ่มขึ้น
เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ ๕ ใช้วิสาหกิจเพื่อสังคมกับการพัฒนาสังคม
๒๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
วิธีการ หน่วยงานหลัก เป็นไป ให้วิสาหกิจเพื่อ ๑. มีพ.ร.บ.ว่าด้วย
๑. เร่งรัดให้มีการอนุญาตให้นิติบุคคลที่ ได้แก่ พม./ ตาม สังคมเริ่มดาเนิน วิสาหกิจเพื่อสังคม
ประสงค์จะดาเนินการตามระเบียบ สนร. สสว. กฎหมายที่ การได้ภายในปี ภายในปี ๒๕๖๒
ทาธุรกรรมได้ไปพลางก่อน ร่างไว้ ๒๕๖๑ ๒. มีดัชนีแสดงให้เห็น
๒. เร่งรัดการออกกฎหมายวิสาหกิจเพื่อสังคม ว่ามีสัดส่วนในการ
ขั้นตอน
สร้าง GDP ในปีที่
เสนอกฎหมายต่อ ครม. และ สนช.
๕ หลังจาก
กลไกและการปรับปรุงกลไก
กฎหมายใช้บังคับ
๑. เร่งรัดการปฏิบัติงานของฝุายเลขานุการ
ซึ่งอยู่ใน พม.
๒. พัฒนาองค์กรฝุายเลขานุการให้
สอดคล้องกับสาระของกฎหมาย ทั้งใน
ส่วนที่เป็นผูส้ นับสนุน (Enabler) และผู้
กากับ (Regulator) ในรูปแบบของ
องค์กรที่มีลักษณะต่างกัน เช่น การตั้ง
องค์การมหาชนให้สนับสนุนกิจการของ
วิสาหกิจเพื่อสังคม

กิจกรรมที่ ๖ เสริมสร้างและพัฒนากองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เพื่อให้ อปท. กู้ยืมเพื่อการพัฒนาสังคม


วิธีการ หน่วยงานหลัก ๑,๐๐๐ งบ ชุมชนมีการ ๑. มี อปท. ขอใช้เงิน
๑. จัดสรรงบประมาณเหลือจ่ายปี ๒๕๖๑ ได้แก่ พม. ล้าน ประมาณ พัฒนาโครงสร้าง งบประมาณเหลือ
เพื่อใช้ดาเนินการโครงการตัวอย่าง โดย หน่วยงานร่วม บาท แผ่นดิน พื้นฐานที่สอดรับ จ่ายในปี ๒๕๖๑
๒๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
อาศัยธนาคารของรัฐเป็นผู้พิจารณา ได้แก่ กค./ เป็นเงิน กับความต้องการ ๒. การกู้ยืมเพื่อลงทุน
โครงการปลอดดอกเบี้ย มท./อปท./ ประเดิม ของประชาชนใน กิจการทางสังคม
๒. ศึกษาและจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนา ธนาคารของรัฐ จาก พื้นที่รับผิดชอบ โดย อปท. มีไม่ตา่
โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เพื่อให้ อปท. งบประ ของเทศบาล กว่า ๒๐ แห่ง
(เทศบาล และ อบจ.) ที่มีศักยภาพกู้ยืม โดย และ อบจ. ภายในเวลา
แบ่งเป็น ๒ ขัน้ ตอน (๑) กาหนดวงเงินให้ มาณ ปี ๕ ปี
สถาบันการเงินของรัฐให้กู้โดยรัฐสนับสนุน ๒๕๖๑ ๓. จานวนของ
ค่าดอกเบี้ยหรือค่าดาเนินการ และ (๒) เปิด ขึ้นกับ อปท. ที่มีขีด
การลงทุนจากภาคเอกชนผ่านตราสารหนี้ ขนาด ความสามารถ
ตลาดทุน หรือการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ ของเงิน ในการจ่ายคืน
(Crowd Funding ประชารัฐ ฯลฯ) สมทบ เงินทุน เพิ่มขึ้น
๓. กาหนดขอบเขตของการให้กู้ยืม ได้แก่ ภาครัฐ โดยในเบื้องต้น เริ่ม
(๑) สถานที่ดูแลและให้บริการผูส้ ูงวัย ทดลองดาเนินการ
(๒) สถานบริการสุขภาพสาหรับผู้ปุวยไม่ ที่ใช้ใน ๕ แห่ง
ติดเตียง และ (๓) การพัฒนาองค์ความรู้ กิจการ ๔. มีการจัดตั้ง
เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของ และพัฒนาองค์กร
ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทที่รฐั บาลยัง ภาครัฐเพื่อส่งเสริม
ไม่สามารถตอบสนองได้ วิสาหกิจชุมชนที่
ชัดเจน
ขั้นตอน
๑. ใช้ งปม.เหลือจ่ายจากงวดที่ ๓ ของ งปม.
ปี ๒๕๖๑
๒. เสนอ ครม. และใช้มติ ครม. ริเริ่มเป็น
โครงการนาร่อง
๓. เตรียมความพร้อมของกฎหมายและ
อนุบัญญัติตา่ งๆ
กลไกและการปรับปรุงกลไก
๒๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
๑. พม. เป็นเจ้าของเรื่อง โดยหารือกับ กค.
มท. และ อปท.
๒. ให้คณะกรรมการพิเศษชุดหนึ่งเป็น
ผู้ศึกษาและพิจารณาเสนอ ครม.
๓. เมื่อผ่าน ครม. แล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แก้กฎหมายและอนุบญ ั ญัติของตน
๔. ให้มีการศึกษาการจัดตั้งหน่วยบริหาร
ในรูปองค์การมหาชนภายใต้การกากับ
ดูแลของ รมว.กค.

กิจกรรมที่ ๗ ให้วัดช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้น
วิธีการ หน่วยงานหลัก งบ สถาบันทาง ๑. มหาเถรสมาคมมี
ขอเป็นนโยบายของคณะสงฆ์ให้วัดสามารถ ได้แก่ พศ. ประมาณ ศาสนามีส่วนร่วม นโยบายเรื่อง การ
ดาเนินการช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคมได้ หน่วยงานร่วม ปกติของ ต่อการจัด ให้วัดมีส่วนร่วมต่อ
ตามความเหมาะสม (คณะสงฆ์อาจกาหนด ได้แก่ คณะ หน่วย กิจกรรมทาง การจัดกิจกรรม
ขอบเขต หรือประเภทของกิจกรรม) สงฆ์/ชุมชน/วัด สังคมเพิ่มขึ้น
ขั้นตอน ราชการ มีความเชื่อมโยง ทางสังคม ภายใน
นาเสนอคณะสงฆ์เพื่อเป็นนโยบาย ระหว่างกิจกรรม ปี ๒๕๖๑
กลไกและการปรับปรุงกลไก วัด โรงเรียน และ ๒. จานวนวัดที่มีสว่ น
๑. มอบให้ พศ. เป็นผู้ดาเนินการ บ้านมากขึ้น ร่วมต่อกิจกรรมทาง
๒. ควรมีการกาหนดนโยบายให้ กศ. เป็น สังคม นอกเหนือ
ผู้รับฟังและรายงานความคิดเห็นภาค จากการเผยแพร่
๒๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนเพื่อสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่งเงิน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
ประชาชน เพื่อร่วมกิจกรรมกับวัด และ ศาสนา มีเพิ่มขึ้น
เชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างบ้าน วัด และ
โรงเรียน ให้เป็นรูปธรรม
๓. เชื่อมโยงชุมชนเมืองกับนโยบาย โดยมี
กลไกที่ชัดเจนใน อปท. (เช่น กทม.)
๒๖

๒.๑.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
-
๒๗

๒.๒ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม


การดาเนินการปฏิรูปกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมภายใต้แนวคิด “ปฏิรูปเพื่อปลดล็อค” อุปสรรคต่างๆ
ที่ทาให้คนบางกลุ่มในสังคมซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข
การเมือง กฎหมาย และวัฒนธรรม จนกลายเป็นผู้เสียเปรียบ ตลอดจนการสร้างโอกาสให้คนทุกคนสามารถ
เข้าถึงบริการต่างๆ ได้ทุกมิติ อย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน (Access to all opportunity) สอดคล้อง
กับแนวคิดสังคมคุณภาพในมิติความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) ที่มุ่งช่วยเหลือให้ผู้เสียเปรียบ
ในสังคมสามารถเข้าถึงสวัสดิการตามสิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเสมอภาค
กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมครอบคลุมกลุ่มเปูาหมายสาคัญ อาทิ เด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ
ผู้สูงอายุ คนยากจน คนไร้ที่พึ่ง บุคคลไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร ผู้พ้นโทษ ผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี (HIV) และ
ผู้บริโภค โดยให้ความสาคัญกับการปรับปรุงกระบวนการคิด รูปแบบการดาเนินงาน จากการ “สงเคราะห์”
มาเป็น การสร้า งเสริม ปรับ เปลี่ย นทัศ นคติต่อ กลุ่ม เปูา หมาย “จากผู้รับ เป็น ผู้ผ ลิต ” เกิด ความ
เข้ม แข็ง (empower) ให้สามารถดูแลช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือสังคม และเป็นส่วนหนึ่ง ของการ
ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ผ่านการอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เชื่อมต่อกระบวนการทางานให้มุ่งไป
ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนพร้อมกันทั้งระบบ ทั้งนี้ ในส่วนของกลไกและกระบวนการ
ทางานมุ่งคานึงถึงหลักสาคัญ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) การสังคมสงเคราะห์ (social work) ๒) การเสริมพลัง
(strengthening and empowerment) และ ๓) การจัดสวัสดิการ (welfare) ตลอดจนการปรับ
ทัศนคติต่อกลุ่มเปูาหมาย จากผู้รับเป็นผู้ผลิต” เพื่อให้สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเอง และสังคมได้
๒๘

๒.๒.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
ปลดล็อคข้อจากัดต่างๆ อันเป็นอุปสรรคของกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม เพื่อให้สามารถ
มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีโอกาสอย่างเสมอภาค ในการเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุน บริการสาธารณะของรัฐ
และโอกาสในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้ตนเอง และสามารถสร้างผลิตภาพให้แก่สังคมได้
๒.๒.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ
มีกรอบระยะเวลาการดาเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นเป็นการ
ดาเนินงานในกิจกรรมหรือโครงการที่มีความเร่งด่วนและจาเป็น หรือเป็นกิจกรรมที่เป็นพื้นฐานในการ
ดาเนินงานในกิจกรรมต่อไป ซึ่งมีระยะเวลาดาเนินงานตั้งแต่ ๑ – ๒ ปี ส่วนในระยะยาวเป็นกิจกรรมที่ใช้
เวลาในการดาเนินงานนานขึ้น ซึ่งอาจต้องมีการบูรณาการการดาเนินงานในด้านอื่นๆ หรือหารือกับผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย
๒.๒.๓ ตัวชี้วัด
๑) ระดับความสาเร็จในการผลักดันนโยบาย/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
๒) สั ด ส่ ว นของกลุ่ ม ผู้ เ สี ย เปรี ย บในสั ง คมที่ มี ศั ก ยภาพ สามารถประกอบอาชี พ ได้
และ/หรือ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๓) ระดับความสาเร็จของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและ
ภาคประชาสังคม ในการจัดสภาพแวดล้อม การเดินทาง และบริการสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึง
และใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง
๒.๒.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
งบประมาณแผ่นดิน
๒๙

๒.๒.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๑. ปฏิรูประบบขนส่งสาธารณะไม่ให้เป็นอุปสรรคเพื่อคนทั้งมวล๓๔(Design for all)ที่ยึดหลักการออกแบบสากล (Universal Design) ต่อคนทุกกลุ่มทุกวัย
กิจกรรมที่ ๑ ปฏิรูประบบขนส่ง หน่วยงานหลัก คนทุกกลุ่ม ร้อยละ ๘๐ ของ
สาธารณะในระบบราง ได้แก่ คค. ทุกวัย สถานี ขบวนรถ
วิธีการ สามารถ และระบบการ
ผลักดันการก่อสร้างรถไฟฟูาใน หน่วยงานร่วม เข้าถึงระบบ ให้บริการ มีการ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ ได้แก่ รฟท./รฟม./ ขนส่ง ออกแบบเพื่อให้
คนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยตรวจ มท./กค./พม./ สาธารณะใน คนทุกกลุ่มทุกวัย
ติดตามในขั้นตอนต่างๆ ทั้งในส่วนที่ กทม./ ระบบราง สามารถเข้าถึงได้
จัดจ้างหรือดาเนินการตาม TOR แล้ว ผู้ประกอบการ โดยไม่มี และอยู่ในสภาพ
และที่อยู่ระหว่างการออกแบบรวมถึง ภาคเอกชน อุปสรรค ที่พร้อมใช้งาน
ระบบการให้บริการ

๓๔
คานิยาม “เพื่อคนทั้งมวล (Design for all) ตามหลักการออกแบบที่สากล (Universal Design)” อ้างอิงจากอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ ในคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๓๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๒ ปฏิรูประบบโครงสร้าง หน่วยงาน ลดความ ร้อยละ ๘๐ ของ
พื้นฐานและบริการขนส่งสาธารณะ หลัก ได้แก่ เสียเปรียบ หน่วยงานภาครัฐ
ทุกระบบ มท./คค. ในการเข้าถึง อปท. ภาคเอกชน
วิธีการ โครงสร้าง และภาคประชา
พื้นฐานและ
ผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะ หน่วยงาน บริการขนส่ง สังคมจัด
อย่างยิ่งบริการขนส่งสาธารณะ ร่วม ได้แก่ สาธารณะ สภาพแวดล้อม
ทุกระบบ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ กค./ พม./ การเดินทาง และ
เช่น ทางเท้า ข้อมูลข่าวสารสนเทศ เป็นต้น สศช./กทม./ บริการสาธารณะ
เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อคนทุกกลุ่ม อปท./รฟท./ ที่ทุกคนสามารถ
ทุกวัย รฟม./ขสมก./ เข้าถึงและใช้
กฟน./กฟภ./ ประโยชน์ได้
บริษัท ทีโอที อย่างทั่วถึง
จากัด (มหาชน)/
ดศ./กสทช.
๓๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๓ ปฏิรูปกฎหมายและ หน่วยงาน คนทุกกลุ่ม มีการบังคับใช้
หน่วยงานที่กากับดูแลหรือติดตามการ หลัก ได้แก่ ทุกวัยเข้าถึง กฎหมายว่าด้วยการ
บังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับ มท./พม. บริการ สร้างสภาพแวดล้อม
การออกแบบที่ยึดหลักการออกแบบที่ สาธารณะ และ ที่ทุกคนเข้าถึงและ
ได้รับประโยชน์
เป็นสากล (Universal Design) หน่วยงาน จากสภาพ ใช้ประโยชน์ได้
วิธีการ ร่วม ได้แก่ แวดล้อม (Accessibility for
ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการ คค./กทม./ สาธารณะ All Act: AAA)
ออกแบบที่ยึดหลักการออกแบบที่เป็น อปท./ดศ./ อย่างทั่วถึง
สากล (Universal Design) ซึ่งอาศัย กสทช.
บทกฎหมายหลักอื่นๆ ให้เป็นประมวล
กฎหมายรวมอยู่ในฉบับเดียวและมี
หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง เพื่อบังคับ
ใช้และกากับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย
โดยให้สามารถควบคุม จัดการ และใช้
ประโยชน์ตา่ งๆ ด้วย
๓๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๒. ปฏิรูปกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
กิจกรรมที่ ๑ สนับสนุนและเสริมสร้าง หน่วยงาน ๑. มีศูนย์บริการ ๑. ร้อยละ ๑๐๐
ประสิทธิภาพการบริการศูนย์บริการ หลัก ได้แก่ คนพิการโดย ของศูนย์บริการ
คนพิการโดยองค์กรด้านคนพิการ พม./กค. องค์กรด้าน คนพิการโดยองค์กร
และปรับปรุงรูปแบบการพิจารณาการ คนพิการที่ได้ ด้านคนพิการผ่าน
ใช้เงินของกองทุนส่งเสริมและพัฒนา หน่วยงานร่วม มาตรฐาน มาตรฐาน
คุณภาพชีวิตคนพิการ จากลักษณะ ได้แก่ รง./ ครอบคลุม
project-based เป็น unit-cost ๒. ร้อยละ ๘๐ ของ
อปท. ทั่วประเทศ คนพิการ ครอบครัว
โดยเน้นโครงการที่เป็นการเสริมสร้าง
อาชีพคนพิการที่ไม่สามารถทางานใน ๒. คนพิการ คนพิการ องค์กร
สถานประกอบการได้ หรือคนพิการที่ สามารถใช้ ด้านคนพิการ
ประกอบอาชีพอิสระ ชีวิตได้โดย (องค์กรของคน
วิธีการ ไม่มีอุปสรรค พิการ และองค์กร
๑.ดาเนินการให้มีศูนย์บริการ และมีศักยภาพ เพื่อคนพิการ) ได้รับ
คนพิการโดยองค์กรด้านคนพิการที่ได้ ในการประกอบ การจัดสรรเงินจาก
มาตรฐานและครอบคลุมทุกพื้นที่ตาม อาชีพ กองทุนฯ อย่าง
สัดส่วนคนพิการ ทั่วถึงและเป็นธรรม
๒.ดาเนินการให้ศูนย์บริการ
คนพิการโดยองค์กรด้านคนพิการ
๓๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
สนับสนุนภาครัฐตามที่กฎหมาย ๓. มีระบบประกัน
บัญญัติในการดูแลคนพิการ โดยการ คุณภาพและติดตาม
สนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและ
ประเมินผลกองทุน
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อย่าง
ต่อเนื่อง ผ่านการจัดตัง้ คณะกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนา
ในลักษณะของการร่วมบริหาร คุณภาพชีวิต
โครงการ เพื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ คนพิการ
เปูาหมาย และการประเมินผลเพื่อ ๔. คนพิการวัย
ตอบสนองโครงการในลักษณะ แรงงานร้อยละ ๑๐
unit-cost ได้รบั การพัฒนาผ่าน
กองทุนส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ
๕. จานวนคนพิการวัย
แรงงานได้รับการ
พัฒนาผ่านกองทุน
ส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคน
๓๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
พิการ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ ๑๐ ต่อปี

๓. การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในการทางาน
กิจกรรมที่ ๑ ขยายอายุเกษียณราชการ หน่วยงาน ข้าราชการ ข้าราชการ
จาก ๖๐ ป เป็น ๖๓ ป (โดยใช้เวลา ๖ ป หลัก ได้แก่ พนักงาน พนักงาน
คือ ๒ ป ขยาย ๑ ป) เพื่อเป็นต้นแบบ กพ./กพร. รัฐวิสาหกิจ และ รัฐวิสาหกิจ และ
ในการขยายเวลาการทางานและค่อยๆ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่
ขยายเวลาเป็น ๒ ป ขยาย ๑ ป (จะไม่ เกษียณอายุที่ มีศักยภาพมีอายุ
กระทบต่อการจ้างงานคนรุ่นใหม่ที่ ๖๓ ปี ใน เกษียณเพิ่มขึ้น
ทดแทนคนที่เกษียณอายุ) โดยไม่ ปี ๒๕๖๗ ๑ ปี ในทุกๆ ๒ ปี
ครอบคลุมหน่วยงานที่ต้องใช้ศักยภาพ กระทั่งปี ๒๕๖๗
ทางร่างกาย
วิธีการ
๑. ศึกษาความเหมาะสมของตาแหน่งที่
จะมีการขยายอายุเกษียณ
๒. แก้ไขพระราชบัญญัติบาเหน็จบานาญ
ให้ขยายอายุเกษียณราชการ เป็น ๖๓ ปี
๓๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๒ แก้ไขบทบัญญัติของ หน่วยงาน ผู้สูงอายุเป็น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายที่ให้ผู้สูงอายุสามารถรับงาน หลัก ได้แก่ พลเมืองที่มี ได้รับการแก้ไขให้มี
เป็นชิ้นงาน เพื่อให้เกิดการทางาน รง./พม./พณ./ ความตื่นตัว การจ้างงานผู้สูงอายุ
ร่วมกันตามศักยภาพและสภาพแวดล้อม อก. (active citizen) เป็นชิ้นงานได้
โดยไม่ต้องผูกพันทางานเต็มเวลา และมีงานทาที่
๘ ชั่วโมงต่อวัน อาทิ พระราชบัญญัติ เหมาะสมตาม
คุ้มครองแรงงานฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๖๐) ศักยภาพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทา
ที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓
วิธีการ
สนับสนุนการแก้ไขบทบัญญัติของ
กฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัตคิ ุ้มครอง
แรงงานฉบับที่ ๖ (พ.ศ . ๒๕๖๐)
ในมาตรา ๘๗ ระบุถึงการส่งเสริมการ
จ้างงานที่เหมาะสมของลูกจ้างบางกลุ่ม
หรือบางประเภท เช่น นักเรียน
นักศึกษา คนพิการ และผู้สงู อายุ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงาน
๓๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
ไปทาที่บา้ น พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อให้
สามารถจ้างงานผูส้ ูงอายุเป็นชิน้ งานได้
และเกิดการทางานร่วมกันตามศักยภาพ
และสภาพแวดล้อม
๔. ปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค
กิจกรรมที่ ๑ พัฒนาโครงสร้างและ หน่วยงาน งบประมาณ สคบ. เป็น ๑. สคบ. มีการ
ศักยภาพของ สคบ. โดยเพิ่มอานาจ หลัก ได้แก่ แผ่นดิน องค์กรที่มี ปฏิรูปองค์กรทั้ง
ทางปกครองให้กบั สคบ. เพื่อให้ กพ./กพร./ ประสิทธิภาพ ระบบ
สามารถบังคับใช้และให้ความเป็น สคบ./สธ./ยธ./ ด้านการคุ้มครอง ๒. สคบ. มีอานาจ
ธรรมกับผู้บริโภคได้จากเดิมที่เป็นเพียง มท. ผู้บริโภค ในทางปกครอง
หน่วยเชิงนโยบายและให้ความความรู้
ไปใช้สทิ ธิทางปกครองตาม ๓. พ.ร.บ. คุ้มครอง
กระบวนการยุติธรรมอย่างเดียว ผู้บริโภคได้รับการ
วิธีการ แก้ไข
๑. แก้ไขพระราชบัญญัติการคุ้มครอง
ผู้บริโภคให้มีอานาจทางปกครองแก่
เจ้าพนักงานในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค
ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือตรวจสอบ
๓๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
ข้อร้องเรียนต่างๆ เพื่อให้สามารถบังคับ
ใช้กฎหมายฯ ตามกิจกรรม โดยให้ สคบ.
ไปสังกัดหน่วยงานกระทรวงที่บังคับใช้
กฎหมาย เช่น กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
แทนสังกัดเดิม ซึ่งเป็นหน่วยงานเชิงนโยบาย
๒. สนับสนุนให้ สคบ. ดาเนินการยกร่าง
บทบัญญัติตามมาตรา ๔๖ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
กิจกรรมที่ ๒ การเสริมสร้างพลังให้แก่ หน่วยงาน เกิดแนวทางใน ๑. ระดับความรู้
ผู้บริโภคและการพัฒนาผู้บริโภคโดย หลัก ได้แก่ การเสริมสร้าง ความเข้าใจของ
อาศัยเทคโนโลยี สคบ. พลังให้แก่ ผู้บริโภคเกี่ยวกับ
วิธีการ ผู้บริโภค การคุ้มครอง
๑. สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรภาค หน่วยงาน ผู้บริโภค
ประชาชนที่มบี ทบาทและเป็นตัวแทนใน ร่วม ได้แก่ ๒. ระดับการรับรู้สื่อ
การคุ้มครองผูบ้ ริโภคโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อ ดศ./ศธ. ด้านการคุ้มครอง
เป็นช่องทางสื่อสารให้ผู้บริโภคในการรักษา ผู้บริโภคของ
สิทธิตา่ งๆ ผู้บริโภค
๓๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๒. บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิผบู้ ริโภคใน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕. ปฏิรูปการขึ้นทะเบียนกับผู้ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร
กิจกรรมที่ ๑ ติดตามกฎหมายทะเบียน หน่วยงาน ผู้ไร้สถานะทาง สัดส่วนของผู้ไร้
ราษฎรแก้ไขใหม่เพื่อสามารถบังคับใช้ได้ หลัก ได้แก่ ทะเบียนราษฎร สถานะทางทะเบียน
วิธีการ มท./พม. ได้รับสถานะ ราษฎรลดลงร้อยละ
๑. ร่วมมือกับส่วนราชการต่างๆ ในการ ทางทะเบียน ๑๐ ต่อปี
ราษฎรและได้
ดาเนินการ เพื่อกาหนดแนวทางการขึ้น หน่วยงาน สิทธิประโยชน์
ทะเบียน ร่วม ได้แก่ บริการขั้น
๒. กาหนดแผนการขึ้นทะเบียนให้แล้ว กต. พื้นฐานจากรัฐ
เสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยเฉพาะ
กลุ่มคนพิการ คนยากจน กลุ่มบุคคล
บนพื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์
๖. การเปลี่ยนแปลงนโยบายประชากรเพื่อเสริมสร้างดุลประชากรในอนาคต
กิจกรรมที่ ๑ แก้ปัญหาอัตราการเกิดที่ หน่วยงาน ประเทศไทยมี อัตราการเกิดต่อ
ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ ที่ทาให้ประเทศ หลัก ได้แก่ โครงสร้างอายุ ประชากร ๑,๐๐๐ คน
ไทยมีประชากรในแต่ละกลุ่มอายุที่ไม่สมดุล พม./สธ. ประชากรที่ ต่อปีเพิ่มขึ้น
เหมาะสมกับการ
๓๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
วิธีการ หน่วยงาน พัฒนาประเทศ
๑. ให้สิทธิในการลดหย่อนค่าใช้จ่าย ร่วม ได้แก่
นอกเหนือจากสวัสดิการพื้นฐานสาหรับ มท./อปท.
การพัฒนาเทคโนโลยีช่วยอนามัย
เจริญพันธุ์ให้ผู้มีบุตรยากสามารถเข้าถึง
ได้โดยสะดวก
๒. ดาเนินการให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
มีการพัฒนาให้ได้มาตรฐานและ
ครอบคลุม ทุกพื้นที่ เพื่อลดภาระ
พ่อแม่ในการเลี้ยงดูบุตร โดยเฉพาะ
การดูแลเด็กอายุ ๐ – ๓ ปี
๗. การเสริมพลังสตรี
กิจกรรมที่ ๑ เพิ่มสัดส่วนของสตรีใน หน่วยงาน สตรีมีบทบาท ๑. กฎหมายและ
ตาแหน่งบริหารขององค์กร หลัก ได้แก่ และมีส่วนร่วม ระเบียบที่เป็น
วิธีการ พม. ในทางสังคม อุปสรรคต่อการ
๑. แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็น การเมือง และ พัฒนาและการเข้า
กระบวนการ
อุปสรรคต่อการพัฒนาและการเข้าสู่ ตัดสินใจ ทั้งใน สู่ตาแหน่งทาง
๔๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๒ : กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
บาท เงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
ตาแหน่งทางการเมือง และการบริหาร หน่วยงาน ระดับชาติและ การเมือง และการ
ของสตรี อาทิ องค์ประกอบของ ร่วม ได้แก่ / ระดับท้องถิ่น บริหารของสตรี
คณะกรรมการระดับชาติ รง./มท./นร./ มากขึ้น ได้รับการแก้ไข
คณะกรรมาธิการ ของฝุายนิติบัญญัติ อปท./พรรค ๒. สตรีได้รับการ
โดยให้คานึงสัดส่วนของผู้แทนสตรีหรือ การเมือง แต่งตั้งให้ดารง
ผู้แทนองค์กรที่ทางาน ตาแหน่งในระดับ
ด้านสตรีที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ตัดสินใจทั้งใน
หารือกรรมาธิการที่กาหนดในรัฐธรรมนูญ ภาครัฐและ
๒. กาหนดมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริม ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
การมีส่วนร่วมของสตรีในการเมือง
การปกครอง และการบริหาร เช่น
การเพิ่มจานวนสตรีในคณะกรรมการ
ระดับนโยบายของชาติและการเข้าดารง
ตาแหน่งทางการเมือง การบริหาร
ของสตรีในสัดส่วนที่เท่าเทียมกับบุรุษ
๔๑

๒.๒.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
-
๔๒

๒.๓ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๓ : การจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสังคม


การสร้างโอกาสที่เป็นธรรมโดยไม่แบ่งแยก (Social Inclusion) นอกจากการให้ความสาคัญกับ
การช่วยเหลือและเพิ่มขีดความสามารถให้กับกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมแล้ว การจัดการข้อมูลและองค์
ความรู้ด้านสังคมเป็น อีก ปัจจัยหนึ่ งที่จะช่วยส่งเสริมให้สังคมมีความเสมอภาค ลดความเหลื่ อมล้ า
โดยการจัดการข้อมูลให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง และครอบคลุมนัน้ จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถ
ทราบความต้ อ งการของประชาชนได้ อ ย่ า งชั ด เจนมากยิ่ ง ขึ้ น และสามารถน าไปจั ด ท านโยบายที่
สอดคล้อ งกั บ ความต้ องการของประชาชน รวมทั้ง ประชาชนสามารถทราบถึ ง ข้ อ มูล ข่ า วสารจาก
หน่วยงานภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปสรรคทางข้อมูลด้านสังคมในปัจจุบันคือการขาด
ประสิ ท ธิ ภ าพในการจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ขาดการบู ร ณาการกั น ระหว่ า งข้ อ มู ล ทางด้ า นสั ง คมจากแต่ ล ะ
หน่วยงาน นอกจากนี้ ข้อมูลที่มีการจัดเก็บในปัจจุบัน เป็นข้อมูลที่อ้างอิงมาจากความต้องการของ
ภาครัฐเป็นหลัก ไม่ได้อ้างอิงจากความต้องการในการใช้ข้อมูลของประชาชน
ดังนั้น ประเด็นการปฏิรูปเรื่องการจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสังคม จึงให้ความสาคัญกับ
การจัด เก็บข้อมูลทางด้านสังคมซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่ประชาชนต้องการทราบอย่างแท้จริงโดยให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เป็นผู้รบั ผิดชอบ เปิดเผยและเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้
เป็ น ฐานข้อ มู ลขนาดใหญ่ รวมทั้ งสร้ างช่ องทางในการเข้ าถึ ง ข้ อมู ล ที่ส ะดวกต่อ ประชาชนทุก กลุ่ ม
ตลอดจนการสร้างฐานข้อมูลจากการจ่ายภาษี เพื่อเป็นข้อมูลหลักในการอ้างอิง เพื่อการตัดสิน
เชิงนโยบายภาษีและการช่วยเหลือกลุ่มเปูาหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
๔๓

๒.๓.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการเก็บ รักษาและพัฒนาข้อมูลและสารสนเทศ
ด้านสังคม
๒) มีการปรับปรุงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร
๓) พั ฒ นาข้ อ มู ล สารสนเทศ โดยมี ร ะบบฐานข้ อ มู ล ด้ า นภาษี เ พื่ อ เป็ น เครื่ อ งมื อ
ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาล ในการดาเนินนโยบายด้านภาษี และการช่วยเหลือกลุ่มเปูาหมาย
๒.๓.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ : ๑ – ๕ ป
๒.๓.๓ ตัวชี้วัด
๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศมีข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานที่สามารถ
นาไปจัดสรรทรัพยากร ภายใน ๕ ปี
๒) รัฐบาลมีข้อมูลที่เชื่อมโยงและเปิดเผย ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
๓) มีฐานข้อมูลด้านภาษีทมี่ ีประสิทธิภาพ
๒.๓.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
งบประมาณแผ่นดิน
๔๔

๒.๓.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : การจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้เก็บและบริหารข้อมูลและสารสนเทศในระดับชุมชนและตาบล
วิธีการ หน่วยงาน ๑. ค่าสารวจ งบประมาณ มีฐานข้อมูลทาง ๑. อปท.ทั่ว
๑. ให้ อปท.เป็นผู้เก็บและพัฒนา รวมทั้ง หลัก ได้แก่ ข้อมูลของ แผ่นดิน สังคมในระดับพื้นที่ ประเทศ
เผยแพร่และให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ดศ./อปท. อปท. ทีม่ ีการบริหาร มีข้อมูล
ข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าวอย่าง ประมาณ จัดการโดย อปท. สารสนเทศ
โปร่งใสโดยการมอบอานาจหน้าที่ทาง หน่วยงาน ๓,๐๐๐ พื้นฐาน
กฎหมายให้กับ อปท. ร่วม ได้แก่ ล้านบาท
๒. การดาเนินการให้เน้นข้อมูลส่วนบุคคล ภายใน ๓ ปี
มท./สรอ./ ภายใน ๒. อปท.เริ่ม
เท่าที่จาเป็นและไม่ขัดหรือแย้งกับ GISTDA ๕ ปี
กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล บริหาร
๓. ออกแบบระบบเชื่อมโยงกับข้อมูล ๒. ค่าออกแบบ ระบบได้
ประเภทอื่นๆ และรวมอยู่ใน Big Data ระบบ ๑๐๐
ภายใน ๕ ปี
ของรัฐบาล ล้านบาท
๔. ออกแบบระบบความปลอดภัยควบคูไ่ ป
กับระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ MIS, GIS
ขั้นตอน
๑. แก้ไขภารกิจของ อปท. ให้สอดคล้องและ
ชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่และอานาจในการ
จัดเก็บข้อมูลของ อปท.
๒. ออกแบบ Template ข้อมูลพื้นฐาน
และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บ
ข้อมูล การบริหารข้อมูล และ
Computer Literacy
๔๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : การจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กลไกและการปรับปรุงกลไก
๑. มท. และจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการ
บริหารจัดการร่วมกับ อปท. ทัว่ ประเทศ
๒. ดศ. ร่วมกับ สรอ. และ GISTDA ร่วมกัน
ออกแบบระบบและจัดการฝึกอบรม
๓. อปท. เป็นผู้จัดเก็บและบริหารข้อมูล
สารสนเทศ
กิจกรรมที่ ๒ จัดลาดับความสาคัญการเปิดเผยข้อมูลที่ประชาชนต้องการทราบ และสร้างการรับรู้
วิธีการ หน่วยงาน งบ ประชาชนสามารถ มีบริการข้อมูล
๑. สารวจความต้องการข้อมูลที่ประชาชน หลัก ได้แก่ ประมาณ เข้าถึงบริการข้อมูล และการให้
ต้องการรับรู้และปรับปรุงการบริการ สรอ./ดศ.
ภาครัฐ (ไม่ใช่เฉพาะฝุายรัฐต้องการรับรู้) ของส่วน ของภาครัฐที่ตรง บริการของ
แล้วจัดลาดับความสาคัญ เพื่อตอบสนอง ราชการที่ กับความต้องการ ภาครัฐแบบ
ความต้องการของประชาชน หน่วยงาน
ร่วม ได้แก่ เกี่ยวข้อง เปิดเผยและ
๒. ปรับปรุงระบบการร้องทุกข์ให้สะดวกต่อ
การติดตามมากยิ่งขึ้น มท./อปท./ เชื่อมโยงกัน
ขั้นตอน นร./ (Open and
๑. ศึกษาว่าประชาชนต้องการทราบข้อมูล GISTDA Connected
ประเภทใด
๒. จัดลาดับความสาคัญในการจัดการ Government)
ฐานข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล สารสนเทศ ปีละ ๕ เรื่อง
ระบบชั้นความลับ และการเข้าถึงข้อมูล เริ่มตั้งแต่ปี
ตามลาดับความสาคัญ ๒๕๖๒
๓. สร้างเนื้อหา (Content) ที่ง่ายต่อความ
เข้าใจ และระบบสืบค้น (Search
Engine) ให้ง่าย
กลไกและการปรับปรุงกลไก
๑. สรอ. GISTDA ดศ. และ มท. ร่วมกัน
ดาเนินการ
๔๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๓ : การจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านสังคม
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๒. อาจจาเป็นต้องพิจารณาปรับปรุง พ.ร.บ.
ข้อมูลข่าวสาร และกฎหมายเรื่อง
ข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้ใช้บริการของรัฐต้อง
เปิดเผยข้อมูลเท่าที่เกี่ยวข้องและจาเป็น
๓. พิจารณาขอบเขตหน้าที่ของ สรอ. ให้
กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมที่ ๓ พัฒนาข้อมูลด้านภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการช่วยเหลือของรัฐ
วิธีการ หน่วยงาน งบ ประชาชน จานวน
๑. เร่งรัดการนาผู้มีรายได้เข้าระบบการแจ้ง หลัก ได้แก่ ประมาณ ทุกคนเข้าสูร่ ะบบ ประชาชน
รายได้ทุกคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ กค. เข้าสู่ระบบ
ในการตัดสินใจเป็นนโยบายและการให้ ของ ภาษี
ความช่วยเหลือกลุ่มเปูาหมายอย่าง หน่วยงานที่ ข้อมูลภาษี
ถูกต้องและเป็นธรรม หน่วยงาน เพิ่มขึ้น
ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ปี
ขั้นตอน
๑. ปรับปรุงระบบการแจ้งข้อมูลการ ได้แก่ มท. ๒๕๖๒
เสียภาษีและรายได้ผ่านระบบ อปท.
๒. ถ้ามีความจาเป็น อาจต้องให้บุคคล
ธรรมดาต้องแจ้งรายได้ ไม่วา่ จะอยู่ใน
เกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตามแบบที่กาหนดทุกคน เพื่อเป็น
ฐานข้อมูลที่เคลื่อนไหวตามเป็นจริง
กลไกและการปรับปรุงกลไก
๑. สร้างกลไกพิเศษในการจัดทาฐานข้อมูล
ด้านภาษีใน กค. เพื่อให้มีหน้าที่เก็บ
ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านรายรับ
และรายจ่ายผู้เสียภาษี
๔๗

๒.๓.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
-
๔๘

๒.๔ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง


ชุมชนถือเป็นรากฐานสาคัญที่จะนาไปสู่ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาประเทศ ทั้งในเรื่องความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคม ระบบการเมืองที่เข้มแข็ง ระดับศีลธรรมในสังคม รวมถึงระบบสวัสดิการสาหรับคน
ทุ ก กลุ่ ม โดยเฉพาะกลุ่ ม เปราะบาง ดั ง นั้ น หากชุ ม ชนมี ค วามเข้ ม แข็ ง จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ส าคั ญ
ที่นาพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ถึง แม้ว่าชุมชนจะถูกให้ความสาคัญมาอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายหลังปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา แต่ชุมชนยังต้องเผชิญกับอุปสรรคในเชิงโครงสร้างหลาย
ประการ อาทิ ข้อจากัดในการบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชน การขาดความต่อเนื่องในเรื่องการจัดระบบ
สวัสดิการชุมชน การขาดบูรณาการในการทางานของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในงานพั ฒนาชุมชน
ส่งผลให้มีชุมชนจานวนไม่มากนักทีส่ ามารถพัฒนาเป็นชุมชนที่เข้มแข็งบนฐานของการจัดการกันเองได้อย่าง
มีคุณภาพ
ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อจะนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งการปรับกระบวนทัศน์
วิธีคิด และรูปแบบการทางานให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ภายใต้ ๓ เงื่อนไขสาคัญ ได้แก่ ๑) การเพิ่มสิทธิ
หน้าที่ อานาจ ทรัพยากร ๒) การขจัดอุปสรรค ปกปูอง คุ้มครอง และ ๓) การเพิ่มพลังความสามารถ
โดยพัฒ นาเครื่องมือสาคัญในเรื่อ งการจัด กลไกการจัด การแบบมีส่ วนร่วมและมาตรการทางกฎหมาย
ซึ่งมีเรื่องสาคัญที่ต้องดาเนินการ ๒ ส่วน ได้แก่ การปฏิรูปเชิงระบบและกลไก และการปฏิรูปเชิงพื้น ที่
โดยการปฏิรูปเชิงระบบและกลไกนั้นแบ่งออกเป็น ๔ หมวดหลัก ได้แก่ ๑) สิทธิและบทบาทของชุมชน
๒) ทรัพยากรและทุนชุมชน ๓) สวัสดิการชุมชน และ ๔) เศรษฐกิจชุมชน และในส่วนของการปฏิรูปเชิงพื้นที่
ประกอบด้วย การทางานแบบรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์เพื่อการพัฒนาในพื้นที่
โดยคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็งทั่วทั้งประเทศ
๔๙

๒.๔.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
๑) ชุมชนสามารถจัดการกันเองได้อย่างมีคุณภาพ (ชุมชนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ จัดการ
ข้อมูล แผน บริหารจัดการ กลไกขับเคลื่อน และทุนทางสังคม)
๒) ชุมชนมีเศรษฐกิจดี มั่นคง ยั่งยืน
๓) ชุมชนมีภูมิต้านทานต่อปัจจัยกระทบต่างๆ
๒.๔.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ : ๑ – ๕ ป
๒.๔.๓ ตัวชี้วัด
๑) ตาบลและจังหวัดมีกลไก/พื้นที่กลางในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ
ชุมชนอย่างทั่วถึง
๒) ชุมชนได้รับการรับรองสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐
๓) มีกลไกให้ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรและทุนชุมชนโดยชุมชน
๔) ระบบสวัสดิการชุมชนได้รับการรองรับสถานะทางกฎหมาย
๕) มีกลไกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
๒.๔.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
วงเงินรวม ๕ ปี เท่ากับ ๔,๘๖๖ ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
๕๐

๒.๔.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
กิจกรรมที่ ๑ การปฏิรูประบบการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งเชิงพื้นที่
วิธีการ หน่วยงาน ๔,๐๐๐ งบประมาณ มีกลไกบูรณาการ ๑. มีระเบียบสานัก
๑. กาหนดให้ตาบลเป็นพืน้ ที่การพัฒนา หลัก ได้แก่ ลบ. แผ่นดิน ในพื้นที่ เกิดการ นายกรัฐมนตรีวา่
อย่างบูรณาการ (“ตาบลเข้มแข็ง สช. / (ปีละ ร่วมคิด ร่วมทา ด้วยการสร้างเสริม
ประเทศมั่นคง”) โดย สศช./ ๘๐๐ ร่วมรับผิดชอบ ชุมชนเข้มแข็ง แล้ว
๑.๑ จัดให้มีกลไกประชารัฐตาบล พอช. ลบ. ร่วมรับประโยชน์ เสร็จภายใน ๑ ปี
เข้มแข็งที่ประกอบด้วย ๔ ภาค ฐานคิด เพื่อการพัฒนาใน ๒. เกิดกลไกประชารัฐ
ส่วนหลัก ได้แก่ (๑) ท้องที่ ได้แก่ หน่วยงาน เฉลี่ย พื้นที่ ระดับจังหวัดที่
กานัน ผู้ใหญ่บ้าน (๒) ท้องถิ่น ร่วม ได้แก่ จังหวัด เข้มแข็งภายใน ๒ ปี
ได้แก่ อบต. เทศบาล (๓) องค์กร มท. / นร. ละ ๑๐ ๓. กลไกประชารัฐระดับ
ชุมชน/เอกชน ได้แก่ สภาองค์กร /กสทช. / ลบ.) ตาบลมีความเข้มแข็ง
ชุมชนตาบล บ้าน วัด โรงเรียน สปสช. / ครอบคลุมทุกตาบล
กลุ่มต่างๆ (๔) หน่วยงานอื่น สสส. / ภายใน ๓ ปี
ได้แก่ พัฒนาชุมชน เกษตรตาบล มูลนิธิ ๔. มีแผนแม่บทชุมชน
ตารวจ รพสต. (อ้างอิง : ไพบูลย์ พัฒนาไท หรือธรรมนูญชุมชน
วัฒนศิริธรรม) ทาหน้าที่ประสาน ครอบคลุมทุกตาบล
พลังทุกภาคส่วน เพื่อรวมตัว ร่วม ภายใน ๔ ปี
คิด ร่วมทา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับ ๕. มีระบบ GIS
ประโยชน์ โดยมีเปูาหมายให้ตาบล ครอบคลุมทุกตาบล
เข้มแข็ง ครอบครัวเข้มแข็ง และ ภายใน ๕ ปี
๕๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
สร้างเสริมจิตสานึกสาธารณะและ
การทางานร่วมกันอย่างเป็น
กัลยาณมิตร
๑.๒ จัดทาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ
เชิงภูมิศาสตร์ (Geographic
Information Systems : GIS)
แสดงให้เห็นองค์ประกอบต่าง ๆ
ของชุมชนและทุนทางสังคม
๑.๓ จัดทาแผนแม่บทชุมชนหรือ
ธรรมนูญชุมชนแบบบูรณาการและ
มีส่วนร่วม เพื่อใช้เป็นแผนร่วมของ
ทุกกลไกในพื้นที่ และขับเคลื่อนสู่
การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตาม
ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
๑.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของ
ประชาชน ครอบครัว และภาคส่วน
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
***สาหรับชุมชนในรูปแบบอื่นที่ไม่ได้เป็น
ตาบล เช่น ชุมชนเขตเมืองสามารถปรับให้
สอดคล้องกับบริบท
๕๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
๒. กาหนดให้มีคณะกรรมการประชารัฐ
สนับสนุนตาบลเข้มแข็งระดับจังหวัด
ทาหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์
ตาบลเข้มแข็ง ประกอบด้วย หน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน
และภาคส่วนอื่นๆ อย่างสมดุล
๒.๑ ประสานงาน ประสานแผน
ประสานการสนับสนุน
๒.๒ จัดกระบวนการนโยบายสาธารณะ
แบบมีส่วนร่วมและสื่อสารทาง
สังคม สนับสนุนการขับเคลื่อน
ตาบลเข้มแข็ง
๒.๓ สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ
นักจัดการชุมชน (Community
Organizer) ระดับตาบล ให้
ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างน้อย
ตาบลละ ๕ คน
๒.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของ
ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่
เกี่ยวข้อง
๕๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
๓. จัดให้มีคณะกรรมการประชารัฐส่งเสริม
สนับสนุนตาบลเข้มแข็งระดับประเทศ
ทาหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์
ตาบลเข้มแข็ง ประกอบด้วย หน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน
และภาคส่วนอื่นๆ อย่างสมดุล
๓.๑ ประสานทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริม
สนับสนุนการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ตาบลเข้มแข็ง
๓.๒ จัดและสนับสนุนกระบวนการ
นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
การสื่อสารทางสังคมเพื่อการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตาบลเข้มแข็ง
๓.๓ สนับสนุนให้เกิดกลไกสนับสนุน
การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแบบ
มีส่วนร่วมที่ยั่งยืน เช่น มูลนิธิเพื่อ
การพัฒนาจังหวัด
๓.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของ
ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง
๕๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
ขั้นตอน
ออกระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย
การสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง และกาหนด
องค์กรที่มีความคล่องตัวภายใต้หน่วยงาน
ของรัฐที่มีอยู่แล้วเป็นกลไกขับเคลื่อนตาม
ข้อ ๑.๑ ข้อ ๑.๒ และ ๑.๓ ข้างต้น ซึ่งมี
ระยะทางานเบื้องต้น ๕ ปี และให้มี
การประเมินผลเพื่อพิจารณาการดาเนินงาน
ต่อขององค์กรดังกล่าว หรือพิจารณาจัดตั้ง
กลไกในรูปแบบอื่นต่อไป
๕๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๒ การปฏิรูประบบการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งเชิงประเด็นและกลไก : สิทธิและบทบาทชุมชน
วิธีการ หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ ชุมชนได้รับการ มีกฎหมายรองรับ
๑. จัดทา พ.ร.บ.รองรับสิทธิชุมชนและ หลัก ได้แก่ แผ่นดิน รับรองสถานภาพ สิทธิชุมชนภายใน
บุคคลตามมาตรา ๔๓ (๒) ใน คณะอนุ และสิทธิชุมชน ๓ ปี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรรมการ ขั้นพื้นฐานตาม
๒๕๖๐ พิจารณา เจตนารมณ์ของ
ขั้นตอน เสนอ รัฐธรรมนูญแห่ง
จัดทาร่าง พ.ร.บ. สิทธิชุมชนและบุคคลตาม กฎหมายที่ ราชอาณาจักร
มาตรา ๔๓ (๒) ในรัฐธรรมนูญแห่ง ต้องจัดทา ไทย ๒๕๖๐
ราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ ใหม่เพื่อ
สนับสนุน
ยุทธศาสตร์
ชาติและ
การปฏิรูป
ประเทศ /
สานักงาน
คณะกรรม
การปฏิรูป
กฎหมาย
๕๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๒. แก้ไข พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ สภาองค์กรชุมชน มีกฎหมายและ
พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หลัก ได้แก่ แผ่นดิน มีบทบาทร่วมที่ แผนพัฒนาระบบ
ให้สภาองค์กรชุมชนมีบทบาทร่วมที่ พอช. สาคัญใน และโครงสร้างการ
สาคัญในกระบวนการพัฒนาและ กระบวนการ สนับสนุนสภา
ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในระดับ หน่วยงาน พัฒนาและ องค์กรชุมชน
ชุมชนท้องถิ่น และระดับชาติ ร่วม ได้แก่ ขับเคลื่อน ภายใน ๒ ปี
ขั้นตอน มท. นโยบาย
๑. จัดทาร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน สาธารณะใน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ระดับชุมชน
๒. พัฒนาระบบและโครงสร้าง
การสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ ท้องถิ่นและ
๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ ระดับชาติ
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และพัฒนาศักยภาพของประชาชน
และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓. ยกระดับ พอช. จากองค์การมหาชนให้ หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ ส่งเสริมความ ๑. มีกฎหมายว่า
มี พ.ร.บ. รองรับเพื่อปฏิบัติภารกิจ หลัก ได้แก่ แผ่นดิน เข้มแข็งของ ด้วยสถาบัน
ส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน พอช. องค์กรชุมชนให้มี พัฒนาองค์กร
ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ คล่องตัวและมี ชุมชนแล้ว
ขั้นตอน ประสิทธิภาพ เสร็จ ภายใน
๑. จัดทา พ.ร.บ. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ยิ่งขึ้น ๒ ปี
๒. พัฒนาระบบและโครงสร้างการสนับสนุน ๒. มีแผนพัฒนา
ที่มีประสิทธิภาพ ระบบและ
๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ โครงสร้างการ
๕๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนสภา
และพัฒนาศักยภาพของประชาชนและ องค์กรชุมชน
ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใน ๒ ปี
๔. ส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทย งบประมาณ ชาวไทยกลุ่มชาติ ๑. มีแผนแม่บทว่า
กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่ง แผ่นดิน พันธุ์ต่างๆ ได้รบั ด้วยการ
ราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ มาตรา ๗๐ การคุ้มครองและ ส่งเสริมและให้
และดาเนินการให้เป็นรูปธรรม มีสิทธิดารงชีวิต ความคุ้มครอง
ขั้นตอน หน่วยงาน ๕ ลบ. ในสังคมตาม ชาวไทยกลุม่
๑. จั ด ท ายุ ท ธศาสตร์ ก ารส่ ง เสริ ม การอยู่ หลัก ได้แก่ วัฒนธรรม ชาติพนั ธุ์ตา่ งๆ
ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรม สมช. ประเพณี และวิถี ภายใน ๑ ปี
๒. จัดทา พ.ร.บ. ส่งเสริมและอนุรักษ์วิถี หน่วยงาน ๑๐ ลบ. ชีวิตดั่งเดิมตาม ๒. มีกฎหมายว่า
ชี วิ ต กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ พ.ศ. .... ตาม หลัก ได้แก่ ความสมัครใจ ด้วยส่งเสริมและ
รัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๗๐ วธ. (ศูนย์ ให้ความ
มานุษยวิทยา คุ้มครองชาวไทย
สิรินธร) กลุ่มชาติพันธุ์
ภายใน ๓ ปี
๕. จัดทา พ.ร.บ.ยุติธรรมชุมชนเพื่อสร้าง หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ เสริมสร้างความ มีกฎหมายว่าด้วย
เสริมระบบไกล่เกลี่ยและสร้างความ หลัก ได้แก่ แผ่นดิน สมานฉันท์ใน ร ะ บ บ ยุ ติ ธ ร ร ม
กระทรวง
ยุติธรรมในระดับพื้นที่ตามนัยยะ ยุติธรรม ชุมชนบนฐาน ชุมชนภายใน ๒ ปี
แนวนโยบายแห่งรัฐมาตรา ๖๘ ตาม ของการมีส่วน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ร่วมของ
๒๕๖๐ ประชาชนในด้าน
งานยุตธิ รรม
๕๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
ขั้นตอน
จัดทาร่าง พ.ร.บ.ยุติธรรมชุมชนรองรับระบบ
ยุติธรรมในระดับพื้นที่ตามนัยรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐
กิจกรรมที่ ๓ การปฏิรูประบบการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งเชิงประเด็นและกลไก: ทรัพยากรและทุนชุมชน
วิธีการ หน่วยงาน ช่วยเหลือคน มีกฎหมายว่าด้วย
๑. ผลักดัน พ.ร.บ.ธนาคารที่ดนิ หลัก ได้แก่ ยากจนที่ที่ดินจะ ธนาคารทีด่ ินแล้ว
ขั้นตอน กค. หลุดมือ และช่วย เสร็จภายใน ๒ ปี
จัดทาร่าง พ.ร.บ. ธนาคารที่ดินและนาเข้าสู่ พัฒนาการใช้
กระบวนการนิติบัญญัติแห่งชาติ ประโยชน์ที่ดิน
ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการปฏิรูป ของเอกชนเพื่อให้
ประเทศด้านเศรษฐกิจ เกิดประโยชน์ต่อ
ประเทศ รวมทั้ง
ลดการบุกรุก
ทาลายปุา
๒. พัฒนาการดาเนินงานนโยบาย หน่วยงาน การใช้ที่ดิน มีกลไกการมีส่วน
การจัดการที่ดินแปลงรวมที่เน้นบทบาท หลัก ได้แก่ สาธารณะเป็น ร่วมของชุมชนใน
ของชุมชน/ที่เน้นกระบวนการสร้างเสริม
ชุมชนเข้มแข็งไปพร้อมๆ กัน คณะกรรม ประโยชน์ร่วม การจัดการที่ดิน
(Collective activities) การ อย่างแท้จริงโดย แปลงรวมภายใน
นโยบาย ที่ดินยังเป็นของ ๑ ปี
ที่ดิน รัฐอย่างยั่งยืน ไม่
๕๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
ขั้นตอน แห่งชาติ / ถูกเปลี่ยนมือ
พัฒนาระบบกลไก และกระบวนการดาเนิน ทส. เปลี่ยน
โครงการที่ดินแปลงรวม วัตถุประสงค์
๓. พัฒนาระบบการบริหารจัดการแหล่งน้า หน่วยงาน ๕ ลบ. งบประมาณ ๑. บรรเทาภาวะ มีกลไกการมีส่วน
ขนาดเล็กบนฐานการมีบทบาทการเป็น หลัก ได้แก่ แผ่นดิน ภัยแล้ง ภาวะ ร่วมของชุมชนใน
เจ้าของ และการมีส่วนร่วมโดยตรงของ คณะ น้าท่วม ให้กับ การบริหารจัดการ
ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมโยงกับ กรรมการ ชุมชนทั่ว แหล่งน้าขนาดเล็ก
แผนพัฒนาแหล่งน้าขนาดใหญ่ ทรัพยากร ประเทศ ของชุมชน โดย
ขั้นตอน น้าแห่งชาติ ลดความ หน่วยงานรัฐให้
พัฒนาระบบกลไก และกระบวนการบริหาร เหลื่อมล้าของ การสนับสนุน
จัดการแหล่งน้าขนาดเล็กของชุมชน การดารงชีวติ งบประมาณและ
ขั้นพืน้ ฐาน
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การบริหารภายใน
ระหว่างคนใน
ชนบทและ ๑ ปี
คนในเมืองให้
ใกล้เคียงกัน
๒. ชุมชนได้รบั
การส่งเสริม
ความเข้มแข็ง
ตาม
กระบวนการ
ประชารัฐ
๖๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
๔. แก้ไข พ.ร.บ. ปุาไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ ส่งเสริม มีกฎหมายที่
พ.ร.บ.อื่นๆ และกฎระเบียบที่เกีย่ วข้อง หลัก ได้แก่ แผ่นดิน สนับสนุน และจูง ส่งเสริมสนับสนุน
ขั้นตอน ทส. ใจให้ประชาชน จูงใจการปลูกต้นไม้
จัดทาร่าง พ.ร.บ.ปุาไม้ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และชุมชนปลูก ยืนต้นมูลค่าสูง
ร่าง พ.ร.บ.สวนปุาฉบับแก้ไขเพิม่ เติม และ ต้นไม้ยนื ต้น อย่างเป็นรูปธรรม
แก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขจัด มูลค่าสูงในที่ดิน ภายใน ๒ ปี
อุปสรรค และจูงใจให้ชุมชนปลูกต้นไม้ยืนต้น กรรมสิทธิ์เพื่อ
มูลค่าสูงในที่ดินกรรมสิทธิ์ การออม และ
สร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกิจ
๕. จัดทากฎกระทรวงเรื่องหลักประกัน หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ มีกลไกให้ต้นไม้ ๑. มีกฎหมาย
ทรัพย์สินอื่นตามที่กาหนดใน หลัก ได้แก่ แผ่นดิน เป็นหลักประกัน รองรับให้ต้นไม้
กฎกระทรวง ตาม พ.ร.บ.หลักประกัน พณ. / กค. ทางธุรกิจและ เป็นหลักทรัพย์
ทางธุรกิจ พ.ศ.๒๕๕๘ มาตรา ๘(๖) และ / ธกส. ส่งเสริมการปลูก ประกันทางธุรกิจ
จัดทา พ.ร.บ. ธนาคารต้นไม้ ไม้ยืนต้นที่มี ภายใน ๑ ปี
ขั้นตอน มูลค่าสูงทาง ๒. มีกฎหมายว่า
๑. ออกเป็นกฎกระทรวงตามมาตรา ๘(๖) ตาม เศรษฐกิจ เกิด ด้วยธนาคาร
พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ การออมทรัพย์ ต้นไม้ ภายใน
เพื่อกาหนดให้ต้นไม้เป็นทรัพย์สินที่นามา บนดินเพื่อความ ๒ ปี
เป็นหลักประกันทางธุรกิจ มั่งคั่งของ
๒. จัดทาร่าง พ.ร.บ. ธนาคารต้นไม้รองรับ ประเทศ
การส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นมูลค่าสูง
๖๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การออม
รองรับสังคมสูงวัย และการเพิ่มคุณค่า
ทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
และนาเข้าสู่กระบวนการสภานิติ
บัญญัติแห่งชาติ
๖. ส่งเสริมเครือข่ายวิชาการ วิทยาศาสตร์และ หน่วยงาน ๒๕๐ ลบ. งบประมาณ มีกลไกสนับสนุน ๑. มีแผนแม่บทว่า
เทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการพัฒนา หลัก ได้แก่ (ปีละ ๕๐ แผ่นดิน การสร้างและ ด้วยการ
วิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่าย ลบ.) แลกเปลีย่ นองค์ สนับสนุนการ
ม.ราชภัฏ/ ความรู้เพือ่ ชุมชน พัฒนาวิชาการ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรม
เครือข่าย โดยชุมชน วิทยาศาสตร์
ชุมชน ให้เข้มแข็งและเป็นระบบ ม.ราชมงคล/ และเทคโนโลยี
ขั้นตอน ทปอ. /สกอ. ภูมิปัญญา
๑. จัดทาแผนแม่บทว่าด้วยการสนับสนุน /สวนช. / ท้องถิ่น และ
การพัฒนาวิชาการ วิทยาศาสตร์และ วธ. นวัตกรรม
เทคโนโลยี ภูมปิ ัญญาท้องถิ่น และ ชุมชน แล้ว
หน่วยงาน เสร็จภายใน
นวัตกรรมชุมชน
ร่วม ได้แก่ ๒ ปี
๒. ขับเคลื่อนแผนแม่บทสู่การปฏิบตั ิ สถาบัน ๒. เกิดเครือข่าย
๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ วิชาการ/ วิชาการ
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิทยาลัย วิทยาศาสตร์
และพัฒนาศักยภาพของประชาชนและ ชุมชน/ ศธ. และ
ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (วิทยาลัย เทคโนโลยี
๖๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
อาชีวศึกษา หนุนเสริม
/ การ ชุมชนเข้มแข็ง
อาชีพ)/ ครอบคลุม
ภาคเอกชน ทั่วประเทศ
/ภาค ภายใน ๕ ปี
ประชา
สังคม
๖๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย ตัวชี้วัด
ล้านบาท แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
กิจกรรมที่ ๔ การปฏิรูประบบการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งเชิงประเด็นและกลไก: สวัสดิการชุมชน
วิธีการ หน่วยงาน ๕ ลบ. งบประมาณ มีกลไกเสริมสร้าง มีกฎหมายสวัสดิการ
๑. แก้ไข พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการ หลัก ได้แก่ แผ่นดิน ความเข้มแข็ง สังคมที่ส่งเสริมความ
สังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยเน้นการสร้า ง พม. ของการจัด เข้มแข็งของระบบ
ความเป็ น หุ้ น ส่ ว นระหว่ า งรั ฐ อปท. สวัสดิการชุมชน สวัสดิการชุมชน
และชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม
ขั้นตอน ภายใน ๑ ปี
๑. จัดทาร่าง พ.ร.บ. สวัสดิการสังคมฉบับ
แก้ไขเสนอ ครม. และ สนช.
๒. ดาเนินการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัด
สวัสดิการสังคม
วิธีการ หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ มีกลไกและ ๑. มีกฎหมายว่าด้วย
๒. จัดทา พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กร หลัก ได้แก่ แผ่นดิน กระบวนการ การส่งเสริมและ
ภาคประชาสังคม พ.ศ. .... คณะกรรมการ หนุนเสริมองค์กร พัฒนาองค์กร
ขั้นตอน ส่งเสริมและ ภาคประชาสังคม ภาคประชาสังคม
๑. เร่งรัดการนาร่าง พรบ.ส่งเสริมและ พัฒนาองค์กร ให้เข้ามามี ๒. มีแผน
พัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ที่ ภาคประชา บทบาทในการมี ยุทธศาสตร์
ดาเนินการโดยคณะกรรมการส่งเสริม สังคม (คสป.) / ส่วนร่วมและเป็น ส่งเสริมและ
และพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พม. หุ้นส่วนกับ พัฒนาองค์กร
(คสป.) ที่เกิดขึ้นตามระเบียบสานัก ภาครัฐและภาค ภาคประชา
นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมและ ส่วนอื่นในการ สังคม แล้วเสร็จ
พัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พัฒนาประเทศ ภายใน ๑ ปี
พ.ศ. ๒๕๕๘ เข้าสู่กระบวนการนิติ อย่างยั่งยืน
บัญญัติ
๒. จั ด ท าแผนยุ ท ธศาสตร์ ส่ ง เสริ ม และ
พัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
๖๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
กิจกรรมที่ ๕ การปฏิรูประบบการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งเชิงประเด็นและกลไก: เศรษฐกิจชุมชน
วิธีการ หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ มีกลไกหนุนเสริม มี ก ฎหมายว่ า ด้ ว ย
๑. จัดทา พ.ร.บ. สถาบันการเงินประชาชน หลัก ได้แก่ แผ่นดิน ความเข้มแข็งของ ส ถ า บั น ก า ร เ งิ น
ขั้นตอน กค. การออมและเป็น ประชาชนแล้ วเสร็ จ
เร่งรัดการนาร่าง พ.ร.บ. สถาบันการเงิน แหล่งทุนโดย ภายใน ๑ ปี
ประชาชนที่ดาเนินการตามข้อเสนอของ ชุมชนเพื่อชุมชน
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภา รวมทั้งพัฒนา
ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ระบบพันธมิตร
นาเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ ชุมชนเพื่อส่งเสริม
การมีส่วนร่วมใน
ประสานร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูป
การจัดการ
ประเทศด้านเศรษฐกิจ การเงินชุมชน
๒. พัฒนาระบบสัมมาชีพชุมชนในลักษณะ หน่วยงาน ๕๐๐ ลบ. งบประมาณ เสริมสร้างระบบ ๑. มี แ ผ น พั ฒ น า
Matching model ระหว่างภาคธุรกิจ หลัก ได้แก่ (๑๐๐ ลบ. แผ่นดิน เศรษฐกิจชุมชน ระบบสั ม มาชี พ
เอกชนกับชุมชน พอช. / พณ. ต่อปี) และพัฒนาศักยภาพ ชุ ม ชนแล้ ว เสร็ จ
ขั้นตอน หน่วยงาน การบริหารธุรกิจ ภายใน ๑ ปี
๑. จัดทาแผนพัฒนาระบบสัมมาชีพชุมชน ร่วม ได้แก่ ชุมชน ๒. เกิ ด เศ ร ษ ฐ กิ จ
๒. ขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจและ มท. / กค. / (Community แ ล ะ สั ม ม า ชี พ
สัมมาชีพชุมชนสู่การปฏิบัติ พณ. /มูลนิธิ Business ชุมชนครอบคลุม
๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการความรู้ สัมมาชีพ Administration - ไม่ ไ ม่ น้ อ ยกว่ า
การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ CBA) ตามมาตรา ร้อยละ ๕๐ ของ
และพัฒนาศักยภาพของประชาชนและ ๗๕ แห่งรัฐธรรมนูญ ต า บ ล ทั้ ง ห ม ด
ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.๒๕๖๐ ภายใน ๕ ปี
๖๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๔ : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
ระยะเวลา (พ.ศ./ไตรมาส) วงเงิน
กิจกรรม ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ ผู้รับผิดชอบ ล้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด
แหล่งเงิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ บาท
๓. จัดทา พ.ร.บ.วิสาหกิจเพื่อสังคมให้เป็น หน่วยงาน ๑ ลบ. งบประมาณ การแก้ปัญหา มีกฎหมายว่าด้วย
กฎหมายส่ งเสริมการท างานเพื่ อสั งคม หลัก ได้แก่ แผ่นดิน และพัฒนาชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม
โดยใช้การทางานเชิงธุรกิจ พม. / สสว. และสังคมของ แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี
ขั้นตอน ผู้ประกอบกิจการ
เร่งรัดการนาร่าง พ.ร.บ. วิสาหกิจเพื่อสังคม ภาคเอกชน
นาเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการปฏิรูป และประสิทธิผล
ประเทศด้านกฎหมาย

๔. ผลักดันการพัฒนาสหกรณ์ทกุ ประเภท หน่วยงาน ๑๐ ลบ. งบประมาณ ชุมชนมีความ มีการปรับปรุง


เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หลัก ได้แก่ แผ่นดิน เข้มแข็งในมิติ พ.ร.บ. สหกรณ์
กฎระเบียบ และ
ปูองกันความเสี่ยงและอุปสรรคต่างๆ กษ. ต่างๆ บนฐานของ มาตรการที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอน การให้ประชาชน
ปรับปรุง พ.ร.บ. สหกรณ์ กฎระเบียบ ช่วยเหลือตนเอง
และมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้าง และช่วยเหลือ
ความเข้มแข็งของระบบสหกรณ์สาหรับเป็น ซึ่งกันและกันตาม
เครื่องมือสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งในทุกมิติ หลักการและ
วิธีการสหกรณ์
๖๖

๒.๔.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ
การปรั บ ปรุ ง หรื อ พั ฒ นากฎหมาย/กฎระเบี ย บที่ ส นั บ สนุ น การขั บ เคลื่ อ นยุ ท ธศาสตร์ ช าติ
และการปฏิรูปประเทศด้านสังคม มีจานวน ๑๕ ฉบับ โดยร่วมขับเคลื่อนการปรับปรุงและจัดทากฎหมายใหม่
กับคณะกรรมการ/อนุกรรมการชุดอื่น/หน่วยงานอื่น จานวน ๘ ฉบับ ดาเนินการแก้ไขกฎหมายเดิมจานวน
๓ ฉบับ และจัดทากฎหมายใหม่จานวน ๔ ฉบับ ได้แก่
ผลักดันผ่านคณะกรรมการ/
ประเด็นปฏิรูป อนุกรรมการชุดอื่น/ แก้ไขกฎหมายเดิม จัดทากฎหมายใหม่
หน่วยงานอื่น
๑. การปฏิรูประบบการ - ออกระเบียบสานัก
สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง นายกรัฐมนตรีวา่ ด้วยการ
เชิงพื้นที่ สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง
๒. การปฏิรูประบบการ - (ร่าง) พ.ร.บ. รองรับสิทธิ - แก้ไข พ.ร.บ. สภาองค์กร - จัดทา พ.ร.บ. สถาบัน
สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนและบุคคล ชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ พัฒนาองค์กรชุมชน
เชิงประเด็นและกลไก : - (ร่าง) พ.ร.บ. ยุติธรรมชุมชน - จัดทา พ.ร.บ. ส่งเสริมและ
สิทธิและบทบาทชุมชน อนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติ
พันธุ์ พ.ศ. ....
๓. การปฏิรูประบบการ - (ร่าง) พ.ร.บ. ธนาคารที่ดนิ - แก้ไข พ.ร.บ. ปุาไม้ พ.ศ. - จัดทา พ.ร.บ. ธนาคารต้นไม้
สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ๒๔๘๔ พ.ร.บ. อื่นๆ และ
เชิงประเด็นและกลไก : กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ทรัพยากรและทุนชุมชน - แก้ไข พ.ร.บ. หลักประกัน
ทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘
๔. การปฏิรูประบบการ - (ร่าง) พ.ร.บ. ส่งเสริมและ - แก้ไข พ.ร.บ. ส่งเสริมการ
สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาองค์กรภาคประชา จัดการสวัสดิการสังคม
เชิงประเด็นและกลไก : สังคม พ.ศ. .... พ.ศ. ๒๕๔๖
สวัสดิการชุมชน
๕. การปฏิรูประบบการ - (ร่าง) พ.ร.บ. สถาบันการเงิน - ปรับปรุง พ.ร.บ. สหกรณ์
สร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ประชาชน กฎระเบียบ และมาตรการ
เชิงประเด็นและกลไก : - (ร่าง) พ.ร.บ. วิสาหกิจเพื่อ ที่เกี่ยวข้อง
เศรษฐกิจชุมชน สังคม
๖๗

๒.๕ เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริม


กิจกรรมทางสังคม
การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม (Social Cohesion) สมาชิกในสังคมต้องรู้จักยอมรับ
ความแตกต่าง มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกันภายใต้สังคมแห่งความสมานฉัน ท์
โดยประเด็นการปฏิรูปการมีส่วนร่วมฯ ได้มุ่งเน้นการสร้างจิตสานึกสาธารณะ การสร้างการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนผ่านกิจกรรมทางสังคมบนพื้นที่สร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นกลไกสาคัญหนึ่งในการสร้าง
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม
ประเด็น การปฏิรูปการมีส่ว นร่ว ม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม ได้ใ ห้
ความสาคัญกับ (๑) การสร้างพลังจิตอาสา เพื่อสร้างจิตสานึกส่วนรวมของประชาชนผ่านการดาเนินกิจกรรม
เพื่อสังคม (๒) การสร้างพลังแผ่นดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างเอกภาพแก่กลุ่มอาสาสมัครรูปแบบต่างๆ
(๓) การสร้างพลังสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมของคนทุกวัยผ่านการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์
ในรูปแบบต่างๆ และ (๔) การสร้างพลังภูมิคุ้มกัน เพื่อให้เกิดการใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และประชาชน
มีส่วนร่วมในการเฝูาระวังและเตือนภัยทางสังคม
๖๘

๒.๕.๑ เป้าหมายหรือผลอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์ : ประชาชนมีความเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม


ถึงพร้อมด้วยความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา ในสังคมที่เป็นธรรมและไม่ทอดทิง้ กัน
๒.๕.๒ กรอบระยะเวลาในการดาเนินการ : ๑ - ๕ ปี
๒.๕.๓ ตัวชี้วดั
๑) ประชาชนปฏิบัตติ นเป็นจิตอาสาผ่านการดาเนินงานโครงการที่จัดโดยภาครัฐและเอกชนมี
จานวนมากขึน้
๒) กลุ่มและเครือข่า ยอาสาสมัครจิต อาสาได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ และสามารถขึ้น
ทะเบียนเป็นจิตอาสาต้นแบบได้มากขึ้น
๓) พื้นที่การเรียนรู้ในชุมชนได้รับการพัฒนาให้มีชีวิต และกระจายตัวอยู่ในทั่วภูมิภาคของ
ประเทศไทย
๔) ประชาชนมีความรู้ในการบริโภคสื่ออย่างสร้างสรรค์ และสื่อออนไลน์ได้รับการเฝูาระวังให้
มีเนื้อหาสาระที่ปลอดภัยมากขึ้น
๒.๕.๔ วงเงินและแหล่งเงิน
๑) งบประมาณของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
๒) การสนับสนุนจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
๓) การระดมทุนจากกิจกรรมจิตอาสาเพื่อประโยชน์สาธารณะ
๖๙

๒.๕.๕ ขั้นตอนการดาเนินการ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
กิจกรรมที่ ๑ สร้างพลังจิตอาสา
๑.๑. โครงการจิตอาสา “เราทาดีด้วยหัวใจ” หน่วยงาน งบ คนไทยมีสานึกจิตอาสา และ ประชาชนลงทะเบียน
หลัก ได้แก่ ประมาณ รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เข้าร่วมและลงมือ
วิธีการ มท. แผ่นดิน โดยได้รับการปลูกฝังผ่าน ปฏิบัติกิจกรรม
ดาเนินกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสานึกเพื่อส่วนรวม การดารงชีวิตประจาวัน จิตอาสาเพื่อสังคม
สานต่อพระราชปณิธานของสมเด็จ หน่วยงาน อย่างสม่าเสมอ เพิ่มขึ้น
พระเจ้าอยู่หัวให้เกิดขึ้นในทุกจังหวัด ร่วม ได้แก่
อย่างต่อเนื่อง โดยให้จัดทาเป็นวาระแห่งชาติ พม./นร./กห.

ขั้นตอน
๑. จัดกิจกรรมอาสาสมัครในทุกจังหวัดเพื่อให้
ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา
พื้นที่/ชุมชนของตนเอง
๒. จัดให้ประชาชนทุกระดับมีส่วนร่วมโดยให้
เข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจ และมีการจัด
กิจกรรมต่อเนื่อง
๓. สนับสนุนให้สถาบันครอบครัวมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมอาสา โดยสมาชิกในครอบครัวได้มี
โอกาสใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน
๗๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๔. จัดโครงสร้างการขับเคลื่อนพลังจิตอาสาให้
มีความสอดคล้องเชื่อมโยงทั้งระดับประเทศ
จังหวัด อาเภอ และตาบล โดยแยกภารกิจ
ของจิตอาสาตามความสนใจและลักษณะ
งานของแต่ละหน่วยงาน
๕. ประชาสัมพันธ์ ติดตาม และประเมินผล
การดาเนินงาน
๑.๒ โครงการจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคม หน่วยงาน ๑๕๐ งบ เครือข่ายจิตอาสาประชารัฐมี ๑. มีพลเมืองผู้มี
สุขภาวะ หลัก ได้แก่ ลบ./ปี ประมาณ ความร่วมมือในทุกระดับ จิตอาสาในพื้นที่
สช./สสส./ แผ่นดิน (ระดับพืน้ ที่/จังหวัด/ประเทศ) ทั่วประเทศ
วิธีการ พม. - สช. เพื่อเสริมสร้างสังคมสุขภาวะที่ ๑๐๐,๐๐๐ คน
สนับสนุนให้เกิดการสานพลังความร่วมมือภาคี - สสส. อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ๒. มีศูนย์จิตอาสา
ที่หลากหลายแบบกลไกประชารัฐในพื้นที่ หน่วยงาน - สธ. ประชารัฐ
๗๗ จังหวัด ในการเสริมสร้างจิตสานึก ร่วม ได้แก่ - พม. กระจายอยู่ทั่ว
พึ่งตนเองของภาคประชาชน มท./พอช. ทุกจังหวัด
ไม่น้อยกว่า
ขั้นตอน ๗๗ ศูนย์
๑. พัฒนาระบบสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสา ๓. มีเครือข่ายจิต
ประชารัฐเพื่อสังคมในทุกจังหวัด โดย อาสาประชารัฐ
จัดทาฐานข้อมูลประชาชนที่อยู่ในภาวะ ทั่วประเทศ
ยากลาบาก เพื่อเตรียมการสาหรับการ ไม่น้อยกว่า
ช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ๘๗๘ เครือข่าย
๗๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๒. พัฒนาระบบเฝูาระวังภัยทางสังคมโดยให้ (อย่างน้อย
ชุมชนเป็นฐานในการดาเนินการ อาเภอละ
๓. พัฒนาระบบกองทุนประชารัฐเพื่อสังคมใน ๑ เครือข่าย)
ระดับจังหวัด ๔. มีฐานข้อมูล
ประชาชนที่อยู่ใน
ภาวะยากลาบาก
และให้การ
ช่วยเหลือ
เบื้องต้นอย่าง
เหมาะสม
๕. มีกองทุนประชา
รัฐเพื่อสังคมใน
ระดับจังหวัด
กิจกรรมที่ ๒ สร้างพลังแผ่นดิน
๒.๑ การปฏิรูประบบอาสาสมัครในพื้นที่ หน่วยงาน งบ เครือข่ายอาสาสมัครได้รับการ ๑. มีองค์กรกลาง/
หลัก ได้แก่ ประมาณ พัฒนาเป็นเครือข่ายที่มีความ ศูนย์ประสานงาน
วิธีการ พม./ศธ./มท./ แผ่นดิน เข้มแข็ง มีเอกภาพ และมีการ เครือข่าย
พัฒนาอาสาสมัครให้มีความเป็นเอกภาพและ ดศ. ดาเนินงานเพื่อช่วยเหลือสังคม อาสาสมัคร
เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในชุมชน ในการพัฒนา อย่างน้อย
คุณภาพชีวิตร่วมกับกลุ่มพลังอืน่ ๆ หน่วยงาน ภูมิภาคละ
ร่วม ได้แก่ ๑ แห่ง
๗๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
ขั้นตอน ภาคธุรกิจ/ ๒. มีระบบฐาน
๑. พัฒนา “Application ของอาสาสมัคร” มูลนิธิ/ชมรม/ ข้อมูลการ
ออนไลน์ในระบบสมาร์ทโฟน อาทิ สมาคม/ ขึ้นทะเบียน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน เครือข่าย
คณะทางาน
(อสม.) และ “Application จิตอาสา” อาสาสมัคร
- ภาครัฐ/เอกชน/ประชาสังคมร่วมกัน ประชารัฐเพื่อ ของประเทศ
พัฒนาระบบเครือข่ายของอาสาสมัคร สังคม (E๖)
หรือจิตอาสาประเภทต่าง ๆ ให้อยู่ใน
ระบบทีป่ ระชาชนทุกระดับสามารถ
เข้าถึงได้ โดยพัฒนาผ่านระบบรูปแบบ
Application ในสมาร์ทโฟน
- พัฒนาข้อมูลการดาเนินการของ
อาสาสมัคร และจิตอาสาในระดับพื้นที่
ต่างๆ ให้เป็นระบบทีส่ ามารถเข้าถึงและ
ตรวจสอบการดาเนินงานได้ง่าย
๒. ให้มีองค์กรกลาง/ศูนย์ประสานงาน
เครือข่ายอาสาสมัครและจิตอาสาประชา
รัฐระดับจังหวัด/ประเทศ เป็นเครือข่าย
ช่วยเหลือสังคม
๓. จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์เครือข่าย
อาสาสมัคร เพื่อร่วมกาหนดแผนงาน/
โครงการประจาปี
๗๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๔. พัฒนาระบบฐานข้อมูลอาสาสมัคร โดยขึ้น
ทะเบียน จัดประเภททั่วไป/เฉพาะด้านของ
ข้อมูลอาสาสมัคร จิตอาสา องค์กร และ
รายงานบุคคล
๕. พัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครไปสูก่ ารจด
ทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
๖. สร้างกระแสสังคม ระดมทุน ก่อตั้งกองทุน
และจัดระบบการบริหารจัดการ
๒.๒ โครงการเร่งรัดฟื้นฟูกิจการลูกเสือไทย หน่วยงาน งบ จิตสานึกสาธารณะของเด็ก ๑. มีการจัดกิจกรรม
ให้กิจกรรมลูกเสือเป็นกลไกในการสร้าง หลัก ได้แก่ ประมาณ เยาวชน และประชาชนทั่วไป สร้างเครือข่าย
จิตสานึกความเป็นพลเมืองดี มีความพอเพียง ศธ./กก. แผ่นดิน ได้รับการพัฒนา/ส่งเสริมผ่าน จิตอาสาผ่าน
มีจิตสาธารณะ กระบวนการกิจกรรมลูกเสือ กระบวนการ
ลูกเสือใน
วิธีการ หน่วยงาน ทุกชุมชน
๑. ส่งเสริมให้การฝึกอบรมลูกเสือเป็นกิจกรรม ร่วม ได้แก่ ๒. พ.ร.บ.ลูกเสือ
หลักในการพัฒนาผู้เรียนทั้งในและนอก กค./สงป./ พ.ศ. ๒๕๕๑
สถานศึกษา สคก. ได้รับการ
๒. ผลักดันให้การฝึกอบรมลูกเสือเป็นแนว ปรับปรุงแก้ไข
ปฏิบัติตามยุทธศาสตร์และหลักสูตรของ ๓. หลักสูตรลูกเสือ
กระทรวงศึกษาธิการ ของสถานศึกษา
๓. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหาร ทั่วประเทศได้รบั
จัดการในการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ การพัฒนาให้มี
๗๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
ขั้นตอน ความทันสมัย
๑. ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยต่อ
การเปลี่ยนของโลกยุคปัจจุบนั ชุมชนและ
เทคโนโลยีสมัยใหม่
๒. พัฒนาบุคลากรในระดับนโยบายและ
ครูผู้สอนด้านกิจกรรมลูกเสือ
๓. ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑
ให้มีความคล่องตัวด้านโครงสร้างและ
งบประมาณ
๔. ปรับปรุงการบริหารทรัพย์สินของ
สานักงานลูกเสือแห่งชาติให้สามารถหา
รายได้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนากิจกรรม
ของค่ายลูกเสือให้เกิดศักยภาพ
๒.๓ ขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนให้เป็น หน่วยงาน งบ ๑. สภาเด็กและเยาวชนมี ๑. ร้อยละ ๒๐ ของ
ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา หลัก ได้แก่ ประมาณ กิจกรรมในการพัฒนาชุมชน สภาเด็กและ
สุขภาพ กีฬา และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของ พม./มท./ศธ. แผ่นดิน และสังคม เยาวชนผ่าน
เด็กและเยาวชน ๒. สภาเด็กและเยาวชนเป็น เกณฑ์มาตรฐาน
หน่วยงาน เวทีสาหรับเด็กและเยาวชน ในแต่ละปี
วิธีการ ร่วม ได้แก่ ในการจัดกิจกรรมเชิง ๒. สภาเด็กและ
๑. สนับสนุนการจัดตั้งตัวแทนของสภาเด็ก ดศ./เอกชน สร้างสรรค์ เยาวชน ๗,๗๗๕
และเยาวชนเพิ่มขึ้นในระดับชุมชนและ แห่ง มีกิจกรรม
ตาบล เพื่อให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนใน ในการพัฒนา
๗๕

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
ระดับพื้นที่ และบูรณาการกับกิจกรรมใน ชุมชนและสังคม
ชุมชนร่วมกับภาคีอื่น อย่างน้อย
๒. ยกระดับและเชื่อมโยงฐานข้อมูลของ ๓ กิจกรรมต่อปี
สภาเด็กและเยาวชน กับข้อมูลของ
กรมกิจการเด็กและเยาวชนของ พม.

ขั้นตอน
๑. ผลักดันให้สภาเด็กและเยาวชน ๗,๗๗๕ แห่ง
มีกิจกรรมสาคัญ อาทิ ๑) ขยายเครือข่าย
จิตอาสา ๑ สภา ๑ กิจกรรมจิตอาสา
๒) กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด ปูองกัน
ทุจริต รักษาสิ่งแวดล้อม รณรงค์ปลอดภัย
บนท้องถนน และ ๓) กิจกรรมกับ
ผู้เสียเปรียบในสังคมและผู้ด้อยโอกาส
๒. พัฒนาระบบฐานข้อมูลในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการปฏิบัติงานของ
สภาเด็กและเยาวชน
๗๖

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
กิจกรรมที่ ๓ พลังสร้างสรรค์
๓.๑ สร้างศูนย์การเรียนรู้ทักษะชีวิต หน่วยงาน ประชาชนในชุมชนมีโอกาสใน ๑. ทุกจังหวัด
หลัก ได้แก่ การเข้าถึงศูนย์การเรียนรู้ที่มี มีห้องสมุดและ
วิธีการ มท./ดศ./ศธ. ชีวิตในพืน้ ที่ได้เพิ่มขึ้น และศูนย์การ
๑. สร้าง/พัฒนานวัตกรรมและพิพธิ ภัณฑ์ เรียนรู้ที่มีชีวิต
OKMD
ชุมชน โดยขยายพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ๒. มีห้องสมุดชุมชน
ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์หรือนวัตกรรมทาง เพิ่มขึ้นปีละ
วัฒนธรรมและห้องสมุดมีชีวิต ที่มีความ หน่วยงาน ๑๐ แห่ง
ทันสมัย และประชาชนทุกระดับสามารถ ร่วม ได้แก่ ๓. มีกิจกรรม
เข้าถึงได้ ม.เกษตรฯ / ห้องสมุดมีชีวิต
๒. สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชน สสส./สวทช./ เคลื่อนที่
มีส่วนร่วมในการจัดพืน้ ที่ทางสังคม สานักงานเขต อย่างน้อย
๓. พัฒนาระบบการระดมทุนเพื่อกิจกรรม กทม./เอกชน ปีละ ๑๐ ครั้ง
ทางสังคม ๔. มีห้องสมุดมีชีวิต
๔. ส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้/ ที่เหมาะกับพื้นที่
ศูนย์การอบรม (Learning Center) ในอาคารสูง
ในระดับศูนย์กลาง ที่เน้นการเรียนรู้ทักษะ ร่วมมือกับ
ชีวิตเพื่อให้เข้าถึงได้ตลอดทุกช่วงวัย เช่น ภาคเอกชน
ทักษะรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทักษะ ปีละ ๕ แห่ง
การช่วยฟื้นคืนชีพขัน้ พื้นฐาน (CPR)
๗๗

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
ขั้นตอน
๑. จัดตั้ง "ห้องสมุดมีชีวิต” ในทุกจังหวัด ๑๐.๒ อปท.
โดย อปท. (ปัจจุบนั มี ๓๔ หน่วย ๒๔ ลบ.
จังหวัด) (ขยายผลปีละ ๑๐ จังหวัด)

๒. พัฒนาห้องสมุดมีชีวิตต้นแบบในโรงเรียน ๗.๖ สพป.


และขยายสูโ่ รงเรียนที่ด้อยโอกาส ลบ.

๓. จัดให้มีห้องสมุดมีชีวิตที่เหมาะกับพื้นที่ ๔ TK
ในอาคารสูง ร่วมมือกับภาคเอกชน ลบ. Park
จัดกิจกรรมเชิงรุก “ห้องสมุดมีชวี ติ เคลื่อนที”่ /เอกชน

๔. สนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดชุมชน หรือ ๕ TK
Mini TK Park ในทุกจังหวัด (จาก ๔ แห่ง ลบ. Park
๔ จังหวัด)

๕. พัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน ๒.๕ TK
อาทิ ระดับตาบล สานักงานเขตฯ ลบ. Park
ให้สอดคล้องกับศูนย์ต้นแบบ /ชุมชน
๗๘

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๓.๒ ขับเคลื่อนคลังปัญญาผูส้ ูงอายุและ หน่วยงาน ๑. ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนา ๑. มีศูนย์พัฒนา
โรงเรียนผู้สูงอายุ หลัก พม./มท. ทักษะการเรียนรู้ตาม คุณภาพชีวิตและ
ศักยภาพที่เหมาะสม ส่งเสริมอาชีพ
วิธีการ ๒. คนในชุมชนได้รับถ่ายทอด ผู้สูงอายุ
หน่วยงาน
๑. จัดให้มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและ ภูมิปัญญา/องค์ความรู้จาก ครอบคลุม
ร่วม วัด/
ส่งเสริมอาชีพผูส้ ูงอายุ ครอบคลุมทุกตาบล ผู้สูงอายุในชุมชน ทุกตาบลภายใน
มูลนิธิ
๒. จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีเวทีในการ ๕ ปี อย่างน้อย
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทากิจกรรมร่วมกัน ตาบลละ ๑ แห่ง
ในพื้นที่ในรูปแบบโรงเรียนผูส้ ูงอายุโดยให้ ๒. จัดระดับการ
ชมรมผู้สูงอายุมสี ่วนร่วม พัฒนาสูม่ าตรฐาน
ร้อยละ ๒๐
ขั้นตอน ในแต่ละปีของ
๑. จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งและขยายโรงเรียน ๖,๓๗๗ งปม. จานวนตาบล
ผู้สูงอายุ ดังนี้ (แหล่งละ ประจา ในแต่จังหวัด
- อาคารเรียนเก่า อาคารร้างในตาบล ไม่เกิน ปีของ ๓. มีเวทีในการ
ศาลากลางบ้าน ศาลาประชาคม ๑ ลบ.) กรม แลกเปลี่ยน
- วัด ที่ตั้งของชมรมผู้สงู อายุ ฯลฯ โดยให้ กิจการ เรียนรู้ และทา
ขึน้ อยู่กับบริบทของพื้นที่ที่เหมาะสม ผู้สูงอายุ กิจกรรมร่วมกัน
- รัฐ โดย พม. สนับสนุนงบประมาณสร้าง ในพื้นที่ในรูปแบบ
หรือซ่อม หรือปรับปรุงให้เหมาะสม โรงเรียนผู้สูงอายุ
สามารถดาเนินกิจกรรมได้ ภายใน ๕ ปี
- ที่ดินว่างเปล่า พร้อมก่อสร้างอาคารใหม่ ในทุกอาเภอ
๗๙

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๒. จัดกิจกรรม อาทิ ๗๒๕.๕ งปม. โดยให้ชมรม
- กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลบ. ประจา ผู้สูงอายุมี
โดยพัฒนาทักษะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ปีของ ส่วนร่วม
ผู้สูงอายุ เพิ่มพูนทักษะถ่ายทอด กรม
ภูมิปัญญา เป็นเวทีในการพบปะใช้ กิจการ
เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ผู้สูงอายุ
- ส่งเสริมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
ในตาบลให้เชื่อมโยง/บูรณาการกับ
เครือข่ายกลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มสตรี
ในชุมชน
๓.๓ พัฒนาศูนย์เด็กเล็กเป็นพื้นที่ส่งเสริม หน่วยงาน งบ ๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการ ๑. ร้อยละ ๘๐ ของ
พัฒนาการของเด็ก หลัก ได้แก่ ประมาณ ยกระดับให้ได้มาตรฐานตาม ศูนย์พัฒนาเด็ก
มท./พม./วธ. แผ่นดิน หลักเกณฑ์ของ อปท. มากขึ้น เล็กทุกแห่ง
วิธีการ - มท. ๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพืน้ ที่ เป็นไปตาม
๑. ยกระดับศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กให้เป็นพืน้ ที่ - กรม ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง มาตรฐานการ
พัฒนาการเด็กทั้งทางกายและจิตใจ หน่วยงาน การ ทางกายและจิตใจ ดาเนินงานศูนย์
๒. สร้างเสริมศักยภาพด้านองค์ความรู้ ร่วม ได้แก่ ศาสนา พัฒนาเด็กเล็ก
ทัศนคติด้านจิตวิทยาและทักษะการดูแล ศธ./สธ. - ศธ. ของอปท.
เด็กปฐมวัยแก่บุคลากรในศูนย์เด็กเล็กให้ ๒. มีศูนย์พัฒนา
ถึงพร้อม มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เด็กเล็กต้นแบบ
ที่กาหนด อย่างน้อย
ร้อยละ ๔๐
๘๐

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๓. พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้อ
ต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ขั้นตอน
๑. ประเมินผลศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก เพื่อหา
สัดส่วนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ต่ากว่า
เกณฑ์ และได้มาตรฐาน
๒. พัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งให้
เป็นไปตามมาตรฐานการดาเนินงานศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กของ อปท. ๕ ด้าน ได้แก่
- ด้านการบริหารจัดการศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก
- ด้านบุคลากร
- ด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม และ
ความปลอดภัยของศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก
- ด้านวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร
- ด้านการมีสว่ นร่วมและส่งเสริม
สนับสนุน
๓. คัดเลือกและให้รางวัลมาตรฐานแก่ศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กและให้เป็นต้นแบบ
๔. จัดทาหลักสูตรการเรียนรู้คู่คุณธรรม
สร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ
พลเมืองไทย เก่ง ดี มีสุข
๘๑

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
๓.๔ ขยายเครือข่ายวิทยุ/การสื่อสารให้ หน่วยงาน ๐.๕ กรม ๑. เครือข่ายวิทยุชุมชนมี ๑. วิทยุชุมชนมี
ชุมชนเพื่อช่วยเหลือสาธารณะ: วิทยุชุมชน หลัก ได้แก่ ลบ. ประชา ศักยภาพในการช่วยเหลือ รูปแบบการ
กรมประชา สัมพันธ์ สาธารณะ ดาเนินงานใน
วิธีการ ๒. ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ลักษณะเดียวกับ
สัมพันธ์ /มท.
๑. พัฒนารูปแบบการดาเนินการจากแนวคิด เฝูาระวัง ปูองกัน แก้ไข จส.๑๐๐ เพิ่มขึ้น
ต้นแบบ จส. ๑๐๐ ปัญหาและพัฒนาชุมชน ๒. มีการจัดอบรม
๒. พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครในชุมชน หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพ
ในการบริหารวิทยุชุมชน ร่วม ได้แก่ อาสาสมัครใน
๓. สนับสนุนให้วิทยุชุมชนเป็นสื่อกลางข้อมูล จส.๑๐๐ / ชุมชนในการ
ข่าวสารในท้องถิน่ โดยคานึงถึงการมี ภาคประชาชน/ บริหารวิทยุ
ส่วนร่วม การบริหารจัดการ และ เครือข่ายวิทยุ ชุมชนอย่างน้อย
สาระสาคัญของข้อมูล เช่น การปูองกันภัย ชุมชน ปีละ ๒ ครั้ง
พิบัติ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการปูองกัน
ยาเสพติด เป็นต้น
ขั้นตอน
๑. ถอดบทเรียนรูปแบบวิทยุชุมชนจาก
แนวคิดต้นแบบ จส.๑๐๐
๒. เปิดรับสมัครอาสาสมัครในชุมชนเพื่อ
สนับสนุนงานวิทยุชุมชน
๓. อบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครในการใช้
วิทยุชุมชนเป็นสื่อกลางข้อมูลข่าวสารใน
ท้องถิ่น
๘๒

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
กิจกรรมที่ ๔ พลังภูมิคุ้มกัน
๔.๑ จัดทามาตรฐานดูแลสื่อออนไลน์ หน่วยงาน งบ สื่อมีการจัดทารายการที่มี รายการที่มีเนื้อหา
หลัก ได้แก่ ประมาณ เนือ้ หาในเชิงสร้างสรรค์ใน ส่งเสริมความรู้
วิธีการ กรมประชา แผ่นดิน สัดส่วนที่เพิ่มขึ้น วิชาการ คุณธรรม
๑. สนับสนุนสมาคมผูผ้ ลิตสื่อออนไลน์ร่วมมือกัน จริยธรรม และทักษะ
สัมพันธ์/ดศ.
จัด rating หรือ ประเภทของเนื้อหาสื่อ ชีวิต เพิ่มขึ้นร้อยละ
ข่าวสารประเภทต่าง ๆ ก่อนเผยแพร่ ๑๐ ในแต่ละปี
๒. สนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ หน่วยงาน
และเอกชนในการจัดทาระบบตรวจสอบ ร่วม ได้แก่
ข้อมูลข่าวสารบน Smart Phone สถาบันการ
๓. ส่งเสริมให้ผลิตและเพิ่มสัดส่วนรายการที่ ศึกษา/เอกชน/
เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย มีเนื้อหาที่ส่งเสริม มูลนิธิ/สมาคม
ความรู้วิชาการ คุณธรรมจริยธรรม และ ผู้ผลิตสื่อ
ทักษะชีวิต ออนไลน์

ขั้นตอน
๑. จัดประเภทเนื้อหาสื่อออนไลน์ตามระบบสี
และแสดงผลบนหน้าเนื้อหาดังกล่าว
- แดง = ข่าวลวง ไม่น่าเชื่อถือ ยังไม่ได้
รับการคัดกรอง
- เหลือง = อยู่ในระหว่างดาเนินการคัด
กรองข่าว
๘๓

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
- เขียว = ได้รับการตรวจสอบแล้วเชือ่ ถือได้
๒. จัดทา Application ตรวจสอบเนื้อหาข่าว
สาหรับ Smart Phone
๔.๒ โครงการ Citizen Watchdogs หน่วยงาน งบ ๑. ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ๑. ข้อมูลข่าวสาร
โดยสร้างระบบดิจิทัลกับการเฝูาระวังทางสังคม หลัก ได้แก่ ประมาณ ตรวจสอบข้อมูลและเฝูา เรื่องราวร้องทุกข์
Digital Community Watch Dog (DCWD) ดศ./กสทช. แผ่นดิน ระวังข้อมูลข่าวสารทีไ่ ม่ จากประชาชน
ในชุมชน - กทปส. ปลอดภัย เข้าสู่ระบบดิจิทัล
วิธีการ หน่วยงาน - กสทช. ๒. ประชาชนมีความรู้ในการใช้ เพิ่มขึ้น
๑. พัฒนาระบบที่ให้ประชาชนสามารถสมัคร ร่วม ได้แก่ - กองทุน สื่อออน์ไลน์อย่างสร้างสรรค์ ประชาชนมีส่วน
เป็นอาสาสมัครและมีส่วนร่วมในการ ศูนย์ดารง พัฒนา ร่วมเฝูาระวังทาง
ตรวจสอบข่าวสาร (citizen watchdogs) ธรรม (มท.)/ ดิจิทัล สังคมในการให้
๒. พัฒนาระบบเฝูาระวังสื่อในทุกรูปแบบทั้ง สานักงาน เพื่อ ข่าวสารและ
เพื่อตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรี รัฐบาล เศรษฐ- ร้องเรียนผ่าน
และระบบ watch dog ในระดับชุมชน อิเล็กทรอนิกส์ กิจ ช่องทางระบบ
๓. ส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์ในการสร้าง (สรอ.) และ ดิจิทัล
ความเข้าใจ สื่อการสอน ช่องทางการ สังคม ๒. มีหน่วยงาน
สะท้อนปัญหาสังคม เช่น หลักสูตร หรือ ที่ให้ความรู้และ
ออนไลน์ดา้ นการคุ้มครองเด็กและสตรี กองทุน เฝูาระวังการ
(สามารถสมัครเรียนได้ทางเว็บไซต์) อื่นๆ ใช้งานสื่อ
ขั้นตอน - อปท. ออนไลน์เพิ่มขึ้น
๑. พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ดิจิทัลกับการเฝูา อย่างน้อย
ระวังทางสังคม Digital Community ร้อยละ ๑๐ ต่อปี
๘๔

แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม
เรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ ๕ : การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
วงเงิน
ระยะเวลา (พ.ศ. / ไตรมาส)
กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ล้าน แหล่ง เป้าหมาย ตัวชี้วัด
๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
บาท เงิน
Watch Dog (DCWD) โดยเน้นใช้งาน
เฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ต (ไม่ใช่ระบบร้องเรียนทาง
โทรศัพท์)
๒. จัดให้มีระบบบริหารจัดการซึ่งเป็นลักษณะ
ของการแสดงจุดสี หรือน้าหนักของ
ข้อร้องเรียน
๓. ให้มีกลไกบริหารจัดการข้อมูล/ข่าวสาร
เพื่อการเฝูาระวังทางสังคม อาทิ ศูนย์
อานวยการบริหารจัดการและบูรณาการ
ข้อมูลข่าวสารเรื่องราวร้องเรียน/ร้องทุกข์
ของประชาชน คณะกรรมการอานวยการ
ดิจิทัลเพื่อการเฝูาระวังทางสังคม
๔. ให้ประชาชนส่งข้อมูลข่าวสาร เรื่องราว
ร้องทุกข์เข้าสู่ระบบดิจิทลั เฝูาระวังผ่าน
เทคโนโลยีดิจิทัล
๘๕

๒.๕.๖ ข้อเสนอในการมีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดาเนินการ

You might also like