You are on page 1of 352

รายงานฉบับสมบูรณ์

โครงการวิจัย

เรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนา


ครูการศึกษาขั้นพืน้ ฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ


ทุนสนับสนุนจากสานักงานเลขาธิการคุรุสภา
คำนำ
โครงการวิ จั ย เรื่ อ ง “การศึ ก ษาสภาพและปั ญ หาการผลิ ต การใช้ และการพัฒ นาครู การศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้และการ
พัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในอนาคต และจั ดทาข้อ เสนอเชิงนโยบายด้านการผลิ ต การใช้และการพัฒ นาครูการศึ กษาขั้น พื้นฐานที่
สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณสานักงานเลขาธิการคุรุสภาที่ได้ให้ทุนสนับสนุนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยในการทาวิจัย และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สานักงานเลขาธิการคุรุสภา
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษา
ตามอั ธ ยาศั ย ส านั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา ส านั ก งานคณะกรรมการการอาชี ว ศึ ก ษา
กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา รวมทั้งผู้ ทรงคุณวุฒิจ ากเขตพื้น ที่การศึกษา ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธ ยาศัย
ผู้ อ านวยการสถาบั น การศึ ก ษา และผู้ ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งทุ ก ท่ า น ที่ ใ ห้ ค วามอนุ เ คราะห์ ใ นการให้ ข้ อ มู ล
ให้ข้อเสนอแนะและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจนกระทั่งสามารถจัดทารายงานวิจัยฉบับนี้ได้สาเร็จ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน ที่ปรึกษา


รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง หัวหน้าโครงการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ นักวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก นักวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวธิ ิดา จรุงเกียรติกุล นักวิจัย
ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก นักวิจัย
อาจารย์ ดร.ดวงกมล บางชวด ผู้ช่วยนักวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้น


พื้นฐาน ช่วง พ.ศ.2546-2556 เพื่อศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึ กษาขั้นพื้นฐาน
ในอนาคตช่ว ง พ.ศ.2557-2566 และเพื่อจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิ ต การใช้ และการพัฒ นาครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้การวิจัยเอกสาร
การวิจัยเชิงสารวจโดยใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ค่าความต้องการจาเป็น (PNI) ด้านการผลิต การใช้ และการ
พัฒนาครูและคุณลักษณะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต (Trend
Analysis) การจัดทาวงล้ออนาคต (Future Wheel) และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยเอกสารพบว่า สถาบันผลิตครูยังผลิตบัณฑิตเกินความ
ต้องการเกือบสองเท่าตัว กล่ าวคือ มี ความต้องการครู ทดแทนครู ประจาการที่ เกษียณอายุราชการเฉลี่ ยปีล ะ
20,000 คน แต่สถาบันผลิตครูผลิตบัณฑิตปีละประมาณ 50,000 คน และมีข้อสังเกตว่าจานวนนักศึกษาใหม่ระดับ
ปริญญาตรีเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 ซึ่งอาจจะส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตครู และ
การมี ง านท าของผู้ ส าเร็ จ การศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ มหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ มหาวิ ท ยาลั ย ไม่ จ ากั ด รั บ
มหาวิทยาลัยนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รับนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นสองถึงสามเท่า โดยเฉพาะมหาวิทยาลั ย
เอกชนมีแนวโน้มรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งทาหน้าที่ผลิตครู
อาชีวศึกษาโดยตรงยังมีจานวนรับนักศึกษาใหม่ไม่มากนักและมีจานวนค่อนข้างคงที่ ส่วนสาขาวิชาที่คาดว่าจะมี
ผู้สาเร็จการศึกษามากที่สุดห้าอันดับแรกในช่วงปี 2556-2560 คือ การศึกษาปฐมวัย พลศึกษา ภาษาอังกฤษ สังคม
ศึกษา คณิตศาสตร์ ในด้านคุณภาพ พบว่าแม้จะมีการปรับหลักสูตรเป็น 5 ปีตามกรอบมาตรฐานของคุรุสภาและ
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว แต่ผู้เข้าประชุมสนทนากลุ่มยังไม่พอใจกับทักษะการสอน และการ
พัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ผลการวิเคราะห์ความต้องการครูเพื่อทดแทนอัตราการเกษียณอายุราชการระหว่าง
ปี พ.ศ.2558-2567 พบว่า สาขาวิชาที่มีแนวโน้มต้องการครูมากที่สุด สามอันดับแรกในปี พ.ศ.2567 คือ ภาษาไทย
คณิตศาสตร์ สังคมศึกษารวมมนุษยศาสตร์และจิตวิทยา ส่วนผลการวิจัยจากแบบสอบถามพบว่าความต้องการ
จาเป็นในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องดาเนินการเร่งด่วนมากที่สุดคือ การมีระบบติดตามและประเมินผล
การผลิตครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI = 1.01) การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความ
ต้องการในเชิงคุณภาพ (PNI = 0.91) และการที่ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดี คนเก่ง มีใจรักวิชาชีพครู
มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.71) ผลการประชุมสนทนากลุ่มจึงมีข้อเสนอให้มีหน่วยงานกลางที่ทา
หน้ าที่ว างแผนการผลิ ตครู ให้ ตรงกับความต้องการในการใช้ครู ในสภาพจริง พิจารณาปรับระบบการคัดเลื อก

นักศึกษาโดยเสนอให้พิจารณาให้ใช้ระบบปิดที่มีการจากัดจานวนรับนักศึกษาใหม่ ปรับปรุงกระบวนการเรียนการ
สอนและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้เน้นการพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นครูมากขึ้น
2. การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ายังมีปัญหาทั้งในด้านการสรรหา การบรรจุ การมอบหมายงาน
การรักษาครูไว้ในระบบ และการดูแลเมื่อครูเกษียณอายุราชการเพื่อเป็นขวัญกาลังใจ โดยเฉพาะการสรรหาและ
การบรรจุครูที่ไม่ตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและสาขาวิชา การใช้ครูไม่ตรงวุฒิการศึกษาและการมีภาระงาน
ด้านธุรการมากเกินไป ในด้านความต้องการจาเป็นในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องดาเนินการเร่งด่วนมาก
คือการมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI =0.78)
การมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม (PNI = 0.73) และมีระบบติดตามและ
ประเมินผลการปฏิบัติงานครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI = 0.73) การมีระบบบรรจุที่ตรงกับความ
ต้องการของสถานศึกษาและท้องถิ่น (PNI = 0.70) การมีระบบการรับฟังความต้องการและข้อเสนอแนะจากครู
การศึกษาขั้น พื้น ฐาน (PNI = 0.67) ส่ ว นข้อเสนอแนะพบว่ามีการเสนอให้ ยึด หลั กการกระจายอานาจ
การบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การกาหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพครูให้ดิ่งเดี่ยว
และทัดเทียมกับผู้บริหารสถานศึกษา การจัดระบบสนับสนุนการทางานของครู โดยเฉพาะการจัดสรรบุคลากร
สายสนับสนุนเพิ่มเติมในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อบรรเทาภาระงานธุรการของครู รวมทั้งพัฒนาระบบ
สวัสดิการและการสร้างขวัญกาลังใจทั้งระหว่างการปฏิบัติงานและหลังเกษียณอายุการทางานเพื่อรักษาครูดีไว้ใน
สถานศึกษาด้วย
3. การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจาเป็น พบว่าการพัฒนาครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องที่มีความต้องการจาเป็นเป็นลาดับแรก (PNI = 0.71) รองลงมา คือ การผลิตครู (PNI
= 0.60) และการใช้ครู (PNI = 0.54) ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยวงล้ออนาคตและการวิจัยเอกสาร แต่การประชุม
สนทนากลุ่มมีความเห็นว่าการพัฒนาครูยังมีปัญหาทั้งในเชิงระบบและรูปแบบการพัฒนาครู แม้ว่าจะมีหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูประจาการหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นยังแสดงให้
เห็ นด้วยว่า คุณลั กษณะและสมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องการให้ พัฒ นาเพื่อสอดคล้ องกับความ
ต้องการในอนาคตมีจานวน 12 ด้าน ในจานวนนี้พบว่ามีความต้องการจาเป็นที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน
การวิจัยมากที่สุด โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การสอน และการพัฒนาผู้เรียน (PNI = 1.03) ทั้งนี้
ผลการวิจัยเกี่ยวกับข้อเสนอแนะได้ข้อเสนอเชิงนโยบายสาหรับการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับ
ความต้องการในอนาคต 12 ข้อ อาทิ การพัฒนาครูให้มีความเชื่อมโยงกับคุณภาพการผลิตบัณฑิตและการพิจารณา
ผลการปฏิบัติงานของครู รวมทั้งเสนอให้คุรุสภาร่วมมือกับสถาบันผลิตครูในการพัฒนาครูให้มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
ครูและจิตวิญญาณความเป็นครู (Teacher Spirit) ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของครูผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the state and problems of the
production, recruitment and utilization, as well as the development of basic education teachers
during B.E. 2546-2556; 2) to study the needs of the production, use, and develop basic
educational teachers during B.E. 2557-2566; and 3) to propose policy concerning the production,
use, and develop basic educational teachers which would be relevant to the future needs. The
researchers employed mix-methods approach using document research, needs assessment
questionnaire, trend analysis, future wheel, and focus group discussions.
Findings could be concluded as follows.
1. The Production of Basic Education Teachers. Document research showed that
there were some problems on supply side; that is, teacher training institutions produced
prospective teachers twice more than the real demand. It was found that each year, about
50,000 graduates were produced while 20,000 teachers were needed to replace retired
teachers. It is noteworthy that the number of new undergraduate students increased about
three times during academic year B.E. 2553-2556 and this situation might as well affect the
quality and employment of graduates. Rajabhat universities, public universities, open
universities, and universities outside the auspice of Ministry of Education had doubled or tripled
the number of new students and it was worth mentioning that private universities had rapidly
increased their number of new students. Interestingly, the number of new undergraduate
students in Rajamangala universities of technology which were mainly responsible for the
production of vocational school teachers remained quite steady. It was also found that early
childhood education, physical education, teaching English, social sciences, and mathematics
were the top five areas which would produce most graduates during the academic year B.E.
2556-2560. In terms of quality, experts in focus group discussions showed their concerns about
teaching skills and teacher spirit of the prospective teachers even though all teacher training
institutions had utilized the 5-year curriculum which followed qualification frameworks of the
Teachers’ Council of Thailand (Kurusapha) and Office of the Higher Education Commission.
Trend analysis of demand for the replacement of retired teachers during B.E. 2558-2567
indicated that, in the year 2567, the most needed fields of study were teaching Thai,

Mathematics, and Social Sciences which include Humanities and Psychology. Results from needs
assessment questionnaire confirmed that monitoring and evaluation system to ensure that
teacher production of all teacher training institutions would have the same standards was most
needed (PNI = 1.01). The second and third most needed were concerned with the quality of
teacher production (PNI = 0.91) and the necessary measures to attract best candidates who
were morale, had good academic achievement, and were inspired to become teachers (PNI =
0.71). Experts from focus group discussions suggested that there should be supply-demand plan
that could monitor teacher production to be relevant to the real needs, closed admission
system should be considered, and the revision of teaching and learning process as well as
professional experience activities in order to better enhance teacher spirit.
2. The Recruitment and Utilization of Basic Education Teachers. It was found that
there still have some problems relating to the recruiting, deploying, utilizing, and retaining of
teachers as well as morale support in job performance and retirement. The main problems
were unfit recruitment and deployment both in terms of quantity and fields of study,
employing out-of-field teachers, and overloaded clerical work of teachers. Needs assessment
study indicated the needs for mentoring system for new teachers (PNI =0.78), suitable job
assignment (PNI = 0.73), national standard monitoring and evaluation system for teacher
performance (PNI = 0.73), recruitment and deployment of teachers responsive to the demand
of local and educational institutions (PNI = 0.70), and participatory system that would
encourage sharing of teachers’ opinions and suggestions (PNI = 0.67). It was also recommended
that the principle of decentralization to educational service areas and educational institutions
should be practiced for personnel administration, progressive career path for teachers
compatible to that of school administrators should be developed, more supportive personnel
to assist school teachers in clerical work should be provided especially in small and middle size
school, and a better welfare system and morale support for in-service and retired teachers
should be developed in order to retain good teachers within the schools.
3. The Development of Basic Education Teachers. According to the results of needs
assessment, it was imperatives to point out that professional development was indicated as
most needed (PNI = 0.71), followed by teacher production (PNI = 0.60) and teacher recruitment
and utilization, and retaining (PNI = 0.54). The result showed strong evidence for the need of

professional development and it was consistent with future wheel study and document
research. However, in the focus group discussions, it was agreed that teacher development still
have problems in terms of system and approaches even though there were many official
organizations responsible for this function. This research also found 12 characteristics and
competencies needed for teachers in the future. Among these, knowledge and competencies in
research that would enhance learning, teaching, and development of students was most
needed (PNI = 1.03). Twelve recommendations for teacher development were also proposed
including a suggestion that the Teachers’ Council of Thailand (Kurusapha) should cooperate
with teaching training institutions in developing professional ethics and teacher spirit, the
components which lay at the heart of professional teachers.

บทสรุปสาหรับผู้บริหาร
โครงการวิ จั ย เรื่ อ ง การศึ ก ษาสภาพและปั ญ หาการผลิ ต การใช้ และการพั ฒ นาครู ก ารศึ ก ษา
ขั้น พื้น ฐานที่ส อดคล้ องกับ ความต้องการในอนาคต ได้รับทุนสนับสนุนจากสานักงานเลขาธิการคุรุส ภา
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) ศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคตช่วง พ.ศ.2557-
2566 และ 3) จัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต โดยมีกรอบเวลาในการศึกษาสภาพและปัญหาช่วง พ.ศ.2546-2556
ส่ ว นความต้ อ งการในอนาคตก าหนดในช่ ว ง พ.ศ.2557-2566 การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ใ ช้ ก ารวิ จั ย แบบผสมวิ ธี
โดยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ใช้การวิจัยเอกสาร การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group
Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานผลิต หน่วยงานใช้ และหน่วยงานพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จานวน 36 คน และการวิจัยเชิงสารวจโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจาเป็น (Needs Assessment) และ
วิเคราะห์ค่าความต้องการจาเป็น (PNI) เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้น พื้น ฐานในปั จ จุบั น สภาพที่พึงประสงค์ของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานใน
อนาคตช่วงปี พ.ศ.2557-2566 และความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะครูในปัจจุบันและอนาคตในช่วง พ.ศ.2566
ส่วนการศึกษาแนวโน้มความต้องการครูและการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคตใช้การวิเคราะห์แนวโน้ม
และความต้องการในอนาคต (Trend Analysis) และการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อ ทาวงล้ออนาคต (Future
Wheel) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมจานวน 22 คน ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 จัดทาข้อเสนอเชิง
นโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
โดยการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิระดับนโยบายจานวน 17 คน
สาหรับผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สภาพและปัญหาการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานว่า
ปัจจุบันมีสถาบันผลิตครู จานวน 79 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัย
เอกชน โดยในด้านปริมาณมีข้อสังเกตว่าจานวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีเพิ่ม ขึ้นประมาณสองเท่าตั้งแต่ปี
การศึกษา 2553-2556 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจานวนนักศึกษาใหม่แล้วจะเห็นว่า สถาบันผลิตครูรับนักศึกษาใหม่
เกินความต้องการทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 แนวโน้มจะผลิตบัณฑิตครูเกินความต้องการ
มากกว่าหนึ่งเท่าตัว (ความต้องการครูประมาณปีละสองหมื่นคน) วิชาชีพครูน่าจะเป็นวิชาชีพชั้นสูงวิชาชีพ
เดียวที่ไม่มีการควบคุมปริมาณการผลิตทาให้ผลิตบัณฑิตครูเกินเป็นจานวนมากซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพของ
บัณฑิตครูและผู้เข้าสู่วงวิชาชีพครูด้วย อย่างไรก็ตามเมือ่ พิจารณาข้อมูลการรับนักศึกษาใหม่ของสถาบันผลิตครู
ประเภทต่างๆ ในช่วงปีการศึกษา 2551- 2555 มีข้อสังเกตว่าสถาบันการผลิตครูรับนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นกว่า

สองหรือสามเท่า ยกเว้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งรับผิดชอบการผลิตครูอาชีวศึกษาเป็นหลักมี
จานวนการรับนักศึกษาน้อยมากเพียง 1,877 คน ซึ่งเป็นจานวนไม่มากนักและมีจานวนเกือบคงที่ และน่า
สังเกตว่าสถาบันผลิตครูที่มีแนวโน้มเพิ่มจานวนรับนักศึกษาใหม่อย่างรวดเร็ว คือ มหาวิทยาลัยเอกชน ในด้าน
สาขาวิชามีผลสารวจของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่พบว่าสาขาวิชาที่คาดว่าจะมีนักศึกษาสาเร็จ
การศึกษาตั้งแต่ปี 2556-2560 จานวนมากที่สุดห้าอันดับแรก คือ การศึกษาปฐมวัย พลศึกษา ภาษาอังกฤษ
สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ ส่วนในด้านคุณภาพการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต ผลการประชุมสนทนา
กลุ่มมีความเห็นตรงกันว่าสถาบันผลิตครูได้ปรับหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานวิชาชีพ
ตามที่คณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการการอุดมศึกษากาหนด แต่การผลิตครูยังมีประเด็นเรื่องคุณภาพ
โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะการสอน และการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู นอกจากนี้ยังมี ประเด็นเรื่อง
คุณสมบัติและประสบการณ์วิชาชีพของคณาจารย์ผู้สอนในสถาบันผลิตครู และยัง คงมีปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าง
ต่ อ เนื่ อ งยาวนานคื อ การที่ ส ถาบั น ผลิ ต ครู ยั ง ไม่ ส ามารถตอบสนองความต้ อ งการในการใช้ ค รู ไ ด้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ ที่น่าสนใจพบข้อมูลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุครูผู้ช่วยว่ามีจานวนผู้สมัครเกินกว่าอัตราที่ต้องการ
บรรจุ เกือบทุ กสาขาวิช าแม้แต่ส าขาวิช าที่ มีความขาดแคลนครู เช่น คณิตศาสตร์ แต่มีผู้ ส อบผ่ านไม่มาก
โดยเฉพาะการสอบบรรจุครูสังกัดองค์ก ารปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งประเด็นดังกล่าวอาจเป็นการสะท้อนถึง
คุณภาพของสถาบันผลิตครู
สภาพและปัญหาการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา (สานักงาน ก.ค.ศ.) กาหนดอัตรากาลังในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 2 รูปแบบ คือ
เกณฑ์ ม าตรฐานอั ต ราก าลั ง ในสถานศึก ษาส าหรั บ สถานศึ ก ษาสั งกั ด ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกรอบอัตรากาลังในสถานศึก ษาที่
มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ เช่น สถานศึกษาสังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย (กศน.) ส่วนการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก.ค.ศ. กาหนดหลักเกณฑ์และ
วิธีการสรรหา 2 รูปแบบ ได้แก่ การสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาตาแหน่งครูผู้ช่วย และการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาตาแหน่งครูผู้ช่วยในกรณีที่มีความจาเป็นหรือมีเหตุพิเศษ อย่างไรก็ตามผลการ
ประชุมสนทนากลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า ยังมีปัญหาการบรรจุครูไม่ตรงความต้องการการใช้ครูทั้งด้านปริมาณ
และคุณภาพ ครูสอนไม่ตรงวุฒิ ไม่ตรงสาขาวิชาที่สาเร็จการศึกษา ครูมีภาระงานมาก รวมทั้งงานที่ไม่เกี่ยวกับ
การเรียนการสอน ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหนึ่งเห็นว่าการดาเนินการบรรจุและแต่งตั้งยังมีความล่าช้า รวมทั้งยังมี
ปัญหาการขอโอนย้ายกลับสู่ถิ่นฐานของครู และมีประเด็นเรื่องเส้นทางอาชีพที่ควรให้ครูมีความก้าวหน้าเท่า
เทียมกับผู้บริหารเพื่อจูงใจมิให้ครูลาไปศึกษาต่อเพื่อย้ายไปทาหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา กับการที่ ครูมักมี
ภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาการใช้ครูของสังกัดต่างๆ พบว่ามีปัญหามากในส่วนครู
สถานศึ ก ษาอาชีว ศึ ก ษาที่ ไ ม่ ส ามารถสรรหาครู ที่ มี วุ ฒิ ต รงกั บวิ ช าที่ ส อน ท าให้ บ างครั้ ง จ าเป็ น ต้ อ งใช้ ผู้ มี
ประสบการณ์มาสอนแทน ส่วนครูสถานศึกษาเอกชนยังมีประเด็นเรื่องสวัสดิการทั้งระหว่างและหลังปฏิบัติงาน

สภาพและปัญหาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้าของ
ข้าราชการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นนโยบายสาคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันมี
หน่วยงานที่เกี่ย วข้องกั บ การพัฒนาครูประจาการหลายหน่ ว ยงาน นับตั้งแต่สถาบันพัฒนาและส่ งเสริมครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ซึง่ เป็นหน่วยงานกลาง สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
และบุ คลากรทางการศึกษา ส านั กพัฒ นาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส านักงานคณะกรรมการ
การศึก ษาขั้น พื้ น ฐาน ส านั ก พัฒ นาสมรรถนะครู แ ละบุ ค ลากรอาชี ว ศึ กษา ส านั กงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา สานักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ปัญหาการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้ น พื้ น ฐานมี ปั ญ หาเชิ ง ระบบที่ ส าคั ญ คื อ การพั ฒ นาครู ไ ม่ ยึ ด สมรรถนะ เน้ น ทฤษฎี ม ากกว่ า ปฏิ บั ติ
ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ ไม่มีระบบการพัฒนาครูใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย
ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คุรุสภา สานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและต้นสังกัดอื่น อีกทั้ง ในการประชุม
สนทนากลุ่มยังเห็นตรงกันว่าปัญหาการพัฒนาครูมีสาเหตุส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการผลิตครูไม่ตรงกับความ
ต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ และการใช้ครูไม่ตรงวุฒิ พร้อมทั้งเสนอให้มีการส่งเสริมระบบการพัฒนาครู
ใหม่ และให้การพัฒนาครูมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยตรง
2. ความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต
ความต้องการในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต ผลการวิเคราะห์ความต้องการครูในแต่
ละสาขาวิช าเพื่อทดแทนอัตราการเกษีย ณอายุราชการ (Trend Analysis) ระหว่างปี พ.ศ.2558-2567
เมื่อจาแนกตามสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาที่มีแนวโน้มต้องการครูมากที่สุดในปี พ.ศ.2567 คือ สาขาวิชา
ภาษาไทย จานวน 5,244 คน รองลงมาคือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษารวมมนุษยศาสตร์และจิตวิทยา
และประถมศึกษา (4,504 3,819 และ 3,743 คน ตามลาดับ) เมื่อพิจารณาระหว่างความต้องการครูและการ
ผลิตครู พบว่าสถาบันการศึกษาผลิตครูในสาขาวิชาส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยสาขาวิชาที่ มี
แนวโน้มขาดแคลนครูมากที่สุดใน พ.ศ.2567 คือ สาขาวิชาประถมศึกษา ผลิตขาดจานวน 3,365 คน
รองลงมาคือ สาขาวิชาภาษาไทย สังคมศึกษารวมมนุษยศาสตร์และจิตวิทยา การงานและพื้นฐานอาชีพ และ
ภาษาอังกฤษ (ผลิตขาดจานวน 3,530 1,710 1,554 และ 1,231 คน ตามลาดับ ) สาหรับสาขาวิชาที่
สถาบัน การศึกษาผลิ ตครู มากกว่าความต้องการทดแทนการเกษียณอายุราชการพบว่า มี 3 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาปฐมวัย สุขศึกษา/พลศึกษา และวิทยาศาสตร์ (ผลิตเกิน 1,467 1,002 และ 692 คน ตามลาดับ)
ผลการวิจัยจากแบบสอบถามพบว่า ความต้องการจาเป็นในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้อง
ดาเนินการเร่งด่วน (ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65) มีจานวน 5 ข้อ จาก 10 ข้อ เรียงลาดับสาคัญ
ความต้องการจาเป็นได้ ดังนี้ ลาดับที่ 1 การมีระบบติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งประเทศ (PNI = 1.01) ลาดับที่ 2 การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในเชิง
คุณภาพ (PNI = 0.91) ลาดับที่ 3 มีสองประเด็นที่มีค่าความต้องการจาเป็นเท่ากัน คือ รัฐบาลมีนโยบายใน
การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน (National Goal) (PNI = 0.71) ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูด

คนดี คนเก่ ง มี ใ จรั ก วิ ช าชี พ ครู มาเป็ น ครู ก ารศึก ษาขั้น พื้ น ฐาน (PNI = 0.71) และล าดั บ ที่ 5
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน (PNI = 0.70)
ความต้องการในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต พบว่ามีการสารวจความต้องการของครู
ในระยะสั้นและระยะยาวไว้ ในหน่วยงานต่างๆ อาทิ ข้อมูลจากสานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ยังเห็นถึงความสาคัญในการเตรียมครูรุ่นใหม่เพื่อทดแทนครูที่ขาดแคลนจนถึง
ปี พ.ศ.2570 ซึ่งได้มีการสารวจไว้ว่า จะมีจานวนข้ าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่
ครบเกษียณอายุราชการใน 15 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2556-2570 จะมีครูเกษียณทั้งสิ้น 288,233 คน จากข้อมูล
ของ ก.ค.ศ. ได้สารวจจานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะครบเกษียณอายุ
ราชการจนถึ ง ปี 2570 ที่ สั ง กั ด ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ นพื้ น ฐานว่ า มี ทั้ ง สิ้ น 270,332 คน
นอกจากนี้ ยังมีการสารวจความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษียณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า (2557-2562)
ทั้งสิ้น 109,245 คน ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแยกตามปีการศึกษา ดังนี้ ปี 2557
จานวน 9,910 คน ปี 2558 จานวน 12,111 คน ปี 2559 จานวน 17,621 คน ปี 2560 จานวน 21,961 คน
ปี 2561 จานวน 22,999 คน และปี 2562 จานวน 24,643 คน โดยแยกตามสาขาวิชาได้ว่า คณิตศาสตร์
14,399 คน ภาษาอังกฤษ 13,852 คน ภาษาไทย 11,454 คน สังคมศึกษา 7,487 คน วิทยาศาสตร์ศึกษา
7,462 คน ปฐมวัย 6,918 คน คอมพิวเตอร์ 6,160 คน ศิลปศึกษา 4,162 คน พลศึกษา 3,889 คน ดนตรี/
ดุริยางคศิลป์ 3,695 คน ประถมศึกษา 3,393 คน จิ ตวิทยาและการแนะแนว 2,831 คน นาฏศิลป์ 2,831 คน
ฟิสิกส์ 2,676 คน สุขศึกษา 2,586 คน การงานพื้นฐานอาชีพ 2,411 คน ชีววิทยา 2,271 คน เคมี 1,446 คน
บรรณารักษ์ 1,443 คน คหกรรมศาสตร์ 1,137 คน อุตสาหกรรมศิลป์ 1,104 คน การเงิน/บัญชี/ธุรกิจ 1,093
คน และโสตทัศนศึกษา 483 คน
ผลการวิจัย จากแบบสอบถามพบว่า ความต้องการจาเป็นในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้อง
ดาเนินการเร่งด่วน (ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65) มีจานวน 5 ข้อ จาก 10 ข้อ เรียงลาดับสาคัญ
ความต้องการจาเป็นได้ ดังนี้ ลาดับที่ 1 สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการ
ปฏิบัติงานของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI =0.78) ลาดับที่ 2 มีสองประเด็นที่มีค่าความ
ต้องการจาเป็นเท่ากัน คือ การมอบหมายภาระงานให้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม (PNI = 0.73)
และมีระบบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI = 0.73) ลาดับ
ที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบจัดสรรครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่ที่เหมาะสม เช่น การ
บรรจุที่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น (PNI = 0.70) ลาดับที่ 5 สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบ
การรับฟังความต้องการและข้อเสนอแนะจากครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.67)
ความต้องการในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต ผลการวิจัยด้วยวิธีการวงล้ออนาคต
และแบบสอบถามได้ผลตรงกันว่าการพัฒนาครูมีความสาคัญมาก โดยเฉพาะผลการวิจัยจากแบบสอบถามที่
พบว่า การพัฒ นาครู การศึกษาขั้น พื้นฐานเป็นเรื่องที่มีความต้องการจาเป็นเป็นล าดับแรก (ค่า ดัช นีความ
ต้องการจาเป็น หรือ PNI = 0.71) รองลงมา คือ การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.60) และการใช้ครู
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.54) ข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ

มากที่ต้องดาเนินการเร่งด่วน (ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65) มีจานวน 7 ข้อ จาก 10 ข้อ ซึ่ง


เรียงลาดับสาคัญความต้องการจาเป็นได้ตามลาดับ ดังนี้ ลาดับที่ 1 มีรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับครูที่
มีประสบการณ์ทางานในแต่ละช่วง เช่น ช่วงปีแรก ช่วง 5-10 ปี และช่วงหลัง 10 ขึ้นไป (PNI = 0.92) ลาดับที่
2 มีระบบการวิเคราะห์ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.89) ลาดับที่ 3
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันพัฒนาครูอย่างเพียงพอ (PNI = 0.81) ลาดับที่ 4 มีระบบการติดตาม
และประเมินผลการพัฒนาครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI = 0.79) ลาดับที่ 5 มีระบบการพัฒนา
ที่ตรงกับความต้องการของครู (PNI = 0.77) ลาดับที่ 6 สถาบันจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาครูให้กับครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ (PNI = 0.75) และลาดับที่ 7 ครูได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและสมรรถนะ
สาหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (PNI = 0.66) สาหรับความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะและ
สมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต จานวน 42 ข้อ ในกรณีพิจารณา
จากความต้องการจาเป็ นระดับมากต้องดาเนินการเร่งด่ว น (ค่าดัช นีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65)
มีจานวนทั้งสิ้น 12 ข้อ ได้แก่ ลาดับที่ 1 สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การสอนและพัฒนาผู้เรียน (PNI =
1.03) ลาดับที่ 2 มีความรู้ความสามารถในการทาวิจัยในชั้นเรียนและนาไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนอย่าง
สม่าเสมอ (PNI = 0.92) ลาดับที่ 3 มีความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง (PNI = 0.89) ลาดับที่ 4
มีความรู้และมีความสามารถประยุกต์ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่ (PNI = 0.88) ลาดับที่ 5
มีความสามารถในการเป็นผู้นาการขยายผลการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลให้ครูในโรงเรียนและ
โรงเรียนอื่น (PNI = 0.86) ลาดับที่ 5 มีความสามารถด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หรือภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา (PNI = 0.86) ลาดับที่ 7 สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็น
รายบุคคลได้ตามสภาพจริงเพื่อเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน และประเมินการเรียนรู้ (PNI = 0.79) ลาดับที่ 8
มีความสามารถในการพัฒนาและประเมินหลักสูตร (PNI = 0.78) ลาดับที่ 9 มีความสามารถในการจัดการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (PNI = 0.73) ลาดับที่ 10 มีความสามารถด้านจิตวิทยาสาหรับครู ช่วยเหลือ
ผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตามศักยภาพของตน (PNI = 0.71) ลาดับที่ 11 มีความสามารถใน
การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อการเรียนรู้ (PNI = 0.68) และลาดับที่ 12 มีความสามารถในการพัฒนา
แสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาด้านวิชาการ วิชาชีพ และสังคมอย่างมีเหตุผล และเกิดการ
พัฒนาที่ยั่งยืน (PNI = 0.66) ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลข้างต้นจะพบว่าการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการ
วิจัยมีความต้องการจาเป็นมากที่สุด
3. ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้อง
กับความต้องการในอนาคต
ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
1) นโยบายการผลิตครูและการนาไปสู่การปฏิบัติ ควรกาหนดนโยบายและแผนการผลิตครู
ทั้งประเทศให้มีเอกภาพทั้งระบบ มีการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการประสานการทางานระหว่าง
หน่วยงานผลิตครูและหน่วยงานใช้ครู รวมถึงหน่วยควบคุมมาตรฐานและอัตรากาลัง มีข้อเสนอให้จัดทาข้อมูล

ความต้องการผลิตและใช้ครูที่มีความแม่นยา เปิดเผย โดยมีการประสานระหว่างหน่วยวางแผน หน่วยผลิตและ


หน่วยงานใช้ครูทุกประเภท รวมทั้งท้องถิ่นเพื่อกาหนดปริมาณการผลิตครูและสาขาวิชาที่ต้องการให้เหมาะสม
และเมื่อมีการตกลงจานวนผลิตและคุณภาพการผลิตครูแล้ว สถาบันผลิตครูจะต้องนาไปปฏิบัติจริง
2) ระบบและกระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครู ผลการประชุมสนทนากลุ่มเสนอให้
พิจารณาทางเลือกการรับนักศึกษาสามแนวทาง คือ ระบบเปิด ระบบปิด และระบบผสม แต่ส่วนใหญ่เสนอให้
ใช้ระบบปิดคือ ระบบจากัดจานวนรับตามความต้องการหรือ Closed Admission จากัดจานวนรับนิสิต
นักศึกษาครูตามจานวนที่ตลาดแรงงานต้องการ แต่ระบบนี้จะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยาจากหน่วยงานใช้ครู
เพื่อให้การผลิตสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขา อย่างไรก็ตาม สาหรับการใช้ระบบปิดนี้ จะส่งผลให้
สถาบันผลิตครูหลายแห่งต้องลดจานวนการผลิตครูลง โดยอาจจะต้องมีการตกลงกันว่าสถาบั นผลิตครูแต่ละ
แห่งจะผลิตครูสาขาใด หรือสถาบันผลิตครูนั้นๆ มีความเชี่ยวชาญในการผลิตครูสาขาใด โดยระบบนี้ จะต้อง
สามารถประกันการทางาน และสร้างระบบการให้เงินเดือนค่าตอบแทนโดยนับอายุงานตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา ซึ่ง
จะสามารถดึงคนดีคนเก่งและผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพครูเข้ามาเป็นครูได้มากขึ้น กระบวนการคัดเลือกนิสิต
นักศึกษาครู ควรมีการปรับปรุงให้สามารถรับคนดีคนเก่งและคนที่ตั้งใจจะเรียนครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
การใช้กระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาที่มีหลากหลายรูปแบบและเป็นเชิงรุก การพัฒนาแบบวัด ความถนัด
ในการเป็นครูให้สามารถใช้คัดกรองได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ ยังมีความเห็นเกี่ยวกับระบบที่สามารถ
ดึงดูดคนดีคนเก่งเข้ามาเป็นครูได้ เช่น “ระบบทุนการศึกษา” “ระบบหอพัก” ที่ให้ผู้เรียนเรียนฟรี หากสาเร็จ
การศึกษาแล้วเมื่อปฏิบัติงานสามารถย้ายกลับภูมิลาเนาได้
3) หลักสูตร ควรมีการประเมินผลเปรียบเทียบการผลิตครูตามหลักสูตรครุศาสตร์ 4 ปี และ
5 ปี การประเมินผลการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี และการตอบสนองวัตถุประสงค์ในการปรับหลักสูตรผลิตครูจาก
4 ปีเป็น 5 ปี เนื่องจากมีประเด็นการประชุมสนทนากลุ่มตรงกันทั้งสามครั้งว่าผลผลิตที่ผ่านมายังมีปัญหาในเชิง
คุณภาพ และมีข้อสังเกตว่า หลายประเทศที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพการศึกษาจากการประเมินผลใน
ระดับโลก เช่น ประเทศฟินแลนด์ ครูจะต้องสาเร็จปริญญาโท โดยเรียนปริญญาตรี 3 ปี และปริญญาโทอีก 2
ปี สาหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ใช้การวิจัยเป็นฐานโดยบูรณาการกับวิชาเรียนที่ศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1
และมีความร่วมมือกับโรงเรียนที่ส่งนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพอย่างใกล้ชิด
4) กระบวนการเรียนการสอนและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การผลิตจะต้องผลิตให้ตรง
กับความต้องการหน่วยงานใช้ครูทั้งในเชิงสาขาและเชิงสังกัดของหน่วยงานใช้ครู เช่น มีความต้องการครูแต่ละ
สาขาเท่าใด และครูจะต้องมีคุณลักษณะเฉพาะตามสังกัดอย่างไร เช่น ครูสังกัด กศน. ครูสังกัดอาชีวศึกษา
ครู สั งกัด อปท. ทั้งนี้จ ะต้องมีฐานข้อมูล ที่ช่ว ยให้ส ถาบันผลิตครูตัดสิ นใจผลิ ตได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้
กระบวนการเรี ย นการสอนในสถาบั น ผลิ ตครูปัจจุบันยังเน้นวิช าการมากกว่าการสร้างนิสิ ตนักศึกษาให้ มี
จิ ต วิ ญ ญาณความเป็ น ครู แ ละมี จ รรยาบรรณในวิ ช าชี พ โดยมี ข้ อ เสนอให้ ท บทวนรู ป แบบการผลิ ต ครู ใ น
“ระบบหอพั ก ” แบบในอดี ต เพราะที่ ผ่ า นมาสามารถขั ด เกลาให้ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามี จิ ต วิ ญ ญาณครู แ ละมี
จรรยาบรรณวิชาชีพครูได้เป็นอย่างดี

5) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จากการประชุมสนทนากลุ่มพบว่า มีความเห็นในเรื่องใบ


ประกอบวิชาชีพครูว่าควรจะมีการจาแนก ดังนี้ ใบประกอบวิชาชีพครูสาหรับครูประถมศึกษา จะเป็นใบ
ประกอบวิชาชีพสาหรับครูที่จะไปสอนในระดับประถมศึกษา ปีที่ 1-6 ซึ่งครูในระดับนี้จะต้องสอนทุกวิชาใน
ระดับประถมศึกษาได้ หากเป็นเช่นนี้จะส่งผลต่อสถาบันผลิตครูที่จะต้องผลิตครูประถมศึกษาที่สามารถสอนได้
ทุกวิชา ไม่ใช่สอนได้เฉพาะสาขาวิชาเอกที่เรียน ใบประกอบวิชาชีพครูสาหรับครูมัธยมศึกษา จะเป็นใบ
ประกอบวิชาชีพสาหรับครูที่จะไปสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งครูในระดับมัธยมศึกษาจะต้องมีใบ
ประกอบวิชาชีพครูในรายวิชาที่สอน จึงจะสอนได้ นอกจากนี้ ยังมีความเห็นเกี่ยวกับใบประกอบวิชาชี พครู
สาขาวิชาเฉพาะ และใบประกอบวิชาชีพสาขาขาดแคลน เนื่องจากหน่วยงานใช้ครูบางแห่ง เช่น ครู กศน. และ
ครู อาชีว ศึกษา ที่มีความเฉพาะคือ ผู้ ส อนเป็นปราชญ์ช าวบ้าน เป็นเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งไม่มีใบ
ประกอบวิชาชีพครู ทาให้มคี ุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกาหนดของคุรุสภา
6) ฐานข้อมูลที่สามารถใช้ในการตัดสินใจ ผู้เข้าประชุมสนทนากลุ่มเห็นตรงกันว่าปัญหา
สาคัญ ของประเทศในปัจจุบั น คือ การไม่มีฐานข้อมูล ที่ แม่นยา เปิดเผย และสามารถใช้ในการตัดสินใจได้
โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผลิตครูของสถาบันต่างๆ ข้อมูลอัตรากาลัง เป็นต้น ซึ่งในการศึกษาครั้ง
นี้พบว่าข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องแต่ละแห่งมีข้อมูลตัวเลขสถิติไม่ตรงกัน ข้อมูลการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานหาได้ค่อนข้างยาก และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของหลายหน่วยงาน
ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
1) การสรรหา บรรจุ แต่ ง ตั้ ง มี ข้ อ เสนอให้ ยึ ด หลั ก การกระจายอ านาจและนโยบาย
สถานศึกษานิติบุคคลโดยให้สถานศึกษาและ/หรือท้องถิ่นมีส่วนร่วมในวางแผน การคัดเลือก และการบรรจุครู
เพื่อให้สถานศึกษาได้บรรจุครูที่ตรงความต้องการทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และสาขาวิชาที่ต้องการ และให้
หน่วยงานที่คัดเลือกครูสามารถกาหนดวิธีการคัดเลือกที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้ ประการต่อมาเสนอให้ทบทวน
หลักเกณฑ์การกาหนดจานวนตาแหน่งข้าราชการครูแทนการใช้จานวนนักเรียน โดยให้พิจารณาจากภาระงาน
ครูและสาขาวิชาที่ขาดแคลน ในการบรรจุควรจัดสรรครูให้เพียงพอแม้จะเป็น สถานศึกษาขนาดเล็กและควร
เพิ่มจานวนบุคลากรสายสนับสนุนในสถานศึกษา รวมทั้งเสนอให้ทบทวนกาหนดช่วงเวลาการสอบคัดเลือกและ
บรรจุ ค รู ใ นสถานศึ ก ษาของรั ฐ ที่ ไ ม่ ก ระทบต่ อ การเรีย นการสอนและไม่ ใ ห้ ค รู ข าดแคลนในบางช่ ว งเวลา
โดยเฉพาะในสถานศึกษาเอกชน
2) การปฏิบัติงาน ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบและกลไกสนับสนุนการปฏิบัติงานของครู
บรรจุใหม่ เช่น การจัดครูพี่เลี้ ยง การกาหนดหลั กเกณฑ์การมอบหมายงาน/ภาระงานที่ชัดเจนสาหรับครู
ในแต่ละสังกัดทีอ่ าจมีความแตกต่างกัน
3) การสร้างขวัญและกาลังใจ ให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดสวัสดิการแก่ครูอย่างเท่าเทียมกันทั้ง
ระหว่างการปฏิบัติงานและหลังเกษียณอายุการปฏิบัติงานเพื่อลดปัญหาการโอนย้ายและลาออก โดยเฉพาะครู
ในท้องถิ่นทุรกันดาร ครูชายแดน และครูสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น

4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้มวี ิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันสาหรับ


ครูแต่ละสังกัด และควรเชื่อมโยงการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรีย น
และให้การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเช่นกัน
ข้อเสนอเชิงนโยบายด้ า นการพัฒนาครู การศึกษาขั้น พื้น ฐานที่สอดคล้องกับ ความต้องการใน
อนาคต
1) ให้ เครื อข่ายสถาบั น อุดมศึ กษา 9 เครือข่ายทั่ว ประเทศ มีห น้าที่และความรับผิ ดชอบ
ร่วมกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัด และทุกระบบการศึกษา และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต
และ กศน. ในการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาครูโดยยึดสมรรถนะและผล
การปฏิบัติงาน (Performance ที่ส่งผลถึงผู้เรียน) เป็นหลัก ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเส้นทางอาชีพและ
วิทยฐานะ โดยเฉพาะครูผู้ช่วยและครูประจาการ เพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาสู่ครูมืออาชีพให้สมกับเป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง
2) จัดตั้งสานักงานกองทุนพัฒนาครูตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และส่งเสริมสนับสนุนริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น และ
เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติคุณครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 55 ของพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ ให้เป็นหน่วยงานอิสระในระบบองค์การมหาชน
3) ปรับระบบวิทยฐานะครูใหม่ให้เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานครูตามข้อตกลง และผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างเป็นระบบครบวงจร
4) จัดระบบการปฏิบัติงานครูเพื่อผู้เรียนอย่างประกันคุณภาพ ให้ควบคู่กับการพัฒนาตนเอง
และพัฒนางาน อาทิ การจัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสอนเป็นทีมที่มีการวางแผน และการสอนบทเรียน
ร่ ว มกั น มี ร ะบบพี่ เ ลี้ ย งให้ ค รู ใ หม่ สนั บ สนุ น ให้ ค รู ไ ด้ ใ ช้ เ ทคโนโลยี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในกา รพั ฒ นาความรู้
ความสามารถ มีการติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง มีการมอบรางวัลเพื่อเสริมพลังการ
เรียนรู้ของครู
5) ให้มีหน่วยงานระดับนโยบายเป็นหน่วยงานอิสระ โดยอาจเรี ยก ราชวิทยาลัยศึกษาศาสตร์
หรือสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ หรือสภาครุศาสตร์แห่งชาติ มีหน้าที่ในการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูของ
ประเทศ กาหนดอุปสงค์ความต้องการครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์
ความรู้ด้านการผลิต และการพัฒนาครูของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน
การพัฒนาครู และเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ
6) ยกฐานะสถาบั น พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) จากส่ ว น
ราชการในสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นหน่วยงานอิสระในรูปแบบองค์การมหาชนตามมาตรา
52 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ.2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 โดยนา
หน่วยงานจากทุกสังกัดรวมทั้งหน่วยงานด้าน กศน. เข้ามาร่วมในการพัฒนาด้วย

7) ให้เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต จัดให้ตั้งระบบกัลยาณมิตรนิเทศการปฏิบัติงานครูและ


ระบบการปฏิบัติงานของโรงเรียน ทั้งการนิเทศภายในโรงเรียนและการนิเทศจากภายนอกอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้โรงเรียนมีการจัดการศึกษาและพัฒนาครูอย่างครบวงจรเพื่อผู้เรียน
8) ปฏิรูป การวิจั ยของสถาบันผลิตและพัฒนาครูโดยเฉพาะวิจัยเพื่อพัฒ นานวัตกรรมการ
พัฒนาครู
9) ให้ดาเนินการรับรองมาตรฐานสถาบันหรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมครูทั้งของรัฐและเอกชน
และให้มีสถาบันหรือศูนย์ที่ได้มาตรฐานกระจายทั่วประเทศ
10) จัดระบบเชื่อมโยงระหว่างสถาบันผลิตครู หน่วยงานผู้ใช้ครู หน่วยงานกากับมาตรฐาน
วิชาชีพครู หน่วยงานพัฒนาครู และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดเอกภาพในการผลิตและพัฒนาครูให้ตรง
ความต้องการครูของประเทศ
11) จัดระบบการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครูมัธยมศึกษา
ครูการศึกษานอกระบบ และครูอาชีวศึกษา โดยให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาครูพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน
และผลการพัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งระดับวิทยฐานะของครู
12) กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุ นให้ สมาคมวิช าการและสมาคมวิช าชีพทางการศึกษา
มีความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการพัฒนาครูให้สมกับเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เป็นผู้ที่มีสมรรถนะทั้ง
ความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และความเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริง

ส่วนข้อเสนอแนะสาหรับคุรุสภาในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอว่าในฐานะที่คุรุสภาเป็น
สภาวิชาชีพ ทีม่ ีบทบาทในการทานุบารุงให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ควรกากับให้
การผลิตครูตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ มิให้สถาบันผลิตครูผลิตตามความต้องการที่ทาให้เกิด
สภาพของครูเกินและครูขาดในเวลาเดียวกัน กาหนดมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานวิชาการร่วมกับ สานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา พิจารณาปรับเปลี่ยนการออกใบอนุญาตประกอบวิช าชีพครูจากการรับรอง
หลักสูตรเป็นการออกใบอนุญ าตประกอบวิชาชีพครูจากผลการทดสอบและประเมิน สมรรถนะของบัณฑิตครู
รวมทั้ ง พิ จ ารณาแบ่ ง ประเภทของใบอนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ ครู ใ ห้ มี ค วามเฉพาะ เช่ น ครู ป ฐมวั ย และ
ครูประถมศึกษา เป็นต้น และควรใช้กลไกการต่อใบประกอบวิชาชีพครู ให้ได้ครูที่มีคุณภาพโดยพัฒนาระบบให้
เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กาหนดรวมทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู การใช้ครู และ
การพัฒนาครู ในด้านการใช้ครู เสนอให้คุรุสภาร่ว มกับหน่วยงานต้นสังกัด ติดตามประเมิน การปฏิบัติตาม
มาตรฐานการปฏิบัติงานครูและจรรยาบรรณวิชาชีพ และควรนามาตรฐานการปฏิบัติงานครูและจรรยาบรรณ
วิชาชีพครูที่คุรุส ภากาหนดมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินการปฏิบัติงานครูเพื่อใช้ในการพิจารณาความดี
ความชอบ และการเลื่อนวิทยฐานะครู ส่วนด้านการพัฒนาครูนั้น เห็นว่าคุรุสภาควรทาหน้าที่หลักในการพัฒนา
ครูเพื่อให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง แต่การพัฒนาตามมาตรฐานการปฏิบัติงานสามารถดาเนินการได้โดย
ต้นสังกัด ภาระหน้าที่ของคุรุสภาคือ การพัฒนาครูให้มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูโดยเฉพาะ “จิตวิญญาณความ
เป็นครู” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของครูผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง โดยคุรุสภาควรร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาและ

ต้นสังกัดในการวิจัย ค้นคว้า และแสวงหารูปแบบและแนวทางในการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อนาไป


ขยายผลในการพัฒนาครูใหม่และครูประจาการ

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค
บทสรุปสาหรับผู้บริหาร ง
สารบัญ ฐ
สารบัญตาราง ฒ
สารบัญภาพ ถ
สารบัญแผนภูมิ ท
บทที่ 1 บทนา…………………………………………………………………………………………………………………. 1
วัตถุประสงค์การวิจัย......................................................................................................... 2
คาจากัดความ.................................................................................................................... 2
ขอบเขตการวิจัย................................................................................................................ 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................................................... 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………………………………. 5
ตอนที่ 1 ความเป็นมาของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูในประเทศไทย................... 6
1. การผลิตครูในประเทศไทย…………………………………………………………………… 6
2. การใช้ครูในประเทศไทย................................................................................. 10
3. การพัฒนาครูในประเทศไทย.......................................................................... 14
ตอนที่ 2 นโยบายการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน....................... 18
1. นโยบายการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน....................................................... 18
2. นโยบายการใช้ครูการขั้นพื้นฐาน.................................................................... 32
3. นโยบายการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน.................................................... 62
ตอนที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน......................................................................................................... 63
ตอนที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน......................................................................................................... 90
1. หน่วยงานผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน.......................................................... 90
2. หน่วยงานใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน............................................................. 90
3. หน่วยงานพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน...................................................... 100
ตอนที่ 5 วงล้ออนาคต..................................................................................................... 101
ตอนที่ 6 การประมาณความต้องการในอนาคต............................................................... 102

ตอนที่ 7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง........................................................................................... 104


บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย……………………………………………………………………………………………….. 120
ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน........................................................................................................... 120
ตอนที่ 2 การศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในอนาคต........................................................................................... 122
ตอนที่ 3 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต............................................ 123
บทที่ 4 ผลการศึกษาการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน……………………………………………………….. 125
4.1 สภาพและปัญหาการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน...................................................... 125
4.2 ความต้องการในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน....................................................... 173
4.3 ข้อเสนอแนะในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน........................................................ 184
บทที่ 5 ผลการศึกษาการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน………………………………………………………….. 187
5.1 สภาพและปัญหาการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน......................................................... 191
5.2 ความต้องการในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน.......................................................... 211
5.3 ข้อเสนอแนะในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน............................................................ 215
บทที่ 6 ผลการศึกษาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน……………………………………………………. 223
6.1 สภาพและปัญหาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน................................................... 223
6.2 ความต้องการในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน.................................................... 237
6.3 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน..................................................... 243
บทที่ 7 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ...............................……………………………………… 246
7.1 สภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน................. 247
7.2 ความต้องการการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต....... 262
7.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต………………………………………………………………….. 267
รายการอ้างอิง……………………………………………………………………………………………………………………. 282
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………………………………......... 288
ภาคผนวก ก ประเด็นการประชุมสนทนากลุ่ม……………………………………………………………………….. 289
ภาคผนวก ข แบบสารวจความคิดเห็น…………………………………………………………………………………. 290
ภาคผนวก ค แผนภาพการทาวงล้ออนาคต…………………………………………………………………………….. 298
ภาคผนวก ง รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ....................................................................................................... 299
ภาคผนวก จ รายชื่อนิสิตและเจ้าหน้าที่ช่วยงาน............................................................................... 303
ประวัตินักวิจัย................................................................................................................................... 304

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 2.1 ผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจาแนกตามสังกัด…………………………………… 14
ตารางที่ 2.2 การจัดการศึกษาของท้องถิ่นแบ่งกลุ่มจัดหวัด................................................................ 60
ตารางที่ 2.3 มาตรฐานหลักสูตร......................................................................................................... 82
ตารางที่ 2.4 มาตรฐานการผลิต…………………………………………………………………………………………….. 85
ตารางที่ 2.5 มาตรฐานบัณฑิต………………………………………………………………………………………………. 88
ตารางที่ 2.6 จานวนนักศึกษาเข้าใหม่ระดับปริญญาตรี สาขาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2551-2556................................................................................................. 90
ตารางที่ 4.1 การวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรผลิตครูประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา 134
ตารางที่ 4.2 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา
2551-2556 จาแนกตามประเภทสถาบัน............................................................. 136
ตารางที่ 4.3 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา
2551-2556 จาแนกตามสถาบันแต่ละประเภท............................................................. 137
ตารางที่ 4.4 จานวนนักศึกษาเข้าใหม่ระดับปริญญาตรี สาขาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ตามสาขาวิชา ปีการศึกษา 2551-2555........................................................................ 140
ตารางที่ 4.5 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จาแนก
ตามสาขาวิชา ปีการศึกษา 2551-2555........................................................................ 143
ตารางที่ 4.6 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จาแนกตาม
สาขาวิชา ปีการศึกษา 2551-2555 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล………………… 164
ตารางที่ 4.7 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา
และคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์………………. 167
ตารางที่ 4.8 จานวนผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา
2551-2555 จาแนกตามประเภทสถาบัน………………………………………………………………. 169
ตารางที่ 4.9 จานวนนักศึกษาใหม่และผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/
ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-2555 จาแนกตามประเภทสถาบัน……………………...... 170
ตารางที่ 4.10 จานวนความต้องการครู พ.ศ.2553-2567……………………………................................. 176
ตารางที่ 4.11 จานวนผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัด
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐานจาแนกตามวุฒิการศึกษาปีการศึกษา
2552-2556…………………………………………………………………………………………………… 182
ตารางที่ 4.12 ความต้องการจาเป็นของการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน……………………………………….. 183

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 5.1 บัญชีเงินเดือนขั้นต่าขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบ
วิชาชีพ แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ
และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับ 2) พ.ศ.
2554………………………………………………………………………………………………………………. 189
ตารางที่ 5.2 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษาแนบท้าย
พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับ
ตาแหน่งครูที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ…………………………………………………………….. 189
ตารางที่ 5.3 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 189
ตารางที่ 5.4 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพ………………………………………………………………………………………………………….. 190
ตารางที่ 5.5 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด….. 190
ตารางที่ 5.6 จานวนผู้ประกอบวิชาชีพ “ครู” จาแนกตามสังกัด และคุณวุฒิระดับปริญญา………… 192
ตารางที่ 5.7 จานวนผู้ขออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ “ครู” โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
จาแนกตามสังกัด และคุณวุฒิระดับปริญญา………………………………………………………… 193
ตารางที่ 5.8 จานวนผู้ประกอบวิชาชีพ “ครู” จาแนกตามสังกัดและช่วงอายุ………………………………. 194
ตารางที่ 5.9 จานวนผู้เรียนในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน จาแนกตามระดับการศึกษา
ปีการศึกษา พ.ศ.2556………………………………………………………………………………………. 194
ตารางที่ 5.10 จานวนนักเรียนในระบบโรงเรียน จาแนกตามระดับการศึกษา ประเภทการศึกษา
และชั้นเรียน ปีการศึกษา พ.ศ.2556…………………………………………………………………. 195
ตารางที่ 5.11 จานวนผู้เรียนที่ได้รับการศึกษาประเภทในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
จาแนกตามสังกัด และระดับการศึกษา ปีการศึกษา พ.ศ.2556…………………………….. 196
ตารางที่ 5.12 จานวนห้องเรียนและนักเรียนของหน่วยงานที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน………………………………………………………………………………………… 198
ตารางที่ 5.13 จานวนสถานศึกษา ครู/คณาจารย์และนักศึกษา นอกระบบโรงเรียน จาแนกตาม
สังกัดในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2556……………………………… 200
ตารางที่ 5.14 จานวนนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา:
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย………………………………………………………………………………… 201
ตารางที่ 5.15 จานวนโรงเรียน นักเรียน และครูในสังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา
เอกชน…………………………………………………................................................................. 202

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 5.16 จานวนนักเรียน-นักศึกษา ปีการศึกษา 2555…………………………………………………. 205
ตารางที่ 5.17 จานวนนักเรียน นักศึกษาประเภทอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการในระบบโรงเรียน จาแนกตามหลักสูตร ประเภทวิชาสังกัดและ
ชั้นปีการศึกษา 2556 (เฉพาะระดับ ปวช.)……………………………………………………….. 205
ตารางที่ 5.18 อัตราข้าราชการพลเรือนในส่วนกลางจาแนกตามระดับตาแหน่ง………………………….. 208
ตารางที่ 5.19 อัตราข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา)……………………….. 208
ตารางที่ 5.20 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจาแนกตามวิทยฐานะ………………… 209
ตารางที่ 5.21 สรุปจานวนครูสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีการศึกษา 2556…….. 210
ตารางที่ 5.22 จานวนห้องเรียนและนักเรียนของกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปีการศึกษา 2556……………………………………………………………………………………………. 210
ตารางที่ 5.23 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่ครบเกษียณอายุ
ราชการใน 15 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2556-2570………………………………………………………. 211
ตารางที่ 5.24 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะครบ
เกษียณอายุราชการจนถึงปี 2570………………………………………………………………………. 211
ตารางที่ 5.25 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะครบ
เกษียณอายุราชการจนถึงปี 2570………………………………………………………………………. 213
ตารางที่ 5.26 ความต้องการจาเป็นของการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน……………………………………… 214
ตารางที่ 6.1 จานวนครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการพัฒนาด้านการวัดผลทาง
การศึกษา ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม-28 กันยายน 2557……………………………………….. 227
ตารางที่ 6.2 ความต้องการจาเป็นด้านการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจาแนกเป็นรายข้อ………… 237
ตารางที่ 6.3 ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะและสมรรถนะของครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต………………………………………………… 239
ตารางที่ 7.1 สรุปจานวนนักศึกษาเข้าใหม่ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2551-2556 จาแนกตามสังกัด…………………………………………………………… 251
ตารางที่ 7.2 สาขาวิชาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จานวน
มากที่สุด 5 อันดับแรกในระดับปริญญา จาแนกตามสาขาวิชา ปีการศึกษา 2551-2556 252
ตารางที่ 7.3 จานวนข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546-2557…………………….. 258
ตารางที่ 7.4 ความต้องการจาเป็นของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน……… 263
ตารางที่ 7.5 ความต้องการจาเป็นของการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน…………………………………… 265

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 7.6 จานวนผู้สมัครสอบคัดเลือกตาแหน่งครูผู้ช่วยและอัตราว่าง ปี พ.ศ.2557………………… 272
ตารางที่ 7.7 สถิติจานวนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจาแนกตามสังกัด…………. 275

สารบัญภาพ
หน้า
ภาพที่ 2.1 ระบบการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา................................................................... 19
ภาพที่ 2.2 การแบ่งส่วนราชการของงานอาชีวศึกษา………………………………………………………………… 97
ภาพที่ 4.1 ประมาณการผู้สาเร็จการศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในระยะ 5 ปี ปีการศึกษา
2556-2560……………………………………………………………………………………………………. 171
ภาพที่ 4.2 จานวนนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่คาดว่าจะสาเร็จการศึกษาสาขาวิชา 20
อันดับสูงสุด(50 กลุ่มสาขาวิชา) ตั้งแต่ปี 2556-2560……………………………………………… 172
ภาพที่ 4.3 ความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษียณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า ปีการศึกษา 2557-
2562 ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน…………………………………………. 173
ภาพที่ 4.4 ความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษียณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า ปีการศึกษา 2557-
2562 ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แยกตามสาขาวิชา……………… 174
ภาพที่ 4.5 ความต้องการครูรายสาขาวิชาที่มีในปัจจุบัน สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา…. 174

สารบัญแผนภูมิ
หน้า
แผนภูมทิ ี่ 6.1 แสดงปัญหาของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน…………………………………………………………………………………………………… 235
แผนภูมิที่ 6.2 แนวคิดในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน………………………………………………. 242
บทที่ 1
บทนา

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
“ครู ” เป็ น วิช าชีพที่มีความส าคัญในการสร้างและเตรียมประชาชนของชาติให้ มีคุณภาพและ
มีศักยภาพสูง สามารถแข่งขันกับนานาประเทศต้องอาศัยกระบวนการจัดการศึกษาที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ
ที่สาคัญคือ การเตรียมการและมีกระบวนการในการผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อให้ได้ครูที่มีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งครู
เป็นปัจจัยสาคัญสาหรับทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา เป็นหัวใจและวิญญาณของระบบการศึกษาที่จะเป็น
ตั ว ชี้ วั ด ว่ า ระดั บ คุ ณ ภาพการศึ ก ษาจะเป็ น ไปในทิ ศ ทางใด (วิ เ ศ ษ ชิ ณ วงศ์ , ออนไลน์ ) ดั ง ปรากฏใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 52 ที่ระบุไว้ว่า “ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ
กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม
กับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกากับและประสานให้สถาบันที่ทาหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์
รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนา
บุคลากรประจาการอย่างต่อเนื่อง รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ” (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา อ้างถึงในวิเศษ ชิณวงศ์ , ออนไลน์)
แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาปัญหาและผลกระทบของการผลิตครูในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
พบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของประเทศไทยที่ผ่านมา ส่งผล
กระทบต่อการผลิตครูในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ได้แก่ 1) ยุคก่อนการปฏิรูป
การฝึกหัดครู ในระยะแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2-5 (พ.ศ.2510-2529) มีการเพิ่มจานวน
ประชากรอย่างรวดเร็ว ทาให้รัฐต้องเร่งรัดผลิตครู ส่งผลให้มีการจัดตั้งสถาบันการผลิตครูจานวนมาก มีการ
เพิ่มจานวนหลักสูตร กระบวนการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนครูเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ในที่สุดก่อให้เกิด
ปัญหาต่อเนื่องคือ มีการผลิตครูจานวนมากและคุณภาพของครูใหม่ลดลง 2) ยุคก่อนการปฏิรูปการฝึกหัดครู
ในระยะแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) ความต้องการของครูลดลง แต่ยังมีการ
ผลิตครูซ้าซ้อน ขาดการควบคุมมาตรฐาน ครูบางสาขาขาดแคลน บางสาขาเกินความต้องการ การบรรจุและ
การใช้ครู ไม่ตรงคุณวุฒิ ส่ งผลให้ ครู จานวนมากตกงาน ครูมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ในที่สุ ดก่อให้ เกิดปัญหา
ต่อเนื่องคือ ครูไม่เก่งเหมือนในอดีต ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูลดต่าลง มาตรฐานวิชาชีพลดต่าลง 3) ยุคการ
ปฏิรูปการฝึกหัดครู พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ระยะของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7
(พ.ศ.2535-2539) คุณภาพนักเรียนลดต่าลง มีการปฏิรูปการฝึกหัดครู มีโครงการพิเศษเพื่อดึงคนเก่ งมาเรียน
ครู แต่งบประมาณสนับสนุน ขาดความต่อเนื่อง มีการปฏิรูปการฝึ กหัดครู มีโครงการพิเศษเพื่อดึงคนเก่งมา
เรียนครู แต่งบประมาณสนับสนุน ขาดความต่อเนื่อง ไม่สามารถจูงใจให้คนเก่งเข้ ามาเรียนครูได้อีก คนเก่งจบ
แล้วจะไม่เป็นครู ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ ครูมีรายได้ต่า ขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู สังคมขาดความ
เชื่อถือครู และ 4) ยุคการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 1 (พ.ศ.2542-2551) ซึ่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
2

การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศลดลง คุณภาพนักเรียน


มาตรฐานแตกต่างกัน คนเก่งเข้าเรียนครูไม่มากเพียงพอ ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูไม่เทียบเท่ากับวิชาชีพอื่นๆ
ผู้เรียนครูไม่เลือกเรียนในสาขาที่เรียนยาก จึงขาดแคลนครูสาขาที่มีความสาคัญ ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ
คุณภาพครูใหม่แตกต่างกัน คุณภาพการผลิตครูแตกต่างกัน และสังคมมีความเชื่อมั่นในสถาบันการผลิตครู
ลดน้อยลง (วิชุดา กิจธรธรรม และคณะ, 2554: 218)
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2556) ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการผลิตครู
ให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 ผลการประชุมพบว่า
มีปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู สรุปได้พอสังเขปดังนี้
ด้านการผลิตครู ได้แก่ 1) ปัญหาเชิงปริมาณ การผลิตครู เป็นไปตามความต้องการของฝ่ายผลิตซึ่งมี
ผลให้มีการผลิตครูเกินจานวนความต้องการ แต่ทั้งนี้มีบางสาขาที่มีความจาเป็น แต่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความ
ต้องการ เช่น สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา เป็นต้น และ 2) ปัญหาเชิงคุณภาพ บัณฑิตครู
ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ โดยเห็นได้จากผลการสอบต่างๆ เช่น ผลการสอบ PISA และ
ผลการสอบ O-Net เป็นต้น
ด้านการใช้ครู พบว่ากระบวนการเรียนการสอนไม่ส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน การใช้ตาราเรียนไม่ตรง
กับหลักสูตร ครูมีภาระงานมาก ทาให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
ด้านการพัฒ นาครู พบว่าครู ป ระจ าการขาดเทคนิควิธีส อนเพื่อพัฒ นาทักษะการคิดในวิช าที่ส อน
ขาดความรู้เรื่องการวัดและประเมินผล รวมทั้งมีภาระงานมาก โดยเฉพาะงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของโรงเรียน
ทาให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองและจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ครูขาดทักษะในการทา
วิจัย และขาดกระบวนการคัดกรองครูที่มีคุณภาพ เป็นต้น
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า กระบวนการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูของประเทศเป็น
ปัญหาสะสมมาต่อเนื่องและยาวนาน จึง จาเป็นต้องมีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังอย่างเป็นระบบ อันนามาสู่
วัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้

วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) เพื่อศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต
3) เพื่อ จั ดท าข้อ เสนอเชิ ง นโยบายด้า นการผลิ ต การใช้ และการพัฒ นาครู การศึก ษาขั้ น พื้น ฐาน
ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต

คาจากัดความ
การผลิต ครู การศึก ษาขั้ น พื้ น ฐาน หมายถึง การเตรี ยมครูก่ อนประจ าการของสถาบัน ผลิ ต ครู ที่
ดาเนินการตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพและการรับรองปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) ของคุรุสภา
ประกอบด้วยมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิต
3

การใช้ ค รู การศึ กษาขั้ น พื้ น ฐาน หมายถึง กระบวนการเพื่ อ ให้ ไ ด้ ผู้ มี ค วามรู้ ความสามารถและ
คุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นครูมาจัดการเรียนการสอนได้อย่า งมีประสิทธิภาพ กระบวนการดังกล่าว
ประกอบด้วยการสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกาลังใจ และการติดตาม ประเมินผล
การปฏิบัติงาน
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การพัฒนาครูประจาการที่ดาเนินการโดยหน่วยงานของ
รัฐ ต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านรูปแบบและวิธีการการพัฒนาครู และการเชื่อมโยงการพัฒนาครู
กับการผลิตและการใช้ครู
สภาพและปัญหา หมายถึง สภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในช่วงปี พ.ศ.2546-2556
ความต้องการ หมายถึง ความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในด้านความรู้ และสมรรถนะที่จาเป็นของครูในอนาคต ในช่วงปี พ.ศ.2557-2566
ข้อเสนอเชิงนโยบาย หมายถึง ข้อเสนอเชิง นโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตด้านการ
ผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถนาไปใช้ในการ
กาหนดนโยบายผลิต ใช้ และพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย
ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง ครูที่สอนนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

ขอบเขตการวิจัย
สถาบันการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ คณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ทุกสังกัด ได้แก่
มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกากับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ
สถาบันการผลิตครูสังกัดอื่น ที่มีหลักสูตรผลิตนิสิตนักศึกษาครู ในระดับปริญญาบัณฑิต
หน่วยงานใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สถานศึกษาที่สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในสังกัดต่างๆ คือ
1) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3) สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4) สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
5) สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
6) กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4

หน่วยงานพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาครูตามระเบียบ


กฎหมาย และข้อบั งคับ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สานักงานเลขาธิการคุรุสภา สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สานักงานพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น
สภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู เป็นการศึกษาสภาพและปัญหา ดังนี้
1) การผลิ ตครู การศึกษาขั้นพื้น ฐาน ศึกษาการเตรียมครูก่อนประจาการของสถาบันผลิ ตครูที่
ดาเนินการตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพและการรับรองปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) ของคุรุสภา
ด้านมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิต
2) การใช้ ค รู ก ารศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ศึ ก ษากระบวนการเพื่ อ ให้ ไ ด้ ผู้ มี ค วามรู้ ความสามารถและ
คุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นครูมาจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การสรรหา
การบรรจุ แต่งตั้ง การปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกาลังใจ และการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน
3) การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาการพัฒนาครูประจาการที่ดาเนินการโดยหน่วยงานของ
รัฐ ต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านรูปแบบและวิธีการการพัฒนาครู และการเชื่อมโยงการพัฒนาครู
กับการผลิตและการใช้ครู
ความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู เป็นการวิเคราะห์ความต้องการด้านการผลิต
การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงปี พ.ศ.2557-2566
ข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
ระยะเวลาในการศึกษา แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และ
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงปี พ.ศ.2546-2556 และ 2) ศึกษาความต้องการด้านการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงปี พ.ศ.2557-2566
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครู ได้แก่ สถาบัน อุดมศึกษาที่มีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้
ทราบสภาพและปัญหาการผลิต เพื่อนาไปใช้ในการพัฒนานโยบาย หน่วยงานการใช้ครู ได้แก่ โรงเรียนที่สอน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ทราบสภาพและปั ญหาการใช้ครู อันนาไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ปัญหา และ
หน่วยงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาครู เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ทราบ
สภาพและปัญหาการพัฒนาครู อันนาไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งหน่วยงานระดับนโยบาย เช่น
สานักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา
5

เอกชน สานักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร และองค์กร


ปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนาผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนานโยบาย
2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูก ารศึกษา
ขั้นพื้นฐานในอนาคต (ปี พ.ศ.2557-2566) อันจะนาไปสู่การกาหนดนโยบายต่อไป
3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกาหนดนโยบายสามารถนาข้อเสนอเชิงนโยบายไปใช้ในการผลิ ต
การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาสภาพและปัญหา
การผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ได้กรอบแนวคิดในการวิจัย ในบทนี้แบ่งออกเป็น
7 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ความเป็นมาของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูในประเทศไทย
1. การผลิตครูในประเทศไทย
2. การใช้ครูในประเทศไทย
3. การพัฒนาครูในประเทศไทย
ตอนที่ 2 นโยบายการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. นโยบายการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 นโยบายทั่วไป
1.2 การผลิตครูโครงการพิเศษของประเทศไทย
1.3 การผลิตครูในต่างประเทศ
2. นโยบายการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 แนวคิดในการวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.2 การวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.3 การใช้ครูในประเทศสังกัดต่างๆ
2.4 การใช้ครูในต่างประเทศ
3. นโยบายการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.1 การพัฒนาครูในประเทศไทย
3.2 การพัฒนาครูในต่างประเทศ
ตอนที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
3. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
4. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)
5. มาตรฐานวิชาชีพครู
ตอนที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอนที่ 5 วงล้ออนาคต (Future Wheel)
6

ตอนที่ 6 การประมาณความต้องการในอนาคต
ตอนที่ 7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตอนที่ 1 ความเป็นมาของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูในประเทศไทย


1. การผลิตครูในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสาคัญของการศึกษา ดังได้มีพระบรมราช
โองการประกาศเรื่องโรงเรียนหรือจัดตั้งโรงเรียนแห่งแรกเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 3 ค่า ปีมะแม ตรีศก
ศักราช 1233 (พ.ศ.2414) และจัดคนในกรมอาลักษณ์ตั้งให้เป็นขุนนางพนักงานสาหรับเป็นครูสอนหนังสือไทย
สอนคิดเลขและขนบธรรมเนียมข้าราชการ โรงเรียนแห่งแรกตั้งอยู่บริเวณโรงทหารมหาดเล็กในสนามต่อจาก
ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปทางตะวันตก ต่อมาได้มีการตั้งโรงเรียนเพิ่มขึ้น มีทั้งโรงเรียนหลวงที่สอน
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีครูผู้สอนเป็นชาวต่างประเทศ โรงเรียนหลวงบางแห่งก็มีชาวอังกฤษเป็น
อาจารย์ใหญ่ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2530: 2 และบุญกรม ดงบังสถาน, 2553: 17) อย่างไรก็ดี แม้จัดตั้งโรงเรียน
ไปแล้วหลายแห่ง แต่ยังไม่มีระบบการจัดการที่ชัดเจน คือไม่ได้มีหน่วยจัดการศึกษาโดยเฉพาะเหมือนกับใน
ต่างประเทศ ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น มีพระเจ้าน้องยาเธอ
พระองค์เ จ้ า จั น ทรทั ต จุ ฑ าธาร (พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอกรมหมื่ น วิ วิ ธ วรรณปรี ช า) เป็ น ข้ าหลวงบัญ ชาการ
การศึกษา (อธิบดี) คนแรก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2432 ได้เปลี่ยนชื่อกรมศึกษาธิการเป็นกรมธรรมการ ปัญหาที่
ประสบในเวลานั้นคือ เมื่อเปิดโรงเรียนขึ้นมากขึ้น มีการขยายโรงเรียนหลวงสาหรับราษฎรทั่วไปขึ้นหลายแห่ง
ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งผลให้มีนักเรีย นเพิ่มขึ้น ทาให้ขาดแคลนครูผู้สอน และครูผู้สอนส่วนมาก
เป็นพระหรือผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน เพื่อแก้ปัญหานี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์วงเธอ กรมพระยาดารงราชา
นุภาพ ซึ่งในขณะนั้นได้ควบคุมดูแลการศึกษาอยู่ด้วย ได้ทาหนังสือกราบบังคับทูลฯ ขอตั้งงบประมาณสาหรับ
ฝึกสอนผู้ ที่จ ะเป็ น อาจารย์ เมื่อได้รั บ งบประมาณแล้ วจึง ตั้งโรงเรียนฝึ กหั ดสาหรับผู้ ที่จะเป็นอาจารย์ขึ้นที่
โรงเลี้ยงเด็กและตึกปั้นหยา ถนนบารุงเมือง กรุงเทพฯ สังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2435
เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ (The Normal College) ทาหน้าที่ผลิตครูเพื่อรองรับการขยายตัวของการจัด
การศึกษาในระบบโรงเรียน ถือเป็นปีที่มีการจัดตั้งสถาบันฝึกหัดครูอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย
นับตั้งแต่ไทยได้ตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกแห่งแรกในปี พ.ศ.2414 (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2530: 2 และสุรพันธ์
ยันต์ทอง, ออนไลน์) โดยให้นักเรียนเดินเรียน ทุกคนจะได้รับทุนเล่าเรียนของรัฐบาลและระหว่างเรียนจะได้รับ
เบี้ยเลี้ยงด้วย เนื่องจากนักเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล โดยได้รับทุนเล่าเรียนจากรัฐบาล
ดังนั้น นักเรียนทุกคนจึงต้องเซ็นสัญญากับกรมศึกษาธิการเพื่อเป็นข้อผูกมัดว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องเข้ารับ
ราชการเป็นครู (บุญกรม ดงบังสถาน, 2553: 18-19, 21)
ต่อมาใน ปี พ.ศ.2497 ได้ มีการตราพระราชบัญญัติตั้งกรมการฝึ กหัดครูขึ้นเป็นครั้งแรก และการ
วิเคราะห์นี้ถือว่าเป็นจุดสาคัญในการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของสถาบันฝึกหัดครู (สุรพันธ์ ยันต์ทอง,
7

ออนไลน์) จากนั้ นโรงเรีย นฝึ กหั ดอาจารย์ ได้ ย้ายสถานที่หลายครั้งอันเนื่องมาจากสถานที่เดิมคับแคบบ้าง


ผลกระทบจากสงครามบ้าง เมื่อย้ายไปที่ใดก็จะเรียกชื่อตามสถานที่นั้ นๆ อาทิ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ที่
โรงเลี้ยงเด็ก (2435-2445) โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เทพศิรินทร์ (2445-2448) โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่ง
ตะวัน ตก (2449-2456) โรงเรีย นฝึกหัดอาจารย์ แผนกคุรุศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2459-2460)
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระราชวังสนามจันทร์ (2475-2476) โรงเรียนฝึกหัดครูประถมวังจันทรเกษม (2485-
2489) และโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร (2490-2508) (บุญกรม ดงบังสถาน, 2553: 19-21, 25 และศูนย์
มานุษยวิทยาสิ ริน ธร, ออนไลน์ ) รวมทั้งแตกต่างกัน ตามสภาพการณ์ เช่น โรงเรียนฝึ กหั ดครูแตกต่างจาก
โรงเรียนฝึกอาจารย์เทพศิรินทร์ เพราะฝึกหัดผู้ที่จะไปเป็นครูระดับต่ากว่า และการรับนักเรียนก็รับจากหัว เมือง
นักเรียนมีทั้งพระ เณร และฆราวาส และถ้าไม่มีที่อาศัยก็จัดให้อยู่ที่วัดหรือที่โรงเรียน จาแนกนักเรียนออกเป็น
6 ประเภท ได้แก่ นักเรียนสอนประถม นักเรียนสอนภาษาต่างประเทศ นักเรียนสอนครูชั้นมูล นักเรียนสอนครู
ชั้นประถม นักเรียนครูชั้นมัธยม และนักเรียนครูต่างประเทศ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2530: 4)
สาหรับนโยบายการรับนักเรียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า การฝึกหั ด
ครูเป็นเรื่องสาคัญ เพราะครูเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่จะให้ความรู้และอบรมเพาะนิสัยให้กับศิษย์ จึงจาเป็นต้องการ
ครูที่ดี ดังนั้นในการคัดเลือก ให้ครูใหญ่หมายตานักเรียนในโรงเรียนไว้ทุกๆ ชั้น และแนะนาสั่งสอนทั้งในวิชา
สามัญและวิชาครู เมื่อครูขาดก็ให้นักเรียนเข้าช่วยสอนแทนและเมื่อนักเรียนเหล่านี้เรียนจบ ก็ให้ส่งไปกรม
ศึกษาธิการและส่งไปโรงเรียนเพื่อไปฝึกสอนและเรียนวิชาสามัญ นักเรียนพวกนี้เรียกว่า “นักเรียนฝึกอาจารย์”
เรียนอยู่ 1 ปี จากวิธีการนี้ พอจะประกันได้ว่า ผู้ที่จบจะเป็นครูที่ดีดังที่ระบุเหตุผลไว้ในคาสั่งเรื่องนักเรียน
อาจารย์ขั้นฝึกหัด โดยพระยาวิสุทธิสุริยศั กดิ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ ใน ร.ศ.121 ดังเช่น (ปทีป เมธาคุณวุฒิ,
2530: 4-5)
“…ในทางนี้ครูได้รับประกาศนียบัตรจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ จะล้วนเป็นครูที่ดีทั้งนั้น เพราะ
1) เป็นผู้ซึ่งอาจารย์ใหญ่ ซึ่งชานาญการในการเป็นครูมาแล้ว ได้คัดเลือกไว้สาหรับให้
เป็นครูตั้งแต่ยังเล็กอยู่
2) ได้ฝึกหัดในโรงเรียนที่ดี และฟังคาแนะนาของครูที่ดีมาก่อนเข้าเป็นนักเรียนอาจารย์
ไม่ต่ากว่า 1 ปี เมื่อมาเข้าโรงเรียน อาจารย์ได้ฟังตารับตาราวิชาครูก็อาจเข้าใจ และ
แลเห็นได้ง่าย เพราะได้เคยสอนเคยสังเกตมาแต่ตนเองแล้วดีกว่าผู้ ที่ยังไม่ได้เคยสอน
เลย หรือได้เคยสอนแต่ไม่ได้รับคาแนะนาจากครูที่ดีจริง
3) เป็นครูที่รักการเป็นครูแท้จริง เพราะมีแววสาหรับการเป็นครูมาแต่กาเนิดแล้ว...”
หลักสูตรโรงเรียนอาจารย์สาหรับชั้นประถมไม่มีส่วนใดเป็นพิเศษที่จะเน้นการฝึกหัดบุคลิกภาพและ
ความสามารถของครู ครูที่ฝึกหัดจากหลักสูตรนี้ คงมีความรู้วิชาสามัญในกลุ่มแรก คือ วิชาหนังสือ วิชาเลข
บัญชี ภาษา และธรรมจริยา อยู่ในระดับหลั กสูตรชั้นประถม ที่มีเพิ่มเติมขึ้นมาก็คือตอนที่เรียกว่าวิทยา ซึ่งมี
ภูมิศ าสตร์ ไทยและต่า งประเทศ วาดเขีย นซึ่งรวมเอาทั้ งเรขาคณิตและการวาดภาพบนกระดานดา ส่ ว น
หลักสูตรโรงเรียนอาจารย์ชั้นมัธยม ใช้เวลา 2 ปี แบ่งเป็น 1) ภาควิชาครู ได้แก่ หลักการศึกษา หลักการสอน
8

การบริหารอาคารสถานที่ ประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติ จิตวิทยา (อัธยาตมวิทยา) และ 2) วิชาสามัญ


ได้แก่ วิช าหนังสือไทย วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ
วิทยาศาสตร์ ส่วนวิชาอื่นๆ ที่เรียน ได้แก่ สุขศึกษาและพลศึกษา วิชาศิลปะ และวิชาดนตรี (เน้นเฉพาะการ
ร้องเพลง ไม่กล่าวถึงการเล่นดนตรีด้วยเครื่อง) ต่อมาได้มีการพัฒนาหลักสูตรการฝึกหัดครู โดยประกาศใช้ใน
ร.ศ.129 แบ่ งเป็ น 3 ระดับ คือ หลั กสู ตรครูมูล ประถม และมัธ ยม โดยหลักสู ตรครูมูล เน้นสร้างครูให้ มี
คุณลักษณะและความสามารถเพียบพร้อมเหมาะสม หลักสูตรครูประถม ได้ยกระดับให้สูงขึ้นเท่ามาตรฐานของ
หลักสูตรอาจารย์ชั้นมัธยมสมัยก่อน และหลักสูตรครูมัธยมยึดหลักว่าครูมัธยมนั้นควรจะเป็นครูประจาการ
มากกว่าครูประจาชั้น ส่วนการฝึกหัดครูในมณฑล พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ได้เสนอโครงการศึกษาที่จะพยายาม
ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูลขึ้นในแต่ละมณฑล และได้ทูลถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ.2441 และทรงเห็นชอบด้วย นอกจากนั้น ในปี พ.ศ.2456 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ได้เปิดโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝุายสตรีขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องมาจากกระทรวงธรรมการเห็นความ
จาเป็ นเนื่องจากการศึกษาฝุายหญิงยั งไม่ได้ดาเนินไปไกลนัก ไม่มีครูสตรีที่จะออกไปสอนและครูสตรีที่อยู่
กรุงเทพฯ ก็ลาบากที่จะออกไปสอนตามหัวเมืองมณฑลต่างๆ จึงได้จัดตั้งการฝึกหัดครูขึ้นที่กรุงเทพฯ สาหรับ
รับนักเรียนหญิงที่จะส่งมาจากหัวเมืองมณฑลต่างๆ ปีละ 5 คน มีนักเรียนทั้งที่รับสมัคร (นักเรียนทุนส่วนตัว)
และเป็นนักเรียนหลวง โรงเรียนฝึกหัดครูผู้หญิงแห่งแรกนี้มีชื่อเรียกว่า โรงเรียนเบญจมราชาลัย (พระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมขุน บุ ร พงษ์ศิ ริ บั ณฑ์ ได้สั่ งยกวั งเก่าถวายเป็นของรัฐ บาล อุทิศส่ ว นพระกุ ศลถวายแด่ส มเด็ จ
พระพุทธเจ้าหลวง) (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2530: 6-9)
เมื่อโรงเรีย นข้าราชการพลเรือนฯ ได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดกรม
มหาวิทยาลัย "โรงเรียนฝึกหัดครู" ที่กลายมาเป็น "แผนกคุรุศึกษา" ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งใน "คณะอักษรศาสตร์
และวิทยาศาสตร์" ใช้ชื่อว่า "แผนกฝึกหัดครู" เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีทางอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
การเรียนวิชาครู จึงเป็นหลักสูตร 1 ปี หลังปริญญาตรี เรียกว่า "ประกาศนียบัตรครูมัธยม (ปม.)" จนกระทั่งปี
พ.ศ.2497 คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์ 1 ปี เป็นหลักสูตรปริญญา
ครูฉบับแรกของไทย รับผู้สาเร็จการศึกษา อบ.ปม.หรือ วท.บ.ปม. หรือ ปม.เข้าเรียน มีผู้สาเร็จการศึกษา
"ครุศาสตรบัณฑิต" รุ่นแรกในปี พ.ศ.2498 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตร "ครุศาสตรบัณฑิต 2 ปี" เป็น
หลักสูตรหลังปริญญาตรี คือ รับผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นมาเรียนวิชาครู ซึ่งกว่าจะเป็น
ครูได้ต้องใช้เวลาถึง 6 ปี จนเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2500 จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "คณะครุศาสตร์" ขึ้น
เป็นคณะที่ 7 ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนหลักสูตร "ครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี" และเปิดสอนหลักสูตร
ปริญญาโทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2505 ในช่วงที่คณะครุศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปีเป็นช่วงที่
การศึกษาไทยเกิดการขยายตัวมากขึ้นส่งผลให้ผลิตครูไม่เพียงพอ จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบการศึกษาสาชาวิชาอื่น
สามารถมาเป็นครูได้ จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการต้องจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งใหม่ จานวน 36 แห่งทั่ว
ประเทศ เนื่องจากโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกกลายเป็นคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปแล้ว โดย
โรงเรียนฝึกหัดครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ปกศ.) เข้าไปสอน
9

ระดับประถมศึกษา พร้อมทั้งผลิตครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชา


การศึกษาชั้นสูง (ปกศ.สูง) เทียบเท่าอนุปริญญา ส่วนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ผลิตครูระดับ
ปริญญาตรีไปสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะเห็นได้ว่าโรงเรียนฝึกหัดครูของกระทรวงศึกษาธิการมี
วิวัฒนาการจากโรงเรียนฝึกหัดครูประจาจังหวัด และได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปัจจุบัน ซึ่ง
ภาพรวมของการขยายตัวของการผลิตครูปูอนเข้าสู่ระบบการศึกษาไทย ดังนั้นครูจึงเป็นวิชาชีพเก่าแก่ที่อยู่คู่กับ
การพัฒนาประเทศแต่ละยุคสมัย (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2530: 22 และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ออนไลน์)
จนกระทั่งในปีการศึกษา 2547 จึงได้มีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่กาหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู ตั้งแต่การผลิต การใช้ การพัฒนา และการรักษา
มาตรฐานของวิชาชีพครู ใช้ระยะเวลาศึกษา 5 ปี ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 160 หน่วยกิต ฝึกสอนในสถานศึกษาที่
คุรุสภารับรองไม่น้อยกว่า 1 ปี และพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 44
ระบุไว้ว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามหลายประการ
นอกจากนั้นในมาตราดังกล่าวยังได้กาหนดไว้ด้วยว่า วิชาชีพครูและผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม เป็น
ผู้มีคุณสมบัติทางด้านอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีแล้ว ต้องมีคุณสมบัติทางวิชาการอยู่ประการหนึ่งคือ “มีวุฒิปริญญา
ทางการศึกษา” และมีคุณสมบัติทางทักษะภาคปฏิบัติที่ต้องผ่านการประเมินด้านการปฏิบัติการสอนใน
สถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเต็ม (จรวยพร ธรนินทร์, ออนไลน์
และสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554) นอกจากนี้ เพื่อให้การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) สาขาครุศาสตร์/
ศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิ เน้น
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต 5 ด้าน ได้แก่ 1) คุณธรรมจริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา
4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรั บผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 (สานักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา, 2554)
ปั จ จุ บั น นอกจากหลั ก สู ต รการผลิ ต ครู ระดั บ ปริ ญญาตรี (หลั ก สู ต ร 5 ปี ) แล้ ว ยั งมี ห ลั ก สู ต ร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) เป็นการรับผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นมาเรียน
ต่อวิชาชีพครูอีก 1 ปี ซึ่งคุรุสภาได้เคยยกเลิกหลักสูตรนี้ไปแล้ว แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีความจาเป็น คุรุสภาจึงได้
อนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเปิดสอนในระดับ ป.บัณฑิต และหลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา ซึ่งเป็น
โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นาหลักสูตรนี้มาใช้ในการผลิตครูเพื่อสอนในสาขาวิชา
คณิ ตศาสตร์ ฟิ สิ ก ส์ เคมี ชีว วิท ยา และคอมพิว เตอร์ ให้ ส อดคล้ องกั บมาตรฐานครู คณิ ตศาสตร์ หรือ ครู
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2557: 2-3, สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยี, ออนไลน์ และคุรุสภา, ออนไลน์)
10

2. การใช้ครูในประเทศไทย
ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ครู คือ คุรุสภาซึ่งถือเป็นสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีบทบาทในการกาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กากับ ดูแล การปฏิบัติ
ตามมาตรฐานวิ ช าชีพ และจรรยาบรรณของวิช าชีพ รวมทั้ งการพัฒ นาวิช าชีพทางการศึก ษา ซึ่งเป็ นการ
ยกระดับวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง (คุรุสภา, ออนไลน์) และสานักงานคณะกรรมการข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีอานาจและหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญ
กาลังใจ และการยกย่องเชิดชู เกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย
ประสานงานและดาเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สานักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา, ออนไลน์) รวมถึงสถานศึกษาสังกัดต่างๆ ที่ครูไปปฏิบัติงาน
คุรุสภาดาเนินงานเกี่ยวกับ การใช้ครู ในภาพรวมคือ การให้ ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และ
วิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาบรรณ และวินัยของครู การให้ความสาคัญต่อการ
ใช้ “ครู” ที่จะส่ งผลต่อการศึก ษานั้ น เริ่ มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 ในรัฐ บาลของนายควง อภัยวงศ์ เป็น
นายกรัฐมนตรี มีนายทวี บุญเกตุเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาวิกฤติในวิชาชีพ
ครู กล่าวคือ คนดี คนเก่ง ไม่อยากเรียนครู และครูเก่ง ครูดีมีความสามารถจานวนมากได้ละทิ้งอาชีพครูไป
ประกอบอาชีพอื่น จึงได้ตราพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติวิชาชีพครู ดังกล่าว โดยมี
สาระสาคัญคือให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า “คุรุสภา” มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอานาจหน้าที่ให้
ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยา และวินัยของ
ครู รักษาผลประโยชน์ และส่งเสริมฐานะครู และครอบครัวให้ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้
และความสามัคคีของครู และทาหน้าที่แทน ก.พ. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล โดยกาหนดให้ครูทุกคนต้อง
เป็นสมาชิกคุรุสภา ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ออกบังคับ
ใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2546 โดยปรับปรุงคุรุสภาเดิมตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ให้เป็นสภาครู
และบุคลากรทางการศึกษา มีชื่อเรียกเหมือนเดิมว่า “คุรุสภา” คุรุสภาจึงเป็นสภาครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา มีบทบาทในการกาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นการยกระดับวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง (คุรุสภา, ออนไลน์)
ตามพระราชบั ญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 8 กาหนดให้คุรุส ภามี
วัตถุประสงค์ ดังนี้ (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ออนไลน์)
1. กาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กากับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
2. กาหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
11

พระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กาหนดอานาจหน้าที่ของคุรุสภาเพื่อควบคุมการใช้ครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ไว้ว่า
1. กาหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2. ควบคุมความประพฤติและการดาเนินงานของผู้ ประกอบวิช าชีพทางการศึกษาให้ เป็นไปตาม
มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3. ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
4. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
5. สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
6. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
7. รับรองปริญญาประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
8. รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชานาญในการประกอบวิชาชีพ
9. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
10. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
11. ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
(ก) การกาหนดลักษณะต้องห้ามมาตรา 13
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และ
การรับรองความรู้ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชานาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนามาซึ่งความเสื่อมเสีย
เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิ ธี ก ารสรรหาการเลื อ ก การเลื อ กตั้ ง และการแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการคุ รุ ส ภา และ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใดๆ ตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้
12. ให้คาปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
13. ให้ ค าแนะน าหรื อ เสนอความเห็ น ต่ อ รั ฐ มนตรี เ กี่ ย วกั บ การประกอบวิ ช าชี พ หรื อ การออก
กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
14. กาหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทาการใดๆ อันอยู่ในอานาจหน้าที่ของคุรุสภา
15. ดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับได้
12

คุรุ ส ภากาหนดให้ ค รู เป็ น วิช าชีพทางการศึกษา ตามมาตรฐานวิช าชีพกาหนดให้ ครูและบุคลากร


ทางการศึกษาต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน
เป็นวิชาชีพควบคุม โดยให้ความหมายของวิชาชีพ (Profession) ไว้ว่า เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่
ต้องอาศัยความรู้ความชานาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้าซ้อ นกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
โดยผู้ ป ระกอบวิชาชีพต้องฝึ กอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบวิชาชีพ
ต่างกับอาชีพ (Career) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทาให้สาเร็จ โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดารงชีพเท่านั้น
วิชาชีพซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูง
ตามมา เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิด
ความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนโดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธี การแห่งปัญญา
(Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ (Long Period of Training) มีอิสระในการใช้
วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy) และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional
Ethics) รวมทั้ ง ต้ อ งมี ส ถาบั น วิ ช าชี พ (Professional Institution) หรื อ องค์ ก รวิ ช าชี พ (Professional
Organization) เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชี พ ตามพระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา พ.ศ.2546 กาหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ประกอบด้วย
1. วิชาชีพครู
2. วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
3. วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
4. วิชาชีพควบคุมอื่นที่กาหนดในกฎกระทรวง
การกาหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม จะเป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการ
ทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น
ต่อไป
ส่วนคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ตามพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2553 มาตรา 19 ให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจและหน้าที่ คือ
1. เสนอแนะและให้ค ำปรึก ษาแก่คณะรัฐ มนตรีเ กี่ย วกับ นโยบายการผลิต และการบริหารงาน
บุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
2. กาหนดนโยบาย การวางแผน และกาหนดเกณฑ์อัตรากาลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา รวมทั้งให้ความเห็นชอบจานวนและอัตราตาแหน่งของหน่วยงานการศึกษา
3. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือการ
จัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยัง ไม่เ หมาะสมเพื่อให้
13

คณะรัฐมนตรีพิจารณาในอันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตาแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ


สวัสดิ การ หรือประโยชน์เกือ้ กูลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสม
4. ออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารงานบุค คลของ
ข้ า ราชการครู แ ละบุค ลากรทางการศึก ษา กฎ ก .ค.ศ. เมื่อ ได้ รับ อนุ มั ติ จ ากคณะรัฐมนตรีและประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
5. พิจารณาวินิจฉัยตีความปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ ก.ค.ศ. มีมติ
เป็นประการใดแล้วให้หน่วยงานการศึกษาปฏิบัติตามนั้น
6. พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7. กำหนดวิธีการและเงือ่ นไขการจ้างเพือ่ บรรจุและแต่งตั้งบุคคลเพือ่ ปฏิบัติหน้าที่ในตาแหน่งครูและ
บุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา รวมทั้งกาหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
8. ส่ง เสร ิม สนับ สน ุน การพัฒ นา การเสริม สร ้า งขวั ญกำลัง ใจ และการยกย่อ งเช ิด ชู เกียรติ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกือ้ กูลอื่นแก่ข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
10. พิจ ารณาตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่
ก.ค.ศ. มอบหมาย
11. ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ประสานงาน ให้ ค ำปรึ ก ษา แนะนำและชี้แ จงด้ า นการบริหารงานบุคคล
แก่หน่วยงานการศึกษา
12. กาหนดมาตรฐาน พิจารณา และให้คำแนะนาเกี่ยวกับการดาเนินการทางวินัย การออกจาก
ราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
13. กำกั บ ดู แ ล ติ ด ตาม ตรวจสอบและประเมิ น ผลการบริ ห ารงานบุ ค คลของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรักษาความเป็น ธรรมและมาตรฐานด้านการบริห ารงานบุ คคล ตรวจสอบ
และปฏ ิบ ัต ิ ก ารตามพระราชบ ัญ ญ ั ต ินี้ ในการนี้ ใ ห ้มี อ ำนาจเร ีย กเอกสารและหลั ก ฐานจากหน่ ว ยงาน
การศึกษาให้ผู้แทนของหน่วยงานการศึกษา ข้าราชการ หรือบุค คลใด มาชี้แ จงข้อ เท็จ จริ ง และให้ มีอ ำนาจ
ออกระเบีย บข้ อบั ง คั บ รวมท ั้ง ให้ ส่ ว นราชการ หน่ ว ยงานการศึ ก ษา ข้ า ราชการหรื อ บุ ค คลใดรายงาน
เกี่ย วกั บ การบริ ห ารงานบ ุ ค คลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้ าที่ไปยัง
ก.ค.ศ.
ปั จ จุ บั น มี จ านวนผู้ ที่ไ ด้ รั บ ใบประกอบวิช าชีพ ทางการศึ กษาจาแนกตามสั ง กัด ได้ดั ง ตารางที่ 2.1
(คุรุสภา, ออนไลน์)
14

ตารางที่ 2.1 ผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจาแนกตามสังกัด


หน่วย : คน

ศึกษานิเทศก์
สถานศึกษา

การศึกษา
ผู้บริหาร

ผู้บริหาร
หน่วยงานต้นสังกัด

รวม
ครู
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 360,204 48,423 4,483 6,277 419,387
สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 19,530 2,111 122 78 21,841
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย 8,900 925 253 194 10,272
สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 54,171 4,543 94 52 58,860
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1,467 26 0 5 1,498
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 131 2 0 1 134
สานักการศึกษากรุงเทพมหานคร 11,266 1,728 26 250 13,270
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 26,172 3,900 186 321 30,579
สถาบันการพลศึกษา 345 40 1 0 386
สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 1,089 33 0 3 1,125
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 818 26 0 0 844
สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3,963 701 22 95 4,781
ผู้ได้รับใบอนุญาตที่มีได้ประกอบวิชาชีพตามประเภท
ใบอนุญาตที่ได้รับ 281,089 8,887 882 342 291,200
รวมทั้งสิ้น 769,145 71,345 6,069 7,618 854,177
ที่มา: คุรุสภา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557
หมายเหตุ: จานวนที่แสดงดังตารางเป็นการแสดงจานวนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทั้งหมดที่คุรุสภาได้อนุมัติ
โดยผู้รับใบประกอบวิชาชีพบางคนอาจมีใบประกอบวิชาชีพหลายประเภท

3. การพัฒนาครูในประเทศไทย
ครูเป็นบุคคลที่มีความสาคัญที่สุดต่อการพัฒนาสังคมและชาติบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะครูต้องรับหน้าที่ใน
การพั ฒ นาบุ ค คลในสั ง คมให้ มี ค วามเจริ ญ งอกงามอย่ า งเต็ ม ที่ จนบุ คคลเหล่ า นั้ น สามารถที่ จ ะใช้ ค วามรู้
ความสามารถของตนเพื่อพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป ดั งนั้นการพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพอย่างที่สุด
จึงเป็นงานที่นักวิชาการศึกษา/ผู้นิเทศ และ/หรือผู้บริหารการศึกษาจะต้องกระทาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โดยการพัฒนาครูนั้นก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ ดังนี้ (ยนต์ ชุ่มจิต, 2535: 2)
15

1. ช่วยพัฒนาคุณภาพและวิธี การทางานของครู ทาให้ครูมีสมรรถภาพในการสอน มีความรู้เพิ่มขึ้น


เข้าใจบทบาทหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น
2. การพัฒนาครูช่วยทาให้เกิดการประหยัดเวลาและลดความสูญเปล่าทางวิชาการ เพราะครูได้รับการ
พั ฒ นาจนเป็ น ครู ที่ มี คุ ณ ภาพนั้ น ย่ อ มไม่ ท าสิ่ ง ผิ ด พลาดง่ า ยๆ สามารถใช้ สื่ อ การเรี ย นการสอนอย่ า งมี
ประสิทธิภาพ ทาการสอนนักเรียนได้ผลเต็มที่และตรงตามจุดประสงค์ ส่วนนักเรียนก็มีความรู้ความสามารถ
ตามเกณฑ์ที่กาหนด
3. การพัฒนาครู ช่วยทาให้ครูได้เรียนรู้งานในหน้าที่ได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ งครูที่เพิ่งได้รับการ
บรรจุใหม่ๆ และครูที่ย้ายไปทาการสอน ณ ที่ทางานแห่งใหม่
4. การพัฒนาครู ช่วยแบ่งเบาหรือลดภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานในสายงานต่างๆ
เพราะครูที่ได้รับการพัฒนาอย่างดีและอย่างต่อเนื่อง จะมีความเข้าใจงานการสอนและงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
5. การพัฒนาครู ช่วยกระตุ้นให้ครูปฏิบัติงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าในตาแหน่งหน้าที่การงาน
กล่าวคือ ทาให้ครูทุกคนมีโอกาสก้าวหน้าไปสู่ตาแหน่งทางการบริหารที่มีสถานภาพดีขึ้น
6. การพัฒนาครู ช่วยทาให้ครูเป็นบุคคลที่ทันสมัยอยู่เสมอทั้งในด้านความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ
รวมทั้งหลักการปฏิบัติงานและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
สาหรับการพัฒนาครูในประเทศไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ในอดีตพระราชบัญญัติ
ครู พ.ศ.2488 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2523 มีเจตนาให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง
ต้องการเห็นผู้ประกอบวิชาชีพครูมีความขยัน อดทน เสียสละ ตั้งใจอบรมสั่งสอน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
และเป็ น แบบฉบั บ ที่ ดี ใ ห้ แ ก่ ศิ ษ ย์ ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากจรรยาบรรณครู ทั้ ง 11 ข้ อ ที่ ป ระกาศใช้ ใ นบทบั ญ ญั ติ
พระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 และวินัยข้าราชการครูในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ.2523
องค์กรที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาครู เช่น คุรุสภา ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ได้กาหนดให้ทา
หน้ าที่สานั กงานเลขาธิการ คณะกรรมการอานวยการคุรุส ภา ในข้อที่ 5 ให้ พัฒนาความรู้ ความสามารถ
คุณภาพและประสิทธิภาพของครู หรือ คณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) โดยพระราชบัญญัติข้าราชการครู
พ.ศ.2523 ที่กาหนดให้ทาหน้าที่ทุกอย่างเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูจานวนประมาณห้า
แสนกว่าคน แต่บุคคลากรและงบประมาณมีจานวนจากัด จึงทาให้การปฏิบัติภารกิจตามที่กฎหมายบัญญัติของ
ก.ค. ไม่มีป ระสิ ทธิผ ล เกิดความล่าช้าในการดาเนินงานและสั่ งการ มีปัญหาการรวบอานาจและลงลึ กใน
รายละเอียดในการปฏิบัติหน้าที่จากเจ้าหน้าที่สานักงาน ก.ค. ทั้งที่หน้าที่หลายอย่างของ ก.ค. ควรถูกกระจาย
อานาจให้กรมหรือสถานศึกษา
พระราชบั ญ ญั ติ ส ภาครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา พ.ศ.2546 เกิ ด จากการแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง
พระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และกาหนดให้มี
องค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกากับของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ (คุรุสภา,
ออนไลน์)
16

1. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา


แห่งชาติ พ.ศ.2542 วัตถุประสงค์ของคุรุสภา ในมาตรา 8 มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาครู คือ 1) กาหนด
มาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ 2) กาหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ และ 3) ประสานส่งเสริม
การศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
2. สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้การ
บริหารของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอานาจหน้าที่
เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง
พระราชบั ญญั ติร ะเบี ย บข้ าราชการครูและบุคลากรทางการศึ กษา พ.ศ.2547 เกิดขึ้ นโดยยกเลิ ก
พระราชบัญญัติข้าราชการครู พ.ศ.2523 ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และปัจจุบัน (ฉบับที่ 3)
พ.ศ.2553 ได้ส่งผลให้มีสานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเรียก โดยย่อว่า
“สานักงาน ก.ค.ศ.” โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า
“เลขาธิการ ก.ค.ศ.” มาตรา 19 ข้อ 8 ให้ ก.ค.ศ. มีอานาจและหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา
การเสริมสร้างขวัญกาลั งใจ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ
สานักงาน ก.ค.ศ. มีอานาจและหน้าที่ ข้อ 5 ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย ประสานงานและดาเนินการ
เกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ออนไลน์)
มาตรา 23 คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจาเขตพื้นที่การศึกษา
(อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา) มีอานาจหน้าที่ ข้อ 5 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกาลังใจ
การปกปูองคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิ การ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา 24 ให้ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารราชการในสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และมี
อานาจหน้าที่ข้อ 4 จัดทาแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงาน
การศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา 27 ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศึกษา และมีอานาจหน้ าที่ ข้อ 3 ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 55 การประเมินตาแหน่งและวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็น
ระยะๆ เพื่อดารงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชานาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตาแหน่ งและวิทยฐานะที่
ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง
17

มาตรา 56 ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตาแหน่ง ครูผู้ช่วย ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนา


อย่างเข้มเป็นเวลาสองปีก่อนแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งครู ทั้งนี้ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการเตรียม
ความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนด
มาตรา 80 ให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งบาง
ตาแหน่งและบางวิทยฐานะ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ที่เหมาะสม ในอันที่จะทาให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความก้าวหน้าแก่
ราชการ
รัฐบาลสมัยต่างๆ เห็นถึงความสาคัญของการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู เช่น รัฐบาลนายอานันท์
ปันยารชุน (2534) วางมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะในสาขาวิชาที่มีความ
ต้องการสูง รัฐบาลนายชวน หลีกภัย (2535) กาหนดนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูว่าจะ
พัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูและมาตรฐานบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพอย่างแท้จริง โดยการปรับปรุง
กระบวนการผลิตและการใช้ตลอดจนการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างขวัญ
กาลังใจและความภาคภูมิใจในอาชีพ รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา (2538) กาหนดนโยบายด้านการผลิตและ
การพัฒนาครูไว้โดยเฉพาะ คือ 1) ปฏิรูปการผลิตครูและพัฒนาครูประจาการอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้าง
เครือข่ายทั่วประเทศ โดยเร่งพัฒนาครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลนเป็ นลาดับแรก และเร่งพัฒนาในด้านคุณธรรม
และจริยธรรม 2) ดาเนินการด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมขวัญกาลังใจ และความมั่นคงให้กับ
ครู และพัฒนาองค์กรวิชาชีพครูในสาขาวิชาต่างๆ ในท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนากองทุนกาญจนาภิเษก และระดม
ทุน จากภาคเอกชนเพื่อจั ดตั้งกองทุน ส าหรับให้ครูกู้โดยจ่ายดอกเบี้ยต่าเพื่อส่ งเสริมการพัฒนาคุณภาพครู
รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (2539) ประกาศว่ารัฐจะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากร
ทางการศึกษา รวมทั้งเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้สินครู รัฐบาลนายชวน หลีกภัย (2540) ยุคปฏิรูปการศึกษาใน
ทศวรรษแรก ซึ่งได้กาหนดกรอบและภารกิจในการปฏิรูปการศึกษาไว้ 4 แนวทาง ซึ่งมีการปฏิรูปโรงเรียนและ
สถานศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากร การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และการปฏิรูป
ระบบการบริหารการศึกษา และได้ประกาศแนวทางในการประกอบวิชาชีพครูว่าจะเร่งพัฒนาวิชาชีพครู ให้เป็น
วิชาชีพที่ได้รับการยอมรับเพื่อให้ครูได้ทางานอย่างมีเกียรติ โดยปฏิรูปกระบวนการผลิตครู และการพัฒนาครู
เน้ น การผลิ ต ในสาขาขาดแคลน ตลอดจนสร้ า งเกณฑ์ ม าตรฐานเพื่ อ การยกย่ อ งให้ ร างวั ล ครู ที่ ดี แ ละเก่ ง
มีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยส่งเสริมสวัสดิการของครู ต่อมามีการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 รัฐจัดตั้ง
สถาบัน กาหนดมาตรฐานการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องของขวัญและกาลั งใจครู
จัดตั้งกองทุนพัฒนาชีวิตครู และมีการพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถดึงดูดคน
เก่ง ดีและมีใจรักมาเป็นครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สานักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ออนไลน์)
18

ตอนที่ 2 นโยบายการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


1. นโยบายการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 ความเป็นมา
การผลิตครูในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
การปกครองของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ได้แก่ 1) ยุคก่อนการปฏิรูปการฝึกหัดครู ในระยะ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2-5 (พ.ศ.2510-2529) มีการเพิ่มจานวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทาให้รัฐ
ต้องเร่งรัดผลิตครู ส่งผลให้มีการจัดตั้งสถาบั นการผลิตครูจานวนมาก มีการเพิ่มจานวนหลักสูตร กระบวนการ
คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนครูเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ในที่สุดก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ มีการผลิตครู
จานวนมากและคุณภาพของครูใหม่ลดลง 2) ยุคก่อนการปฏิรูปการฝึกหัดครู ในระยะแผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) ความต้องการของครูลดลง แต่ยังมีการผลิตครูซ้าซ้อน ขาดการควบคุม
มาตรฐาน ครูบางสาขาขาดแคลน บางสาขาเกินความต้องการ การบรรจุและการใช้ครูไม่ตรงคุณวุฒิ ส่งผลให้
ครูจานวนมากตกงาน ครูมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ในที่สุดก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ ครูไม่เก่งเหมือนในอดีต
ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูลดต่าลง มาตรฐานวิชาชีพลดต่าลง 3) ยุคการปฏิรูปการฝึกหัดครู พัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ระยะของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) คุณภาพนักเรียน
ลดต่ าลง มี ก ารปฏิรู ป การฝึ กหั ด ครู มีโ ครงการพิ เ ศษเพื่อ ดึ งคนเก่ง มาเรี ยนครู แต่ งบประมาณสนับ สนุ น
ขาดความต่ อเนื่ อง มีก ารปฏิ รู ป การฝึ ก หั ดครู มี โ ครงการพิเ ศษเพื่ อดึ งคนเก่ ง มาเรีย นครู แต่ ง บประมาณ
สนั บ สนุ น ขาดความต่ อ เนื่ อ ง ไม่ ส ามารถจู ง ใจให้ ค นเก่ ง เข้ ามาเรี ยนครู ไ ด้ อีก คนเก่ ง จบแล้ ว จะไม่ เ ป็ น ครู
ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ ครูมีร ายได้ต่า ขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู สังคมขาดความเชื่อถือครู และ
4) ยุคการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 1 (พ.ศ.2542-2551) ซึ่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศลดลง คุณภาพนักเรียนมาตรฐานแตกต่างกัน
คนเก่งเข้าเรียนครูไม่มากเพียงพอ ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูไม่เทียบเท่ากับวิชาชีพอื่นๆ ผู้เรียนครูไม่เลือกเรียน
ในสาขาที่เรียนยาก จึงขาดแคลนครูสาขาที่มีความสาคัญ ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ คุณภาพครูใหม่แตกต่าง
กั น คุ ณ ภาพการผลิ ต ครู แ ตกต่ า งกั น และสั ง คมมี ค วามเชื่ อ มั่ น ในสถาบั น การผลิ ต ครู ล ดน้ อ ยลง (วิ ชุ ด า
กิจธรธรรม และคณะ, 2554: 218)
ปี พ.ศ. 2545 ส านักงานปฏิรู ปการศึกษาได้เสนอแนวการดาเนินงาน ปฏิรูปการผลิตและปฏิรูป
สถาบั น ผลิ ตครู และบุ คลากรทางการศึก ษา เพื่อให้ ค รู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึก ษา มีคุณภาพ
มาตรฐานวิชาชีพ ขั้นสูง สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ
(สานักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545: 4)
1. การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษารุ่นใหม่ที่มีคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง และมีปริมาณ
สอดคล้องกับความต้องการ
2. การสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของสังคมต่อวิชาชีพครู
19

3. การพัฒนาสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งใน
การผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษารุ่นใหม่และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาประจาการอย่าง
ต่อเนื่อง ดังภาพที่ 2.1

ตัวป้อน กระบวนการ วิธีการ

แผนชาติในการผลิตครู พัฒนาความเข้มแข็ง
พัฒนาโครงสร้างบริหาร
ในสาขาที่ขาดแคลน ของสถาบันผลิตครู
และการประเมินคุณภาพ

พัฒนาหลักสูตรผลิตครู พัฒนาคณาจารย์
แนวใหม่
การสรรหาคนดี คนเก่ง
พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
มาเรียนครู

พัฒนาองค์ความรู้ใหม่
ผลผลิตครูดี ครูเก่ง ตามมาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง

ภาพที่ 2.1 ระบบการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา

ที่มา: สานักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545: 4

ในการดาเนินงานตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว สานักงานปฏิรูปการศึกษา ได้เสนอนโยบายและแผน


ปฏิรูปการผลิตครู และบุคลากรทางการศึกษาไว้ สาหรับปฏิบัติการได้ใช้เป็นแนวทางการดาเนินงาน ในระยะ
ต่อไป กล่าวคือ (สานักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545: 4)
1. นโยบายการปฏิรูปการผลิตครู และการปฏิรูปสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับ
บทบาทสถาบันผลิตครูให้มีหน้าที่ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาประจาการในลักษณะสถาบัน
เครือข่ายของสถาบันพัฒ นาและส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ส่วนการผลิตครูใหม่ตาม
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพชั้น สูงให้เน้ นการผลิ ตตามความต้องการครูในสาขาขาดแคลนและการพัฒ นาให้ มี
คุณภาพสูงขึ้นในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ จะต้องมีการปฏิรูประบบและกระบวนการผลิตครู และการปฏิรูป
สถาบันผลิตครู
2. แผนปฏิรูปการผลิตครู ประกอบด้วยแผนหลัก 3 แผน คือ แผนปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการ
ผลิตครู เพื่อให้มีหลักสูตรผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพชั้นสูงตามเกณฑ์ของ
20

สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และมีค วามยืดหยุ่นในการตอบสนอง


ความจาเป็นเร่งด่วน และความจาเป็นระยะยาว โดยเฉพาะความต้องการครูในสาขาวิชาชีพขาดแคลน
3. แผนปฏิรูปสถาบันผลิตครู ประกอบด้วยแผนหลัก 3 แผน คือ
3.1 แผนปฏิรู ป คุณภาพคณาจารย์ เพื่อให้ คณาจารย์ส ถาบันผลิ ตครูมีคุณภาพ มีคุณวุฒิ และ
ปริมาณเพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน มีความสามารถและมีพลังในการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูป
ด้วยวิธีการที่หลากหลายยึดผู้เรียนสาคัญที่สุด รวมทั้งประสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนการสอนหรือการ
บริหารในสถานศึกษา
3.2 แผนเร่งรัดการวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ และพั ฒนาผลิตภัณฑ์
ใหม่ที่ใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการใช้ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับภูมิปัญญาสากลอย่าง
เหมาะสม และเป็นหลักฐานหลักของการพึ่งตนเองในการพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3.3 แผนปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารและการประกันคุณภาพสถาบันผลิตครู เพื่อให้สถาบัน
ผลิตครูมีมาตรฐานร่วมหรือมาตรฐานกลางที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นใน
การตอบสนองความต้องการของสังคม มีความใกล้ชิดกับสถานการณ์จริง มีความเชื่อมโยงกับสถานศึกษา และ
มีความเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
1.2 การผลิตครูโครงการพิเศษของประเทศไทย
การผลิตครูโครงการพิเศษของไทยเรียงตามลาดับการต่อตั้งโครงการ ประกอบด้วย 8 โครงการ ดังนี้
(สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2557)
1) โครงการเพชรในตม
เมื่อปี พ.ศ.2528 ด้วยความร่วมมือระหว่างคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและ
ศูนย์อาสาพัฒนาและปูองกันตนเอง (ปัจจุบันคือกองอาสาพัฒนาและปูองกันตนเอง กองอานวยการรักษาความ
มั่นคงภายใน) ศูนย์กิจการพลเรือน (ปัจจุบันคือส่วนงานมวลชนและกิจการพิเศษ กองอานวยการรักษาความ
มั่นคงภายใน) โดยกาหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ การพัฒนาชนบท โดยอาศัยบุคลากรของแต่ละท้องถิ่นที่
ทุร กัน ดาร ห่ า งไกลความเจริ ญ และล่ อแหลมต่อความมั่ นคงของชาติ มาช่ ว ยกัน พัฒ นาท้อ งถิ่น ที่ตนเองมี
ภูมิลาเนา
เริ่มรับนิสิตรุ่นแรก เมื่อปีการศึกษา 2529 กาหนดจานวนรับปีละ 30 คน โดยคัดเลือกนักเรียนที่
เรี ย นดี มี ค วามประพฤติ ดี อุ ป นิ สั ย และทั ศ นคติ ที่ เ หมาะสมกั บ แก่ ก ารเป็ น ครู ทั้ ง นี้ จะต้ อ งรวมถึ ง การมี
อุดมการณ์ในการพัฒนาท้องถิ่นชนบทที่มีฐานะยากจน ให้เข้ามารับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต
นอกจากการศึกษาตามหลักสูตรปกติแล้ว นิสิตตามโครงการจะต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท
รวมทั้งการเป็นผู้นาท้องถิ่นที่นอกเหนือไปจากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ โดยมีหลักสูตรกิจกรรมพิเศษ 7 ด้าน
ได้แก่ (1) กิจกรรมด้านส่งเสริมวิชาการและเทคโนโลยี (2) กิจกรรมด้านความมั่นคงและการปกครอง
(3) กิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชน (4) กิจกรรมด้านการส่งเสริมอาชีพ (5) กิจกรรมด้านส่งเสริมจริยธรรมและ
ศิลปวัฒนธรรม (6) กิจกรรมด้านบาเพ็ญประโยชน์ และ (7) กิจกรรมด้านนันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์
21

เมื่อสาเร็จการศึกษาได้เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.75 มีความประพฤติดี ปฏิบัติตามระเบียบหอพัก จะได้รับการบรรจุ


กลับไปภูมิลาเนาของตน และหรือไม่สามารถบรรจุกลับไปที่เดิมได้เนื่องจากไม่มีอัตรา และจะบรรจุในโรงเรียน
ใกล้เคียง ถ้ามีอัตราว่างเมื่อใดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะบรรจุกลับไปภูมิลาเนาเดิม ทั้งนี้
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2533 โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน
จานวนบั ณฑิตเพชรในตม ได้เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 จนถึงปัจจุบันได้รับนิสิ ตเข้าร่ว ม
โครงการมาแล้วจานวน 25 รุ่น รวม 754 คน
2) โครงการแสวงหาช้างเผือก
เพื่อให้นักเรียนที่เรียนดีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้ได้รับทุนเพื่อศึกษาวิ ชาชีพครู
และบรรจุเป็นข้าราชการครูในภูมิลาเนาเดิม เพื่อให้เป็นกาลังสาคัญของชุมชน โครงการนี้ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2529-
2539 คัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 (ภาคต้น)
ไม่ต่ากว่า 3.00 เข้าศึกษาในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยปีละ 30,000 บาท/คน ผู้เข้ารับการศึกษาต้องมีผล
การเรียนเฉลี่ยสะสมแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ากว่า 2.75 ผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครู กาหนดบรรจุนักเรียนไม่เกินปีละ 5 คน ปัจจุบันได้รับบรรจุนักเรียนทุนตามโครงการนี้ไปแล้วถึง ปี
2540 จานวน 7 คน
3) โครงการคุรุทายาท
เป็นโครงการหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการฝึกหัดครู ที่เน้นการคัดเลือกคนเก่งคนดีเข้ามาเรียนครู
เน้นกระบวนการผลิตที่ทุกฝุายร่วมมือกันอย่างจริงจังและใกล้ชิด โดยใช้การปฏิบัติจริงในโรงเรียนประถมศึกษา
มากกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนทั่วไป มุ่งเน้นสร้างคุณลักษณะและพัฒนาเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู พร้อม
ทั้งมุ่งเน้นปัญหาการคัดเลือกคนดีที่มีความรู้ความสามารถและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครูเข้ามาเป็นข้าราชการครู
นับได้ว่าระบบการผลิตคุรุทายาท เป็นนวัตกรรมหนึ่งของการฝึกหัดครูไทย
โครงการคุรุทายาทมีเปูาหมายที่สาคัญ 2 ประการ คือ การรับบุคคลเข้าเป็นนักศึกษาในโครงการ
และการคัดเลือกเพื่อบรรจุผู้สาเร็จการศึกษาเข้ารับราชการครู ในการรับบุคคลเข้าเป็นนักศึกษาในโครงการ
แต่ละปีจะมีข้าราชการครูสังกัดสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเกษียณอายุราชการ ลาออก
เสียชีวิต และอื่นๆ ประมาณ 6,000 คน เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณภาพและเจตคติที่ดีต่อวิช าชีพครูมาเป็น
ข้าราชการครูในสังกัด ทดแทนกับจานวนครูดังกล่าว จึงกาหนดผู้เป็นนักศึกษาในโครงการประมาณร้อยละ 15
ของอัตราว่างในแต่ละปี โครงการคุรุทายาทเริ่มดาเนินการทดลองระยะ 5 ปี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) และรับนักศึกษาจานวนไม่เกินร้อยละ 15 ของอัตราว่างในแต่ละปี
และคัดเลือกเพื่อบรรจุผู้สาเร็จการศึกษาตามโครงการระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532
และจะคัดเลือกเพื่อบรรจุผู้สาเร็จการศึกษาตามโครงการระดับปริญญาตรี หลั กสูตร 4 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา
2534 โดยนั กศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์วิชาชีพครูเสริม โดยยึดสมรรถนะด้านความรู้
ด้านเทคนิค และด้านคุณลักษณะเป็นหลัก โครงการคุรุทายาทที่ดาเนินการประกอบด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้
22

3.1) โครงการคุรุทายาทระดับประถมศึกษา
เริ่มดาเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 โดยคัดเลือกจากนักศึกษาที่สาเร็จการศึกษาหรือ
กาลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 5 และ 6 (เฉพาะภาค
ต้น) ไม่ต่ากว่า 3.00 หรืออยู่ในตาแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ขึ้ นไป ของแต่ละกลุ่มวิชาได้รับทุนการศึกษาปีละ
12,500 บาท/คน ในระหว่างศึกษานักเรียนจะต้องอยู่หอพักนักศึกษา จะได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการผลิต
ครูแบบเข้มด้วยการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสริม ทั้งในระหว่างภาคเรียนและภาคฤดูร้อน และต้องมีผลการ
เรียนเฉลี่ยในแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ากว่า 2.75 ได้บรรจุนักเรียนทุนตามโครงการนี้แล้วตั้งแต่ปี 2530-2540
จานวน 4,546 คน โดยสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกาหนดอัตราบรรจุไว้แต่ละปี ร้อยละ
30 ของอัตราว่าง
3.2) โครงการคุรุทายาทระดับมัธยมศึกษา
เริ่มดาเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกทุนเช่นเดียวกับคุรุ
ทายาทระดับประถมศึกษา นักศึกษาที่เข้าโครงการจะได้รับทุนการศึกษาปีละ 12,500 บาท/คน และแต่ละปี
การศึกษาจะต้องมีคะแนนเรียนเฉลี่ยไม่ต่ากว่า 2.75 ปัจจุบันได้รับบรรจุนักเรียนทุนตามโครงการนี้ไปแล้ว
ตั้งแต่ปี 2538-2540 จานวน 1,139 คน โดยกรมสามัญศึกษากาหนดอัตราตั้งรับการบรรจุปีละ 400 คน
3.3) โครงการคุรุทายาทชายแดนและถิ่นทุรกันดาร
ด้วยปัญหาการโยกย้ายของข้าราชการครูที่อยู่ในพื้นที่เขตชายแดนและถิ่นทุรกันดารของครู
บรรจุใหม่มีในสังกัดกรมสามัญศึกษาและสปช. จึงทาให้มีการดาเนินการตามโครงการนี้ขึ้นในปีการศึกษา 2537
โดยสานักงานสภาสถาบันราชภัฏร่วมกับคณะกรรมการระดับท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนและถิ่นทุรกันดาร
ร่ ว มกั น คั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาเข้ า โครงการ โดยนั ก ศึ ก ษาที่ ไ ด้ รั บ คั ด เลื อ กเข้ า โครงการจะต้ อ งเรี ย นอยู่ ใ นชั้ น
มัธยมศึกษาตอนปลายหรือจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาแล้วไม่เกิน 3 ปี มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ากว่า 2.5 นักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาจนจบปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี โดยใน
ระหว่างศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ากว่า 2.75 กรมสามัญศึกษากาหนดอัตราตั้งรับ
แต่ล ะปี จ านวน 250 คน สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่ งชาติ กาหนดอัตราตั้งรับแต่ละปี
จานวน 150 คน
3.4) โครงการคุรุทายาทชายแดนภาคใต้
เป็ น โครงการเฉพาะกิ จ 3 ปี (ปี 2537 -2539) และเป็ น โครงการเร่ ง ด่ ว นของ
กระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งแก้ปัญหาการขาดแคลนครูและการโยกย้ายครู ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใน
5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยความร่วมมือของสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญ
ศึกษา และส านั กงานคณะกรรมการการศึ กษาเอกชน โครงการนี้เริ่ม ในปีก ารศึก ษา 2537 โดยคั ดเลื อ ก
นักศึกษาที่มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตยะลา ปัตตานี สตูล นราธิ วาส และสงขลา เข้ามาเรียนครูในสถาบันราชภั ฏ
และบรรจุเป็ นข้าราชการครูในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา
ภูมิลาเนาของนักศึกษา โดยนักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาปีละ 12,500 บาท/คน และต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่
กาหนดเช่นเดียวกับนักศึกษาคุรุทายาทประเภทต้น แต่ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ากว่า
23

2.5 สาหรับหลักสูตร 4 ปี สาหรับหลักสูตรปริญญาตรี 1 ปี และ 2 ปี ต้องมีผลการเรียนตามหลักสูตรของสภา


การฝึกหัดครู (2.00)
3.5) โครงการคุรุทายาทระดับอุดมศึกษา
เป็ น โครงการที่ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ คั ด เลื อ กบุ ค คลที่ มี ค วามประพฤติ ดี มี ผ ลการเรี ย นดี
มีคุณธรรมและเจตคติทดี่ ีเข้าศึกษาในสถาบันราชภัฏและหรือสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญา
โทในสาขาที่ขาดแคลนตามความต้องการของสถาบันราชภัฏ และหรือสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ปริ ญญาโทในสาขาที่ขาดแคลนตามความต้องการของสถาบันราชภั ฏ โดยจาแนกเป็นทุนระยะยาวระดับ
ปริญญาตรี-ปริญญาโท ระยะ 8 ปี (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537-2544) จานวน 100 ทุน และทุนระยะเร่งรัด 4 ปี
(ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537-2541) จานวน 100 ทุน เริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปี 2537-2540 รวมทั้งสิ้น 200 คน
แยกเป็น 2 ประเภทคือ (1) ประเภทระยะยาว ปริญญาตรี -ปริญญาโท รับผู้สาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลายที่มีผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร 3.00 ขึ้นไป และจะต้องมีผลการเรียนระดับปริญญาตรีไม่ต่า
กว่า 3.25 (2) ประเภททุนเร่งรัดปริญญาโท รับผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผลการเรียนสะสมตลอด
หลักสูตร 2.75 ขึ้นไป และต้องมีผลการเรียนสะสมแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ากว่า 2.75 แล้วจะต้องมีผลการเรียน
สะสมแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ากว่า 3.25 ปัจจุบันมีนักศึกษาที่สาเร็จตามโครงการและบรรจุเป็นข้าราชการครู
แล้วตั้งแต่ปี 2537-2540 จานวน 19 คน
4) โครงการผลิตครูที่มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)
จากความต้องการกาลังคนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อให้
รับ กับ การขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและเป็นกาลั งส าคัญในการพัฒ นาประเทศ จึงจาเป็นต้องพัฒนาและ
ปรับปรุงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น จึงมีการจัดทาโครงการขึ้น และ
เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดาเนินการโครงการฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2539-2545) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539
เพื่อผลิตครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีความสามารถ มีคุณภาพสูงและเป็นส่ว นหนึ่งของการแก้ปัญหา
การขาดแคลนครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยหาวิธีจูงใจให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงทางวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์สนใจมาเรียนครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มากขึ้น อาทิ การให้ทุนการศึกษา การบรรจุ
เข้ารับราชการทันทีที่จบการศึกษา รวมทั้งให้สวัสดิการต่างๆ เพื่อให้อาชีพครูมีเกียรติมีศักดิ์ศรี โดยคาดหวังว่า
ครูที่เป็นผลผลิตของโครงการนี้จะกระจายไปอยู่ทั่วประเทศ เป็นครูแกนนาที่จะทาให้มีผู้สนใจเรียนเป็นครู
วิ ท ยาศาสตร์ แ ละคณิ ต ศาสตร์ เ พิ่ ม มากขึ้ น และเป็ น ก าลั ง ส าคั ญ ในการแก้ ปั ญ หาการเรี ย นการสอนและ
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการฯ ได้ดาเนินการคัดเลือกผู้รับทุนตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา โดยคัดเลือก
นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเข้ารับทุนเพื่อศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในศูนย์ระดับมัธยมศึกษา 20 ศูนย์
และคัดเลือกนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 4 ปี ในคณะวิทยาศาสตร์และ
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 ปี คณะกรรมการกาหนดนโยบายฯ มีมติให้โครงการ สควค.
เร่งรัดผลิตครูให้ทันกับความต้องการโดยให้ทุนแก่นักศึกษาที่กาลังศึกษาชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรวิทยาศาสตร
บัณฑิตทุกชั้นปี ปีการศึกษา 2540-2541 โครงการฯ เริ่มให้ทุนแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และนักศึกษา
24

ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ต่อมาโครงการฯ ประสบปัญหาไม่มีอัตราบรรจุ คณะกรรมการกาหนดนโยบายฯ ใน


การประชุมครั้งที่ 15/1/2541 วันที่ 15 มิถุนายน 2541 ที่ประชุมมีมติให้มีการปรับปรุงการดาเนินงานโดย
ระงับการให้ทุนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป และลดจานวนรับนักศึกษา
ระดับปริญญาตรีจากจานวน 800 คน ให้เหลือ 380 คนต่อปี และให้ใช้งบประมาณที่เหลือจากการปรับลด
จานวนทุน เป็นการให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทควบเอกหรือปริญญาเอก จานวน 20 ทุนต่อปี ตั้งแต่ปี
การศึกษา 2543-2549
ต่อมาเมื่อปี 2543 ได้มีมติให้เพิ่มจานวนรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีจาก 380 คนต่อปี เป็น
580 คนต่อปี ตั้งปีการศึกษา 2544 เป็นต้นไป ในปีการศึกษา 2543 โครงการเริ่มให้ทุนการศึกษาระดับ
ปริญญาโทควบเอกและปริญญาเอก ปีละ 20 ทุน เพื่อศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์
ศึก ษาและคณิ ต ศาสตร์ ศึ ก ษา ตามโครงการผลิ ต นั ก วิ จั ย พั ฒ นาด้ า นการเรี ย นการสอนวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ
คณิตศาสตร์ในศูนย์ของโครงการ 3 ศูนย์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และมหาวิทยาลัยมหิด ล โดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และให้มีการศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัย
ต่างประเทศ 1 ปี
5) โครงการเร่งรัดผลิตและพัฒนาบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศ
(รพค.)
เป็ นโครงการตามมติคณะรั ฐมนตรีที่ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการดาเนินการ
ร่วมกัน เริ่มรับนักศึกษาเข้ารับทุนในปีการศึกษา 2538-2544 ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีสาหรับผู้เลือก
เรีย นวิช าเอกคณิตศาสตร์ปีล ะ 720 ทุน ตามความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการระยะเวลา 7 ปี รวม
5,040 ทุน และให้ทุนการศึกษาระดับ ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ปีละ 80 ทุน
ระยะ 7 ปี รวม 500 คน
6) โครงการคุรุทายาท (ตชด.)
เป็ น โครงการผลิ ต ครู รุ่ น ใหม่ ใ ห้ กั บ โรงเรี ย นต ารวจตระเวนชายแดนเพื่ อ สนองงานโครงการ
พระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่ทา
หน้าที่ครูในโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน โดยระยะที่ 1 เป็นโครงการ 5 ปี (2541-2545) ผลิตครู
ปีงบประมาณละ 80 คน รวม 400 คน มีเงื่อนไขคือต้องทางานเป็นครูตารวจตระเวนชายแดนอย่างน้อย 5 ปี
7) โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี)
เป็นโครงการผลิตครูใหม่ตามแนวปฏิ รูปการศึกษาที่จะสร้างครูที่มีความรู้ลึกซึ้งทางวิชาการ ด้วย
การจู ง ใจนั ก เรี ย นที่ดี เก่ง และมีค วามศรั ทธาต่อวิช าชีพครู โดยการให้ ทุนระหว่า งศึกษา และเมื่อ ส าเร็ จ
การศึกษาแล้ว ผู้รับทุนโครงการฯ จะต้องเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดที่สานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกาหนด ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 มีมติ
ให้ความเห็นชอบโครงการดังกล่าว โดยได้ดาเนินการ 3 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวัน 8 มิถุนายน
2547 ได้มีมติให้ปรับแผนการดาเนินโครงการนาร่อง 1 ปี จานวน 2,500 คน เพื่อประเมินผลการดาเนินงาน
ระยะเวลาดาเนินงานเพียงรุ่นเดียว คือ รุ่นปีการศึกษา 2547
25

ผลการดาเนินงานที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันฝุายผลิตครูในโครงการฯ 50 แห่ง รับ


นักศึกษารุ่นปีการศึกษา 2547 เพื่อรับทุนโครงการฯ ได้จานวน 2,139 คน ใน 8 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่
(1) คณิตศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ (3) ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษและภาษาจีน) (4) ภาษาไทย (5) สังคม
ศึกษา (6) นาฏศิลป์/ดุริยางคศิลปศึกษา (7) การศึกษาปฐมวัย และ (8) การศึกษาพิเศษ เมื่อนักศึกษาสาเร็จ
การศึ ก ษา และมี ค ะแนนเฉลี่ ย ไม่ ต่ าว่ า 2.75 ได้ รั บ การบรรจุ เ ข้ า รั บ ราชการเป็ น ครู สั ง กั ด ส านั ก งาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 2,042 คน เมื่อพฤษภาคม 2552
8) โครงการผลิตครูมืออาชีพ (ปี พ.ศ.2554-2563)
โครงการผลิตครูมืออาชีพ เดิมคือโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ (ครม. ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 8
ธันวาคม 2552) ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการผลิตครู
มืออาชีพ เพื่อให้ส อดคล้ องกับหลักการโครงการที่ต้องการผลิ ตครูมืออาชีพ และปรับเปลี่ยนองค์ประกอบ
คณะกรรมการที่ทาหน้าที่บริหารโครงการ ทั้ง 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ
และคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝุายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ
โครงการผลิตครูมืออาชีพ เป็นโครงการเพื่อผลิตครูมืออาชีพที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญ
วิชาชีพ และมีอุดมการณ์ในวิชาชีพครู โดยการดึงดูดคนดี คนเก่ง เข้ามาศึกษาวิชาชีพครูด้วยหลักสูตรและ
กระบวนการที่ เ น้ น การปฏิ บั ติแ ละการฝึ ก อบรมที่ เข้ ม ข้น ในสาขาวิช าและพื้ น ที่ที่ เป็ นความต้อ งการของ
หน่วยงานผู้ใช้ครู และดาเนินโครงการภายใต้คณะกรรมการ 2 ชุด คือ (1) คณะกรรมการบริหารโครงการ
(รั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงศึก ษาธิการเป็ น ประธาน) มีห น้า ที่กาหนดนโยบาย กรอบ และราย งานผลการ
ดาเนินงานของโครงการ กากับดูแล บริหารโครงการ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดาเนินงานโครงการ
และ (2) คณะกรรมการคัดเลือกสถาบัน ฝุายผลิ ตและนักศึกษาทุนโครงการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน)
มีหน้าที่จัดทาเกณฑ์และคัดเลือกสถาบันฝุายผลิต จัดทาเกณฑ์และดาเนินการคัดเลือกนักศึกษาทุนเข้าร่วม
โครงการ
แนวทางการด าเนิ น งาน/การคั ด เลื อ กผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการในแต่ ล ะรุ่ น เป็ น ไปตามนโยบาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ดารงตาแหน่งในขณะนั้นในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการ
ผลการดาเนินงานที่ผ่านมา คัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูที่ ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมโครงการ
สามารถคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จานวน 3 รุ่น รวมจานวน 3,975 คน จากเปูาหมาย 5,566
คน แบ่งเป็นการดาเนินงานภายใต้แนวทางโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ จานวน 2 รุ่น และโครงการผลิตครูมือ
อาชีพ จานวน 1 รุ่น ดังนี้
(1) โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นาร่อง รุ่นที่ 1 เป็นการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครู (หลักสูตร 5 ปี)
ที่ศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2552 เข้าร่วมโครงการในรูปแบบการประกันการมีงานทา (ไม่มีทุนการศึกษา)
โดยมีกระบวนการคัดเลือกสถาบันฝุายผลิตครูที่มีศักยภาพก่อนการคัด เลือกนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
สามารถคัดเลือกได้จานวน 920 คน จากเปูาหมาย 2,000 คน และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครูในสั งกัด
สพฐ. และสอศ. เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2554
26

(2) โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นาร่อง รุ่นที่ 2 เป็นการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครู (หลักสูตร 5 ปี) ที่


ศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2554 และดาเนินการคัดเลือกในรูปแบบเช่นเดียวกับรุ่นที่ 1 ซึ่งสามารถคัดเลือก
ได้จานวน 1,572 คน จากเปูาหมาย 2,000 คน และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครูในสังกัดสพฐ. และสอศ.
เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2553
(3) โครงการผลิตครูมืออาชีพ เป็นการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครู (หลักสูตร 5 ปี) ที่ศึกษาชั้นปีที่
4 ในปีการศึกษา 2554 โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการได้จานวน 1,483 คน จากเปูาหมาย 1,566 คน ซึ่ง
สพฐ. และสอศ. ได้บรรจุเข้ารับราชการครูเรียบร้อยแล้ว โดยมีแนวทางการคัดเลือก 3 แนวทางดังนี้
ก. คัดเลื อกสถาบั น ฝุ ายผลิ ตครูที่มีศัก ยภาพก่อนการคัดเลื อกนิ สิ ตนักศึกษาเช่นเดียวกั บ
โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่นาร่อง รุ่นที่ 1 และ 2 ที่รอผลการประกาศคัดเลือก เนื่องจากปรับเปลี่ยนรัฐมนตรี
และเมื่อมีการปรับ เป็น โครงการครู มืออาชีพจึงดาเนินการต่อเนื่อง โดยให้ ผู้ที่ผ่ านการคัดเลื อกแสดงความ
ประสงค์เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ ซึ่งมีผู้แสดงความประสงค์จานวน 735 คน
ข. ประกาศรับสมัครเพิ่มเติม และกาหนดวิ ธีการคัดเลือกโดยวิธีการจับฉลากทุกสถาบันฝุาย
ผลิตมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีการคัดเลือกฝุายผลิต เพื่อความเสมอภาคเป็นธรรม คัดเลือกได้จานวน 748 คน
นอกจากนีน้ โยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจาปีงบประมาณ 2558 ประกอบด้วย
นโยบายทั่วไป 5 ข้อ โดยข้อที่ 4 มีสาระสาคัญ คือ การส่งเสริมและยกสถานะของครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักใน
ระบบการศึกษา จะต้องให้ความสาคัญกับการสร้างเสริมให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงในสังคม เป็นบุคลากรที่
ได้รับ การยกย่องว่าเป็ นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิความรู้และทักษะในการสื่ อสาร
ถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ตลอดจนมีฐานะและคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับ
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558) ส่วนนโยบาย
เฉพาะ (ดาเนินการให้เห็นผลใน 1 ปี) มี 7 ข้อ โดยข้อที่ 4 มีสาระสาคัญ คือ การมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนาครู
และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาให้ มี คุ ณ ภาพ ส าหรั บ เป้ า หมายในการด าเนิ น นโยบาย มี ดั ง นี้ (ส านั ก งาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558)
1) มีแนวทางการพัฒนาระบบการผลิตครูให้เพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับอัตรากาลัง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และปรับระบบการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้เอื้อต่อการเพิ่ม
โอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมเข้ามาในระบบการศึกษา
2) ระบบการบริหารงานบุคคล การย้ายบรรจุ และการประเมินวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา มีมาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มศักยภาพในการให้การศึกษาและลดภาระงานที่ไม่จาเป็น รวมทั้งไม่
ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก
3) ครู และบุคลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณความเป็นครู การเป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่นใน
จรรยาบรรณวิชาชีพ
4) สามารถกาหนดแนวทางการพัฒนาตามเส้นทางอาชีพและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่าง
เป็นระบบ มีระบบสนับสนุนการพัฒนาตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเทคโนโลยี
27

สารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบคลังความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประเมินผลอย่างเป็น


รูปธรรม
5) มีแผนงานและโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยการ
พัฒนาระบบสวัสดิการที่มุ่งการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือที่ยั่งยืน และให้ความสาคัญกับการแก้ไขปัญหา
หนี้สินอย่างเป็นระบบ
1.3 การผลิตครูในต่างประเทศ
1) ฟินแลนด์
การฝึกหัดครูในฟินแลนด์เริ่มในปลายศตวรรษที่ 19 ประกอบด้วยหลักสูตรครูโรงเรียน
ประชาบาล (Folk School) เปิดสอนในวิทยาลัยครู และหลักสูตรครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเปิดสอนใน
มหาวิทยาลัย ต่อมาในยุค 1970 มีการปฏิรูปการศึกษา ทาให้เกิดการยกเลิกโรงเรียนทั้งสองประเภท ส่งผลให้
การฝึกหัดครูมีการปฏิรูปตามไปด้วย การฝึกหัดครูจึงมีการกาหนดวัตถุประสงค์ใหม่โดยแบ่งออกเป็น 2
หลักสูตรคือ (รสสุคนธ์ มกรมณี, 2553)
(1) หลักสูตรครูประจาชั้น (Class Teacher) ผลิตครูซึ่งทาหน้าที่สอนชั้นปีที่ 1-6 (ระดับ
ประถมศึกษา) โดยสอนทุกวิชาและอาจสอนระดับก่อนประถมศึกษาด้วย
(2) หลักสูตรครูประจาวิชา (Subject Teacher) ผลิตครูซึ่งทาหน้าที่สอนชั้นปีที่ 7-9 ใน
โรงเรียนแบบผสม (Comprehensive School) และสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ รวมทั้ง
สามารถสอนในสถาบันการศึกษาผู้ใหญ่แบบเสรี (Liberal Adult Education) และเป็นครูสอนวิชาแกนใน
สถาบันอาชีวศึกษาได้
ทั้งสองหลักสูตรจัดการเรียนการสอนโดยหน่วยงานครุศึกษา (Teacher Education Unit)
ของมหาวิทยาลัย และจัดในลักษณะดังกล่าวต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ส่วนการฝึกหัดครูอนุบาลเปลี่ยนมาจัดการ
เรียนการสอนโดยมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2538
สาหรับการผลิตครูที่จะไปสอนในสถาบันอาชีวศึกษาและโปลิเทคนิค มีความแตกต่างจากการ
ผลิตครูที่จะสอนในสถาบันการศึกษาทั่วไป เนื่องจากจะต้องจบหลักสูตรอาชีวศึกษาในสาขาที่ต้ องการสอน
เสียก่อน แล้วจึงศึกษาต่อด้านครุศึกษา ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 การฝึกหัดครูอาชีวศึกษาจัดโดยวิทยาลัยครู
อาชีวศึกษาซึ่งดาเนินการร่วมกันกับสถาบันโปลิเทคนิค
กระทรวงศึกษาธิการจัดทาโครงการพัฒนาครุศึกษา 2554-2548 โดยเน้น การคัดเลือก
นักศึกษา การศึกษาวิชาครู สถานภาพและความร่วมมือในการฝึกหัดครู และการศึกษาต่อเนื่องสาหรับครูและ
ครูของครู
หลักสูตรครูประจาชั้น จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานเทียบเท่าที่
เรียกว่าหน่วยงานครุศึกษา มหาวิทยาลัยหนึ่งแห่งอาจมีหน่วยงานครุศึกษาได้ถึง 2 หน่วยงาน หลักสูตรการ
ฝึกหัดครูในประเทศฟินแลนด์ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาฟินนิชมี 7 มหาวิทยาลัย และสอนด้วย
28

ภาษาสวีดิช 1 มหาวิทยาลัย การฝึกหัดครูประจาชั้นและครูอนุบาลจะจัดรวมกัน โดยระยะเวลาเรียนหลักสูตร


ครูอนุบาลจะใช้เวลา 3 ปี ส่วนครูประจาชั้นจะใช้เวลา 5 ปี
หน่วยงานครุศึกษาแต่ละแห่งจะมีโรงเรียนฝึกหัดครู (Teacher Training School) สาหรับ
การฝึกสอน การทดลอง การวิจัย และการศึกษาต่อเนื่อง โรงเรียนฝึกหัดครูอาจจัดเป็นโรงเรียนที่มีระดับชั้นปีที่
1-6 ของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือชั้นปีที่ 7-9 ของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลาย หรือมีทุกระดับชั้น รวมทั้งอาจมีระดับก่อนประถมศึกษาด้วยก็ได้
หลักสูตรครูประจาวิชา จัดการเรียนการสอนโดยคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งสอนวิชา
ต่างๆ ซึ่งครูจะต้องสอนในโรงเรียน ส่วนวิชาครูจะจัดการเรียนการสอนโดยหน่วยงานครุศึกษาซึ่งอยู่ภายใน
คณะศึกษาศาสตร์ การฝึกสอนที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาครู จะจัดในโรงเรียนฝึกหัดครูของมหาวิทยาลัยและ
ในโรงเรียนร่วมพัฒนา หลักสูตรครูประจาวิชาศิลปะจัดโดยวิทยาลัยศิลปะ
ในการฝึกหัดครูประจาวิชา นักศึกษาจะเริ่มจากการสมัครเข้าเรียนสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งใน
คณะที่มีวิชาที่ต้องการสอนในโรงเรียน เมื่อเรียนไปแล้ว 1 หรือ 2 ปี จึงสมัครเข้าเรียนหลักสูตรครูประจาวิชา
บางมหาวิทยาลัยและบางคณะ ให้นักศึกษาสมัครเรียนหลักสูตรครูประจาวิชาโดยตรง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ การจัด
หลักสูตรจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชา/หน่วยงานครุศึกษา ภาควิชาสาระการเรียนรู้ และโรงเรียนฝึกหัด
ครู โดยภาควิชา/หน่วยงานครุศึกษารับผิดชอบในการสอนวิชาชีพครู ส่วนภาควิชาสาระการเรียนรู้จัดการเรียน
การสอนวิชาที่จะไปสอนในโรงเรียน การเรียนทั้งสองส่วนจะดาเนินไปพร้อมๆ กัน โดยมีทั้งการเรียนแบบ
คู่ขนานกันไปและเรียนแบบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งนี้ หลักสูตรครูประจาวิชาใช้เวลา 5-6 ปี
การศึกษาวิชาครูจะมีทั้งทฤษฎีและปฏิ บัติ โดยกาหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
(ECTS) จากจานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรของหลักสูตรครูประจาชั้นและครูประจาวิชา (300 ECTS)
และหลักสูตรครูอนุบาล (180 ECTS) ทั้งนี้การฝึกปฏิบัติในวิชาครูสาหรับหลักสูตรครูประจาชั้นและครูประจา
วิชา จะเป็นการฝึกสอนจานวน 20 ECTS และ 25 ECTS สาหรับหลักสูตรครูอนุบาล
ระบบการฝึกหัดครูมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่รับผิดชอบด้านวิชาการศึกษาจะขึ้นอยู่กับคณะ
ศึ ก ษาศาสตร์ อี ก ส่ ว นจะเป็ น ความร่ ว มมื อ กั บ คณะต่ า งๆ ที่ ส อนวิ ช าซึ่ ง จะน าไปสอนในโรงเรี ย น
คณะศึกษาศาสตร์รับผิดชอบการจัดหลักสูตรครูอนุบาล ครูประจาชั้น ครูการศึกษาพิเศษ และครูแนะแนว
รวมทั้งหลักสูตรครูประจาวิชาคหกรรม วิชางานสิ่งทอ วิชางานเทคนิค และบางแห่งจัดหลักสูตรครูประจาวิชา
ดนตรีด้วย ส่วนวิชาอื่นๆ จัดในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาควิชา/หน่วยงานครุศึกษา ภาควิชาสาระการ
เรียนรู้ และวิทยาลัยศิลปะ
การเข้าเรี ยนหลักสูตรครูประจาชั้น จะเป็นการคัดเลื อกโดยการสอบเข้า ประกอบด้ว ย
การสอบข้อเขียน การสอบวัดความถนัด และการสัมภาษณ์ บางมหาวิทยาลัยมีการให้ทางานกลุ่มและสาธิต
ทักษะบางอย่างในการสอบเข้า ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้สมัครหลักสูตรครูอนุบาลส่วนใหญ่จะเหมือนกับครูประจา
ชั้น
สาหรับผู้ที่ต้องการเป็นครูประจาวิชา ต้องสมัครเรียนตามขั้นตอนปกติในคณะและภาควิชาที่
เปิดสาขาวิชาที่ตนต้องการ สอนในโรงเรียน เช่น คณิตศาสตร์ หลังจากที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนแล้ว
29

หากสนใจจะเป็นครูประจาวิชา จะต้องสมัครเรียนหลักสูตรครูประจาวิชาอีกครั้ง ซึ่งการรับเข้าเรียนครู ขึ้นอยู่


กับผลการสอบวัดความถนัดเพียงอย่างเดียว หรือขึ้นอยู่กับการสอบวัดความถนัดและประวัติผลการเรียน
มหาวิทยาลัยหลายแห่งกาลังทดลองเปิดหลักสูตรครูประจาวิชาที่รับสมัครเข้า เรียนโดยตรง
นักศึกษาที่ไม่ได้สมัครเรียนหลักสูตรครูประจาวิชา สามารถสาเร็จการศึกษาในฐานะครูประจา
วิชาได้ ด้วยการเรียนวิชาชีพครูแยกต่างหาก หลังจากสาเร็จการศึกษาในวิชาที่ต้องการสอนแล้ว ทั้งนี้ ผู้สมัคร
จะต้องผ่านการสอบวัดความถนั ด นอกจากนั้น ยังมีความเป็นไปได้สาหรับครูประจาชั้นที่จะได้รับวุฒิควบ
ซึ่งทาให้สามารถสอนวิชาใดวิชาหนึ่งในระดับชั้นปีที่ 1-9 ได้
นักศึกษาที่เข้าเรียนหลักสูตรครูประจาชั้น หรือหลักสูตรการศึกษาอื่นๆ มาแล้ว (มีวุฒิศึกษา
ไม่ต่ากว่าปริญญาตรี) สามารถสมัครเรียนหลักสูตรครูการศึกษาพิเศษแบบแยกต่างหากได้ โดยการสอบเข้า
ทั้งนี้มีหลักสูตรครูการศึกษาพิเศษระดับก่อนประถมศึกษาสาหรับครูอนุบาลด้วย หลักสูตรครูการศึกษาพิเศษมี
ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท สามารถสมัครเข้าเรียนได้ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและข้อกาหนดเฉพาะ
ของหลักสูตร
2) ประเทศสวีเดน
สวีเดนจัดการฝึกหัดครูในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย 25 แห่ง มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดสอน
การฝึกหัดครูหลักสูตรครูศิลปะ สาขาศิลปะปฏิบัติ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรการเป็นครูจะได้รับหลังจาก
การเรียนเต็มเวลาประมาณ 3-5 ปีครึ่ง ขึ้นอยู่กับระดับของนักเรียนที่จะไปสอน และจานวนหน่วยกิตที่จะต้อง
เรียน หลักสูตรฝึกหัดครูระยะสั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง เป็นการจัดสาหรับผู้ที่ได้รับปริญญาตรีหรือ
ปริญญาโทมาแล้ว โดยกาหนดให้เรียนวิชาทั่วไปและวิชาเฉพาะ เช่น กีฬา ภาษาต่างประเทศ ครูสอนเด็ก
การศึกษาพิเศษได้รับการฝึกเป็นพิเศษ (รสสุคนธ์ มกรมณี, 2553)
การฝึกหัดครูของสวีเดนเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2405 มีการจัดตั้งสถาบันฝึกหัดครู 9 แห่ง โดย 6
แห่งสาหรับการฝึกหัดครูชายและ 3 แห่งสาหรับการฝึกหัดครูหญิง สถาบันฝึกหัดครูเหล่านี้เป็นขององค์กรทาง
ศาสนา ทั้งเนื้อหาและการจัดองค์กรในระยะแรกจะกาหนดจากส่ วนกลาง วิชาหลักที่สอน ได้แก่ ศาสนาคริสต์
ภาษาสวีเดน คณิตศาสตร์ และการร้องเพลง ส่วนภาษาต่างประเทศเปิดสอนใน พ.ศ.2456 การฝึกหัดครู
ขณะนั้นใช้เวลา 2 ปี และขยายเป็น 4 ปีในเวลาต่อมา
พ.ศ.2493 มีการจัดตั้งวิทยาลัยครูแบบเบ็ดเสร็จขึ้น 6 แห่ง แต่การฝึกหัดครูสอนเด็กก่อนวัย
เรียนและประถมศึกษายังดาเนินต่อไปในโรงเรียน ฝึกหัดครูประถมศึกษาระยะหนึ่ง แล้วจึงเปลี่ยนจากโรงเรียน
เป็นวิทยาลัยครูขนาดเล็ก ในปี พ.ศ.2511 มหาวิทยาลัยเข้ามาแทนสถาบันฝึกหัดครู และเกิดการเปลี่ยนแปลง
ครั้ งส าคัญคื อการปฏิรู ป การฝึ กหั ดครู ในระดับประเทศ สถาบันฝึ กหั ด ครูเปลี่ ยนไปเป็นมหาวิ ทยาลั ยหรื อ
วิทยาลัยในเวลาต่อมา การฝึกหัดครูในปัจจุบันสามารถเรียนกับ Swedish Net University ซึ่งเป็นสถาบันที่
เรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทาให้การเข้าถึงการฝึกหัดครูมีจานวนมากขึ้น
พ.ศ.2544 มีหลักสูตรที่ให้ปริญญาทางครูแบบบูรณาการ คือเริ่มจากระดับก่อนประถมศึกษา
ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยให้ทุกคนเรียนวิชาพื้นฐานสมรรถนะครู พร้อมกับเรียนวิชาเฉพาะที่จะไป
สอนหรือสาขาวิชาที่จะไปสอน
30

ครูการศึกษาปฐมวัย (Pre-school Teachers) ได้รับการฝึกในโรงเรียนฝึกหัดครูการศึกษา


ปฐมวัย โดยเฉพาะซึ่งใช้เวลา 2 ปี ส่ ว นการฝึ กผู้ ดูแลเด็กวัยเรียนตามศูนย์สั นทนาการ (Leisure-times
Centres) มีการดาเนินงานโดยปราศจากกฎระเบียบสนับสนุนและมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะ
เป็นหลักสูตรพิเศษใช้เวลาประมาณ 2 ปี เปิดสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสอนแบบการศึกษา
ผู้ใหญ่ในวิทยาลัยครูหรือสถาบันฝึกหัดครูการศึกษาปฐมวัย การฝึกหัดผู้ดูแลเด็กตามศูนย์สันทนาการจัดเป็น
โปรแกรมการศึกษาซ่อมเสริม หรือจัดเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมตลาดแรงงาน
การฝึกหัดครูระดับประถมศึกษาเริ่มต้นจัดกันอย่างอิสระ โดยปราศจากการสนับสนุนของรัฐ
ใช้เวลาสั้น นักศึกษาส่วนมากเป็นผู้หญิง ต่อมาในปี พ.ศ.2474 รัฐเข้ามารับผิดชอบการฝึกหัดครู ทาให้การ
ฝึกหัดครูระดับนี้ขยายเป็น 2 ปี เมื่อประกาศให้มีการศึกษาภาคบังคับใน ค.ศ.2505 การฝึกหัดครูแต่ละ
ประเภทได้รับการฝึกอบรมทางด้านวิชาครูที่คล้ายกัน เพื่อลดความแตกต่างระหว่างครูระดับการศึกษาปฐมวั ย
กับครูระดับมัธยมศึกษา ทั้งนี้ กาหนดให้การฝึกสอนในโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกหัดครู
พ.ศ.2531 มีการนาระบบการฝึกหัดครูใหม่มาใช้ ให้มีปริญญาทางครูสาหรับครูการศึกษาภาค
บังคับเพียงปริญญาเดียว แทนปริญญาจากโปรแกรมการฝึกหัดครูที่เคยมีอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เพื่ อทาให้
การศึกษาภาคบังคับมีความสอดคล้องกัน การบูรณาการการฝึกหัดครูใน พ.ศ.2544 ทาให้ปริญญาครูการศึกษา
บังคับถูกแทนที่ด้วยปริญญาครูช่วงชั้นต่างๆ ของการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งตามโครงสร้างใหม่นี้ ครูทุกคนจะ
ได้รับการฝึกอบรมสมรรถนะพื้นฐานและวิชาเฉพาะที่สอนเด็กวัยต่างๆ
ประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดขึ้นใน พ.ศ.2535/2536 นาไปสู่การฝึกหัดครู
แยกประเภท โปรแกรมใหม่นี้ทาให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามารับการฝึกหัดครูเพิ่มเติมได้ การฝึกหัดครูสาหรับ
มัธยมศึกษาตอนปลายมุ่งจัดระบบการฝึกหัดครูทั้งภาคทฤษฎี และวิชาชีพ โดยมองเห็นว่าความยืดหยุ่นในการ
ฝึกหัดครู จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ในการสนองความต้องการครูประเภทต่างๆ ของโรงเรียน ใน พ.ศ.2544
ปริญญาครูแบบบูรณาการถูกแทนที่ด้วยปริญญาตรีการฝึกหัดครูที่แยกออกเป็นครู การศึกษาภาคบังคับและครู
มัธยมศึกษาตอนปลาย
จากการที่การฝึกหัดครูดาเนินงานในมหาวิ ทยาลัยและวิทยาลัย 25 แห่ง และมีปริญญาเดียว
จึงหมายความว่าครูทุกคนต้องรับการฝึกอบรมเหมือนกัน ทั้งในด้านสมรรถนะพื้นฐานของครู วิชาเฉพาะที่จะ
นาไปสอน หรือสาขาวิชาที่จะสอนตามกลุ่มอายุของเด็ก การฝึกหัดครูใช้เวลาระหว่าง 3-5 ปีครึ่ง ขึ้นอยู่กับวิชา
ที่จะสอนและระดับนักเรียนที่จะสอน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนภายใต้การนิเทศของอาจารย์
จะใช้เวลา 1/6 ของวิชาทั่วไปและ 1/4 ของแต่ละวิชาเฉพาะด้าน
ในการรับเข้าเป็นนักเรียนฝึกหัดครู จะต้องสาเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า
ต้องผ่านร้อยละ 90 ของ 2,500 หน่วยกิตจากมัธยมปลาย ผู้ที่ผ่านการศึกษาผู้ใหญ่ซึ่งมีหน่วยกิตไม่ถึง 2,500
จาเป็นต้องทาให้ได้ถึง 2,500 จึงจะมีสิทธิ์เข้าเรียนการฝึกหัดครู
หลักสูตรทักษะพิเศษและสาขาวิชาเฉพาะที่นักศึกษาครูสามารถเลือกเรียนได้มีดังนี้
31

(1) หลักสูตร 3.5 ปี สาหรับครูสอนในระดับการศึกษาก่อนประถมศึกษา ชั้นเด็กเล็ก หรือ


ระดับล่างของการศึกษาภาคบังคับ รวมถึงครูที่จะดูแลและสอนเสริมแก่เด็กวัยเรียนซึ่งไปรับการอบรมเพิ่มเติม
ในศูนย์เด็กและการสอนเสริมภาษาสวีเดน
(2) หลักสูตร 4 ปี สาหรับครูสอนการศึกษาภาคบังคับระดับปลาย รวมทั้งผู้ที่จะสอนระดับ
มัธยมปลาย ยกเว้นครูที่จะสอนวิชาอาชีวะศึกษาในระดับมัธยมปลาย ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาใช้เวลา
ฝึก 1.5 ปี
(3) หลักสูตร 3 ปี สาหรับครูสอนวิชาเฉพาะในโปรแกรมอาชีวศึกษาระดับมัธยมปลาย
จะจั ด เป็ น โปรแกรมที่ ฝึ ก หลายๆ วิ ช า โดยไม่ เ น้ น เชี่ ย วชาญเฉพาะวิ ช าใดวิ ช าหนึ่ ง รวมทั้ ง เรี ย นวิ ช าใน
ระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีก 1.5 ปี หรือเทียบเท่า
หลักสูตรการฝึกหัดครูประกอบด้วย 3 สาขา และบูรณาการเข้าด้วยกันดังนี้
(1) สาขาการศึกษาทั่วไป ซึ่งนักศึกษาครูทุกคนต้องเรียน อาทิ การเรียนรู้ การศึกษาพิเศษ
การปรับตัวเข้าสู่สังคม ค่านิยมพื้นฐาน รวมทั้งวิชาสหวิทยาการทั่วไป ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1.5 ปีเป็นอย่างน้อย
(2) สาขาวิชาที่ครูตั้งใจจะไปสอน ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี
(3) สาขาวิชาพิเศษเพิ่มเติมอย่างน้อยที่สุด 1 ภาคเรียนเพิ่มเติมจากที่เรียนมาก่อน
สาขาการศึกษาทั่วไปต้องมีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่โรงเรียน โดยใช้เวลาอย่างน้อย 1
ภาคเรียน การจะได้รับใบประกอบวิชาชีพครูต้องทาโครงการอิสระให้สอดคล้องกับงานที่จะไปสอน ใช้เวลา
อย่างน้อย 1 ภาคเรียน
โปรแกรมการฝึกหัดครูจะเน้นความสาคัญของการศึกษาพิเศษ เพื่อช่วยให้ครูสามารถรู้ปัญหา
ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแก่เด็กในโรงเรียนได้แต่เนิ่นๆ จะได้สามารถช่วยเหลือเด็กให้ทันท่วงที นักศึกษาครูทุกคนต้อง
เรียนวิชาการศึกษาพิเศษ และสามารถศึกษาวิชาการศึกษาพิเศษด้านใดด้านหนึ่งอย่างลึกซึ้งโดยการเรียน
เพิ่มเติมได้
การประเมินผลการฝึกหัดครูดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยการสอบข้อเขียนและสอบปาก
เปล่า นักศึกษาที่จะได้ปริญญาด้านครูต้องมีความรู้ และทักษะที่จาเป็นต่อการดาเนิน งานให้บรรลุวัตถุประสงค์
ของการศึกษาระดับที่เลือกเรียน และต้องสามารถพัฒนากิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและคู่มือ
ที่กาหนดไว้ นอกจากนี้แล้ว นักศึกษาต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
(1) สามารถสอนความรู้ในวิชาหรือสาขาวิชาเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาต่อไป
ได้
(2) วิเคราะห์ ประเมิน บันทึกและเรียนรู้พัฒนาการของเด็กตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
รวมทั้งแจ้งและร่วมมือกับผู้ปกครองของเด็ก
(3) สอนและปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานของสังคมและระบอบประชาธิปไตย
(4) คุ้นเคยกับกฎ ระเบียบและวัตถุประสงค์ของการศึกษา ปูองกันการกีดกัน และการปฏิบัติ
อย่างไม่เท่าเทียมกัน
32

(5) วิ เ คราะห์ แ ละมี ค วามเห็ น เกี่ ย วกั บ ปั ญ หาทั่ ว ไป สภาพแวดล้ อ มของชี วิ ต และ
การเปลี่ยนแปลงของโลก
(6) ตระหนักในความสาคัญของความแตกต่างทางเพศในการสอนระหว่างการนาเสนอ
เนื้อหาวิชาต่างๆ
(7) ทางานร่วมกับผู้อื่นและทางานด้วยตนเองอย่างอิสระในการวางแผน นาแผนไปปฏิบัติ
ประเมิน และพัฒนากิจกรรมการสอน กิจกรรมทางการศึกษา และการบริหารการสอนของตนเอง
(8) จัดระบบและใช้ประสบการณ์ของตนและประสบการณ์ของคนอื่น รวมทั้งผลงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาชีพของตน
(9) ใช้ ICT ในการพัฒนาการศึกษาและมองเห็นความสาคัญของสื่อในบริบทการพัฒนา
การศึกษา
นอกจากนี้ นักศึกษาครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับทักษะการอ่านและการเขียน และกระบวนการ
เรียนรู้ของผู้เรียน นักศึกษาครูที่สอนระดับก่อนประถมศึกษา ชั้นเด็กเล็ก และมัธยมศึกษาตอนต้น ต้องมีความรู้
อย่างลึกซึ้งในวิชาการอ่าน ทักษะการเขียน และมีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์

2. นโยบายใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการวิ จั ย ครั้ ง นี้ ได้ ศึ กษาเอกสารและงานวิจั ย ที่เ กี่ ยวข้ อง ทั้ง ในประเทศและต่ า งประเทศ อาทิ
ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้ครูของสถานศึกษาของประเทศไทยนั้น เปลี่ยนแปลง
ไปตามวัน เวลา และความต้ องการตอบสนองนโยบายของรั ฐ ทั้ งทางด้ านสั งคม เศรษฐกิจ และการเมือ ง
การปกครอง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จากรายงาน
การวิจัยโครงการการศึกษาวิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน และโอกาส/ความคาดหวังในอนาคตของการผลิตครู ใน
ประเทศไทย ของวิชุดา กิจธรธรรมและคณะ (2554) พบว่า ประเทศไทยได้มีการกาหนดแผนการผลิตและ
พั ฒ นาครู เ พื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของประเทศ คื อ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ และ
แผนพัฒ นาการศึกษาแห่ งชาติ มีการออกกฎหมายเพื่อส่ งเสริมการพัฒ นาการศึกษาไทย และการพัฒ นา
การศึกษาแห่งชาติเพื่อพัฒนาครูและผู้เรียนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ แต่อุปสรรค
ที่ส าคัญคื อการด าเนิ น นโยบายไม่ มีความต่อเนื่อ ง ไม่ผู ก พัน กับวาระการบริห ารงานของรัฐ บาลแต่ล ะชุ ด
นอกจากนี้ ในรายงานวิจั ย ยั งเสนอแนะว่า ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒ นานโยบายการผลิ ตครูให้ ส อดคล้ อ งกับ
ทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตทั้งระยะสั้ นและระยะยาว ดังนั้นควรมีการกาหนดเปูาหมายของการ
พัฒนาคุณภาพครู คุณภาพการผลิตครูและคุณภาพของสถาบันการผลิตครูที่สอดคล้องกับเปูาหมายและทิศทาง
ของการพัฒนาประเทศโดยความร่วมมือของทุกฝุาย
2.1 แนวคิดในการวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การคาดการณ์กาลังคนในองค์กรนั้น มีหลักคิดคานวณมาจากสมการพื้นฐานที่นิยมใช้เป็นแนวทางใน
การวางแผนกาลังคนทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้ (พะยอม วงศ์สารศรี, 2538: 62)
33

จานวนกาลังคนที่ต้องการเพิ่มขึ้น = จานวนกาลังคนที่ต้องการทั้งหมด – จานวนกาลังคนที่มีอยู่จริง


โดยที่จานวนกาลังคนที่ต้องการทั้งหมด คิดคานวณได้จากสมการ

จานวนกาลังคนที่ต้องการทั้งหมด = ปริมาณงานทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
ปริมาณงานที่คนหนึ่งทาได้ในนึ่งหน่วยเวลา

กระบวนการวางแผนกาลังคน มีองค์ประกอบสาคัญ 3 ด้าน คือ (ธงชัย สันติวงษ์, 2546: 135)


1. กาลังบุคคลที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Manpower Inventory) โดยหน่วยงานต้องมีข้อมูลกาลังคนใน
ปัจจุบันทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
2. การคาดการณ์กาลังบุคคลในอนาคต (Manpower Forecast) หน่วยงานต้องมีการคาดการณ์และ
ระบุไว้ให้พร้อมว่า ในอนาคตต้องการบุคคลจานวนเท่าใด ประเภทใดบ้างตลอดจนระบุรายละเอียดถึง
คุณสมบัติต่างๆ เช่น ความชานาญงาน พื้นฐานการศึกษา และประสบการณ์
3. แผนกาลังคน (Manpower Plans) เป็นแผนเฉพาะที่ใช้แน่นอนสาหรับนามาใช้ปฏิบัติเพื่อเสริม
ส่วนที่ขาดระหว่างข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นจากกาลังคนที่คาดการณ์และกาลังคนที่มีอยู่
จากหลักคิดคานวณสมการพื้นฐานและกระบวนการวางแผนกาลังคน สามารถนามากาหนดแนวทาง
วางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ได้ดังนี้
ก. การกาหนดปริมาณงานในสถานศึกษา
การกาหนดปริมาณงานในสถานศึกษาเป็นการกาหนดโดยแบ่งงานออกเป็น 3 ด้านคือ
1) ปริมาณงานด้านการบริหารสถานศึกษา
ปริมาณงานด้านการบริหารสถานศึกษา หมายถึง จานวนชั่วโมงปฏิบัติงานของด้านการ
บริหารในสถานศึกษาในหนึ่งสัปดาห์ของผู้อานวยการสถานศึกษา รองผู้อานวยการ สถานศึกษา
2) ปริมาณงานด้านการสอน
ปริมาณงานด้านการสอน เป็นปริมาณงานที่สามารถรวบรวมได้จาก ข้อมูลจานวน
นักเรียนในปัจจุบัน (ณ วันที่ 10 มิถุนายนของทุกปี) สถิติการรับนักเรียนของสถานศึกษา จานวนชั่วโมง
ปฏิบัติงานสอนในหนึ่งสัปดาห์ของข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง
ข้อมูลจานวนนักเรียนในปัจจุบัน หมายถึง ข้อมูลจานวนนักเรียนที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน
(ณ วันที่ 10 มิถุนายนของทุกปี) โดยนับจานวนนักเรียนแยกตามระดับชั้นและในระดับชั้นให้แยกจัดเป็ น
ห้องเรียน เช่น มีจานวนนักเรียนในระดับชั้น ม.1 จานวน 3 ห้อง นักเรียนห้อง ม.1/1จานวน 40 คน นักเรียน
ห้อง ม.1/2 จานวน 39 คน นักเรียนห้อง ม.1/3 จานวน 42 คน เป็นต้น
สถิติการรับนักเรียนของสถานศึกษา หมายถึง ข้อมูลการสมัครและการรับนักเรียน
ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา
จานวนชั่วโมงสอนของครู หมายถึง จานวนชั่วโมงที่ปฏิบัติงานสอน (Teaching Load)
ในหนึ่งสัปดาห์ของข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง
34

3) ปริมาณงานอื่น
ปริมาณงานอื่น หมายถึง ปริมาณงานอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานด้านการบริหารสถานศึกษา
และปริมาณงานด้านการสอน ซึ่งได้แก่ จานวนชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนในหนึ่งสัปดาห์ของ
ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาและอัตราจ้างที่มีชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอน
จานวนชั่วโมงปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนของครู หมายถึง จานวนชั่วโมงปฏิบัติงาน
สนับสนุนการสอนในหนึ่งสัปดาห์ของบุคลากรทางการศึกษาและอัตราจ้างที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการสอน
ข. การกาหนดปริมาณงานที่คนหนึ่งคนทาได้ในหนึ่งหน่วยเวลา
การกาหนดปริมาณงานที่คนหนึ่งคนทาได้ในหนึ่งหน่วยเวลา หมายถึง การกาหนดปริมาณงานประเภท
ต่างๆ ในสถานศึกษา ซึ่งได้แก่ งานบริหารสถานศึกษา งานสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และงาน
สนับสนุนการสอน ซึ่งในการกาหนดปริมาณงานที่คนหนึ่งคนสามารถปฏิบัติได้ในหนึ่งหน่วยเวลาของการ
วางแผนกาลังคนในสถานศึกษานี้ เป็นการกาหนดจากเกณฑ์มาตรฐานอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
1) เกณฑ์มาตรฐานอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
จานวนอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษากาหนดจาก
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสานักงาน ก.ค. โดยเกณฑ์มาตรฐาน
อัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสานักงานการคณะกรรมการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันเป็นดังนี้
1.1 เกณฑ์มาตรฐานอัตรากาลังข้าราชการครูสายงานการสอนในสถานศึกษาใน
ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
35

กรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา


นักเรียน นักเรียน นักเรียน นักเรียน นักเรียน นักเรียน
รายการ
20 คนลงมา 21 – 40 คน 41 – 60 คน 61 – 80 คน 81 – 100 คน 101 – 120 คน
ผู้สอน 1 2 3 4 5 6

กรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา


จานวนครูสายงานการสอน จานวนห้องเรียน x นักเรียน : ห้อง นักเรียนทั้งหมด
+
ก่อนประถมศึกษา นักเรียน : ครู นักเรียน : ครู
2
นักเรียน : ห้อง = 30 : 1
นักเรียน : ครู = 25 : 1
ประถมศึกษา จานวนห้องเรียน x นักเรียน : ห้อง นักเรียนทั้งหมด
+
นักเรียน : ครู นักเรียน : ครู
2
นักเรียน : ห้อง = 40 : 1
นักเรียน : ครู = 25 : 1
มัธยมศึกษา na
X=
b
X = จานวนครู
n = จานวนห้องเรียน
a = จานวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1
b = จานวนนักเรียน : ครู = 20 : 1
เงื่อนไข
– การคิดจานวนห้องเรียนแต่ละชั้นหากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจานวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์
1.2 เกณฑ์มาตรฐานอัตรากาลังข้าราชการครูสายงานการบริหารในสถานศึกษาใน
ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
กรณีที่ 1 โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ากว่า 360 คน มีผู้บริหาร 1 คน
กรณีที่ 2 โรงเรียนที่มีนักเรียน 360 คน ขึ้นไป
36

จานวนนักเรียน (คน) ผู้บริหาร (คน) ผู้ช่วยผู้บริหาร (คน)


360 – 719 1 1
720 – 1,079 1 2
1,080 – 1,679 1 3
1,680 ขึ้นไป 1 4

1.3 เกณฑ์มาตรฐานอัตรากาลังบุคลากรสนับสนุนการสอน ประมาณร้อยละ 10


ของจานวนข้าราชการครูสายงานการสอน โดยพิจารณาตามความจาเป็น ดังนี้
(1) โภชนาการ (2) อนามัยโรงเรียน (3) บรรณารักษ์
(4) การเงิน (5) ธุรการ (6) บันทึกข้อมูล
(7) โสตทัศนศึกษา (8) คอมพิวเตอร์ (9) ทะเบียนวัดผล
(10) พัสดุ (11) แนะแนว
2) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศที่มี
จุดประสงค์ที่จะพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย
(สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ออนไลน์ ) โดยได้กาหนดเนื้อหาความรู้ออกเป็นกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ 8 กลุ่ม คือ
(1) ภาษาไทย
(2) คณิตศาสตร์
(3) วิทยาศาสตร์
(4) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(5) สุขศึกษาและพลศึกษา
(6) ศิลปะ
(7) การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(8) ภาษาต่างประเทศ
และได้แบ่งเวลาเรียนออกเป็นช่วงชั้นดังนี้
(1) ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3
เรียนปีละประมาณ 800–1,000 ชั่วโมง โดยเรียนวันละประมาณ 4–5 ชั่วโมง และ
ควรใช้เวลาเรียนในกลุ่มภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ร้อยละ 50 ของเวลาเรียน ทั้งหมด ส่วนเวลาที่เหลือก็ใช้
สอนให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
(2) ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6
37

เรียนปีละประมาณ 800–1,000 ชั่วโมง โดยเรียนวันละประมาณ 4–5 ชั่วโมง และใช้


เวลาเรียนในกลุ่มภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ร้อยละ 40 ของเวลาเรียนทั้งหมดโดยให้เวลากับกลุ่ม
วิทยาศาสตร์มากขึ้น
(3) ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3
เรียนปีละประมาณ 1,000–1,200 ชั่วโมง โดยเรียนวันละประมาณ 5–6 ชั่วโมง และ
ใช้เวลาเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มภาษาไทย คณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ ยังคงให้ความสาคัญกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งควรจัดเวลาเรียนให้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
(4) ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4–6
เรียนปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมง ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาคโดยคิดน้าหนักของ
รายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้าหนักวิชา 1 หน่วยกิต และมีเวลาเรียนวัน
ละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง การจัดเวลาเรียนและสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นนี้ เป็นการเริ่มเข้าสู่การเรียนเฉพาะ
สาขา จึงให้มีการเลือกเรียนในบางรายวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดทา “รายวิชาเพิ่มเติมใหม่”
หรือบางรายวิชาที่น่าสนใจหรือมีความยากในระดับสูง
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศที่ มีมุ่ง
พัฒนาผู้เรียนทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสานึกในความเป็นพลเมือง
ไทยและเป็นพลโลกที่ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยได้กาหนดเนื้อหาความรู้ออกเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม คือ (สิรินธรราชวิทยาลัย, ออนไลน์)
(1) ภาษาไทย
(2) คณิตศาสตร์
(3) วิทยาศาสตร์
(4) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(5) สุขศึกษาและพลศึกษา
(6) ศิลปะ
(7) การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(8) ภาษาต่างประเทศ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดระดับการศึกษาเป็น 3 ระดับ ดังนี้
(1) ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) การศึกษาช่วงนี้เป็นช่วงแรกของ
การศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคานวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน
การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง
สมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบ
บูรณาการ
(2) ระดับมัธ ยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นช่วงสุ ดท้ายของ
การศึกษาภาคบั งคับ มุ่งเน้น ให้ ผู้เรี ย นได้ส ารวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่ งเสริมการพัฒ นา
38

บุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดาเนินชีวิต


มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้าน
ความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภาคภู มิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบ
อาชีพหรือการศึกษาต่อ
(3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) การศึกษาระดับนี้เน้นการ
เพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนา
ความรู้ ไปประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ มุ่งพัฒ นาตนและประเทศตาม
บทบาทของตน สามารถเป็นผู้นาและสามารถบริการชุมชนในด้านต่างๆ
2.2 การวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเป็นประโยชน์ที่
นาไปใช้ในเรื่องการบริหารงานบุคคลได้ดังนี้
1) สามารถนาไปใช้วางแผนกาหนดจานวนอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องรับปริมาณงานที่แท้จริง
2) นาไปใช้ในการสับเปลี่ยนโยกย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยที่ผู้ย้ายได้
ย้ายไปยังสถานศึกษาที่ต้องการและสถานศึกษาก็ได้ข้าราชการครูที่ตรงกับกลุ่มสาระที่ต้องการเช่นกัน
3) นาไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
โดยสถานศึ กษาจะทราบถึ งความต้อ งการพัฒ นาข้าราชการครู ในด้า นใดเพื่อท าให้ เพิ่มประสิ ทธิภ าพการ
ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
4) ฝุายผลิตข้าราชการครูสามารถนาไปวางแผนการผลิตข้าราชการครูให้สอดคล้องกับความ
ต้องการใช้อัตรากาลังคนของสถานศึกษา
การวางแผนกาลังคนในระดับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นกับ
ระดับของการจัดการศึกษาและบุคลากรในแต่ละส่วนงานอีกด้วย
1. การวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาระดับ
สถานศึกษา ได้สร้างแบบรวบรวมข้อมูล จานวน 6 แบบและแบบวิเคราะห์ผลการวางแผนกาลังคน จานวน 7
แบบ โดยจัดทาเป็นโปรแกรมประมวลผลสาเร็จรูปในการรายงานการวางแผนกาลังคน เพื่อให้สถานศึกษาและ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามีความสะดวกในการวางแผนกาลังคน จึงขอทาความเข้าใจกับแบบรวบรวมข้อมูล
และวิเคราะห์ผลการวางแผนกาลังคน จานวน 13 แบบ ดังนี้
1) แบบ ก.ค.ศ.1
เป็นแบบรวบรวมข้อมูลแผนกาลังคนในสถานศึกษา ประกอบไปด้วย ชื่อสถานศึกษา ที่อยู่
จานวนห้องเรียน จานวนนักเรียน ห้องเรียน ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน ตลอดจนจานวน
นักเรียนที่สถานศึกษาคาดว่าจะสามารถรับได้ ล่วงหน้า 3 ปีการศึกษา
39

2) แบบ ก.ค.ศ.2
เป็นแบบรวบรวมข้อมูลแผนการเปิดห้องเรียนในช่วงชั้นที่ 4 (ม.4 – ม.6) ตั้งแต่ในปีการศึกษา
ปัจจุบัน และล่วงหน้า 3 ปีการศึกษา โดยจาแนกเป็นกลุ่มวิชาต่างๆ ที่สถานศึกษาเปิดสอนตามสาระการเรียนรู้
ที่เน้น เช่น กลุ่มวิทย์–คณิต กลุ่มศิลป์–คานวณ เป็นต้น
3) แบบ ก.ค.ศ.3
เป็ นแบบรวบรวมข้อมูลจ านวนผู้ส มัครเข้าเรียนและการรับเข้าเรียนของสถานศึกษาในปี
การศึกษาปัจจุบัน และย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา ในระดับชั้นก่อนประถม ป.1 ม.1 และม.4 เพื่อนาไปใช้
ประกอบการวางแผนกาหนดการรับนักเรียนในแบบ ก.ค.ศ. 1 และแบบ ก.ค.ศ. 2
4) แบบ ก.ค.ศ.4
เป็นแบบรวบรวมข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรในสถานศึกษา ทุกตาแหน่งรวมทั้งครูอัตรา
จ้าง โดยมีข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ชื่อ–สกุล เลขบัตรประชาชน ตาแหน่ง เลขที่ตาแหน่ง วิทยฐานะ เงินเดือน
วันเดือนปีเกิด วันเดือนปีที่เข้ารับราชการ คุณวุฒิ สถานภาพการปฏิบัติงานในสถานศึกษา จานวนชั่วโมงสอน
จาแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมายให้สอนใน 1 ปีการศึกษา (คาบ/สัปดาห์) และจานวนชั่วโมง
ปฏิบัติงานสนับสนุนการสอนที่ได้รับมอบหมายใน 1 ปีการศึกษา (ชั่วโมง/สัปดาห์)
ในแบบ ก.ค.ศ.4 นี้ ได้กาหนดจานวนแถวที่ใช้บันทึกข้อมูลไว้ 451 แถว ซึ่งหากจานวน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีน้อยกว่า 451 คน ก็ให้บันทึกเท่าที่มี โดยไม่ต้องลบแถวที่เหลือ
เพราะจะส่งผลต่อการประมวลผลในแบบวิเคราะห์ผลการวางแผนกาลังคน
5) แบบ ก.ค.ศ.5 (ช่วงชั้น 1-3)
เป็นแบบกาหนดชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์ใน 1 ปีการศึกษา ตามโครงสร้างของหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในช่วงชั้นที่ 1–3 (ชั้น ป.1-ม.3) โดยจาแนกออกเป็นระดับชั้นกับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้
6) แบบ ก.ค.ศ.6 (ช่วงชั้น 4)
เป็นแบบกาหนดชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์ใน 1 ปีการศึกษา ตามโครงสร้างของหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในช่วงชั้นที่ 4 (ชั้น ม.4-ม.6) โดยจาแนกออกเป็นกลุ่มวิชาตามกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษา
สาหรับแบบ ก.ค.ศ.6 (ช่วงชั้น 4) นี้ ห้ามแก้ไขรายการกลุ่มวิชา (เช่น แก้ไข วิทย์–คณิต กับ
ศิลป์–คานวณ ให้สลับที่กัน) เพราะจะทาให้การส่งค่าประมวลผลในแบบวิเคราะห์ผลการวางแผนกาลังคนอื่นๆ
ผิดไป
ตั้งแต่แบบ ก.ค.ศ.7 เป็นต้นไป จะไม่สามารถเข้าไปแก้ไขตัวเลขและข้อความใดๆ ได้ เพราะได้
จัดทาการปูองการการแก้ไขไว้
7) แบบ ก.ค.ศ.7
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 5 และแบบ ก.ค.ศ. 6 มาประมวลผลเป็นจานวนชั่วโมง
สอน จาแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละปีการศึกษาและช่วงชั้นที่สถานศึกษาเปิดสอน
40

8) แบบ ก.ค.ศ.8
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 4 มาประมวลผลเป็นจานวนชั่วโมงปฏิบัติงานต่อสัปดาห์
ของบุคลากรทางการศึกษา จาแนกตามงานสนับสนุนการสอนในสถานศึกษา
9) แบบ ก.ค.ศ.9
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 1 มาประมวลผลแล้วแสดงเป็นรายงานการวางแผน
กาลังคนในด้านปริมาณของสถานศึกษา
10) แบบ ก.ค.ศ.10
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 7 แบบ ก.ค.ศ. 8 และแบบ ก.ค.ศ. 9 มาประมวลผลแล้ว
แสดงเป็นรายงานผลการวางแผนกาลังในด้านคุณภาพของสถานศึกษา
11) แบบ ก.ค.ศ.11
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 9 มาจัดทาขึ้นเพื่อให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Copy แล้วนาไปวางไว้ในแบบ ก.ค.ศ.11A ของไฟล์ข้อมูลการวางแผนกาลังคนในระดับสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
12) แบบ ก.ค.ศ.12
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 10 มาจัดทาขึ้นเพื่อให้สานักงานเขตพื้ นที่การศึกษา
Copy แล้วนาไปวางไว้ใน แบบ ก.ค.ศ.12A ของไฟล์ข้อมูลการวางแผนกาลังคนในระดับสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
13) แบบ ก.ค.ศ.13
เป็นแบบที่นาข้อมูลจากแบบ ก.ค.ศ. 10 มาจัดทาขึ้นเพื่อให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Copy แล้วนาไปวางไว้ในแบบ ก.ค.ศ.13A ของไฟล์ข้อมูลการวางแผนกาลังคนในระดับสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
2. การวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาระดับ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
การวางแผนกาลังคนสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาระดับสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาได้สร้างแบบที่ใช้สาหรับรวบรวมข้อมูล จานวน 3 แบบด้วยกัน ดังนี้
1) แบบ ก.ค.ศ.11A
เป็ นแบบรวบรวมข้อมูล การวางแผนกาลั งคนในสถานศึกษา สั งกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ประกอบไปด้วย ชื่อสถานศึกษา รหัสสถานศึกษา (ซึ่งสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาหนดขึ้นตาม
แนวทางที่สานักงาน ก.ค.ศ. ได้กาหนดไว้ให้ในภาคผนวกเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ) ที่ตั้ง
สถานศึกษา และข้อมูลจานวนนักเรียน ห้องเรียน จานวนอัตรากาลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในแต่ละปีการศึกษา
41

2) แบบ ก.ค.ศ.12A
เป็ นแบบรวบรวมข้อมูล การวางแผนกาลั งคนในสถานศึ กษา สั งกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ประกอบไปด้วย ชื่อสถานศึกษา รหัสสถานศึกษา ที่ตั้งสถานศึกษา และจานวนอัตรากาลัง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
3) แบบ ก.ค.ศ.13A
เป็ นแบบรวบรวมข้อมูล การวางแผนกาลั งคนในสถานศึกษา สั งกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ประกอบไปด้วย ชื่อสถานศึกษา รหัสสถานศึกษา ที่ตั้งสถานศึกษา และจานวนอัตรากาลังบุคลากร
ทางการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
จากที่กล่าวมา นโยบายการวางแผนการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กล่าวมา ได้มีการกาหนด
อัตรากาลัง ภาระงานและแนวทางความก้าวหน้าของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ดี ในแต่ละสังกัดของการศึกษาระดับพื้นฐานยังมีแนวนโยบายในการใช้ครูที่แตกต่างกันตามลักษณะ
ของรู ปแบบการศึกษา จากรายงานวิจั ยเรื่ องการศึกษาประสิ ทธิภาพการใช้ครู : การวิเคราะห์ เชิงปริมาณ
ระดั บ มหภาค (สมหวั ง พิ ธิ ย านุ วั ฒ น์ , 2539) เพื่ อ น าเสนอแนวนโยบายและแนวทางการใช้ ค รู อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ สรุปได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ครูนั้น ประกอบด้วยผู้บริหารของโรงเรียน ชุมชน นักเรียนและ
บรรยากาศการทางานของครู และอีกองค์ประกอบที่สาคัญคือ ความเหมาะสมของสัดส่วนปริมาณครูและ
นักเรียน ที่ต้องสอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ของนักเรียนและความสามารถในการทางานของครู
ไปพร้อมกัน อีกทั้งยังรวมถึงชุมชนและสังคมโดยรอบสถานศึกษา สถานศึกษาแต่ละรูปแบบจึงมีแนวนโยบายที่
เหมาะสมกับลักษณะการจัดการศึกษาของตนเอง ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
ปัจจุบันได้มีการกาหนดนโยบายการใช้ครูเป็นการเฉพาะในแต่ละช่วงเวลา เพื่อสนับสนุนการจัดการ
เรี ย นการสอนให้ มีป ระสิ ทธิภ าพสู ง สุ ดและเพื่ อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในปี พ.ศ.2558 รัฐ มนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการได้มอบนโยบายเกี่ย วกับการศึกษา 5 ประการ โดยได้กล่ าวถึงการพัฒ นาและปฏิรูป
การศึกษา การสร้ างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย การพัฒ นาระบบการจัดการศึกษา และการพัฒนา
หลักสูตรทางการศึกษา การส่งเสริมและยกสถานะของครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษา และการ
บริหารและการปฏิบัติราชการกระทรวงในทุกระดับ ซึ่งในข้อที่เกี่ยวข้องกับครูโดยตรงคือ การส่งเสริมและยก
สถานะของครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษา มีเนื้อหาว่า จะต้องให้ความสาคัญกับการสร้างเสริม
ให้วิชาชีพ ครู เ ป็น วิ ชาชีพชั้น สูงในสังคม เป็น บุ ค ลากรที่ ไ ด้รั บการยกย่องว่ า เป็น แบบอย่า งที่ ดีใ นเรื่ อ ง
คุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิความรู้และทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อ
วิชาชีพครู ตลอดจนมีฐานะและคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน
โดยกาหนดนโยบายเฉพาะที่ต้องดาเนินการให้เห็นผลในระยะเวลา 1 ปี เพื่อมุ่งเน้นการผลิต การใช้ และการ
พัฒนาครู ให้ มีคุณภาพ อันประกอบด้วยเนื้อหาของการใช้ครูอันเป็นเปูาหมายในการดาเนินนโยบาย ดังนี้
(สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558)
42

1. ระบบการบริ ห ารงานบุคคล การย้าย บรรจุ และการประเมินวิทยฐานะของครู และบุคลากร


ทางการศึกษา มีมาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มศักยภาพในการให้การศึกษาและลดภาระงานที่ไม่จาเป็ น
รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณของความเป็นครู การเป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่นใน
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
3. สามารถกาหนดแนวทางการพัฒนาตามเส้นทางวิชาชีพและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่าง
เป็นระบบ มีระบบสนับสนุนการพัฒนาตนเอง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเทคโนโลยี
สารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการระบบคลังความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประเมินผลอย่าง
เป็นรูปธรรม
4. มีแผนและโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยการ
พัฒนาระบบสวัสดิการที่มุ่งการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือที่ยั่งยืน และให้ความสาคัญกับการแก้ไขปัญหา
หนี้สินอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้ เพื่อให้การดาเนินการนโยบายเร่งด่วนที่ต้องให้เห็นผลใน 3 เดือน คือการเร่งระบบการ
บรรจุครูและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้เอื้อต่อการเพิ่มโอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์
ที่เหมาะสมเข้ามาในระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากร
อาชีวศึกษา และครูสาขาขาดแคลนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเปูาหมายในการดาเนินนโยบาย ได้แก่
1) มีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบและสามารถเสนอขออนุมัติ/เห็นชอบได้ตามขั้นตอนตามกฎหมาย
และกฎระเบียบที่กาหนด รวมถึงปรับแก้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดาเนินงานที่มี
ประสิทธิภาพ และ 2) สามารถปรับระบบการบรรจุครูและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้เอื้ อต่อการเพิ่ม
โอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์เข้ามาในระบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทางการผลิตครูให้
สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 มีเนื้ อหาที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องขวัญกาลังใจในเรื่องความก้าวหน้าในวิชาชีพครูว่า ครูมีภาระงานมาก งานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของโรงเรียน
เช่น งานเปิดตัวนโยบายต่างๆ ของหน่วยเหนือ งานธุรการ งานพัสดุ เป็นต้น ทาให้ไม่สามารถพัฒนาตนเอง
และจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างมีคุ ณภาพ ซึ่งที่ประชุมให้แนวคิดในการแก้ปัญหา ดังนี้ (สานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2556)
1. การบริหารจัดการภายในสถานศึกษา
1) ควรจัดทาฐานข้อมูลรายละเอียดของครูแต่ละคน เพื่อให้สามารถพัฒนาและอบรมครูให้
ตรงกับความต้องการ
2) ผู้บริหารสถานศึกษาบางท่านขาดความรู้ ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและการ
นิเทศการสอน เช่น ไม่สามารถนิเทศครูในโรงเรียนได้ ดังนั้นจึงควรให้ความรู้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้
สามารถบริหารจัดการภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
43

3) ควรมีความร่วมมือกับภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น เพื่อเข้ามาอุปถัมภ์โรงเรียน และสามารถ


มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
2. ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
1) ความก้าวหน้าของครู การพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าใน
วิชาชีพครูนั้น นอกจากจะพิจารณาจากเอกสารผลงานทางวิชาการแล้ว ต้องนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนมาเป็น
องค์ ป ระกอบในการพิ จ ารณาด้ ว ย เพราะผลสั ม ฤทธิ์ ข องผู้ เ รี ย นจะเป็ น ตั ว บ่ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น คุ ณ ภาพ ความรู้
ความสามารถและความเอาใจใส่ของครูต่อนักเรียน ถ้าผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนต่าก็จะทาให้เห็นปัญหาและแนว
ทางการแก้ไข เช่น การพัฒนาศักยภาพครูเพื่อให้มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านเนื้อหาความรู้ หลักสูตร
การบูรณาการ เทคนิคการสอน รวมทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น
2) การประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ก.ค.ศ. ควรมีการกาหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานประจา
ตาแหน่งให้ชัดเจน และครูที่ได้รับวิทยฐานะนั้นต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนด หากไม่สามารถ
ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว ก.ค.ศ. ต้องมีมาตรการเรียกวิทยฐานะคืนจากครูผู้นั้น มาตรการนี้ เป็นมาตรการ
ให้ครูผู้ที่ได้วิทยฐานะต้องปฏิบัติงานให้คุ้มค่าผลประโยชน์และวิทยฐานะที่ได้รับ
3) การสร้างขวัญกาลังใจให้กับครู กระทรวงศึกษาธิการควรมีการแจกคูปองให้กับครูผู้ มีผล
การปฏิบั ติงานดีเพื่อใช้แทนค่าลงทะเบี ย นในการรับเข้าอบรมและควรมีการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะทั้ง
ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนหรือการพัฒนาในด้านต่างๆ ตามที่ครูผู้นั้นสนใจหรือต้องการพัฒนาตนเอง
4) ควรมีระบบการนิเทศครูที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเดิมเคยใช้ศึก ษานิเทศก์เป็นผู้ดาเนินการ แต่
ปัจจุบันไม่ค่อยให้ความสาคัญกับเรื่องดังกล่าว จึงควรนาระบบนิเทศมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนของครู
ประจาการเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
3. การพัฒนาครู ควรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มบรรจุเข้ารับราชการจนเกษียณอายุราชการ ให้มี
ความรู้ความสามารถที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในด้านหลักสูตร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปแบบการสอนใหม่ๆ การวัดและการประเมินผล เป็นต้น
4. การจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาการจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ควรมีหลากหลายรูปแบบโดย
1) การจัดการเรียนสอนแบบ Home School เป็นการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ครู 1 คน
สอนเด็กในกลุ่มเล็กๆ แต่สอนทุกช่วงชั้นในระดับประถมศึกษา และเด็กที่จบจะสามารถสอบเทียบความรู้และ
เข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้ตามเกณฑ์ปกติ
2) การสอนแบบ Block Course โดยให้ครูที่มีความเก่งเฉพาะด้าน เดินทางไปสอนเด็กที่ อยู่
ในชุมชนเป็นช่วงระยะเวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อยเป็นสัปดาห์ จะเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนครูเฉพาะสาขา
3) การจั ด กลุ่ ม โรงเรี ย นขนาดเล็ ก ที่ อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น และบริ ห ารจั ด การโดยการ
หมุนเวียนครูจากทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอนร่วมกัน
อย่างไรก็ดี สภาพความเป็น จริงของการใช้ครูในสถานศึกษาในปัจจุบัน ยังมีความขาดแคลนหลาย
ประการ ทั้งในเรื่องกระบวนการจัดการเรียนการสอน และภาระงานของครูที่นอกเหนือจากการเรียนการสอน
44

ซึ่งไม่ส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน ทั้งนี้เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการ อาทิ คุณภาพครูอัตราจ้างที่จ้างโดยไม่


จากัดสาขา ไม่มีกระบวนการคัดกรองคนที่มีคุณภาพ และยังส่งผลถึงการบริหารงานบุคคลภายในโรงเรียน
ปัจจัยที่ส่งผลให้การเรียนการสอนไม่ส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียนเนื่องจาก
1) การใช้ต าราเรี ย นที่ ไม่ต รงกับ หลั กสู ตรแกนกลาง ส่ งผลให้ ผู้ เรี ยนไม่ส ามารถผ่ านการ
ทดสอบเพื่อวัดผลระดับความรู้ที่เป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น O-net หรือการทดสอบอื่นๆ
2) ครูมีภาระงานอื่นๆ นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนมาก ทาให้ไม่สามารถจัดการ
เรียนการสอนในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) การตั้งโจทย์วิจัย/การวัดและการประเมินผลของครู เนื่องจากครูผู้สอนต้องมีการทาวิจัยใน
ชั้นเรียนควบคู่ไปกับการสอนด้วย แต่จากสภาพการณ์ในปัจจุบันพบว่า ครูที่ทาวิจัยในชั้นเรียนส่วนใหญ่ขาด
ทักษะในการตั้งโจทย์วิจัย รวมทั้งขาดทักษะในการวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเรื่องที่สาคัญเพราะส่งผลต่อการ
พัฒนาองค์ความรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น ต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาทักษะให้
ครูผู้สอนสามารถตั้งโจทย์วัดและประเมินผลเป็น
4) การเรียนการสอนในโรงเรียนจาเป็นต้องมีความพร้อมทางด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้การ
เรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงพบว่า หลายโรงเรียนยังขาดสื่อวัสดุอุ ปกรณ์ที่จาเป็นอยู่
มากโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากงบประมาณที่โรงเรียนได้รับมีจากัดจึงไม่เพียงพอต่อการจัดหาวัสดุ
อุปกรณ์ให้เพียงพอได้ ดังนั้น จึงมีความจาเป็นต้องขอความร่วมมือจากภาคเอกชนให้ความช่วยเหลือและให้
ความอุปถัมภ์โรงเรียนทั้งในด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้
2.3 การใช้ครูในประเทศในสังกัดต่างๆ
จากที่กล่าวมาแล้วว่า การใช้ครูของแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน เนื่องจากลักษณะการจัดการเรียนการ
สอน คุณลักษณะของครูและนักเรียน ขวัญและกาลังใจในการทางาน ความก้าวหน้าในสาขาวิช าชีพ ทาให้
นโยบายการใช้ครูมีความแตกต่างกัน มีรายละเอียดดังนี้
1) ส านัก งานเขตพื้น ที่ การศึกษาประถมศึกษา และส านัก งานเขตพื้น ที่ การศึกษา
มัธยมศึกษา (สพฐ.) (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ออนไลน์)
จากนโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558 มีเนื้อหา
เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งครู ใ นข้ อ ที่ 4 ที่ ว่ า ยกระดั บ มาตรฐานวิ ช าชี พ ครู แ ละผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา ให้ ค รู เ ป็ น ผู้ ที่ มี
ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถ
ในการบริหารจัดการ และเป็นผู้นาทางวิชาการ ครูและผู้ บริหารสถานศึกษาประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่
ผู้เรียน สร้างความมั่นใจและไว้วางใจ ส่งเสริมให้รับผิดชอบต่อผลที่เกิดกับนักเรียน ที่สอดคล้องกับวิชาชีพ ซึ่ง
ปรากฏในยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่องการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา เปูาประสงค์ที่ 3 ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นมีทักษะที่เหมาะสม และมีวัฒนธรรมการทางานที่มุ่นเน้น
ผลสัมฤทธิ์ และเปูาประสงค์ที่ 6 พื้นที่พิเศษ ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นพิเศษ
45

กลยุทธ์
1. พัฒนาองค์ความรู้และสมรรถนะของครู ผ่านการปฏิบัติจริงและการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
1.1 เผยแพร่องค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม วิธีการจัดการเรียนการสอน
การพัฒนาการคิด และการวัดประเมินผล ให้สามารถพัฒนาและประเมินผลนักเรียนให้มีคุณภาพตามศักยภาพ
เป็นรายบุคคล
1.2 พัฒนาครูที่มีอยู่ให้สามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาที่โรงเรียนต้องการได้ด้วยตนเองหรือใช้สื่อ
เทคโนโลยี
1.3 ส่งเสริมระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรโดยเขตพื้นที่การศึกษาและโดยเพื่อนครู ทั้งใน
โรงเรียนเดียวกันหรือระหว่างโรงเรียน หรือภาคส่วนอื่นๆ ตามความพร้อมของโรงเรียน
1.4 ส่ งเสริ มให้ เกิดชุมชนแห่ งการเรียนรู้ของครูในพื้นที่ ทั้ งในโรงเรียนเดียวกัน ระหว่า ง
โรงเรียน หรืออื่นๆ และในองค์กรสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกหน่วยงาน
1.5 ส่งเสริมให้ครูมีสมรรถนะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ
จัดการเรียนรู้ได้ในระดับดี
2. พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มที่มีความจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาเร่งด่วน
3. เสริมสร้ างระบบแรงจู งใจเพื่อให้ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญกาลั งใจในการทางาน
สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
3.1 ยกย่องเชิดชูเกียรติครูมืออาชีพ และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ทั้ง
ด้าน
1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2) การดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
3) การมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นตัว อย่างที่ดีแก่
สังคม
3.2 ส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นให้สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักเรียนและรายได้ของครู
4. ประสานและสนับสนุนให้องค์กรและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมและจัดสรรครูและผู้บริหาร
สถานศึกษาที่มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและสังคม
4.1 สร้างความตระหนักกับองค์กรที่มีบทบาทโดยตรงกับการบรรจุครูในพื้นที่ ถึงความ
จาเป็นต้องจัดสรรครูให้ตรงวิชาที่โรงเรียนขาดแคลน
4.2 สร้างค่านิยมสาหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ให้รับผิดชอบต่อผลด้านคุณภาพของการ
จัดการศึกษา
4.3 ประสานสถานบันอุดมศึกษาผลิตครูที่มีวิชาเอกตรงกับความต้องการและสามารถจัดการ
เรียนรู้เพื่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ และสอดคล้ องกับบริบทของโรงเรียนที่มีความแตกต่าง
หลากหลายได้
46

2) สานักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)
ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปัจจุบัน อาศัยกรอบการ
ดาเนิ น งานตามพระราชบั ญญัติส่ ง เสริ มการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธ ยาศัย พ.ศ.2551 ซึ่ง มี
รายละเอียดดังนี้ (อัญชลี ธรรมะวิธีกุล, ออนไลน์)
พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ได้มุ่งเน้น
ความสาคัญโดยให้ความหมายของคาว่า “การศึกษานอกระบบ” และ “การศึกษาตามอัธยาศัย” ไว้ดังนี้
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
การศึกษานอกระบบ หมายความว่า “กิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเปูาหมายผู้รับบริการและ
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่น
และหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเปูาหมายนั้ นและมีวิธีการวัดผล
ประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษาหรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้”
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่า “กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิติประจาวันของบุคคล ซึ่ง
บุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่า งต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม
และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล”
โดยหลั ก การส่ งเสริ ม สนั บสนุน การศึ กษานอกระบบและการศึ กษาตามอั ธ ยาศั ย ได้ ยึ ด
หลักการ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
การศึกษานอกระบบ เน้นความเสมอภาคในการเข้าถึง รวมถึงการได้รับการศึกษาอย่าง
กว้างขวาง ทั่วถึงเป็นธรรม อย่างมีคุณภาพ และมีความเหมาะสมกับสภาพชีวิตของประชาชน การกระจาย
อานาจแก่สถานศึกษา และการให้ภาคีเครือข่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเรียนรู้
การศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจ
ของผู้เรียนในทุกกลุ่มเปูาหมาย รวมถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย อาทิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และเทคโนโลยี มาใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา เปูาหมายของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธ ยาศัย เปู าหมายในการส่ งเสริ มและสนั บสนุ นการศึก ษานอกระบบและการศึ กษาตามอัธ ยาศั ย มีดัง นี้
(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
การศึกษานอกระบบ ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ
กาลั งคนและสั งคม โดยใช้ความรู้ ภูมิปั ญญาเป็นฐานในการพัฒ นา ในมิติต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจ สั งคม
สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ อีกทั้งทาให้กลุ่มภาคีเครือข่ายเกิด
แรงจูงใจ และความพร้อมในการจัดกิจกรรมการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม
การศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ผู้ เ รี ย นได้ รั บ ความรู้ ทั ก ษะพื้ น ฐานจากการแสวงหาความรู้
อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนั้นแล้วยัง ได้เรียนรู้ประเด็นที่ มีสอดคล้องกับความสนใจ ความ
47

จาเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในมิติต่างๆ ซึ่งสามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ และสามารถนาไป


เทียบโอนผลการเรียนกับระบบอื่นได้
พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 กาหนด
ไว้ว่า ให้มีสานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีอานาจหน้าที่ในการส่งเสริม
สนับ สนุ น และประสานงาน รวมถึงรั บผิ ดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ จัดทาข้อเสนอแนะนโยบาย
ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรฐานการศึกษาต่อคณะกรรมการ ส่งเสริม สนับสนุน และดาเนินการพัฒนาคุณภาพ
ทางวิช าการ และระบบข้ อ มูล ข่า วสารสนเทศ ส่ งเสริม สนั บสนุน และด าเนิน การเที ยบโอนผลการเรีย น
ประสานงานให้ ห น่ วยงานและองค์กรอื่น รวมตัว กันเป็นภาคีเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการ
ดาเนิ น งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดทาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
เครื อข่ายเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อสาร ทั้ง นี้เพื่อส่ งเสริมการเรี ยนรู้อย่างต่ อเนื่องของประชาชน
ดาเนินการเกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดาเนินงาน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
นโยบายและจุดเน้นการดาเนินงานของสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย,
2555)
วิสัยทัศน์
คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และ
เท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ มีอาชีพและมีความสามารถในการแข่งขั นในประชาคมอาเซียนได้
อย่างยั่งยืน
พันธกิจ
จั ดและส่ งเสริ มการจั ดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธ ยาศัย ที่มีคุณภาพ ทั้ งนี้เพื่ อ
ยกระดับการศึกษา พัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิต ในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดยคานึงถึงความทั่วถึงและเท่าเทียม ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดาเนินงานการศึกษาของภาคี
เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มอาเซียน พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการ
ศึกษา มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา รวมถึงการการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันโลก
ส่งเสริมให้ เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน
รวมถึงการส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการให้สามารถดาเนินงานการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์
คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ โดยทั่วถึง
และเท่าเทียม ประชากรวัยแรงงานมีระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยอยู่บนหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และแนวเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนมีฐานอาชีพที่หลากหลาย สามารถพัฒนาไปสู่ระดับ
48

วิสาหกิจชุมชนที่มีความสามารถเชิงการแข่งขัน และเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และทาให้เกิดความเข้มแข็งของ


ชุมชน ประชาชนมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้อย่าง
สร้างสรรค์ ประชาชนมีความรู้ ทักษะภาษาต่างประเทศ รวมถึงภาษาอาเซียน และมีความรู้ความเข้าใจ
ประชาคมอาเซีย น องค์ กรทั้ งในและต่ างประเทศ รวมถึ งประเทศอาเซีย นร่ ว มเป็น ภาคี เครื อข่ ายในการ
ดาเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พัฒนาสื่อ เทคโนโลยี
ทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกิจกรรม และส่งเสริมการเรีย นรู้ให้แก่กลุ่มเปูาหมายอย่างทั่วถึง
นาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาส่งเสริม
กระบวนการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้กิจกรรมทางการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี กศน.ตาบลและศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ เป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อน
การเรียนรู้ มีระบบการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายเร่งด่วน
1. ยกระดับการศึกษาประชาชนให้ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือน อย่างมี
คุณ ภาพ เร่ งพั ฒ นากรอบแนวคิด การประเมิ น เทีย บระดับ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย โดยการเปิ ด โอกาสให้
ประชาชนที่มีอาชีพมาประเมินเทียบระดับการศึกษาแบบก้าวกระโดด เร่งพัฒนามาตรฐานระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย จัดทาคู่มือการดาเนินงานการประเมินเทียบระดับ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถ
ดาเนิน งานการประเมิน เทีย บ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้อย่างถูกต้องตามข้อกฎหมายทางการศึกษา
พัฒนากรอบแนวคิดและวิธีการดาเนินงานเพื่อให้สามารถดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้สานักงาน กศน.
อาเภอ/เขต เป็นหน่วยงานในการเร่งดาเนินการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาและประสบการณ์
อย่างมีคุณภาพ โดยให้ให้สานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. เป็นหน่วยแร่งรัดให้เกิดตามแผน และเร่งให้เกิดการ
ประชาสัมพันธ์และทาความเข้าใจถึงความสาคัญของการยกระดับการศึกษา
2. เร่งดาเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สู่ชุมชน หลักสูตร OTOP Mini MBA
หมายถึง การบริหารจัดการธุรกิจสินค้า OTOP ธุรกิจ OTOP ส่งออก การตลาดและช่องทางการจาหน่าย และ
ภาษาอังกฤษธุรกิจ มีเปูาหมายเพื่อ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการเผยแพร่และ
จาหน่ ายผลิตภัณฑ์ และมีความมุ่งหมายในการพัฒ นาระบบฐานข้อมูลของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนได้อย่าง มี
ประสิทธิภาพ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง รวมถึงจะต้องมี
การพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจ หลักสูตร OTOP Mini MBA และบริหารจัดการหลักสูตรได้อย่า งมี
ประสิทธิภาพ
3. เปิดโลก กศน. สู่กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน เร่ง จัดทาหลักสูตร และเครื่องมือในการวัด
และประเมินผลการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคภาษาอังกฤษให้แก่
กลุ่มสนใจ รวมถึงการจัดหาครูและบุคลากร รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นเร่งจัดให้มีห้องเรียนนอกระบบภาคภาษาอังกฤษอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ห้องเรียน และส่งเสริม
สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาการเรียนการสอนดังกล่าว พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และการวัด
49

และประเมิน ผลการศึกษา เพื่อการพัฒ นาการศึกษาตามหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพและ


เหมาะสมกับผู้เรียน
4. เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน จัดให้ กศน.อาเภอ/เขต
เร่งรัดให้ กศน.ตาบล/แขวง สารวจความต้องการหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงเร่งจัดตั้งบ้านหนังสือให้เป็น
ห้องสมุดชุมชน โดยจะต้องจัดหารหนังสือและสื่อตามความต้องการของชุมชน อีกทั้งจะต้องจัดกิจกรรมและ
ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายในการจัดกิจกรรมรักการอ่าน และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนัก
ถึงความสาคัญของการอ่าน
5. เร่งรัดการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อการจัดทาแผนปูองกันภัยพิบัติ ส่งเสริม เร่งรัดให้
ภาคส่วนต่างๆ ร่วมดาเนินการจัดทาแผนปูองกันภัยพิบัติจากธรรมชาติเชิงบูรณาการ รวมถึงการสร้างความรู้
ความเข้าใจเพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดทาแผน
ปูองกันภัยพิบัติที่อาจเกิดจากธรรมชาติ ที่จะมีผลกระทบต่อสถานศึกษา
6. เร่งพัฒนาระบบกลไกการกากับ ติ ดตาม และนิเทศเพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ เร่งพัฒนาระบบกลไกการกากับ ติดตามและรายงานผลการนา
นโยบายสู่การปฏิบัติ และมีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับเพื่อความเป็นเอกภาพในการใช้ข้อมูล และ
การพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
นโยบายต่อเนื่อง
นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ ได้แก่ จัดและสนับสนุนการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมุ่งเน้นให้นาไปใช้
ประโยชน์ได้จริง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตาราเรียน รวมถึงค่ากิจกรรม
พัฒนาผู้เรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมถึงการจัดหาตาราเรียนที่มีคุณภาพพร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียน
ตาราเรียน เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตาราเรียนด้ วยวิธี
เรี ย นที่ ห ลากหลาย ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น และเร่ ง รั ด ให้ กศน.อ าเภอ ได้ ด าเนิ น การเที ย บโอนความรู้ แ ละ
ประสบการณ์ อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษาให้มีความครบถ้วน
ถูกต้องและเชื่อมโยงกัน โดยสามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้
ผู้เรีย นมีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และพัฒ นาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับ
การศึกษาและสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเปูาหมายได้
การส่งเสริมการรู้หนังสือ ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล ให้เป็น ระบบเดียวกัน โดยมีความถูกต้อง
ครบถ้วนและทันสมัย พัฒนาหลักสูตรและเครื่องมือในการส่งเสริมการรู้หนังสือให้มีความสอดคล้องกับสภาพ
กลุ่มเปูาหมาย พัฒนาครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งเสริม สนับสนุ นให้ส ถานศึกษาจั ดกิจกรรมส่ งเสริมการรู้หนั งสือ และพัฒ นาทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อเป็น
เครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน พัฒนาระบบการประเมินผลระดับ
การรู้หนังสือให้เป็นมาตรฐานสากล
50

การศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสาคัญกั บการ


จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทา สอดคล้ องกับศักยภาพของผู้เรียน โดยการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง
รวมถึงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่กลุ่มเปูาหมาย และมุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและ
ชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรั ชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งพัฒนา
ระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน โดยอานวยประโยชน์แก่การนาไปใช้ของภาคีเครือข่าย
และสถานศึกษา
การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ได้แก่ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ
หลักสูตร นอกจากนั้นแล้วจะต้องพัฒนาครูให้มีคุณภาพ โดยสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และวัด ประเมินผล
ได้ อีกทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับบริบท
ท้องถิ่น รวมไปถึงหลักสูตรทางด้านภาษา วัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซีย น
อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนจะต้องส่งเสริมการ
เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีความหลากหลาย อีกทั้งจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเปูาหมาย นอกจากนั้น
แล้วจะต้องให้ผู้เรียนคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และผลการเรียนในสาระพื้นฐานไม่ต่ากว่าร้อยละ 60 และใน
การวัดประเมินผลการศึกษาจะใช้ข้อสอบกลางมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ ส่งเสริมให้สถานศึกษา
พัฒ นาระบบประกัน คุณภาพให้ มีมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อ เป็นการเตรียมความพร้อ มให้ แ ก่ส ถานศึกษาในการ
ประเมินภายนอกรอบที่สาม อีกทั้งให้สานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ดาเนินการประเมินคุณภาพภายในของ
สถานศึ ก ษาต้ น สั ง กั ด โดยมี เ กณฑ์ ก ารประเมิ น ภายในไม่ ค วรต่ ากว่ า ร้ อ ยละ 80 อย่ า งไรก็ ต ามส าหรั บ
สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมิน จะต้องมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ที่ ก าหนดไว้ รวมถึ ง จั ด ให้ มี ร ะบบพี่ เ ลี้ ย งสนั บ สนุ น อย่ า งใกล้ ชิ ด นอกจากนั้ น แล้ ว ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้
สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน สมศ. เพื่อให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน
การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จัดและพัฒนาหลักสูตร รวมถึง
กิจกรรมทางการศึกษาที่ตอบสนองและสอดคล้อ งกับความต้องการของกลุ่มเปูาหมายที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ
อีกทั้งพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ได้จริง
นอกจากนั้นส่งเสริมระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษาด้านศาสน
ศึกษาเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามจาต้องคานึงถึงความปลอดภัยแก่
บุคลากรและผู้รับบริการอย่างทั่วถึง
การศึกษาทางไกล พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล การบริหารจัดการชั้นเรียน และการวัดประเมินผล
การเรียนในทุกหลักสูตร โดยบูรณาการเทคโนโลยีที่หลากหลายเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา
ทางไกลกั บ ทุก กลุ่ ม เปู า หมาย อี ก ทั้ ง จะต้ อ งพั ฒ นาศัก ยภาพของบุค ลากรให้ มีค วามพร้ อ มในการจั ด และ
ให้บริการ รวมไปถึงการขยายกลุ่มเปูาหมายและภาคีเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
ตลอดชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นแล้วส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมใน
51

การจัดการศึกษาทางไกล อย่างไรก็ตามการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จะต้องพัฒนาระบบและจัดการศึกษาให้แก่


แรงงานไทยในต่างประเทศด้วย
นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ การส่งเสริมการอ่าน เน้นการพัฒนาระดับความสามารถ
ในการอ่านของทุกกลุ่มเปูาหมายให้มีระดับที่ดีขึ้น รวมถึงการอ่านเชิงวิเคราะห์ อีกทั้งการสร้างบรรยากาศ และ
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน โดยมีความพร้อมในเรื่องต่างๆ อาทิ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น ส่งเสริมภาคีเครือข่าย
ในการเสริมสร้างการรักการอ่านและการพัฒนาชุมชนให้มีการพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมให้มี “บ้าน
หนังสือ” ในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างกว้างขวางในทุกพื้นที่ ห้องสมุดประชาชน พัฒนาห้องสมุดประชาชนทุก ที่ให้
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนั้นจะต้องจัดตั้งห้องสมุดประชาชนในอาเภอที่ยังไม่มีห้องสมุด
ประชาชน โดยการประสานงาน สนับสนุนความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย เชื่อมต่อห้องสมุดเข้ากับแหล่งเรียนรู้
ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งควรจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังนิสัยการรักการอ่าน ทั้งนี้เพื่อการ พัฒนา
ตนเอง และจะต้องมีการจัดการเชิงรุกโดยการจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านไปยัง
พื้นที่ต่างๆ อย่างไรก็ตามจะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ และร่วมกับภาคีเครือข่ายใน
การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนโดยชุมชน วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา พัฒนาและ
จั ด ท านิ ท รรศการสั ญ จร เพื่ อ สร้ า งเจตคติ ท างวิ ท ยาศาสตร์ เ พื่ อ ให้ ป ระขาชนน าความรู้ แ ละทั ก ษะทาง
วิทยาศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาชีวิต ทั้งนี้จะต้องมีการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตจริง
ด้วย อีกทั้งจะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายเป็นเครือข่ายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนั้นจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถปลูกฝังให้ผู้รับบริการมีความรู้
ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามควรส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์
เพื่อเป็นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งการ
เรียนรู้เชิงวิชาการ
นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ได้แก่ การพัฒนา กศน.ตาบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลาง
การสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน จัดหาครุภัณฑ์และสิ่งอานวยความ
สะดวก ที่ ส ามารถตอบสนองความต้อ งการของประชาชนและชุ ม ชน จั ดหาหนั ง สื อและสื่ อ การเรีย นรู้ ที่
หลากหลายและทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลายผ่านกิจกรรมสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ส่งเสริมการอ่านและส่ง เสริมให้มีกลุ่มส่งเสริมการอ่าน พัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพการรู้หนังสือและความ
ต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ ของทุกกลุ่มเปูาหมาย ส่งเสริมให้ กศน. ตาบล/แขวง ในการส่งต่อผู้เรียน
เพื่อเสริมสร้างขีดความความสามารถ และศักยภาพการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องการ อีกทั้งต้องพัฒนาระบบการ
ติดตามประเมินผลการดาเนินงาน กศน. ตาบล/แขวง รวมถึงทั้งมีการเผยแพร่ข้อมูลการประเมินผลสู่สาธารณะ
รวมถึงกากับติดตามการดาเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนใน
ทุกอาเภอ/เขต อย่างน้อยอาเภอ/เขตละ 3 แห่ง โดยเป็นศูนย์ก ลางในการฝึกและพัฒนา อีกทั้งจะต้องมีการ
พัฒนาและจัดทาหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทาโดยสอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของ
ผู้เรียน โดยประสานงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนและสถานศึกษาต่างๆ ในการเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
52

ระหว่างกัน นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการประสานงานเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งทุนในการสร้างความเข้มแข็ง
ในการแข่งขันด้านอาชีพ และจะต้องจัดให้มีการกากับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพอย่าง
ต่อเนื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และ
สนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทาอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุม
พื้นที่ทุกระดับ พัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย เพื่อ
ประโยชน์ในการใช้อย่างเหมาะสม และจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายให้ มีศักยภาพในการจัด
การศึกษาตลอดชีวิต อีกทั้งจะต้องประสานการทางานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจใน
บทบาทหน้าที่ และภารกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการเป็นกลไกสาคัญเพื่อ
การพัฒ นาเศรษฐกิจ อาสาสมัค ร กศน. การส่ งเสริมให้ ผู้ มีจิต อาสา ตลอดจนผู้ รู้ ภูมิปัญญาท้ องถิ่น และ
ข้าราชการบานาญ และผู้บุคคลสาคัญในชุมชนเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามาเป็นผู้สื่อสารข้อมูล
ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้
จัดและผู้ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามจะต้องเสริม สร้างขวัญและกาลังใจในรูปแบบต่างๆ
แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้เห็นคุณค่าของตนเองในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การส่งเสริมการ
จัดการเรียนรู้ในชุมชนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตาบล/แขวง เป็นหน่วยงานในการ
ขับ เคลื่ อนหลั ก ส่ งเสริมกระบวนการเรี ย นรู้ ผ่านการจัดทาแผนชุมชน เวทีชาวบ้าน เพื่อนาความรู้ที่ได้ไป
แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้ มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆ ของ
หน่วยงานที่จัดการศึกษาในชุมชน โดยคานึงถึงความต้องการ เหมาะสม และสอดคล้องกับกับบริบทของพื้นที่
ส่งเสริมให้มีการขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชน เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ ได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ส่งเสริมการจัด
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนั บสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ อย่างเป็น
ระบบ ต่อเนื่องและตรงความต้องการของกลุ่มเปูาหมาย จัดทาฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน. เพื่อ
นาไปใช้ในการวางแผน ประเมิน และติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการดาเนินงาน
เพื่อสนับสนุ นโครงการอันเนื่ องมาจากพระราชดาริ และพัฒ นาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟูา
หลวง” ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างเต็มความศักยภาพ
โครงการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของ ศฝช. จัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพ โดยคานึงถึงความ
เหมาะสมของพื้นทีใ่ ห้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน จัดและพัฒนา ศฝช. ให้เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพ
ซึ่งจะต้องจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย และให้ ศฝช.ทุกแห่ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร และ
การเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ โดยประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
และจัดระบบเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้อาชีพให้มีความเชื่อมโยงกันกับ กศน.ตาบล/แขวง ในพื้นที่ การส่งเสริม
และจัดการศึกษาสาหรับกลุ่มเปูาหมายพิเศษ จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในการรู้หนังสือ ภาษา และวัฒนธรรมไทย และยกระดับการศึกษาสาหรั บกลุ่มเปูาหมายพิเศษ ศึกษา วิจัย
พัฒ นาและเผยแพร่ รู ป แบบการจั ด ส่ ง เสริ ม และสนับ สนุ นการจัด การศึ กษา เพื่ อน าไปพั ฒ นาให้ มี ความ
53

เหมาะสมกับบริบทอย่างต่อเนื่อง พัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพและความ


ต้องการของกลุ่มเปูาหมายพิเศษ
นโยบายด้านสื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้แก่ พัฒนาสถานีวิทยุและสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อ
การศึกษา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการออกอากาศให้แก่กลุ่มเปูาหมายได้สามารถใช้เป็นช่อง
ทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อีกทั้งการพัฒนารายการจะต้องสร้ างให้เกิดการเชื่อมโยง
และตอบสนองต่ อ การจั ด กิ จ กรรมการศึ ก ษา เปิ ด โอกาสให้ แ ก่ บุ ค คลทุ ก กลุ่ ม มี ท างเลื อ กในการเรี ย นรู้ ที่
หลากหลายและมีคุณภาพ และจะต้องผลิตและเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาสาหรับกลุ่มเปูาหมาย
ทั่ว ไป และกลุ่ มเปู าหมายเพื่อคนพิการ ทั้งนี้ควรมีการพั ฒ นาบุคลากรของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
สามารถผลิตผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแล้วควรมีการพัฒนาบนระบบที่มีความหลากหลาย
มากขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ Tablet, DVD, CD, VCD และ MP3 เป็นต้น และสารวจ วิจัย และติดตาม
ประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึก ษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนามาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการส่งเสริม
การศึกษาผ่านสื่อ
นโยบายด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร จัดทาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร
ของสานักงาน กศน. ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2559 เพื่อพัฒนาบุคลากรของสานักงาน กศน. ทุกระดับ
ทุกประเภท ตลอดจนพัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกประเภทให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ หัวหน้า
กศน.ต าบล/แขวง คณะกรรมการ กศน.ต าบล/แขวง อาสาสมั ค ร กศน. เป็ น ต้ น และการสร้ า งเสริ ม
สัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานร่ วมกัน
อีกทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนานวัตกรรม และส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อน
ตาแหน่งที่สูงขึ้น รวมไปถึงการจัดให้มีการจัดทาโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล เพื่อการบริหาร
จัดการทรัพยากรของหน่วยงาน และส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดทาแนวทางการขับเคลื่อน กศน. สู่การเป็น
“องค์กรแห่งศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม” การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากาลัง ผลักดันให้มีการประกาศใช้
กฎหมายว่าด้ ว ยการศึกษาตลอดชี วิต รวมถึงการจัด ทาแผนการพั ฒ นาโครงสร้ างพื้น ฐาน และการระดม
ทรัพยากรจากชุมชน รวมถึงแสวงหาภาคีเครือข่ ายในท้องถิ่น เพื่อนามาใช้สาหรับดาเนินกิจกรรมส่งเสริมการ
เรียนรู้ของประชาชน บริหารอัตรากาลังที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน การพัฒนาองค์
ความรู้และฐานข้อมูล วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารทางการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการจัดการ
ความรู้ ในหน่ ว ยงาน ทั้ งนี้ เ พื่อ การพั ฒ นาประสิ ท ธิภ าพการด าเนิ นงานที่ ส อดคล้ อ งกับ ความต้ อ งการของ
ประชาชนและชุมชน อีกทั้งการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย อันจะเป็นเครื่องมือ
สาคัญในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และการสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์
ใหม่ของ กศน. ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทาของประชาชน ซึ่ง จะ
ทาให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ร่ วมกัน การกากับ นิเทศ ติดตาม
ประเมิน และรายงานผล สร้างกลไกการนิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดาเนินงานการศึกษานอก
54

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ทั้งนี้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม ในการดาเนินงานอย่างมีระบบ ซึ่งจะทาให้เกิดการพัฒนากลไกการติดตามประเมินผล
การปฏิบัติราชการตามคารับรองการปฏิบัติราชการประจาปี เพื่อการรายงานผลตามตัวชี้วัดตามคารับรองการ
ปฏิบัติราชการประจาปี ของสานักงาน กศน. ให้ได้ดาเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กาหนด
สรุ ป ได้ ว่ า นโยบายและจุ ด เน้ น การด าเนิ น งานของส านั ก งานส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2556 (สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย, 2555) ได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการพั ฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานและอัตรากาลัง ผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต รวมถึงการจัดทา
แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการระดมทรัพยากรจากชุมชน รวมถึงแสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น
เพื่ อ น ามาใช้ ส าหรั บ ด าเนิ น กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ ข องประชาชน บริ ห ารอั ต ราก าลั ง ที่ มี อ ยู่ ใ ห้ เ กิ ด
ประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
3) สานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) แผนยุทธศาสตร์
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2556-2560 โดยสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สานักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวคิดเกี่ยวกับครูตามเปูาหมายหลักว่า ผู้บริหาร ครู ผู้สอนและบุคลากรทางการ
ศึกษาเอกชนได้รับการพัฒนา ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น มีแนวทางการดาเนินงานเพื่อความสาเร็จคือ
การเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้ มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานด้ว ยเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ อย่าง
ต่อเนื่องด้วยการฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานเพื่อสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ให้บุคลากร รวมทั้งสร้างขวัญ
และกาลังใจด้วยการยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล เมื่อสามารถดาเนินการได้ผลตามเปูาหมาย
รัฐบาลมีนโยบายที่จะดาเนินการภายในช่วงระยะเวลา 4 ปี เกี่ยวกับครูในเรื่องการปฏิรูปครู
โดยยกฐานะให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ
สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดีและมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน พัฒนา
ระบบความก้าวหน้าของครู โดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถและวัดผลสัมฤทธิ์ผลของการ
จัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครู
โดยการพักชาระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิ
สารสนเทศเพื่ อ ใช้ ใ นการกระจายครู ขจั ด ปั ญ หาการขาดแคลนครู ใ นสาระวิ ช าหลั ก เช่ น คณิ ต ศาสตร์
วิทยาศาสตร์ และภาษา มีนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไปสู่เปูาหมายโดยการปฏิรูปผลิตครูและ
พัฒนาครูจานวนการผลิตสอดคล้องกับความต้องการมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนในโลก
ยุคใหม่ พัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดูแลระบบสวัสดิการครูเพื่อ
ขวัญและกาลังใจ
4) สถาบันการศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มียุทธศาสตร์
สานักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
55

1. สร้างและพัฒนาระบบงานและการบริการภายในสานักให้มีคุณภาพ
2. พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
3. เพิ่มสมรรถนะความรู้และทักษะบุคลากรอาชีวศึกษา
4. นาเทคโนโลยี นวัตกรรมและระบบสารสนเทศมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนา
บุคลากรอาชีวศึกษา
วิสัยทัศน์สานักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานครู
และบุคลากรการอาชีวศึกษาในระดับประเทศ และภูมิภาค
พันธกิจสานักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษาให้
ได้คุณภาพ
2. พัฒนาสมรรถนะ ความรู้และทักษะ บุคลากรอาชีวศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
3. พัฒ นาเทคโนโลยี นวัต กรรม และระบบสารสนเทศมาใช้ เพื่ อการพั ฒ นาบุ คลากร
อาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลง
อานาจหน้าที่สานักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
(ก) จัดทาและประเมิน มาตรฐานครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา พร้อมทั้งจัดทาข้อเสนอ
แผนการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
(ข) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
(ค) ดาเนิ น การฝึ กอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งประสานความ
ร่ว มมือกับ ภาครั ฐ และเอกชนในการฝึ กอบรมและพัฒ นาครู บุคลากรการอาชีว ศึกษา และครูฝึ กในสถาน
ประกอบการด้านอาชีพ
(ง) วิจัยและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ผลิตและบริการ
เครื่ อ งจั ก รกลและเทคโนโลยี พั ฒ นาระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื่ อ การเรี ย นการสอน เพื่ อ เพิ่ ม ขี ด
ความสามารถของครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
(จ) สร้างและพัฒนารูปแบบการฝึกสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาและสร้าง
เครือข่ายการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย
5) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
การจัดการศึกษาของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
อยู่ ใ นสั ง กั ด ของกระทรวงมหาดไทย มี บ ทบาทหน้ า ที่ ห นึ่ ง ในการจั ด การ ศึ ก ษาอย่ า งมี ม าตรฐาน
ตามพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แ ก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
มาตรา 16 (9) ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 41 บัญญัติให้องค์กรปกครอง
56

ส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและ


ความต้องการภายในท้องถิ่น จึงให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสิทธิใน
การจัดการศึกษาทั้งในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนท้องถิ่นได้
เรียนรู้ตลอดชีวิต
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตาบลมีอานาจหน้าที่ในการจัด
การศึกษาและมีสิทธิในการจัดการศึกษาได้ทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษาต่อเนื่อง (การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธ ยาศัย) เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชี วิต โดยจะต้องจัด
การศึกษาด้านต่างๆ ให้ได้มาตรฐานการศึกษาของชาติ 3 มาตรฐาน ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคน
ไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก (คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข) มาตรฐานที่ 2
แนวทางการจัดการศึกษา (จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสาคัญและการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็น
ฐาน) และมาตรฐานที่ 3 แนวทางการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ (การสร้างวิถีการเรียนรู้ และ
แห่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง)
ส่วนงานที่รับผิดชอบในเรื่องการวางแผนการศึกษา ได้แก่ ส่วนแผนและงบประมาณทางการ
ศึ ก ษาท้ อ งถิ่ น ส านั ก ประสานและพั ฒ นาการจั ด การศึ ก ษาท้ อ งถิ่ น กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น
กระทรวงมหาดไทย มี วิ สั ย ทั ศ น์ ใ นการจั ด การศึ ก ษาคื อ “ท้ อ งถิ่ น จั ด การศึ ก ษาตลอดชี วิ ต มี คุ ณ ภาพได้
มาตรฐานสากล ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ร่วมกันอย่างปรองดองสันติสุขและยั่ งยืน
ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (กระทรวงมหาดไทย, 2557)
กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น กระทรวงมหาดไทย ได้ ก าหนดแนวนโยบายการจั ด
การศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวิสัยทัศน์การจัดการศึกษาท้องถิ่น คือ การจัดการศึกษา
ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะที่สามารถบูรณาการวิถีชีวิตให้สอดคล้อง
กับสภาพและความต้องการของสังคมและประเทศชาติ ตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของ
ประชาชนในท้องถิ่น
พันธกิจ
1. พัฒนาจัดการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้
ตลอดชีวิต สู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของผู้เรียน
2. พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น
3. เสริมสร้างสังคมท้องถิ่นให้มีความปรองดองและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ยั่งยืน
4. ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยว
ภารกิจของการจัดการศึกษาท้องถิ่น
1. จัดการศึกษาปฐมวัย
2. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. จัดบริการให้ความรู้ด้านอาชีพ
57

4. จัดส่งเสริมกีฬานันทนาการกิจกรรมเยาวชน
5. การดาเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ สังคม
สติปัญญา ให้มีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่ อให้ เด็ กที่มี อายุ อยู่ ในเกณฑ์ก ารศึ กษาขั้น พื้น ฐานทุก คนในเขตความรับ ผิ ด ชอบขององค์ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานครบตามหลักสูตรอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
3. เพื่อพัฒนาการดาเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นให้มีคุณภาพ
ประสิทธิภาพ บรรลุเปูาหมาย วัตถุประสงค์เป็นไปตามมาตรฐานที่รัฐกาหนด และตรงตามความต้องการของ
ประชาชนในท้องถิ่น โดยมุ่งพัฒนาให้เกิดความสมดุล ทั้งทางด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย สังคม ระดับความคิด
ค่านิยม และพฤติกรรม ซึ่งเน้นวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายให้ผู้เรียนเป็นสาคัญ
4. เพื่ อ ให้ ก ารจั ด การศึ ก ษาท้ อ งถิ่ น ด าเนิ น การตามความต้ อ งการและค านึ ง ถึ ง การมี ส่ ว นร่ ว ม
การสนับสนุนบุคคล ครอบครัว ชุมชน เอกชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และประชาชนในท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาทุกระดับตามศักยภาพและความสามารถของท้องถิ่น
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้ออกกาลังกายและฝึกฝนกีฬาร่วมกิจกรรม
นันทนาการ และกิจกรรมการพัฒนาเยาวชนเพื่อพัฒนาให้เป็นคนมีคุณภาพทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ
และสังคม โดยมีความตระหนักในคุณค่าของการกีฬา นันทนาการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชน
ไปในแนวทางที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
6. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการสร้าง และพัฒนาอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ขาดโอกาส ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพพลภาพ ซึ่งเป็นการส่ งเสริม สนับสนุนการประกอบ
อาชีพให้มีงานทา ไม่เป็นภาระแก่สังคม
7. เพื่อบารุงการศาสนาและอนุรั กษ์ บารุงรักษาศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นไทย
นโยบายการจัดการศึกษาท้องถิ่น
1. นโยบายด้านความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เร่งรัดจัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิ
และโอกาสเสมอกันในการเข้ารับบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ให้ได้อย่างทั่ วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2. นโยบายด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย จัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยได้เข้ารับบริการทางการศึกษา
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน
ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นในท้องถิ่นมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน และจั ดระบบประกัน
คุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
58

4. นโยบายด้านระบบบริหารและการจัดการศึกษา จัดระบบบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้อง
กับระบบการจัดการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีเอกภาพในเชิงนโยบาย มีความ
หลากหลายในการปฏิบัติ อีกทั้งมีความพร้อมในการดาเนินการจัดการศึกษา และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษาท้องถิ่น การกาหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษา ให้คานึงถึงผลกระทบต่ อการศึกษา
ของเอกชนหรือรับฟังความคิดเห็นของเอกชน และประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย
5. นโยบายด้านครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา วางแผนบุคคล เพื่อใช้ในการประสานข้อมูล
และเป็นข้อมูลในการนาเสนอพิจารณาสรรหาบุคลากร พร้อมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็น
วิชาชีพชั้นสูง โดยมีสิท ธิประโยชน์สวัสดิการ ค่าตอบแทนเพียงพอและเหมาะสมกั บคุณภาพและมาตรฐาน
วิชาชีพชั้นสูง
6. นโยบายหลักสูตร ให้สถานศึกษาจัดทารายละเอียดสาระหลักสูตรแกนกลางและสาระหลักสูตร
ท้อ งถิ่ น ที่ เน้ น ความรู้ คุณ ธรรม กระบวนการเรีย นรู้ และบูร ณาการตามความเหมาะสมของแต่ ล ะระดั บ
การศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของสังคมและชาติ โดยคานึงถึงความ
เป็นมาทางประวัติศาสตร์
7. นโยบายด้านกระบวนการเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุก คนมีจิตสานึกในความเป็นไทย
และสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา
ตามธรรมชาติเต็มตามศักยภาพให้เป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัย
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
8. นโยบายด้านทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ระดมทรัพยากรและการลงทุ นเพื่อการศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในด้านงบประมาณการเงิน ทรัพย์สินในประเทศจากรัฐ บุคคล องค์กร
เอกชน องค์ก รวิ ช าชีพ สถาบั น ศาสนา สถานประกอบการ สถาบั น สั ง คมอื่น และต่ างประเทศมาใช้ จั ด
การศึกษา และจัดสรรงบประมาณให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสาคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
9. นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนเอกสาร
ทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถใน
การผลิต จัดให้มีการเงินสนับสนุนการผลิตและมีแรงจูงใจในการผลิต รวมถึงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนการสื่อสารทุกรูปแบบสื่อ ตัวนาและโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็นต่อการส่ง
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปแบบอื่น
10. นโยบายด้านการส่งเสริมการศึกษา นันทนาการ และกิจกรรมเด็กเยาวชน ส่งเสริมสนับสนุนการ
ดาเนินงานด้านการกีฬา นันทนาการ กิจกรรมเด็กเยาวชน รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิ ตทุกรูปแบบบริการแก่
เด็กเยาวชน ประชาชนอย่างหลากหลาย พอเพียงและมีประสิทธิภาพ
11. นโยบายการส่งเสริมอาชีพ สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ ให้มีการประกอบอาชีพอิสระที่ถูกต้อง
ตามกฎหมาย จัดให้มีการรวมกลุ่มอาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนระดมทุน และการจัดการ นาวิทยาการ
59

ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ในการปรับปรุงการประกอบอาชีพ การจัดการด้านการตลาดให้ได้มาตรฐานและความ


เหมาะสมคามสภาพท้องถิ่น
12. นโยบายด้านการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น บารุงรักษา
ส่งเสริมและอนุรักษ์สถาบันศาสนา ศิลปะ จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดสังคมภูมิปัญญาแห่ง
การเรียนรู้ และสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน สืบทอดวัฒนธรรมความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นไทยและ
ท้องถิ่น
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น
1) สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาให้ เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต
3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนท้องถิ่น
4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริม สนับสนุนให้สังคมท้องถิ่นมีความสมานฉันท์ อยู่ร่วมกันอย่าง
สันติสุขและยั่งยืน
5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยว จัดการศึกษาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
การจั ด การศึ ก ษาของท้ อ งถิ่ น นั้ น ได้ แ บ่ ง กลุ่ ม จั ง หวั ด เพื่ อ ความคล่ อ งตั ว ในการประสานงาน
แบ่งออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่น มีรายละเอียดดังนี้
60

ตารางที่ 2.2 การจัดการศึกษาของท้องถิ่นแบ่งกลุ่มจัดหวัด


จังหวัดที่เป็นศูนย์
กลุ่มจังหวัด จังหวัด ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 1 นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
(ภาคกลางตอนบน 1) สระบุรี
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 2 ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี
(ภาคกลางตอนบน 2)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 3 ฉะเชิ ง เทรา ปราจี น บุ รี สระแก้ ว ฉะเชิงเทรา
(ภาคกลางตอนกลาง) นครนายก สมุทรปราการ
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 4 ก า ญ จ น บุ รี น ค ร ป ฐ ม ร า ช บุ รี นครปฐม
(ภาคกลางตอนล่าง 1) สุพรรณบุรี
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 5 ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี
(ภาคกลางตอนล่าง 2) สมุทรสงคราม
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 6 ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
(ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย) พัทลุง
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 7 ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ภูเก็ต
(ภาคใต้ฝั่งอันดามัน)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 8 สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา
(ภาคใต้ชายแดน)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี
(ภาคตะวันออก)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 หนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลาภู อุดรธานี
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1) บึงกาฬ
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 11 นครพนม มุกดาหาร สกลนคร สกลนคร
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 12 ร้ อ ยเอ็ ด ขอนแก่ น มหาสารคาม ขอนแก่น
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง) กาฬสินธุ์
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 13 อ าน าจ เ จ ริ ญ ศ รี สะ เ ก ษ ย โ สธ ร อุบลราชธานี
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1) อุบลราชธานี
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 14 สุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลาปาง ลาพูน เชียงใหม่
(ภาคเหนือตอนบน 1)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 16 น่าน พะเยา เชียงราย แพร่ เชียงราย
(ภาคเหนือตอนบน 2)
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 17 ตาก พิ ษ ณุ โ ลก สุ โ ขทั ย เพชรบู ร ณ์ พิษณุโลก
(ภาคเหนือตอนล่าง 1) อุตรดิตถ์
กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 18 ก าแพงเพชร พิ จิ ต ร นครสวรร ค์ นครสวรรค์
(ภาคเหนือตอนล่าง 2) อุทัยธานี
ที่มา: กระทรวงมหาดไทย, 2557
61

2.4 การใช้ครูในต่างประเทศ
สาหรับการใช้ครูในต่างประเทศได้ให้ความสาคัญกับการกาหนดนโยบายการศึกษาระหว่างหน่วยงาน
ทางการศึกษาร่วมกับครอบครัว ธุรกิจในชุมชน ภาคอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรวม ดังที่รายงานการวิจัยเรื่อง
สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศออสเตรเลียและประเทศสหรัฐ อเมริกา
(ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ, 2548) เกี่ยวกับแนวทางของนโยบายการจัดการศึกษา อาทิ คาประกาศอดิเลด
ปี 1999 (Adelaide Declaration 1999) เป็นนโยบายฉบับแรกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้กาหนด
เปูาหมายอันเป็นพันธกิจร่วมกันของชาติ (National Goals for Schooling) ข้อหนึ่งว่า เสริมสร้างโรงเรียนให้
เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่ซึ่งครู นักเรียน และครอบครัวได้ทางานร่วมกันกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและ
ชุมชนโดยรวม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาที่ให้นักเรียนเข้าร่วมโครงการด้านอาชีพในช่วงปี
การศึกษาภาคบังคับ และมีโอกาสได้รับการศึกษาและฝึกอบรมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อีกทั้งยังจัด
โครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการประกอบการ (Enterprise Skills) ตลอดจนทักษะอื่นๆ ที่จะช่วยให้
ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตนในอนาคต โดยให้ความสาคัญอย่างมากกับการดูแลและพัฒนาครู จาก
รายงานการวิจัยกล่าวว่า ภาระงานของผู้บริหารโรงเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใช้เวลามาก
ที่สุ ดในงานสวัสดิการครูและนักเรี ยน รองลงมาคืองานด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และการเป็นผู้นาทาง
การศึกษา งานบริหารทั่วไป บริหารการเงิน งานสอน งานด้านการตลาด และงานอื่นๆ
สาหรับครูในประเทศออสเตรเลีย มีภาระงานในหลายมิติ ได้แก่ ภาระงานหลัก (Key Learning
Areas) ที่มี ครู ส อนมากที่สุ ดคื อ ภาษาอังกฤษ รองลงมาคือ คณิตศาสตร์ สั งคมและสิ่ งแวดล้ อมศึกษา
วิทยาศาสตร์ ศิลปะ เทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา และครูสอนภาษาอื่น นอกจากงานสอนยังทางาน
บริ หารและงานสนั บสนุน อื่นๆ ภาระงานอื่น ได้แก่ กิจกรรมพัฒ นาวิชาชีพ ออกแบบและพัฒ นาหลั กสู ตร
งานแผนงานโรงเรียน งานการตลาด งานชุมชนสัมพันธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพและความปลอดภัย ทั้งนี้
ครู ไ ด้ ท างานการเงิ น และการจั ด การสิ่ ง อ านวยความสะดวกของโรงเรี ย นน้ อ ยมาก อย่ า งไรก็ ดี ป ระเทศ
ออสเตรเลียยังประสบปัญหาการขาดแคลนครูตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งแม้ว่าได้รับการแก้ไขแต่กลับพบปัญหาอื่น คือ
การขาดแคลนครูในบางสาขาวิชาเอก
การศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายหลักในการจัดการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา
(K-12) ในการบริหารงาน มีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ให้อานาจแต่ละมลรัฐบริหารงานในแบบพื้นที่
เป็นฐาน (Site-Based Management) จากศูนย์แห่งชาติด้านสถิติการศึกษา (National Center for
Educational Statistics: NCES) รายงานผลการสารวจว่าในปีการศึกษา 2544-2545 ว่ามีบุคลากรทาง
การศึกษาของรัฐทั้งสิ้น 5,902,916 คน ประกอบด้วยสายบริหาร สายการสอนและสายสนับสนุน ผู้บริหาร
โรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบการวางแผนงานวิชาการ งานบริหาร รวมถึงการว่าจ้าง ประเมินผลการทางาน และ
พัฒนาทักษะให้แก่ครูผู้สอนและบุคลากรอื่น รวมทั้งต้องกาหนดนโยบายและเปูาหมายของโรงเรียนร่วมกับ
ผู้ปกครอง ผู้สอน ชุมชน ตามนโยบายการกระจายอานาจทางการศึกษา ครูผู้สอนมีหน้าที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ
62

เรื่องการจัดการเรียนการสอน ครูระดับก่อนประถมศึกษามีหน้าที่จัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถด้านภาษา
และทักษะทางสังคม ครูประจาชั้นระดับประถมมีหน้าที่สอนหลายรายวิชา ยกเว้นวิชาเฉพาะ ได้ แก่ ดนตรี
ศิลปะ พลศึกษา ครูมัธยมศึกษาสอนรายวิชาที่ตนเองเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ภาษาอังกฤษ สเปน คณิตศาสตร์
ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา และการงานพื้นฐานอาชีพ นอกจากนี้ยังมีงานอื่นที่ครูต้องทา คือเป็นที่ปรึกษากิจกรรม
นอกหลักสูตร แนะแนวการศึกษาและวิชาชีพ และภายใต้การบริหารแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน (Site-based) ครูจึง
สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจกิจการของโรงเรียนด้านอื่นๆ เช่น งบประมาณ บุคลากร หนังสือ
แบบเรี ย น การออกแบบและพัฒ นาหลั กสู ต ร และวิ ธีก ารสอน ในด้ านการวางแผนการผลิ ต ครูพ บว่า ไม่
สอดคล้องกับความต้องการใช้ครู กล่าวคือ มีจานวนการผลิตที่เพียงพอ แต่ขาดการวางแผนและเปูาหมายของ
การผลิตที่ไม่เชื่อมกับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษา การขาดการวางแผนบรรจุครูในภาพรวม ทาให้เกิด
ความไม่สอดคล้องระหว่างอุปสงค์กับอุปทานที่ว่า นักศึกษาครูจานวนมากไม่เรียนวิชาเอกในสาขาที่ขาดแคลน
ได้แก่ คณิต ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครู สอนสองภาษา และการศึกษาพิเศษ นักศึกษาบางส่ว นเปลี่ยนอาชีพ
หลังจากเรียนจบ รวมทั้งเลือกเขตการทางานบริเวณชานเมืองมากกว่าในเมืองหรือในชนบท นอกจากนี้ ยังมี
ปัญหาเรื่องเชื้อชาติที่มีนักเรียนในหลากหลายวัฒนธรรมและเชื้อชาติมากขึ้นแต่กลับขาดครูต่างสีผิวหรือต่าง
วัฒนธรรม ในทุกวิชา ทุกระดับชั้นและทุกพื้นที่ บางพื้นที่ต้องการครูเพศชายมากกว่าครูเพศหญิง รวมทั้ง
ปัญหาครูลาออกอีกส่วนหนึ่งด้วย
สรุปได้ว่า ทั้งสองประเทศยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูในบางสาขาวิชา เนื่องจากมิได้มีการสารวจ
ความต้องการที่แท้จริงก่อนการกาหนนโยบายการผลิตครู ทาให้มีครูไม่เพียงพอในบางพื้นที่นอกจากนี้ ยังการ
จัดการศึกษาในประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสาคัญกับความร่วมมือระหว่างองค์กรท้องถิ่น
และสถานศึกษามากยิ่งขึ้น สนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้งานในชุมชน เพื่อแสวงหาหนทางการเรียนของตนเอง
ต่อไป

3. นโยบายการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเทศไทยมีน โยบายการพัฒ นาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานมาอย่างยาวนาน โดยรัฐ ธรรมนูญ แห่ ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 80 (3) กาหนดให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 7 มาตรา 52 ก็ได้กาหนดให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาครู
และให้พัฒนาครู ประจ าการอย่างต่อเนื่อง โดยให้รัฐ พึงจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ มติที่
ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ก็
ได้อนุมัติในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพครู โดยระบุให้มีการสร้างเอกภาพการอบรมที่เน้น
โรงเรียนเป็น (SBT-school-based training) และสนับสนุนส่งเสริมเครือข่ายพัฒนาครู ได้แก่ ครูแกนนา ครู
ต้นแบบ ครูแห่งชาติ (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน, 2551: 99) สาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย ได้แก่ (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2553: 31-32)
63

1) สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ


พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
2) สานักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) มีอานาจหน้าที่พัฒนาครูเพื่อเตรียม
เข้าสู่ตาแหน่งการมีหรือเลือ่ นวิทยฐานะ การดารงรักษาสภาพวิทยฐานะ และการพัฒนาด้านอื่นๆ
3) คุรุสภา มีอานาจหน้าที่พัฒนาครูเพื่อการควบคุม กากับ ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชี พ มาตรฐาน
วิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ และการดารงรักษาสถานภาพของผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์
4) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดาเนินการพัฒนาครูตามนโยบายและ
โครงการหรือกิจกรรมที่กาหนดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเผยแพร่นวัตกรรม เทคนิควิธีใหม่ๆ การเพิ่มพูน
ศักยภาพเพื่อให้ครูมสี มรรถนะตามที่ต้องการในแต่ละด้านแต่ละเรื่องตามนโยบายของ สพฐ.
5) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดาเนินการพัฒนาครูเพื่อพัฒนา
สมรรถนะการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6) สานักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พัฒนาครูใน
ด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู การเพิ่มศักยภาพครูในด้านอื่นๆ
7) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พัฒนาครูด้วยการจัดการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มวุฒิหรือปรับวุฒิ จัดหลักสูตร
การพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ อบรมระยะสั้น อบรมเชิงปฏิบัติการตามความสนใจของครูและสถานศึกษา
8) สถาบันภาควิชาการภาคเอกชนและสานักพิมพ์ต่างๆ จัดโครงการพัฒนาครูประกอบการใช้สื่อหรือ
นวัตกรรมที่ผลิตขึ้น และเพิ่มพูนศักยภาพหรือสมรรถนะอื่นของครูตามความสนใจ

ตอนที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 81 รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน
ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุง
การศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสานึกที่
ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุน
การค้น คว้าวิจั ย ในศิล ปวิทยาการต่างๆ เร่ งรัดพัฒ นาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒ นาประเทศ
จะเห็นได้ว่า มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับเดียวที่ระบุให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ (มาตรา81) ซึ่งมีผล
ทาให้เกิดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และกฎหมายการศึกษาอื่นอีกหลายฉบับ (สานักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ออนไลน์)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 80 รัฐต้องดาเนินการตามแนวนโยบายด้าน
สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม โดยในข้อ (3) ระบุไว้ว่า พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัด
การศึก ษาทุ ก ระดั บ และทุ ก รู ป แบบให้ ส อดคล้ อ งกั บ เศรษฐกิ จและสั ง คม จั ดให้ มีแ ผนการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ
64

กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันการเปลี่ยน


ของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (สานักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร, ออนไลน์)

2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
สาระสาคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครู มีดังนี้
(กระทรวงศึกษาธิการ, ออนไลน์)
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู การจัดการศึกษาจะต้องเน้นให้บัณฑิตครูเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และสามารถที่จะถ่ายทอดคุณลักษณะดังกล่าวแก่ศิษย์และผู้อื่นได้
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสานึกที่ถู กต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรัก ษาและส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ เสรีภาพ ความ
เคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษา
ผลประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ภูมิปั ญญาไทย และความรู้ อั น เป็ น สากล ตลอดจนอนุ รักษ์ท รัพยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อ ม
มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝุรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเอง
อย่างต่อเนื่อง
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู การจัดการศึกษา จะต้องปลูกฝัง และถ่ายทอดกระบวนการปลูกฝัง
จิตสานึก การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การรักษาสิทธิ หน้าที่ และ
เสรีภาพ เคารพกฎหมาย รักวัฒนธรรมไทย เข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม สามารถจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนมีลักษณะและสมรรถภาพใฝุรู้ใฝุเรียน
มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การด าเนิ น งานของสถาบั น ผลิ ต ครู จะต้ อ งพั ฒ นารู ป แบบการผลิ ต บั ณ ฑิ ต ที่ มี ค ว ามสามารถจั ด
การศึกษาตลอดชีวิต และมีความหลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ประชาชนใน
ท้องถิ่น และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์ท้องถิ่นในการจัดการศึกษา อาทิ การมีส่วนร่วมในการ
กาหนดหลั ก สู ต ร การจั ดกิ จ กรรมการเรี ย นการสอน การตรวจสอบมาตรฐานการศึ ก ษา และการระดม
ทรัพยากรในการจัดการศึกษา รวมทั้งการนาผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา
65

มาตรา 9 การจัดระบบโครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้


1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2. มีการกระจายอานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
3. มีการกาหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภท
การศึกษา
4. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู
อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5. ระดมทรัพยากรธรรมชาติจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาบันประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู สถาบั นผลิตครูควรจัดระบบโครงสร้างที่ให้อิสระทางวิชาการแก่
โปรแกรมวิชาต่างๆ รวมทั้งคณาจารย์ โดยสถาบันทาหน้าที่ประสานงานและอานวยความสะดวก สถาบันต้อง
กาหนดมาตรฐานการศึกษาและระบบประกันคุณภาพของสถาบันและของทุกโปรแกรมวิชา สถาบันควรเป็น
ศูน ย์กลางในการพัฒ นามาตรฐานวิช าชีพครู โดยมีการอบรมหลั กสู ตรที่หลากหลาย ยืดหยุ่นและต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่ครู สถาบันต้องพัฒนาตัวเองให้ได้มาตรฐาน สามารถได้รับการรับรองในการทา
หน้าที่ออกใบประกอบวิชาชีพครูสาหรับผู้สาเร็จการศึกษา
มาตรา 15 การจั ด การศึ ก ษามี 3 รู ป แบบ คื อ การศึ ก ษาในระบบ การศึ ก ษานอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัย
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของ
การศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุ ดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีจัดการ
ศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญของการส าเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพของปัญหา และความต้องการของบุคคล
แต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ
ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้ง 3 รูปแบบก็ได้
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู การจัดการศึกษาควรจัดการศึกษาได้ทั้ง 3 รูปแบบ ในลักษณะที่
หลากหลาย เพื่อให้ โ อกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน โดยสามารถเทียบโอนผลการเรียนในแต่ล ะระบบ
การศึกษาได้ และส่งเสริมการผลิตบัณฑิตที่สามารถจัดการเรียนการสอน และพัฒนาหลักสูตรได้ทั้ง 3 รูปแบบ
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือ ว่ า ผู้ เ รี ย นมี ค วามส าคั ญ ที่สุ ด กระบวนจัด การศึ ก ษาต่ อ ต้อ งส่ ง เสริม ให้ ผู้ เ รี ยนสามารถพั ฒ นาตาม
ธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ
66

การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู การจัดการศึกษาต้องยึดหลักการผสมผสานการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และเป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูงขึ้น ในรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย
มาตรา 28 สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้าน
ความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม และมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนา
วิชาการ วิชาชีพชั้นสูง และการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และพัฒนาสังคม
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู สถาบันผลิตครูจะต้องพัฒนาหลักสูตรที่ประกอบด้วยความรู้ทาง
วิชาการ และวิชาชีพครู ที่มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม
และความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรของชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ ส่งเสริมความ
เข้มแข็งของชุมชนโดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการศึกษาอบรม มีการแสวงหา
ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชน ให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่าง
ชุมชน
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู ต้องขยายบทบาทการพัฒนาชุมชน โดยเน้นการนาการศึกษาเพื่อ
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน และเพื่อให้
บทบาทดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ควรพัฒนาศูนย์ศึกษาพัฒนาครูให้มีบทบาทดังกล่าวด้วย
มาตรา 52 กาหนดให้ กระทรวงศึกษาธิการส่ งเสริมให้ มีระบบ กระบวนการผลิ ต การพัฒ นาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงโดยการ
กากับ และประสานให้สถาบันที่ทาหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มี
ความพร้อม ความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่ และการพัฒนาบุคลากรประจาการอย่างต่อเนื่อง รัฐพึง
จัดสรรงบประมาณ และจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ
การด าเนิ น งานของสถาบั น ผลิ ต ครู การผลิ ต และพั ฒ นาครู จ ะต้ อ งเป็ น ระบบมากขึ้ น และเป็ น
กระบวนการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตครู องค์กรวิชาชีพครู และหน่วยงานผู้ใช้ครู
เพราะเป็นการกาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในอดีตไม่มี ดังนั้นสถาบันผลิตครู
จะต้องเป็นองค์กรชี้นาการพัฒนาวิชาชีพครู
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานเป็นองค์กรอิสระ
ภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกากับของกระทรวง มีอานาจหน้าที่กาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและ
เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กากับดูแ ลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการ
พัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา
ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน
ต้องมีใบประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกาหนด การจัดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหาร
67

การศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่ น คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีในการออกและเพิกถอนใบอนุญาต


ประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู องค์กรวิชาชีพครู จะมีบทบาทมากขึ้นในการกาหนดมาตรฐาน
และการออกใบประกอบวิชาชีพครู แก่ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึก ษา สถาบันการ
ผลิตครูในฐานะผู้ผลิตและพัฒนาวิชาชีพครูควรจะต้องพัฒนาตนเองให้ได้มาตรฐานพอที่จะสามารถประกัน
คุณภาพวิชาชีพครู ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา เพื่อขอใบประกอบวิชาชีพครูได้
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู สถาบันผลิตครู ต้องจัดทาแผนพัฒนาบุคลากร ในการผลิตและการ
ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อาทิ การใช้อินเตอร์เน็ต การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมสาเร็จรูป
ต่างๆ และการใช้เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เครื่องฉายภาพสามมิติ และเครื่องมือสมัยใหม่ทางการศึกษา และใน
กระบวนการเรียนการสอนจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียนด้วย
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาส
แรกที่ทาได้ เพื่อให้ได้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การดาเนินงานของสถาบันผลิตครู ต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และอุปกรณ์ที่ดีพอแก่ผู้เรียนใน
การพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความ
ต้องการ

3. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติข้าราชการครูและ


บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
สาระสาคัญ ของพระราชบั ญญัติส ภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.
2553 มีหลักการสาคัญ คือ (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ออนไลน์ : 2546, 2547, 2551, 2553) แก้ไข
พระราชบั ญญั ติค รู พุท ธศัก ราช 2488 ให้ เป็น กฎหมายว่า ด้ว ยสภาครู และบุค ลากรทางการศึ กษา
และกาหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่ (1) สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า
คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกากับของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ การศึกษา ตามมาตรา 53
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ (2) สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและ
สวัส ดิภ าพครู และบุ คลากรทางการศึกษา ภายใต้การบริห ารของคณะกรรมการส่ งเสริมสวัสดิการและ
สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกากับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอานาจ
หน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง รวมทั้ง
บริหารจัดการองค์การค้าของคุรุสภา
สาระสาคัญเกี่ยวกับคุรุสภา วัตถุประสงค์ของคุรุสภา (มาตรา 8) ได้แก่ (1) กาหนดมาตรฐานวิชาชีพ
ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้ง
68

การพัฒนาวิชาชีพ (2) กาหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ (3) ประสานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย


เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
อานาจหน้าที่ของคุรุสภา (มาตรา9) คุรุสภามีหน้าที่ (1) กาหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ (2) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (3) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอใบ
ประกอบวิชาชีพ (4) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต (5) สนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพ (6) ยกย่อง และ
ผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (7) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ
ตามมาตรฐานวิชาชีพ (8) รับรองความรู้ประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ (9) ส่งเสริมการศึกษาและการ
วิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (10) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย (11) ออก
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย (ก) การกาหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 (ข) การออกใบอนุญาต อายุ
ใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรั บรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ (ค)
หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต (ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต(จ)
จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ (ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ (ช) วิธีการสรรหา การเลือก
การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (ซ) องค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา (ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา และ(ญ)
การใดๆ ตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้ (12) ให้คาปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย
การพัฒนาวิชาชีพ (13) ให้คาแนะนาหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือ การ
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ (14) กาหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทาการใดๆ อันอยู่ในอานาจหน้าที่ของคุรุ
สภา และ (15) ดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
การเสนอร่างข้อบังคับคุรุสภา จะกระทาได้เมื่อคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบกับร่างข้อบังคับ
ดังกล่าว และให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างข้อบังคับนั้นต่อรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า รัฐมนตรีอาจยับยั้งร่าง
ข้อบังคับนั้นได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลโดยแจ้งชัด นอกจากอานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คุรุสภามีอานาจกระทา
กิจการ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(2) ทานิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ (3) กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามวัตถุประสงค์ของ คุรุสภา
(4) สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 2-3 รายได้ของคุรุสภา (มาตรา 10) ได้แก่ (1)
ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ (2) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน (3) ผลประโยชน์จากการจัดการ
ทรัพย์สินและการดาเนินกิจการของคุรุสภา (4) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา และ (5) ดอกผลของ
เงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4) รายได้ของคุรุสภา ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนาส่งกระทรวงการคลังตาม
กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมาย
ภาษีอากร
คณะกรรมการคุรุ สภา เป็ น องค์ ก รบริห าร มีอ านาจหน้ าที่ บ ริห าร อ านาจหน้ าที่ ของคุ รุส ภา
องค์ประกอบของคณะกรรมการคุรุสภา มีจานวน 39 คน (มาตรา 12) ประกอบด้วย (1) ประธานกรรมการซึ่ง
69

คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ (2) กรรมการโดยตาแหน่ง 8 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ผู้อานวยการสานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หัวหน้าสานักงาน
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
จาก ผู้ที่ประสบการณ์สูง ด้านละ 1 คน รวม 7 คน (4) กรรมการจากผู้ดารงตาแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์
ซึ่งเลือกตั้งกันเอง 4 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3 คน และเอกชน 1 คน (5) กรรมการจากผู้ประกอบ
วิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเลือกตั้งจากผู้ที่ดารงตาแหน่ง ครู ผู้บริหารทางการศึกษา และมาจากสังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามสัดส่วนจานวน
ผู้ประกอบวิชาชีพ 19 คน และ (6) เลขาธิการคุรุสภา เป็นเลขานุการ
การได้มาซึ่งคณะกรรมการคุรุสภา (มาตรา 12 วรรคท้าย และมาตรา 18) วิธีการ (1) ประธาน
กรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้วิธีการสรรหา (2) กรรมการจากผู้แทนผู้ดารงตาแหน่งคณบดี ศาสตร์
คณะครุ หรือศึกษาศาสตร์ ใช้วิธีการเลือกกันเอง และ (3) กรรมการจาก ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ใช้
วิธีการเลือกตั้ง
วาระการดารงตาแหน่งของกรรมการคุรุสภา (มาตรา 16) ให้กรรมการตามข้อ (1) (3) (4) และ (5) อยู่ใน
ตาแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดารงตาแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
หน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา (มาตรา 20) กรรมการคุรุสภามีหน้าที่ (1) บริหารตามอานาจ
หน้าที่ของคุรุสภา (2) ให้คาปรึกษาแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (3) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คาสั่งของ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54 (4) เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอานาจและหน้าที่ที่กฎหมายกาหนด (5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
เพือ่ กระทาการใดๆ อันอยู่ในอานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา (6) ควบคุมดูแลการบริหารงานทั่วไป
ตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับ หรือข้อกาหนดเกี่ยวกับสานักงานเลขาธิการคุรุสภา ในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การ
จัดแบ่งส่วนงานและหน้าที่ของสานักงานคุรุสภา (ข) การกาหนดตาแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน
ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา (ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน
วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตาแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่
รวมทั้งวิธีการเงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้า หน้าที่ของคุรุสภา (ง) การจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สิน
ของคุรุสภา (จ) กาหนดอานาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน (7) กาหนด
นโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดาเนินงานของสานักงานเลขาธิการคุรุสภา (8)
ปฏิบัติการอื่น ใดตามที่กฎหมายกาหนดไว้ให้ เป็นอานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุส ภา และ (9)
พิจารณาหรือดาเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
70

คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คณะกรรมการมาตรฐานวิช าชีพ มีห น้าที่ควบคุมและรักษา


มาตรฐานการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มีจานวน 17 คน (มาตรา 21) ประกอบด้วย (1) ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา (2) กรรมการโดยตาแหน่ง 3 คน ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาสรรหา จากผู้ทรงคุณวุฒิสูงด้าน
การศึกษา การบริหารและกฎหมาย 4 คน (4) กรรมการจากคณาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์ ทั้งของรัฐและ
เอกชน ซึ่งเลือกกันเอง 2 คน (5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเลือกตั้งจากผู้ที่ดารง
ตาแหน่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือดารงตาแหน่งอาจารย์ 3 หรือมีวิทยฐานะเป็น
ครูชานาญการขึ้นไป 6 คน ผู้ที่ดารงตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและมีประสบการณ์ในตาแหน่งไม่น้อยกว่า
10 ปี ผู้ที่ดารงตาแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มีประสบการณ์ในตาแหน่งไม่น้อยกว่า 10 ปี และบุคลากรทางการ
ศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์ ในตาแหน่งไม่น้อยกว่า 10 ปี และ (6) เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและ
เลขานุการ
การได้มาซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (มาตรา 22) ใช้วิธีการสรรหา การเลือกและการ
เลือกตั้ง ตามที่กาหนดในข้อบังคับคุรุสภา วาระดารงตาแหน่งของกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (มาตรา 24) ให้
กรรมการตามข้อ 2.5.1 (3) (4) และ (5) อยู่ในตาแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกแต่จะดารง
ตาแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
อานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่ (1)
พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต (2)
กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ (3) พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากาหนด
มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ (4) ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศ (5) แต่งตั้งที่ปรึกษา
คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อกระทาการใดๆ อันอยู่ในอานาจและหน้าที่
ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกาหนดไว้ให้เป็นอานาจและหน้าที่ของ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และ (7) พิจารณาหรือดาเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ
คุรุสภามอบหมาย ให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเสนอรายงานการดาเนินงานประจาปีต่อคณะกรรมการ
คุรุสภาตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนดให้มีสานักงานเลขาธิการคุรุสภา รับผิดชอบเกี่ย วกับการ
ดาเนินงานของคุรุสภา (มาตรา 34) โดยมีเลขาธิการคุรุสภาบริหารกิจการของสานักงานเลขาธิการคุรุสภา และ
มีวาระอยู่ในตาแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (มาตรา 35-42)
ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัติ
นี้ การกาหนดวิชาชีพให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวงห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับ
ใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (มาตรา 43) (1) วิทยากรพิเศษทาง
71

การศึกษา (2) ผู้ที่ไม่ได้ป ระกอบวิชาชีพหลักทางด้านการสอน แต่ในบางครั้งต้องทาหน้าที่สอนด้วย (3)


นักศึกษา หรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งฝึกหัดในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย (5) ผู้สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือ
สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล
สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด (6) คณาจารย์ ผู้บริหารใน
ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน (7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา และ
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ คุณสมบัติและลั กษณะต้องห้ ามของผู้ ขอรับใบอนุญาต (มาตรา 44)
คุณสมบัติ (1) มีอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า (3) ผ่านการ
ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์
การประเมินปฏิบัติการสอน ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอัน
ดี (2) เป็นคนไร้ความสามารถ (3) เคยต้องโทษจาคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติ
ศักดิ์แห่งวิชาชีพ
การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การกาหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การ
ขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กาหนดในข้อบังคับของคุรุ
สภา (มาตรา 45) ผู้ขอรับใบอนุญาต ขอต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัย
ไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ตามวรรคหนึ่ง อาจอุทธรณ์คาสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการ คุรุสภา
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง

การประกอบวิชาชีพ มีข้อกาหนด (1) ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือ


พร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาต
เข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา (2) ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้อง
ประกอบวิชาชีพภายใต้ข้อบังคับของคุรุสภา (มาตรา 47) (3) ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตาม
มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามข้อบังคับของคุรุสภา (มาตรา 48) (4) ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่ง
อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ
หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพควบคุมนับแต่วันที่ทราบคาสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น (มาตรา 56)
มาตรฐานวิชาชีพ (มาตรา 49) ประกอบด้วย (1) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (2)
มาตรฐานการปฏิบัติงาน และ (3) มาตรฐานการปฏิบัติตน การกาหนดระดับคุณภาพของมาตรฐานในการ
ประกอบวิชาชีพ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
72

จรรยาบรรณของวิชาชีพ (มาตรา 50) ประกอบด้วย (1) จรรยาบรรณต่อตนเอง (2) จรรยาบรรณต่อ


วิชาชีพ (3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ (4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และ (5)จรรยาบรรณต่อ
สังคม
อานาจการวินิจฉัยชี้ขาด (มาตรา 54) ให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่าง
ใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ยกข้อกล่าวหา (2) ตักเตือน (3) ภาคทัณฑ์ (4) พักใช้ใบอนุญาตมีกาหนดระยะเวลา
ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี (5) เพิกถอนใบอนุญาต การอุทธรณ์คาวินิจฉัยชี้ขาด (มาตรา 55) ให้ (1) ผู้
ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพชี้ขาดตาม (2) (3) (4) หรือ (5) อาจอุทธรณ์คาวินิจฉัยต่อ
คณะกรรมการคุรุสภาภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ได้รับแจ้งคาวินิจฉัย (2) คาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ
คุรุสภาให้ทาเป็นคาสั่งคุรุสภาพร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาด การขอรับใบอนุญาตของผู้ถูกสั่งเพิกถอน
ใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอน จะยื่นขออีกไม่ได้จนกว่าจะพ้น 5 ปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน
(มาตรา 57)
สมาชิกของคุรุสภา ประเภทสมาชิกของคุรุสภา (มาตรา 58) มี 2 ประเภทดังนี้ (1) สมาชิกสามัญ
(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ คุณสมบั ติของสมาชิก (มาตรา 59) สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีใบอนุญาต
ตามพระราชบัญญัตินี้ (2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเป็น
เอกฉันท์
สาระสาคัญเกี่ยวกับคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นของ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการ
ศึกษา (2) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (3) ส่งเสริมและสนับสนุน
การจั ดการศึก ษาของกระทรวงในเรื่ องสื่ อ การเรียนการสอน และเรื่องอื่ นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา การดาเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และผดุง
เกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(มาตรา 63) ได้แก่ (1) ดาเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นของผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการศึกษา (2) ผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (3) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการ
ศึกษาได้รับสวัสดิการต่างๆ (4) ให้คาแนะนาในเรื่องการส่งเสริมสวัสดิการ สิทธิประโยชน์และความมั่นคงของผู้
ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) ดาเนินงานและบริหารจัดการองค์การจัดหา
ผลประโยชน์ของสานักงานฯ (6) ออกข้อบังคับและหลักเกณฑ์ในการดาเนินกิจการ (7) แต่งตั้งคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายให้กรรมการส่ งเสริมสวัสดิการฯ เพื่อกระทาการใดๆ แทน (8) สรรหา
และแต่ ง ตั้ ง เลขาธิ ก ารคณะกรรมการส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ก ารและสวั ส ดิ ภ าพครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา
(9) ดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและ
สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นองค์กรบริหาร มีจานวน 23 คน (มาตรา 64) ประกอบด้วย
73

(1) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน (2) กรรมการ โดยตาแหน่ง 6 คน เลขาธิการสภาการศึกษา


เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้น ฐาน เลขาธิก ารคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา เลขาธิ ก าร
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านละ 1 คน รวม 3 คน ด้าน
สวัสดิการสังคม ด้านบริหารธุรกิจและ ด้านกฎหมาย (4) กรรมการที่ได้รับเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพ
ทางการศึกษาที่มาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบัน อาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น 12 คน (5) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ การได้มาซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ (มาตรา 64 วรรคท้าย)
(1) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้วิธีการสรรหา (2) กรรมการผู้แทนจากผู้ประกอบวิชาชีพ ใช้วิธีการเลือกตั้ง วาระ
การดารงตาแหน่งของกรรมการ ส่งเสริมสวัสดิการฯ (มาตรา 65 วรรค 2) ให้กรรมการตามข้อ 3.3.1 (3) และ
(4) อยู่ในตาแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกแต่จะดารงตาแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
ให้มีสานักสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกากับ
ของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ (1) รับผิดชอบเกี่ยวกับการดาเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ
(2) ประสานและดาเนินการเกี่ยวกับ กิจการอื่นที่คณะกรรมการมอบหมาย (3) จัดทารายงานประจาปีเกี่ยวกับ
การดาเนิ นงาน นอกจากอานาจและหน้ าที่ตามวรรคหนึ่งให้ คณะกรรมการมีอานาจกระทากิจการตาม
วัตถุประสงค์ในการบริหารงานสานักงาน ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน
หรือดาเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ (2) ทานิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลง
ใดๆ (3) เข้าร่วมลงทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสานักงาน (4) กู้ยืม
เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสานักงาน (5) สนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯบริหารกิจการของสานักงาน และมี
วาระอยู่ในตาแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (มาตรา 69-73)
รายได้ของสานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ (มาตรา 68) มีรายได้จาก (1) เงินอุดหนุน
จากงบประมาณแผ่นดิน (2) เงินค่าบารุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ (3) เงินผลประโยชน์ต่างๆ จากการลงทุนและ
การจัดหาผลประโยชน์ (4) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน หรือองค์กรอื่นจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่าง
ประเทศ (5) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดาเนินกิจการของสานักงานฯ (6) ดอกผลของเงิน
และทรัพย์สินตาม (2) (3) (4) และ (5) รายได้ของสานักงานฯ ไม่เป็นรายได้ที่จะต้องนาส่งกระทรวงการคลัง
ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
การกากับดูแลของรัฐมนตรี (มาตรา 74) รัฐมนตรีมีหน้าที่ (1) กากับดูแลการดาเนินงานและจัดสรร
งบประมาณของรัฐอุดหนุน (2) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการ (3) สั่งเป็นหนังสือ
ให้ระงับหรือแก้ไขการกระทาใดๆ ที่ปรากฏว่าขัดต่อวัตถุประสงค์กฎหมาย หรือข้อบังคับ
74

บทเฉพาะกาล
1) ให้ คณะกรรมการอ านวยการคุรุส ภาเท่าที่มีอ ยู่ตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 ปฏิบัติห น้า ที่
คณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ ไปพลางก่อน
2) ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง จานวน 15 คน ให้มีหน้าที่ดาเนินการให้ได้มาซึ่ง
คณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ ภายใน 180 วัน นับแต่พระราชบัญญัติใช้บังคับ
(มาตรา 77) ประกอบด้วย (1) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 คน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภา
การศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการ
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์สูง ด้านละ 1 คน รวม5 คน
(3) ผู้แทนสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งเลือกกันเอง 5 คน ให้คณะกรรมการคุรุสภาและ
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ ดาเนินการให้มีการแต่งตั้งเลขาธิการคุรุสภาและเลขาธิการคณะกรรมการ
ส่งเสริมสวัสดิการฯ แล้วแต่กรณี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับการแต่งตั้ง (มาตรา 78) ให้
เลขาธิก ารคุรุ ส ภา ตามพระราชบั ญญั ติ ค รู พ.ศ.2488 ปฏิ บัติ ห น้ าที่ เ ลขาธิ การคุ รุส ภาและเลขาธิก าร
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ และให้รองเลขาธิการคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ปฏิบัติ
หน้าที่รองเลขาธิการคุรุสภาและรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ ตามพระราชบัญญัตินี้ไปก่อน
จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการ (มาตรา 79) ให้เจ้าหน้าที่และพนักงานของคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู
พ.ศ.2488 เป็นเจ้าหน้าที่และพนักงานของคุรุสภา และของสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ ตาม
พระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี โดยให้ดาเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
ให้มีการปรับปรุงการบริหารจัดการขององค์การค้าของคุรุสภาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและมี
ประสิทธิภาพสามารถแข่งขันอย่างเสรีได้
ผู้ใดเป็นครูซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อยู่แล้วก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้
บังคับ มีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้
เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา (มาตรา 81)
ในวาระเริ่มแรกให้คุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ดารงตาแหน่งครู
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และภายใน 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มี
การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาตามข้อบังคับของคุรุสภา ทั้งนี้ให้ผู้ปฏิบัติงานในตาแหน่ง
ดังกล่าว มีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 82)
ให้วุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กาหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและ
แต่งตั้ งเป็ น ข้าราชการครู ก่อนวั น ที่พระราชบัญ ญัตินี้ใช้ บังคับ เป็นคุ ณวุฒิ ในการขอรั บใบอนุ ญาตตาม
พระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มาตรา 85)
ให้สมาชิกคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 ที่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ อยู่ก่อน
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการนั้นๆ ต่อไป (มาตรา 86)
75

พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา


ฉบับฎีกาเล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ธันวาคม 2557 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 23 ธันวาคม 2557
มาตรา 5 บรรดาคาว่า "ข้าราชการพลเรือน" ที่มีอยู่ในกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นใด
ให้หมายความรวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ
หรือข้อบังคับอื่นใดที่บัญญัติไว้สาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะ
มาตรา 7 "คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา"เรียกโดยย่อว่า "ก.ค.ศ."
มีจานวน 21 คน เป็นคณะกรรมการระดับนโยบาย ประกอบด้วย
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(2) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ
(3) กรรมการโดยตาแหน่งจานวนห้าคน ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคุรุสภา และ
เลขาธิการ ก.พ.
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจานวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากบุคคลที่มีความรู้ ความ
เชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารการ
จัดการภาครัฐ ด้านการบริหารองค์กร ด้านการศึกษาพิเศษ และด้านการบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์
ด้านละหนึ่งคน
(5) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จานวนเจ็ดคน
ประกอบด้วย ผู้แทนผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา จานวนหนึ่งคน ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา
หรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด จานวนหนึ่งคน
ผู้แทนข้าราชการครู จานวนสี่คน และผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น จานวนหนึ่งคน
เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสานักงาน ก.ค.ศ.
เป็นผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน (เลขา ก.ค.ศ.เป็นเพียงเลขานุการที่ประชุมเท่านั้น ไม่มีสิทธิออกเสียง)
มาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง
(4) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(5) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตาแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
(6) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย
76

มาตรา 9 กรรมการผู้แทนผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้


(1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน
(2) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย
มาตรา 10 กรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นใน
หน่วยงานทางการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน
(2) มีประสบการณ์ด้านการบริหารในตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่อ
อย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
(3) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย
มาตรา 11 กรรมการผู้แทนข้าราชการครูต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน
(2) มีประสบการณ์ด้า นปฏิบัติการสอนในวิทยฐานะไม่ต่ากว่าครูชานาญการหรือเทียบเท่า หรือมี
ประสบการณ์การสอนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี
(3) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย
มาตรา 12 กรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ากว่าระดับปริญญาตรี
(2) มีประสบการณ์ด้านสนับสนุนการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับ
การจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี
(3) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย
มาตรา 13 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีวาระอยู่ในตาแหน่งคราวละสี่ปี และเลือกใหม่ได้อีกแต่จะดารงตาแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสอง
วาระมิไ ด้ ถ้ากรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิห รื อกรรมการผู้ แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่างลง
ให้ดาเนินการแต่งตั้งหรือสรรหากรรมการแทนตาแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน เว้นแต่วาระการดารงตาแหน่ง
ของกรรมการผู้นั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดาเนินการแต่งตั้งหรือสรรหากรรมการแทนก็ได้ และให้กรรมการ
ซึ่งแทนกรรมการในตาแหน่ ง ที่ว่างลง มีว าระอยู่ในตาแหน่งเท่ากั บระยะเวลาที่เหลื ออยู่ของผู้ ซึ่งตนแทน
เมื่อครบกาหนดตามวาระ หากยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการ
ครู และบุ คลากรทางการศึก ษาขึ้ น ใหม่ ให้ ก รรมการซึ่ งพ้ นจากต าแหน่ งตามวาระนั้ น อยู่ ใ นต าแหน่ งเพื่ อ
ดาเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่ง
ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
77

มาตรา 14 นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งเมื่อ


(1) ตาย
(2) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8
(6) ได้รั บ โทษจ าคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุ ดให้ จาคุก เว้นแต่ เป็น โทษส าหรับความผิ ดที่ได้กระท า
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก
มาตรา 15 นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาพ้นจากตาแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
(3) พ้นจากการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 12
(5) ถูกถอดถอนโดยรัฐมนตรีตามมติของ ก.ค.ศ.ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจานวน
กรรมการทั้งหมด
สาระส าคัญของพระราชบั ญญั ติข้ าราชการครู และบุค ลากรทางการศึ กษา (ฉบับ ที่3) พ.ศ.2553
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 มีผลบังคับใช้ 23 กรกฎาคม 2553
1. เพิ่มจานวน ก.ค.ศ.เป็น 31 คน (เดิม28 คน) โดยเพิ่มสัดส่วนผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษามาจากการเลือกตั้งจากเดิมเก้าคนเป็นสิบสองคน (เพิ่มจากเดิม3 คน) ได้แก่ผู้แทนผู้อานวยการ
ส านั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษาและมั ธ ยมศึ ก ษาอย่ า งละ1 คน (2 คน) และผู้ แ ทนผู้ บ ริ ห าร
สถานศึกษาประถมศึกษาและมัธ ยมศึกษาอย่างละ 1 คน (2 คน) ผู้ แทนบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างละ1 คน (2 คน) ผู้แทนครู 5 คน (ครูประถมศึกษา 3 คน ครู
มัธยมศึกษา 1 คน ครูอาชีวศึกษา 1 คน) และผู้แทนครูสังกัดอื่นๆ เช่น สป.ศธ. สกอ. กระทรวงการท่องเที่ยว
กระทรวงวัฒนธรรม 1 คน
2. ก าหนดให้ มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
มัธยมศึกษา ประกอบด้วย ประธานจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยตาแหน่ง 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ผู้แทนข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา 3 คน และ ผอ.สพท. เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. ให้กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเดิม (9 คน) ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
จนกว่าจะมีการเลื อกตั้งกรรมการฯ ตามพรบ.ใหม่ แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน ส่ว นผู้ แทนข้าราชการครูและ
78

บุคลากรทางการศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เดิม ให้เป็นอ.ก.ค.ศ.เขตประถมศึกษา (เว้นแต่ผู้แทนครู ผู้บริหารโรงเรียน


มัธยมศึกษาให้พ้นจากตาแหน่งไป)
4. ระหว่างยังไม่มี อ.ก.ค.ศ.เขตมัธยม ให้ ก.ค.ศ. แต่งตั้งอ.ก.ค.ศ.วิสามัญทาหน้าที่แทนจนกว่าจะได้มา
ซึ่งกรรมการตามกฎหมายใหม่แต่ต้องไม่เกิน 120 วัน)
4. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)
ในการผลิตบัณฑิตครู กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 ซึ่งมี
รายละเอียดปรากฏใน มคอ. 1 ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2554) โดยระบุไว้ว่า ลักษณะของสาขาครุศาสตร์/
ศึกษาศาสตร์ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับศิลปะและจิตวิทยาการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ การผลิตครูใหม่หรือการ
เตรี ย มครู และบุ คลากรทางการศึกษาก่อนประจาการ รวมทั้ง การพัฒ นาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจาการ สาหรับการศึกษาในระบบ การศึ กษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการเรียนรู้ที่ไม่
เป็นทางการ การจัดการศึกษาในสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ประกอบด้วยวิชาครูและวิชาเอกที่จะสอน ทั้งใน
ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จึงมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
ซึ่งเชื่อมโยงและบูรณาการกับสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาคนทั้งในวัยเรียนและ
นอกวัยเรียนให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
บัณฑิตครูจะต้องมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ
1) มีคุณธรรม มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีความรับผิดชอบสูงต่อ
วิชาการ วิชาชีพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2) มีความอดทน ใจกว้างและมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งการทางานร่วมกันกับ
ผู้เรียนและผู้ร่วมงานกลุ่ม
3) มีความรอบรู้และมีความสามารถประยุกต์ความเข้าใจอั นถ่องแท้ในทฤษฎี และระเบียบวิธีการ
ศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่
4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา และข้อโต้แย้งโดยการแสดงออกซึ่งภาวะผู้นาในการ
แสวงหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมและปฏิบัติได้
5) มีความสามารถในการพิจารณาแสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ
วิชาชีพและสังคมอย่างมีเหตุผลที่สมเหตุสมผล โดยการบูรณาการศาสตร์แบบสหวิทยาการและพหุวิทยากรเพื่อ
เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
6) มีความสามารถในการติดตามพัฒนาการของศาสตร์ทั้งหลาย และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนา
สมรรถนะของตนอยู่เสมอ
นอกจากนี้ บัณฑิตครูจะต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ ดังนี้
79

ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1) แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีคุณธรรมที่
เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจโลก มีจิตสาธารณะ
เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี
2) สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูเชิงสัมพัทธ์โดย
ใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น และประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
ด้านความรู้
1) มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาที่จะสอน อย่างกว้า งขวางลึกซึ้ง และเป็น
ระบบ
2) มีความตระหนักรู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ ทั้งการบูรณา
การข้ามศาสตร์ และการบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริง
3) มีความเข้าใจความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้ง ตระหนัก
ถึงความสาคัญของงานวิจัยและการวิจัยในการต่อยอดความรู้
4) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ และสามารถนาไป
ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพครูอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านทักษะทางปัญญา
1) สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทาความเข้าใจ และประเมินข้อมูลสารสนเทศและแนวคิดจาก
แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน การวินิจฉัย แก้ปัญหา และทาการวิจัยเพื่อพัฒนางานและ
พัฒนาองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
2) สามารถคิดแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออก และนาไปสู่การแก้ไขได้อย่าง
สร้างสรรค์ โดยคานึงถึงความรู้ทางภาคทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ
3) มีความเป็นผู้นาทางปัญญาในการคิดพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ และการพัฒนาศาสตร์
ทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีนวัตกรรม
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1) มีความไวในการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีมุมมองเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
และทางสังคม
2) มีความเอาใจใส่ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
3) มีภาวะผู้นาและผู้ตามที่ดี มีความสัมพั นธ์ที่ดีกับผู้เรียน และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้ง
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1) มีความไวในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ ภาษาพูด
และภาษาเขียน อันมีผลให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
80

2) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิตที่ดีในการประมวลผล แปลความหมาย และเลือกใช้ข้อมูล


สารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง
3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิ ภาพทั้งการพูด การเขียน และนาเสนอด้วย
รูปแบบที่เหมาะสมสาหรับบุคคลและกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน
ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
1) มีความเชี่ย วชาญในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ
(Formal) รูปแบบกึ่งทางการ (Non-formal) และรูปแบบไม่เป็นทางการ (Informal) อย่างสร้างสรรค์
2) มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้สาหรับผู้เรียนที่หลากหลาย ทั้งผู้เรียนที่มีความสามารถ
พิเศษ ผู้เรียนที่มีความสามารถปานกลาง และผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีนวัตกรรม
3) มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอนอย่างบูรณาการ

6. มาตรฐานวิชาชีพครู
ครูเป็นวิชาชีพที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ จึงมีความจาเป็นที่จะต้องมีมาตรฐาน
วิชาชีพครู เพื่อควบคุม ดูแลการประกอบวิชาชีพครูให้ดารงไว้ซึ่งความถูกต้อง มีเกียรติและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ
และเพื่อเป็นผู้สามารถนาพาประชาชนของชาติไปสู่การพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และ
ปลอดภัย (นารีรัตน์ เจริญเดช, ออนไลน์) โดยคุรุสภาได้มีประกาศบังคับข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐาน
วิชาชีพ พ.ศ.2556 และยังได้มีการประกาศการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการ
ประกอบอาชีพ พ.ศ.2557 ดังนี้
6.1 มาตรฐานวิชาชีพครู
สานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ประกาศข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 กาหนดว่า
“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ ทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริม
การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการรับผิดชอบสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญาตรีทั้งในรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา
ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา การสนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดกระบวนการ
เรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ส่วน “ครู” หมายความว่า
บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ
ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน (คุรุสภา, ออนไลน์ )
สาหรับมาตรฐานวิชาชีพตามข้อบังคับข้างต้น แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์
วิชาชีพ 2) มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน และ 3) มาตรฐานการปฏิบัติตน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เป็นข้อกาหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์จัดการ
เรี ย นการสอนหรื อ การจั ด การศึ ก ษา ซึ่ ง ผู้ ที่ ต้ อ งการประกอบวิ ช าชี พ ทางการศึ ก ษาจะต้ อ งมี ค วามรู้ แ ละ
ประสบการณ์ที่จะสามารถประกอบอาชีพได้ คือ (คุรุสภา, ออนไลน์ และนารีรัตน์ เจริญเดช, ออนไลน์)
81

โดยมาตรฐานความรู้ ประกอบด้ ว ยความรู้ 11 ด้ า น ได้ แ ก่ ความเป็ น ครู ปรั ช ญาการศึ ก ษา ภาษาและ


วัฒนธรรม จิตวิทยาสาหรับครู หลักสูตร การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ การประกัน
คุณภาพการศึกษา และคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ ส่วนมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ คือผ่าน
ประสบการณ์การสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่าน
เกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด
6.2 เกณฑ์การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร เป็นข้อมูลของประกาศการรับรองปริญญาฯ
สานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้มีประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการ
ศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557 โดยระบุไว้ว่า การรับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรจะพิ จารณา
จากมาตรฐาน 3 ด้าน คือ มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(สานักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2557)
82

ตารางที่ 2.3 มาตรฐานหลักสูตร


มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์การรับรอง
ก. วิชาชีพครู 1. มาตรฐานหลักสูตร
1. โครงสร้างหลักสูตร 1.1 โครงสร้างหลักสูตรวิชาชีพ
1.1 ปริญญาตรี ( 5 ปี) (หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี และปริญญาตรีควบ
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 160 หน่วยกิต โท 6 ปี)
(2) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต (1) มีจานวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
(3) หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต (2) มีการกาหนดจานวนหน่วยกิตที่ให้เทียบโอน
(3.1) วิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต ได้ตามเกณฑ์ สกอ. และต้องเป็นวิชาที่เรียนมาแล้ว
(รายวิชา ไม่น้อยกว่า 34 หน่วยกิต ปฏิบัติการสอน ไม่เกิน 5 ปี
ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต) (3) มีการลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคการศึกษา
(3.2) วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 78 หน่วยกิต (ถ้าเป็น ตามเกณฑ์ของ สกอ.
วิชาเอกคู่ไม่น้อยกว่าวิชาเอกละ 39 หน่วยกิต) (4) มีการกาหนดให้การทาวิทยานิพนธ์หรือสาระ
(4) หมวดวิชาเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต นิ พ นธ์ เป็ น งา นเดี่ ย วและมี กรรมการสอบ
1.2 ปริญญาตรีควบโท ( 6 ปี) วิ ท ยานิ พ นธ์ ต ามเกณฑ์ สกอ. (ส าหรั บ หลั ก สู ต ร
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 180 หน่วยกิต ปริญญาตรีควบโท 6 ปี)
(2) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 1.2 โครงสร้างหลักสูตรวิชาชีพครู
(3) หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต (หลั ก สู ต รประกาศนี ย บั ต รบั ณ ฑิ ต ปริ ญ ญาโท
(3.1) วิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต ปริญญาโทควบเอก 4 ปี และปริญญาเอก)
(รายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ปฏิบัติการสอนไม่ (1) มีจานวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
น้อยกว่า 12 หน่วยกิต) (2) มีการกาหนดจานวนหน่วยกิตที่ให้เทียบโอน
(3.2) วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 86 หน่วยกิต ตามเกณฑ์ สกอ. และต้องเป็นวิชาที่เรียนมาแล้วไม่
(ถ้าเป็นวิชาเอกคู่ไม่น้อยกว่าวิชาเอกละ 43 หน่วยกิต) เกิน 5 ปี กรณีหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
(4) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต วิชาชีพครูเป็นหลักสูตรเฉพาะ ไม่สามารถเทียบโอน
(5) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ได้
หรือสาระนิพนธ์ 3-6 หน่วยกิต (3) มีการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
1.3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ตามเกณฑ์ของ สกอ.
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต (4) มีการกาหนดให้ทาวิทยานิพนธ์หรือสาระ
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต นิ พ นธ์ เป็ น งา นเดี่ ย วและมี กรรมการสอบ
(3) ปฏิบัติการสอน ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ตามเกณฑ์ สกอ.
1.4 ปริญญาโท ( 2 ปี)
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
(รายวิชาไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต ปฏิบัติการสอนไม่น้อย
กว่า 6 หน่วยกิต)
(3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
หรือสาระนิพนธ์ 3-6 หน่วยกิต
83

ตารางที่ 2.3 (ต่อ)


มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์การรับรอง
1.5 ปริญญาโท ( 4 ปี) 1.3 ความรู้วิชาชีพครู
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต (1) ค าอธิ บ ายรายวิ ช าบั ง คั บ ในหลั ก สู ต ร
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต ประกอบด้วย มาตรฐานสาระความรู้ และสมรรถนะ
(รายวิชาไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต ปฏิบัติการสอนไม่น้อย ในแต่ละมาตรฐานไม่น้อยกว่าที่คุรุสภากาหนด
กว่า 8 หน่วยกิต) (2) มีการวัดและประเมินผลรายวิชาอย่างเป็น
(3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต ระบบ
1.6 ปริญญาเอก ( 3 ปี)
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 69 หน่วยกิต
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
(รายวิชาไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต ปฏิบัติการสอนไม่น้อย
กว่า 6 หน่วยกิต)
(3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
2. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2.1 มาตรฐานความรู้ 1.4 ประสบการณ์วิชาชีพครู
1) ความเป็นครู (1) ค าอธิ บ ายรายวิ ช าบั ง คั บ ในหลั ก สู ต ร
2) ปรัชญาการศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐาน สาระการฝึกทักษะ และ
3) ภาษาและวัฒนธรรม สมรรถนะไม่น้อยกว่าที่คุรุสภากาหนด
4) จิตวิทยาสาหรับครู (2) มีแผนการจัดกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็น
5) หลักสูตร กิ จ กรรมหลั ก สู ต รเป็ น ระยะๆ ตลอดหลั ก สู ต ร
6) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เพิ่มเติมจากกิจกรรมรายวิชา
7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (3) มี ข้ อ ก าหนดการปฏิ บั ติ ก ารสอนจะต้ อ ง
8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา มีหน่วยกิตรวม ไม่น้อย
9) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กว่ามาตรฐาน และมีชั่วโมงสอนในวิชาเอกไม่น้อย
10) การประกันคุณภาพการศึกษา กว่าสัปดาห์ละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15
11) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สั ป ดาห์ รวมไม่ น้ อ ยกว่ า 120 ชั่ ว โมง ต่ อ ภาค
2.2 มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ การศึกษา มีเวลาเตรียมสอน ตรวจงาน และการ
1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน ปฏิบัติ งานอื่ นที่ไ ด้รับมอบหมายไม่น้อ ยกว่า ภาค
2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ การศึกษาละ 120 ชั่วโมง
(4) มีก ารพบคณาจารย์ และเข้า ร่ ว มสั ม มนา
การศึ ก ษากั บ คณาจารย์ แ ละเพื่ อ นนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา
โดยการใช้สื่อและ/หรือ Face to face ไม่น้อยกว่า
15 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษา
(5) มีการวัดและประเมินผลการฝึกปฏิบัติวิชาชีพ
ระหว่างเรียนและการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
อย่างเป็นระบบ
84

ตารางที่ 2.3 (ต่อ)


มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์การรับรอง
3. การพัฒนาหลักสูตร 1.5 การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพครู
3.1 กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (1) มีคาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
(1) มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร สอดคล้องกับมาตรฐาน
(2) มีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง (2) มีเอกสารรายงานการวิพากษ์หลักสูตรและ
ด้านวิชาชีพครูและวิชาเนื้อหา การนาผลไปใช้ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
(3) มีการวิพากษ์หลักสูตรจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกและ (3) มี เอกสารระบุน โยบายและแผนงานการ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงหลักสูตร
3.2 คุณสมบัติของคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
(1) มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและวิชาเอก
(2) มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
3.3 การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตร
(1) มีนโยบายในการพัฒนาหรือการปรับปรุงหลักสูตร
(2) มีแผนงานที่ชัดเจนในการพัฒนาหรือการปรับปรุง
หลักสูตร
ข. วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา 1.6 โครงสร้างหลักสูตรวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
1. โครงสร้างของหลักสูตร และผู้บริหารการศึกษา
1.1 ประกาศนียบัตรบัณฑิต (1) มีจานวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต (2) มีการกาหนดจานวนหน่วยกิตที่ให้เทียบโอน
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต ได้ ต ามเกณฑ์ สกอ. โดยต้ อ งเป็ น รายวิ ชาที่ เ รี ย น
(3) ปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3 มาแล้วไม่เกิน ปี
หน่วยกิต (3) มีการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
1.2 ปริญญาโท ( 2 ปี) ตามเกณฑ์ สกอ.
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต (4) มีการกาหนดให้ทาวิทยานิพนธ์หรือสาระ
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต นิ พ น ธ์ เ ป็ น ง า น เ ดี่ ย วแ ล ะ มี ก ร ร ม ก า ร ส อ บ
(มีวิชาปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่า วิทยานิพนธ์ตามเกณฑ์
3 หน่วยกิต)
(3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสาระ
นิพนธ์ 3-6 หน่วยกิต
1.3 ปริญญาโทควบเอก ( 4 ปี)
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 69 หน่วยกิต
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
(มีวิชาปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต)
85

ตารางที่ 2.3 (ต่อ)


มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์การรับรอง
(3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
1.6 ปริญญาเอก
(1) จานวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
(2) รายวิชา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
(มีวิชาปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3
หน่วยกิต)
(3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ที่มา: สานักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2557
ตารางที่ 2.4 มาตรฐานการผลิต
มาตรฐานการผลิต เกณฑ์การรับรอง
1. กระบวนการคัดเลือกนักศึกษา 2. มาตรฐานการผลิต
(1) มีการกาหนดคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกนิสิต 2.1 กระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา
นักศึกษาที่เน้นการสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงเข้า (1) มี ก ารก าหนดคุ ณ สมบั ติ แ ละเกณฑ์ ก าร
ศึกษา คัดเลือกนิสิตนักศึกษาไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
(2) มีการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก โดยการสอบข้อเขียน (2) มีการใช้เครื่องมือในการประเมิ นผู้สมัค ร
และ/หรือการสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ประกอบการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา เช่น ข้อสอบวัด
หรือประเมินความรู้พื้นฐาน ข้อสอบวัดแววความ
เป็นครู
2. จานวนนิสิตนักศึกษา 2.2 จานวนนิสิตนักศึกษา
(1) มีการรับนิสิตนักศึกษาตามแผนการรับที่กาหนดไว้ใน (1) ข้อมูลการรับนิสิตนักศึกษาและแผนการรับ
หลักสูตร และแผนความต้องการกาลังคนในวิชาชีพในระยะ นิสิตนักศึกษาตามที่กาหนดในเล่มหลักสูตร
ยาว (2) ข้อมูลสัดส่วนคณาจารย์ต่อนิสิตนักศึกษา
(2) มีการรับนิสิตนักศึกษาสอดคล้องกับจานวนคณาจารย์ นักศึกษา 1 : 30 (อาจารย์ : นักศึกษา)
(3) หนึ่งห้องเรียนมีนิสิตนักศึกษาไม่เกิน 30 คน
3. คณาจารย์ 2.3 คณาจารย์
(1) คณาจารย์ประจาหลักสูตรมีจานวนและคุณวุฒิตาม (1) มีข้อมูลการแต่งตั้งคณาจารย์ประจาหลักสูตร
เกณฑ์ของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
(2) มีการแต่งตั้งคณาจารย์ที่ปรึกษาสาหรับนิสิตนักศึกษา (2) มีข้อมูลการแต่งตั้งคณาจารย์ที่ปรึกษาไม่น้อย
โดยมีการกาหนดหน้าที่อย่างชัดเจน กว่ามาตรฐาน
(3) คณาจารย์ผู้สอนรายวิชาชีพครูมีคุณวุฒิไม่น้อยกว่า (3) มีข้อมูลการแต่งตั้งคณาจารย์ผู้สอนไม่น้อย
ปริญญาโท หรือดารงตาแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่าผู้ช่วย กว่ามาตรฐาน
ศาสตราจารย์ หรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอนโดยมี (4) มีข้อมูลการแต่งตั้งคณาจารย์นิเทศก์ไม่น้ อย
ประสบการณ์ ไม่น้อยกว่า 10 ปี กว่ามาตรฐาน
(4) คณาจารย์ผู้สอนมีจานวนและคุณวุฒิตามเกณฑ์ของ
86

ตารางที่ 2.4 (ต่อ)


มาตรฐานการผลิต เกณฑ์การรับรอง
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(5) คณาจารย์นิเทศมีคุณวุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาโท (กรณี
หลักสูตร ป.ตรี) และไม่ต่ากว่า ป.เอก (ในกรณีหลักสูตรป.
โท/เอก) ในสาขาวิชาที่จะนิเทศ หรือมีประสบการณ์ในการ
นิเทศมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ในกรณีที่มีประสบการณ์ไม่ได้
ตามมาตรฐาน ให้ใช้การนิเทศร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์ตาม
มาตรฐาน
(6) คณาจารย์นิเทศก์มีจานวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน
1 : 10
(7) ผู้ควบคุมและผู้สอบวิทยานิพนธ์มีจานวนและคุณวุฒิ
ตามเกณฑ์ของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(8) ครู พี่ เ ลี้ ย ง และผู้ บ ริ ห ารพี่ เ ลี้ ย ง มี คุ ณ วุ ฒิ แ ละมี
ประสบการณ์ตรงกับการปฏิบัติการสอน หรือการบริหาร
4. ทรัพยากรการเรียนรู้ 2.4 ทรัพยากรการเรียนรู้
4.1 ห้องเรียน มี ข้ อ มู ล ทรั พ ยากรการเรี ย นรู้ ไ ม่ น้ อ ยกว่ า
(1) มีสภาพห้องเรียนที่เหมาะสม เพียงพอกับการจัดการ มาตรฐาน
เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
(2) มีวัตถุประสงค์ อุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ในปริมาณที่
เหมาะสมกับจานวนผู้เรียน
4.2 ห้องปฏิบัติการ
(1) มีห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมกับสาขาวิชาหรือวิชาเอก
ที่ เ ปิ ด สอน เช่ น ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารเทคโนโลยี ส ารสนเทศ
ห้องปฏิบัติการสอนแบบจุลภาค และห้องปฏิบัติการสื่อการ
สอน ฯลฯ
(2) มี วั ส ดุ อุ ป กรณ์ และสื่ อ การเรี ย นรู้ ใ นปริ ม าณที่
เหมาะสมกับจานวนผู้เรียน
(3) มี ก ารใช้ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารส าหรั บ การฝึ ก เพิ่ ม เติ ม
นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนปกติ
4.3 ห้องสมุด
(1) มีหนังสือ ตารา วารสาร และเอกสารทางวิชาการใน
สาขาวิชาที่เปิดสอนที่เหมาะสมกับจานวนผู้เรียน
(2) มีบริการสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง
เพียงพอ
(3) มี วั ส ดุ อุ ป กรณ์ และสื่ อ การเรี ย นรู้ ใ นปริ ม าณที่
เหมาะสมกับจานวนผู้เรียน
87

ตารางที่ 2.4 (ต่อ)


มาตรฐานการผลิต เกณฑ์การรับรอง
5. การบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน
5.1 การบริหารหลักสูตร 2.5 การบริหารหลักสูตร
(1) มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร (1) มีคาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
(1.1) องค์ประกอบครอบคลุมบุคคลที่เกี่ยวข้อง และมีการกาหนดหน้าที่ไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
(1.2) มีคุณวุฒิตรงกับหลักสูตรที่รับผิดชอบ (2) มีแผนการประเมินและพัฒนาคณาจารย์
(2) มีการกาหนดหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
ได้แก่
(2.1) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร
(2.2) การประเมินการเรียนรู้
(2.3) การพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
(2.4) การกาหนดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(2.5) การรายงานผลการปฏิบัติงาน
(3) มีการประเมินและพัฒนาคณาจารย์อย่างเป็นระบบ
5.2 การบริหารการเรียนการสอน 2.7 การจัดการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การ
(1) มีการจัดทาประมวลรายวิชา หรือรายละเอียดรายวิชา ฝึ ก ปฏิ บั ติ ก ารบริ ห ารสถานศึ ก ษา การบริ ห าร
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา การศึกษา และการนิเทศการศึกษา
(2) มีการจัดการเรียนการสอนตามข้อบังคับ ระเบียบ (1) มีรายชื่อโรงเรียนสาหรับปฏิบัติการสอน การ
หรือประกาศ ที่สถาบันกาหนด ฝึ ก ปฏิ บั ติ ก ารบริ ห ารสถานศึ ก ษา การบริ ห าร
(3) มีการจัดการเรียนการสอนครบตามคาอธิบายรายวิชา การศึ ก ษา และการนิ เ ทศการศึ ก ษา ไม่ น้ อ ยกว่ า
รายละเอียดรายวิชา จานวนหน่วยกิต และจานวนชั่วโมง มาตรฐาน
ตามที่หลักสูตรกาหนด (2) มี รายชื่อ ครูพี่ เลี้ย ง ผู้ บริ หารพี่เลี้ ยง และ
(4) มีการนาผลการประเมินการสอนไปใช้ในการปรับปรุง คณาจารย์นิเทศก็ไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
ประมวลรายวิชา หรือรายละเอียดรายวิชาอย่างต่อเนื่อง
5.3 การจั ดการปฏิบั ติ การสอนในสถานศึก ษา การฝึ ก 2.8 การจัดกิจกรรมเสริมความเป็นครู เสริมความ
ปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา การบริหารการศึกษา เป็ น ผู้ บ ริ ห ารสถานสถานศึ ก ษาและผู้ บ ริ ห าร
(1) สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่รับนิสิตนักศึกษาต้องมี การศึกษา
คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่คุรุสภากาหนด (1) มีคาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจกรรม
(2) สถานศึกษาหรือหน่วยงานมีการจัดครูพี่ เลี้ยง และ ไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
ผู้บริหารพี่เลี้ยงที่มีคุณสมบัติ และประสบการณ์ตามที่คุรุ (2) มีแผนการจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตร
สภากาหนด (3) มีคู่มือการประเมินผลและสมุดบันทึกหรือ
(3) มีการจัดหรือแต่งตั้งคณาจารย์นิเทศตามที่คุรุสภา ระเบียนการรายงานผลตามมาตรฐาน
กาหนด
88

ตารางที่ 2.4 (ต่อ)


มาตรฐานการผลิต เกณฑ์การรับรอง
6. การประกันคุณภาพการศึกษา 2.9 การประกันคุณภาพการศึกษา
6.1 มี ค ณะกรรมการรั บ ผิ ด ชอบการประกั น คุ ณ ภาพ (1) มีคาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
การศึกษา (2) มีเอกสารระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
6.2 มีระบบและแผนการดาเนินงานการประกันคุณภาพ (3) มี แ ผนการด าเนิ น งานประกั น คุ ณ ภาพ
การศึกษา การศึกษา
6.3 มีรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา (4) มีรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ที่มา: สานักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2557
ตารางที่ 2.5 มาตรฐานบัณฑิต
มาตรฐานบัณฑิต เกณฑ์การรับรอง
1. ความรู้ 3. มาตรฐานบัณฑิต
3.1 เรียนครบหลั กสู ตรที่ได้ รับ การรับ รองจากคุ รุ
สภา
2. การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา และการปฏิบัติการ 3.2 ผ่านเกณฑ์การประเมินของสถาบันการผลิต
วิชาชีพบริหารสถานศึกษา/บริหารการศึกษา 3.3 วิชาชีพครู
1) มี ก ารปฏิ บั ติ ก ารสอนในสถานศึ ก ษาที่ มี
คุ ณ สมบั ติ ต ามที่ ค ณะกรรมการคุ รุ ส ภาก าหนด
ไม่น้อยกว่า 1 ปี
2) มีรายงานผลการผ่านเกณฑ์การประเมินการ
ปฏิ บั ติ ก ารสอนในสถานศึ ก ษาตามมาตรฐาน
ประสบการณ์วิชาชีพครูที่คุรุสภากาหนด ได้แก่
2.1) สามารถจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ
2.2) สามารถประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน
2.3) สามารถทาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2.4) สามารถจั ด ทารายงานผลการเรี ย นรู้ แ ละ
พัฒนาผู้เรียน
3.4 วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษา
1) มีการปฏิบัติการวิชาชีพบริหารสถานศึกษา/
บริหารการศึกษา ในหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่
คณะกรรมการคุ รุ ส ภาก าหนด ไม่ น้ อ ยกว่ า 90
ชั่วโมง
2) มีรายงานผลการผ่านเกณฑ์การประเมินการ
ปฏิ บั ติ ก ารวิ ช าชี พ บริ ห ารสถานศึ ก ษา/บริ ห าร
การศึกษา
89

ตารางที่ 2.5 (ต่อ)


มาตรฐานบัณฑิต เกณฑ์การรับรอง
3. การปฏิบัติตน 3.5 มีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับความเป็นครูและ
ผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทางการศึ ก ษา โดยมี ผ ลการ
รับรองความประพฤติจากสถาบันการผลิต
4. การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู/ความเป็นผู้นา 3.6 วิชาชีพครู
1) เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะความ
เป็นครู ปีละไม่น้อยกว่า 1 กิจกรรม ได้แก่
1.1) การปฏิบัติธรรม หรือกิจกรรมอาสา
1.2) กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม
จรรยาบรรณของวิชาชีพ
3.7 วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการศึกษา
1) เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะความ
เป็นผู้นา ปีละไม่น้อยกว่า 1 กิจกรรม ได้แก่
1.1) กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม
จรรยาบรรณของวิชาชีพ
1.2) กิจกรรมประชุมสัมมนาทางวิชาการ บริหาร
การศึกษา/นิเทศการศึกษา
3.8 มีหลักฐานที่แสดงการเข้าร่วมกิจกรรมครบตาม
เกณฑ์ที่กาหนด และผ่านการประเมินจากสถาบัน
การผลิต
ที่มา: สานักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2557
90

ตอนที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


1. หน่วยงานผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัจ จุ บัน มีสถาบั นผลิ ตครู ขั้น พื้น ฐานในประเทศไทยประกอบด้ว ยสถาบันครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
จานวน 79 แห่ง จาก 6 สังกัด ได้แก่ๆ 1) มหาวิทยาลัยของรัฐ 18 แห่ง 2) มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ 1 แห่ง
3) มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง 4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 12 แห่ง 5) สถาบันการศึกษาเอกชน 9
แห่ง 6) สถานศึกษานอกสังกัด 4 แห่ง (สถาบันพลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราช
วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ) การผลิตครูมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้นบางปีที่มีการ
ลดการผลิตครูเล็กน้อย ในปีการศึกษา 2551 มีการผลิ ตครู จานวน 25,333 คน 2552 จานวน 36,601 คน
2553 จานวน 52,336 คน 2554 จานวน 66,472 คน 2555 จานวน 54,679 คน และ 2556 จานวน 50,131
คน (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 2.6 จานวนนักศึกษาเข้าใหม่ระดับปริญญาตรี สาขาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-


2556
หน่วย : คน
ปีการศึกษา
ที่ ประเภทสถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
รวมทั้งหมด 25,333 36,601 52,336 66,472 54,679 50,131
1 มหาวิทยาลัยของรัฐ (เดิม) 4,623 5,726 6,856 6,690 6,112 5,831
2 มหาวิทยาลัยรัฐไม่จากัดรับ 2,064 3,670 4,366 6,028 6,028 4,742
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 13,779 21,453 34,263 32,965 32,965 30,217
4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 1,588 2,037 1,725 1,975 1,975 1,877
5 สถาบันการศึกษาเอกชน 100 100 100 305 305 962
6 สถานศึกษานอกสังกัดฯ 3,179 3,615 5,026 7,294 7,294 6,495
ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558

2. หน่วยการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การใช้ ค รู ส่ ว นมากเป็ น สถานศึ ก ษาในสั ง กั ด ต่ า งๆ ทั้ ง ที่ สั ง กั ด
กระทรวงศึกษาธิการ เทศบาล กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนเอกชนในควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ
ตลอดจนหน่วยงานที่จัดตั้งเพื่อให้ความรู้และการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ในสั งกัดกระทรวง ทบวงอื่นๆ ได้แก่
โรงเรียน สถาบัน ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละสังกัด
91

2.1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานดาเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ คือ กระทรวงศึกษาธิการ
สานักงานปลัดกระทรวง สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส านั กงานเลขาธิการสภาการศึกษาและส านักงานเลขาธิการคณะรัฐ มนตรี ซึ่งจะทางานประสานร่ว มกั น
หากแต่หน่วยงานหลักที่ใช้ครูคือ โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ โดยมีจานวนโรงเรียนที่สังกัด สพฐ. ทั้งสิ้น
31,345 โรง แบ่งเป็น สปช. 28,911 โรง สามัญ 2,352 โรง พิเศษ 35 โรง สงเคราะห์ 38 โรง และสพฐ.ใหม่ 9
โรง และหน่ ว ยงานในพื้ น ที่ ที่ มีบ ทบาทโดยตรงในเรื่ อ งการใช้ ค รู ได้ แก่ ส านั กงานเขตพื้น ที่ ก ารศึ กษาทั้ ง
ระดับประถม (สพป.) ซึ่งมีทั้งสิ้น 183 แห่ง และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับมัธยม (สพม.) มีจานวน
ทัง้ สิ้น 42 แห่ง กระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ
สานักงานเขตพื้นที่ทางการศึกษามีอานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และระเบียบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ที่ได้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 กาหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยอยู่ภายใต้การกากับดูแลของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีอานาจหน้าที่ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิ การ พ.ศ.2546
กฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 กาหนด
อานาจหน้าที่ของสารักงานเขตมัธยมศึกษา พ.ศ.2553 ดังนี้
(1) จั ดทานโยบาย แผนพัฒ นา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้ ส อดคล้ องกั บ
นโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น
(2) วิเคราะห์ การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่ว ไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่
การศึกษาและแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกากับ ตรวจสอบติดตาม
การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(4) กากับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และในเขตพื้นที่การศึกษา
(5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและ
พัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(7) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(8) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่
หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(9) ดาเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
92

(10) ประสาน ส่งเสริม การดาเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทางานด้านการศึกษา


(11) ประสานงานปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสานักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา
(12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน
ใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งส่วนราชการภายใน สพม. และสพป. ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ.2553 และการแบ่งส่วนราชการ
ภายในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการภายในที่สนับสนุนการใช้ครู
ของสถานศึกษา กล่าวคือ
การแบ่งส่วนราชการในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 7 ส่วนราชการ คือ กลุ่มอานวยการ
กลุ่มบริหารบุคคล กลุ่มแผนและนโยบาย กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศ กลุ่มบริหารการเงินและ
ทรัพย์สิน และกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
การแบ่งส่วนราชการในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 6 ส่วนราชการ คือ กลุ่มอานวยการ
กลุ่มบริหารบุคคล กลุ่มแผนและนโยบาย กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศ กลุ่มบริหารการเงินและ
ทรัพย์สิน
2.2 สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สาหรับการพัฒนาครู กศน. ส่วนใหญ่ มีหน่วยงานทั้งระดับชาติและระดั บภูมิภาคและหน่วยงานเป็น
ผู้ ดาเนิ น การจั ดกิจ กรรมหรื อ โครงการส าหรับการพั ฒ นาครูในมิติต่ างๆ อาทิ การจัด กระบวนการเรียนรู้
การพัฒนาและยกระดับศักยภาพในการทางานและการบริหารโครงการ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจใน
สถานการณ์และองค์ความรู้ร่วมสมัย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ อให้การทางานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุ ด
รวมทั้งครูและบุคลากรมีความสุขในการทางาน
ส านั ก งานส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ระดั บ ต าบล (กศน.ต าบล)
มียุทธศาสตร์สาคัญในการสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ตามวิสัยทัศน์ที่กาหนดไว้ คือ “คนไทย
ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” (สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย,
2557)
ทั้ ง นี้ ส านั ก งานส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย จั ง หวั ด ทุ ก จั ง หวั ด
ได้ดาเนิ น การปรั บ ศูน ย์ การเรี ย นชุ มชนในตาบลให้ เ ป็น กศน.ตาบล โดยเป็นหน่ว ยงานที่อยู่ในสั งกัดศูน ย์
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอาเภอ ที่มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสัง คมแห่งการ
เรียนรู้ มีกิจกรรมหลักเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้
93

(Opportunity Center) ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) ศูนย์ชุมชน (Community Center)


(ส านั กงานส่ งเสริ มการศึก ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธ ยาศัย , 2553: 3-5) โดยส านักงานส่ งเสริ ม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และอบต. ดาเนินการมา
ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 มีการปรับปรุงศูนย์การเรียนชุมชนที่มีอยู่เดิมให้มีความพร้อม จากนั้นจึงประกาศ
จัดตั้งเป็น กศน.ตาบล หรือ แขวง สาหรับตาบลหรือแขวงใดยังไม่มีศูนย์เรียนชุมชนให้ประสานกับชุมชน วั ด
ศาสนสถาน โรงเรียนหรือภาคีเครือข่าย ดาเนินการจัดหาอาคาร สถานที่ที่เหมาะสมที่อยู่ในแหล่งชุมชน
กศน.ตาบล มีบทบาทที่สัมพันธ์ต่อชุมชนโดยมีครู กศน.ตาบล เป็นผู้ที่มีความสาคัญในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้และทาหน้าที่ประสานงาน กศน. เข้ากับชุมชน ซึ่งทางสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัยได้กาหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงานของ ครู กศน. ตาบลไว้ 5 ประการ ดังนี้
1) การวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน.ตาบล
3) การให้บริการเรียนรู้ใน กศน.ตาบล
4) การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน และสังคม วัฒนธรรม ประเพณี และ
5) การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
(สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2553: 7-11)
จะเห็นได้ว่า ครู กศน.ตาบล มีขอบเขตของงานที่กว้างและหลากหลาย เท่าที่ผ่านมาการปฏิบัติงานไม่
สามารถเป็นไปตามเปูาหมายที่วางไว้ ปัญหาประการแรก คือ ครู กศน.ตาบล ขาดความรู้ ความสามารถในการ
สอน ส่วนมากไม่ได้จบการศึกษา ทางด้ านวิชาการศึกษาหรือวิชาชีพครู ทาให้ครูมีความพร้อมน้อยในการสอน
วิชาพื้นฐาน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาภาษาอังกฤษ (สถาบันพัฒนาการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออก, ออนไลน์) นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร (ผู้บริหาร
สานักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอาเภอ) มีความเห็นว่า ครู กศน.ตาบล ยังไม่มี
ความรู้เรื่องของจิตวิทยาผู้ใหญ่หรือเทคนิค วิธีการเข้าถึงผู้เรียนและชุมชน ทาให้ไม่สามารถตอบสนองความ
ต้องการที่แท้จริงของชุมชน ขาดทักษะในการวางแผน การประสานงานกับชาวบ้าน ไม่เข้าใจหน้าที่ของตนเอง
อีกทั้งเรื่องสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ หรือแม้แต่สถานที่ ยังเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการปฏิบัติงานเพราะยัง
ขาดแคลน ชารุด และไม่ได้คุณภาพ ภารกิจสาคัญที่เสมือนเป็นหัวใจของงาน กศน. ล้วนแล้วแต่จาเป็นต้องเข้า
ไปคลุกคลีกับ ชุมชน ครู กศน. จึงต้องรับ ภาระงานที่มาก นอกเหนือไปจากงานสอนให้ครูเกิดความเครียด
ท้อแท้ใจ บางครั้งถึงกับ ตัดสินใจลาออก (สมใจ เกิ ดพูลผล, 2554: 3) แสดงให้ เห็นว่า ครู กศน. ต้องการ
กาลังใจ และความมั่นคงในอาชีพของตน
ดั ง นั้ น แนวทางการพั ฒ นาคุ ณ ภาพการปฏิ บั ติ ง านครู กศน.ต าบล ในเขตภู มิ ภ าคตะวั น ตก
ประกอบด้วย ด้านการวางแผนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่ 1) กาหนดวัตถุประสงค์ของแผนงาน 2) ประสาน
ข้อมูล 3) จั ดอบรมการศึกษาตลอดชีวิต ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ 1) จัดอบรมการวิเคราะห์
94

หลักสูตร 2) อบรมวิทยาการและทักษะใหม่ๆ 3) อบรมครูแกนนา ด้านให้บริการการเรียนรู้ ได้แก่ 1) กาหนด


สื่อที่จาเป็น 2) จัดอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3) จัดตั้ง กศน.ตาบลต้นแบบ ด้านสนับสนุนกิจกรรมใน
ชุมชน ได้แก่ 1) บู รณาการกิจ กรรม 2) ศึกษาดูงานภู มิปัญญา 3) จั ดตั้งพิพิธ ภัณฑ์ท้องถิ่นใน กศน.ตาบล
ด้า นการสร้ า งเครื อ ข่ า ยการเรี ย นรู้ ได้ แ ก่ 1) อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร 2) จั ด สั ม มนาเพื่ อ แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้
3) จัดโครงการพี่สอนน้องสาหรับครูรุ่นใหม่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ครู กศน. มีดังนี้
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 กาหนดให้มีสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด จานวน 75 แห่ง และสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึ กษา
ตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จานวน 1 แห่ง รวมเป็น 76 แห่ง ในส่วนจังหวัด ให้มีชื่อเรียกว่า “สานักงาน
กศน.จังหวัด” และกรุงเทพมหานคร ให้มีชื่อเรียกว่า "สานักงาน กศน.กทม.” ซึ่งสานักงานระดับจังหวัดนี้มี
หน้าที่ดาเนินการด้านงานธุรการ และได้กาหนดให้มีอานาจหน้าที่บริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย ได้แก่ ให้สถานศึกษาทาหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน และจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่ายการดาเนินงานของสถานศึกษา นอกจากนั้นให้สถานศึกษาแต่ละ
แห่งมีคณะกรรมการสถานศึกษา อีกทั้งสานักงานดังกล่าว จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอก
ระบบ ซึ่ง เป็ น ระบบประกัน คุ ณภาพภายในส าหรับ สถานศึ กษาที่ มีคุ ณภาพและมาตรฐานให้ ส ถานศึ กษา
ดาเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับวิธีการประกันคุณภาพภายใน โดยได้รับความร่วมมือจาก
ภาคีเครือข่ายและสานักงาน สถานศึกษาในสั งกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย
1. สถานศึก ษาสั งกัดส านั ก งานส่ งเสริมการศึก ษานอกระบบและการศึก ษาตามอัธ ยาศั ย
กรุงเทพมหานคร มีชื่อเรียกว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต (กศน.เขต)
2. สถานศึกษาสังกัดสานักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด มีชื่อ
เรียกว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ (กศน.อาเภอ)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ/เขต มีหน้าที่ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ,
2551) จั ดการศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศัย อี ก ทั้ ง ส่ งเสริ ม สนั บสนุ น ภาคี เครื อ ข่ า ยจั ด
การศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ประสานงานการจัดการศึกษา
ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริในพื้นที่ส นับสนุน และพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา อีกทั้งส่งเสริมการเทียบโอนผลการเรียน
การเทีย บโอนความรู้ แลประสบการณ์ นอกจากนั้นมี ห น้าที่กากับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตาม
ประเมินผลการจัดการศึกษา ตลอดจนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการ
จัดและพัฒนาการศึกษา ทั้งนี้ จะต้องดาเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กาหนด
95

สถานศึ ก ษาสั ง กั ด ส านั ก งานส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย


ประกอบด้ว ย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยใน
วัง) ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ศูนย์ฝึก
และพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี ”สามสงฆ์ทรงพระคุณ” ศูนย์
วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (เอกมัย) ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึก ษารังสิต
ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเปูาหมายพิเศษ สถาบันการศึกษา
ทางไกล สถาบันการศึกษาต่อเนื่องสิรินธร สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กรุงเทพมหานคร และสถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค สถาบันส่งเสริมและ
พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
จะเห็นได้ว่า การดาเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ข้างต้น ให้ความสาคัญกับหลักการของการศึกษา
ตลอดชี วิ ต การเรี ย นเพื่ อ ที่ จ ะรู้ แ ละศึ ก ษาสิ่ ง แวดล้ อมรอบตั ว เพื่ อ ที่จ ะน าไปสู่ ก ารพั ฒ นาทั ก ษะ ความรู้
ความสามารถในการนาไปปฏิบัติได้จริง นอกจากนั้นแล้วการเรียนรู้นี้ จะต้องเป็นการเรียนรู้ที่จะต้องอยู่ร่วมกัน
พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน จนนาไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เกิดความเข้าใจชีวิตตนเองและสังคมได้ นอกจากนั้น
แล้ว การที่บุคคลจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างตลอดชีวิตได้ดีนั้น จะเกิดความตระหนักในการศึกษาตลอดชีวิตที่มี
ความเกี่ยวข้องกับวิถีการดาเนินชีวิต ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมีความเชื่อพื้นฐานว่าบุคคลจะสามารถ
เรี ย นรู้ ไ ด้ตลอดชี วิต รวมไปถึ งการจั ด การศึกษาจะต้ องผสมผสานการเรี ยนรู้ ห ลากหลายรู ปแบบ เพื่อให้
ตอบสนองต่อการพัฒนาบุคคล ทั้งนี้จะต้องส่งเสริมให้เกิดความยืดหยุ่นในวิธีการเรียนและกฎเกณฑ์ต่างๆ และ
ประการที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือและผสานการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการ
เรียนรู้ เพื่อให้บุคคลได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง
2.3 สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
โรงเรี ย นสาธิ ตเป็ น โรงเรี ย นที่ จั ด ตั้ง ขึ้น ภายใต้ก ารดูแ ลของคณะศึ กษาศาสตร์ และครุศ าสตร์ ของ
มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการทางการศึกษา นโยบายของการดาเนินงานโรงเรียนสาธิตจะ
เป็นไปตามการกากับของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะที่โรงเรียนสาธิตนั้นๆ สังกัดอยู่
อย่างไรก็ดี ในการบริหารงานบางส่วนยังเป็นไปตามหลักการของกระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายการตรวจ
ราชการ ใน 4 นโยบาย คือ 1) เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา 2) ปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู โดยผู้สอนจะต้องมีจานวนครบตามกรอบอัตรากาลังที่ ก.ค.ศ.
กาหนด 3) เร่งนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ และ 4) ส่งเสริมให้เอกชน
และทุกภาคส่ ว นเข้ามาร่ ว มจั ดและสนั บ สนุน การศึกษามากขึ้น (ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา,
ออนไลน์)
96

2.4 สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
เมื่อปีการศึกษา 2556 สารวจพบว่ามีโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ 4,355 โรง แบ่งเป็นโรงเรียนในเขต
กรุงเทพมหานคร 881 โรง และส่วนภูมิภาค 3,474 โรง เพื่อรองรับนักเรียนรวม 2,548,147 คน และครู
จ านวน 160,494 คน โดยแต่ ล ะจั ง หวั ด จะมี ส านั ก งานการศึ กษาเอกชน มี ห น้ า ที่ส นั บ สนุ นการใช้ ค รู
โดยประสานงานกับหน่วยงานการศึกษาอื่นในพื้นที่ ทั้ง สพฐ. และอาชีวศึกษา นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ดูแล
สวัสดิการของครูโดยเฉพาะ คือ กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ มีบทบาทหน้าที่และภารกิจภายใต้การกากับ
ดูแลของกลุ่มงานกองทุนและสวัสดิการ สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการ 1) งานกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบและยืมเงินสาหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่
เปิ ดสอนวิช าศาสนาควบคู่วิช าสามั ญในจั งหวัด ภาคใต้ 2) งานตามบัน ทึกข้อตกลงของกระทรวงการคลั ง
3) งานการเงินและบัญชีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ 4) งานแผนและงบประมาณ 5) งานอนุกรรมการเงิน
กู้ยืม/เงินยืม 6) งานสารสนเทศ และ 7) งานธุรการ
97

2.5 สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
การแบ่งส่วนราชการของงานอาชีวศึกษา เป็นดังนี้

เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาเกษตรกรรมและประมง

หน่วยตรวจสอบภายใน
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

สานักอานวยการ สานักพัฒนาสมรรุนะครูและบุคลากร สานักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สานักมาตรฐานการอาชีวศึกษา


* กลุ่มเลขานุการสานักงาน อาชีวศึกษา * กลุ่มบริหารงานทั่วไป และวิชาชีพ
- กลุ่มงานสารบรรณ * กลุ่มบริหารงานทั่วไป * กลุ่มประสานงานคณะกรรมการการ * กลุ่มบริหารงานทั่วไป
- กลุ่มงานเลขานุการ * กลุ่มพัฒนาหลักเกณฑ์และฐานสมรรถนะครู อาชีวศึกษา * กลุ่มมาตรฐานอาชีวศึกษา
* กลุ่มบริหารงานทั่วไป และบุคลากรอาชีวศึกษา * กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ อุตสาหกรรม
* กลุ่มประชาสัมพันธ์ - กลุ่มงานหลักเกณฑ์และสมรรถนะ - กลุ่มงานนโยบาย * กลุ่มมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจ
* กลุ่มการคลังและพัสดุ บุคลากร - กลุ่มงานแผนและโครงการ และบริการ
- กลุ่มงานการคลังและระบบ - กลุ่มงานข้อมูลและพัฒนาบุคลากร * กลุ่มงบประมาณและติตามผล * กลุ่มมาตรฐานอาชีวศึกษา
อิเล็คทรอนิกส์ * กลุ่มพัฒนานักบริหารและข้าราชการพล - กลุ่มงานจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณ เกษตรกรรมและประมง
- กลุ่มงานการเงิน เรือน - กลุ่มงานติดตามผลการใช้จ่าย * กลุ่มประกันคุณภาพการ
- กลุ่มงานเบิกจ่ายงบประมาณ * กลุ่มพัฒนาครู บุคลากรอาชีวศึกษาและครู งบประมาณ อาชีวศึกษา
- กลุ่มงานพัสดุและสินทรัพย์ ฝึกในสถานประกอบการ * กลุ่มสารสนเทศการอาชีวศึกษา * กลุ่มระบบการจัดการและคุณวุฒิ
* กลุ่มมาตรฐานอาคารและสิง่ ก่อสร้าง - กลุ่มงานพัฒนาวิชาชีพด้านอุตสาหกรรม * กลุ่มยุทธศาสตร์การอาชีวศึกษา * กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมกิจการ
- กลุ่มงานมาตรฐานสถาปัตยกรรม - กลุ่มงานพัฒนาวิชาชีพด้านธุรกิจและ
- กลุ่มงานมาตรฐานวิศวกรรม บริการ
- กลุ่มงานมาตรฐานการก่อสร้าง - กลุ่มงานพัฒนาวิชาชีพด้านเกษตรกรรม สานักความร่วมมือ สานักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
- กลุ่มงานประมาณราคาและเขียนแบบ และประมง * กลุ่มบริหารงานทั่วไป * กลุ่มบริหารงานทั่วไป
* กลุ่มบริหารงานบุคคล - กลุ่มงานพัฒนาวิชาพื้นฐาน * กลุ่มพัฒนาระบบความร่วมมือ * กลุ่มวิจัยการจัดการอาชีวศึกษา
- กลุ่มบริหารงานบุคคล 1 * กลุ่มนวัตกรรมการพัฒนาบุคลากร * กลุ่มความร่วมมือภาครัฐ * กลุ่มวิจัย ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม
- กลุ่มบริหารงานบุคคล 2 * กลุ่มความร่วมมือเอกชน อาชีวศึกษา
- กลุ่มงานวิทยฐานะและในประกอบ สานักติดตามและประเมินผลการ * กลุ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ - กลุ่มงานพัฒนานวัตกรรมและ
วิชาชีพ อาชีวศึกษา สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา
- กลุ่มงานสิทธิประโยชนฺและข้อมูลบุคคล * กลุ่มบริหารงานทั่วไป - กลุ่มงานเผยแพร่และส่งเสริมสิทธิ
* กลุ่มนิติกร * กลุ่มประเมินผล ประโยชน์
* กลุ่มติดตามและรายงานผล * ศูนย์เครือข่ายกาลังคนอาชีวศึกษา

ศูนย์พัฒนาส่งเสริมประสานงานกิจการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกาลังคน ศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตการศึกษา


นักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ อาชีวศึกษา พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน
- กลุ่มบริหารงานทั่วไป - กลุ่มบริหารงานทั่วไป ภาคใต้
- กลุ่มโครงการอันเนื่องมาจากระราชดาริ - ศูนย์เครือข่ายและสารสนเทศกาลงคน - กลุ่มบริหารงานทั่วไป
- กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา อาชีวศึกษา - กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการ
- กลุ่มกิจการพิเศษ - กลุ่มเทคโนโลยีการสื่อสารเพือ่ การเรียน บริหารจัดการ
การสอนและการฝึกอบรม - กลุ่มพัฒนาวิชาการ

หน่วยศึกษานิเทศก์

ภาพที่ 2.2 การแบ่งส่วนราชการของงานอาชีวศึกษา


98

จะเห็นได้ว่าหน่วยงานของการอาชีวศึกษาที่ต้องทางานประสานงานไปพร้อมกัน มีดังนี้
- สานักความร่วมมือ
- สานักอานวยการ
- สานักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา
- สานักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
- สานักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
- สานักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
- สานักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
- หน่วยตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- ศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกาลังคนอาชีวศึกษา
- หน่วยศึกษานิเทศก์
- ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี
- ศูนย์ประสานงานอาชีวศึกษาระหว่างประเทศ
- โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สนองพระราชดาริโดย
สอศ.
2.6 กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การจั ดการศึกษาของกรุงเทพมหานครนั้น หน่ว ยงานที่มีบทบาทหน้าที่หลั ก คือ ส านักการศึกษา
มีอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้ านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งส่วนราชการ
ดังนี้ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, ออนไลน์)
1) สานักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไปของ
ส านั ก การศึ ก ษา งานช่ ว ยอ านวยการและเลขานุ ก าร การบริ ห ารงานบุ ค คลและงานด้ า นสวั สดิ ก ารของ
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง งานนิติกรรมสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารศูนย์สิทธิเด็ก
นักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง การบริหาร
สิ น ทรั พย์ ส่ ว นกลางของส านั กงานกิ จ กรรมพิ เ ศษและงานที่ มิ ได้ กาหนดให้ เป็ น หน้ าที่ ของส่ ว นราชการใด
โดยเฉพาะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
2) กองการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านบรรจุ แต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ การโอน
ย้าย การขอกลับบรรจุ การเลื่อนตาแหน่งและระดับเงินเดือนการวางแผนกาลังคน การปรับ ปรุงส่วนราชการ
การจัดทาแผนอัตรากาลัง การกาหนดกรอบอัตรากาลัง ข้าราชการครูกรุงเทพฯ สายงานนิเทศการศึกษาและ
สายงานการสอนให้ดารงตาแหน่งสูงขึ้น การประเมินบุคคล และผลงานทางวิชาการ ของข้าราชการกรุงเทพฯ
99

สามัญ การดาเนินการทางวินัย การจั ดทางบประมาณเงินอุดหนุนการศึกษาของรัฐบาล และงบประมาณ


กรุงเทพมหานคร การจัดบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การดาเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขันครู
3. กองคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดาเนินงานด้านการคลัง ตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย
ของเงินอุดหนุนรัฐบาล เงินกรุงเทพมหานคร เงินงบประมาณของโรงเรียนและสานักการศึกษา ควบคุมการเบิก
จ่ายเงินประเภทต่างๆ ด้านงบประมาณของ กทม. การดาเนินงานด้านบาเหน็จข้าราชการครู กทม.ข้าราชการ
และลู ก จ้ า งของส านั ก การศึ ก ษา ร่ า งค าของบประมาณรายปี ประสานงานด้ า นเงิ น อุ ด หนุ น รั ฐ บาลและ
กรมบัญชีกลาง รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดทาพัสดุ วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆ ให้โรงเรียนใน
สังกัดของ กทม.
4. หน่วยศึกษานิเทศก์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดาเนินการด้านวางแผนและพัฒนาการจัดระบบ
การนิเทศ รวมทั้งเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาด้านการบริหารในสถานศึกษา ให้มีคุณภาพ การจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนตามหลักสูตรอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาให้มีคุณภาพ ตลอดจนปฏิบัติงานสนองตอบ
นโยบายด้านการศึกษาของ กทม.
5. กองพัฒนาข้าราชการครู มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษากรุ ง เทพมหานคร การวิเ คราะห์ ความต้ องการ ก าหนดและพิจารณาหลั กสู ตร นโยบาย แผน และ
มาตรฐานในการพัฒนาฝึ กอบรมข้าราชการครู ฯ การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กาหนดในมาตรฐาน
กาหนดตาแหน่ง ตาแหน่งและวิทยฐานะ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547 ตามนโยบายความจาเป็นและการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้า น การบริหารงานลูกเสือและยุว
กาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทาง
6. ส านั ก งานยุ ท ธศาสตร์ ก ารศึ ก ษา มี ห น้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ การด าเนิ น การจั ด ท ายุ ท ธศาสตร์ ด้ า น
การศึกษา กาหนดกรอบแนวทางหลั กเกณฑ์ ส่ งเสริ มและสนั บสนุน งานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ การวิจัยทางการศึกษา งานด้าน
หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ งานด้านการพัฒนามาตรฐาน
7. กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการ
ด้านเทคโนโลยี
สาหรับการจัดการศึกษาท้องถิ่นนั้น หน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญคือ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
อันเนื่องมาจากการกระจายอานาจการจัดการศึกษาสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กาหนดไว้ในกฎหมาย
สาคัญหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 80 (4) บัญญัติให้
ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอานาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดและมีส่วนร่วมในการจัดมาตรา 29
100

บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิที่จะจัดการศึกษา อบรม และฝึกวิชาชีพ ตามความเหมาะสมและ


ความต้องการภายในท้องถิ่น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กาหนดให้กระจายอานาจไปสู่เข้าพื้นที่
การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับ
ความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดม
ทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและสีส่วนร่ วมในการจัด สาหรับพระราชบัญญัติกาหนดแผนขั้นตอน
กระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ
อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) เทศบาล กรุงเทพมหานครและ
เมืองพัทยา มีอานาจหน้า ที่ในการจัดการศึกษาและให้ดาเนินการถ่ายโอนภารกิจให้บริการสาธารณะให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีความครอบคลุมถึงการถ่ายโอนภารกิจทางการศึกษา
ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จานวน 7,853 แห่ง ประกอบด้วย อบจ. 75 แห่ง อบต.
6,157 แห่ง เทศบาล 1,619 แห่ง กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง และเมืองพัทยา 1 แห่ง โดยมีองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียง 6.3 ของนักเรียนทั้งประเทศ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัด
การศึกษาระดับอุดมศึกษามีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือกรุงเทพมหานคร มีวิทยาลัยแพทย์ ศาสตร์ และวิทยาลัย
พยาบาลเกื้อการุณย์ และเทศบาลนครปฐม ซึ่งเปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่จานวนมากคือร้อยละ 96.3 ที่ยังไม่ได้จัดการศึกษาในระบบ ได้มีการจัดการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น จัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ ก การส่งเสริมการดาเนินงานและการจัดตั้ง
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
การใช้ความรู้และการฝึกอบรมอาชีพในสาขาต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและสังคม และ
การจัดอบรมและกิจกรรมให้ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตประจาวันและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ด้านต่างๆ เช่น สุขอนามัย ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา

3. หน่วยงานพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาครู ก ารศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานในประเทศไทย ได้ แ ก่ (ส านั ก งาน
เลขาธิการสภาการศึกษา,2553: 31-32)
1) สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ
พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
2) สานักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.คศ.) มีอานาจหน้าที่พัฒนาครูเพื่อเตรียมเข้า
สู่ตาแหน่งการมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ การดารงรักษาสภาพวิทยาฐานะ และการพัฒนาด้านอื่นๆ
3) คุรุสภา มีอานาจหน้าที่พัฒนาครูเพื่อการควบคุม กากับ ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มาตรฐาน
วิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ และการดารงรักษาสถานภาพของผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์
101

4) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดาเนินการพัฒนาครูตามนโยบายและ


โครงการหรือกิจกรรมที่กาหนดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเผยแพร่นวัตกรรม เทคนิควิธีใหม่ๆ การเพิ่มพูน
ศักยภาพเพื่อให้ครูมีสมรรถนะตามที่ต้องการในแต่ละด้านแต่ละเรื่องตามนโยบายของ สพฐ.
5) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดาเนินการพัฒนาครูเพื่อพัฒนา
สมรรถนะการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6) สานักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิ ภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พัฒนาครูใน
ด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู การเพิ่มศักยภาพครูในด้านอื่นๆ
7) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พัฒนาครูด้วยการจัดการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มวุฒิหรือปรับวุฒิ จัดหลักสูตร
การพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ อบรมระยะสั้น อบรมเชิงปฏิบัติการตามความสนใจของครูและสถานศึกษา
8) สถาบันภาควิชาการภาคเอกชนและสานักพิมพ์ต่างๆ จัดโครงการพัฒนาครูประกอบการใช้สื่อหรือ
นวัตกรรมที่ผลิตขึ้น และเพิ่มพูนศักยภาพหรือสมรรถนะอื่นของครูตามความสนใจ

ตอนที่ 5 วงล้ออนาคต (Future Wheel)


สุวิมล ว่องวาณิช (2548) กล่าวว่า วงล้ออนาคต เป็นวิธีการที่แสดงความคิดเกี่ยวกับอนาคตที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการจัดระบบการคิด สร้างหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิด แสดง
ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ผลที่ได้จากกระบวนการนี้จะทาให้ได้มุมมองเกี่ยวกั บอนาคต และช่วยสร้าง
ผลที่ตามมาของเหตุการณ์หรือแนวโน้ม ซึ่งสามารถนาไปใช้ในการระบุปัญหาที่สาคัญที่เกิดขึ้น โดยปกติจะใช้คู่
กับการสร้างอนาคตภาพ วงล้ ออนาคตถือว่าเป็นวิธีการระดมสมองประเภทหนึ่ง การใช้วงล้ ออนาคตจะมี
สมาชิกที่เข้าร่วมกระบวนการประมาณ 8-12 คน แต่ถ้าสมาชิก 20 คนขึ้นไป ก็ควรแบ่งกลุ่มให้เล็กลงเพื่อให้
การทางานเป็ น อิส ระจากกัน ผู้ อานวยความสะดวกจะชี้แจงจุด มุ่งหมายของการทาวงล้ ออนาคต เตรีย ม
กระดาษให้สมาชิกบันทึกความคิด การสร้างวงล้ออนาคตเริ่มด้วยการระบุแนวโน้ม (Trends) หรือเหตุการณ์
(Events) ตรงกลางกระดาษที่เตรียมไว้ให้ จากนั้นสมาชิกจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที เพื่อบันทึกความคิด
บนกระดาษ สมาชิกที่อยู่ในกระบวนการเริ่มมีการขีดวงล้อจากตรงกลางออกมาเป็นวงๆ เหมือนวงแหวน
(Ring) และขีดซี่ล้อเป็นแฉกๆ วงแหวนระดับแรกเป็นผลกระทบที่เกิดจากแนวโน้มหรือเหตุการณ์ เรียกว่า
ผลกระทบระดับปฐมภูมิ (Primary Impact) จากนั้นมีการเขียนวงล้อในระดับที่สอง เรียกว่า ผลกระทบระดับ
ทุติยภูมิ (Secondary Impact) และอาจมีวงแหวนต่อออกไปเป็นผลกระทบระดับที่สามหรือสี่ ออกมาจาก
ศูนย์กลางกระดาษ หลังสิ้นสุดการบันทึกความคิด สมาชิกนาเสนอความคิดให้ที่ประชุมกลุ่มทราบ แล้วมีการจัด
กลุ่ มความคิดเป็ น หมวดหมู่ มี การหาคาที่เหมาะสมในการแทนความหมายของความคิด แต่ล ะเหตุการณ์
ผลผลิตจากวิธีการนี้จะมีการนาเสนอเป็นรูปแบบที่เป็นเหมือนวงล้อ
ขั้นตอนการทาวงล้ออนาคต
การสร้างวงล้อพื้นฐาน เริ่มต้นด้วยการระดมความคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับอนาคตแนวโน้ม ความ
คิดเห็น อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมประกอบด้วยกระดาษ ปากกา แผ่นใส เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ จากนั้นหัวหน้า
102

กลุ่มเขียนวงรีที่แทนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น แล้วถามสมาชิกให้ระบุผลที่ตามมา โดยการเขียนวงล้อจากกลาง


กระดาษออกไปเรื่อยๆ เป็นชั้นๆ ปฐมภูมิ แนวโน้มที่อยู่ตรงกลางมักวาดให้มีสีเข้ม ส่ วนวงล้อชั้นที่สองหรือที่
เรียกว่าชั้นทุติยภูมิจะมีเส้นรอบวงบางกว่า
หลังจากสมาชิกกาหนดผลกระทบจากแนวโน้มหรือเหตุการณ์ในชั้นที่หนึ่งแล้ว หัวหน้ากลุ่มขอให้
สมาชิกลืมแนวโน้มหลักที่อยู่กลางกระดาษออกไป ให้สนใจผลกระทบที่ตามมาทีละตัวแล้วคิดว่าผลกระทบใน
ชั้นที่หนึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดอะไรตามมาในชั้นที่สอง ในขั้นตอนนี้จะมีการดาเนินการอย่างรวดเร็ว โดยสมาชิก
จะมีการระบุผลกระทบในชั้นที่ 2, 3, 4 ตามที่สามารถจะคิดได้โดยไม่ต้องมีการประเมิน
ขั้นการจาแนกความแตกต่างของผลที่ตามมา เป็นการแยกผลที่ตามมาในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ
และตติย ภูมิออกจากกัน หลั งจากดาเนิ น งานในขั้นแรกเสร็จสิ้ น สมาชิกจะวิเคราะห์ ตรวจสอบ ปรับปรุง
ผลกระทบที่ตามมาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ผลกระทบที่ตามมาในชั้นที่สองสามารถขีดเส้นคู่ให้มีความแตกต่างจาก
ผลกระทบในชั้นที่หนึ่ง ถ้าเป็นการสร้างแผนผังความคิด (Mind Mapping) จะให้ความสาคัญกับการจัดระบบ
ความคิดที่แตกรั ศมีออกไปในเชิงเส้น แต่ถ้าเป็นวงล้ออนาคตจะให้ ความส าคัญกับการแสดงให้ เห็ นความ
แตกต่างของผลกระทบในแต่ละระดับ/ชั้น บางคนเชื่อมเหตุการณ์ด้วยเส้นตรงที่มีหัวลูกศร และบางเหตุการณ์
สามารถเป็นผลที่ตามมาของเหตุการณ์หลักได้มากกว่าหนึ่งเหตุการณ์
การคาดการณ์อนาคตภายใต้ภาพอนาคตทางเลือก วงล้ออนาคตสามารถนาไปใช้สร้างภาพอนาคต
(Scenario) ที่จาลองภาพที่คาดว่าจะเกิดหรือที่ประสงค์จะให้เกิด วิธีนี้เริ่มด้วยการเลือกภาพอนาคตขึ้นมาหนึ่ง
ภาพ แล้วเลือกประเด็นที่สนใจจะทาการสร้างภาพที่จะเกิดขึ้น

ตอนที่ 6 การประมาณความต้องการในอนาคต
ขั้นตอนการประเมินความต้องการจาเป็น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ (สุวิมล ว่องวาณิช, 2548)
1) การระบุความต้องการจาเป็น (Needs Identification)
2) การวิเคราะห์ความต้องการจาเป็นเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ (Needs Analysis)
3) การกาหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจาเป็น (Needs Solution)
กระบวนการประเมินความต้องการจาเป็น มีขั้นตอนดังนี้
1) การกาหนดจุดมุ่งหมายและคาถามที่ใช้ในการวิจัย
2) การกาหนดกรอบการวิจัย
3) การกาหนดกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง
4) การกาหนดเทคนิคหรือวิธีการประเมินความต้องการจาเป็น
5) การเก็บรวบรวมข้อมูล
6) การกาหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
7) การจัดทารายงาน
8) การใช้ผลการประเมิน
103

สุวิมล ว่องวาณิช (2548) ได้เสนอวิธีการหรือเทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจาเป็นแบ่งออกเป็น


8 กลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่ใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น การใช้ข้อมูลจากตัวบ่งชี้ทางสังคมหรือข้อมูล
สถิติของหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลจากผลการวิจัย ข้อมูลประเภทนี้มักใช้ในการประเมินความต้องการจาเป็นของ
องค์กร
กลุ่ ม ที่ ส อง เป็ น กลุ่ ม ที่ เ ก็ บ ข้ อ มู ล โดยการส ารวจ เช่ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ด้ ว ยแบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ การสังเกต การเก็บข้อมูลจากการสารวจเป็นการกาหนดความต้องการจาเป็นตามการรับรู้ของ
ผู้ตอบ และสาเหตุที่ทาให้เกิดความต้องการจาเป็น มักจะไม่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติ
กลุ่ ม ที่ส าม เป็ น กลุ่ ม ที่ใ ช้ ก ระบวนการกลุ่ ม ในการเก็ บข้ อ มู ล เช่ น เทคนิ ค กลุ่ ม สมมติ นั ย
(Nominal Group Technique) เทคนิคการจัดกลุ่มสนทนาแบบเจาะจง (Focus Group Technique) การระดม
ความคิดของผู้ทรงคุณวุฒิ (Brainstorming) การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการนี้สามารถใช้ได้ดี ทั้งการกาหนดความ
ต้องการจาเป็น การวิเคราะห์สาเหตุ และการกาหนดทางเลือกในการแก้ปัญหามักใช้กระบวนการกลุ่มในการสร้าง
ทางเลือก ขั้นตอนของการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดจะใช้วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (Cross-impact
Analysis) การวิเคราะห์อรรถประโยชน์-พหุลักษณ์ (MAUT)
กลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มที่ใช้จัดลาดับความสาคัญของความต้องการจาเป็น เทคนิคหรือวิธีการใน
กลุ่มนี้มีบทบาทสาคัญมากในการกาหนดความต้องการจาเป็น เนื่องจากต้องจัดลาดับความสาคัญขั้นสุดท้ายว่า
ความต้องการจ าเป็ น ใดส าคัญที่สุ ด เช่ น การวิเคราะห์ ความแตกต่างของค่ าเฉลี่ ย (Mean Difference
Method: MDF) การจัดเรียงอันดับ (Rank Order) การสร้างมาตรแบบประมาณช่วงขนาด (Magnitude
Estimation Scaling: MES) ดัชนี PNI (Priority Needs Index) ดัชนี WNI (Weighted Needs Index)
ดัชนี Del-N กระบวนการกาหนดน้าหนักรายคู่ (Paired-Weighting Procedure: PWP) การเรียงลาดับด้วย
การ์ด (Card Sort)
กลุ่ มที่ห้ า เป็ น กลุ่ มวิธีการวิเคราะห์ เชิงสาเหตุ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่นิยมใช้ ได้แก่
การวิเคราะห์แผนภูมิก้างปลา (Fish Boning) การวิเคราะห์สาเหตุของความล้มเหลว (Fault Tree Analysis)
ทั้งสองวิธีใช้เมื่อมีการกาหนดความต้องการจาเป็นแล้ว เป็นวิธีการที่ใช้ในขั้นตอนที่สองของการประเมินความ
ต้องการจาเป็นแบบสมบูรณ์
กลุ่มที่หก เป็นกลุ่มที่ใช้การวิเคราะห์ผลกระทบ ใช้ในขั้นตอนการกาหนดทางเลือกในการ
แก้ปัญหา และการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ (Cross Impact Analysis)
หรือการวิเคราะห์อรรถประโยชน์-พหุลักษณ์ (MAUT)
กลุ่มที่เจ็ด เป็นกลุ่มวิธีการที่ใช้ในการกาหนดความต้องการจาเป็นเชิงอนาคต เช่น เทคนิคเดล
ฟาย (Delphi Technique) การสร้างภาพอนาคต (Scenario Development) การวิเคราะห์วงล้ออนาคต (Future
Wheel Analysis) สองวิธีแรกใช้ได้ในทุกขั้นตอนของการประเมิน ความต้องการจาเป็นแบบสมบูรณ์ คือการ
กาหนดความต้องการจาเป็น การวิเคราะห์สาเหตุ และการกาหนดทางเลือกที่เหมาะสมได้ด้วย
104

กลุ่ มที่แปด เป็น กลุ่ มวิธีการเก็บข้อมูล แบบอื่นๆ ที่นามาประยุกต์ใช้ในการประเมิ น ความ


ต้องการจาเป็นได้ เช่น การทาแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) เทคนิคเสียงจากภาพ (Photo voice
Technique) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลที่ตามมา (Costs-consequences Analysis)

ตอนที่ 7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในตอนที่ 7 งานวิ จั ย ที่เ กี่ ย วข้อ งกับ การผลิ ต การใช้ และการพั ฒ นาครู การศึก ษาขั้ นพื้ นฐาน
แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อดังนี้
7.1 บริบทสังคมในอนาคต
ปี พ.ศ. 2542 อภิชัย พันธเสนและคณะ ได้วิจัยประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8
(พ.ศ. 2540-2544) ระยะครึ่ งแผน พบว่าปัญหาคุณภาพของครูมีผ ลกระทบต่อการจัดการศึกษาของชาติ
กล่าวคือ (อภิชัย พันธเสน, ออนไลน์)
1. คุณภาพการเรียนการสอน แม้ผลการประเมินยังไม่ปรากฏชัด แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เพราะ
เมื่ อ วั ด จากอั ต ราร้ อ ยละของนั ก เรี ย นระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น และตอนปลายที่ ส อบผ่ า นเกณฑ์ ใ นวิ ช า
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ยังอยู่ในระดับต่า และมีแนวโน้มลดลง เพราะคุณภาพครูยังไม่ดีพอ คุณภาพครู
น่าจะมีบทบาทในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นเป็นอย่างมาก คุณภาพ
ของการศึกษาดังกล่าวส่งผลทาให้คุณภาพของการแข่งขันทางวิชาการของเด็กไทยต่า
2. การพัฒนาการผลิตและอบรมครูประจาการ ยังอยู่ ในระดับไม่น่าพอใจ อันเป็นผลเนื่องจากวิกฤต
เศรษฐกิ จ ที่ ท าให้ ง บประมาณการพั ฒ นาครู ป ระจ าการถู ก ตั ด อย่ า งมาก ส่ ง ผลกระทบต่ อ การพั ฒ นาครู
ประจาการ เฉพาะอย่างยิ่งครูที่ไม่ได้รับการพัฒนาความรู้มากกว่า 5 ปี
3. ด้านคุณภาพครูที่ผลิตออกมาก็ยังมีคุณภาพในระดับต่า ควรเร่งรัดการพัฒนาครูทางด้านการสอน
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายอ่อนมาก และมี
ผลสัมฤทธิ์ไม่ดีเพราะขาดแคลนครูเฉพาะทางที่มีความรู้ ความสามารถในการสอนวิชาดังกล่าวในส่วนของการ
สอนของครูพบว่า ชั่วโทงการสอนของครูต่อสัปดาห์อยู่ในระดับสูง โดยชั่วโมงการสอนของครูระดับมัธยมศึกษา
สูงกว่าชั่ว โมงการสอนของครู ร ะดับ ประถมศึกษา นอกจากนี้ คณะวิจัยยังเสนอข้อคิดเห็ นเพิ่มเติมอีกว่า
ปัญหาของครูมีหลากหลายมากกว่าจะแก้ปัญหาด้วยการได้รับการศึกษาอย่างสม่าเสมอแต่เพียงอย่างเดียว
มนตรี จุฬาวัฒนทล (2543) ศึกษาผลกระทบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ข้อ ตกลงของรั ฐ บาลกั บ ธนาคารพั ฒ นาเอเชี ย นโยบายปฏิ รู ป ระบบราชการ และการเปลี่ ย นแปลงทาง
โครงสร้างประชากรทั้งประเทศ ที่มีต่อการศึกษา และบทบาทของคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในการปฏิรูป
การเรียนรู้และปฏิรูปวิชาชีพครู มีข้อสรุปที่สาคัญ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงในสังคมอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายข้อตกลงและ
การจัดองค์กรจะมีผลกระทบต่อครูในอนาคตและครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ ผลกระทบเหล่านี้จะช่วยเร่งรัดการ
ปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการผลิตครูและการพัฒนาครู หลายประการ โดยรวมผลกระทบทั้งหมดจะมุ่งสู่
105

การยกระดับคุณภาพครูในอนาคต กล่าวคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพครู


หลายด้าน ได้แก่ มาตรฐานวิชาชีพครู การปฏิบัติหน้าที่ครู คุณสมบัติครู และการตอบแทนและยกย่องครู
มาตรฐานการศึกษาจะส่งผลกระทบต่อการยกระดับคุณภาพครู นโยบายการพัฒนาครู การจัดตั้งสถาบัน
พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดตั้งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาจะช่วยยกระดับคุณภาพครู
สาหรับครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะส่งผลให้มีการประเมินคุณภาพสภาบัน
อุดมศึกษา และจะต้องปรับกระบวนการผลิตครูให้ได้คุณภาพด้วยนโยบายปฏิรูประบบราชการจะช่วยปรับ
ประสิทธิภาพของครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในระบบราชการขณะนี้ นอกจากนี้ข้อตกลงใน
การกู้เงินจากธนาคารเอเชียยังจะทาให้ครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ต้องมีบทบาทพัฒนาครูระดับประถมศึ กษา ให้
เป็นครูระดับมัธยมศึกษาผู้เชี่ยวชาญจากโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการธนาคารพัฒนาเอเชีย ยังได้เสนอ
ให้หลักสูตรการพัฒนาครูให้ยึด 4 แนวทางได้แก่ 1) คิดเป็นทาเป็นคิดวิเคราะห์ 2) เรียนโดยประสบการณ์ 3)
มีทักษะในการสื่อสาร และ 4) ใช้สื่อหลากหลายอย่างไรก็ดี จานวนประชากรในวัยเรียนจะไม่เปลี่ยนแปลงมาก
ในระยะ10 ปีข้างหน้า จึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
2. สถานภาพที่คาดหวังถึงบทบาทใหม่ของครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ในอนาคตมีข้อคิดเห็นว่า การผลิต
ครูต้องตรงกับความต้องการและครูใหม่จะต้องมีคุณภาพ วิธีการผลิตครูใหม่ต้องมีการวิจัย และต้องอาศัยความ
ร่วมมือระหว่างครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กับสถาบันอื่นๆ การบริหารครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ต้องเป็นมืออาชีพ
และมีมาตรฐานที่เน้ น คุณภาพ ผู้ ทรงคุณวุฒิ ห ลายท่านเห็ นว่าครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ยังมีจุดอ่อนหลาย
ประการ จุดอ่อนสาคัญ ได้แก่ ความคิดแคบ ขาดภาวะผู้นา ขาดการวิจัย ขาดมาตรฐาน และเปูาหมาย ส่วนจุด
แข็งที่มีอยู่บ้างได้แก่ คุณวุฒิคณาจารย์ที่ดีมีการพัฒนามายาวนาน และบางแห่งมีความร่วมมือกับต่างประเทศ
ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มีโอกาสให้บริการใหม่ๆ และมีสิ่งจูงใจที่กาหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ช่วยสนับสนุนแต่อุปสรรคและภาวะคุกคามต่อครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ก็มีอยู่อีกมาก ที่สาคัญ คือ
การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันจากสถาบันอื่นและการแย่งตัวคณาจารย์ที่มีความสามารถ นอกจากนี้
ยังมีกระแสเทคโนโลยี และค่านิ ยมทางวัตถุที่จะมากดดันครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์มากขึ้น ในขณะที่ระบบ
ราชการไม่เกื้อหนุน อย่างไรก็ดี ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนาให้ใช้กลยุทธ์ 3 อย่างคือ 1) แยกหลักสูตรเป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่ หลักสูตรผลิตครู (ครุศาสตร์) และหลักสูตรผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา (ศึกษาศาสตร์) แต่เน้นการ
เรียนรู้ของเด็ก 2) สร้างความร่วมมือกับสถาบันอื่น และกลไกการเปลี่ยนแปลง 3) หาผู้นาการปฏิรูปเพื่อเป็น
แบบอย่าง
3. องค์กรหลักที่จ ะน าการปรับ บทบาทครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ได้แก่ ส านักงานปฏิรูปการศึกษา
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จาเป็นต้องเริ่มแก้ไข จุดอ่อนของครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ และเสริม
จุ ด แข็ ง ของตนให้ มั่ น คง ส านั ก งานปฏิ รู ป การศึ ก ษาจะต้ อ งช่ ว ยปรั บ ลดภาวะคุ ก คามและเปิ ด โอกาสให้
ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้มีบทบาทในการพัฒนาครูประจาการ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
จะต้องริเริ่มการจัดตั้งราชวิทยาลัยครุศาสตร์ให้เป็นผู้นาในการกาหนดนโยบายและแผนงานตลอดจนการ
ติดตามประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรู้และวิชาชีพครู
106

ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ (2543) ได้วิจัยเรื่อง “การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทาง


ครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ” วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถาบันราชภั ฏ การประเมินโครงการ
พัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนของสถาบันราชภั ฏและจัดทาแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการ
สอนทางครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถาบัน
ราชภั ฏ คณบดีคณะครุ ศาสตร์ และผู้ เข้ารั บการอบรมตามโครงการพัฒ นาคุณ ภาพการเรียนการสอนของ
สถาบั น ราชภั ฏ การตรวจสอบแผนกลยุ ท ธ์ ที่ ไ ด้ จ ากการประชุ ม ปฏิ บั ติ ก าร กระท าโดยการจั ด ประชุ ม
ผู้ทรงคุณวุฒิ จุดแข็งจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในคณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏคือ อาจารย์มีความรู้และ
ประสบการณ์มีความเป็นเครือข่าย นักศึกษาส่วนมากเป็นคนในท้องถิ่น จุดอ่อน คือ อาจารย์มีภาระงานหลาย
ด้าน นักศึกษามีพื้นฐานความรู้ต่า โอกาสของสถาบันราชภั ฏ คือ นักเรียนมีความต้องการเข้าศึกษามากขึ้น
อุปสรรค คือ อัตราการบรรจุอาจารย์ การใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการ
เรียนการสอนในคณะครุศาสตร์ ประกอบด้วยกลยุทธ์ 7 ด้าน คือ กลยุทธ์ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษา ด้าน
บริหารจัดการ ด้านปัจจัยและสิ่งอานวยความสะดวกด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และการ
สร้างความเข้าใจอาจารย์ และการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ กลยุทธ์แต่ละด้านมีกลวิธีที่สาคัญ คือ การเพิ่มการ
เชิดชูเกียรติและให้รางวัลแก่อาจารย์ทางด้านการสอน การปรับพื้นฐานความรู้นักศึกษา การปฏิรูปการบริหาร
จัดการคณะครุศาสตร์ให้มีความคล่องตัว การจัดตั้งศูนย์สื่อวัสดุอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ การจัดหลักสูต รที่
หลากหลาย จัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนและการสร้างความตระหนักในการทางานเป็นทีม
ปาร์ค (Park, John Ellis, 1997) ทาการวิจัยเรื่อง “การศึกษากรณีการวางแผนกลยุทธ์ใน
สถาบันอุดมศึกษาต่อเนื่อง” วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อที่จะศึกษาวิเคราะห์ถึงการนาแผนกลยุทธ์ไ ปใช้
วิธีการวิจัยดาเนินงานโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เป็นคณะกรรมการการศึกษาต่อเนื่อง จานวน 15 คน รวมทั้ง
การวิเคราะห์ เอกสาร มีการเปรี ยบเทียบรูปแบบกลยุทธ์ต่างๆ ที่นาไปใช้ผลของการศึกษาพบว่า องค์กรที่
จุดมุ่งหมายในการวางแผนกลยุทธ์ 2 ประการ กล่าวคือ 1) เพื่อการตั ดสินใจการกาหนดทิศทางขององค์กร
และ 2) เพื่อแสดงจุดเน้นของการเจริญเติบโตตลอดจนนวัตกรรมขององค์กร
ปาร์เค และแสตนฟอร์ด (Parkay, F.W. & Stanford, 2001) ศึกษาเรื่องการเข้าสู่วิชาชีพครูใน
ประเทศสหรัฐได้เสนอแนวคิดว่า ผู้เข้าสู่วิชาชีพครูในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ควรต้องมีมาตรฐาน 5 ประการ ได้แก่
1) ครูต้องปรับตัวเข้ากับผู้เรียนได้ 2) ครูต้องมีความรู้สาระที่สอนและรู้วิธีการถ่ายทอดสาระนั้นสู่ผู้เรียน 3) ครู
ต้องรู้วิธีการควบคุมและจัดการกับผู้เรียน 4) ครูต้องสามารถคิดจัดประสบการณ์เรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบ โดย
อาศัยประสบการณ์ของตนเอง 5) ครูต้องกระทาตัวเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในองค์กรแห่งการเรียนรู้
สรุปการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิจัยครั้งนี้พบว่า ตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 มีผลบังคบใช้เป็นต้นมา การพัฒนาการศึกษาของชาติเริ่มบังเกิดผลการเปลี่ ยนแปลงที่เป็น
รูปธรรมขึ้นหลายส่วน แต่ผลลัพธ์สูงสุดของการปฏิรูปการศึกษาคือการพัฒนาประชากรของประเทศให้เป็น
บุคคลแห่ งการเรี ยนรู้ ซึ่งเป็ น การลงทุน ที่ต้องหวังผลระยะยาวผู้ รับผิ ด ชอบดาเนินงานทุกระดับจึงต้องมี
107

วิสัยทัศน์กว้างไกล มีความเสียสละ มุ่งมั่น อดทน เห็นแก่ป ระโยชน์ในอนาคตของส่วนรวม มากกว่าการได้รับ


ผลตอบแทนเฉพาะหน้า
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2557) ได้ทาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับ
การเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกใน
ศตวรรษที่ 21 ที่มี นั ย ส าคั ญ ต่อ การจั ด การศึ ก ษาไทย ก าหนดภาพรวมของเปู า ประสงค์ ห ลั กของการจั ด
การศึก ษาของไทย และเพื่ อ ศึ กษาวิ เคราะห์ ป ระเด็ นท้ า ทายของการจัด การศึ ก ษาของไทยในการบรรลุ
เปูาประสงค์หลัก ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาการศึกษาไทยและนาไปสู่แนวทางในการผลิตครู ปรากฏดังนี้
1. สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีนัยสาคัญต่อการจัดการศึกษาไทย
การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย และส่งผลต่อการศึกษาไทย
ประกอบด้วย 3 ระดับ ได้แก่ 1) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trend) ที่สาคัญ คือ พลวัตการ
เปลี่ยนแปลงโลกจากการก้าวผ่านจากศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 2) แรงขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค
(Regional Forces) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ ของโลกมากขึ้นโดยกรอบความ ร่วมมือที่มี
ความสาคัญใกล้ชิดกับประเทศไทยมาก คือการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และการ
รวมกลุ่มของเอเชียตะวันออก (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และ
3) ประเด็นภายในประเทศไทย (Local Issues) และยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategy) ประเด็น
ปัญหาภายในประเทศไทยที่สาคัญ คือ เรื่องความเหลื่อมล้า กับดักประเทศรายได้ปานกลาง วิกฤตด้านความ
มั่นคง การเปลี่ยนแปลงทางครัวเรือน
2. กาหนดภาพรวมของเปูาประสงค์หลักของการจัดการศึกษาของไทย ประกอบด้วย 1) เปูาประสงค์
ของการพัฒนาสังคมไทยประกอบด้วย 4 ด้าน คือ สังคมแห่งโอกาส (Opportunity Society) สังคมที่สามารถ
(Productive Society) สังคมที่เป็นธรรม (Just Society) และสังคมคุณธรรม (Moral Society) 2) ป รั ช ญ า
การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้
1) ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ (Identity) คนไทย จากเดิมแต่ละคนมีสถานะเป็นแค่เพี ยงพลเมืองไทย
(Thai-Thai) สู่ความเป็นคนไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองโลก (Global-Thai)
2) ปรับเปลี่ยนจุดเน้น (Reorientation) จากการเน้นการสร้างคนเพื่อปูอนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(People for Growth) ไปสู่การเน้นการสร้างการเติบโตเพื่อรองรับศักยภาพของผู้คนในสั งคม (Growth for
People) เพื่อตอบโจทย์สังคมองค์ความรู้
3) ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) จากความพยายามเอาชนะธรรมชาติ (Controlling
Nature) มาเป็นการอยู่รวมกับธรรมชาติ (Living with Nature)
4) ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม (Transformation of Culture) จากการเป็นสังคมที่คนมุ่งมั่นแข่งขัน
ฟาดฟันต้องเอาชนะผู้อื่น (Competition-Driven) เป็นในลักษณะเกื้อกูลแบ่งปัน (Collaborative-Culture)
108

5) ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่โลกที่หนึ่ง (First World Nation) นอกจากการมุ่งไปสู่การเป็น


ประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country) ยังต้องคานึงถึงประเด็นด้านสังคมวัฒนธรรม โดยเฉพาะการสร้าง
เกียรติภูมิในความเป็นชาติ (Dignity of Nation)
เปูาประสงค์ของการศึกษาไทย (Goal of Education) ในศตวรรษที่ 21 ที่พึงประสงค์ คือ“การศึกษา
ไทยช่วยบ่มเพาะคนไทยให้เป็นคนไทยที่มีศักยภาพ กล่อมเกลาให้เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสุข
ช่ว ยน าประเทศไปสู่ ร ะดับ การพัฒ นาอย่ างสมดุ ล และยั่งยื น พร้ อมกับเป็น สั ง คมที่อยู่ ดีมี สุ ข (Well-Being
Nation)” เปูาประสงค์หลักของการศึกษาในระดับมหภาค ที่เป็นเปูาหมายปลายทางของการจัดการศึกษา ซึ่งก็
คือ “ผลลัพธ์ของระบบการศึกษา” (Education Output) ประกอบไปด้วย 5 เปูาประสงค์หลัก คือ (1) การ
เข้าถึง (Access) (2) ความเท่าเทียม (Equity) (3) คุณภาพ (Quality) (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และ
(5) ตอบโจทย์บ ริบทที่เปลี่ ยนแปลง (Relevancy) ทั้งนี้ เปูาหมายของการศึกษาไทยในอนาคตอีก 20 ปี
ข้างหน้าประเด็นที่สาคัญที่สุด คือ เรื่องคุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง
3. วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการจัดการศึกษาของไทยในการบรรลุเปูาประสงค์หลัก ภายใต้บริบท
ของการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21
3.1 ระดับมหภาค
- การยกระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ เรียนให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับการวางแผนกาลังคน
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและหนุนเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นองค์รวมของประเทศ เพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Competitiveness) นาประเทศก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปาน
กลาง (Middle-Income Trap) ขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาอย่างสมดุล คนไทยและสังคมไทยอยู่อย่างมี
ความสุข และมีการกินดีอยู่ดี (Well-being Nation)
- การสร้างสังคมแห่งปัญญา (Wisdom-based Society) และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้ (Supportive Learning Environment) ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm
Shift) ปฏิรูปสังคม ขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.2 ระดับปัจเจก
- การสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีจิตที่พร้อม มีความแข็งแกร่งในสมรรถนะหลักสอดรับศักยภาพการ
เรียนรู้ของทุกคน โดยอาศัยการศึกษาเป็นเครื่องช่วยบ่มเพาะคนไทยให้เป็นคนไทยที่มีศักยภาพ กล่อมเกลาให้
เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสุข ช่วยนาประเทศไปสู่ระดับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน มิใช่การ
มุ่งเน้นเพียงผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการหรือการสอบเพื่อคะแนนอย่างเดียวอีกต่อไป
โดยในการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาไทย เพื่อเตรียมความ
พร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 รวมทั้งกลไกการขับเคลื่อนไปสู่ภาคปฏิบัติ ดังนี้
1. นโยบายและยุทธศาสตร์การศึกษา
1.1 สร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เน้นการสร้างพื้นฐาน (Foundation) ที่มั่นคงและบูรณาการ
เพื่อรองรับการศึกษาและการเรียนรู้ตอบสนองต่อสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีประสิทธิภาพ
เท่าเทียม และสมดุล
109

1.2 สร้างพลเมืองคุณภาพ คนที่สมบูรณ์ทุกด้าน ช่วยให้พบความสามารถของตนรับรู้ศักยภาพ และ


ใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
- รูปแบบการบริหารจัดการ สร้างสมดุลระหว่างการรวมศูนย์และการกระจายอานาจ เน้นการบริหาร
การศึกษาด้วยท้องถิ่นมากขึ้น ส่วนกลางเป็นผู้วางเปูาหมายแนะแนวทางและให้อิสระกับสถานศึกษา เน้นการมี
ส่วนร่วม
2. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
2.1 การจัดการเรียนการสอน ยึดหลักการดูแลแบบครบวงจรและเท่าเทียม ให้อิสระแก่ครูในการ
จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถตนเอง แรงใจ (Passion) ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สร้างสภาพแวดล้อมที่ท้าทายและสนุกสนาน ผสมผสานการเรียนในห้องเรียนและนอกห้องเรียนอย่างสมดุล
2.2 ครู ครูเป็นหัวใจของการพัฒนาการศึกษาในหลายประเทศ จุดเน้นคือการสร้างครูคุ ณภาพสูง
และเป็นเลิศ มีการคัดเลือกผู้ที่จะประกอบอาชีพครูอย่างเข้มข้น บ่มเพาะทักษะอาชีพครู มีการส่งเสริมการ
สร้างเครือข่ายการพัฒนาตนเอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ วางระบบพัฒนาอย่างครบวงจร ปรับอัตราเงินเดือน
ให้สูงเท่าวิชาชีพชั้นสูง ยกระดับมาตรฐาน เส้นทางอาชีพครูมีความก้าวหน้า
2.3 หลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรมีความเข้มข้น มีมาตรฐาน แต่ให้โครงสร้างหลักสูตรเป็นเพียง
กรอบ เน้นการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเป็นองค์รวม (Broad-based and Holistic Learning) โรงเรียนและครู
มีอิสระในการกาหนดวิธีการเรียนการสอน
2.3 การประเมิน ไม่มีระบบประเมินด้วยข้อสอบกลาง (National Test) หรือมีสอบวัดผลมาตรฐาน
น้อยครั้งหรือครั้งเดียวเมื่อจบมัธยมศึกษาตอนปลาย หันมาเน้นการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ (Formative
Assessment)
2.4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT เป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางเน้นที่เนื้อหา
สาระ (Content) สอดคล้องกับพัฒนาการของแต่ละวัย
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า แนวคิดการผลิตครูให้ได้คุณภาพนั้น จะต้องมี
มาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพการผลิต มียุทธศาสตร์การดาเนินงานที่ได้มาจากการวิเคราะห์สภาพพื้นฐาน
ต่ า งๆ มี ก ารก าหนดวิ สั ย ทั ศ น์ พั น ธกิ จ และเปู า หมาย ให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพและความต้ อ งการที่ แ ท้ จ ริ ง
ยุทธศาสตร์ที่แต่ละสถาบันกาหนดขึ้น เป็นเครื่องมือในการดาเนินงานให้บรรลุเปูาหมาย สามารถประยุกต์ใช้
ได้ตามบริบทขององค์กรที่มีความแตกต่างกัน ดังเจตนารมณ์ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
มาตรา 9 ที่บัญญัติว่าการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักการมีเอกภาพด้าน
นโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นจะเห็นได้ว่าบริบทสังคมเป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผลต่อการผลิตครู
การใช้ และการพัฒนาครู เนื่องจากครูเ ป็นผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่สังคม ดังนั้น ครูในฐานะผู้ที่มีหน้าที่
พัฒนาผู้เรียนจึงจาเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
110

7.2 การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประยูร ศรี ประสาธน์ (2543) ได้ศึกษาอนาคตการศึกษาและแนวทางการผลิตและพัฒนาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2546-2549) และ
ระยะที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มีข้อเสนอแนะว่า การผลิตครูใหม่ให้มีคุณภาพนั้น จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ปฏิรูปหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันการฝึกหัดครูต่างๆ กล่าวคือ
1. ปฏิรูประบบการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นอาจารย์ในสถาบันฝึกหัดครู อาจารย์สถาบันฝึกหัดครูจะ
เป็นต้นแบบสาคัญที่ครูจ ะยึดถือและใช้เป็ นผลการสอนของตน ฉะนั้น การคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นอาจารย์
สถาบันฝึกหัดครู นอกจากจะคานึงถึงวุฒิการศึกษาแล้วยังต้องเป็นผู้ที่ มีผลงานและประสบการณ์การสอนใน
ระดับการศึกษาต่างๆ อันได้รับการยอมรับและรับรองมาแล้วเพื่อที่จะนาความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอด
กับนักศึกษา พร้อมกันนั้นก็ควรพิจารณาให้มีมาตรฐานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนหรือเปิดโอกาสให้อาจารย์ใน
สถาบันฝึกหัดครูได้นาวิธีสอนที่ตนพัฒนาขึ้นมาใหม่ไปทดลองสอนในโรงเรียน หรือจัดให้มีโครงการให้อาจารย์
ในสถาบันฝึกหัดครูได้เข้าไปสอนในโรงเรียนชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อที่จะได้ประสบการณ์จริงและนามาสอน
นักศึกษา
2. การกาหนดโยบายและมาตรการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันฝึกหัด ครูอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การเข้า รั บ การศึ ก ษาอบรมเพิ่ ม เติ ม โดยอาจพิ จ ารณาน าผลการศึ กษาอบรมเพิ่ มเติ ม
ดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบหรือการปรับอัตราเงินเดือน
3. จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการฝึกหัดครู ระบบการเรียนการ
สอน และระบบบริหารสถานศึกษาขึ้นในสถาบันฝึกหัดครูและมีมาตรการกระตุ้นคณาจารย์ในสถาบันฝึกหัดครู
ให้ทาการวิจัยโดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบและลักษณะต่ างๆ แก่ผู้ทาวิจัย และผลงานวิจั ยที่ดีเด่น
หรือมีการนาไปปฏิบัติจริงในสถานศึกษา
4. ปรับหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันฝึ กหัดครู โดยให้มีความรู้ในเนื้อหาที่ตน
เลือกเรียนอย่างแท้จริงและให้มีความรู้ และทักษะในวิชาการศึกษา เฉพาะอย่างยิ่งวิธีสอนซึ่งจะต้องมีการ
ทดลองสอนจริงในสถานศึกษาภายใต้การกากับดูแลของอาจารย์นิเทศด้วย หลักสูตรฝึกหัดดังกล่าวควรจะรับรู้
ผู้ที่จะจบปริญญาตรีในวาเนื้อหา แล้วมาเข้าเรียนวิชาครูต่ออีก 1-2 ปี แล้วให้ได้รับอัตราเงินเดือนเพิ่มสูงกว่าผู้
จบปริ ญ ญาตรี ป กติ ส่ ว นระบบการเรี ย นการสอนในสถาบั น ฝึ ก หั ด ครู นั้ น ควรเน้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น ศู น ย์ ก ลาง
เช่นเดียวกับการศึกษาระดับต่างๆ
5. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพสถาบันฝึกหัดครู โดยให้มีการประเมินคุณภาพจากองค์กรวิชาชีพ
และองค์กรอิสระที่รับผิดชอบประเมินคุณภาพการศึกษา พร้อมกันนั้นก็สนับสนุนให้สถาบันฝึกหัดครูประเมิน
คุณภาพภายในของตนเองเป็นประจา
6. ปรับระบบคัดเลือกคนเข้าเรียนในสถาบันฝึกหัดครูเพื่อให้ได้คนเก่ง คนดี และมีความต้องการเป็น
ครู เ ข้ า เรี ย นโดยในระยะแรกที่ ยั ง ไม่ มี ก ารปรั บ ปรุ ง อั ต ราเงิ น เดื อ นระบบบริ ห ารงานบุ ค คล และ
กระบวนการพัฒนาวิชาชีพให้เกิดความเชื่อมั่นในวิชาชีพได้ก็ควรจะเน้นการคัดเลือกให้ได้คนที่ต้องการประกอบ
111

อาชีพครู ก่อน ต่อเมื่อมีการปรั บ ปรุ งสิ่ งต่างๆ ดังกล่ าวจนทาให้ เกิดความเชื่อมั่นในวิช าชี พครูแล้ ว จึงเน้น
มาตรการคัดเลือกคนเก่ง คนดี และมีความต้องการประกอบวิชาชีพครูเข้าเรียน
7. จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อการเป็นครูในสาขาที่ขาดแคลน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยี
8. จัดตั้งสถาบันฝึกหัดครูที่ผลิตคนรุ่นใหม่ ที่เป็นทั้งคนเก่ง คนดี มีความรั กในการเป็นครู สถาบัน
ฝึกหัดครูจัดตั้งขึ้นจะจัดให้นักศึกษามาประจาหอพัก เพื่อที่จะอยู่ในบรรยากาศที่หล่อหลอมความเป็ครู และ
พัฒนาความเก่งในวิชาการ และความเอื้อเฟื้อร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพ
9. ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิ ชาชีพครูให้เอื้อต่อการเรียนรู้งาน จากครูที่เป็น
แบบอย่างที่ดีโรงเรียนและชุมชน เรียนรู้สภาพและวิถีชีวิตคนในชุมชน จัดให้มีอาจารย์พี่เลี้ยงในโรงเรียน และ
จัดให้มีอาจารย์นิเทศจากสถาบันฝึกหัดครู
สมหวั ง พิ ธิ ย านุ วั ฒ น์ (2543) ได้ ศึ ก ษาวิ จั ย จั ด ท าข้ อ เสนอนโยบายการปฏิ รู ป วิ ช าชี พ ครู ต าม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กาหนดมาตรการผลิตครูเพื่อคุณภาพและความเป็นวิชาชีพชั้นสูงไว้ดังนี้
มาตรการ 1 ให้ได้คนเก่งคนดีมีแววความเป็นครูมาเรียนครู โดยการคัดสรรและให้ ทุนมาเรียนครู
อีกทั้งผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการโดยประกันให้ผู้สาเร็จการศึกษาทุกคนได้เป็นครู
มาตรการ 2 ให้มีการผลิตครูรุ่นใหม่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู และเหมาะสมกับยุคการปฏิรูป
การศึกษา โดยจัดกลไกสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระว่างสถาบันผลิตครู องค์กรวิชาชีพครู องค์กรวิชาชีพครู
และองค์กรกลางการบริหารบุคคล
มาตรการ 3 ให้มีการผลิตครูผู้นาที่มีคุณภาพเพื่อเป็นครูมืออาชีพ ในการยกคุณภาพของวิชาชีพครูให้
เป็นวิชาชีพขั้นสูง โดยหลักสูตรครุศึกษา 6 ปี กล่าวคือใช้เวลา 4 ปีในการศึกษาระดับปริญญาในเนื้อหาวิชาการ
ใช้เวลา 1 ปีสาหรับเรียนวิชาการศึกษา และอีก 1 ปี สาหรับการยกมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูง
นับว่าเป็นหลักสูตรครุศึกษาเพื่อประกันคุณภาพครูใหม่อย่างแท้จริง
มาตรการ 4 เพื่อสถาบันผลิตครูมีเอกลักษณ์ด้านความเป็นเลิศในการผลิตครูเห็นสมควรให้คณะครุ
ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยเน้นหนักการจัดการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีทาง ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ถ้า
จะจั ดการศึกษาระดับ ปริ ญญาตรี ก็ควรเป็ น หลั กสู ตรปริญญาตรี 5-6 ปี ที่ มุ่งสร้างครูผู้ น าเพื่อการปฏิรู ป
การศึกษา ส่วนสถาบันผลิตครูอื่นให้เน้นการผลิตครูระดับปริญญาตรีเป็นหลักต่อไป
มาตรการ 5 ให้มีมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง หรือสถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อทาการวิจัยค้นความสร้าง
องค์ความรู้ในทางครุศึกษา ทั้งโปรแกรมก่อนประจาการ และโปรแกรมครุศึกษาประจาการ ตลอดจนการผลิต
ครูของครูที่มีคุณภาพเพื่อบ่มเพาะครูเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
มาตรการ 6 สนับสนุนให้สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และ
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทาแผน และดาเนินการปฏิ รูปสถาบันผลิตครูเพื่อคุณภาพครูและความเป็นวิชาชีพ
ชั้นสูงในบริบทใหม่ของวิชาชีพครูไทย
112

มาตรการ 7 ให้ประกันคุณภาพสถาบันครุศึกษาไทยทั้งระบบ โดยกาหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของ


บุคลากรการประเมินคุณภาพตามพันธกิจ และการพัฒนาโครงสร้างและระบบให้มีการประกันคุณภาพทาง
วิชาการทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
มาตรการ 8 ให้มีสถาบันภายนอกจัดระดับคุณภาพของสถาบันศึกษาครุศึกษาไทย เพื่อวางแผนพัฒนา
ให้เป็นสถาบันครุศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการผลิตครู
ดาวรุ่ง ชะระอ่า (2547) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการผลิตครูวิชาชีพของไทย โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาบริบทใหม่วิชาชีพครูไทยตามแนวปฏิรูปการผลิตครูของกระทรวงศึกษาธิการ นาเสนอรูปแบบการ
ผลิตครูวิชาชีพของประเทศไทยพร้อมทั้งแผนกลยุทธ์การผลิตครูวิชาชีพ ผลการศึกษาได้นาเสนอรูปแบบความ
เป็นครูวิชาชีพของประเทศไทยพร้อมทั้งแผนกลยุทธ์การผลิตครูวิชาชีพ ผลการศึกษาได้นาเสนอรูปแบบความ
เป็นครูวิชาชีพ ว่าควรมีภ าพลักษณ์ความสง่างาม (SMART) 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความเชี่ยวชาญ (Skill) 2)
ความสามารถทางการบริหารจัดการ (Management) 3) มีเจตคติที่ดี (Attitude) 4) เป็นแหล่งข้อมูลความรู้
(Resource) และ5) มีความสามารถทางการใช้เทคโนโลยี (Technology) และได้นาเสนอกลยุทธ์การบริหาร
จั ด การผลิ ต ครู แ บบ 3 ร่ ว ม 4 หลั ก 3 ปรั บ 4 แผน ได้ แ ก่ 3 ร่ ว ม คือ ความร่ ว มมื อ แบบไตรภาคี ได้ แ ก่
มหาวิทยาลัย โรงเรียนและชุมชน และนักศึกษาครู 4 หลัก คือ การดาเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็น
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ด้านความเสมอภาคและความหลากหลาย ด้านการตรวจสอบได้และประกันคุณภาพ
ด้านโครงสร้าง ทรัพยากรและบทบาท 3 ปรับ คือ ปรับการเรียนรู้ ของผู้นาระดับปัจเจก ระดับทีมงาน และ
ระดับระบบ 4 แผน ได้แก่ แผนพัฒนาครูอาจารย์ แผนพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ แผนพัฒนา
ทรัพยากรทางการเรียนรู้และแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐาน
วิชุดา กิจธรธรรม และคณะ (2554) ได้การศึกษาวิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน และโอกาส/ความหวังใน
อนาคตของการผลิตครูในประเทศไทย ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้
1.1 พัฒนาการของสถาบันการผลิตครู กรมการฝึกหัดครู ได้แบ่งพัฒนาการของ การฝึก หัดครูไทย
ออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นระยะของการจัดตั้งสถาบันการฝึกหัดครูระยะที่ 2 ระยะการขยายตัวและ
การเปลี่ยนแปลงของสถาบันการฝึกหัดครู จากเดิมการฝึกหัดครูและการอุดมศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของกรม
มหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้โอนไปสังกัดสานักนายกรัฐมนตรี และได้ก่อตั้งทบวงมหาวิทยาลัย
ขึ้น และระยะ 3 ระยะ การเปลี่ยนแปลงของสถาบันการฝึกหัดครูหลังจัดตั้งมาแล้วหนึ่งศตวรรษ พ.ศ. 2536 -
2554 มีการเปลี่ยนแปลงเริ่มตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ มีพระราชบัญญัติสภาครู
และบุ คลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กาหนดให้วิช าชีพครู เป็นวิชาชีพควบคุมทางการศึกษา ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น รวมถึงมีการประกาศแนวทางการปฏิบัติตาม
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2552) เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้
เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ในหลักสูตรครู
1.2 พัฒนาการของหลักสูตรการผลิตครูในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูครั้งแรกในปี
พ.ศ. 2435 มี ก ารสอน 2 หลั ก สู ต ร คื อ หลั ก สู ต รประกาศนี ย บั ต รครู ส อนภาษาไทย และหลั กสู ต ร
113

ประกาศนียบัตรครูสอนภาษาอังกฤษ ส่วนในปัจจุบันประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


และได้กาหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู ตั้งแต่การผลิต การใช้ การพัฒนา และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพ
ครู ในระยะนี้ได้มีการปรับหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริ ญญาตรี เป็นหลักสูตร 5 ปี โดย
จะต้องเรียนไม่น้อยกว่า 160 หน่วยกิต ฝึกสอนไม่น้อยกว่า 1 ปี หลักสูตรครูใน พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน
นอกจากจะมีหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตร 4+1 ปี แล้ว ในโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่สถาบันการผลิตครูบางแห่ง
ได้มีการดาเนินการเพิ่ม 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร 4+2 ปี ที่รับผู้จบสาขาวิชาต่างๆ ที่ไม่ใช่สายครู มาเรียนต่อ
อีก 2 ปี และหลักสูตรครู 6 ปี ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรเมื่อจบออกมาจะได้วุฒิปริญญาโท
2. การผลิ ตครู โ ครงการพิเศษ มีจานวน 9 โครงการ ดังนี้ 1) โครงการพัฒ นาและส่ งเสริมผู้ มี
ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) 2) โครงการเพชรในตม 3) โครงการแสวงหา
ช้างเผือก 4) โครงการคุรุทายาท 5) โครงการผลิตครูที่มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ (สควค.) และ 6) โครงการเร่งรัดผลิตและพัฒนาบัณฑิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาคณิตศาสตร์
ของประเทศ (รพค.) 7) โครงการคุรุทายาท (ตชด.) 8) โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี
(หลักสูตร 5 ปี) ในแผนปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา (พ.ศ. 2547-2549) และ 9) โครงการผลิตครูพันธุ์
ใหม่ (พ.ศ. 2554 - 2563)
3. ผลการศึกษาปัญหาและผลกระทบของการผลิตครูในประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า การผลิตครูเข้า
สู่วิชาชีพของไทยในปัจจุบันมี 3 ลักษณะ คือ 1) การผลิตครูหลักสูตร 5 ปี (การผลิตครูแนวใหม่) 2) การผลิต
ครูต่อยอด 1 ปี (การผลิตครูเฉพาะกิจ) โดยรับนักศึกษาผู้จบปริญญาตรีแล้วเข้ามาเรียนรายวิชาชีพครู จานวน
ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา และ 3) การผลิตครูหลักสูตรปริญญาโทและเอกทางการ
สอน (การผลิตครูระดับบัณฑิตศึกษา) โดยรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือโท เข้ามาเรียนหลักสูตร
ทางการสอน ใช้เวลา 2 ปี สาหรับปริญญาโท และ 3 - 4 ปี สาหรับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังพบว่า ใน พ.ศ.
2555 นี้ สถาบันการผลิตครูบางแห่งได้เปิดหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ 6 ปี รับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเรียน
หลักสูตรปริญญาตรีควบโท 6 ปี จะได้รับปริญญา 2 ใบ คือ ปริญญาตรีและปริญญาโท เปิดโอกาสแก่นิสิตที่ไม่
พร้อมจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ก็สามารถเรียนเฉพาะในระดับปริญญาตรีได้
4. แนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตครูไทย พบว่า การผลิตครูของไทยในปัจจุบันมีแนวปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆ
คือ 1) ด้านปัจจัย โครงสร้างหลักสูตร มีจานวนหน่วยกิตรวม และจานวนหน่วยกิตในหมวดวิชาต่างๆ ไม่ต่า
กว่าที่คุรุสภากาหนด ระหว่าง 160 ถึง 174 หน่วยกิต มีการกาหนดเกณฑ์คุณลั กษณะของนิสิตนักศึกษาที่
รั บ เข้ า ในด้ า นผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น คุ ณ ลั ก ษณะที่ เ อื้ อ ต่ อ การเข้ า ศึ ก ษาในวิ ช าชี พ ครู ก าหนดเกณฑ์
คุ ณ ลั ก ษณะของอาจารย์ ผู้ ส อนทั้ ง ด้ า นคุ ณ วุ ฒิ ทั ก ษะ ความเชี่ ย วชาญ และบุ ค ลิ ก ภาพ ก าหนดเกณฑ์
คุ ณ ลั ก ษณะของครู พี่ เ ลี้ ย งในโรงเรี ย นที่ เ ป็ น แหล่ ง ฝึ ก ประสบการณ์ ได้ แ ก่ คุ ณ สมบั ติ ต ามเกณฑ์ คุ รุ ส ภา
ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้น ฐาน (สพฐ.) มีคุ ณ วุ ฒิ ตรงตามสาขา และมี ค วามเชี่ ย วชาญ มี
ความสั มพัน ธ์ที่ดีกับ นิ สิ ตนั กศึกษา และมีความรับผิ ดชอบ เอาใจใส่ ไม่ทิ้งนักศึกษา มีความพร้อมในด้าน
ทรัพยากรที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาทั้งในสถาบันและนอกสถาบัน 2) ด้านกระบวนการผลิต การจัดการเรียน
การสอนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่มีการศึกษา ในหมวดวิชาเอก
114

ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความชานาญในวิชาเอก มีการจัดการเรียนการสอนโดยคณะวิชา
ของวิชาเอก หรือทางสาขาวิชาจะจัดการเรียนการสอนเอง มีรูปแบบการเรียนการสอนที่มีจุดเน้นหลากหลาย
รวมทั้งการพัฒนาทักษะการวิจัย เน้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และคุณภาพของแหล่งฝึกประสบการณ์ และ
มีหลักสูตรเสริมเพื่อให้นิสิตนักศึกษามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครูและมีคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ของสถาบัน 3) ด้านผลผลิตพบว่า นิสิตนักศึกษาที่จบการศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมี
ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ทั้งในด้านของเทคนิค วิธีการสอน การผลิตสื่อ และการเลือกใช้สื่อการ
สอน มีความเชื่อมั่นในตนเองในการถ่ายทอดความรู้ เพราะได้ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์มาเป็นอย่างดี มี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์สาหรับครูหลายประการ ได้แก่ มีความขยัน ใฝุรู้ มีความรับผิดชอบ มีความรักในตัว
ผู้เรีย น มีความอดทน มีความรู้สึ กรั กและศรัทธาในวิชาชีพครูเพิ่มสู งมากกว่าก่อนเข้าศึกษา และ 4) ด้าน
ผลกระทบพบว่า นิสิต/นักศึกษาซึ่งได้รับการพัฒนาและการบ่มเพาะการเป็นครูจากหลักสูตรแล้วนั้น สามารถ
ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผู้เรียน เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียน มีส่วนร่วมในการ
พัฒนานักเรียน
5. แนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตครูโครงการพิเศษของไทย พบว่า มีแนวปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆ คือ
1) ด้านปัจจัย มีเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ได้แก่เกรดเฉลี่ยและภูมิลาเนาอยู่ในพื้นที่ที่โครงการ
กาหนด มีสิ่งจูงใจในการเข้ามาศึกษาคือ การให้ทุนการศึกษาเต็มรูปแบบตลอดระยะเวลาของหลักสูตรและมี
งานทาเมื่อจบการศึกษาจะบรรจุเข้าเป็นข้าราชการครูทันที 2) ด้านกระบวนการผลิต เน้นการฝึกสอนเพื่อ
เตรียมความพร้อมสาหรับเป็นครู การหล่อหลอมให้มีคุณลักษณะสาคัญของผู้ที่จะเป็นครู นับตั้งแต่เข้าสู่ความ
ดูแลของสถาบันการผลิตครู มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ ทุกๆ ภาคการศึกษาตั้งแต่เข้าศึ กษาในปีที่
หนึ่ ง จนกว่า จะจบหลั กสู ตร การจั ด กิจ กรรมต่า งๆ ในหลั ก สู ต รไม่ไ ด้มี เพี ยงกิจ กรรมเพื่ อการพัฒ นานิสิ ต
นั ก ศึ ก ษาโดยทั่ ว ไปเท่ า นั้ น แต่ ยั ง มี กิ จ กรรมที่ เ น้ น ให้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต และวิ ถี แ ห่ ง วิ ช าชี พ ครู
3) ด้านผลผลิต พบว่า ครูที่สาเร็จการศึกษาจากโครงการพิเศษจะเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง มีความก้าวหน้าใน
วิชาชีพครู และ 4) ด้านผลกระทบพบว่า ครูที่สาเร็จการศึกษาจากโครงการพิเศษยังมีความสามารถในการ
ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน และสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถในระดับชาติ
และนานาชาติได้อีกด้วย
6. ผลการเปรียบเทียบการผลิตครูระหว่างหลักสูตร 4 ปี กับหลักสูตร 5 ปี พบว่า ในด้านปัจจัย
ทั้งสองหลั กสูตรมีนโยบายสอดคล้ องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542 ส าหรับโครงสร้าง
หลักสูตร ในหลักสูตร 5 ปี มีการกาหนดสาระความรู้และสมรรถนะชัดเจนกว่าหลักสู ตร 4 ปี อันเนื่องมาจาก
การมีองค์กรวิชาชีพคือ คุรุสภา ได้กาหนดมาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี และเน้นความรู้และทักษะการ
วิจัยในชั้นเรียน ด้านกระบวนการผลิต ทั้งสองหลักสูตรมีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม แต่หลักสูตร 5 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
1 ปี ซึ่งมากกว่าหลักสูตร 4 ปี ที่ใช้เวลาเพียง 1 ภาคการศึกษา ด้านผลผลิต พบว่า ผู้สาเร็จการศึกษาหลักสูตร
5 ปี มีความเชี่ยวชาญในด้านการสอนการเขียนแผนการสอน และการจัดการชั้นเรียนมากกว่าหลักสูตร 4 ปี
จะได้รั บใบประกอบวิชาชีพครูทันทีเมื่อสาเร็จการศึกษา ด้านผลกระทบ พบว่า ครูใหม่ที่สาเร็จการศึกษา
115

หลักสูตร 5 ปี มีทักษะ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนานักเรียนมากกว่า และมีความสามารถในการบริหารจัดการ


สถานศึกษามากกว่าครูใหม่ในหลักสูตร 4 ปี
7. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการผลิตครูไทยที่จะส่งผลไปยังอนาคต พบผล ดังนี้ คือ 1) นโยบายการ
ผลิตครูของรัฐไม่มีความแน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวาระการบริหารประเทศของคณะรัฐบาล ส่งผลต่อ
นโยบายการผลิตครูของสถาบันการผลิตครู และส่งผลกระทบต่อความต้องการเข้าเรียนครู 2) สถาบันการผลิต
ครูยังมีคนเก่งเข้าเรียนครูจานวนน้อย เนื่องจากการคัดเลือกผู้เรียนที่ผ่านมายังไม่สามารถคัดกรองคนเก่งได้
อย่างแท้จริง ทาให้ผู้ที่เข้าเรียนครูในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ใช่คนเก่งระดับหัวกระทิของประเทศเช่นเดียวกับใน
อดีต 3) กระบวนการผลิตครูของสถาบันการผลิตครูแต่ละแห่งมีคุณภาพไม่เท่ากัน คุณภาพอาจารย์ผู้สอน
แตกต่างกัน การจัดการเรียนการสอนในคณะวิชาที่เป็นวิชาเอก อาจจะทาให้ผู้เรียนครูขาดความรู้และความ
ชานาญในความรู้ร่วมของวิชาครูและเนื้อหาวิชา คุณภาพของครูพี่เลี้ยงแตกต่างกัน การจัดการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ครูใหม่ที่เป็นผลผลิตของสถาบันการผลิตครูแต่ละแห่งมีคุณภาพไม่เท่ากัน
จากการทบทวนวรรณกรรมจะเห็นได้ว่า รูปแบบการผลิตครูได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง และคงเป็น
ปัญหาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการผลิตยังไม่สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
7.3 การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศิริพร พูลรักษ์ (2547) ทาการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิ งสาเหตุ
ของประสิทธิภาพการใช้ครูและการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด โดยมีวัตถุประสงค์ของ
การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวั ด และโมเดลความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สาเหตุ ข อง
ประสิทธิภาพการใช้ครู และศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ
ประสิทธิภาพการใช้ครูระหว่างกลุ่มประชากรครูสังกัดโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้การกากับ
ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โมเดลการวัดประสิทธิภาพการใช้ครูที่พัฒนาขึ้นเป็นโมเดล
องค์ประกอบ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 19 ตัวแปร โมเดล
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครูเป็นโมเดลลิสเรล ประกอบด้วยตัวแปรสาเหตุ 3 ตัวแปร
และตัวแปรสังเกตได้ 6 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 200 คน และครู 1,200 คน จาก 200 โรงเรียนใน
เขตภาคกลาง ซึ่งได้มาจากการสุ่ มแบบแบ่ งขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
สาหรับผู้บริหารและครู วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการแจกแจงของตัวแปร และการ
ทดสอบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของตัวแปรด้วยโปรแกรม SPSS 10.01 ตรวจสอบความตรงและความไม่
แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครูด้วยโปรแกรมลิสเรล
8.52 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลการวัดประสิทธิภาพการใช้ครูที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับ ข้อมูลเชิง
ประจักษ์ดีมาก โดยองค์ประกอบกระบวนการใช้ครู และผลผลิตที่เกิดขึ้นกับตัวครูอธิบายความแปรปรวนของ
ประสิทธิภาพการใช้ครูได้ร้อยละ 48 และ 70 ตามลาดับ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการ
ใช้ครูสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก และปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการใช้ครู
คือ คุณลักษณะของโรงเรียน ความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรม และคุณลักษณะของผู้บริหารและครู ตามลาดับ
และอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการใช้ครูร้อยละ 34 โมเดลการวัดประสิทธิภาพการใช้ครูมีความ
116

ไม่แปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและน้าหนักองค์ประกอบระหว่างกลุ่มประชากรครูทั้งสองสังกัด โมเดลความสัมพันธ์
เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครูมีความไม่แปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและน้าหนักองค์ประกอบระหว่างกลุ่ม
ประชากรครูทั้งสองสังกัด
จากการทบทวนวรรณกรรมจะเห็นได้ว่า การวัดประสิทธิภาพการใช้ครูที่พัฒนาขึ้นสอดคล้อ งกลมกลืน
กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบกระบวนการใช้ครูและผลผลิตที่เกิดขึ้นกับตัวครูอธิบายความแปรปรวน
ของประสิทธิภาพการใช้ครู
7.4 การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อัจฉราพร กลิ่นเกษร (2555) ได้ทาการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้
เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ของ
ครูเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่เป็นการตอบสนองนโยบายการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศในปี พ.ศ.
2558 เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนที่พึงมีในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนตามการรับรู้ของครู และเพื่อ
ศึกษาปั ญหาและแนวทางในการสร้างความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน
กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ ใ นการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล คื อ ครู สั ง กั ด สานั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน
ปีการศึกษา 2554 จานวน 771 คน ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่เป็นการ
ตอบสนองนโยบายการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศในปี พ.ศ.2558 พบว่า
1.1 ผลการวิเคราะห์ความรู้ของครูเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนซึ่งใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่
ประชาคมอาเซียนพบว่า ความรู้ของครูที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง
ประชาคมอาเซียน รองลงมาได้แก่ความรู้เกี่ยวกับการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการแต่ง
กายของประเทศสมาชิกอาเซียน และมี ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือความรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของประเทศ
สมาชิกอาเซียน ส่วนความรู้เกี่ยวกับนโยบายการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของครูอยู่ที่ระดับดี
1.2 ผลการวิเคราะห์ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูที่ตอบสนองนโยบายการก้าวสู่ประชาคม
อาเซี ย น พบว่ า การจั ดการเรี ย นรู้ ของครู ที่ไ ด้ท าเพื่ อสร้า งความพร้ อมในการก้า วสู่ ประชาคมอาเซี ยนนั้ น
มากที่สุ ดคือการสอดแทรกความรู้ เกี่ย วกับ ประชาคมอาเซียนในสาระการเรียนรู้และรายวิช าที่ส อน และ
รองลงมาได้แก่ การแสวงหาความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และนามาสอดแทรกในกระบวนการ
จัดการเรียนรู้ มีการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบันเพื่อนามาใช้ในการ
จัดการเรียนรู้แก่นักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีเพื่อศึกษาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และมีค่าเฉลี่ย
น้อยที่สุดคือทาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
1.3 ผลการวิเคราะห์ ด้านการจัดกิจกรรมเสริมนอกห้ องเรียนที่ตอบสนองนโยบายการก้าวสู่
ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน โดยครูมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ในด้านการจัดกิจกรรมเสริมนอกห้องเรียนที่
ตอบสนองนโยบายการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน โดยครูมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆนั้น
พบว่าเมื่อแบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ จัดกิจกรรมโดยการสร้างแหล่งเรียนรู้
ภายในโรงเรียน รองลงมาคือ การจัดกิจ กรรมที่ให้ความรู้และสร้างความรู้สึกในการเป็นสมาชิกประชาคม
117

อาเซียนแก่นักเรียน การวัดและประเมินผลกิจกรรมและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
และชุมชนภายนอกมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และการจัดกิจกรรมบูรณาการ ส่วนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภายใน
กลุ่มโรงเรียน หรือกลุ่มประเทศอาเซียนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยทั้ง 6 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่า
1.4 ผลการวิเคราะห์ด้านการบริหารจัดการของโรงเรียนที่ก่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่
ประชาคมอาเซียน พบว่าระดับในด้านการบริหารจัดการของโรงเรียนที่ก่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่
ประชาคมอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มีเพียง 2 ข้อที่อยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ โรงเรียนมีการนิเทศ
ติดตามการดาเนินงานการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ในรูปของคณะกรรมการดาเนินงาน และชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดทาหลักสูตรและพัฒนาการศึกษาในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
1.5 ผลการวิเคราะห์ด้านการส่งเสริมและดาเนินนโยบายของส่วนกลางที่ก่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้
เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน พบว่าจากความเห็นของครูการส่งเสริมและดาเนินนโยบายของส่วนกลางที่
ก่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนั้นอยู่ในระดับปานกลาง
1.6 ตัวแปรที่ส่งผลความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
1) ด้านความรู้ของ ครู พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทมีความรู้มากกว่าครูที่จบ
ปริญญาตรี ครูที่มีอายุน้อยมีความพร้อมในด้านความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากกว่าครูที่มีอายุมาก ครูที่
มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการสอน ต่ากว่า 10 ปี มีความรู้มากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการสอน
ระหว่าง 21-30 ปี ครูที่ปฏิบัติการสอนชั้นประถมศึกษามีความรู้มากที่สุด รองลงมาคือครูที่ปฏิบัติการสอน
มัธยมศึกษาตอนปลาย และมีความรู้น้อยที่สุดคือครูที่ ปฏิบัติการสอนมัธยมศึกษาตอนต้น ครูที่ปฏิบัติการสอน
ในสาระสังคมศึกษามีความรู้มากที่สุด รองลงมาคือสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ น้อยที่สุดคือสาระการ
เรียนรู้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาขนาด
กลางมีความรู้มากที่สุด รองลงมาคือขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษตามลาดับ และสถานศึกษาที่มีความรู้น้อย
ที่สุดคือ สถานศึกษาขนาดเล็ก ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในภาคเหนือมีความรู้มากที่สุด รองลงมาคือ
ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคที่ครูยังมีความรู้ ในการจัด
การศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนน้อยที่สุดคือภาคใต้ และครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ได้รับเลือกเป็นโรงเรียน
ต้นแบบเกี่ยวกับอาเซียนมีความรู้มากกว่าโรงเรียนปกติ
2) ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อก้าวสู้ประชาคมอาเซียน พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับ
ปริญญาโทมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้มากกว่าครูที่จบปริญญาตรี ครูที่มีอายุน้อยมีความพร้อมในการ
จัดการเรียนรู้มากกว่าครูที่มีอายุมาก ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการสอน ต่ากว่า 10 ปี มีความพร้อมใน
การจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนมากที่สุ ด ครูที่ปฏิบัติการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมี
ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือครูที่ปฏิบัติการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความ
พร้อมในการจัดการเรียนรู้น้อยที่สุดคือครูที่ปฏิบัติการสอนชั้นประถมศึกษา ครูที่ปฏิบัติการสอนในสาระสังคม
ศึกษามีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ น้อยที่สุดคือ
สาระการเรี ย นรู้ ส าระการเรี ย นรู้ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละสาระการเรี ย นรู้ ค ณิ ต ศาสตร์ ครู ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารสอนใน
สถานศึกษาขนาดใหญ่ความพร้อมในการจัดการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษ
118

ตามลาดับ และครูมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้น้อยที่สุดคือ สถานศึกษาขนาดเล็ก ครูที่ปฏิบัติการสอนใน


สถานศึ ก ษาในภาคใต้ ค วามพร้ อ มในการจั ด การเรี ย นรู้ เ พื่ อ ก้ า วสู่ ป ระชาคมอาเซี ย นน้ อ ยที่ สุ ด และครู ที่
ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบเกี่ ยวกับอาเซียนมีความพร้อมในการจัดการ
เรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนมากกว่าโรงเรียนปกติ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างระดับความรู้ของครูกับความพร้อมในการจัดการเรียนรู้
ของครูเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า ครูที่มีความรู้ในระดับมากมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้มาก
ที่สุด รองลงมาคือครูที่มีความรู้ในระดับปานกลาง และมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้น้อยที่สุดคือครูที่มี
ความรู้ในระดับน้อย
3) ตัว แปรที่ส่งผลกับการจัดกิจกรรมเสริมนอกห้องเรียนที่ตอบสนองนโยบายการก้าวสู่
ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนซึ่งครูมีหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ พบว่า สถานศึกษาที่ยังไม่มีความพร้อม
ในการจัดกิจกรรมเสริมนอกห้องเรียนตอบสนองนโยบายการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนคือสถานศึกษาขนาดเล็ก
สถานศึ ก ษาในภาคใต้ ค วามพร้ อ มในการจั ด กิ จ กรรมเสริ ม นอกห้ อ งเรี ย นที่ ต อบสนองนโยบายการก้ า วสู่
ประชาคมอาเซียนน้อยที่สุด และสถานศึกษาที่ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบเกี่ยวกับอาเซียนมีความพร้อมใน
การจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนมากกว่าโรงเรียนปกติ ครูที่มีความรู้ในระดับมากมีความพร้อมใน
การจัดกิจกรรมเสริมนอกห้องเรียนมากที่สุด รองลงมาคือครูที่มีความรู้ในระดับปานกลาง และน้อยที่สุดคือครู
ที่มีความรู้ในระดับน้อย
4) ด้านการบริหารจัดการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อ
ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า โรงเรียนที่มีการบริหารจัดการที่ดีครูมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่
ประชาคมอาเซียนมากกว่าโรงเรียนที่มีการบริหารจัดการที่ไม่ดี
2. ปัญหาและแนวทางในการสร้างความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ปรากฏผลวิจัย ดังนี้
2.1 ด้านความรู้ ครูยังไม่ได้รับความรู้อย่างทั่วถึง ซึ่งความรู้ที่มีนั้นเป็นความรู้ที่ต้ องเกิดจากการ
แสวงหาด้วยตนเอง ซึ่งยังไม่ได้รับการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องจากหน่ว ยงานต่างๆ แนวทางที่ควรใช้ในการ
ดาเนินการ ควรจัดให้มีการจัดอบรม ให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อนามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ สร้าง
ความตื่นตัวให้ครูสนใจที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มมากขึ้ น และปฏิบัติตนให้ทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีการ
จัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อให้ครูมีความสะดวกที่ศึกษาหาความรู้
2.2 ด้านหลักสูตร ทางกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการศึกษาเพื่อก้าวสู่
ประชาคมอาเซียน ยังไม่มีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันแต่ละโรงเรียนต้องดาเนินการด้วยตนเอง ทาให้
แต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานและแนวทางที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน แนวทางที่ควรใช้ในการดาเนินการ ควรมีการ
กาหนดหลักสูตรที่ชัดเจน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ทุกโรงเรียนใช้ในการจัดการเรียนการสอน
และเมื่อกาหนดหลักสูตรแกนกลางแล้ว ควรสนับสนุนให้โรงเรียนต่างๆ จัดหลักสูตรของแต่ละโรงเรียนให้
หลากหลายและเหมาะสมกับโรงเรียนนั้นๆ
119

2.3 ด้านการสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดการเรียนรู้และจัด กิจกรรมนั้นต้องใช้งบประมาณเป็น


จานวนมากซึ่งทางภาครัฐยังมีการกระจายงบประมาณที่ยังไม่ทั่วถึง ทาให้เป็นข้อจากัดในการทางาน แนวทางที่
ควรใช้ในการดาเนินการ มีการกระจายงบประมาณอย่างทั่วถึงและเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนนั้นๆ และ
ดาเนินการจัดสรรนโยบายอย่างรวดเร็วให้ทันกับความต้องการของโรงเรียนต่างๆ
2.4 ด้านการชี้แจงนโยบายในหลายๆ โรงเรียนยังไม่ได้รับนโยบายที่ ชัดเจนในการจัดการศึกษาเพื่อ
ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน แนวทางที่ควรใช้ในการดาเนินการ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกาหนดนโยบายที่ชัดเจน
และเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถดาเนินงานตามนโยบายได้อย่างถูกต้อง
2.5 ด้านความพร้อมในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่จะสามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะก้าวสู่ประชาคม
อาเซีย น เพราะนั กเรี ย นบ้างส่ว นยั งไม่มีพื้นฐานความรู้ที่ไม่มากพอที่จะพัฒ นาตนเองเพื่อก้าวสู่ ประชา คม
อาเซียน แนวทางที่ควรใช้ในการดาเนินการคือ วางรากฐานที่มั่นคงให้กับนักเรียน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และ
เจตคติ มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นฐานของนักเรียน และควรจัดกิจกรรมที่
หลากหลายเพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น อยากจะศึกษาหาความรู้ และเป็นส่วนหนึ่งของประชาคม
อาเซียน
จากการทบทวนวรรณกรรมจะเห็นได้ว่า การพัฒ นาครูมีหลากหลายรูปแบบ โดยจะต้องมีการ
ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
บทที่ 3
วิธีดาเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่


สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และ
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษา
ขั้นพื้นฐานในอนาคต และ 3) เพื่อจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods
Approach) โดยมีขั้นตอนการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังนี้

ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


มีขั้นตอนดังนี้
1.1 การวิจั ยเอกสาร ได้แก่ รายงานการส ารวจ รายงานการประเมิน รายงานการวิจัย และ
เอกสารรายงานสรุปเกี่ยวกับการผลิตครู การใช้ครู และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีข้อมูลในช่วงปี
พ.ศ. 2546-2556 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
1.2 การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
1.2.1 ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ประกอบด้วยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและผู้
ทีป่ ฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยในการวิจัย
ครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม จานวน 36 คน (รายชื่อในภาคผนวก ง) จากหน่วยงานดังนี้
1) สานักงานเลขาธิการคุรุสภา
2) สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
3) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
5) สานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
6) สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
7) สถาบันอุดมศึกษาที่มีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
8) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 6 สังกัด ได้แก่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ส านั ก งานส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ส านั ก งาน
คณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา ส านักงานคณะกรรมการส่ งเสริม การศึกษาเอกชน
121

สานั กงานคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา สานักงานกรุงเทพมหานคร และองค์กร


ปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2.2 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ประเด็นการประชุมสนทนากลุ่ม ดังตัวอย่างในภาคผนวก ก
1.2.3 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
1.3 การวิจัยเชิงสารวจ
1.3.1 ผู้วิจัยสร้างแบบสารวจ ดังแสดงในภาคผนวก ข แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ความเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ช่วงปี พ.ศ.2546-2556 และความเห็นเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ของการผลิต การใช้ และการพัฒนา
ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงปี พ.ศ.2557-2566 โดยแบบสารวจใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5
ระดับ
ตอนที่ 3 ความเห็นเกี่ยวกับสภาพคุณลักษณะครูในปัจจุบันและอนาคต 2566 โดยแบบ
สารวจใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ตอนที่ 4 ความเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
ข้อคาถามในแบบสอบถามจะทาให้ ได้ข้อมูล ความต้องการจาเป็น โดยพิจารณาความต่าง
ระหว่างสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่พึงประสงค์
1.3.2 ผู้ตอบแบบสารวจ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่ม ดังตารางที่ 3.1
โดยคณะที่ปรึกษาได้แจกแบบสารวจเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิตอบก่อนการประชุมสนทนากลุ่ม ซึ่งจัด ขึ้นในวันที่ 11
กุมภาพันธ์ 2558
1.3.3 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ ย และการหาค่าความต้องการจาเป็น (Needs
Assessment) เพื่อประเมินความต้องการจาเป็นเป็นกระบวนการประเมินเพื่อกาหนดความแตกต่างของสภาพ
ที่เกิดขึ้นกับสภาพที่ควรจะเป็น (สุวิมล ว่องวาณิช, 2548: 62) โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index
(PNI modified) (นงลักษณ์ วิรัชชัยและสุวิมล ว่องวานิช อ้างถึงในสุวิมล ว่องวาณิช, 2548: 279) ดังนี้

(PNI modified) = (I – D)
D
เมื่อ (PNI modified) แทน ดัชนีเรียงลาดับความสาคัญของความต้องการจาเป็น
I แทน ค่าเฉลี่ย (X) ของบทบาทที่คาดหวัง
D แทน ค่าเฉลี่ย (X) ของบทบาทที่เป็นจริง

การแปลค่า PNI modified


ค่าตั้งแต่ 0.65 ขึ้นไป หมายถึง ความต้องการจาเป็นมาก ต้องดาเนินการเร่งด่วนมาก
122

ค่า 0.40-0.64 หมายถึง ความต้องการจาเป็นปานกลาง ควรพิจารณาดาเนินการ


ค่าต่ากว่า 0.40 หมายถึง ความต้องการจาเป็นน้อย ไม่จาเป็นดาเนินการ

ตอนที่ 2 การศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต


มีขั้นตอนดังนี้
2.1 การวิจั ยเอกสาร ได้แก่ รายงานการส ารวจ รายงานการประเมิน รายงานการวิจัย และ
เอกสารรายงานสรุปเกี่ยวกับการผลิตครู การใช้ครู และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีข้อมูลในช่วงปี
พ.ศ. 2557-2566 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
2.2 การวิจัยเชิงสารวจเพื่อศึกษาความต้องการจาเป็นและคุณลักษณะครูที่พึงประสงค์ในอนาคต
แบบสารวจที่ใช้เป็นไปตามข้อ 1.3.1 และผู้ทรงคุณวุฒิที่ตอบแบบสารวจเป็นไปตามตารางที่ 3.1
2.3 การวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการครูและการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต โดยใช้การ
วิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต (Trend Analysis) ซึ่งเป็นการคานวณข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.
2546-2557 มาพยากรณ์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต โดยใช้สูตร
(Xi + Xj)
n
เมื่อ I = จานวนครูปีที่ 1
J = จานวนครูปีที่ 3
n = จานวนปี

2.4 การทาวงล้ออนาคต (Future Wheel)


2.4.1 ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมทาวงล้ออนาคตเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการผลิต
การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต ประกอบด้วยผู้ที่มีความ
เชี่ยวชาญและผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 แบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบเช้าระหว่างเวลา 09.00-12.00
น. และรอบบ่ายระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานด้านการผลิต การใช้และการ
พัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมจานวน 23 คน (รายชื่อในภาคผนวก ง) จากหน่วยงานต่อไปนี้
1) สานักงานเลขาธิการคุรุสภา
2) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
4) สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
5) สานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
6) สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
123

7) สถาบันอุดมศึกษาที่มีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
8) สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 6 สังกัด ได้แก่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ส านั ก งานส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ส านั ก งาน
คณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา ส านักงานคณะกรรมการส่ งเสริม การศึกษาเอกชน
สานั กงานคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา สานักงานกรุงเทพมหานคร และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น
2.4.2 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนภาพการทาวงล้ออนาคต ดังตัวอย่างในภาคผนวก ค
2.4.3 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ตอนที่ 3 การนาเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่


สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
มีขั้นตอนดังนี้
3.1 นาผลที่ได้จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 มาร่างเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
3.2 จัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) หรือการจัดประชุมวิทยาพิจารณ์โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
สอดคล้ องกับความต้องการในอนาคต ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและจากหน่ว ยงานที่
เกี่ยวข้อง โดยในการศึกษาครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม จานวน 17 คน (รายชื่อในภาคผนวก ง) จากหน่วยงาน
และองค์กรดังนี้
1) สานักงานเลขาธิการคุรุสภา
2) สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
3) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
5) สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
6) สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7) สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9) สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย และสภาคณบดี คณะครุ
ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (กลุ่ม 16)
10) สานักงานกรุงเทพมหานคร
11) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
12) สถาบันอุดมศึกษา
124

การจัดประชุมสนทนากลุ่ม จัดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม 2558 ระหว่างเวลา 13.15-16.00 น.


3.3 นาข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และ
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต เพื่อนาเสนอสานักงานเลขาธิการ
คุรุสภาต่อไป
บทที่ 4
ผลการศึกษาการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การศึกษาเกี่ยวกับการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งนี้เป็นการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครู 3 ด้าน
คือ ด้านมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่
เปิดสอนคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สานักงานเลขาธิการคุรุสภา
สถานศึกษาสาหรับปฏิบัติการสอน โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การทาวงล้ออนาคต และการประชุมสนทนากลุ่ม
สาหรับผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
4.1 สภาพและปัญหาการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.2 ความต้องการในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.3 ข้อเสนอแนะในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.1 สภาพและปัญหาการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การผลิตครูไทยมีพัฒนาการมายาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี การ
จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกในปี พ.ศ. 2435 จนกระทั่งมีการเปลี่ยนสถานะเป็นวิทยาลัยครู และสถาบันราชภัฏ
ในปี พ.ศ. 2518 และ 2535 ตามลาดับจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏใน พ.ศ. 2547 ตามนัยของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
หลายแห่ ง ทั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ มหาวิ ท ยาลั ย ไม่ จ ากั ด รั บ สถานศึ ก ษานอกสั ง กั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รวมทั้งเริ่มมีหลักสูตรด้านครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ที่
ผ่านมาการผลิตครูไทยมีสภาพปัญหาที่ส่งผลไปยังอนาคต โดยปัญหาสาคัญ 3 ประการ คือ 1) นโยบายการผลิตครู
ของรัฐ 2) สถาบันการผลิตครูยังมีคนเก่งเข้าเรียนครูจานวนน้อย และ 3) กระบวนการผลิตครูของสถาบันผลิตครู
แต่ละแห่งคุณภาพไม่เท่ากัน ซึง่ ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายสรุปได้ว่านโยบายการผลิตครูของรัฐที่ผ่านมายังไม่มีความ
แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวาระการบริหารประเทศของคณะรัฐบาลแต่ละชุด การกาหนดนโยบายในการ
ผลิตครูเพื่อส่งเสริมให้คนเก่งเข้ามาเรียนครูขาดความต่อเนื่อง จึงส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ
และการเมืองการปกครองของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการผลิตครูไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถแบ่งเป็นยุค
ของสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นออกได้เป็น 4 ยุคดังนี้ (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2557:
13-16 และวิชุดา กิจธรธรรมและคณะ, 2554)
1) ยุคก่อนการปฏิรูปการฝึกหัดครู ในระยะแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 1-5 (พ.ศ.2510-2529)
เป็นยุคการเพิ่มจานวนประชากรทาให้รัฐต้องเร่งผลิตครู ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ส่งผลต่อการ
ผลิตครูไทย คือ การเพิ่มส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพการผลิตในระยะต่อมาได้ ก่อให้เกิดปัญหา
126

สาคัญคือ การเพิ่มจานวนประชากรทาให้เกิดภาวะขาดแคลนครู ทาให้รัฐต้องมีนโยบายเร่งรัดผลิตครู ส่งผลให้มี


การจัดตั้งสถาบันการผลิตครูจานวนมาก มีการเพิ่มจานวนหลักสูตร มีความต้องการครูผู้สอนในสถาบันผลิตครู
เพิ่มขึ้น ครูผู้ ส อนในสถาบั นการผลิตครู ยั งมีประสบการณ์น้อย กระบวนการคัดเลื อกนักเรียนเข้าเรียนครูเน้น
ปริมาณมากกว่าคุณภาพ ในที่สุดก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ มีการผลิตครูจานวนมากและคุณภาพครูใหม่ลดต่าลง
2) ยุคก่อนการปฏิรูปการฝึกหัดครู ในระยะแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534)
เป็นยุคที่ความต้องการครูลดลง จากการควบคุมจานวนประชากรทาให้ความต้องการครูลดน้อยลง แต่ยังมีการ
ผลิตครูซ้าซ้อน ขาดการควบคุมมาตรฐาน ครูบางสาขาขาดแคลนบางสาขาเกินความต้องการ การบรรจุและการใช้
ครูไม่ตรงวุฒิ ส่งผลให้ครูจานวนมากตกงาน ครูมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ในที่สุดก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ ครูไม่เก่ง
เหมือนในอดีต ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูลดต่าลง มาตรฐานวิชาชีพลดต่าลง
3) ยุคการปฏิรูปการฝึกหัดครู พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ระยะของแผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) เป็นยุคคุณภาพนักเรียนลดต่าลง ปัญหาคุณภาพของครู ส่งผลกระทบต่อ
นักเรียน ทาให้นักเรียนคุณภาพลดต่าลง มีการปฏิรูปการฝึกหัดครู มีโครงการพิเศษเพื่อดึงคนเก่งมาเรียนครู แต่
งบประมาณสนับสนุนขาดความต่อเนื่อง ทาให้โครงการหยุดชะงัก ไม่สามารถจูงใจให้คนเก่งเข้าเรียนครูได้อีก
หลักสูตรครูไม่เข้มข้น ครูใหม่ขาดประสบการณ์ คนเก่งจบแล้วจะไม่เป็นครู ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องคือ ครูมีรายได้
ต่า ขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู สังคมขาดความเชื่อถือครู
4) ยุคการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 1 (พ.ศ.2542-2551) ซึ่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นยุคความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศลดลง คุณภาพนักเรียน
ตกต่าอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิรูปการศึกษา ปรับหลักสูตรครูเป็น 5 ปี กระบวนการผลิตครูยังมีมาตรฐานแตกต่าง
กัน คนเก่งเข้าเรียนครูไม่มากเพียงพอ ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูไม่เทียบเท่ากับวิชาชีพอื่นๆ ผู้เรียนครูไม่เลือกเรียน
ในสาขาที่เรี ยนยาก จึงขาดแคลนครู สาขาที่มีความส าคัญ สาขาอื่นๆ มีครูเกินความต้องการ ก่อให้เกิดปัญหา
ต่อเนื่องคือ คุณภาพครูใหม่แตกต่างกัน คุณภาพการผลิตครูแตกต่างกัน และสังคมมีความเชื่อมั่นในสถาบันการ
ผลิตครูน้อยลง
ล่าสุดในปี พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายทั่วไปที่เกี่ยวกับครูว่าให้
ความสาคัญกับการส่งเสริมและยกสถานะของครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษา การสร้างเสริมให้วิชาชีพ
ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงในสังคม เป็นบุคลากรที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
มีภูมิความรู้และทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ตลอดจนมีฐานะและ
คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ส อดคล้ อ งกั บ สภาพทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมไทยในปั จ จุ บั น อี ก ทั้ ง ยั ง มี น โยบายเฉพาะที่ จ ะ
ดาเนินการให้เห็นผลใน 1 ปี คือ การมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ โดยมี
เป้าหมายในการดาเนินนโยบาย คือ
127

- มีแนวทางการพัฒ นาระบบการผลิ ตครูให้ เพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับอัตรากาลั ง


ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และปรับระบบการรับรองมาตรฐานวิชาชีพครูให้ เอื้อต่อการ
เพิ่มโอกาสให้มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมเข้ามาในระบบการศึกษา
- ระบบการบริ ห ารงานบุ ค คล และการประเมิ น วิ ท ยฐานะของครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา
มีมาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มศักยภาพในการให้การศึกษาและลดภาระงานที่ไม่จาเป็นรวมทั้ง
ไม่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก
- ครู และบุ คลากรทางการศึกษามีจิตวิญญาณของความเป็นครู การเป็นครูมืออาชีพ และยึดมั่นใน
จรรยาบรรณของวิชาชีพ
- สามารถกาหนดแนวทางการพัฒนาตามเส้นทางวิชาชีพและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่าง
เป็นระบบ มีระบบสนับสนุนการพัฒนาตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการระบบคลังความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ
การประเมินผล อย่างเป็นรูปธรรม
- มีแผนงานและโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยการ
พัฒนาระบบสวัสดิการที่มุ่งการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือที่ยั่งยืน และให้ความสาคัญกับการ
แก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างเป็นระบบ
เมื่อพิจารณาสภาพปัญหาการผลิตครู ในด้านหลักสู ตร นอกจากหลั กสูตรการผลิตครูระดับปริญญาตรี
(หลักสูตร 5 ปี) ในปัจจุบันแล้ว สถาบันผลิตครูยังมีการผลิตครูโครงการพิเศษในสถาบันผลิตครู เช่น โครงการคุรุ
ทายาท โครงการแสวงหาช้างเผือก โครงการผลิตครู พันธุ์ใหม่ (พ.ศ. 2554 -2563) เป็นต้น แต่ที่น่าสังเกต คือ
ปัจจุบันมีการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัต รบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รับผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาอื่นมาเรียนต่อวิชาชีพครูอีก 1 ปี ซึ่งคุรุสภาได้เคยยกเลิกหลักสูตรนี้ไปแล้ว แต่เนื่องจากมีความจาเป็น คุรุสภา
จึงได้อนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเปิดสอนในระดับ ป.บัณฑิต และหลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา ซึ่ง
เป็นโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นาหลักสูตรนี้มาใช้ในการผลิตครูเพื่อสอนในสาขาวิชา
คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานครูคณิตศาสตร์ หรือครูวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2557: 2-3, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
และเทคโนโลยี, ออนไลน์ และคุรุสภา, ออนไลน์) อย่างไรก็ตาม การผลิตครูของสถาบันผลิตครูจะต้องเป็นไปตาม
มาตรฐานซึ่งกาหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคุรุสภาที่ได้กาหนดว่าการผลิตครูต้องไปเป็นตามมาตรฐาน
วิชาชีพครู 3 ด้าน คือ มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิต ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากเอก
สาและการสนทนากลุ่มแล้วมีประเด็นที่สรุปได้ดังนี้
128

4.1.1 มาตรฐานหลักสูตร
จากการศึกษาค้น คว้า สรุ ป ได้ ว่า หลั ก สู ตรการผลิ ต ครูในระยะแรกเป็นการเปิด สอนเพื่ อผลิ ตครูระดั บ
ประกาศนียบัตร ต่อมาสถาบันผลิตครูได้มีการเปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3
ปี โดยที่มีโครงสร้างและสาระของหลักสูตรแตกต่างกันโดยเฉพาะคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
ต่อมาหลักสูตรปริญญาตรีได้ปรั บเป็นหลักสูตร 5 ปี และกระทรวงศึกษาธิการได้ดาเนินโครงการผลิตครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานระดับ ปริ ญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ในแผนปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา (พ.ศ. 2547-2549)
ร่วมกับสถาบันการผลิตครูและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยหวังว่าจะสามารถสร้างครูที่มีความลึกซึ้งทางวิชาการ มี
ความเชี่ยวชาญในทางปฏิบัติและมีจิตวิญญาณในการเป็นครู สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนได้เต็ม
ตามศักยภาพ ตามแนวทางที่ยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ
ในด้านมาตรฐานวิชาชีพ ภายหลังการตราพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
หมวด 1 สภาครู และบุ คลากรทางการศึกษา ได้มีการกาหนดให้ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุม ส่ ว นมาตรา 7
กาหนดให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เรียกว่า คุรุสภา และมาตรา 9 กาหนดให้คุรุสภามีอานาจหน้าที่
หลายประการ และหนึ่งในนั้นคือ การกาหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ และส่วนที่ 5 การประกอบ
วิชาชีพควบคุม นอกจากนี้มาตรา 49 ยังกาหนดให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) มาตรฐาน
ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ 2) มาตรฐานการปฏิบัติงาน และ 3) มาตรฐานการปฏิบัติตน โดยการกาหนด
ระดับคุณภาพของมาตรฐานในใบประกอบวิชาชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภา ทั้งนี้ต้องจัดให้มีการ
ประเมินคุณภาพของผู้รับใบอนุญาตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดารงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ และความชานาญการ
ตามระดับคุณภาพของมาตรฐานใบประกอบวิชาชีพตามเกณฑ์ และวิธีการที่คุรุสภากาหนด (สานักงานเลขาธิการ
คุรุสภา, 2554: 31) หลังจากนั้นได้มีการประกาศข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของ
วิชาชีพ พ.ศ. 2548 กาหนดมาตรฐานความรู้ ให้ครูมีคุณวุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือ
คุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ 9 ด้าน คือ
(1) ภาษาและเทคโนโลยีสาหรับครู
(2) การพัฒนาหลักสูตร
(3) การจัดการเรียนรู้
(4) จิตวิทยาสาหรับครู
(5) การวัดและประเมินผลการศึกษา
(6) การบริหารจัดการในห้องเรียน
(7) การวิจัยทางการศึกษา
(8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
(9) ความเป็นครู
129

ส่วนมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพกาหนดให้ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญา
ทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงือ่ นไขที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด คือ (1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน และ (2) การปฏิบัติการสอนใน
สถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
นอกจากนี้ ยังมีประกาศคุรุ สภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการ
ประกอบวิ ช าชีพ เมื่อ พ.ศ. 2548 กาหนดองค์ ประกอบของมาตรฐานและเกณฑ์ก ารรับ รองปริญ ญาตรี ทาง
การศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) โดยระบุว่าเกณฑ์การรับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตร ประกอบด้วยมาตรฐานสาม
ด้าน คือ มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิตหรือมาตรฐานผู้สาเร็จการศึกษา
- มาตรฐานหลักสูตร มีองค์ประกอบคือ (1) โครงสร้างหลักสูตรให้มีจานวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า
160 หน่วยกิต ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หมวดวิชาชีพครูไม่น้อย
กว่า 50 หน่วยกิต ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ 9 ด้านข้างต้น หมวดวิชา
เฉพาะด้านไม่น้ อยกว่า 74 หน่ว ยกิต และหมวดวิช าเลื อกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่ว ยกิต (2)
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยกระบวนการร่างหลักสูตร คุณสมบัติของคณะกรรมการ
ร่างหลักสูตร และการพัฒนาหรือการปรับปรุงหลักสูตร
- มาตรฐานการผลิต มีองค์ประกอบคือ (1) กระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา ที่ให้แต่ละสถาบันผลิต
ครูกาหนดเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกนิสิต นักศึกษาของแต่ละสถาบัน มีการสอบคัดเลือกอย่าง
เป็นระบบ มีการสอบวัดแววความเป็นครู และสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินคุณลักษณะความเป็นครู (2)
คุณสมบัติของบุคคลที่รับผิดชอบ ในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอนวิชาชีพครู อาจารย์
นิเทศ (อาจารย์ของสถาบันผลิตครู) กับครูพี่เลี้ยง (ครูผู้สอนของสถานศึกษาที่นิสิตนักศึกษาปฏิบัติการ
สอน) (3) ทรัพยากร ประกอบด้วยความพร้อมด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งทรัพยากรการ
เรี ย นรู้ (4) ระบบการจั ด การเรี ยนรู้ และการบริห ารจั ดการ มีองค์ป ระกอบเกี่ย วกับ การบริ ห าร
หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา การจัดกิจกรรมเสริม
ความเป็นครู และ (5) การประกันคุณภาพการศึกษา
- มาตรฐานบัณฑิตหรือมาตรฐานผู้สาเร็จการศึกษา มีองค์ประกอบด้าน (1) ความรู้ คือ เรียนครบตาม
หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาและผ่านเกณฑ์การประเมินของสถาบันการผลิตครู (2) มีการ
ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1
ปี และมีรายงานผลการผ่ านเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามมาตรฐาน
ประสบการณ์วิชาชีพครูที่คุรุสภากาหนด (3) มีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับความเป็นครูโดยมีผลการ
รับรองความประพฤติจากสถาบันการผลิตครู (4) ได้รับการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู เข้าร่วม
130

กิจกรรมการพัฒ นาคุณลักษณะความเป็นครู โดยมีหลักฐานที่แสดงการเข้าร่วมกิจกรรมครบตาม


เกณฑ์ที่กาหนดและผ่านการประเมินจากสถาบันการผลิตครู
ในเวลาต่อมาคุรุสภาได้ยกเลิกข้อบังคับเดิมและออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556
โดยมีการปรับปรุงให้มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้
(1) ความเป็นครู
(2) ปรัชญาการศึกษา
(3) ภาษาและวัฒนธรรม
(4) จิตวิทยาสาหรับครู
(5) หลักสูตร
(6) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
(7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
(8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
(9) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
(10) การประกันคุณภาพการศึกษา
(11) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
พร้ อ มกั น นั้ น ได้ ย กเลิ ก ประกาศฉบั บ เดิ ม และออกประกาศคุ รุ ส ภา เรื่ อ ง การรั บ รองปริ ญ ญาและ
ประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557 โดยมีการปรับสาระสาคัญในส่วนที่เกี่ยวกับครู
เช่น ปรับเพิ่มมาตรฐานความรู้ครูจาก 9 มาตรฐานเป็น 11 มาตรฐาน ปรับหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาที่เดิม
รับรองเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี เพิ่มรับรองหลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก สถาบันต้องรับนิสิต
นักศึกษาตามแผนที่กาหนดในหลักสูตร โดยมีสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1 ต่อ 30 อาจารย์นิเทศต่อนักศึกษา 1
ต่อ 10 และสถาบันต้องเสนอหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติจากสภาสถาบันให้คุรุสภารับรองก่อนเปิดการเรียนการสอน
ไม่น้อยกว่า 60 วัน และมีการติดตามผลเชิงประจักษ์หลักสูตรไม่ น้อยกว่า 1ครั้ง ที่สาคัญมีการกาหนดว่าผู้สาเร็จ
การศึกษาที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่คุรุสภาให้การรับรองต้องผ่านการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากาหนด (สานักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2557)
ขณะเดียวกันสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ประกาศกรอบมาตรฐาน
คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในปี พ.ศ. 2552 และประกาศกรอบมาตรฐานคุณวุฒิครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานาไปจัดทาหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและ
จัดการเรียนการสอน เพือ่ ให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียง
กัน โดยกาหนดให้บัณฑิตมีผลการเรียนรู้ 6 ด้านคือ (1) คุณธรรมจริยธรรม (2) ความรู้ (3) ทักษะทางปัญญา (4)
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี และ (6) ทักษะ
131

การจัดการเรียนรู้ (สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554) ในส่วนมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี


สาขาครุ ศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้ าปี) หรือ มคอ. 1 มีข้อกาหนดกลางสาหรับหลักสู ตร และ
ข้อกาหนดมาตรฐานสาหรับหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอก) ข้อกาหนดมาตรฐานในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาชีพ
ครู) กาหนดว่าผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมสาหรับครู เช่น กัลยาณมิตร
ธรรม 7และจรรยาบรรณวิชาชีพครูที่กาหนดโดยองค์กรวิชาชีพ คือ คุรุสภา ส่วนด้านความรู้กาหนดให้มีการบูรณา
การของความรู้ เกี่ย วกับ การศึกษาและวิช าชีพครู โดยในส่ ว นความรู้วิชาชีพครู (Pedagogical Knowledge)
กาหนดให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าหัวข้อต่อไปนี้
(1) หลักการศึกษา ปรัชญาการศึกษา วิชาชีพครู และความเป็นครู
(2) จิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการศึกษา
(3) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร
(4) การออกแบบและจัดการเรียนรู้
(5) การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
(6) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาหรับครู
(7) การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
(8) การวัดและประเมินผลการศึกษา
(9) การศึกษาพิเศษ
(10) การวิจัยทางการศึกษา
(11) การบริหารการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ใ นส่ ว นการบริ ห ารหลั ก สู ต รและการจั ด การเรี ย นการสอน ยั ง มี ข้ อ ก าหนดต่ อ ไปอี ก ว่ า
(1) สถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู ต้องกาหนดให้การผลิตครูเป็น “วาระแห่งสถาบัน” (Campus Agenda) มิใช่เป็น
ของคณะใดคณะหนึ่ง โดยมีคณะกรรมการคุรุศึกษา (Teacher Education Board) ระดับสถาบันทาหน้าที่
ประสานให้ทุกคณะ/สาขาวิชา ร่วมกันจัดการศึกษาเพื่อการผลิตครูที่มีคุณภาพ (2) สถาบันอุดมศึกษาต้องพัฒนา
อาจารย์ทั้งด้านวิชาการและวิธีการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตอย่างน้อยตามที่
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกาหนดอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประกาศหลักเกณฑ์การพัฒนา
อาจารย์อย่างชัดเจน (3) สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดสรรทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนและการวิจัยให้เพียง
พอที่จะจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งอาจประสานกับสถาบันอุดมศึกษาและ /หรือหน่วยงานอื่นเพื่อใช้
ทรัพยากรร่วมกันในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ (4) สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มีการ
ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ในทุกๆ ด้านตามที่กาหนดไว้ในรายละเอียด
ของหลักสูตรนั้นๆ
132

สาหรับการผลิตครูอาชีวศึกษา จากการศึกษาค้นคว้า พบว่ามีการจัดตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งแรกในปี


พ.ศ.2453 โดยได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูอาชีวศึกษาใน พ.ศ. 2504 และมีการปรับปรุงและขยายหลักสูตร
จาก 2 ปี เป็ น 3 ปี ต่ อ มาคณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ม ติ เ มื่ อ วั น ที่ 15 มกราคม 2517 อนุ มั ติ ใ นหลั ก การให้
กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้วิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมเปิดสอนหลักสูตรปริญญาได้
ต่อมาจึงได้มีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาครุศาสตรอุตสาหกรรม และวิศวกรรมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2518
หลังจากนั้นวิทยาลัยครูอาชีวศึกษาได้โอนสังกัดจากกรมอาชีวศึกษามาเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาซึ่งมี
ฐานะเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้รับพระราชทานนามใหม่
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 แต่จุด
เปลี่ยนแปลงที่ส าคัญคือการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิ ทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 จัดตั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลขึ้นแทนสถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา
ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทาการสอน ทาการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการใน
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทะนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้สาเร็จ
อาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก โดยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ส่วน
ใหญ่เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต (5 ปี) และมีการสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องเช่น คอมพิวเตอร์
ศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐเดิม ก็มีบางแห่งที่เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับการอาชีวศึกษา เช่น คณะครุศาสตร์
อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนื อ มหาวิ ทยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง เปิดสอนหลั กสู ต รครุศ าสตร
อุตสาหกรรมบัณฑิต (5 ปี) ส่วนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
ธุรกิจศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (5 ปี) สาขาวิชาธุรกิจ
และคอมพิวเตอร์ศึกษา และสาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา นอกจากนี้ยังมีความเคลื่อนไหวที่สาคัญ ในสานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เมื่อไม่นานมานี้ คือ มีการเปิดปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2556 เปิดสอนทั้งหมด 16 สาขาวิชาใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย รับนักศึกษาทั้งหมด
667 คน โดย สอศ. ได้ให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีความพร้อม 160 วิทยาลัยรวมกลุ่มเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19
สถาบันโดยใช้การรวมกลุ่มตามกลุ่มจังหวัดและมีการรวมกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเป็นสถาบันการอาชีว
เกษตรอีก 4 สถาบัน นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) รวม 9
สถาบันได้รับนโยบายจากรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ (นายกฤษณะพงศ์ กีรติกร) ให้ไปร่วมกันผลิตครูช่าง
133

สายอาชีวศึกษา โดยจะมีการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการสอนคณะครุศาสตรอุตสาหกรรมในรูปแบบการมี
ส่วนร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ที่เน้นปฏิบัติและมีกรอบของวิชาชี พครูตมข้อเสนอแนะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลเกี่ยวกับรูปแบบการผลิตและพัฒนาครูอาชีวศึกษาและครูฝึกในสถานประกอบการ (ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ,
ม.ป.ป.) นอกจากนี้ยังจะมีการเสนอให้สานักงานเลขาธิ การคุรุสภามีหลักสูตร 4+1 โดยให้ผู้ที่สาเร็จการศึกษา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคหกรรมศาสตร์ มาเรียนต่อยอดวิชาชีพครู 1 ปีหรือ 1
ภาคการศึ ก ษา โดยการปรั บ ปรุ ง หลั ก สู ต รดั ง กล่ า วคาดว่ า จะเริ่ ม ใช้ ใ นปี ก ารศึ ก ษา 2558 โดยในระยะแรก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4 แห่งที่มีการเปิดคณะครุศาสตรอุตสาหกรรมไปก่อน แต่หากคุรุสภาเห็นชอบ
หลักสูตร 4+1 จะจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครบทั้งเก้าแห่ง
เมื่ อ ศึ ก ษาเอกสารและท าการประชุ ม สนทนากลุ่ ม เพิ่ ม เติ ม เมื่ อ วั น ที่ 11 และ 24 กุ ม ภาพั น ธ์ 2557
มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ
โครงสร้างหลักสูตร พบว่าหลักสูตรของสถาบันผลิตครูแต่ละสถาบันมีโครงสร้างหลักสูตรจานวนหน่วย
กิตรวมและจานวนหน่ว ยกิต ในหมวดวิชาต่างๆ ไม่ต่ากว่าที่คุรุสภากาหนด เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบในแต่ล ะ
สถาบันพบว่า จานวนหน่วยกิตในหลักสูตรมีอยู่ระหว่าง 100-174 หน่วยกิต มีความแตกต่างกัน 10 หน่วยกิต เมื่อ
พิจารณาสาเหตุความแตกต่างพบว่า มีค วามแตกต่างมากที่สุดในหมวดวิชาเอก บางสถาบันมี 69 หน่วยกิต บาง
สถาบันมี 85 หน่วยกิต มีความแตกต่างกัน 17 หน่วยกิต นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างกันในหมวดวิชาชีพครู ซึ่ง
ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิชา คือ 1) วิชาพื้นฐานวิชาชีพครู 2) วิชาชีพครู และ 3) ประสบการณ์วิชาชีพ จะพบว่า กลุ่ม
วิชาประสบการณ์วิชาชีพจะมีจานวนหน่วยกิต ต่าสุดคือ 12 หน่วยกิต และมากที่สุดคือ 25 หน่วยกิต ผลการ
วิเคราะห์สะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างหลักสูตรของสถาบันการผลิตครูที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ยังมีความแตกต่างกันอยู่
มากในจานวนหน่วยกิตของหมวดวิชาพื้นฐาน หมวดวิชาชีพ และหมวดวิชาเอก แสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างของ
โครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวอาจจะไม่ส่งผลให้มีความแตกต่างในเรื่องของคุณภาพครูที่เป็น ผลผลิต ดังแสดงใน
ตารางที่ 4.1 (วิชุดา กิจธรธรรมและคณะ, 2554: 148-149)
134

ตารางที่ 4.1 การวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรผลิตครูประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา


โครงสร้างของหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยใน สถาบันพล สถาบัน
ศึกษา อาชีวศึกษา
กากับ

วิทยาเขตสมุทรสาคร
คุรุสภา

บ้านสมเด็จพระยา

ศรีนครินทรวิโรฒ

สงขลานครินทร์
เกษตรศาสตร์

มทร.ธัญญบุรี
พิบูลสงคราม
สุราษฎร์ธานี
จันทรเกษม

มจธ.ธนบุรี
ขอนแก่น
สวนดุสิต

บูรพา
จุฬาฯ
ธนบุรี
จานวนหน่วยกิต 160 171 169 168 171 163 160 170 168 178 169 170 173 160 16 174
5
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 30 30 30 30 32 30 30 33 30 31 31 30 30 31 36
2. หมวดวิชาครู 50 55 58 58 60 50 50 54 60 50 58 50 52 50 50 50
- พื้นฐานวิชาชีพครู 9 20
30 44 33 33 36 38 45 50 38 33 40 25 38
- วิชาชีพครู 36 16
1 ปี
- ประสบการณ์วิชาชีพครู 25 14 25 15 17 14 16 15 12 20 17 12 25 12 14
3. หมวดวิชาเอก 74 80 75 74 75 75 74 76 69 30 74 84 85 74 78 82
4. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 6 6 6 6 6 6 10 6 6 6 6 6 6 6 6

ที่มา: วิชุดา กิจธรธรรมและคณะ, 2554: 148-149

ในการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และทาวงล้ออนาคตเมื่อวันที่ 11 และ 24 กุมภาพันธ์ 2557


ทั้งสองครั้งนีม้ ีประเด็นทีน่ ่าสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร คือ
- โครงสร้างหลักสูตร ที่ประชุมได้อภิปรายถึงระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตร ในการประชุมทั้งสองครั้ง
มีข้อเสนอให้ทบทวนการใช้หลักสูตร 5 ปีโดยผู้เข้าประชุมหลายท่านเห็นว่าควรกลับไปใช้หลักสูตร 4
ปี นอกจากนี้ยังเห็นควรทบทวนการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร (4+1) โดยเฉพาะหลักสูตรที่
ผู้ ส าเร็ จ สาขาวิ ช าอื่ น สามารถมาศึ ก ษาได้ เ พราะทาให้ นิสิ ต นั กศึ ก ษาในหลั ก สู ตรห้ า ปีเ สี ย เปรี ย บ
นอกจากนี้ยังมีการตั้งประเด็นว่าผู้สาเร็จการศึกษาหลักสูตรห้าปีมีคุณภาพมากกว่าหลักสูตรสี่ปีจริง
หรือไม่ เพราะยังมีเสียงบ่นเรื่องคุณภาพ น่าจะพิจารณากลับไปเรียน 4 ปี แต่เมื่อศึกษาจบหลักสูตร
แล้วให้ไปสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อย่างไรก็ตาม สิ่งสาคัญ คือการผลิตครูควร
เน้นวิธีการฝึกประสบการณ์ชีพในความเป็นครู และเน้นการทาให้คนที่มาเรียนครูได้รับการปลูกฝังให้มี
ความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นครู
- เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าหลักสูตรครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์มีเกณฑ์มาตรฐาน
ก ากั บ มากไปทั้ ง เกณฑ์ ม าตรฐานตามประกาศข้ อ บั ง คั บ ของคุ รุ ส ภา กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี 5
ปีที่กาหนดโดยสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้สถาบันผลิตครูบางแห่งยังมีการ
กาหนดมาตรฐานเพิ่มเติมของตนเองอีกด้ว ย โดยมีผู้ให้ความเห็นว่า มาตรฐานความรู้ที่กาหนดใน
135

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพมีบางองค์ประกอบที่ไม่สามารถทาให้เกิดขึ้นจริงทั้งที่ใช้กรอบ
มาตรฐานดังกล่าวมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ความเป็นครู การประกันคุณภาพการศึกษา คุณธรรม
จริยธรรม และจรรยาบรรณ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ขาดองค์ประกอบที่เป็นสากล เ ช่ น ก า ร ใ ห้
ความสาคัญกับประเด็นเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ มเห็นว่ามาตรฐานหลักสูตร
ต้องเน้นการปลูกฝังความเป็นครู และความสามารถในการทางานกับผู้อื่น ส่วนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ที่กาหนดโดยสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ประชุมเห็นตรงกันว่ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ มี ข้ อ ก าหนดมากเกิ น ไป และไม่ ยื ด หยุ่ น ส่ ว นกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ
ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ควรกาหนดในหลักการกลางไม่ควรมีการกาหนดกรอบมาตรฐานในระดับ
สาขาวิชาหรือวิชาเอก ควรปล่อยให้สถาบันการผลิตแต่ละแห่งสามารถกาหนดมาตรฐานได้ตามสภาพ
และความต้องการจริง อย่างไรก็ตาม มคอ.1 จะต้องมีเหมือนกันหมดทุกประเทศเพราะจะทาให้การ
ผลิตครูมีมาตรฐานระดับหนึ่ง และเป็นตัวเทียบโอนอย่างหนึ่งในอาเซียน กล่าวโดยสรุป หลักสูตร
สาขาวิช าครุ ศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์มีกรอบมาตรฐานกากับมากเกินไปทั้งมาตรฐานจากส านักงาน
เลขาธิการคุรุสภาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) สาขาครุศาสตร์/
ศึกษาศาสตร์จากสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นการเพิ่ม
ภาระให้กับสถาบันการศึกษา ต้องใช้เวลาในการจัดทาเอกสารค่อนข้างมาก และมีบางมาตรฐานที่เป็น
องค์ประกอบสาคัญแต่ยังไม่สามารถดาเนินการให้บรรลุผลได้โดยเฉพาะการสร้างความเป็นครูและการ
พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
4.1.2 มาตรฐานการผลิต
ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มหาวิทยาลัย
แต่ละแห่งจัดสอบเอง มาเป็นระบบที่ใช้การสอบคัดเลื อกซึ่งจัดการสอบโดยทบวงมหาวิทยาลัยหรือสานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษาในปัจจุบัน แล้วมาเปลี่ยนอีกครั้งเป็นระบบกลาง (Admissions) ระบบคัดเลือกระบบ
นี้เป็นระบบใหม่ โดยเน้นไปที่การพิจารณาผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา และผลการสอบวัดความรู้ พื้นฐาน และ
วัดความรู้ขั้นสูง ปัจจุบันในเรื่องของกระบวนการคัดเลือกนักศึกษา สถาบันผลิตครูทุกสถาบันมีการกาหนดวิธีการ
รับเข้าศึกษา 3 วิธี คือ 1) การรับแบบโควตา 2) การรับสมัครผ่านมหาวิทยาลัยโดยตรง และ 3) การรับสมัครผ่าน
ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Central University Admissions System: CUAS)
หรือระบบแอดมิสชั่นกลาง (วิชุดา กิจธรธรรมและคณะ, 2554: 149)
การคัดเลือกจะดาเนินการเป็นระบบกลาง คือมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบ ทั้งการจัดการสอบ การจัดการ
คัดเลือก ในระยะเริ่มต้น สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะเป็นผู้รับผิดชอบ และสถาบันทดสอบทาง
การศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการทดสอบวัดความรู้พื้นฐาน ผู้ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อใน
สถาบันผลิตครูในระบบนี้จึงได้รับการพิจารณาจากผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ผลการทดสอบทางการศึกษา
136

แห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและ


วิชาการ (PAT) ซึ่งมีการสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพครูหรือ PAT5 นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับในระบบรับตรง
(Direct System) สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะใช้ระเบียบกติกาตามที่สถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นกาหนด ไม่ใช้
กฎเกณฑ์ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากาหนดขึ้น โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อต้องการบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะอย่างแท้จริง รวมถึงเปิดโอกาสกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษา
ต่อในสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นให้เข้าศึกษาต่อได้มากยิ่งขึ้น เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่สนใจศึกษาต่อในสถาบันนั้น
แต่โดยทั่วไปสถาบันผลิตครูที่เปิดรับตรงก็กาหนดให้มีการสอบในลักษณะเดียวกับระบบกลาง และมีการพิจารณา
ความถนัดทางวิชาชีพครูด้วย
ในด้านสถาบันผลิตครู ปัจจุบันมีสถาบันผลิตครู จานวน 79 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
และมหาวิ ท ยาลั ย เอกชน จ านวนนั ก ศึ ก ษาใหม่ แ ละประเภทของสถาบั น การผลิ ต ครู แสดงในตารางที่ 4. 2
(สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558)

ตารางที่ 4.2 จานวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-2556 จาแนก


ตามประเภทสถาบัน
ประเภทสถาบัน จานวน นักศึกษาใหม่ (ป.ตรี) ปีการศึกษา
สถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
มหาวิทยาลัยของรัฐ 18 4,623 5,726 6,856 6,690 6,112 5,031
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 7 1,588 2,037 1,725 1,827 1,975 1,877
มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ 1 2,064 3,670 4,366 5,471 6,028 4,742
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 13,779 21,453 34,263 40,896 32,965 39,217
สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 4 3,179 3,615 5,026 6,279 7,294 6,495
มหาวิทยาลัยเอกชน 9 100 100 100 309 305 969
รวมทั้งหมด 79 25,333 36,601 52,336 61,472 54,679 50,131
วันที่สารวจ: 15 พฤศจิกายน 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558
จากตารางที่ 4.2 แสดงว่าโดยรวมจากสถาบันผลิตครู 79 แห่ง มีจานวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี
เพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 จากจานวนนักศึกษาใหม่จะเห็นว่า สถาบันผลิตครูรับ
นักศึกษาใหม่เกินความต้องการทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่มีปีการศึกษา 2553 แนวโน้มจะผลิตบัณฑิตครูเป็น
ความต้องการมากกว่าหนึ่งเท่าตัว (ความต้องการครูประมาณปีละสองหมื่นคน) ซึ่งน่าจะตั้งข้อสังเกตว่าวิชาชีพครู
137

น่าจะเป็นวิชาชีพชั้นสูงวิชาชีพเดียวที่ไม่มีการควบคุมปริมาณการผลิตทาให้ผลิตบัณฑิตครูเกินเป็นจานวนมาก
ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตครูและผู้เข้าสู่วงวิชาชีพครูด้วย
เมื่อพิจารณาจานวนนักศึกษาใหม่จาแนกตามประเภทสถาบันกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบัน
การผลิตครูที่รับนักศึกษาจานวนมากที่สุดถึงจานวน 39,217 คนในปีการศึกษา 2556 รองลงมา คือ สถานศึกษา
นอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยไม่จากัดรับตามลาดับ แต่ก็มีจานวนรับ
นักศึกษาน้อยกว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏมาก กล่าวคือ ในปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยของรัฐรับนักศึกษา 5,031
คน มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ 4,742 คน สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 6,495 คน ที่น่าสนใจ คือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งรับผิดชอบการผลิตครูอาชีวศึกษาเป็นหลักมีจานวนการรับนักศึกษาน้อยมาก
เพียง 1,877 คน เมื่อพิจารณาการรับนักศึกษาใหม่โดยเทียบปีการศึกษา 2551 กับปีการศึกษา 2556 เป็นราย
ประเภทสถาบั น พบว่า มหาวิทยาลั ยเอกชนรับนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า จาก 100 คนเป็น 969 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏรับนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 13,779 คน เป็น 39,217 คน ในขณะที่มหาวิทยาลัยของ
รัฐรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 4,623 คนประมาณ 1,000 คนเป็น 5,031 คน มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ มีจานวนรับ
นักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าจาก 2,064 คนเป็น 4,742 คน สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
รับนักศึกษาใหม่เพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 3,179 คนเป็น 6,495 คน แต่น่าสังเกตว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ไม่ได้เพิ่มจานวนรับนักศึกษาใหม่มากนักโดยเพิ่มจาก 1,588 คน เป็น 1,877 คน
สาหรับข้อมูลจานวนการรับนักศึกษาใหม่ของสถาบันการศึกษาในแต่ละประเภทปรากฏดังตารางที่ 4.3
ตารางที่ 4.3 จ านวนนั ก ศึก ษาเข้ าใหม่ ระดับ ปริญ ญาตรี สาขาด้ านครุ ศาสตร์ /ศึ กษาศาสตร์ ปี การศึ กษา
2551-2556 จาแนกตามสถาบันในแต่ละประเภท
หน่วย : คน
ปีการศึกษา
ที่ ประเภทสถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
รวมทั้งหมด 25,333 36,601 52,336 61,472 54,679 50,131
มหาวิทยาลัยรัฐ 4,623 5,726 6,856 6,690 6,112 5,831
1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 414 593 759 434 498 409
2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 164 230 237 275 224 234
3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน 168 155 174 165 159 205
4 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 428 513 514 543 469 562
5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 318 299 443 366 300 235
6 มหาวิทยาลัยทักษิณ 694 646 752 585 595 458
7 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 313 341 261 266 210 351
8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ - - 62 69 68 63
9 มหาวิทยาลัยนครพนม - 126 482 979 784 495
138

ตารางที่ 4.3 (ต่อ)


ปีการศึกษา
ที่ ประเภทสถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
10 มหาวิทยาลัยนเรศวร 188 108 208 209 205 254
11 มหาวิทยาลัยบูรพา 693 677 985 485 442 341
12 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 272 262 251 265 343 379
13 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยราชสุดา - 107 - 55 - -
14 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 28 64 77 74 101 145
15 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 14 664 694 677 572 572
16 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 192 269 260 247 226 224
17 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 495 467 501 536 514 452
18 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 242 205 196 461 402 452
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 1,588 2,037 1,725 1,827 1,975 1,877
19 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ - 59 76 106 172 228
20 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 360 500 373 468 433 480
21 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 98 94 145 163 143 85
22 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 420 450 215 218 412 383
23 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (สงขลา) 21 32 134 168 158 140
24 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 144 175 186 183 144 138
25 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 545 727 596 521 513 423
มหาวิทยาลัยรัฐไม่จากัดรับ 2,064 3,670 4,366 5,471 6,028 4,742
26 มหาวิทยาลัยรามคาแหง 2,064 3,670 4,366 5,471 6,028 4,742
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 13.779 21,453 34,263 40,896 32,965 39,217
27 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 186 384 558 325 590 352
28 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 122 125 243 399 912 870
29 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร 311 427 742 1,460 944 715
30 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 531 647 720 671 803 506
31 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 93 151 296 439 692 522
32 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 567 712 1,156 810 847 918
33 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 1,214 1,517 1,985 1,669 930 872
34 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 203 441 847 1,167 385 488
35 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี - 156 298 544 730 955
36 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 523 675 1,553 2,413 1,936 1,601
37 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 859 1,749 1,638 1,672 2,699 1,810
38 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 533 813 945 559 441 543
39 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 356 721 1,213 937 908 812
139

ตารางที่ 4.3 (ต่อ)


ปีการศึกษา
ที่ ประเภทสถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
40 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 303 797 1,898 3,768 1,085 813
41 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 438 822 1,738 2,134 1,032 951
42 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 253 334 541 344 78 640
43 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 126 251 429 614 391 374
44 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 323 504 569 569 367 384
45 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 90 230 315 840 895 755
46 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 112 201 381 410 378 435
47 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 243 335 616 632 619 636
48 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 425 834 1,529 1,284 633 516
49 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 551 546 482 440 408 475
50 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 125 333 651 1,060 1,176 1,468
51 มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ - 271 683 1,085 714 795
52 มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี 232 347 894 874 860 408
53 มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง 242 411 694 862 583 576
54 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 671 1,170 1,476 1,526 914 740
55 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 81 174 387 723 613 584
56 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 169 440 1,099 1,300 1,218 1,110
57 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 453 423 920 1,241 639 706
58 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 355 495 474 401 289 313
59 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 153 244 257 403 658 523
60 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 225 217 214 378 442 521
61 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 556 540 827 894 520 677
62 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 391 774 1,424 2,061 2,025 1,753
63 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 141 229 386 1,296 1,656 908
64 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 425 452 1,019 1,108 1,002 991
65 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 415 686 596 805 481 553
66 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 379 614 981 488 312 481
สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 3,179 3,615 5,026 6,279 7,294 6,495
67 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 302 287 517 732 1,234 1,120
68 มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย 637 597 1,050 940 1,935 876
69 สถาบันพลศึกษา 1,908 2,341 3,052 4,111 3,548 3,804
70 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 332 390 407 496 577 695
140

ตารางที่ 4.3 (ต่อ)


ปีการศึกษา
ที่ ประเภทสถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
มหาวิทยาลัยเอกชน 100 100 100 309 305 969
71 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี - - - - - 400
72 มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น - - - 50 50 50
73 มหาวิทยาลัยปทุมธานี - - - - - 29
74 มหาวิทยาลัยราชธานี 100 100 100 100 100 100
75 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล - - - - - 92
76 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา - - - 151 143 128
77 มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนเทเรซา - - - - - 27
78 วิทยาลัยสันตพล - - - 8 10 140
79 สถาบันอาศรมศิลป์ - - - - 2 3
วันที่สารวจ: 15 พฤศจิกายน 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558
ในด้านสาขาวิชาที่ผลิตสามารถพิจารณาได้จากจานวนนักศึกษาใหม่สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่ง
จาแนกตามสาขาวิชาในปีการศึกษา 2551-2556 ดังแสดงในตารางที่ 4.4

ตารางที่ 4.4 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จาแนกตามสาขาวิชา


ปีการศึกษา 2551-2556
หน่วย : คน
ปีการศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาขาวิชา จานวน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
สถาบัน
ผลรวมทั้งหมด 693 25,333 36,601 52,336 61,472 54,679 50,131
ภาษาไทย ภาษาไทย 50 1,812 3,025 4,281 5,507 5,508 5,033
คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ 50 2,137 3,524 5,148 5,980 4,909 4,213
วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ 22 209 449 823 867 744 713
เคมี 21 274 438 674 803 677 761
ชีววิทยา 21 383 668 1,088 932 820 812
วิทยาศาสตร์ 52 1,515 2,586 4,316 5,294 4,273 3,371
สุขศึกษาและพลศึกษา พลศึกษา 39 3,123 4,226 5,859 7,131 6,439 6,685
มวยไทยศึกษา 1 - - - 26 21 28
สุขศึกษา 8 322 373 464 473 499 387
141

ตารางที่ 4.4 (ต่อ)


ปีการศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาขาวิชา จานวน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
สถาบัน
สังคมศึกษา ศาสนา การสอนพระพุทธศาสนา 2 73 73 106 106 160 92
และวัฒนธรรม สังคมศึกษา 46 1,962 2,917 5,242 6,969 5,210 4,751
อิสลามศึกษา 3 - - 12 151 143 171
ธุรกิจ บริหารธุรกิจ 1 22 26 27 26 27 -
ธุรกิจศึกษา 7 98 167 146 131 100 115
ศิลปะ คีตศิลป์ศึกษา 1 - 3 2 3 3 -
ดนตรีศึกษา 25 361 461 703 977 1,293 1,275
ดุริยางค์ศึกษา 3 18 38 46 91 148 75
ทัศนศิลป์ศึกษา 2 16 57 67 76 66 42
นาฏศิลป์ศึกษา 14 347 511 607 794 950 1,060
ศิลปกรรมศึกษา 6 99 162 282 400 - -
ศิลปศึกษา 16 362 468 693 901 889 798
การออกแบบ 1 105 76 74 170 135 165
สถาปัตยกรรม 1 45 45 42 54 62 80
ภาษาต่างประเทศ ภาษาต่างประเทศ 55 3,120 4,504 6,088 6,808 6,197 5,572
การงานอาชีพและ การงานอาชีพ 1 - - - - 33 33
เทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ 8 112 113 193 327 412 353
คหกรรมศาสตร์ 9 72 150 233 290 348 484
คอมพิวเตอร์ 38 1,120 1,877 3,056 3,552 3,184 3,091
เทคโนโลยีการศึกษา 19 256 350 486 420 282 310
เทคโนโลยีอุตสาหการ 1 - 71 67 64 - -
วิศวกรรม 1 50 41 39 161 119 122
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 5 216 241 199 156 186 140
การงานอาชีพและ วิศวกรรมเครื่องกล 8 396 412 209 209 301 289
เทคโนโลยี (ต่อ) วิศวกรรมไฟฟ้า 7 290 316 218 221 281 328
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ 2 - - 28 61 67 70
วิศวกรรมโยธา 6 207 223 223 272 239 277
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 7 108 160 325 404 391 336
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ 1 110 193 15 10 - 7
โทรคมนาคม
วิศวกรรมอุตสาหการ 9 389 443 438 377 458 398
อุตสากรรมศึกษา 7 74 5 93 249 281 223
142

ตารางที่ 4.4 (ต่อ)


ปีการศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาขาวิชา จานวน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
สถาบัน
บรรณารักษ์ศึกษา 2 - - - 79 79 140
การศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัย 58 3,960 4,988 6,625 6,812 5,788 5,324
การศึกษาพิเศษ การศึกษาพิเศษ 13 140 245 519 585 330 140
การประถมศึกษา การประถมศึกษา 22 740 1,036 1,396 1,709 2,033 1,499
อื่นๆ การศึกษา 1 225 217 214 300 - -
การศึกษานอกระบบ 2 77 89 89 - - 13
การบริหารการศึกษา 2 54 55 103 48 37 36
การวัดและประเมินผล 3 54 55 103 48 37 36
การศึกษา
จิตวิทยาและการแนะแนว 11 105 269 275 251 279 92
มัธยมศึกษา 1 185 155 236 32 48 58
อาชีวศึกษา 1 - - - - - 18
นักศึกษาใหม่ยังไม่ระบุ 1 - 155 236 213 230 151
สาขาวิชา
วันที่สารวจ: 15 พฤศจิกายน 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558

ตารางที่ 4.4 แสดงแนวโน้มของการผลิตครูในแต่ละสาขาวิชาพบว่า มี 9 สาขาวิชาที่สถาบันผลิตครู


โดยเฉลี่ยมากกว่าปีละหนึ่งพันคน โดยเรื่องลาดับจากมากไปหาน้อยทั้ง 3 สาขาวิชาเป็นดังนี้
อันดับที่ 1 สถาบันผลิตครูการศึกษาปฐมวัยโดยเฉลี่ยปีละ 5,583 คน
อันดับที่ 2 สถาบันผลิตครูพลศึกษาโดยเฉลี่ยปีละ 5,577 คน
อันดับที่ 3 สถาบันผลิตครูภาษาต่างประเทศโดยเฉลี่ยปีละ 5,381 คน
อันดับที่ 4 สถาบันผลิตครูสังคมศึกษาโดยเฉลี่ยปีละ 4,508 คน
อันดับที่ 5 สถาบันผลิตครูคณิตศาสตร์โดยเฉลี่ยปีละ 4,318 คน
อันดับที่ 6 สถาบันผลิตครูภาษาไทยโดยเฉลี่ยปีละ 4,194 คน
อันดับที่ 7 สถาบันผลิตครูวิทยาศาสตร์โดยเฉลี่ยปีละ 3,576 คน
อันดับที่ 8 สถาบันผลิตครูคอมพิวเตอร์โดยเฉลี่ยปีละ 2,647 คน
อันดับที่ 9 สถาบันผลิตครูประถมศึกษาโดยเฉลี่ยปีละ 1,402 คน
เมื่อจาแนกแต่ละสถาบันจะมีจานวนนักศึกษาปริญญาตรีในแต่ละสถาบันดังแสดงในตารางที่ 4.5
143

ตารางที่ 4.5 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จาแนกตามสาขาวิชา


ปีการศึกษา 2551-2555 (ไม่รวมสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)
หน่วย : คน
ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
มหาวิทยาลัยรัฐ 5,710 6,314 7,209 8,211 8,777
1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 159 250 237 271 287
การสอนคณิตศาสตร์ 23 37 24 30 30
การสอนวิทยาศาสตร์ 29 26 43 54 54
คหกรรมศาสตร์ศึกษา 12 24 22 25 25
ธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา - 36 31 28 28
พลศึกษา 70 96 89 104 120
สุขศึกษา 25 31 28 30 30
2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน 154 138 151 156 158
เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา 31 18 24 29 -
คณิตศาสตร์ศึกษา - - - - 33
คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา 36 30 29 28 -
พลศึกษาและสุขศึกษา 50 60 66 71 84
ภาษาอังกฤษ 37 30 32 28 41
3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 433 514 448 548 502
คณิตศาสตร์ศึกษา 79 87 112 128 136
การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ 18 33 46 40 34
การสอนภาษาญี่ปุ่น 25 31 30 49 24
การสอนภาษาไทย 56 58 6 42 47
การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ - 44 51 38 39
คอมพิวเตอร์ศึกษา 38 48 48 46 39
ชีววิทยา 18 16 21 21 13
เคมี 17 16 15 15 13
ฟิสิกส์ 16 16 16 13 13
พลศึกษา 60 61 19 57 59
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 14 14 15 16 14
ศิลปศึกษา 49 43 37 41 37
สังคมศึกษา 43 47 32 42 34
4 มหาวิทยาลัยนครพนม - 67 463 1,810 2,415
การศึกษาปฐมวัย - 24 163 662 706
คอมพิวเตอร์ศึกษา - - 83 265 408
ภาษาอังกฤษ - - 102 308 413
144

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
วิทยาศาสตร์ - 43 115 366 534
สังคมศึกษา - - - 209 354
5 มหาวิทยาลัยนเรศวร 51 42 51 204 198
คณิตศาสตร์ - - - 49 45
เคมี - - - 39 41
ชีววิทยา - - - 43 38
คอมพิวเตอร์ศึกษา 51 - - - -
เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา - 42 51 38 37
ฟิสิกส์ - - - 35 37
6 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 272 335 251 265 343
การศึกษาปฐมวัย 37 36 33 30 30
การศึกษาพิเศษ 25 - 11 25 0
คณิตศาสตร์ 45 45 47 42 46
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา - 73 - - 44
ภาษาไทย 46 46 47 40 93
ภาษาอังกฤษ 36 38 29 34 41
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 43 49 41 43 43
สังคมศึกษา 40 48 43 48 46
7 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 577 700 728 704 603
การประถมศึกษา 45 61 61 59 59
สุขศึกษาและพลศึกษา - 14 44 25 39
คณิตศาสตร์ 32 29 36 33 39
จิตวิทยาการแนะแนว 58 104 66 65 51
เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา 36 45 48 46 32
พลศึกษา 55 79 94 109 78
ดนตรีไทย 17 18 32 32 14
ดนตรีสากล 9 11 17 18 15
ทัศนศิลปศึกษา 23 26 21 32 24
ศิลปะการแสดงศึกษา 17 14 21 15 20
พลศึกษาและสุขศึกษา 20 - - - -
ภาษาไทย 22 39 42 37 27
ภาษาอังกฤษ 20 27 24 25 20
วิทยาศาสตร์ – เคมี 37 34 43 39 28
วิทยาศาสตร์ – ชีววิทยา 37 37 31 27 20
145

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
วิทยาศาสตร์ – ฟิสิกส์ 20 36 39 35 34
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 37 50 49 49 31
สังคมศึกษา 46 38 30 29 36
สุขศึกษา 46 38 30 29 36
8 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 192 269 260 247 226
การประถมศึกษา 43 44 41 39 25
การศึกษาปฐมวัย 32 40 42 33 28
การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ - 63 72 74 74
ภาษาไทย 29 32 32 31 29
ภาษาอังกฤษ 31 51 35 34 31
สังคมศึกษา 37 39 38 36 39
9 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 592 525 555 549 584
การประถมศึกษา 67 49 45 50 59
คณิตศาสตร์ 51 41 42 55 58
ครุศาสตรอิสลาม 63 58 54 60 70
เคมี 49 42 49 41 41
ชีววิทยา 48 43 42 38 38
เทคโนโลยีการวัดและประเมินผลการศึกษา 35 36 38 41 31
พลศึกษา 27 40 42 43 37
ฟิสิกส์ 45 42 38 39 35
ภาษาไทย 45 39 36 37 38
ภาษาอังกฤษ 47 35 37 4 46
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 45 38 43 38 39
ศิลปศึกษา 19 20 48 51 55
สุขศึกษา 51 42 41 52 37
10 มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 494 465 500 524 514
การประถมศึกษา 67 49 45 48 60
คณิตศาสตร์ 51 41 42 55 57
เคมี 49 43 49 41 41
ชีววิทยา 48 42 42 35 38
เทคโนโลยีสารสนเทศและประเมินผลการศึกษา - 36 38 43 31
พลศึกษา 27 39 42 39 36
ฟิสิกส์ 45 42 38 39 35
ภาษาไทย 45 39 36 37 38
146

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ภาษาอังกฤษ 47 35 37 48 46
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 46 38 42 38 39
ศิลปศึกษา 18 20 48 51 55
สุขศึกษา 51 41 41 50 38
11 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 414 438 522 434 498
การศึกษาปฐมวัย 27 26 29 20 30
การศึกษานอกระบบ 40 35 36 - -
ดนตรีศึกษา 27 28 29 31 35
เทคโนโลยีการศึกษา - 27 29 - -
ธุรกิจศึกษา 27 29 30 22 30
จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว - 26 29 - -
ประถมศึกษา 43 43 45 38 44
มัธยมศึกษา 185 155 236 32 48
ศิลปศึกษา 39 34 28 27 37
สุขศึกษาและพลศึกษา 26 35 31 51 44
ไม่ระบุ (กรณี นศ.เข้าใหม่ ยังไม่ได้เลือกสาขาวิชา) - - - 213 230
12 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 318 299 443 366 300
การประถมศึกษา 18 16 27 24 29
การศึกษาปฐมวัย 14 25 31 25 28
เกษตรกรรม 18 6 25 26 23
คณิตศาสตร์ 27 14 28 32 -
คหกรรมศาสตร์ 23 23 30 22 -
บริหารธุรกิจ 22 26 27 26 27
พลศึกษา 32 33 45 25 21
ภาษาไทย 15 25 32 24 29
ภาษาอังกฤษ 30 20 26 24 28
ภาษาฝรั่งเศส 20 16 29 19 -
วิทยาศาสตร์ 21 17 25 29 26
สังคมศึกษา 17 23 36 26 32
สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ 18 20 26 24 -
ศิลปศึกษา 20 30 31 19 25
อุตสาหกรรมศึกษา 23 5 25 21 32
13 มหาวิทยาลัยทักษิณ 780 702 752 549 595
การวัดและประเมินผลการศึกษา 84 45 65 48 37
147

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
การศึกษาปฐมวัย 49 51 63 44 41
การสอนชีววิทยา 51 - - - -
คณิตศาสตร์ 86 49 60 47 48
เคมี - 56 - - -
จิตวิทยาการแนะแนว 48 48 62 44 33
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 68 72 76 60 66
พลศึกษา 63 49 57 69 71
ภาษาไทย 53 60 68 48 54
ภาษาอังกฤษ 60 42 45 46 47
วิทยาศาสตร์ – เคมี 46 68 55 37 42
วิทยาศาสตร์ – ฟิสิกส์ 72 56 63 49 51
วิทยาศาสตร์ – ชีววิทยา 52 50 60 - 45
สังคมศึกษา 48 56 78 57 60
14 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 313 341 261 266 210
วิศวกรรมเครื่องกล 70 91 59 51 38
วิศวกรรมไฟฟ้า 103 121 106 96 91
วิศวกรรมโยธา 63 65 50 78 43
วิศวกรรมอุตสาหกรรม 77 64 46 41 38
15 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ - - 62 69 68
วิศวกรรมโยธาและการศึกษา - - 62 69 68
16 มหาลัยบูรพา 719 960 1,252 714 766
การศึกษาปฐมวัย 122 47 79 28 45
การสอนคณิตศาสตร์ 51 43 63 17 45
การสอนเคมี 40 37 47 21 1
การสอนชีววิทยา 33 36 52 18 2
การสอนนาฏสังคีต 7 21 30 47 47
การสอนฟิสิกส์ 25 38 50 18 3
การสอนภาษาจีน 81 81 74 68 79
การสอนภาษาญี่ปุ่น 57 58 80 41 -
การสอนภาษาไทย 59 57 98 39 44
การสอนภาษาอังกฤษ 37 56 97 36 52
การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป 30 27 59 16 -
การสอนศิลปะ 28 44 65 48 40
การสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 44 50 92 33 45
148

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
การสอนสุขศึกษาและพลศึกษา 79 82 109 69 91
เทคโนโลยีการศึกษา 2 20 71 0 -
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา - - - 16 21
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา(เทคโนโลยีการผลิต) - - - 16 21
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา(ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) - - - 18 26
17 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง - 64 77 74 101
การสอนภาษาจีน 64 77 74 101
18 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 242 205 196 461 409
ครุศาสตร์การออกแบบ 50 37 36 84 76
ครุศาสตร์เกษตร 42 43 41 76 86
ครุศาสตร์วิศวกรรม 50 41 39 161 119
ครุศาสตร์สภาพแวดล้อมภายใน 55 39 38 86 66
สถาปัตยกรรม 45 45 42 54 62
มหาวิทยาลัยรัฐไม่จากัดรับ 2,074 3,670 4,366 5,471 6,026
1 มหาวิทยาลัยรามคาแหง 2,074 3,670 4,366 5,471 6,026
การปฐมวัยศึกษา 296 486 492 647 698
การประถมศึกษา 290 519 564 716 751
คณิตศาสตร์ 209 408 582 721 666
คหกรรมศาสตร์ 37 49 78 98 95
เคมี 11 - - - -
ชีววิทยา 48 - - - -
ธุรกิจศึกษา 35 46 22 38 34
พลศึกษา 99 138 161 189 196
พลศึกษา (วิชาโท อื่นๆ) 32 41 39 47 45
ฟิสิกส์ 10 - - - -
ภาษาจีน 60 54 71 96 106
ภาษาไทย 244 454 569 702 877
ภาษาฝรั่งเศส 6 7 5 10 8
ภาษาอังกฤษ 332 618 701 873 940
วิทยาศาสตร์ 58 231 249 294 435
ศิลปศึกษา 84 134 153 195 168
สังคมศึกษา 223 485 680 845 939
สุขศึกษา - - - - 68
149

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
มหาวิทยาลัยราชภัฎ 14,482 22,468 34,796 44,587 33,759
1 มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี 145 337 484 325 590
การศึกษาปฐมวัย 30 51 55 44 52
คณิตศาสตร์ 15 57 67 43 93
เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา - - - - 60
เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา 26 37 42 35 -
พลศึกษา 23 38 39 27 65
ภาษาไทย - - 54 31 75
ภาษาอังกฤษ 26 56 111 39 60
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - 38 56 45 82
สังคมศึกษา 25 60 60 61 103
2 มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ 122 115 243 399 900
การศึกษาปฐมวัย 112 95 123 236 138
คณิตศาสตร์ - - - - 162
คอมพิวเตอร์ศึกษา 10 20 120 163 150
ภาษาไทย - - - - 179
ภาษาอังกฤษ - - - - 135
วิทยาศาสตร์ทั่วไป * - - - 136
3 มหาวิทยาลัยราชภัฎกาแพงเพชร 311 427 742 1,460 948
การประถมศึกษา - - - - 96
การศึกษาปฐมวัย 32 37 66 140 83
คณิตศาสตร์ 34 71 87 178 96
คอมพิวเตอร์ศึกษา 84 82 116 113 81
ดนตรีศึกษา 21 22 37 76 67
พลศึกษา 29 29 51 139 89
ภาษาจีน 14 11 19 41 49
ภาษาไทย - - - 113 102
ภาษาอังกฤษ 49 68 118 236 105
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 22 57 89 149 84
สังคมศึกษา 26 50 159 275 96
4 มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม 828 597 684 628 879
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การประถมศึกษา 162 108 - - -
ภาษาจีน 30 17 32 - 62
ภาษาไทย 98 81 72 - -
150

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ภาษาอังกฤษ 135 64 114 - -
วิทยาศาสตร์ 104 77 74 - -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - 144 96
การศึกษาปฐมวัย 82 67 108 208 266
คณิตศาสตร์ 95 74 75 58 103
เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา - - - - 188
พลศึกษา 120 109 120 218 164
สังคมศึกษา - - 89 - -
5 มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ 82 169 364 551 917
การศึกษาปฐมวัย 38 50 81 180 190
คณิตศาสตร์ 4 28 57 120 222
คอมพิวเตอร์ศึกษา 17 38 95 - 122
ภาษาอังกฤษ 19 29 68 111 195
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 4 24 63 140 188
6 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 567 711 1,159 820 888
การศึกษาปฐมวัย 161 99 84 76 76
การศึกษาพิเศษ - 13 27 10 15
การสอนภาษาจีน 14 - - 57 70
คณิตศาสตร์ 72 123 172 84 71
คหกรรมศาสตร์ - - 27 38 63
เคมี - - 38 21 37
ชีววิทยา - - 161 81 59
ดนตรีศึกษา - 10 29 25 52
พลศึกษา 44 24 77 65 77
ฟิสิกส์ - - 32 11 35
ภาษาไทย 38 108 145 81 88
ภาษาอังกฤษ 91 136 129 91 85
วิทยาศาสตร์ 39 70 86 87 81
สังคมศึกษา 108 128 152 93 79
7 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 1,524 1,954 2,480 1,824 989
การประถมศึกษา 337 276 420 103 83
การศึกษานอกระบบ 37 54 53 - -
การศึกษาปฐมวัย 129 282 218 104 55
การศึกษาพิเศษ 53 - 53 109 -
151

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
เกษตรศาสตร์ 17 40 58 74 58
คณิตศาสตร์ 88 105 105 106 45
คอมพิวเตอร์ศึกษา 61 101 213 160 -
เคมี 29 37 48 55 40
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว 53 54 115 64 -
ชีววิทยา 49 94 101 64 44
ดนตรีศึกษา 49 51 61 63 56
เทคโนโลยีการศึกษา - - 61 - -
นาฏศิลป์ 21 28 51 82 54
พลศึกษา 99 111 122 113 86
ฟิสิกส์ 15 33 107 51 44
ภาษาจีน 47 59 57 52 48
ภาษาไทย 145 270 211 110 55
ภาษาอังกฤษ 84 155 190 195 109
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - 96 53
ศิลปศึกษา 48 48 57 57 52
สังคมศึกษา 112 118 111 109 58
อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 51 38 68 57 49
8 มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี 203 441 847 1,167 385
การศึกษาปฐมวัย 27 70 141 179 47
คณิตศาสตร์ 24 56 118 133 45
คอมพิวเตอร์ศึกษา 49 94 91 173 42
ดนตรีศึกษา 14 18 35 37 46
พลศึกษา 17 27 49 94 41
ภาษาไทย 19 37 62 95 42
ภาษาอังกฤษ 19 46 89 124 39
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 24 49 102 140 40
สังคมศึกษา 10 44 160 192 43
9 มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี 80 180 328 645 808
การศึกษาปฐมวัย - 6 36 48 95
คณิตศาสตร์ 12 24 74 106 127
คอมพิวเตอร์ศึกษา 22 48 52 140 195
ภาษาไทย - 28 61 116 160
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 7 20 37 101 114
152

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
สังคมศึกษา 39 54 68 134 117
10 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม 523 676 1,553 2,413 1,936
การประถมศึกษา - - - 63 56
การศึกษาปฐมวัย 93 121 202 265 217
คณิตศาสตร์ 48 64 160 284 216
คอมพิวเตอร์ศึกษา - - - - 187
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 62 63 214 214 -
พลศึกษา - - - 214 230
พลศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ 72 128 212 - -
ดนตรีศึกษา - - - - 94
ภาษาไทย 51 55 168 294 213
ภาษาอังกฤษ 51 59 157 215 215
วิทยาศาสตร์ 30 58 157 277 -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - - 207
สังคมศึกษา 60 61 212 459 288
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 56 66 67 128 73
11 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 859 1,749 1,638 1,653 2,698
การศึกษาปฐมวัย 145 215 149 108 160
การศึกษาพิเศษ 12 26 69 65 -
การศึกษาพิเศษ – ภาษาไทย - - - - 102
คณิตศาสตร์ 114 262 124 146 259
คอมพิวเตอร์ศึกษา 52 108 76 94 171
เคมี 24 49 71 90 106
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว - - - - 54
ชีววิทยา - 94 71 85 94
ดนตรี - - - - 97
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 18 40 109 79 -
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา– คอมพิวเตอร์ - - - - 95
นาฏศิลป์ไทย - - - - 117
พลศึกษา 74 132 131 117 142
พุทธศาสนศึกษา - - - - 90
ฟิสิกส์ 8 72 114 104 120
ภาษาไทย 50 111 139 131 235
ภาษาอังกฤษ 144 281 108 180 268
153

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 88 112 118 110 160
ศิลปกรรม (ดนตรี) 26 40 60 66 -
ศิลปกรรม (นาฏศิลป์) 15 25 76 93 -
ศิลปศึกษา 18 39 90 74 122
สังคมศึกษา 71 143 133 111 238
อุตสาหกรรมศึกษา - - - - 68
12 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช 533 813 948 559 441
การศึกษาปฐมวัย - 125 124 84 -
คณิตศาสตร์ 62 109 165 91 87
คอมพิวเตอร์ศึกษา - - - 82 91
จิตวิทยาและการแนะแนว - 47 - - -
พลศึกษา - 102 107 47 76
ฟิสิกส์ - - - - 30
ภาษาไทย 126 121 127 33 -
ภาษาอังกฤษ 120 98 108 30 -
วิทยาศาสตร์ 81 74 118 87 -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - - 65
สังคมศึกษา 144 137 199 105 92
13 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 356 733 1,213 940 897
การศึกษาปฐมวัย 50 83 171 100 94
คณิตศาสตร์ 24 83 130 88 98
คอมพิวเตอร์ศึกษา 34 46 95 97 93
ดนตรีศึกษา - - - 44 41
นาฏศิลป์ - 17 28 76 62
พลศึกษา 73 109 129 107 112
ภาษาไทย 37 83 96 86 99
ภาษาอังกฤษ 54 114 185 145 100
วิทยาศาสตร์ 33 95 185 - -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - 95 94
สังคมศึกษา 50 103 194 102 104
14 มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 320 812 1,927 4,893 1,132
การศึกษาปฐมวัย 50 104 230 517 91
คณิตศาสตร์ 38 110 250 587 106
คอมพิวเตอร์ศึกษา - 64 182 395 109
154

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ดนตรีศึกษา - - - - 119
เทคโนโลยีการศึกษา 17 15 29 27 47
นาฏยศิลป์ศึกษา - - - - 78
พลศึกษา - - - - 57
ภาษาไทย 46 81 206 680 107
ภาษาอังกฤษ 55 132 312 798 151

ศิลปกรรมศึกษา 34 71 115 326 -


วิทยาศาสตร์ทั่วไป 27 106 267 677 143
สังคมศึกษา 53 129 336 886 124
15 มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 438 845 1,738 2,134 1,032
การศึกษาปฐมวัย 81 133 174 179 96
คณิตศาสตร์ 62 117 206 288 85
ดนตรีศึกษา 28 472 57 110 88
เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ศึกษา - - - 171 104
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 26 49 96 - -
นาฏศิลป์ - - 74 63 75
พลศึกษา 45 68 159 153 100
ฟิสิกส์ 8 26 82 112 68
ภาษาไทย 46 111 187 153 82
ภาษาอังกฤษ 97 197 219 306 64
วิทยาศาสตร์ 45 102 224 236 87
ศิลปศึกษา - - 52 54 79
สังคมศึกษา - - 208 309 104
16 มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 253 346 529 344 78
การศึกษาปฐมวัย 38 81 78 38 -
การวิจัยและประเมินการศึกษา 5 10 38 - -
คณิตศาสตร์ 36 59 110 58 -
เทคโนโลยีการศึกษา 34 31 - - -
ชีววิทยา - 27 - 35 -
ฟิสิกส์ - - - 39 35
ภาษาไทย 41 48 33 47 -
ภาษาอังกฤษ 30 49 116 52 -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - 29 82 36 43
155

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
สังคมศึกษา 69 - 72 39 -
อิสลามศึกษา - 12 - - -
17 มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา 157 340 491 684 391
การประถมศึกษา - - - - 43
การศึกษาปฐมวัย 32 82 88 171 46
การศึกษาพิเศษ - - 16 33 -
การสอนภาษาไทย - - - - 44
การสอนภาษาอังกฤษ - - - - 40
คณิตศาสตร์ 28 38 79 92 47
คอมพิวเตอร์ศึกษา 49 71 79 96 43
พลศึกษา 12 39 42 54 46
วิทยาศาสตร์ 13 35 50 75 38
สังคมศึกษา 23 75 137 163 44
18 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 354 543 599 615 369
การศึกษาปฐมวัย 85 200 133 215 49
การศึกษาพิเศษ - 31 58 50 -
คณิตศาสตร์ 30 56 62 53 50
ดนตรีศึกษา - 17 31 31 30
พลศึกษา 42 - 51 50 47
ภาษาไทย 54 70 - 54 51
ภาษาอังกฤษ 47 66 112 56 50
วิทยาศาสตร์ - - - - 43
สังคมศึกษา 50 - 56 57 49
19 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี 147 399 769 1,174 1,175
การศึกษาปฐมวัย 40 71 90 171 142
คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ศึกษา 31 46 110 142 124
เคมี 3 7 22 28 39
ชีววิทยา 11 35 72 63 61
นาฏยดุริยางคศาสตร์ - - - 65 75
พลศึกษา - 53 81 121 133
ภาษาไทย - 43 111 181 167
ภาษาอังกฤษ - 53 95 176 140
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 12 17 41 51 41
ศิลปกรรมดนตรี 13 13 23 - -
156

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ศิลปศึกษา - - - - 66
สังคมศึกษา 37 61 124 176 187
20 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ 113 201 341 414 377
การศึกษา 113 201 341 414 -
การศึกษาปฐมวัย - - - - 65
คณิตศาสตร์ - - - - 61
พลศึกษา - - - - 34
ภาษาไทย - - - - 34
ภาษาอังกฤษ - - - - 99
การงานอาชีพและเทคโนโลยี - - - - 33
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - - 51
21 มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต 353 439 814 784 731
การศึกษาปฐมวัย 38 56 95 70 157
คณิตศาสตร์ 94
คอมพิวเตอร์ศึกษา 83 96 197 135 57
ดนตรีศึกษา 54 47 69 104 43
ธุรกิจศึกษา 51 93 99 45 -
พลศึกษา 42 83 107 109 118
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 43 64 99 115 103
สังคมศึกษา 42 - 102 123 98
ภาษาไทย - - 46 83 61
22 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 502 894 1,806 1,500 771
การศึกษาปฐมวัย 64 100 196 181 78
การศึกษาพิเศษ 15 25 91 71 46
คณิตศาสตร์ 64 108 157 136 61
คอมพิวเตอร์ศึกษา 71 137 271 220 100
เคมี 17 29 88 77 47
ชีววิทยา 37 83 165 125 43
ดนตรีศึกษา 9 30 78 71 56
พลศึกษาและการจัดการกีฬา 43 54 132 135 50
ฟิสิกส์ - 30 121 75 88
ภาษาไทย 39 92 168 146 53
157

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ภาษาอังกฤษ 68 99 165 135 53
วิทยาศาสตร์ 75 107 174 128 96
23 มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา 387 442 421 361 404
การศึกษาปฐมวัย 112 100 108 85 138
คณิตศาสตร์ 62 74 85 83 41
คอมพิวเตอร์ศึกษา - - - - 40
ภาษาไทย 54 41 48 46 42
ภาษาอังกฤษ 79 89 90 76 65
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 40 86 45 36 41
สังคมศึกษา 40 52 45 35 37
24 มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด 125 334 651 1,063 1,175
การศึกษาปฐมวัย 18 40 88 135 140
คณิตศาสตร์ 20 57 88 135 124
คอมพิวเตอร์ศึกษา 37 79 81 99 156
ดนตรีศึกษา 10 7 23 35 50
ภาษาไทย 4 42 85 132 150
ภาษาอังกฤษ 25 63 83 139 140
วิทยาศาสตร์ 11 46 78 133 139
สังคมศึกษา - - 81 146 128
พลศึกษา - - 44 109 148
25 มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ 460 894 1,470 1,782 1,012
การศึกษาปฐมวัย 250 444 394 384 143
การสอนภาษาจีน - - - - 45
การสอนภาษาไทย - - - - 127
การสอนภาษาอังกฤษ - - - - 117
การสอนวิทยาศาสตร์ - - - - 88
การสอนสังคมศึกษา - - - - 134
คณิตศาสตร์ 15 76 198 244 126
คอมพิวเตอร์ศึกษา 81 40 90 286 125
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา - - - - 56
จิตวิทยาและการแนะแนว - - - - 51
ภาษาจีน 5 12 21 26 -
ภาษาไทย 24 135 197 221 -
158

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ภาษาอังกฤษ 38 79 204 225 -
วิชาทั่วไปด้านคณิตศาสตร์ - - - - -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 19 42 176 149 -
สังคมศึกษา 28 66 190 247 -
26 มหาวิทยาลัยราชภัฎราไพพรรณี 232 347 894 914 920
การศึกษาปฐมวัย 89 106 88 83 49
การศึกษาพิเศษ 32 - 103 72 72
คณิตศาสตร์ 41 93 97 105 98
คอมพิวเตอร์ศึกษา - - - 85 51
พลศึกษา 38 48 84 81 93
ภาษาไทย - - 104 95 95
ภาษาอังกฤษ - - 90 83 89
วิทย์ (เคมี) - - 33 35 47
วิทย์ (ชีววิทยา) - - 82 74 77
วิทย์ (ฟิสิกส์) - - 23 31 33
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 32 - 106 72 72
สังคมศึกษา - 100 84 98 144
27 มหาวิทยาลัยราชภัฎลาปาง 242 411 797 777 583
การศึกษาปฐมวัย 65 74 144 93 82
คณิตศาสตร์ 25 52 172 89 75
คอมพิวเตอร์ - - - 43 38
เคมี - - - - 30
ชีววิทยา - - - - 36
ฟิสิกส์ - - - - 26
ภาษาไทย 35 83 98 90 85
ภาษาอังกฤษ 40 84 93 90 85
วิทยาศาสตร์ศึกษา 40 68 183 289 -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - - 41
สังคมศึกษา 37 50 107 83 85
28 มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 539 1,036 1,139 1,477 868
การปฐมวัยศึกษา 72 97 94 99 47
คณิตศาสตร์ศึกษา 63 136 131 180 90
คอมพิวเตอร์ศึกษา 105 143 120 187 93
พลศึกษา 36 73 89 97 90
159

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ภาษาไทย 34 101 146 193 137
ภาษาอังกฤษ 90 114 140 186 132
วิทยาศาสตร์ 5 - - - 44
วิทยาศาสตร์ – เคมี 14 46 45 52 -
วิทยาศาสตร์ – ชีววิทยา 20 59 82 54 -
วิทยาศาสตร์ – ฟิสิกส์ 5 46 43 86 -
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 47 99 85 96 -
เคมี - - - - 44
ชีววิทยา - - - - 47
ฟิสิกส์ - - - - 47
สังคมศึกษา 38 96 95 101 -
ศิลปศึกษา(นาฏศิลป์) 3 11 28 54 47
ศิลปศึกษา(ทัศนศิลป์) 7 15 41 92 50
29 มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ 81 174 387 723 613
การศึกษาปฐมวัย 12 36 93 158 117
คณิตศาสตร์ 14 43 97 193 127
ภาษาอังกฤษ 22 34 47 140 145
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 33 61 150 232 224
30 มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ 169 440 1,099 1,300 1,218
การประถมศึกษา - - 125 164 156
การศึกษาปฐมวัย 84 171 169 141 118
คณิตศาสตร์ 21 80 191 186 168
คอมพิวเตอร์ศึกษา 43 95 117 133 119
ภาษาไทย - - 145 171 180
ภาษาอังกฤษ 21 94 160 167 158
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - 166 145
สังคมศึกษา - - 192 172 174
31 มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร 353 612 832 1,173 530
การศึกษาปฐมวัย 71 109 113 118 56
การศึกษาพิเศษ - 18 - 41 54
เกษตรศาสตร์ - - - 95 45
คณิตศาสตร์ 53 63 98 113 39
คหกรรมศาสตร์ - - - - 33
เคมี - - - 48 -
160

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
นวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา - - 105 55 41
พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา 24 47 95 119 49
ฟิสิกส์ - - - 46 -
ภาษาไทย 36 97 110 114 51
ภาษาอังกฤษ 76 96 91 121 39
วิทยาศาสตร์ 62 96 108 105 42
สังคมศึกษา 31 86 112 115 46
อุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี - - - 83 35
32 มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา 355 495 474 401 289
การศึกษาปฐมวัย 55 72 72 54 42
การศึกษาพิเศษ - - 37 47 -
คณิตศาสตร์ 55 78 54 50 41
ภาษาไทย 61 97 65 56 44
ภาษาอังกฤษ 67 72 56 56 45
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 57 96 123 85 76
สังคมศึกษา 60 80 67 53 41
33 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต 131 205 220 308 499
การประถมศึกษา - - - - 268
การศึกษาปฐมวัย 131 205 220 308 231
34 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 225 217 214 378 536
การศึกษา 225 217 214 300 -
การศึกษาปฐมวัย - - - - 86
คณิตศาสตร์ - - - - 86
ภาษาไทย - - - - 85
ภาษาอังกฤษ - - - - 91
วิทยาศาสตร์ทั่วไป - - - - 89
สังคมศึกษา - - - 78 99
35 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี 535 712 1,065 1,064 612
การศึกษาปฐมวัย 96 153 174 150 80
คณิตศาสตร์ 50 104 166 163 88
ภาษาไทย 106 100 167 157 98
ภาษาอังกฤษ 82 103 165 162 94
วิทยาศาสตร์ 50 93 161 159 83
ศิลปกรรม 45 42 56 106 79
161

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
สังคมศึกษา 106 117 176 167 90
36 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ 391 774 1,348 1,958 1,848
การประถมศึกษา - - 131 221 141
การศึกษาปฐมวัย 37 78 99 134 155
เกษตรศาสตร์ - - 36 121 91
คณิตศาสตร์ 50 113 194 166 122
คหกรรมศาสตร์ - - - - 69
คอมพิวเตอร์ศึกษา 70 106 111 100 87
เคมี 11 42 65 101 87
ชีววิทยา 36 67 126 88 134
ดนตรีศึกษา 15 12 29 89
บรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ - - - 79 79
นาฏศิลป์ 4 28 - 48 -
พลศึกษา 29 60 108 167 157
ฟิสิกส์ 4 26 38 74 48
ภาษาไทย 33 76 86 140 121
ภาษาอังกฤษ 72 93 90 92 76
วิทยาศาสตร์ - - 113 156 89
สังคมศึกษา 30 73 123 137 211
อุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี - - - 79 92
37 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง 137 223 492 1,296 1,656
การประถมศึกษา - - 63 113 130
การศึกษาปฐมวัย 23 31 38 103 106
คณิตศาสตร์ 12 30 69 151 240
คอมพิวเตอร์ศึกษา 34 51 42 101 129
ชีววิทยา - - - - 92
ดนตรีศึกษา - - - 30 49
เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา - - - 25 39
พลศึกษา - - - 84 84
พลศึกษา –เทคโนโลยีผู้สื่อข่าวกีฬา 22 25 45 - -
ภาษาไทย - - 37 134 171
ภาษาอังกฤษ 23 46 75 154 211
มวยไทยศึกษา - - - 26 21
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 7 16 53 113 130
162

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
ศิลปศึกษา - - - 37 48
สังคมศึกษา 16 24 70 225 206
38 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี 485 572 986 952 1,075
การศึกษาปฐมวัย 49 55 95 91 90
คณิตศาสตร์ 47 52 107 97 121
คอมพิวเตอร์ศึกษา 42 47 52 100 112
ดนตรีศึกษา 43 47 47 55 50
ทัศนศิลป์ 19 48 52 52 56
นาฏศิลป์ไทย 37 50 51 104 59
พลศึกษาและสุขศึกษา 50 65 118 50 119
ภาษาไทย 49 50 107 100 103
ภาษาอังกฤษ 47 49 115 104 104
วิทยาศาสตร์ 42 59 132 99 168
สังคมศึกษา 60 50 110 100 93
39 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ 569 860 609 515 265
การศึกษาปฐมวัย 85 88 81 67 42
คณิตศาสตร์ 74 163 88 49 29
คอมพิวเตอร์ศึกษา 80 67 67 88 38
ดนตรีศึกษา(ดนตรีไทย) - - 6 5 5
ดนตรีศึกษา(ดนตรีสากล) - - - - 14
ภาษาไทย 86 166 109 79 33
ภาษาอังกฤษ 85 102 92 76 37
วิทยาศาสตร์ 67 14 77 59 27
สังคมศึกษา 92 133 89 92 40
40 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 296 - - 2,224 324
การประถมศึกษา - - - 88 44
การศึกษาพิเศษ - - - 117 38
คณิตศาสตร์ 83 - - 494 40
คอมพิวเตอร์การศึกษา 101 - - 488 41
พลศึกษา - - - 240 44
ภาษาอังกฤษ - - - - 35
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 112 - - 449 39
สังคมศึกษา - - - 348 43
163

ตารางที่ 4.5 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
มหาวิทยาลัยเอกชน
1 มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น
การศึกษาปฐมวัย - - - 41 87
วิทยาลัย
1 วิทยาลัยสันตพล
ธุรกิจศึกษา - - - 31 45
สถานศึกษานอกสังกัดฯ 2,855 3,467 4,557 6,022 6,557
1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 453 460 620 769 1130
การบริหารการศึกษา 11 2 - - -
การสอนพระพุทธศาสนา 62 55 77 118 88
การสอนภาษาไทย 88 99 101 91 258
การสอนภาษาอังกฤษ 89 101 119 103 149
จิตวิทยาการให้คาปรึกษาและการแนะแนว 14 - 20 - -
สังคมศึกษา 189 203 303 457 365
2 มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 162 276 502 683 1,349
การประถมศึกษา - - - 35 48
การศึกษาปฐมวัย 73 120 250 143 408
การสอนภาษาไทย 30 68 128 231 405
การสอนภาษาอังกฤษ 59 88 124 274 467
การสอนพระพุทธศาสนา - - - - 21
3 สถาบันการพลศึกษา 1,908 2,341 3,028 4,074 3,501
พลศึกษา 1,753 2,176 2,828 3,837 3,291
พลศึกษาสาหรับคนพิการ 38 43 39 50 47
สุขศึกษา 117 122 161 187 163

4 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 332 390 407 496 577


ดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา 80 106 104 148 156
ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา 6 3 16 47 41
นาฏศิลป์ไทยศึกษา 243 275 282 294 379
นาฏศิลป์สากลศึกษา 3 6 5 7 1
ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2556
164

จากตารางที่ 4.5 ข้างต้นมีข้อสังเกตว่าสถาบันผลิตครูมีความเป็นอิสระค่อนข้างสูงในการกาหนดจานวนรับ


นักศึกษาโดยมีการเปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาเดิมในจานวนที่ใกล้เคียงหรือมากกว่าที่เคยเปิดรับในปีที่ผ่านมา ซึ่ง
มีประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นสาขาวิช าที่มีความขาดแคลนหรือมีความจาเป็นในการพัฒนาประเทศหรือไม่
แม้แต่สถาบันการศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการบางแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ก็เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาอื่นนอกจากการสอนพระพุทธศาสนา และน่า
สังเกตว่านักศึกษาที่ศึกษาด้านการสอนพระพุทธศาสนาซึ่งควรจะเป็นความเชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษาแห่งนี้
กลับมีจานวนน้อยมาก
ในด้านการผลิตครูอาชีวศึกษา มีข้อมูลการผลิตนักศึกษาดังตารางที่ 4.6 และ 4.7

ตารางที่ 4.6 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จาแนกตามสาขาวิชา


ปีการศึกษา 2551-2555 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
หน่วย : คน
ที่ มหาวิทยาลัย 2551 2552 2553 2554 2555
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 1,609 1,971 1,587 1,765 2,043
1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 147 139 61 43 61
คหกรรมศาสตร์ 101 93 61 43 -
วิศวกรรมเครื่องกล 12 12 - - 23
วิศวกรรมอุตสาหการ 34 34 - - 38
2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 318 470 355 440 405
การศึกษาปฐมวัย 42 50 56 92 46
คอมพิวเตอร์ศึกษา 42 41 24 43 29
คีตศิลปไทย - 4 2 3 3
ดุริยางค์ไทย 10 12 18 12 19
ดุริยางค์สากล 8 25 29 18 14
นาฏศิลป์ไทย 45 87 95 83 78
นาฏศิลป์สากล - 7 6 5 6
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 46 47 16 36 34
วิศวกรรมเครื่องกล 35 47 26 34 31
วิศวกรรมไฟฟ้า 21 37 21 37 30
165

ตารางที่ 4.6 (ต่อ)


ที่ มหาวิทยาลัย 2551 2552 2553 2554 2555
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ - - - - 32
วิศวกรรมโยธา 19 34 16 20 29
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 27 42 21 26 26
วิศวกรรมอุตสาหการ 23 37 25 31 28
3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 101 96 147 159 142
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 12 24 34 30 32
วิศวกรรมเครื่องกล 26 24 23 33 28
วิศวกรรมไฟฟ้า – ไฟฟ้ากาลัง 14 15 33 25 24
วิศวกรรมโยธา 19 11 - - -
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 13 7 24 27 24
วิศวกรรมอุตสาหการ 17 15 33 44 34
4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วข. เชียงราย - - 33 48 38
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม - - 33 48 38
5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วข. ตาก 138 140 - - 74
วิศวกรรมเครื่องกล 62 72 - - 42
วิศวกรรมไฟฟ้า 40 29 - - 32
วิศวกรรมอุตสาหการ 36 39 - - -
6 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วข. พิษณุโลก 104 120 - - 153
วิศวกรรมเครื่องกล 72 66 - - 70
วิศวกรรมไฟฟ้า 32 54 - - 50
วิศวกรรมอุตสาหการ - - - - 33
7 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วข. ภาคพายัพ 178 190 150 166 141
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 35 36 - - -
วิศวกรรมโยธา 25 23 29 34 34
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 24 28 - - -
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 23 35 47 60 66
วิศวกรรมอุตสาหการ 71 68 74 72 41
8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (สงขลา) 21 32 134 168 158
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ - - 28 61 35
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม - - 52 80 86
วิศวกรรมอุตสาหการ 21 32 54 27 37
9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 124 172 186 145 144
วิศวกรรมเครื่องกล 48 56 65 46 37
วิศวกรรมไฟฟ้า 11 22 25 23 24
166

ตารางที่ 4.6 (ต่อ)


ที่ ประเภทสถาบัน/สถาบัน/สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 33 48 55 44 33
วิศวกรรมอุตสาหการ 32 46 41 32 50
10 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.ภาคขอนแก่น 360 446 456 564 630
เทคโนโลยีอุตสาหการ - - 64 67 71
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 32 56 31 103 135
วิศวกรรมเครื่องกล 30 33 35 36 58
วิศวกรรมไฟฟ้า 34 30 34 34 35
วิศวกรรมโยธา 78 67 71 67 92
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 79 101 102 91 -
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม - - - - 96
วิศวกรรมอุตสาหการ 29 34 30 31 28
วิศวกรรมอุตสาหการ – เชื่อมประกอบ 29 63 43 68 61
วิศวกรรมอุตสาหการ – ออกแบบการผลิต 49 62 46 67 54
11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.ภาคสกลนคร 7 - 10 15 97
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 7 - 10 15 97
12 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.ภาคสุรินทร์ 111 166 55 17 -
เทคโนโลยีเครื่องกล 55 99 - - -
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 56 67 55 17 -
ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2556

จากตารางที่ 4.6 ข้างต้นพบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรับนักศึกษาใหม่ซึ่งจะสาเร็จเป็นครู


อาชีว ศึกษาไม่มากนัก ระหว่างปีการศึกษา 2551- 2554 จานวนรับนักศึกษาเกือบคงที่ กล่าวคือรับนักศึกษา
จานวน 1,609 1,971 1,587 1,765 คน ตามลาดับ แต่มาเพิ่มจานวนรับเป็น 2,043 คน ในปีการศึกษา 2555
และน่าสังเกตว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาเดียวกับสถาบันผลิตครูอื่น
คือ การศึกษาปฐมวัย คอมพิวเตอร์ศึกษา คีตศิลปะไทย ดุริยางค์ไทย ดุริยางค์สากล นาฏศิลป์ไทย และนาฏศิลป์
สากล ซึ่งบางสาขาวิชา คือ การศึกษาปฐมวัย เป็นสาขาวิชาที่มีแนวโน้มว่าจะผลิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ดังแสดง
ในตารางที่ 4.3
ส่วนสถาบันอุดมศึกษาประเภทอื่นที่ร่วมทาหน้าที่ผลิตครูอาชีวศึกษามีข้อมูลของหลักสูตรศึกษาศาสตร
บัณฑิต (5 ปี) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีภาควิชาอาชีวศึกษา
รับนักศึกษาเพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาจานวนมากแห่งหนึ่ง ดังแสดงในตารางที่ 4.7 ซึ่งจะเห็นว่าคณะศึกษาศาสตร์
167

ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีจานวนนักศึกษาไม่มากนักทั้งสองสาขาวิชา และเมื่อพิจารณาการเพิ่มจานวนนักศึกษา


ระหว่างปีการศึกษา 2554-2558 ก็จะพบว่าจานวนนิสิตสาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
นัก ขณะทีจ่ านวนนิสิตสาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษาลดลงแต่ไม่มากนัก

ตารางที่ 4.7 จานวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา และคหกรรมศาสตรศึกษา


คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หน่วย : คน
จานวนนิสิต (ปีการศึกษา)
สาขาวิชา
2554 2555 2556 2557 2558 รวม 2559 2560 2561 2562
ธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา 24 24 22 23 23 116 25 25 25 25
คหกรรมศาสตรศึกษา 24 16 19 18 17 94 25 25 25 25
หมายเหตุ ปีการศึกษา 2559-2562 เป็นประมาณการ
ที่มา: ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาหรับผลการประชุมสนทนากลุ่มและทาวงล้ออนาคตเมื่อวันที่ 11 และ 24 กุมภาพันธ์ 2557 มีประเด็น


ที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้
- กระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา ที่ประชุมเห็นว่าจานวนผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันผลิตครูเพิ่มขึ้น
จนเป็น อัน ดับ ต้น ในการสอบคัดเลือกในระบบกลาง แต่น่าสังเกตว่า สถาบันผลิตครูไม่ได้ ผ ลิต ตาม
ต้องการในการใช้ครูและความต้องการในการพัฒนาประเทศแต่ผลิตตามความต้องการของตนเอง
จานวนการผลิตยังไม่สอดคล้องกับความต้องการทั้งในด้านจานวนรวมและการรับในแต่ละสาขาวิชา
กล่าวคือ มีการผลิตเกินบางสาขาวิชา และขาดในบางสาขาวิชา ส่วนในภาพรวม เห็นว่ามีจานวนการ
รับนักศึกษาใหม่ของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพ โดยมีการตั้ง
ข้อสังเกตการเพิ่มจานวนรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่รับนักศึกษาจานวนมาก นอกจากนี้ ยัง
มีปัญหาคุณภาพผู้สมัคร ส่วนหนึ่งยังไม่ได้มีความต้องการในการเป็นครูอย่างแท้จริง และยังไม่ได้คน
เก่ง คนดี คนอยากเป็นครู มาเรียนครู ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง
การสอบคัดเลือกเน้นเรื่องความรู้วิชาการมากกว่าความถนัดวิชาชีพครู ส่วนแบบวัดความเป็นครูไม่
สามารถวัดความถนัดได้จริง ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ที่ประชุมมีข้อสังเกตในด้านเป้าหมายการ
ผลิ ตครู ว่า สถาบั น ผลิ ตครู ไม่ ค วรมุ่ ง ผลิ ต บั ณ ฑิต ส าหรับ ไปประกอบวิ ช าชี พ ในโรงเรีย นรัฐ เท่า นั้ น
โรงเรียนประเภทอื่นเช่นโรงเรียนเอกชนก็ยังมีความต้องการครูอีกมาก
- คุณสมบัติของบุคคลที่รับผิดชอบ ในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอนวิชาชีพครู ผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการประชุมสนทนากลุ่มและทาวงล้ออนาคตเห็นว่า ยังมีคุณภาพไม่ดีพอ คณาจารย์ในสถาบันผลิต
168

ครูส่วนหนึ่งไม่เคยเป็นครูจึงไม่ได้ประสบการณ์ของความเป็นครูมาสอนนักศึกษาส่งผลให้ไม่สามารถ
พัฒนานิสิตนักศึกษาครูได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่วนผู้ที่สอนวิชาบริหารการศึกษาส่วนหนึ่งแต่ไม่เคย
บริห ารสถานศึกษา ไม่เคยนิ เทศการศึกษา ทาให้ ค วามรู้ที่นักศึกษาได้รับเป็นทฤษฎี เสี ยส่ วนใหญ่
สาหรับการปฏิบัติงานของอาจารย์นิเทศ (อาจารย์ของสถาบันผลิตครู) กับครูพี่เลี้ยง (ครูผู้สอนของ
สถานศึกษาที่นิสิตนักศึกษาปฏิบัติการสอน) นั้น ที่ประชุมเห็นว่า การประเมินและนิเทศการสอนยัง
ไม่ได้ทาอย่างเป็นระบบ นักศึกษาไม่สามารถทาได้จริง ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์หรือประยุกต์สิ่งที่
เรี ย นมาในการทางานได้จ ริ ง นอกจากนี้ยังมีประเด็นว่า บุคคลที่รับผิ ดชอบหลั กสู ตรปริญญาทาง
การศึกษา ไม่เป็นไปตามประกาศคุรุสภาและสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เช่น จานวน
คณาจารย์ประจาหลักสูตร คุณสมบัติอาจารย์ประเภทต่างๆ และ/หรือครูพี่เลี้ยง
- ระบบการเรียนรู้ เห็นว่ากระบวนการเรียนการสอนไม่ได้เน้นความเป็นครู ทาให้ส่วนหนึ่งยังขาดจิต
วิญญาณของความเป็นครู และยังมีปัญหาด้านการถ่ายทอดเทคนิควิธีการสอนส่งผลให้นิสิตนักศึกษา
สาเร็จการศึกษาออกไปเป็นครูที่ขาดเรื่องทักษะ วิธีการสอน รวมทั้งยังเห็นว่าการจัดกิจกรรมพัฒนา
คุณลักษณะความเป็นครูไม่เหมาะสม ทั้งนี้ มีข้อเสนอที่น่าสนใจโดยผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าสถาบันผลิตครู
ควรเป็นสถาบันเฉพาะทางแบบวิทยาลัยครูเดิมซึ่งเน้นการพัฒนาความเป็นครู
- การประกันคุณภาพ เห็นว่ายังไม่สามารถวัดคุณภาพมาตรฐานได้จริง เนื่องจากเน้นการประเมินด้วย
เอกสารมากเกินไปและมีตัวชี้วัดจานวนมากทาให้สถาบันการศึกษาต้องใช้เวลามากเกินไปในเรื่องนี้

4.1.3 มาตรฐานบัณฑิต
ในด้านจ านวนผู้ สาเร็จ การศึกษา พบว่าระหว่างปีการศึกษา 2551-2555 มีจานวนผู้ส าเร็จการศึกษา
ไม่มากนัก กล่าวคือ ในปีการศึกษา 2555 มีจานวนรวมทั้งสิ้น 19,059 คน เพิ่มจากปีการศึกษา 2551 ที่มีผู้สาเร็จ
การศึ ก ษา 10,764 คน ในจ านวนนี้ เ ป็ น ผู้ ที่ส าเร็ จ การศึ ก ษาจากมหาวิ ทยาลั ย ราชภั ฏ มากที่ สุ ด 11,744 คน
รองลงมามหาวิทยาลัยของรัฐ 4,386 คน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 937 คน ในปีการศึกษา 2554
มีผู้สาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจานวนมากที่สุดเช่นกัน
169

ตารางที่ 4.8 จานวนผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-2555


จาแนกตามประเภทสถาบัน
ประเภทสถาบัน จานวน ผู้สาเร็จการศึกษา (ป.ตรี) ปีการศึกษา
(79 แห่ง) สถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555
มหาวิทยาลัยของรัฐ 18 2,448 2,938 2,821 3,511 4,386
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 7 506 673 894 832 937
มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ 1 239 221 289 191 -
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 5,710 7,917 9,238 10,502 11,744
สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 4 1,861 2,525 1,626 1,993 -
มหาวิทยาลัยเอกชน 9 - - 63 75 -
รวมทั้งหมด 79 10,764 14,274 14,931 17,104 19,059
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558
170

สาหรับตารางที่ 4.9 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเทียบจานวนนักศึกษาที่รับในแต่ละปีกับจานวนผู้สาเร็จการศึกษา


พบว่ามีจานวนผู้สาเร็จการศึกษาน้อยกว่ามาก
ตารางที่ 4.9 จ านวนนั กศึกษาใหม่และผู้ ส าเร็จการศึกษาระดั บปริญญาตรีส าขาครุ ศาสตร์/ศึ กษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2551-2555 จาแนกตามประเภทสถาบัน
ประเภทสถาบัน จานวน นักศึกษา/ ปีการศึกษา
(79 แห่ง) สถาบัน ผู้สาเร็จการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555
มหาวิทยาลัยของรัฐ 18 นักศึกษารับใหม่ 4,623 5,726 6,856 6,690 6,112
ผู้สาเร็จการศึกษา 2,448 2,938 2,821 3,511 4,623
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 7 นักศึกษารับใหม่ 1,588 2,037 1,725 1,827 1,975
ผู้สาเร็จการศึกษา 506 673 894 832 1,588
มหาวิทยาลัยไม่จากัดรับ 1 นักศึกษารับใหม่ 2,064 3,670 4,366 5,471 6,028
ผู้สาเร็จการศึกษา 239 221 289 191 2,064
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 นักศึกษารับใหม่ 13,779 21,453 34,263 40,896 32,965
ผู้สาเร็จการศึกษา 5,710 7,917 9,238 10,502 13,779
สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 4 นักศึกษารับใหม่ 3,179 3,615 5,026 6,279 7,294
ผู้สาเร็จการศึกษา 1,861 2,525 1,626 1,993 1,942
มหาวิทยาลัยเอกชน 9 นักศึกษารับใหม่ 100 100 100 309 305
ผู้สาเร็จการศึกษา - - 63 75 100
รวมทั้งหมด 79 นักศึกษารับใหม่ 25,333 26,601 52,336 61,472 54,679
รวมทั้งหมด ผู้สาเร็จการศึกษา 10,764 14,274 14,931 17,104 19,059
ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558

ในภาพรวม สถาบันผลิตครูรับนักศึกษาใหม่จานวน 54,679 คน ในปีการศึกษา 2555 ซึ่งในปีนั้นมีผู้สาเร็จ


การศึกษา 19,059 คน ปีการศึกษา 2554 รับนักศึกษาใหม่ 61,472 คนขณะที่มีผู้สาเร็จการศึกษา 17,104 คน
เมื่อจาแนกตามประเภทสถาบั น การศึกษา พบว่า มหาวิทยาลั ยราชภั ฏรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2555
จานวน 32,965 คน ขณะมีผู้สาเร็จการศึกษา 13,779 คน ปีการศึกษา 2554 รับนักศึกษาใหม่ 40,896 คน ขณะมี
ผู้สาเร็จการศึกษา 10,502 คน และในปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยของรัฐรับนักศึกษาใหม่ 6,112 คน มี
ผู้สาเร็จการศึกษา 4,623 คน ปีการศึกษา 2554 รับนักศึกษาใหม่ 6,690 คน สาเร็จการศึกษา 3,511 คน ในปี
การศึก ษา 2554 มหาวิทยาลั ย ไม่ จ ากัดรั บ มีจานวนนัก ศึกษาใหม่ 5,471 คนส าเร็ จการศึกษาเพียง 191 คน
สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีจานวนนักศึกษาใหม่ 6,279 คน สาเร็จการศึกษาเพียง 1,993 คน
มหาวิทยาลัยเอกชนรับนักศึกษาใหม่ 309 คนแต่สาเร็จการศึกษาเพียง 75 คน ขณะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
171

มงคลซึ่งผลิ ตครูอาชีว ศึกษาโดยตรงรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2555 จานวน 1,975 คนสาเร็จการศึกษา


1,588 คน ปีการศึกษา 2554 รับนักศึกษาใหม่ 1,827 คน สาเร็จการศึกษา 832 คน
นอกจากนีส้ านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังได้ประมาณการผู้สาเร็จการศึกษาจากคณะครุศาสตร์
ศึกษาศาสตร์ในระยะ 5 ปี ระหว่างปีการศึกษา 2556-2560 ดังภาพที่ 4.1

ภาพที่ 4.1 ประมาณการผู้สาเร็จการศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในระยะ 5 ปี ปีการศึกษา 2556-2560


ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทาหนังสือขอความอนุเคราะห์จาก ม/ส

ส่วนสาขาวิชาที่คาดว่านักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จะสาเร็จการศึกษา 20 อันดับสูงสุดแสดงใน
ภาพที่ 4.2 ซึ่งจะเห็นว่าห้าอันดับแรก คือ การศึกษาปฐมวัย พลศึกษา ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์
172

ภาพที่ 4.2 จานวนนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่คาดว่าจะสาเร็จการศึกษาสาขาวิชา 20 อันดับสูงสุด


(50 กลุ่มสาขาวิชา) ตั้งแต่ปี 2556-2560
ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทาหนังสือขอความอนุเคราะห์จาก ม/ส

ผลการสนทนากลุ่มและทาวงล้ออนาคตเมื่อวันที่ 11 และ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ผู้ทรงคุณวุฒิ ตั้งข้อสังเกต


ว่าขณะที่ยังไม่เป็นที่พอใจว่าไม่ได้ผู้ที่อยากเรียนครูมาศึกษา ที่สาคัญกว่าคือนิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามา
ศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มีความอยากเป็นครู แต่เมื่อผ่านการศึกษาจนสาเร็จแล้วกลับ ไม่อยากเป็นครู
ซึ่งต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุมาจากประการใด ในด้านคุณลักษณะของผู้สาเร็จการศึกษา ได้สนทนาเกี่ยวกับประเด็น
เรื่องความรู้ การปฏิบัติการสอน การปฏิบัติตน และการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู สรุปได้ว่า
- ความรู้ของบัณฑิต มีประเด็นว่าครูรุ่นใหม่ได้แต่ทฤษฎี นาปฏิบัติจริงไม่ได้ เมื่อสาเร็จการศึกษามาแล้ว
ทาอะไรไม่เป็น สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้ องมาอบรมใหม่ในเรื่องสาคัญ เช่น การจัดทา
หลักสูตร การประกันคุณภาพ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า “ครูจะมีสองรุ่นคือครูรุ่นใหม่กับครูรุ่นเก่า
ปัญหาที่พบคือเมื่อจัดทาหลักสูตรใหม่ เด็กรุ่นใหม่ ไม่สามารถทาได้จริง ศึกษานิเทศก์ ต้องมาฝึกอบรม
ใหม่หมด เช่น การจัดทาหลักสูตร การประกัน คุณภาพ ฯลฯ ทาได้แต่ในทฤษฎีแต่นาปฏิบัติใช้จริง
ไม่ได้”
- การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เห็นว่ายังมีปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การนิเทศและครู
พี่เลี้ยงไม่ได้ทาอย่างรัดกุม ขาดคุณภาพ ส่วนสถาบันผู้ผลิตเองก็ไม่ได้ทาหน้าที่อย่างดีที่สุด
173

- การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู เห็นว่ากระบวนการเรียนการสอนไม่ได้เน้นความเป็นครู และ


เทคนิควิธีการสอน ส่งผลให้บัณฑิตทีไ่ ปเป็นครูขาดทักษะ วิธีการ และจิตวิญญาณความเป็นครู โดยมีผู้
กล่าวว่า “อยากเน้นเรื่องความเป็นครู รักในอาชีพครู ความเป็นครูมีน้อยมาก เราไปเน้นในความรู้ซึ่ง
เอาไปใช้ไม่ได้ จบออกมาทาอะไรไม่ได้” ส่วนกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูก็ยังไม่เหมาะสม
4.2 ความต้องการในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดการประชุมสัมมนาเรื่อง การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู
ในอนาคต : ปัญหาและการแสวงหาแนวทางแก้ไข เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้แสดงข้อมูลความต้องการ
ครูในด้านจานวนและสาขาวิชา พบว่าต้องการครู 109,245 คน ในสาขาวิชาห้าอันดับ แรก คือ คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ศึกษา สรุปได้ตามภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 4.3 ความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษียณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า ปีการศึกษา 2557-2562


ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทาหนังสือขอความอนุเคราะห์จาก ม/ส
174

ภาพที่ 4.4 ความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษียณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า ปีการศึกษา 2557-2562


ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แยกตามสาขาวิชา
ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทาหนังสือขอความอนุเคราะห์จาก ม/ส
ส่วนครู อาชีว ศึกษามีความต้องการครูทั้งสิ้ น 1,831 คน สาขาที่ต้องการมากที่สุดห้าอันดับแรก คือ
ภาษาอังกฤษ เครื่องกล การจัดการทั่วไป คอมพิวเตอร์ศึกษา และคณิตศาสตร์

ภาพที่ 4.5 ความต้องการครูรายสาขาวิชาที่มีในปัจจุบัน สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


ข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ทาหนังสือขอความอนุเคราะห์จาก ม/ส
175

สาหรับผลการวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการครูและการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต โดยใช้
การวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต (Trend Analysis) ซึ่งเป็นการคานวณข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.
2546-2557 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มจานวนความต้องการครู ในแต่ละสาขาวิชาเพื่อทดแทนอัตราการเกษียณอายุ
ราชการของครูทั้งประเทศระหว่างปี 2558-2567 เมื่อจาแนกตามสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาที่มีแนวโน้มต้องการ
ครูมากที่สุดในปี 2567 คือ สาขาวิชาภาษาไทย จานวน 5,244 คน รองลงมาคือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สังคมรวม
มนุษยศาสตร์และจิตวิทยา และประถมศึกษา (4,504 3,819 และ 3,743 คน ตามลาดับ) เมื่อพิจารณาระหว่าง
ความต้องการครูและการผลิตครู พบว่า สถาบันการศึกษาผลิตครูในสาขาวิชาส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
โดยสาขาวิชาที่มีแนวโน้มขาดแคลนครูมากที่สุดในปี 2567 คือ สาขาวิชาประถมศึกษา ผลิตขาดจานวน 3,365
คน รองลงมาคือ สาขาวิชาภาษาไทย สังคมศึกษารวมมนุษยศาสตร์และจิตวิทยา การงานและพื้นฐานอาชีพ และ
ภาษาอังกฤษ (ผลิตขาดจานวน 3,530 1,710 1,554 และ 1,231 คน ตามลาดับ ) สาหรับสาขาวิชาที่
สถาบันการศึกษาผลิตครูมากกว่าความต้องการมี 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาปฐมวัย สุขศึกษา/พลศึกษา และ
วิทยาศาสตร์ (ผลิตเกิน 1,467 1,002 และ 692 คน ตามลาดับ) รายละเอียดดังตารางที่ 4.10
176

ตารางที่ 4.10 จานวนความต้องการครู พ.ศ. 2553-2567


ปี พ.ศ.
สาขาวิชา
2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567

ความ
233 306 436 540 660 821 938 950 979 968 966 971 968 968 963
ต้องการ
การ
การศึกษาปฐมวัย 1,442 1,419 1,607 2,223 3,663 2,140 2,206 2,279 2,347 2,536 2,387 2,423 2,449 2,420 2,430
ผลิต
-ขาด/
1,209 1,113 1,171 1,683 3,003 1,319 1,268 1,329 1,368 1,568 1,421 1,452 1,481 1,452 1,467
เกิน
ความ
901 1,182 1,683 2,983 2,549 3,171 3,627 3,672 3,783 3,737 3,731 3,750 3,739 3,740 3,743
ต้องการ
การ
การประถมศึกษา 157 157 158 246 455 322 366 375 362 390 376 376 381 378 378
ผลิต
-ขาด/ - - - - - - - - - - - - - -
744
เกิน 1,025 1,525 2,737 2,094 2,849 3,261 3,297 3,421 3,347 3,350 3,374 3,358 3,362 3,365
ความ
1,263 1,655 2,359 2,919 3,572 4,442 5,081 5,144 5,301 5,236 5,227 5,255 5,239 5,240 5,244
ต้องการ
การ
ภาษาไทย 891 809 958 1,452 3,148 1,457 1,571 1,644 1,722 1,731 1,699 1,717 1,716 1,711 1,714
ผลิต
-ขาด/ - - - - - - - - - - -
-372 -846 -424 -3529
เกิน 1,401 1,467 2,986 3,510 3,500 3,579 3,505 3,528 3,538 3,523 3,530
ความ
คณิตศาสตร์รวมวัดผล 1,085 1,422 2,026 2,506 3,067 3,815 4,363 4,417 4,553 4,496 4,489 4,513 4,499 4,500 4,504
ต้องการ
177

ปี พ.ศ.
สาขาวิชา
2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567

การ
1,109 1,011 1,281 1,759 3,133 3,457 3,705 3,890 4,069 4,091 4,017 4,059 4,056 4,044 4,053
ผลิต
ความ
วิทยาศาสตร์ 283 372 529 656 803 997 1,141 1,155 1,191 1,176 1,174 1,180 1,177 1,177 1,178
ต้องการ
การ
834 826 1,032 1,482 2,487 1,681 1,740 1,823 1,847 1,901 1,857 1,868 1,875 1,867 1,870
ผลิต
-ขาด/
551 454 503 826 1,684 684 599 668 656 725 638 688 698 690 692
เกิน
ความ
เคมี 233 306 436 540 660 821 938 951 979 968 966 971 968 968 969
ต้องการ
การ
110 105 118 222 344 288 294 299 317 318 311 315 315 314 314
ผลิต
-ขาด/
-123 -201 -318 -318 -316 -533 -644 -652 -662 -650 -655 -656 -653 -654 -655
เกิน
ความ
ชีววิทยา 238 312 445 550 643 837 958 969 999 986 985 990 987 987 988
ต้องการ
การ
117 91 207 264 581 324 337 361 372 379 371 374 375 373 374
ผลิต
-ขาด/
-121 -221 -238 -286 -62 -513 -621 -608 -627 -607 -614 -616 -612 -614 -614
เกิน
ฟิสิกส์ ความ 219 288 410 508 621 776 886 895 922 910 909 914 911 911 912
178

ปี พ.ศ.
สาขาวิชา
2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567

ต้องการ
การ
65 78 99 169 311 294 302 310 318 320 316 318 318 317 317
ผลิต
-ขาด/
-154 -210 -311 -339 -310 -482 -584 -585 -604 -590 -593 -596 -593 -594 -595
เกิน
สังคมศึกษา รวม ความ
919 1,205 1,718 2,126 2,601 3,236 3,700 3,746 3,860 3,813 3,806 3,826 3,815 3,816 3,819
มนุษยศาสตร์และจิตวิทยา ต้องการ
การ
1,101 1,161 1,357 1,671 2,535 2,005 2,063 2,056 2,141 2,104 2,100 2,115 2,106 2,107 2,109
ผลิต
-ขาด/ - - - - - - - - - -
182 -44 -361 -455 -66
เกิน 1,231 1,637 1,690 1,719 1,709 1,706 1,711 1,709 1,709 1,710
สุขศึกษา/ ความ
490 642 914 1,132 1,385 1,722 1,969 1,994 2,055 2,029 2,026 2,037 2,031 2,031 2,033
พลศึกษา ต้องการ
การ
1,388 1,594 1,822 2,674 4,357 2,881 2,822 2,981 3,031 3,054 3,022 3,036 3,037 3,032 3,035
ผลิต
-ขาด/
898 952 908 1,542 2,972 1,159 853 987 976 1,025 996 999 1,006 1001 1,002
เกิน
ความ
ศิลปศึกษา 513 672 958 1,185 1,449 1,803 2,062 2,087 2,151 2,124 2,121 2,132 2,126 2,126 2,128
ต้องการ
การ
410 512 470 627 874 644 661 671 687 672 677 679 676 677 677
ผลิต
179

ปี พ.ศ.
สาขาวิชา
2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567

-ขาด/ - - - - - - - - - -
-103 -160 -488 -558 -575
เกิน 1,159 1,401 1,416 1,464 1,452 1,444 1,453 1,450 1,449 1,451
การงานพื้นฐานอาชีพ/เทคโนโลยีรวม ความ
819 1,073 1,531 1,894 2,315 2,881 3,295 3,336 3,438 3,396 3,390 3,408 3,398 3,399 3,401
เทคโนโลยีการศึกษา ต้องการ
การ
335 846 1,266 1,454 2,572 1,673 1,788 1,852 1,889 1,818 1,853 1,853 1,841 1,849 1,847
ผลิต
-ขาด/ - - - - - - -
-484 -227 -265 -440 -257 -1507 -1484 1,578
เกิน 1,208 1,549 1,537 1,555 1,557 1,550 1,554
ความ
ภาษาต่างประเทศ 901 1,182 1,683 2,083 2,549 3,171 3,626 3,672 3,783 3,737 3,731 3,750 3,739 3,740 3,743
ต้องการ
การ
1,340 1,499 1,614 2,292 3,567 2,306 2,396 2,449 2,506 2,537 2,497 2,513 2,516 2,509 2,512
ผลิต
-ขาด/ - - - - - - - - -
439 317 -69 209 1,018 -865
เกิน 1,230 1,223 1,277 1,200 1,234 1,237 1,223 1,231 1,231
ความ
การศึกษาพิเศษ 137 179 256 317 388 483 553 559 576 569 568 571 569 569 569
ต้องการ
การ
250 170 102 157 260 282 266 262 260 335 286 294 305 295 298
ผลิต
-ขาด/
113 -9 -154 -160 -128 -201 -287 -297 -316 -234 -282 -277 -264 -274 -271
เกิน
180

ที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการครูในแต่ละสาขาวิชาเพื่อทดแทนอัตราการเกษียณอายุราชการของครูทั้งประเทศ จาก
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์และคณะ (2556). การวิจัยพัฒนาเพื่อส่งเสริมสถาบันผลิตครูสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ:กรอบการจัดกลุ่มสถาบันผลิตครูสาหรับประเทศ
ไทย, สานักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, ห.จ.ก.วีทูรซูริ.คอมมิวนิเคชั่น. กรุงเทพ.
181

นอกจากนี้ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามี ผลการสารวจจานวนผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการ


โรงเรี ย น และครู ผู้ส อน สั งกัดสานั กงานคณะกรรมการศึกษาขั้นฐานระหว่างปีการศึกษา 2552-2556 พบว่า
ปีการศึกษา 2552 มีบุคลากรจานวนทั้งหมด 411,631 คน และข้อมูลล่าสุดในปี 2556 มีบุคลากรจานวนทั้งหมด
397,733 คน เมื่อพิจารณาตามตาแหน่ง พบว่า ในปีการศึกษา 2556 ผู้อานวยการโรงเรียน มีจานวน 28,411 คน
เมื่อจาแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จานวน 18,932 คน รองลงมา
สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จานวน 9,230 คน รองผู้อานวยการโรงเรียน มีจานวน 6,894 เมื่อจาแนกตาม
วุฒิการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จานวน 3,754 คน รองลงมาสาเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรี จานวน 3,099 คน และครูผู้สอน มีจานวน 397,733 คน เมื่อจาแนกตามวุฒิการศึกษา ส่วนใหญ่
ส าเร็ จ การศึกษาระดับ ปริ ญญาตรี จ านวน 314,204 คน รองลงมาส าเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโท จานวน
41,391 คน ตามรายละเอียดดังตารางที่ 4.11
182

ตารางที่ 4.11 จานวนผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสานักงาน


คณะกรรมการการศึกษาขั้นฐานจาแนกตามวุฒิการศึกษาปีการศึกษา 2552-2556
ตาแหน่ง วุฒิการศึกษา 2552 2553 2554 2555 2556
ไม่ระบุ 81 523 817 1,035 54
ป.ตรี 13,499 10,636 9,132 8,839 9,230
ผู้อานวยการ
ป.โท 16,059 17,582 18,987 20531 18,932
โรงเรียน
ป.เอก 61 101 162 187 195
รวม 29,700 28,842 29,098 30,592 28,411
ไม่ระบุ 39 236 320 352 13
ป.ตรี 4,576 3,231 2,929 2,989 3,099
รองผู้อานวยการ
ป.โท 3,455 3,387 3,553 4,145 3,754
โรงเรียน
ป.เอก 13 12 16 19 28
รวม 8,083 6,866 6,818 7,505 6,894
ไม่ระบุ 14,704 15,766 18,600 18,742 6,684
ป.ตรี 330,539 327,442 316,264 314,358 314,204
ครูผู้สอน ป.โท 28,512 28,943 32,586 40,638 41,391
ป.เอก 93 99 117 183 149
รวม 373,848 407,958 367,567 373,921 397,733
ไม่ระบุ 29,700 16,525 19,737 20,129 6751
ป.ตรี 8,083 341,309 328,325 326,186 326,533
รวม ป.โท 373,848 49,912 55,126 65,314 64,077
ป.เอก 411,631 212 295 389 372
รวม 411,631 407,958 403,483 412,018 397,733
ที่มา: กระทรวงศึกษาธิการ, 2557
183

ส่ว นผลการสอบถามผู้ เข้าร่ว มประชุม สนทนากลุ่ม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 (ภาคผนวก ข)


เมื่อพิจารณาความต้องการจาเป็นด้านการใช้ครูเป็นรายข้อ ปรากฏผลแสดงในตารางที่ 4.12

ตารางที่ 4.12 ความต้องการจาเป็นของการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ประเด็น สภาพ สภาพพึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบัน ประสงค์ จาเป็น ความสา
(PNImonification) คัญ
1. รัฐบาลมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง 2.71 4.62 0.71 3
ชัดเจน (National Goal)
2. กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้น 2.74 4.65 0.70 5
พื้นฐานอย่างชัดเจน
3. สถาบันผลิตครูมีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการผลิต 3.18 4.76 0.50 6
ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการ 3.06 4.32 0.41 9
ในเชิงปริมาณ
5. การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการ 2.41 4.62 0.91 2
ในเชิงคุณภาพ
6. ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดี คนเก่ง มีใจรักวิชาชีพ 2.71 4.62 0.71 4
ครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7. ระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการสามารถถึงดูดให้คนดี 3.21 4.41 0.38 10
คนเก่ง เข้าสู่วิชาชีพครู
8. ผู้สาเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นสาขาหลักที่ไม่มีวุฒิทาง 2.74 4.09 0.49 7
ครูได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
9. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกาหนดมาตรฐานการผลิตครู 3.17 4.50 0.42 8
ของสถาบันการผลิตครูทั้งประเทศ
10. มีระบบการติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็น 2.23 4.49 1.01 1
มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

จากตารางที่ 4.12 แสดงว่าข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในด้านการใช้ครูที่ต้องดาเนินการเร่งด่วน


(ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65) มีจานวน 5 ข้อ จาก 10 ข้อ ซึ่งเรียงลาดับสาคัญความต้องการจาเป็น
ได้ตามลาดับ ดังนี้
ลาดับที่ 1 มีระบบการติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI =
1.01)
184

ลาดับที่ 2 การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการในเชิงคุณภาพ (PNI = 0.91)


ลาดับที่ 3 มีสองประเด็นที่มีค่าความต้องการจาเป็นเท่ากัน คือ
- รัฐบาลมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน (National Goal) (PNI = 0.71)
- ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดี คนเก่ง มีใจรักวิชาชีพครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI =
0.71)
ลาดับที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน (PNI = 0.70)

4.3 ข้อเสนอแนะในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สาคัญ คือ
4.3.1 มาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานวิชาชีพ มีการตั้งประเด็นให้ทบทวนคุณภาพหลักสูตร 5 ปีเพื่อ
ประเมินว่าสามารถผลิตผู้สาเร็จการศึกษาที่มีคุณลักษณะตามประสงค์ได้หรือไม่ แต่ยังไม่มีข้อตกลงในที่ประชุม
ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหนึ่งเห็นว่าหลักสูตร 4 ปีก็อาจผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้ ขึ้นกับการจัดแนวทางการให้
ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ในต่างประเทศที่ประสบความสาเร็จในการผลิตครูที่มีคุณภาพก็ไม่ได้เปิดหลักสูตร
ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 5 ปี เช่น ประเทศฟินแลนด์ให้ศึกษาระดับปริญญาตรีเพียงสี่ปีต่อด้วยปริญญาโทอีกสองปี
แต่ ก ารจั ด กระบวนการเรี ย นการสอนเน้ น การวิ จั ย และพั ฒ นาทั ก ษะความเป็ น ครู ในด้ า นมาตรฐานวิ ช าชี พ
มีข้อเสนอให้ทบทวนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (มคอ.) หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ที่ประกาศใช้
เมื่อพ.ศ. 2554 ให้มีความยืดหยุ่น ไม่ควรใช้เกณฑ์มาตรฐานในระดับสาขาวิชาแบบเดียวกันทุกสถาบันเนื่องจากแต่
ละแห่งจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ยังคงใช้กรอบมาตรฐาน มคอ. 1 เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐานไว้
4.3.2 มาตรฐานการผลิต มีข้อเสนอเกี่ยวกับระบบการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาสามแนวทาง แนวทางที่
หนึ่ง เสนอให้รับนักศึกษาแบบระบบปิด จากัดจานวนรับโดยให้สถาบันผลิตครูแต่ละแห่งระบุสาขาวิชาที่ตนมีความ
เชี่ยวชาญและความพร้อมที่จะรับนักศึกษา ให้สถาบันผลิตครูไปจัดสรรจานวนการผลิตให้ตรงตามความต้องการ ให้
มีการกาหนดจานวนสัดส่วนและแต่ละที่ควรนาไปผลิตตามที่กาหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การรับนักศึกษาในระบบปิด
เช่น นี้มี เงื่อนไข คือ สถาบั นผลิ ตครูต้องสามารถระบุ ส าขาวิช าที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งจะเป็นสาขาวิช าที่เปิดรับ
นักศึกษา และจะต้องมี ฐานข้อมูล ความต้องการและการผลิตต้องแม่นยา ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเพื่อ
ประโยชน์ในการวางแผนจานวนและสาขาวิชาที่จะรับนักศึกษา อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันผลิตครู
จะต้องร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อกาหนดโควตารับเข้า แนวทางที่สอง คงการรับนักศึกษาแบบเปิดตามที่ดาเนินอยู่ใน
ปัจจุบัน ซึ่งหากสถาบันผลิตครูไม่ลดจานวนการผลิต ก็จะต้องมีระบบการสอบคุณภาพผู้สาเร็จการศึกษาที่เรียกว่า
exit exam เพื่อใช้ในการรับรองคุณวุฒิและการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แนวทางที่สาม เป็นการ
ผสมผสานสองแนวทางข้างต้นโดยให้คงระบบการรับแบบเปิดไว้ แต่เริ่มรับแบบระบบปิดในบางสาขาวิชา ทั้งนี้
185

ได้รับคาอธิบายเพิ่มเติม (สุรวาท ทองบุ, ประชุมสนทนากลุ่ม วันที่ 6 มีนาคม 2558) ว่า “ระบบปิด หมายถึงการ
รับบุคคลเข้าศึกษาชั้นปีที่ 1 ตามหลักสูตรการผลิตครู 5 ปีหรือหลักสูตรอื่นๆ ที่คุรุสภาให้การรับรอง ตามจานวน
ความต้องการใช้ครูของสถานศึกษาภาครัฐ เมื่อสาเร็จการศึกษาจะมีอัตราข้าราชการครูรองรับและจะได้รับการ
บรรจุทันที ในระหว่างศึกษาอาจได้รับเงินทุนการศึกษา เป็ นค่าธรรมเนียมการศึกษาที่สถาบันการผลิตเรียกเก็บ
ค่าอุปกรณ์การศึกษาและค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ ทั้งนี้ สถานศึกษาเอกชนอาจทาความตกลงร่วมมือกับสถาบันฝ่าย
ผลิตดาเนินการเช่นเดียวกับภาครัฐได้ ส่วนระบบเปิด หมายถึง การรับบุคคลเข้าศึกษาชั้นปีที่ 1 ตามหลักสูตรการ
ผลิตครู 5 ปีหรือหลักสูตรอื่นๆ ที่คุรุสภาให้การรับรอง ตามศักยภาพของสถาบันและความต้องการของผู้เรียน
เมื่อสาเร็จการศึกษาแล้วผู้เรียนจะต้องไปหางานทาหรือสอบบรรจุเข้าประกอบวิชาชีพครู ในสถานศึกษาของภาครัฐ
ที่มีความต้องการครูเพิ่มเติมหรือเอกชน หรือประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเอง โดยให้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อ
การมีงานทาของผู้เรียนและสถาบันการผลิต ” นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นว่าควรให้ความสาคัญกับวิธีการคัดเลือก
และเครื่องมือวัดความเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งเมื่อเข้ามาศึกษาแล้วต้องเน้นการพัฒนาจิตวิญาณของความ
เป็นครูด้วย โดยมีผู้เสนอให้พิจารณาแนวคิดและแนวทางของวิทยาลัยครูเดิมที่รับนักศึกษาจากัดจานวน คัดเลือก
คนเก่งมาเรียนครูแบบอยู่ประจาโดยใช้ระบบหอพัก ระหว่างการศึกษาก็อาจมีเงินเดือน มีการรับประกันงานเมื่อ
สาเร็จการศึกษา เมื่อเริ่มประกอบวิชาชีพในสถานศึกษาก็จัดระบบพี่เลี้ยงดูแลจนเกิดความชานาญ หากดาเนินการ
ในแนวทางนี้ก็น่าที่จะแก้ปัญหาการที่ผู้สมัครไม่มีความต้อ งการในการเป็นครูอย่างแท้จริง ไม่ได้คนเก่ง คนดี คน
อยากเป็นครู มาเรียนครู และหากมีการรับนักศึกษาในโครงการรับพิเศษ เช่น โครงการในลักษณะโครงการคุรุ
ทายาทต้ องมีม าตรการรั บ บรรจุ ให้ ร วดเร็ ว กว่ าบั ณฑิ ตที่ ไม่ ร่ว มโครงการ เพราะปัจ จุบั นปรากฏว่า หน่ ว ยงาน
ดาเนินการบรรจุล่าช้ามาก
ที่ประชุมยังได้สนทนาเกี่ยวกับการผลิตครูผู้สอนในระดับและประเภทของสถานศึกษาโดยเห็นว่าการผลิต
ครูแยกครูระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งมีประเด็นปัญหาต่างกัน ส่วนครูในสถานศึกษาประเภท
อาชีวศึกษาก็มีปัญหาที่เป็นลักษณะเฉพาะ นอกจากนี้ยังเห็นว่าครูส่วนหนึ่งมักจะไม่ คงอยู่ในสายการสอนแต่มักจะ
ศึกษาต่อเพื่อเพิ่มคุณวุฒิแล้วย้ายไปเป็นผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งทาให้เกิดความสูญเปล่า ประเด็นน่าสนใจที่ได้จาก
การประชุมสนทนากลุ่มมีดังนี้
- การผลิ ตครู ป ฐมวัย ครู ที่ ส อนสถานศึ ก ษาในระดั บ ปฐมวั ย ปั จจุ บั น ส่ ว นหนึ่ ง สอนไม่ ต รงวุ ฒิ บาง
สถานศึกษาใช้ผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิไปเป็นครูพี่เลี้ยงปฐมวัยจึงจะเป็นการทาที่ผิดวิธีเพราะเด็ กต้องได้รับการ
พัฒนาในแต่ละด้าน ผู้สอนในระดับนี้ต้องมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชาเพื่อวางรากฐานของชีวิตให้กับผู้เรียน
- การผลิตครูประถมศึกษา มีปัญหาครูสอนไม่ตรงวุฒิ สถาบันผลิตครูต้องปรับหลักสูตรให้สอนได้ทุก
รายวิชาทั้งในรายวิชาและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุควร
ปรับหลักเกณฑ์คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครสอบใหม่ให้สอดคล้องกัน เพราะการสอนระดับประถมศึกษา
ต้องสอนได้ทุกวิชาไม่ว่าจะสาเร็จการศึกษาวิชาเอกใด
186

- การผลิตครูมัธยมศึกษา ต้องผลิตต่างจากครูประถมศึกษา ให้ผู้เรียนมีความรู้และความเชี่ยวชาญใน


วิชาที่สอนเป็นการเฉพาะทาง
- การผลิตครู อาชีวศึกษา ปัญหาของสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษา คือ นักเรียนสนใจเลือกเรียน
สาขาวิชาทีม่ ีความหลากหลายและไม่มีสอนในสถาบันผลิตครู แต่ปรากฏว่าผู้ที่สอนไม่มผี ู้สาเร็จด้านครุ
ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยตรง จึงต้องแก้ปัญหาโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญมาสอนแทนซึ่ง ไม่มีประสบการณ์ใน
การเป็นครู ประเด็นคือหากมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทาหน้าที่จะทาอย่างไรให้เขามีประสบการณ์ในการเป็น
ครู การให้มาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตเป็นสิ่งที่ยาก มีความสนใจไปอบรมหลักสูตรระยะ
สั้นมากกว่า จึงควรพิจารณาจัดหลักสูตรพิเศษเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสาหรับผู้สอน
- การผลิตผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาต้องสูญ เสียครูสายวิขาการไปทางานสายบริหาร
ครุทายาทส่ว นใหญ่ไปอยู่ในระดับประถม เขาต้องพัฒนาตัวเองเพื่อสอบไปเป็นผู้บริหารเสียครูที่มี
คุ ณ ภาพ ครู เ ก่ ง ไปเป็ น ผู้ บ ริ ห าร ควรแบ่ ง การผลิ ต ครู ใ ห้ มี ค รู ส ายบริ ห ารที่ จ ะมี ค วามรู้ แ ละ
ประสบการณ์ในการบริหารและครูสายวิชาการที่จะมีความเชี่ยวชาญและประสิทธิภาพในการสอน
ดังนั้น จึงควรวางเส้นทางอาชีพครูและเส้นทางอาชีพผู้บริหารให้ชัดเจนแยกจากกัน เพื่อจะได้เป็น
แรงจูงใจให้ผู้มีความสามารถและมีความเป็นครูเข้ามาเรียนครูและพัฒนาตนให้ก้าวหน้าดิ่งเดี่ยวใน
สายของครูผู้สอนแทนการโอนย้ายไปเป็นผู้บริหารการศึกษา
4.3.3 มาตรฐานบัณฑิต ที่ประชุมเห็นว่าบัณฑิตครูส่วนหนึ่งยังขาดคุณภาพ ขาดความรู้ลึกซึ้งในรายวิชาที่
สอน อีกทั้งยังมีประเด็นการผลิตที่หลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทา
ให้ผู้สาเร็จการศึกษามีปัญหาในการสอน แต่ประเด็นสาคัญที่ต้องรีบแก้ไขเป็นพิเศษ คือ การสร้างจิตวิญญาณของ
ความเป็ น ครู ส่ ว นการฝึ กประสบการณ์วิช าชีพ ยังมีความจาเป็นต้องพัฒ นาความรู้ และทักษะการนิเทศของ
คณาจารย์ในสถาบันผลิตครู และครูในโรงเรียนซึ่งเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เนื่องจากคณาจารย์ที่ทา
หน้าที่นิเทศการศึกษาส่วนหนึ่งยังไม่มีความรู้ทั กษะในการนิเทศ หรือยังขาดประสบการณ์ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอ
ว่าสถาบันผลิตครูต้องปรับบทบาทในการผลิตครูโดยมีความร่วมมือกับสถานศึกษาและท้องถิ่นมากขึ้น สถาบันผลิต
ครูต้องร่วมกันผลิตครูที่มีคุณภาพ ต้องคิดว่าการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาไม่ได้มีเฉพาะเรื่องไปนิเทศ
นักศึกษาของตนเองเท่านั้น แต่สถาบันผลิตครูควรไปทาหน้าที่เป็นพี่ เลี้ยงและช่วยยกระดับ สถานศึกษาให้ดีขึ้นไป
พร้ อ มกั น ด้ ว ย เป็ น ลั ก ษณะที่ ส ถาบั น ผลิ ต ครู ข ยายโรงเรี ย นส าหรั บ ฝึ ก หั ดครู ดั ง ตั ว อย่ า งโรงเรี ย นสาธิ ต หรื อ
Professional Development School (PDS) ช่วยส่งนักศึกษาไปฝึกสอนและทาเป็น lab school ซึ่งจะเป็นการ
พัฒนาทั้งสถานศึกษาและสถาบันผลิตครูไปพร้อมกัน
บทที่ 5
ผลการศึกษาการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การใช้ครูอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะ
การใช้ครู ให้ ป ฏิบั ติภ ารกิจ ที่เหมาะสม เพื่อส่ งผลถึงการวางแผนการผลิ ตและการพัฒ นาครูอย่างต่อเนื่อง
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ครูมีขั้นตอนกระบวนการที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันตั้งแต่ การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง
การปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกาลังใจ และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ในผลการศึกษาการใช้ครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานนี้ จึงประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งหัวข้อเป็นดังนี้
5.1 การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.2 การศึกษาความต้องการในการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การใช้ครูอย่างมีประสิทธิภาพมีความสาคัญเพราะเป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อผู้เรียนอย่างรวดเร็ว และ
ยั ง ส่ ง ผลถึ ง การวางแผนการผลิ ต ครู และการพัฒ นาครู ต่อ ไปอี กด้ ว ย การใช้ ค รูใ ห้ เ กิ ด ประสิ ท ธิภ าพและ
ประสิทธิผลนั้น เริ่มต้นตั้งแต่การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง การปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกาลังใจ และการติดตาม
ประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ส าหรั บ ข้า ราชการครู ใ นสั ง กั ดส านัก งานคณะกรรมการการศึก ษาขั้ น พื้น ฐาน ส านั กงานส่ ง เสริ ม
การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ส านั ก งานคณะกรรมการการอาชี ว ศึ ก ษา และ
กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง
เข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในแต่ละสังกัด ซึ่งอาจรวมถึงการบรรจุ แต่งตั้ง โอน หรือย้าย
หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่หลักคือ สานักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) โดยอาศัย
มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติร ะเบีย บข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กาหนดให้
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้ น ที่การศึกษา เป็ น ผู้ ดาเนิ น การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็น
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สาหรับหลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดาเนินการที่เกี่ยวกับการ
สอบแข่งขันได้ในบั ญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น และยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ให้
เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด
ก.ค.ศ.ก าหนดหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารสอบแข่ ง ขั น เพื่ อ บรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลเข้ า รั บ ราชการ
เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยผู้เข้าสอบแข่งขันจะต้องเข้ารับการสอบ 3 ภาค กล่าวคือ
ภาค ก ความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและ
การปฏิบั ติของวิช าชีพครู ด้ว ยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย โดยคานึงถึงระดับความรู้ ความสามารถที่
ต้องการของตาแหน่งตามที่กาหนดไว้ในมาตรฐานตาแหน่ง คะแนนเต็ม 150 คะแนน โดยต้องได้คะแนนไม่ต่า
กว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิสอบภาค ข
188

ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตาแหน่ง คะแนนเต็ม 150 คะแนน แบ่งเป็นความรู้


ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษา 75 คะแนน ให้ทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย และความรู้
ความสามารถเกี่ยวกับวิชาเอก 75 คะแนน ให้สอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนหรื อภาคปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้ใน
เนื้อหากลุ่มวิชาหรือสาขาวิชาเอก ต้องได้คะแนนไม่ต่ากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค
ภาค ค ความเหมาะสมกั บ ต าแหน่ ง และวิ ช าชี พ ให้ ป ระเมิ น โดยการสั ม ภาษณ์ สั ง เกต
ตรวจสอบเอกสาร หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม โดยประเมินจากประวัติส่วนตัวและการศึกษา การประกอบคุณความ
ดี บุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา การมีปฏิภาณไหวพริบ เจตคติและอุดมการณ์ ต้องได้คะแนนไม่ต่ากว่าร้อยละ 60
จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันได้
สาหรั บ โรงเรี ยนเอกชนและโรงเรียนสาธิต จะเปิดรับสมัครและกาหนดเกณฑ์การรับเข้า
ทางานตามนโยบายของแต่ละโรงเรียน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับการดูแลในเรื่องความก้าวหน้าในการทางานอย่าง
เป็นระบบ หน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในเรื่องนี้คือ สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ
และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ในราชกิจจานุเบกษา
ให้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และ
เงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 นั้น ไม่มีความเหมาะสมเป็นธรรม และ
มีความแตกต่างระหว่างรายได้กับข้าราชการประเภทอื่น ทั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอาชีพ
ที่ต้องทาภาระหน้าที่ในการพัฒ นาคน ซึ่งคนคือทรัพยากรที่สาคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหา
สังคม ดังนั้นเพื่อให้การรับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและสอดคล้องกับภาระหน้ าที่อันจะทาให้การบริหารงานบุคคลของ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ โดยกาหนดอัตราเงินเดือน ดังนี้
189

ตารางที่ 5.1 บัญชีเงินเดือนขั้นต่าขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพ


แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุ คลากรทางการ
ศึกษา (ฉบับ 2) พ.ศ.2554
ขั้น บาท บาท บาท บาท บาท บาท
ขั้นสูง 16,840 29,700 36,020 50,550 59,770 66,480
ขั้นต่่า 8,700 11,930 15,410 18,910 23,230 28,550
ขั้นต่่าชั่วคราว 7,940 8,130 12,530 12,530 - -
อันดับ ครูผู้ช่วย คศ.1 คศ.2 คศ.3 คศ.4 คศ.5
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ออนไลน์

ตารางที่ 5.2 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษาแนบท้ายพระราชบัญญัติ


เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2554 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งครูที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
วิทยฐานะ อัตรา (บาท/เดือน)
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ 15,600
13,000
ครูเชี่ยวชาญ 9,900
ครูชานาญการพิเศษ 5,600
ครูชานาญการ 3,500
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ออนไลน์

ตารางที่ 5.3 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ


วิทยฐานะ อัตรา (บาท/เดือน)
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ 15,600
13,000
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 9,900
ศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ 5,600
ศึกษานิเทศก์ชานาญการ 3,500
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ออนไลน์
190

ตารางที่ 5.4 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ


วิทยฐานะ อัตรา (บาท/เดือน)
ผู้อานวยการเชี่ยวชาญพิเศษ 15,600
13,000
ผู้อานวยการเชี่ยวชาญ 9,900
ผู้อานวยการชานาญการพิเศษ 5,600
ผู้อานวยการชานาญการ 3,500
รองผู้อานวยการเชี่ยวชาญ 9,900
รองผู้อานวยการชานาญการพิเศษ 5,600
รองผู้อานวยการชานาญการ 3,500
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ออนไลน์

ตารางที่ 5.5 บัญชีอัตราเงินวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด


วิทยฐานะ อัตรา (บาท/เดือน)
เชี่ยวชาญพิเศษ 15,600
13,000
เชี่ยวชาญ 9,900
ชานาญการพิเศษ 5,600
ชานาญการ 3,500

ที่มา: สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ออนไลน์


หมายเหตุ: ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาแหน่งที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษผู้ใดได้รับเงินเดือน
สูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของเงินเดือนอันดับ คศ.4 แล้ว ให้ได้รับเงินวิทยฐานะในอัตรา 15,600 บาท/เดือน
การเลื่อนวิทยฐานะครูต้องคานึงถึงคุณสมบัติโดยดารงตาแหน่งตามเกณฑ์ที่กาหนด มีภาระงานขั้นต่า
ตามที่ กคศ. กาหนด ปฏิบัติหน้าที่พัฒนาผู้เรียนย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน โดยมีเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ
- การปฏิบัติงานตามหน้าที่
- การพัฒนาตนเอง
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน
- การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- ผลงานทางวิชาการ
191

หน่ ว ยงานที่ มี บ ทบาทหน้ า ที่ ใ นเรื่ อ งสวั ส ดิ ก ารครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา คื อ ส านั ก งาน
คณะกรรมการการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุ คลากรทางการศึกษา (สกสค.) มีวิสัยทัศน์ในการ
เป็นองค์กรชั้นนาในการจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพอย่างทั่วถึง เพื่อคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มียุทธศาสตร์ในการดาเนินงาน ได้แก่ 1) พัฒนารูปแบบการจัด
สวัสดิการ สวัสดิภาพ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง 2)เสริมสร้างความมั่นคงและ
คุณภาพชีวิต 3) ส่งเสริมและสร้างความสามัคคี ผดุงเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา และการดารงตนอยู่
ในสังคมได้อย่างมีความสุข 4) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยที่สามารถนาไปใช้ในการพัฒนาคุ ณภาพ
การจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น 5) ผลิต พัฒนาสื่อทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้
มาตรฐาน และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ 6) พัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทางานขององค์กร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่ าจะเป็น การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วย
เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) กองทุนและมูลนิธิต่างๆ รวมทั้งโครงการสนับสนุนอื่น อาทิ การอุปสมบท
การศึกษาต่อ เป็นต้น (สานักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา: ออนไลน์)
จากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การประชุมสนทนากลุ่ม และการทาวงล้ออนาคต สามารถสรุป
ผลการวิจัยในเรื่องการใช้ครู มีรายละเอียดดังนี้
5.1 การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เมื่อวัน ที่ 31 ธันวาคม 2557 คุรุสภาได้ทาการส ารวจจานวนใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ประกอบด้วยครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ รวมทั้งสิ้น 874,177 ใบ แบ่งเป็น
สังกัด สพฐ.จานวน 419,387 ใบ สังกัด สอศ. 21,841 ใบ สังกัด กศน. 10,272 ใบ สังกัด สช. 58,860 ใบ
สังกัด สกอ. 1,498 ใบ สังกัด อปท. 30,579 ใบ สังกัด กทม. 13,270 ใบ สังกัดอื่นๆ และผู้ได้รับใบประกอบ
วิชาชีพแต่ยังมิได้สังกัดหน่วยงานใด อีก 298,470 ใบ ทั้งนี้ จานวนที่กล่าวมาคือจานวนใบอนุญาตที่คุรุสภาได้
อนุมัติให้กับบุคคลที่มีคุณสมบัติตามแต่ละประเภทครบถ้วน ซึ่งบางคนอาจมีใบอนุญาตทางการศึกษามากกว่า
1 ใบ
นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงผู้รับใบประกอบวิชาชีพครูมีจานวนทั้งสิ้น 769,145 คน แบ่งตามแต่ละ
สังกัด ดังนี้ สังกัด สพฐ. 360,204 คน สังกัด สอศ. 19,530 คน สังกัด กศน. 8,900 คน สังกัด สช. 54,171 คน
สังกัด สกอ. 1,467 คน สังกัด อปท. 26,172 คน สั งกัด กทม. 11,266 คน สังกัดอื่นๆและผู้ได้รับใบประกอบ
วิชาชีพแต่ยังมิได้สังกัดหน่วยงานใด 287,546 คน นอกจากนี้ ยังมีสถิติจานวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ตามเอกสารสถิติการศึกษาฉบับย่อ 2556 (สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557) ดังนี้
192

ตารางที่ 5.6 จานวนผู้ประกอบวิชาชีพ “ครู” จาแนกตามสังกัด และคุณวุฒิระดับปริญญา


ปริญญาทางการศึกษา ปริญญาอื่น ไม่ระบุ
ต่ากว่า
หน่วยงาน ป. วุฒิ รวม
ป.ตรี ป.ตรี ป.โท ป.เอก ป.ตรี ป.โท ป.เอก
บัณฑิต การศึกษา
สพฐ. 5,726 257,752 3,796 39,825 128 32,403 3,128 90 17,356 360,204
สอศ. 827 7,495 858 2,954 20 4,485 975 28 1,888 19,530
กศน. 206 5,217 341 361 0 2,016 49 0 710 8,900
สช. 3,513 33,938 1,400 2,588 32 8,176 450 18 4,056 54,171
สกอ. 23 730 38 265 0 170 119 2 120 1,467
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 6 51 2 18 1 19 23 3 8 131
สานักการศึกษา กทม. 112 7,948 153 1,308 1 915 122 2 705 11,266
อปท. 387 18,096 447 2,692 7 2,806 212 2 1,523 26,172
สวถาบันพลศึกษา 5 160 5 78 1 65 16 0 15 345
สานักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ 28 796 27 38 0 100 7 0 93 1,089
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 9 472 2 159 1 70 70 4 31 818
สานักงานการศึกษาพิเศษ 88 2,444 89 446 2 562 14 0 318 3,963
ผู้ได้รับใบอนุญาตที่มิได้
ประกอบวิชาชีพตาม
ประเภทใบอนุญาตที่ได้รับ 2,833 161,687 60,048 12,818 93 32,353 922 35 10,300 281,089
รวมทั้งสิ้น 13,763 496,786 67,206 63,550 286 84,140 6,107 184 37,123 769,145
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557
193

ตารางที่ 5.7 จานวนผู้ขออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ “ครู” โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จาแนกตาม


สังกัด และคุณวุฒิระดับปริญญา
ปริญญาทางการศึกษา ปริญญาอื่น ไม่ระบุ
ต่ากว่า
หน่วยงาน ป. วุฒิ รวม
ป.ตรี ป.ตรี ป.โท ป.เอก ป.ตรี ป.โท ป.เอก
บัณฑิต การศึกษา
สพฐ. 136 2,135 4 172 0 15,792 130 2 9,507 27,878
สอศ. 14 530 4 27 0 1,990 40 0 293 2,898
กศน. 6 431 0 27 0 3,914 36 0 321 4,735
สช. 279 3,375 22 444 12 20,990 385 10 11,150 36,667
สกอ. 1 19 0 8 1 121 17 0 251 418
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 0 0 0 1 0 1 6 0 0 8
สานักการศึกษา กทม. 0 3 0 1 0 10 0 0 275 289
อปท. 20 216 0 22 0 857 8 0 556 1,679
สถาบันพลศึกษา 0 1 0 1 0 35 0 0 1 38
สานักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ 1 135 0 16 0 252 9 0 7 420
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 0 1 0 1 0 23 0 0 2 27
สานักงานการศึกษาพิเศษ 1 32 0 1 0 335 6 0 22 397
ผู้ได้รับใบอนุญาตที่มิได้
ประกอบวิชาชีพตามประเภท
ใบอนุญาตที่ได้รับ 0 3 0 0 0 8 0 0 14 25
รวมทั้งสิ้น 458 6,881 30 721 13 44,328 637 12 22,399 75,479
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557
194

ตารางที่ 5.8 จานวนผู้ประกอบวิชาชีพ “ครู” จาแนกตามสังกัดและช่วงอายุ


ช่วงอายุของผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ปี)
หน่วยงาน รวม
20-30 31-40 41-50 51-60 มากกว่า 60
สพฐ. 7,585 95,747 79,237 177,635 0 360,204
สอศ. 375 7,859 4,714 6,582 0 19,530
กศน. 100 4,070 3,119 1,611 0 8,900
สช. 1,161 20,749 15,389 14,431 2,441 54,171
สกอ. 51 963 291 162 0 1,467
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 2 74 36 19 0 131
สานักการศึกษา กทม. 199 5,135 2,560 3,372 0 11,266
อปท. 510 11,575 7,128 6,959 0 26,172
สถาบันพลศึกษา 9 188 93 55 0 345
สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 11 495 364 219 0 1,089
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 9 174 312 323 0 818
สานักงานการศึกษาพิเศษ 225 2,016 990 732 0 3,963
ผู้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญ าตที่ มิ ไ ด้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ตาม
ประเภทใบอนุญาตที่ได้รับ 122,126 103,064 31,146 19,787 4,966 281,089
รวมทั้งสิ้น 132,363 252,109 145,379 231,887 7,407 769,145
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557

ตารางที่ 5.9 จานวนผู้เรียนในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน จาแนกตามระดับการศึกษา ปีการศึกษา


พ.ศ.2556
จ่านวนผู้เรียน (คน)
ระดับการศึกษา
รวม ในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน
รวมทั้งสิ้น 16,257,373 13,606,743 2,650,530
ก่อนประถมศึกษา 2,715,658 1,749,196 966,462
ประถมศึกษา 5,096,611 4,905,460 191,151
มัธยมศึกษา 6,028,525 4,535,508 1,493,017
มัธยมศึกษาตอนต้น 3,014,083 2,391,390 622,693
มัธยมศึกษาตอนปลาย 3,014,442 2,144,118 870,324
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557
195

ตารางที่ 5.10 จานวนนักเรียนในระบบโรงเรียน จาแนกตามระดับการศึกษา ประเภทการศึก ษาและชั้นเรียน


ปีการศึกษา พ.ศ.2556
หน่วย : คน
ประเภท ประเภท ประเภท
ระดับการศึกษา/ประเภทการศึกษา/ชั้น รวม
สามัญศึกษา อาชีวศึกษา สาขาอื่น
รวมก่อนประถมศึกษา 1,749,196 1,749,196 - -
อนุบาล 1 (หลักสูตร 3 ปี ของสช.) 246,614 246,614 - -
อนุบาล 2 (สช.) /อนุบาล 1 738,693 738,693 - -
อนุบาล 3 (สช.) /อนุบาล 2 757,973 757,973 - -
เด็กเล็ก 5,916 5,916 - -
รวมประถมศึกษา 4,905,460 4,905,460 - -
ประถมศึกษาปีที่ 1 843,248 843,248 - -
ประถมศึกษาปีที่ 2 822,533 822,533 - -
ประถมศึกษาปีที่ 3 826,789 826,789 - -
ประถมศึกษาปีที่ 4 806,419 806,419 - -
ประถมศึกษาปีที่ 5 809,768 809,768 - -
ประถมศึกษาปีที่ 6 796,703 796,703 - -
รวมมัธยมศึกษา 4,535,508 3,831,788 701,186 2,534
มัธยมศึกษาตอนต้น 2,391,390 2,391,390 - -
มัธยมศึกษาปีที่ 1 813,304 813,304 - -
มัธยมศึกษาปีที่ 2 795,877 795,877 - -
มัธยมศึกษาปีที่ 3 782,209 782,209 - -
มัธยมศึกษาตอนปลาย 2,144,118 1,440,398 701,186 2,534
มัธยมศึกษาปีที่ 4/ ปวช.1 756,917 506,885 249,150 882
มัธยมศึกษาปีที่ 5/ ปวช.2 699,004 483,097 215,072 835
มัธยมศึกษาปีที่ 6/ ปวช.3 688,197 450,416 236,964 817
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557
196

ตารางที่ 5.11 จานวนผู้เรียนที่ได้รับการศึกษาประเภทในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน จาแนกตาม


สังกัด และระดับการศึกษา ปีการศึกษา พ.ศ.2556
หน่วย : คน
มัธยมศึกษา
ก่อนประถม ประถม มัธยมศึกษาตอนปลาย
สังกัด รวมทั้งสิ้น มัธยมศึกษา
ศึกษา ศึกษา สามัญ อาชีวศึกษา
ตอนต้น
ศึกษา /อื่นๆ
ภาพรวมระดับประเทศ (ในระบบ) 13,606,743 1,749,196 4,905,460 2,391,390 1,440,398 703,720
กระทรวงศึกษาธิการ 12,482,248 1,547,680 4,384,694 2,153,299 1,337,411 ,691,571
1. สานักงานปลัดกระทรวง: 2,459,927 621,156 1,039,063 311,141 166,924 237,531
สานักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การศึกษาเอกชน
2. สานักงานคณะกรรมการ 7,243,713 921,489 3,329,922 1,829,744 1,158,468 4,090
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. สานักงานคณะกรรมการการ 653,788 - - - - 443,395
อาชีวศึกษา
4. สานักงานคณะกรรมการการ 2,12,101 5,035 15,709 12,414 11,300 6,555
อุดมศึกษา
5. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 719 - - - 719 -
ส่วนราชการอื่น 1,124,495 201,516 520,766 238,091 102,987 12,149
6. กระทรวงมหาดไทย :กรมส่งเสริม 677,472 142,275 287,653 162,886 81,929 2,411
ปกครองส่วนท้องถิ่น
7. กระทรวงพัฒนาสังคมและความ 394 64 268 62 - -
มั่นคงของมนุษย์: กรมพัฒนาสังคม
และสวัสดิการ
8. กรุงเทพมหานคร : 307,323 53,061 216,770 33,213 2,992 -
8.1 สานักการศึกษา 306,036 53,061 216,770 33,213 2,992
กรุงเทพมหานคร
8.2 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 1,287 - - - -
9. กระทรวงสาธารณสุข : สานักงาน 18,453 - - - - -
ปลัดกระทรวง : สถาบันพระบรม
ราชชนก
10. กระทรวงคมนาคม : 2,581 - - - - -
10.1 ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี 931
10.2 สถาบันการบินพลเรือน 1,650
11. กระทรวงกลาโหม 7,999 - - - - 4,691
12. กระทรวงวัฒนธรรม 12,411 - - 3,833 5,047
13. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 22,677 - 22 1,987 2,077 -
14. สานักงานพระพุทธศาสนา 51,173 - - 35440 15,733 -
197

มัธยมศึกษา
ก่อนประถม ประถม มัธยมศึกษาตอนปลาย
สังกัด รวมทั้งสิ้น มัธยมศึกษา
ศึกษา ศึกษา สามัญ อาชีวศึกษา
ตอนต้น
ศึกษา /อื่นๆ
แห่งชาติ
15. องค์กรในกากับขึ้นตรง 24,012 5,916 16,053 670 256 -
นายกรัฐมนตรี : สานักงานตารวจ
แห่งชาติ
15.1 กองบัญชาการ ตารวจ 22,895 5,916 16,053 670 256
ตระเวนชายแดน
15.2 โรงเรียนนายร้อยตารวจ 1,117 - - - -
ภาพรวมระดับประเทศ (ในระบบ 15,290,911 1,749,196 5,096,611 3,014,083 2,279,108 735,335
และนอกระบบ)
ภาพรวมระดับ 14,166,416 1,547,680 4,575,845 2,775,992 2,176,121 723,185
กระทรวงศึกษาธิการ (ในและนอก
ระบบ)
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอก 1,684,168 - 191,151 622,293 838,710 31,614
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.)*
หมายเหตุ : * จานวนผู้เรียนนับรวม 2 ภาคเรียนแบบนับซ้า
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557

นอกจากนี้ จะสามารถแสดงจานวนห้องเรียน ครู และนักเรียน ได้ตามสังกัดต่างๆ ดังนี้

1) ส่านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในปีการศึกษา พ.ศ. 2556 ได้สารวจจานวนห้องเรียนและนักเรียนของหน่วยงานที่สังกัดไว้
ดังนี้
198

ตารางที่ 5.12 จานวนห้องเรียนและนักเรียนของหน่วยงานที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษา


ขั้นพื้นฐาน
ระดับชั้น ห้องเรียน รวม ชาย หญิง
(ห้อง) (คน) (คน) (คน)
ระดับก่อนประถมศึกษา
1. ประเภทสามัญศึกษา 60,057 920,371 476,828 443,543
2. ประเภทการศึกษาพิเศษ 110 820 540 280
3. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ 16 298 161 137
รวม 60,183 921,489 477,529 443,960
ระดับประถมศึกษา
4. ประเภทสามัญศึกษา 193,200 3,314,893 1,72,008 1,589,885
5. ประเภทการศึกษาพิเศษ 570 5,821 3,607 2,214
6. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ 367 9,208 5,009 4,199
รวม 194,137 3,329,922 1,7363,624 1,596,298
ระดับมัธยมศึกษา
7. ประเภทสามัญศึกษา 90,347 2,955,693 1,360,570 1,595,123
8. ประเภทการศึกษาพิเศษ 715 6,294 3,669 2,625
9. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ 920 26,225 10,844 156,381
รวม 91,982 2,988,212 1,975,083 1,613,129
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557

อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2557 ได้มีการสารวจจานวนนักเรียนในภาพรวม แต่มิได้แยกเป็นระดับชั้น


โดยระบบสารสนเทศทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวคือ มีจานวนนักเรี ยนก่อนระดับประถมศึกษา
จ านวน 900,666 คน ระดั บ ประถมศึ ก ษา 3,291,578 คน มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น 1,789,585 คน และ
มัธยมศึกษาตอนปลาย 1,128,815 คน
2) ส่านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีหน่วยงานด้า นการศึกษา
จานวน 77 แห่ง อีกทั้งสถานศึกษาสังกัดสานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. มากถึง 927 แห่ง และมีสถานศึกษาที่
ขึ้นตรงจานวน 35 แห่ง นอกจากสถานศึกษาข้างต้นแล้ว ยังประกอบไปด้วย กศน. ตาบล/แขวง ที่ประกาศ
จัดตั้งแล้ว จ านวนทั้งสิ้ น 7,403 แห่ ง และมีศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) จานวน 1,340 แห่ ง ส่ว นส านัก
บริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ลักษณะครูมี 4 รูปแบบ ได้แก่ ครู กศน.ตาบล ครูอาสาสมัคร
การศึกษานอกโรงเรียน ครูปอเนาะ และครู ศรช. ข้อมูลจากสานักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ มีครู กศน.
199

ทุกรูปแบบ จานวน 13,021 อัตรา โดย พบว่ามีการใช้ครู กศน. ตาบลที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลเมื่อปี 2556 มีครู
กศน. ตาบล จานวน 8,445 อัตรา และในปี 2557 มีครู กศน. ตาบล จานวน 8,710 อัตรา ในขณะที่ความดูแล
ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ พบว่า ในกลุ่มของประชาชนทั่วไปได้รับการบริการด้านการศึกษาอย่างครอบคลุมทั่วถึง
คิดเป็นร้อยละ 93.21 ของเป้าหมายตามแผนที่ได้กาหนดไว้แต่ในขณะที่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสนั้นยังได้รับการ
บริการที่ไม่ครอบคลุมเพียงพอคิดเข้าร่วมกิจกรรมเพียงร้อยละ73.07ของเป้าหมายตามแผนที่กาหนดไว้ เมื่อ
พิจารณารายกิจกรรม/รายประเภทของกิจกรรมการศึกษา พบว่า การศึกษา/การเรีย นรู้ที่บริการครอบคลุม
และทั่วถึงประชาชนทั้งหมดมากที่สุดคือ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 97.24 ซึ่งสอดคล้องกับ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ระบุว่า การ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตาม
ทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) รองลงมาคือ การศึกษา
ขั้นพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 96.22 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน คิดเป็นร้อยละ 93.92 การศึกษาเพื่อ
พัฒนาทักษะชีวิต คิดเป็นร้อยละ 78.83 การส่งเสริมการรู้หนังสือ คิดเป็นร้อยละ 71.65 และการศึกษา/การ
เรียนรู้ที่บริการครอบคลุมและทั่วถึงประชาชนทั้งหมดน้อยที่สุด ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 62.72 นอกจากนั้นยังจัดการศึกษาให้แก่ชาวไทยภูเขาในศูนย์ การ
เรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) อีกจานวน 1,190 แห่ง ทั้งในพื้นที่ทรงงานและพื้นที่ปกติ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีหน่วยงานในสังกัดที่
จัดการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนมาถึง 10,895 แห่ง (สานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย, 2554) นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการสารวจข้อมูลเกี่ยวกับครูและนักเรียนของการศึกษานอก
ระบบโรงเรียนไว้ ดังนี้
200

ตารางที่ 5.13 จานวนสถานศึกษา ครู/คณาจารย์และนักศึกษา นอกระบบโรงเรียน จาแนกตามสังกัดใน


กรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2556
โรงเรียน/สถานศึกษา* ครู/คณาจารย์/ผูส้ อน นักศึกษา/ผู้รบั บริการหลักสูตรระยะสั้น (สกอ.)
สังกัด (แห่ง) (คน) (คน)
รวม กทม. ภูมิภาค รวม กทม. ภูมิภาค รวม กทม. ภูมิภาค
รวมทั้งหมด 6,873 1,871 5,002 25,036 9,871 15,165 2,075,754 463,090, 1,612,664
กระทรวงศึกษาธิการ 6,863 1,861 5,002 24,932 9,767 15,165 2,072,167 459,503 1,612,664
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา 5,754 1,820 3,934 24,373 9,767 14,606 885,479 403,105 482,374
เอกชน) : สช.**
1.1 สอนศาสนา 186 76 110 421 275 146 11,141 5,052 6,089
1.2 ศิลปะและกีฬา 562 248 314 2,836 1,625 1,211 44,686 16,074 28,601
1.3 วิชาชีพ 1,624 910 1,714 7,001 3,348 3,653 291,927 172,101 119,826
1.4 กวดวิชา 2,342 656 1,777 14,009 4,489 9,520 535,695 209,350 326,345
1.5 เสริมสร้างทักษะชีวิต 40 21 19 106 30 76 2,030 517 1,513
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (การศึกษาหลักสูตรพิเศษ) 1,089 41 1,048 - - - 1,161,962 56,398 1,105,564
2.1 หลักสูตรระยะสั้นหลากหลาย - 11 290 - - - 597,141 39,259 557,882
2.2 หลักสูตรเสริมวิชาชีพแกนมัธยม/แกนประถม 183 8 175 - - - 141,265 3,845 137,420
2.3 หลักสูตร 225 ชั่วโมง 27 1 26 - - - 7,215 40 7,175
2.4 หลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรกรรมระยะส้น 35 - 35 - - - 11,895 - 11,895
2.5 หลักสูตรร่วมกับโรงเรียน ตชด. 44 - 44 - - - 7,885 - 7,885
2.6 หลักสูตร 108 อาชีพและฝึกอบรมสาหรับประชาชนทั่วไป 262 10 252 - - - 276,686 8,855 267,831
2.7 หลักสูตรระยะสั้น 9+1/12+1*** - 1 23 - - - 6,773 950 5,823
2.8 หลักสูตรระยะสั้นร่วมกับหน่วยงานอื่น 119 3 116 - - - 70,033 1,250 68,763
2.9 หลักสูตรระยะสั้น ประชาชนตามแนวชายแดน (ปชด.) 8 - 8 - - - 1,150 - 1,150
2.10 หลักสูตรพิเศษอื่นๆ 69 4 65 - - - 40,595 1,839 38,756
2.11 ศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษา 17 3 14 - - - 1,324 360 964
3. สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา : วิทยาลัยชุมชน (หลักสูตรระยะสั้น) 20 - 20 559 - 559 24,726 - 24,726
ส่วนราชการอื่น 10 10 - 104 104 - 3,587 3,587 -
4. กรุงเทพมหานคร
สานักพัฒนาสังคม : โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร **** 10 10 - 104 104 - 3,587 3,587 -
4.1 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1) 1 1 - 12 12 - 313 313 -
4.2 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 2) 1 1 - 12 12 - 304 304 -
4.3 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บางรัก) 1 1 - 7 7 - 328 328 -
4.4 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บ่อนไก่) 1 1 - 12 12 - 246 246 -
4.5 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (อาทร สังขะ วัฒนะ) 1 1 - 15 15 - 614 614 -
4.6 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หลวงพ่อทวีศักดิ์) 1 1 - 13 13 - 520 520 -
4.7 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (คลองเตย) 1 1 - 10 10 - 256 256 -
4.8 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ม้วน บารุงศิลป์) 1 1 - 7 7 - 331 331 -
4.9 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หนองจอก) 1 1 - 8 8 - 310 310 -
4.10 ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (กาญจนสิงหาสน์) 1 1 - 8 8 - 365 365 -
* สถานศึกษา 1 แห่งสอนหลายหลักสูตร
** สถานศึกษาของ สช.ปรับข้อมูลตาม พ.ร.บ. 2554 มี 5 ประเภท
***จัดให้สาหรับนักเรียนซึ่งออกกลางคันในชั้น ม.3 และ ม.6
**** โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครแบ่งการเรียนการสอนตามปีการศึกษา ใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 รุ่น
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2556
3) ส่านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
โรงเรี ย นสาธิ ต เป็ น โรงเรี ย นที่ จั ด ตั้ ง ขึ้ น ภายใต้ ก ารดู แ ลของคณะศึ ก ษาศาสตร์ ห รื อ
คณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานทางการศึกษา โดยสังกัด
มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐ ในกากับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชมงคล และมหาวิทยาลัยเอกชน
รวมทั้งสิ้น 57 แห่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 15 แห่ง อยู่ในภูมิภาค 42 แห่ง มีครู/คณาจารย์/ผู้สอนรวมทั้งสิ้น
2,127 คน แบ่งเป็นโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร 1,164 คน และส่วนภูมิภาค 963 คน มีจานวนนักเรียนใน
ระดับชั้นต่างๆ ดังนี้
201

ตารางที่ 5.14 จานวนนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา : โรงเรียนสาธิต


มหาวิทยาลัย
ระดับชั้น ห้องเรียน รวม ชาย หญิง
(ห้อง) (คน) (คน) (คน)
ก่อนประถมศึกษา 174 5,035 2,563 2,472
ประถมศึกษา 564 15,709 8,195 7,514
มัธยมศึกษาตอนต้น 372 12,414 6,015 6,399
มัธยมศึกษาตอนปลาย 338 11,300 5,271 6,029
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2556

4) ส่านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สาหรั บ การศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ. 2555 พบว่ามีสถานศึกษาเอกชนในสั งกัดสานักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทั้งสิ้นจานวน 11,971 โรง/แห่ง นักเรียน 3,591,155 คน ครู 160,307
คน จ าแนกเป็ น 1) โรงเรี ย นในระบบ จ านวน 4,270 โรง นั ก เรี ย น 2,554,072 คน ครู 129,679 คน
ประกอบด้วยโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา จานวน 458 โรง นักเรียน 346,142 คน ครู 16,318 คน และ
ประเภทนานาชาติ จ านวน 138 โรง นั ก เรี ย น 35,436 คน ครู 5,956 คน และ2) โรงเรี ย นนอกระบบ
ประกอบด้วยหลักสูตรระยะสั้น จานวน 5,221 โรง นักเรียน 782,517 คน ครู 21,482 คน สถาบันศึกษา
ปอเนาะ จานวน 420 แห่ง นักเรียน 38,612 คน ครู 1,319 คน และศูนย์การศึกษาอิสลามประจามัสยิด (ตาดี
กา) จานวน 2,060 แห่ง นักเรียน 215,954 คน ครู 7,827 คน มีรายละเอียดดังนี้
202

ตารางที่ 5.15 จานวนโรงเรียน นักเรียน และครูในสังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน


ประเภท โรงเรียน นักเรียน ครู
(แห่ง) (คน) (คน)
1. โรงเรียนในระบบ 4,270 2,554,072 129,679
1.1 ประเภทสามัญศึกษา 3,709 2,172,494 107,405
1.2 ประเภทอาชีวศึกษา 458 346,142 16,318
1.3 ประเภทนานาชาติ 138 35,436 5,956
2. โรงเรียนนอกระบบ 7,701 1,037,083 30,628
2.1 หลักสูตรระยะสั้น 5,221 782,517 21,482
- สอนศาสนา 194 11,594 279
- ศิลปะและกีฬา 503 39,941 2,544
- วิชาชีพ 2,475 274,477 6,592
- กวดวิชา 2,005 453,881 11,932
- สร้างเสริมทักษะชีวิต 44 2,624 135
2.2 สถาบันศึกษาปอเนาะ 402 38,612 1,319
2.3 ศูนย์การศึกษาอิสลามประจามัสยิด 2,060 215,954 7,827
(ตาดีกา)
รวม 11,971 3,591,155 160,307
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ออนไลน์

5) ส่านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สาหรับการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษานั้น มีภาวะขาดแคลนครูผู้สอนเช่นกัน โดยส่งผล
อย่ างมากต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากอาชีว ศึกษาเป็นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการ
กาลังคนและแรงงานตามนโยบายของรัฐบาล ใน 2 ทางคือ 1) ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2) ตอบสนองความต้องการของ
ชุมชนในการประกอบอาชีพอิสระ ในด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น เป็นการจัด
การศึกษาให้กับผู้ที่พลาดโอกาสในการศึกษาแบบปกติและผู้ที่มีความสนใจเรียนรู้ตามความต้องการและความ
จาเป็น ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยเฉพาะในศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอาเภอ (ศบอ.) หรือแม้กระทั่ง
การศึกษาเอกชน ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนเงินอุดหนุนและการพัฒนาครูเอกชน ได้ประสบปัญหาการขาดแคลนครู
ในหลายสาขาด้วยกัน
สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีสถานศึกษาในสังกั ด 421 แห่งทั่วประเทศ
เพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ โดยจัดการเรียนการสอน 9 ประเภทวิชา มีสาขาวิชา
ให้เลือกเรียนมากกว่า 350 สาขาวิชา ทั้งนี้ ด้านการบริหารจัดการมีศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาประจา
203

ภาค 5 ภาค ทาหน้าที่ส่ งเสริ มการพัฒนางานทางด้านวิชาการ และอาชีวศึกษาจังหวัด 77 แห่ ง และ


อาชีวศึกษาภาค 5 ภาค ทาหน้าที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการกลุ่มสถานศึกษาในระดับจังหวัด
จานวนสถานศึกษา (สานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา, ออนไลน์)
1. วิทยาลัยเทคนิค 114 แห่ง
2. วิทยาลัยการอาชีพ 142 แห่ง
3. วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว 3 แห่ง
4. วิทยาลัยพณิชยการ 5 แห่ง
5. วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม 2 แห่ง
6. วิทยาลัยสารพัดช่าง 52 แห่ง
7. วิทยาลัยอาชีวศึกษา 39 แห่ง
8. วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ 13 แห่ง
9. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 43 แห่ง
10. กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง 1 แห่ง
11. วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ 3 แห่ง
12. วิทยาลัยประมง 4 แห่ง
13. สถาบันการอาชีวศึกษา 19* + 4** แห่ง
สถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง จัดตั้งขึ้นโดยรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา 161 แห่ง จาก 19 กลุ่ม
จังหวัด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 มี 10 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 มี 7
สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 มี 10 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 มี 9
สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 มี 7 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 มี 11
สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 มี 7 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 มี 9
สถานศึ ก ษา สถาบั น การอาชี ว ศึ ก ษาภาคตะวั น ออก มี 9 สถานศึ ก ษาสถาบั น การอาชี ว ศึ ก ษาภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1 มี 10 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 มี 4
สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 มี 9 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 4 มี 7 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 มี 9 สถานศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 มี 7 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 มี 9 สถานศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 มี 8 สถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 มี 6 สถานศึกษา
และสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครมี 13 สถานศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 แห่ง จัดตั้งขึ้นโดยรวมสถานศึกษาเกษตรและประมงในแต่
ละภูมิภาค 41 สถานศึกษา ภาคเหนือ 9 สถานศึกษา ภาคกลาง 10 สถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10
สถานศึกษา และภาคใต้ 12 สถานศึกษา
204

ประเภทวิชาที่เปิดสอน
1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
2. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
3. ประเภทวิชาศิลปกรรม
4. ประเภทวิชาคหกรรม
5. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
6. ประเภทวิชาประมง
7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ประเภทวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
2. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
4. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
5. ประเภทวิชาศิลปกรรม
6. ประเภทวิชาคหกรรม
7. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
8. ประเภทวิชาประมง
ระดับหลักสูตรที่เปิดสอน
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เป็นหลักสู ตรที่รับผู้ส าเร็จการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อผลิตและพัฒนากาลังคนระดับฝีมือให้มีความชานาญเฉพาะด้าน
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็ นหลักสูตรที่รับผู้สาเร็จการศึกษาระดับ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ เพื่อผลิตและพัฒนา
กาลังคนระดับผู้ชานาญการเฉพาะสาขาอาชีพ
3. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) เป็นหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรีที่รับ
ผู้สาเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตครูวิชาชีพ
4. หลั กสู ตรปริ ญญาตรีส ายเทคโนโลยีห รือสายปฏิบัติการ เป็นหลั กสู ตรที่รับผู้ ส าเร็จ
การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้าศึกษาต่อเนื่อง และจบการศึกษาภายใน 2 ปี
5. หลักสูตรพัฒนาอาชีพเฉพาะทาง เป็นหลักสูตรจัดรองรับผู้มีพื้นความรู้ทุกระดับการศึกษา
มีระยะเวลาในการเรี ยน 6-225 ชั่วโมง และหลักสู ตร 108 อาชีพ เปิดการสอนตามวาระโอกาสต่างๆ
มีระยะเวลาในการเรียน 1-4 ชั่วโมง
205

ในปี การศึกษา 2555 จ านวนนักเรียนในสั งกัด ส านัก งานคณะกรรมการการอาชี ว ศึกษา


มีจานวนทั้งสิ้น 1,783,961 คน จาแนกตามระดับที่เปิดสอน ดังนี้
ตารางที่ 5.16 จานวนนักเรียน-นักศึกษา ปีการศึกษา 2555
จ่านวนนักเรียน-นักศึกษา ปีการศึกษา 2555
ล่าดับ ระดับการศึกษา จ่านวน (คน)
1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 256,109
2 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 204,792
3 ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) เทียบเท่าปริญญาตรี 425
4 หลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรนอกระบบอื่น 1,122,635
รวมทั้งสิน 1,783,961
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีและกาลังคนอาชีวศึกษา, ออนไลน์
หมายเหตุ * จานวนนักเรียน-นักศึกษาที่เบิกจ่ายงบประมาณในปี พ.ศ.2555 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
(2/2554) และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (1/2555)

ในปี 2556 มีการจาแนกจานวนนักเรียน ตามหลักสูตรและแต่ละสังกัด ดังตารางต่อไปนี้


ตารางที่ 5.17 จานวนนักเรียน นักศึกษาประเภทอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการใน
ระบบโรงเรียน จาแนกตามหลักสูตร ประเภทวิชาสังกัดและชั้นปีการศึกษา 2556 (เฉพาะระดับ ปวช.)
รวมทั้งสิ้น (คน)
หลักสูตร/ประเภทวิชา/สังกัดชั้น
รวม ชาย หญิง
รวมทั้งหมด 691,571 402,188 289,383
ก.ช่างอุตสาหกรรม 314,594 289,782 24,812
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ 73,405 70,628 2,777
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
1.1 ประเภทอาชีวศึกษาทั่วไป 73,205 70,432 2,773
1.2 ประเภทอาชีวศึกษากุศล 200 196 4
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 241,189 219,154 22,035
ข. พาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ 300,576 77,817 222,759
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ 153,439 48,476 104,963
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
1.1 ประเภทอาชีวศึกษาทั่วไป 153,169 48,338 104,831
1.2 ประเภทอาชีวศึกษากุศล 270 138 132
206

รวมทั้งสิ้น (คน)
หลักสูตร/ประเภทวิชา/สังกัดชั้น
รวม ชาย หญิง
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 147,137 29,341 117,796
ค. ศิลปหัตถกรรม/ศิลปกรรม 13,862 8,378 5,484
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ 3,276 2,312 964
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน) 10,586 6,066 4,520
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ง. คหกรรม 14,720 4,322 10,398
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ 446 185 261
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
1.1 ประเภทอาชีวศึกษาทั่วไป 388 162 226
1.2 ประเภทอาชีวศึกษากุศล 58 23 35
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 14,274 4,137 10,137
จ. เกษตรกรรม 14,880 10,012 4,868
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ 51 49 2
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
1.1 ประเภทอาชีวศึกษาทั่วไป 42 41 1
1.2 ประเภทอาชีวศึกษากุศล 9 8 1
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 14,829 9,963 4,866
ฉ. ประมง 544 402 142
1. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 544 402 142
ช. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 569 453 116
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ - - -
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน) - - -
1.1 ประเภทอาชีวศึกษาทั่วไป - - -
1.2 ประเภทอาชีวศึกษากุศล - - -
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 569 453 116
ซ. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 20,997 5,188
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน) 6,914 1,858
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 14,093 3,330
ฌ. อุตสาหกรรมสิ่งทอ 184 - 184
1. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานคณะกรรมการ - - -
207

รวมทั้งสิ้น (คน)
หลักสูตร/ประเภทวิชา/สังกัดชั้น
รวม ชาย หญิง
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน)
2. สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 184 - 184
ญ. ส่านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4,090 1,610 2,480
ฎ. ส่านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 6,555 4,224 2,331
1. General Programmes - - -
2. การศึกษา - - -
3. มนุษยศาสตร์และศิลปะ - - -
4. สังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และกฎหมาย 1,241 499 742
5. วิทยาศาสตร์ 1,830 1,522 308
6. วิศวกรรม - - -
7. เกษตรศาสตร์ - - -
8. สุขภาพและสวัสดิการ - - -
9. บริการ - - -
10. มาระบุกลุ่มสาขาวิชา 3,484 2,203 1,281
หมายเหตุ: ข้อมูลของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับ ปวช. ไม่สามารถจาแนกข้อมูล
ออกเป็นหลักสูตร/ประเภทวิชา
บุคลากร ในสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้ วย ข้าราชการพลเรือนใน
ส่วนกลาง ข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา) และข้าราชการครู ข้อมูล ณ วันที่ 26
กันยายน 2555 รายละเอียดดังนี้
2.1 ข้าราชการพลเรือนในส่วนกลาง จานวน 348 คน
2.2 ข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา) จานวน 279 คน
2.3 ข้าราชการครู (คศ.) จานวน 16,828 คน
จานวนบุคลากรในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จานวน 17,455 คน
208

ตารางที่ 5.18 อัตราข้าราชการพลเรือนในส่วนกลางจาแนกตามระดับตาแหน่ง


อัตราข้าราชการพลเรือนในส่วนกลางจ่าแนกตามระดับต่าแหน่ง
ระดับต่าแหน่ง บริหาร อ่านวยการ วิชาการ ทั่วไป รวม
ระดับสูง 4 5 9
เชี่ยวชาญ 3 3
ชานาญการพิเศษ 49 49
ชานาญการ 155 155
ปฏิบัติการ 58 58
อาวุโส 3 3
ปฏิบัติงาน 21 21
ชานาญงาน 60 60
4 5 255 84 348
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2555
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีและกาลังคนอาชีวศึกษา, ออนไลน์

ตารางที่ 5.19 อัตราข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา)


อัตราข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา)
ทั่วไป จ่านวน (คน)
ชานาญงาน 221
ปฏิบัติงาน 58
รวม 279
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2555
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีและกาลังคนอาชีวศึกษา, ออนไลน์
209

ตารางที่ 5.20 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจาแนกตามวิทยฐานะ


หน่วย : คน
จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจาแนกตามวิทยฐานะ
คศ. ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น
ผอ. รอง ผอ. ศึกษานิเทศก์ รวม
สถานศึกษา สถานศึกษา
ครู คศ.1 1,582 - 17 1 18 1,600
ครู คศ.2 8,700 25 526 4 557 9,257
ครู คศ.3 3,463 349 824 44 1,217 4,680
ครู คศ.4 98 38 18 5 41 159
ครู คศ.5 - 3 - - 3 3
ครูผู้ช่วย 1,129 - - - - 1,129
รวม 14,972 415 1,385 56 1,856 16,828
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2555
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีและกาลังคนอาชีวศึกษา, ออนไลน์
นอกเหนื อ จากข้ า ราชการแล้ ว ยั ง มี บุ ค ลากรประเภทอื่ น รวมทั้ ง สิ้ น 42,450 คน
มีรายละเอียดในภาพรวมดังนี้
1) ประเภทข้าราชการผู้บริหารสถานศึกษา 1,690 คน ครูผู้สอน 15,109 คน ก.พ. 257 คน
2) ประเภทลูกจ้างประจาทาหน้าที่สอน 140 คน ทั่วไป 2,601 คน
3) ประเภทพนักงานราชการทาหน้าที่สอน 2,795 คน ทั่วไป 318 คน
4) ประเภทลูกจ้างชั่วคราวทาหน้าที่สอน จ้างด้วยเงินงบประมาณหมวดงบดาเนินงาน 349
คน หมวดงบเงินอุดหนุน 6,562 คน จ้างด้วยเงินรายได้รายเดือน 1,178 คน รายชั่วโมง 162 คน
5) ประเภทลูกจ้างชั่วคราวทาหน้าที่ทั่วไปจ้างด้วยเงินงบประมาณหมวดงบดาเนินงาน 380
คน หมวดงบเงินอุดหนุน 7,965 คน จ้างด้วยเงินรายได้รายเดือน 2,571 คน รายชั่วโมง 127 คน
6) ประเภทครูภูมิปัญญา 246 คน

6) กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในปี พ.ศ. 2556 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทารายงานการ
วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีการศึกษา
2556 (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น , 2557) พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตาบล
เทศบาล และเมืองพัทยาที่มีกองการศึกษา และมีสถานศึกษาในสังกัดทั้งสิ้น 673 แห่ง แบ่งเป็นองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด 54 แห่ง องค์การบริหารส่วนตาบล 118 แห่ง เทศบาลนคร 29 แห่ง เทศบาลเมือง 135 แห่ง
210

เทศบาลตาบล 337 แห่ง และเมืองพัทยา 1 แห่ง ซึ่งมีจานวนโรงเรียนทั้งสิ้น 1,455 โรง แบ่งเป็นสังกัดองค์การ


บริหารส่วนจังหวัด 341 โรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนตาบล 133 โรงเรียน สังกัดเทศบาลนคร 189
โรงเรียน สังกัดเทศบาลเมือง 404 โรงเรียน สังกัดเทศบาลตาบล 288 โรงเรียน และสังกัดเมืองพัทยา 11
โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีจานวนครูในปี พ.ศ.2556 ดังนี้

ตารางที่ 5.21 สรุปจานวนครูสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีการศึกษา 2556


หน่วย : คน
ก่อนประถมศึกษา – มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา รวม
ครูสอนจริง 27,316 111 27,427
ครูจ้างสอน ผู้ช่วยครู 7,076 68 7,144
ที่มา: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2557

นอกจากนี้ สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้จั ดทาสถิติการศึกษา (ฉบับย่อ) พ.ศ.2556 สารวจ


จานวนห้องเรียนและนักเรียนไว้ดังนี้

ตารางที่ 5.22 จานวนห้องเรียนและนักเรียนของกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีการศึกษา


2556
ระดับชั้น ห้องเรียน รวม ชาย หญิง
(ห้อง) (คน) (คน) (คน)
สังกัดในกรุงเทพมหานคร : สานักการศึกษา
ก่อนประถมศึกษา 2,191 53,061 27,210 25,851
ประถมศึกษา 7,692 216,770 112,604 104,166
มัธยมศึกษาตอนต้น 917 33,213 29,152 15,061
มัธยมศึกษาตอนปลาย 104 2,992 1,512 1,480
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ก่อนประถมศึกษา 5,689 142,475 73,267 69,208
ประถมศึกษา 10,181 278,563 147,960 139,693
มัธยมศึกษาตอนต้น 5,087 162,886 85,636 77,250
มัธยมศึกษาตอนปลาย 2,634 81,929 33,861 48,068
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557
211

5.2 การศึกษาความต้องการในการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในแต่ละสังกัดมีการสารวจความต้องการของครูในระยะสั้ นและระยะยาวไว้ อาทิ ก.ค.ศ. ยังเห็นถึง
ความสาคัญในการเตรียมครูรุ่นใหม่เพื่อทดแทนครูที่ขาดแคลนจนถึงปี พ.ศ.2570 ซึ่งได้มีการสารวจไว้ว่า จะมี
จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนที่ครบเกษียณอายุราชการใน 15 ปี ระหว่าง
ปีพ.ศ. 2556-2570 จะมีครูเกษียณทั้งสิ้น 288,233 คน ดังนี้

ตารางที่ 5.23 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนที่ครบเกษียณอายุราชการใน


15 ปี ระหว่างปีพ.ศ. 2556-2570
ปี จ่านวนครูที่จะเกษียณ
(คน)
พ.ศ. 2556 11,395
พ.ศ. 2557 16,309
พ.ศ. 2558 21,348
พ.ศ. 2559 25,611
พ.ศ. 2560 26,505
พ.ศ. 2561 27,952
พ.ศ. 2562 28,246
พ.ศ. 2563 26,372
พ.ศ. 2564 23,133
พ.ศ. 2565 20,983
พ.ศ. 2566 18,256
พ.ศ. 2567 14,944
พ.ศ. 2568 11,299
พ.ศ. 2569 8,314
พ.ศ. 2570 7,566
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557

จากข้อมูลของ ก.ค.ศ. ได้สารวจจานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะ


ครบเกษีย ณอายุ ร าชการจนถึงปี 2570 ที่สั งกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า มีทั้งสิ้ น
270,332 คน โดย 5 อันดับแรกที่จะเกษียณมากที่สุดคือ
212

ตารางที่ 5.24 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะครบเกษียณอายุราชการ


จนถึงปี 2570
สาขา คงอยู่ปัจจุบัน (2555) จะเกษียณ (2556 -2570)
(คน) (คน)
สังคมศึกษา 23,650 19,248
ภาษาไทย 27,350 18,534
พลศึกษา 13,681 11,023
การบริหารการศึกษา 16,275 10,844
ภาษาอังกฤษ 22,621 9,807
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557
นอกจากนี้ ยังมีการสารวจความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษียณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า (2557-
2562) ทั้งสิ้น 109,245 คน ของส านั กงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแยกตามปีการศึกษา ดังนี้
ปี 2557 จานวน 9,910 คน ปี 2558 จานวน 12,111 คน ปี 2559 จานวน 17,621 คน ปี 2560 จานวน
21,961 คนปี 2561 จ านวน 22,999 คน และปี 2562 จ านวน 24,643 คน โดยแยกตามสาขาได้ ว่ า
คณิ ต ศาสตร์ 14,399 คน ภาษาอั ง กฤษ 13,852 คน ภาษาไทย 11,454 คน สั ง คมศึ ก ษา 7,487 คน
วิทยาศาสตร์ศึกษา7,462 คน ปฐมวัย 6,918 คน คอมพิวเตอร์ 6,160 คน ศิลปศึกษา 4,162 คน พลศึกษา
3,889 คน ดนตรี/ดุริยางคศิลป์ 3,695 คน ประถมศึกษา 3,393 คน จิตวิทยาและการแนะแนว 2,831 คน
นาฏศิลป์ 2,831 คน ฟิสิกส์ 2,676 คน สุขศึกษา 2,586 คน การงานพื้นฐานอาชีพ 2,411 คน ชีววิทยา 2,271
คน เคมี 1,446 คน บรรณารักษ์ 1,443 คน คหกรรมศาสตร์ 1,137 คน อุตสาหกรรมศิลป์ 1,104 คน การเงิน/
บัญชี/ธุรกิจ 1,093 คน และโสตทัศนศึกษา 483 คน
จากข้ อ มู ล ดั ง กล่ า ว สถานการณ์ ก ารใช้ ค รู จ ะเกิ ด ความขาดแคลนในบางสาขาในไม่ ช้ า จ าเป็ น ที่
ผู้เกี่ยวข้องต้องให้ความสาคัญ โดยต้องให้การผลิตครูในปัจจุบันสอดคล้องกับความต้องการในอนาคตด้วย
จากข้อมูลของ ก.ค.ศ. ได้สารวจจานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะ
ครบเกษียณอายุราชการจนถึงปี 2570 ที่สังกัดสานักงานการศึกษานอกระบบและศึกษาตามอัธยาศัยว่า มี
ทั้งสิ้น 9,265 คน โดย 5 อันดับแรกที่จะเกษียณมากที่สุดคือ
213

ตารางที่ 5.25 จานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอนที่จะครบเกษี ยณอายุราชการ


จนถึงปี 2570
สาขา คงอยู่ปัจจุบัน (2555) จะเกษียณ (2556 -2570)
(คน) (คน)
การบริหารการศึกษา 515 351
การจัดการทั่วไป 359 257
บริหารธุรกิจ 340 235
ภาษาอังกฤษ 415 230
อุตสาหกรรมศิลป์ 247 192
ที่มา: สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2557

ในปี พ.ศ. 2556 มีการสารวจความต้องการครูรายสาขาวิชาที่มีของสานักงานคณะกรรมการการ


อาชีวศึกษาว่า มีความต้องการครูทั้งสิ้น 1,831 คน จานวน 34 สาขา ดังนี้ ภาษาอังกฤษ 184 คน เครื่องกล
163 คน การจัดการทั่วไป 127 คน คอมพิวเตอร์การศึกษา 125 คน คณิตศาสตร์ 117คน อิเล็กทรอนิ กส์/
ไฟฟ้าสื่อสาร 116 คน ไฟฟ้ากาลัง 114 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 103 คน เครื่องมือกล 100 คน ภาษาไทย 96
คน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 83 คน การโรงแรม 63 คน พลศึกษา 56 คน เชื่อมและประสาน 50 คน อาหาร
และโภชนาการ 45 คน โยธาก่อสร้าง 38 คน การตลาด 32 คนสังคมศึกษา 28 คนเคมี 22 คนอุตสาหกรรม
ท่อ งเที่ ย ว 22 คน สั ต วศาสตร์ 18 คน เพาะเลี้ ย งสั ต ว์ น้า/ประมง 17คน คหกรรมศาสตร์ ทั่ ว ไป 16 คน
พืชศาสตร์ 13 คน คอมพิวเตอร์อาร์ต 12 คน ผ้าและเครื่องแต่งกาย 10คน วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) 9 คน
สถาปัตยกรรม 9 คน ศิลปกรรม 9 คน เกษตรศาสตร์/เกษตรศึกษา 9คน เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร 9 คน
การออกแบบตกแต่งภายใน 8 คน ช่างกลเกษตร/เกษตรวิธาน 7 คน และเคมีสิ่งทอ 1 คน
ส่ ว นผลการสอบถามผู้ เ ข้ า ร่ ว มสนทนากลุ่ ม จ านวน 33 คน เมื่ อ วั น ที่ 11 กุ ม ภาพั น ธ์ 2558
เมื่อพิจารณาความต้องการจาเป็นด้านการใช้ครูเป็นรายข้อ ปรากฏผลแสดงในตารางที่ 5.26
214

ตารางที่ 5.26 ความต้องการจาเป็นของการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ประเด็น สภาพ สภาพพึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบัน ประสงค์ จาเป็น ความสา
(PNImonification) คัญ
1. สถาบันบรรจุครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับ 3.11 4.57 0.47 7
วุฒิที่สาเร็จการศึกษา
2. สถาบันมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.74 4.74 0.73 2
อย่างเหมาะสม
3. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหลักเกณฑ์การประเมิน 2.91 4.66 0.60 6
ครูที่เป็นมาตรฐานและจูงใจให้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคณ
ุ ภาพ
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบเงินเดือนและสวัสดิการที่จูงใจ 3.46 4.74 0.37 8
ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทางานได้อย่างมีคุณภาพ
5. ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความก้าวหน้าทางสายงานที่ 3.66 4.66 0.27 10
เหมาะสม
6. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบการรับฟังความ 2.57 4.29 0.67 5
ต้องการและข้อเสนอแนะจากครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบครูพเี่ ลี้ยงที่ส่งเสริม 2.49 4.43 0.78 1
การปฏิบัติงานของครูการศึกษาขัน้ พื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก
8. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบที่ส่งเสริมขวัญและ 3.31 4.40 0.33 9
กาลังในการปฏิบตั ิหน้าที่ของครู เช่น ความก้าวหน้าทางสาย
งาน และการให้รางวัล เป็นต้น
9. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบจัดสรรครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.66 4.51 0.70 4
ให้ปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่ที่เหมาะสม เช่น ตรงกับความต้องการ
ของท้องถิ่น และครูเป็นคนในท้องถิ่น เป็นต้น
10. มีระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบตั ิงานครูที่เป็น 2.51 4.34 0.73 2
มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

จากตารางที่ 5.26 แสดงว่าข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในด้านการใช้ครูที่ต้องดาเนินการเร่งด่วน


(ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ ต่ากว่า 0.65) มีจานวน 5 ข้อ จาก 10 ข้อ ซึ่งเรียงลาดับสาคัญความต้องการ
จาเป็นได้ตามลาดับ ดังนี้
ล่า ดับที่ 1 สถาบัน และหน่ ว ยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่ งเสริมการปฏิบัติงานของครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI =0.78)
ล่าดับที่ 2 มีสองประเด็นที่มีค่าความต้องการจาเป็นเท่ากัน คือ
- สถาบันมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม (PNI = 0.73)
- มีระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI = 0.73)
215

ล่าดับที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบจัดสรรครูก ารศึกษาขั้นพื้นฐานให้ปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่ที่


เหมาะสม เช่น ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และครูเป็นคนในท้องถิ่น เป็นต้น (PNI = 0.70)
ล่าดับที่ 5 สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบการรับฟังความต้องการและข้อเสนอแนะจากครู
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.67)

5.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ นอกเหนือจากผลในเชิงปริมาณแล้วยังมีผลการศึกษาจากการประชุมสนทนากลุ่ม
ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ รื่ อ งการศึ ก ษาสภาพปั ญ หาของการใช้ ค รู ซึ่ ง จะน ามาวิ เ คราะห์ เ ป็ น ข้ อ เสนอเชิ ง นโยบาย
การประชุมสนทนากลุ่มดังกล่าว ประกอบด้ว ยบุคคลจากหลายหน่ว ยงาน ผู้แทนจากหน่ว ยงานการศึกษา
ภายในกระทรวงศึกษาธิการ และโดยมากเป็นผู้อานวยการโรงเรียนทั้ง 6 สังกัด สภาพปัญหาการใช้ครูมีด้วยกัน
หลายประการ จาเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กลุ่มผู้ร่วมประชุมสนทนาแต่ละ
สังกัดมีข้อเสนอเพื่อให้ดาเนินการแก้ไข ดังนี้
1) ความคิดเห็นของครูในสังกัดส่านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัญหาของการใช้นั้น สืบเนื่องมาจากกระบวนการผลิตที่ความเข้มข้นน้อยมาก โดยเฉพาะในเชิงจิต
วิญญาณความเป็นครู รวมทั้งการทางานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะครูรุ่นเก่าที่มีทักษะในการสอนมากกว่า ส่งผล
ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมาขาดคุณภาพ จรรยาบรรณความเป็นครู ระยะเวลาในการบรรจุแต่งตั้ง การเกษียณ
และการโอนย้ายไม่สอดคล้องกับภาคการศึกษา ทาให้โรงเรียนขาดครูในบางช่วงเวลา ควรมีการติดตามพัฒนา
บัณฑิต ดังเช่นมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ที่ติดตามการทางานของบัณฑิตที่จบแล้วของตนเอง ทั้งในแง่การ
ดูแล การศึกษาวิจัย การลงดูการสอนจริงในโรงเรียน แตกต่างจาก สพฐ. ไม่มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจนว่าในแต่
ละปีครูต้องได้รับการพัฒนาหรือเข้าร่วมอบรมเรื่องใดบ้าง ครูบางส่วนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม และ
บางครั้งจัดอบรมในช่วงเวลาเปิดภาคเรียน หรือการขอความร่วมมือจากสถานศึกษาให้ครูไปดาเนินงานการ
สนั บ สนุ น ชุ ม ชนต่ า งๆ ท าให้ เ กิ ด ปั ญ หาห้ อ งเรี ย นว่ า ง อุ ป สรรคอี ก ประการส าหรั บ การท างาน คื อ แต่ ล ะ
หน่วยงานภายนอกโรงเรียนไม่ประสานการทางานร่วมกัน
ปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว อาทิ การกาหนดให้การเกษียณอายุราชการของครู
หรือการบรรจุ โอน ย้าย เป็นวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปีพร้อมทั้งมีการวางแผนอัตรากาลังที่ต้องการล่วงหน้า
อย่างชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับภาคการศึกษา ให้โรงเรียนมีโอกาสเลือกครูตามความต้องการ โดยครูในบาง
สาขาอาจมีการสอบแบบพิเศษ เช่นครูระดับปฐมวัย ควรมีการสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบทัศนคติมากกว่าการวัด
จากคะแนนการสอน และควรปรับปรุงหลักการของการขอวิทยฐานะ เพราะบางวิชาอาจมีผลงานในลักษณะ
อื่นนอกเหนือจากงานวิจัย
2) ครูในสังกัดส่านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เนื่องด้วยการจัดการศึกษาของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีลักษณะเฉพาะที่มิได้
เป็ น การเรี ย นรู้ จ ากเอกสาร ปั ญหาใหญ่คือ การประเมิน ผลจากหน่ว ยงานภายนอก เนื่ องจากมัก เป็นการ
216

พิจารณาจากเอกสาร หลักฐานที่ไม่สอดคล้องกับการทางานของการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้ จึงเห็นสมควรให้


การประเมินการทางานในเชิงประจักษ์ว่าเกิดผลต่อผู้เรียนอย่างไรจะเหมาะสมกว่า
3) ครูในสังกัดส่านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ด้วยโรงเรียนสาธิตอยู่ภายใต้สังกัดของคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัย จึงมีการ
ตรวจสอบคุณภาพครูอย่างเข้มข้น ทาให้ครูหลายคนไม่สามารถรับแรงกดดันดังกล่าวได้ อีกทั้งยังมีข้อบังคับให้
มีการแสดงผลความก้าวหน้าของการทางานที่ชัดเจน ซึ่งถือเป็นการสร้างแรงกดดันการทางานมากยิ่งขึ้น ครูจึง
ลาออกเป็นจานวนมากในแต่ละปี
4) ครูในสังกัดส่านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
การผลิตที่ดีมีความสาคัญอย่างมากต่อการใช้ครู โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพของครู โรงเรียนเอกชนหลาย
แห่งเปิดสอบครูของตนเอง แต่ผลปรากฏว่ามีผู้สอบไม่ผ่านจานวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการผลิต
และหากเข้มงวดมากเกินไปก็ไม่มีผู้มาสมัครเป็นครูโรงเรียนเอกชน
ครูโรงเรียนเอกชนส่วนมากมีปัญหาเรื่องการลาออก และโอนย้ายเป็นจานวนมาก เพราะโรงเรียนไม่
สามารถตอบสนองเรื่องสวัสดิการได้ดังเช่นครู ในโรงเรียนในสังกัดของรัฐ แม้ว่าโรงเรียนจะพยายามแสวงหา
ความมั่นคงและการพัฒนาจานวนมากแล้ว แต่ครูส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะสอบบรรจุเป็นครูในโรงเรียนสังกัดของ
รัฐ โรงเรียนเอกชนจึงเสมือนทางผ่าน และปัญหาที่สาคัญคือการบรรจุข้าราชการครูมักจะอยู่ระหว่างภาค
การศึกษา ควรปรับให้สอดคล้องกับการเปิดภาคการศึกษาด้วย
5) ครูในสังกัดส่านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ปัญหาของครูอาชีวศึกษาคือขาดแคลนครูในบางสาขา หรือมีครูที่ไม่ตรงกับความต้อ งการ เนื่องจาก
เป็นลักษณะการเรียนการสอนที่ผู้สอนมิได้จาเป็นต้องจบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และครูยัง
ต้องทางานอื่นนอกเหนือจากงานสอน จึงควรมีบุคลากรสายสนับสนุนเข้าร่วมในการทางาน อีกทั้งหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องกับการบรรจุ การโอนย้าย การเลื่อนวิทยฐานะไม่มีแผนความก้าวหน้าในการทางานที่ชัดเจน ทาให้ผู้ที่
บรรจุ เข้าสอนเกิดความไม่แน่ ใจต่อการทางานในอนาคต และด้ ว ยลั กษณะการเรียนการสอนที่ต้องใช้ค รู
หลากหลายสาขา แต่ไม่มีงบประมาณจ้างครูเหล่านี้ได้ ทาให้การเรียนการสอนบางสาขาต้องใช้ครูจากสาขาอื่น
ทดแทน ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อผู้ เรียนอย่างแท้จริง เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาครูในบางสาขาที่ไม่ได้รับความสนใจ
สถานศึกษาจึงจัดการอบรมด้วยตนเองเพื่อให้ครูมีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความอดทน และรักที่จะ
เป็นครู
6) ครูในสังกัดกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ครูในสังกัดนี้มีความใกล้ชิ ดกับท้องถิ่นมาก ปัญหาที่สาคัญคือการใช้ครูนอกเหนือจากงานสอน หรือ
นอกเหนือเวลางานปกติ แม้ว่าจะมีการให้ขวัญกาลังใจมาก เช่นเงินโบนัส เงินช่วยเหลือบุตร การศึกษาดูงาน
ต่างประเทศ แต่ครูมักจะอยู่ในโรงเรียนที่บรรจุไม่นาน โดยจะขอย้ายกลับภูมิลาเนา ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากแนว
ทางการบรรจุที่ตัดสินในภาพรวม จึงควรให้สถานศึกษาในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการคัดเลือกครู หรือตั้งกฎเกณฑ์
เพื่อขอโอนย้าย โดยผู้ต้องการขอโอนย้าย ต้องทางานในโรงเรียนที่บรรจุอย่างน้อย 5-10 ปี
217

ปัญหาเรื่องครูที่เห็นได้ชัดเจนคือในโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากมีจานวนนักเรียนน้อย ทาให้สัดส่วนใน


การรับครูน้อยไปด้วย แต่งานที่ต้องทาไม่ว่าจะเป็นงานการสอน เอกสาร การประเมิน ฯลฯ เทียบเท่าโรงเรียน
ใหญ่ จึงควรให้มีการบรรจุฝ่ายสนับสนุนที่ชัดเจน เพื่อให้ครูทางานกับเด็กได้อย่างเต็มที่
จากข้อเสนอแนะของครูทั้ง 6 สังกัด สามารถสรุปได้เป็นประเด็นสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะการ
แก้ไขที่ได้จากการสนทนากลุ่ม และการทาวงล้ออนาคต ได้ดังนี้
1. การบริหารงานบุคคล เนื่องจากการบริหารงานบุคคลของสานักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
และบุคลกากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งเป็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุ แต่งตั้ง โอน/ย้ายครูนั้น
มีความล่าช้า บรรจุครูที่ไม่ตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและสาขาที่สอน และไม่ได้บรรจุในพื้นที่ที่ต้องการ
มิใช่ถิ่นฐานของตนเอง ทาให้ครูที่ได้รับการบรรจุแล้วโอนย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเป็นจานวนมาก ส่งผลให้ครูในบาง
พื้นที่ บางช่วงเวลาขาดแคลนซึ่งการขอบรรจุใหม่ต้องใช้ระยะเวลานาน จึงทาให้ครูในบางสาขาจึงขาดแคลน
หรือไม่มีคุณภาพ ควรแก้ปัญหาด้วยการกระจายอานาจการคัดเลือกครูไปสู่โรงเรียน หรือผู้ใช้ครูโดยตรงเพื่อให้
เลือกรับบุคลากรที่ตรงกับความต้องการ ทั้งวิธีการ อัตรากาลัง รวมทั้งมีแนวทางการให้รางวัล การลงโทษ และ
การพั ฒ นาไปในทิศ ทางที่ห น่ ว ยงานแต่ล ะสั ง กัด ต้ องการทั้ งนี้ นอกเหนือ จากจะได้ ครู ตามที่ต้ อ งการแล้ ว
สถานศึกษายังมีโอกาสเลือกครูที่อยู่ในพื้นที่ ลดโอกาสการโอนย้ายในอนาคต แต่หากไม่สามารถดาเนินการได้
ควรมีข้อบังคับที่ว่า ให้ครู บรรจุใหม่สามารถโอนย้ายเมื่อทางานมาแล้วไม่ต่ากว่า 5-10 ปี อย่างไรก็ดี หาก
สถานศึกษาในแต่ละพื้นที่สามารถคัดเลือกครูได้ จาเป็นต้องให้การดาเนินงานมีขั้นตอนที่โปร่งใส ปราศจากการ
แทรกแซงจากผู้มีอิทธิพล เพื่อให้ได้ครูที่ดี มีคุณภาพมากที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องระยะเวลาการเกษียณและบรรจุเข้าใหม่ ไม่สอดคล้องกับการเปิดการศึกษา
กล่าวคือ ภาคการศึกษาของระดับการศึกษาขั้ นพื้นฐานคือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี
แต่ครูที่เกษียณจะทางานได้เพียงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงกลางของภาคการศึกษาและโดยมากจะยังไม่มีการ
รับครูใหม่มาชดเชยในช่วงเวลาดังกล่าว ทาให้โรงเรียนต้องจ้างครูที่เกษียณหรือครูพิเศษทาการสอนในช่วง
ระยะเวลาที่เหลือของปีการศึกษา อีกทั้งการบรรจุครูในแต่ละปีจะเริ่มดาเนินการและแล้วเสร็จช่วงกลางภาค
การศึกษาเช่นกัน ส่งผลถึงครูโรงเรียนเอกชนที่ลาออกกลางภาคการศึกษาหากได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ
ทาให้โรงเรียนต้องหามาตรการชดเชยครูที่ไปบรรจุด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งแม้ว่าโรงเรียนเอกชนจะให้สวัสดิการ
หรือการพัฒนาครูที่ดี แต่ก็ไม่สามารถจูงใจให้ครูทางานเอกชนได้มากนัก ที่ประชุมสนทนากลุ่มจึงมีข้อเสนอให้
เลื่อนการเกษียณ การโอน ย้าย บรรจุแต่งตั้งเป็นวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปีเพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดภาค
การศึกษาด้วย
2. ความก้าวหน้าและมั่นคงในการท่างาน สาหรับข้าราชการจะมีระบบการให้วิทยฐานะและเลื่อน
ขั้น เงิน เดือนเป็น ระบบที่ชัดเจนแล้ ว แต่ส าหรับโรงเรียนเอกชนนั้น มิได้มีระบบสวัส ดิการที่ดีเช่นเดียวกับ
ข้าราชการ โรงเรียนส่วนมากจึงมีการให้ค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) และจัดตั้งกองทุนครูเพื่อดูแลครูที่ยังทางาน
และเมื่อหลังเกษียณ
218

อย่างไรก็ดี ผู้เข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่มเห็นว่า การประเมินผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของแต่ละ


สังกัดควรมีความแตกต่างกัน อาทิ ครูผู้สอนระดับอาชีวศึกษา ควรให้นาผลงาน หรือรางวัลเป็นเอกสารเพื่อขอ
เลื่อนวิทยฐานะมากกว่าจะเป็นผลงานวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้ความสอดคล้องกับภาระงานปกติและการพัฒนาการ
เรียนการสอนในอนาคต การประเมินดังกล่าวควรมีการวางแผนระยะยาวและประเมินอย่างเข้มงวด ควรมี
เนื้อหาที่เกี่ยวกับ การปฏิบั ติงาน หลักของการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมมากกว่าเนื้อหา
วิชาการ ทั้งนี้ การจัดการอบรมควรเป็นช่วงเวลาที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน
3. ภาระงานอื่น ของครู ครู มักมีภ าระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน อาทิ งานเทศกาลของ
ท้องถิ่น หรือการเลือกตั้ง รวมทั้งงานในโรงเรียนเช่ น งานการเงิน พัสดุ งานบริหาร/บริการอื่นๆ และยิ่งเป็น
ปั ญ หามากขึ้ น ในโรงเรี ย นขนาดเล็ ก ที่ มี ค รู ไ ม่ ค รบชั้ น ซึ่ ง ต้ อ งท าหน้ า ที่ ส ายสนั บ สนุ น ไปพร้ อ มกั น อี ก ด้ ว ย
การประชุมสนทนากลุ่มครั้งนี้ เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาโดยการบรรจุบุคลากรสายสนับสนุนเพิ่มเติมซึ่งอาจจะ
ไม่เป็นครูหรือจบปริญญาตรีก็ได้ โดยคานึงภาระงานที่แต่ละโรงเรียนต้องดาเนินการ มิใช่คิดสัดส่วนจากจานวน
นักเรียนต่อครูดังเช่นในปัจจุบัน
ภาระงานอื่นนอกเหนือจากงานสอนและสายสนับสนุนโดยตรงแล้ว ข้อเสนอแนะให้ปรับการประเมิน
สถานศึกษาที่ไม่เป็นเพียงการประเมินเอกสาร แต่ควรประเมินผลงานเชิงประจักษ์ เนื่องจากการประเมินผล
งานทางเอกสารเป็นการสร้างภาระงานให้กับครูมากยิ่งขึ้น
4. การให้ความส่าคัญกับ จรรยาบรรณวิชาชีพ/ความเป็นครู ควรมีการปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณ
วิชาชีพและความเป็นครูตั้งแต่ฝ่ายการผลิต ทั้งการประพฤติปฏิบัติต่อนักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่อื่น ครู
ผู้บังคับบัญชา เพื่อการทางานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในปัจจุบันครูในแต่ละช่วงวัยได้รับการเรียนรู้
เรื่องการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน ทาให้ครูรุ่นเก่าและรุ่นใหม่อาจทางานด้วยความไม่เข้าใจ จึงเสนอให้
มีระบบการทางานแบบรุ่นพี่รุ่นน้อง ครูรุ่นก่อนเป็นผู้ดูแลครูรุ่นใหม่ในการทางาน (Mentor) หรือให้ครูใหม่เข้า
รับการอบรมในรูปแบบของ Pre-service teacher’s training ครูรุ่นเก่าส่วนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับทัก ษะ
การใช้เทคโนโลยี ในขณะที่ครู รุ่ น ใหม่มักมีความรู้ทางวิช าการอย่างเข้มข้นและการจัดการเรียนการสอน
การควบคุมชั้นเรียนน้อยกว่าครูรุ่นเก่า
5. การปฏิรูปผู้บริหาร หมายถึงการให้ผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาเปิดรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ทั้งในเรื่องการบริหารงานทั่วไป ด้านวิชาการ กิจกรรม ฯลฯ มิใช่ว่าการบริหารงานเกิดขึ้นจากความต้องการ
ของผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว
นอกจากนี้ พบว่าปัจจัยที่ทาให้การใช้ครูเกิดประสิทธิภาพสูง สุดคือ การที่ครูมีขวัญและก่าลังใจที่ดี
ครูได้รับการประเมินผลการท่างานและการเกณฑ์การรับรองความก้าวหน้าที่ชัดเจน มีการก่าหนดเส้นทาง
ความก้าวหน้าในสายวิชาการหรือบริหาร มีเส้นทางการเติบโตก้า วหน้า ให้ครูรู้สึกปลอดภัยในการท่างาน
ว่ามีโอกาสก้าวหน้า ท่างานด้วยความสบายใจ มีการรักษาและพัฒนา “ความเป็นครู” ในภาพรวม การ
พัฒนาให้มีครูต้นแบบภายในโรงเรียน มีการมอบหมายภาระงานให้ครูอย่างเหมาะสม เนื่องจากครูมีภาระงาน
นอกห้องเรียนมาก อาจแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเจ้าหน้า ที่สายสนับสนุนมาช่วยงาน รวมถึงให้ครูเป็นวิชาชีพที่มี
219

คุณค่าโดยการกาหนดมาตรฐานครูด้วยการออกใบประกอบวิชาชีพเป็นรายวิชา ตรงกับที่สอนจริง มีการกากับ


การออกใบประกอบวิชาชีพที่เหมาะสม รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้จบครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในรูปแบบของ ป.บัณฑิต
ปัญหาที่ควรรีบแก้ไขในเรื่องการใช้ครูอย่างเร่งด่วนคือ กระบวนการ/ขั้นตอนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง
ครู เพราะนโยบายการบรรจุครูการศึกษาขั้นพื้นฐานยังไม่ชัดเจน ต้องมีปรับปรุง เช่นการปรับวิธีคิดสัดส่วนครู
โดยไม่คิดแต่สัดส่วนจานวนครูต่อนักเรียนแต่ให้คิดภาระงาน ซึ่งควรบรรจุครูและฝ่ายสนับสนุนให้เหมาะสมกับ
ลักษณะของสถานศึกษา ทั้งจานวน และวิชาเอก บรรจุครูให้ตรงกับความสามารถและสาขาเรียน หรือบาง
สาขาขาดแคลน เช่นครูฟิสิกส์ แต่ที่มีม ากคือสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่ง มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เปิดสอนตาม
เกณฑ์ของ มคอ. ในปัจจุบัน การบรรจุครูมักจะล่าช้า ไม่สอดคล้องกับการเปิดปิดภาคเรียน รวมทั้งโครงการครู
พันธุ์ใหม่ ทาให้ครูบางส่วนไปทางานอื่น หรือทาให้ครูย้ายกลับถิ่นฐานเมื่อครบระยะเวลาที่กาหนด เพราะไม่จูง
ใจให้อยู่ต่างถิ่นฐานเดิม โรงเรียนเดิมที่ครูเหล่านี้บรรจุจึงขาดแคลนครู วิธีการแก้ปัญหาคือ การให้แต่ละพื้นที่
ดูแลเรื่องการจัดการเรียนการสอนเอง สามารถคัดเลือกหรือบรรจุครูได้เองตามความขาดแคลน มีการกาหนด
ระยะเวลาที่ต้องทางานก่อนโอนย้ายให้ยาวขึ้น อาจจะ 5 ปี จึงจะสามารถย้ายได้ และควรให้แต่ละสาขาควรมี
ระบบการบรรจุ ที่ไม่เหมือนกัน อาทิ ครูระดับปฐมวัยควรผ่านกระบวนการสัมภาษณ์ เนื่องจากเป็นระดับ
การศึ กษาที่ ต้องการครู ที่มี ทัศนคติที่ดี ต่อการสอนเด็ก เล็ ก รวมทั้ง มี กระบวนการหรือระบบที่ เสริม สร้า ง
จิตสานึกความเป็นข้าราชการที่ดีอีกด้วย
สรุปได้ว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการใช้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการ
ในอนาคตนั้น มีรายละเอียดดังนี้
การสรรหา บรรจุ แต่ ง ตั้ ง พั ฒ นาระบบการสรรหาครู ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ
สถานศึกษา
- ปรับเกณฑ์การคิดอัตรากาลังครู โดยคานึงถึงภาระงาน ทั้งงานสอนและภาระงานอื่นๆที่
ไม่ใช่งานสอน
- พัฒนาเครื่องมือ และเกณฑ์การคัดเลือกครูที่ได้มาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้
- ให้สถานศึกษามีบทบาทมากที่สุดในการสรรหาครูที่สอดคล้องกับความต้องการของ
สถานศึกษา
- มีระบบถ่วงดุลอานาจในการสรรหาครู เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
- จัดสรรอัตรากาลังครูให้เป็นไปตามเกณฑ์ เพื่อให้มีครูในปริมาณที่พอเพียงในการปฏิบัติงาน
สอน
การสร้างขวัญก่าลังใจ จากสภาพปัญหาและความต้องการให้ครูปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทาการสอนให้ตรงกับสาขาที่จบ มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจน (Career Path) รวมทั้งเกณฑ์การ
ประเมินความก้าวหน้าและระบบตอบแทนที่เชื่อมโยงกับคุณภาพของผู้เรียน หรือผลการปฏิบัติงานของครู และ
ปัญหาอื่นๆ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง
220

สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดย
- จัดระบบเงินเดือน และค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานของครูอย่างเหมาะสมกับสภาวะ
ทางเศรษฐกิจ และสภาพพื้นที่ เพื่อลดปัญหาจากการโยกย้าย และโอนข้ามสังกัด
- กาหนดเส้นทางความก้าวหน้าทางวิชาชีพของครูอย่างชัดเจน
- ปรับปรุงระบบการได้รับวิทยฐานะและเงินวิทยพัฒน์ให้มีความเชื่อมโยงกับมาตรฐาน
วิชาชีพและคุณภาพของนักเรียน
- จัดระบบสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างวินัยทางการเงินให้ครูสามารถดารงตนอยู่
ได้อย่างมีศักดิ์ศรี
สรุปได้ว่า ในด้านขวัญและกาลังใจนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ ดูแลครูทุกขั้นตอนตั้งแต่การบรรจุ
แต่งตั้ง การให้วิทยฐานะ รวมทั้งการดูแลหลังจากเกษียณอายุราชการ ในประเด็นดังกล่าวเชื่อมโยงไปยังส่วน
อื่นๆที่เกี่ยวกับครู สาหรับข้าราชการจะมีระบบการให้วิทยฐานะและเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นระบบที่ชัดเจนแล้ว
แต่สาหรับโรงเรียนเอกชนนั้น มิได้มีระบบสวัสดิการที่ดีเช่นเดียวกับข้าราชการ โรงเรียนส่วนมากจึงมีการให้
ค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) และจัดตั้งกองทุนครูเพื่อดูแลครูที่ยังทางานและเมื่อหลังเกษียณ
คณะผู้ วิ จั ย เห็ น ว่ า จ าเป็ น ต้ อ งมี ม าตรการที่ ต อบสนองความต้ อ งการของครู ที่ แ ท้ จ ริ ง เช่ น ให้ มี
สวัสดิการทั้งขณะทางานและหลังเกษียณอายุราชการเพื่อเป็นการจูงใจไม่ให้ครูลาออกหรือโอนย้าย ในทานอง
เดีย วกัน ครู ส ถานศึกษาเอกชนอาจได้รับ สวัส ดิการขณะทางานหากทางานได้ดี แต่ไม่ได้ รับสวัสดิการหลั ง
เกษียณอายุการทางานจึงไม่จูงใจครูให้ทางานในสถานศึกษาเอกชนและมักจะลาออกมาบรรจุเข้ารับราชการ
ความก้าวหน้าในวิชาชีพ เสนอให้พิจารณาทบทวนระบบการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนตาแหน่ง วิทยฐานะ
เนื่องจากเห็นว่าไม่ควรเหมือนกันหมดสาหรับครูทุกสังกัด ควรให้มีก ารประเมินที่แตกต่างกันตามลักษณะงาน
รวมทั้งเห็ นว่าครู สพฐ. ส่วนมากมีปัญหาการเขียนผลงานวิชาการที่เพราะไม่มีความถนัดในการทาผลงาน
รูปแบบของงานวิจัยและพัฒนาแต่ถนัดที่จะทางานในพื้นที่ปฏิบัติงานได้แก่ โรงเรียนและเขตพื้นที่มากกว่า

การปฏิบัติงานในเรื่องการปฏิบัติงานนี้จะเริ่มตั้งแต่บรรจุแต่งตั้งเข้าทางาน รวมถึงการส่งเสริมให้ครูมี
โอกาสทางานได้อย่างเต็มที่ มีรายละเอียดดังนี้
1. การพัฒนาระบบการฝึกปฏิบัติงานของครู
- จัดให้มีครูพี่เลี้ยงที่มีความสามารถในการสอน สาหรับแนะนา ช่วยเหลือครูบรรจุใหม่
เพื่อให้ครูบรรจุใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ตลอดจนมีตัว
แบบดีๆ ในเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครู
- ปรับระบบการประเมิน การทดลองการปฏิบัติการสอนของครูให้มีความเที่ยงตรง เชื่อมั่น
เกณฑ์การประเมินต้องสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณครู
2. ส่งเสริมให้ครูสามารถปฏิบัติงานสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
221

- ให้ครูทาหน้าที่สอนได้อย่างเต็มเวลา เต็มศักยภาพ โดยลดภาระอื่นๆ ของครูที่ไม่ใช่งานสอน


ซึ่งอาจกาหนดตาแหน่งให้มีครูสายสนับสนุนการสอน เช่นครูธุรการ ครูการเงิน ครูพัสดุ
ครูวัดผล เป็นต้น
- กระตุ้นให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกลุ่มต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการ
รวบรวม แบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการใน
การใช้ครูและนักเรียน
- สนับสนุนให้ครูพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้เรียน
- ปรับปรุงระบบการจัดสรรอัตรากาลังทดแทนครูที่โยกย้าย ลาออก หรือเกษียณอายุราชการ
ให้มีความรวดเร็วตรงตามความต้องการ
- จะต้องยุบรวม เลือกสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีจานวนนักเรียนน้อยมาก และไม่ยากลาบาก
ในการเดินทางไปสถานศึกษาแห่งใหม่ ทั้งนั้น ก็เพื่อให้ครูมีปริมาณงานที่เหมาะสม
- สนับสนุนให้ครูเป็นนักจัดการความรู้ มีภาวะผู้นาทางวิชาการ
จะเห็นได้ว่า ยังมีปัญหาครูสอนไม่ตรงวุฒิ ไม่ตรงสาขาวิชาที่สาเร็จการศึกษา และครูมีภาระงานมาก
รวมทั้งงานที่ไม่เ กี่ย วกับ การเรี ย นการสอน ทั้งนี้ คณะผู้ วิจัย เห็ นว่าควรมีการปรับหลั ก เกณฑ์การคานวณ
อัตรากาลังใหม่โดยคิดคานวณจานวนครูที่ต้องการบรรจุจากภาระงาน มิใช่จากจานวนนักเรียน อย่างไรก็ตาม
เห็นว่าเมื่อสถานศึกษามีอิสระในการสรรหาครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว ปัญหาน่าจะน้อยลง และทาให้
สามารถใช้ครูได้เหมาะสมกับบริบทของการศึกษาและสามารถปรับปรุงตนเองได้ ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับภาระ
งานอื่นที่มิใช่การสอนเสนอให้ บรรจุเจ้ าหน้ าที่ส ายสนับสนุนเพิ่มขึ้น โดยอาจไม่จาเป็นต้องกาหนดให้มีวุฒิ
ปริญญาตรี
นอกจากนี้ ควรนาเสนอในเรื่องของช่องว่างระหว่างครูต่างวัยที่ทาให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกัน
ควรให้มีระบบครูรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้ องเพื่อสร้างความเข้าใจในการทางานที่สอดคล้องกันและทางานร่วมกันได้
ควรให้ครูมีการฝึกอบรมวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน รวมทั้งเห็นว่า
ควรมีการอบรมผู้บริหารให้เข้าใจงานครูมากขึ้นเพราะปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษายังขาดความเข้าใจการ
ปฏิบัติงานโรงเรียนและไม่มีประสบการณ์การสอน

การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป้ า หมายของการติ ด ตามประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านคื อ การน าไปสู่ ก ารพั ฒ นาครู ต่ อ ไป ฉะนั้ น
การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของครูจึงมีความสาคัญ คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรมี
แนวทางดังนี้
- กาหนดภาพความสาเร็จ ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูให้ชัดเจน
222

- ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของครูอย่างต่อเนื่อง
- นาผลการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของครู มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการ
เรียนการสอนและเชื่อมโยงกับระบบการสร้างแรงจูงใจ
ความสาคัญของการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ นอกจากเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ของครู เพื่อผลต่อการพัฒนาครูทั้งในแต่ละสังกัดและในภาพรวมอีกด้วย การติดตามควรทาอย่างเป็นระบบโดย
กาหนดเป้าหมายของความสาเร็จร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาที่จะสามารถปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นได้จริง
ต่อไป
บทที่ 6
ผลการศึกษาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6.1 ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สภาพการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลายหน่วยงาน ดังนี้
1) สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สานักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ
สถาบันพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) เป็นหน่วยงาน
กลาง ทาหน้าที่บริหารการพัฒนาและส่งเสริม โดยประสานการดาเนินงานกับสถาบันที่ทาหน้าที่ผลิตและ
พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและดาเนินการให้ครู คณาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา ส่งเสริม และยกย่องเชิดชูเกียรติในวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
รวมทั้ ง เป็ น การเสริ ม สร้ า งประสิ ท ธิ ภ าพในการใช้ ง บประมาณเพื่ อ การพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
ก. เพื่อสร้างเอกภาพและส่งเสริมมาตรฐานในการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการ
ศึกษา
ข. เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องและสถาบันทรัพยากรมนุษย์ด้าน
ต่างๆ ในการพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
ค. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและสื่ อการฝึ กอบรมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา สถาบันการศึกษาที่ผลิตครู และบุคลากรทางการศึกษา
ง. เพื่ อ ยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ ค รู คณาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา ค้ น คว้ า วิ จั ย
การสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและวงการวิชาชีพ
จ. เพื่อรับผิดชอบในการระดมทรัพยากรและการบริหารกองทุนพัฒนาและกองทุนส่งเสริมครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
สคบศ. สรุปสภาพปัญหาการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้ดังนี้
(1) การพัฒนาไม่ทั่วถึง
(2) การพัฒนาไม่ตรงความต้องการของครู
(3) การพัฒนาไม่ส่งผลถึงผู้เรียน
(4) การพัฒนาครูทาให้ครูต้องละทิ้งห้องเรียน
(5) การพัฒนาไม่เชื่อมโยงกับการเลื่อนวิทยฐานะและการพิจารณาความดีความชอบและการ
ปฏิบัติงานครู
224

ระบบพัฒ นาครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่คือการให้มีแผนพัฒ นาตนเองเป็นรายบุคคล


(Individual Development Plan: ID Plan) ซึ่งเป็นการพัฒนาตามความต้องการจาเป็นของครูและบุคลากร
ทางการศึ ก ษาด าเนิ น การพั ฒ นาตามกรอบสมรรถนะ ท าให้ เ กิ ด การพั ฒ นาผู้ เ รี ย นและพั ฒ นาด้ ว ยวิ ธี ที่
หลากหลาย เช่น องค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่าย เครือข่ายทางไกล โดยการพัฒนาครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาที่สถานศึกษาเป็นหลักและดาเนินเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการประชุมปฏิบัติการปฏิรูประบบ
การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 สคบศ. ได้นาเสนอปัจจัยความสาเร็จ
ของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องกับการพัฒนา
ครูทั้งระบบโดยผลักดันกลไกการขับ เคลื่ อนการพัฒ นาครู ได้แก่ ระบบคูปองวิชาการ งบประมาณ การใช้
เทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาครู และระบบการติดตามผลการพัฒนาครู และกาหนดแนวทางการปรับ
สถานภาพ สคบศ. เพื่อให้มีเอกภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการและดาเนินงาน (ไทยรัฐ, ออนไลน์,
25 พฤศจิกายน 2556)
2) สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นหน่วยงานใน
สังกัดสานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดิมมีฐานะเป็นกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ชื่อว่า "สานักงาน
คณะกรรมการข้าราชการครู" (ก.ค.) ต่อมาภายหลังการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการยุบรวม
กรมต่ า งๆ เข้ า ด้ ว ยกั น ท าให้ ส านั ก งาน ก.ค. ถู ก ยุ บ รวมเป็ น ส านั ก งาน ก.ค .ศ. ในสั ง กั ด ส านั ก งาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น พระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 80 ระบุไว้ว่า ให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดารง ตาแหน่งบางตาแหน่งและบางวิทยฐานะ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ
เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม ในอันที่จะทาให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการ
เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความก้าวหน้าแก่ราชการ สานักงาน ก.ค.ศ.ได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่
ตาแหน่ง/วิทยฐานะ ดังนี้
- การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตาแหน่งครู
ผู้ช่วย ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เน้นความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ บริบท
สถานศึกษาและผู้เรียน สามารถประยุกต์ความรู้ ปฏิบัติงานดีและประพฤติตนเหมาะสม
กับความเป็นครูมากยิ่งขึ้น
- การพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และ
ศึกษานิเทศก์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ
วิ ช าชี พ ที่ เ หมาะสม เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพ ประสิ ท ธิ ผ ลและ
ความก้าวหน้าแก่ราชการ
- การพัฒนาก่อนแต่งตั้งเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ก.ค.ศ.ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และ
วิธีการประเมิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี
วิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.4/
225

ว 17 ลงวัน ที่ 30 กัน ยายน2552 (ว 17/2552) โดยปรับปรุงตัว บ่งชี้และเกณฑ์การให้


คะแนนในด้านผลการปฏิบัติงาน ผลพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน 4 สายงาน ได้แก่
สายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษา และสายงาน
นิเทศการศึกษา
ที่ผ่านมาสานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้จัดหลักสูตรและกิจกรรม
เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทารูปแบบคาสั่งและคู่มือการ
ตรวจสอบคาสั่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38
ค. (2) (สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, ออนไลน์) นอกจากนี้สานักงาน ก.ค.
ศ. ยังมีระบบสวัสดิการครู ดังนี้
- เงินวิทยพัฒน์ จัดทาระเบียบ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาได้รับเงินวิทยพัฒน์ สาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผลงานดีเด่น
หรือมีผลปฏิบัติงานดีเด่น หรือได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
- กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จัดทา พ.ร.บ.กองทุนพัฒนา
ครูฯ จัดกิจกรรมระดมทุน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม
ทางการศึก ษา เจตคติ คุณธรรมจริยธรรม และทั กษะในการปฏิบัติ งาน จัดสรรเงิ น
อุดหนุนงานริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานดีเด่นครู จัดทุนในการอบรม ศึกษา ค้นคว้าและวิจัย
รวมทั้งยกย่องเชิดชูเกียรติครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสามารถ
ครูสอนดี มุ่งมั่น อุทิศตน เสียสละและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
3) สานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สานั กพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส านักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ตามประกาศสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แบ่งส่วนราชการสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เป็นการภายใน) เมื่ อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2550 โดยสานักงานพัฒนาครู
และบุคลากรทางการศึกษา มีอานาจหน้าที่ดังนี้ (สานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ออนไลน์)
ก. จั ด ท าข้ อ เสนอนโยบาย วางแผนกลยุ ท ธ์ ประสานการจั ด ตั้ ง และจั ด สรร
งบประมาณพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ค. พัฒนา และสร้างระบบเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ศึกษา และส่งเสริมการวิจัยเพื่อการพัฒนา ค้นคว้า วิจัย และให้คาปรึกษาแนะนา
เกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จ. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน
226

ฉ. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่
ได้รับมอบหมาย
ที่ผ่านมาสานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้ นพื้นฐานได้จัดหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อ
พั ฒ นาครู แ ละบุ ค ลากรการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน เช่ น (ส านั ก พั ฒ นาครู แ ละบุ ค ลากรการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน,
ออนไลน์)
- หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็น
วิทยฐานะผู้อานวยการและรองผู้อานวยการชานาญการพิเศษ
- หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่ อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็น
วิทยฐานะครูชานาญการพิเศษ
- หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็น
วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
- หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็น
วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ
- หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็น
วิทยฐานะผู้อานวยการและรองผู้อานวยการเชี่ยวชาญ
- หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็น
วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
- การพัฒนาครูประจาปี 2556 ตามโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง
coaching mentoring
- โครงการพัฒนาครูดีครูเก่ง (Master teacher) ประจาปี 2556
- โครงการสัมมนาผู้นาทางการศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2557
- โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในบางกิจกรรมได้มีการรายงานจานวนผู้เข้าร่ว มการอบรม อาทิ การพัฒ นาครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ด้านการวัดผลทางการศึกษา ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม-28 กันยายน 2557 ดังนี้
(สานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ออนไลน์)
227

ตารางที่ 6.1 จานวนครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการพัฒนาด้านการวัดผลทางการศึกษา


ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม-28 กันยายน 2557
จุดพัฒนาประจาภาค จานวนรุ่น (รุ่น) จานวนครู/บุคลากรที่ได้รับการพัฒนา (คน)

รวมทั้งหมด 92 18,000
ภาคเหนือ 18 3,182
เชียงใหม่ 11 1,734
พิษณุโลก 7 1,448
ภาคกลาง 26 5,090
กรุงเทพมหานคร 26 5,090
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31 6,768
นครราชสีมา 7 1,580
อุดรธานี 6 870
ขอนแก่น 7 1,423
นครพนม 4 953
อุบลราชธานี 7 1,762
ภาคใต้ 17 2,960
สงขลา 7 1,340
ภูเก็ต 3 526
นครศรีธรรมราช 7 1,094
ที่มา: สานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ออนไลน์
4) สานักพัฒนาสมรรถนะครูบุคลากรอาชีวศึกษา
สานั กพัฒนาสมรรถนะครูบุคลากรอาชีวศึกษา สานักงานคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา
มีอานาจหน้าที่ดังนี้ (สานักพัฒนาสมรรถนะครูบุคลากรอาชีวศึกษา, ออนไลน์)
ก. จั ดทาและประเมิน มาตรฐานครูและบุคลากรการอาชีว ศึกษา พร้อมทั้งจัดทาข้อเสนอ
แผนการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
ข. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
ค. ดาเนิ น การฝึ กอบรมและพัฒ นาครูและบุ คลากรทางการศึกษา รวมทั้ งประสานความ
ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการฝึกอบรมและพัฒนาครู บุคลากรการอาชีวศึกษา และครูฝึกในสถาน
ประกอบการด้านอาชีพ
228

ง. วิจัยและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ผลิตและบริการ
เครื่ อ งจั ก รกลและเทคโนโลยี พั ฒ นาระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศเพื่ อ การเรี ยนการสอน เพื่อ เพิ่ม ขี ด
ความสามารถของ ครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
จ. สร้างและพัฒนารูป แบบการฝึกสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาและสร้าง
เครือข่ายการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับครูและบุคลากรการอาชีวศึกษา
ฉ. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนั บสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย
ที่ผ่านมาสานักพัฒนาสมรรถนะครูบุคลากรอาชีวศึกษา ได้จัดหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อพัฒนาครูและ
บุคลากรการอาชีวศึกษา เช่น (สานักพัฒนาสมรรถนะครูบุคลากรอาชีวศึกษา, ออนไลน์)
- การพัฒนาหลักสูตรวิทยฐานะเชี่ยวชาญสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา
- การประชุมสัมมนาผู้บ ริห ารสถานศึกษาสังกัดส านักงานคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา
ครั้งที่ 2 ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เป็นต้น
5) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มอบหมายให้คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ดาเนินโครงการพัฒนาครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา การศึกษา
ปฐมวัย การศึกษาพิเศษ บรรณารั กษ์ และแนะแนว สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีงบประมาณ 2555 พบว่า ในปีงบประมาณ 2555 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรสมรรถนะระดับต้น 9
กลุ่มวิชา 11 หลักสูตร เป็นเวลา 3 วัน มีครูเข้าอบรม 53,061 คน ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์อยู่
ในระดับปานกลาง ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร การบริหารจัดการวิทยากรเห็นว่าได้รับ
ความรู้และประโยชน์อยู่ในระดับมาก
สานั กงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดาเนินโครงการพัฒ นาครูทั้งระบบเพื่อ
ยกระดับคุณภาพครู และผู้บริห ารสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณ 2553-2555 กิจกรรมการพัฒนาครู
ประกอบด้วย การฝึกอบรมครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยกลุ่มเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา การจัดทุนให้ครู
ระดับสูงได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทภาคนอกเวลาราชการในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และแนะแนวการศึกษา กิจกรรมต่อมาคือ การยกระดับคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา
ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ความรู้เสริมด้วยระบบ e-training และกิจกรรมการพัฒนาผู้บริหารและครู
ทุกคนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับจังหวัดและศูนย์
พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อทราบประสิทธิผลของโครงการพัฒนาครูทั้งระบบในปีงบประมาณ 2555 สพฐ.
ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นผู้ดาเนินการประเมิน ซึ่งผลปรากฏว่ามีประสิทธิผลพอใช้
(คะแนน 3.50) มีประสิทธิภาพในการดาเนินงานอยู่ในระดับดี (คะแนน 4.00) คุณภาพการพัฒนาครูอยู่ใน
ระดับดี (คะแนน 4.00) และการพัฒนาองค์กรอยู่ในระดับดี (คะแนน 4.00) ผู้ประเมินเสนอแนะว่า ควรพัฒนา
229

ครูตามภาระงาน/ตามความสนใจโดยการฝึกปฏิบัติจริง จัดอบรมโยงแบ่งตามเขตพื้นที่การศึกษาและอบรม
ระบบ e-training
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ
(สวพ.) ส านั ก มาตรฐานและประเมิน คุ ณภาพการศึ กษา (องค์ กรมหาชน) ดาเนิ นการศึก ษาแนวทางการ
ดาเนิ น งานโครงการผลวิเคราะห์ และประมวลผลการดาเนินงานจากรายงานการประเมินผลสั มฤทธิ์ของ
สถาบันอุดมศึกษา ทุกหน่วยที่พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมผู้บ ริหารสถานศึกษาและครูพบว่า ในภาพรวมการ
ฝึกอบรมครูโดยกลุ่มเครือข่ายคณะครุศาสตร์และ สพฐ. รับผิดชอบมีความก้าวหน้าไปตามแผนงาน ส่วนที่ยังไม่
ก้าวหน้ามากนักคือ การพัฒนาครูแกนนาในสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิชาอื่นๆ ที่กลุ่มเครือข่ายคณะ
วิทยาศาสตร์รับผิดชอบดาเนินการซึ่ง สพฐ. ต้องเร่งประสานงานต่อไป ส่วนในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา
ทุกคนโดยมีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดทาหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาจัดอบรม
วิทยากรในระดับภูมิภาคและรับผิดชอบอบรมในภาคกลาง
ปัญหาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหาเชิงระบบที่สาคัญ คือ การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ
เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ ไม่มีระบบการพัฒนาครู
ใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คุรุสภา สานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและต้นสังกัดอื่น อีกทั้งปัญหาของ
การพัฒนาครูสืบเนื่องมาจากการผลิครูไม่ตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ การใช้ครูไม่ได้แยกครู
รายวิชาและครูประจาชั้น ที่สาคัญยิ่งสถานศึกษาไม่มีความเป็นนิติบุคคลที่แท้จริงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
กล่ าวคือ สถานศึกษาไม่มีบ ทบาทอานานหน้าที่ในการคัดครู รายละเอียดของสภาพปัญหาการพัฒ นาครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานแสดงในแผนภูมิที่ 6.1
6) สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทาการวิจัยเพื่อศึกษาระบบการพัฒนาวิชาชีพครูของ
ต่างประเทศและได้นาเสนอข้อมูลต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการปฏิรูประบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน
2556 สรุปสาระสาคัญของการพัฒนาครูของประเทศต่างๆ เช่น (ไทยรัฐ, ออนไลน์, 25 พฤศจิกายน 2556)
- รับสมัครผู้มีคุณภาพสูง โดยจะต้องมีห ลั กประกันเงินเดือนสู ง มีเงินอุดหนุนส าหรับ
ฝึกอบรม รวมทั้งมีการออกแบบหลักสูตรและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพครู
สามัญในรูปแบบเดียวกัน: ประเทศฟินแลนด์ สิงคโปร์
- ผสานภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ โดยการกาหนดงานประจาหลักสูตรและบูรณาการแบบ
คลินิก คือ วินิจฉัยและแก้ไขข้อผิดพลาด รวมทั้งมีการสร้างแบบจาลองใหม่ๆ : ประเทศ
ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ บางแห่งในสหรัฐอเมริกา
230

- ใช้มาตรฐานวิชาชีพครูที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ มีการประเมินความรู้และทัก ษะที่สาคัญ


รวมทั้ ง การควบคุ ม อารมณ์ : สหรั ฐ อเมริ ก า ออสเตรเลี ย เขตปกครองพิ เ ศษฮ่ อ งกง
เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์
- สร้างแบบประเมินการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานวิชาชีพ เชื่อมโยงกับการเรียนรู้
ของนักเรียนและการสอนในห้องเรียน ส่งผลต่อการพัฒนาด้านสมรรถนะของตัวบุคคล
และพัฒนาหลักสูตร: สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
- สร้างแบบจาลองจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ส่งเสริมและให้คาปรึกษาด้านทักษะแก่
ครูที่เพิ่งสอน มีการวางแผนร่วมกัน รวมทั้งลดภาระด้านการสอนด้วยการจัดสัมมนาครู
ประจ าการ และมีการจัดทารายการข้อปฏิบัติ : สิ งคโปร์ ออสเตรเลี ย แคนาดา เขต
ปกครองพิเศษฮ่องกง และบางแห่งในสหรัฐอเมริกา
- สนับสนุนข้อคิดการพัฒนาวิชาชีพครู ที่จะช่วยส่งเสริมให้ครูเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่าง
สม่าเสมอ ทั้งภายในและระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัย : สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และ
แคนาดา
- ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ที่จะช่วยให้ครูได้รับการพัฒนา แบ่งปันความชานาญ
การในการสอน ให้ คาปรึก ษา หลั ก สู ตร การพัฒ นาและภาวะผู้ นาร่ ว มกั น : สิ ง คโปร์
อังกฤษ
- การสร้างศักยภาพรอบด้าน โดยสร้างยุทธศาสตร์เพื่อแบ่งปันผลวิจัยและข้อปฏิบัติที่ดี
ข้อปฏิบัติที่ประสบความสาเร็จในห้องเรียนและโรงเรียน รวมทั้งการให้ครูชานาญการ
และผู้อานวยการโรงเรียนได้เสนอภาวะผู้นาไว้ในระบบ: รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับประเทศฟินแลนด์และสิงคโปร์ที่พบว่าลักษณะเด่นของระบบวิชาชีพครูและ
การครุศึกษาของประเทศฟินแลนด์ คือ ครูทุกคนต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท (ปริญญาตรี 3 ปี
ปริญญาโท 2 ปี) ครูต้องทาวิจัยในชั้นเรียนและระบบวิชาชาชีพครูตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบการค้นคว้าวิจัย
เป็นสาคัญ ส่วนประเทศสิงคโปร์ให้ความสาคัญกับวิชาชีพครูและการครุศึกษาเป็นอย่างมาก มีระบบการคัดสรร
ผู้ที่จะมาเรียนครูและผู้ที่จะเป็นครูอย่างเข้มข้น มีระบบพัฒนาทักษะอาชีพครูใหม่ด้วยการฝึกประสบการณ์ด้าน
การจัดการชั้นเรียน การแนะแนว การทางานร่วมกับผู้ปกครองและการแสดงความคิดเห็น
สาหรับแนวทางการพัฒนาครูสาหรับอนาคตโดยสรุปคือ
(1) รับสมัครครูที่มีคุณภาพสูงโดยมีหลักประกัน เงินเดือนสูง และมีเงินอุดหนุนในการพัฒนา
และส่งเสริมครู
(2) การพัฒนาครูโดยบูรณาการภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
(3) การใช้มาตรฐานวิชาชีพครูเชิงสมรรถนะที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ มีการประเมินความรู้และ
ทักษะสาคัญ
(4) การสร้างแบบประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู
231

(5) การสร้างแบบจาลองอุปนัยและการปฏิบัติที่ดีเพื่อให้คาแนะนา พัฒนาทักษะการสอนให้


ครู
(6) สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาครูควบคู่กับการพัฒนาวิชาชีพครู
(7) ส่งเสริมความก้าวหน้าทางอาชีพของครูเพื่อดึงดูดคนเก่ง คนดีมาเป็นครูตลอดไป
(8) การสร้างศักยภาพรอบด้านโดยการสร้างยุ ทธศาสตร์เพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผล
วิจัย และแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาครู
7) สานักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ได้กาหนดภารกิจ
ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสานักงาน กศน. ไว้ดังนี้
ภารกิจของสานักงาน กศน.
(1) เป็ น หน่ ว ยงานกลางในการดาเนิน การส่ งเสริม สนับ สนุน และประสานงาน และ
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
(2) จัดทาข้อเสนอแนะ นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรฐานการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยต่อคณะกรรมการ
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และดาเนินการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ การวิจัย การพัฒนา
หลักสูตร และนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากร และระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(4) ส่งเสริม สนับสนุน และดาเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และ
ประสบการณ์และการเทียบระดับการศึกษา
(5) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
ปกครองส่ วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และองค์กรภาคอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดาเนินงาน
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(6) จัดทาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
(7) ดาเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดาเนินงานการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(8) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
จานวนอัตรากาลังครูและการขาดแคลนพบว่า กรอบอัตราที่ต้องการข้าราชการครู 9,001 อัตรา และ
บุคลากรทางการศึกษา 7,001 คน อัตรากาลังที่มีอยู่ในปัจจุบัน ข้าราชการครู 2,846 คน และบุคลากรทางการ
ศึกษา 396 คน ดังนั้น ข้าราชการครูที่ต้องการ 6,155 คน และบุคลากรทางการศึกษา 6,665 คน รวมขาด
แคลนอัตรากาลังครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยรวม 12,820 คน
232

การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีงบประมาณ 2553-2556


สภาพปัญหา
(1) รูปแบบการพัฒนาไม่หลากหลาย
(2) ขาดงบประมาณในการพัฒนาทุกระบบ
(3) ขาดการระดมทรัพยากรและความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาบุคลากร
(4) ไม่ได้ศึกษาความต้องการจาเป็นในการพัฒนาและขาดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ
(5) ขาดการวางแผนพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(6) บุคลากรขาดองค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประสานเครือข่ายและการบริหาร
จัดการยุคใหม่
กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา
(1) ผู้บริหารการศึกษา จานวน 152 คน
(2) ผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 886 คน
(3) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 1,580 คน
(4) พนักงานราชการและครู ศรช. จานวน 12,479 คน
ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาแนวใหม่
(1) วิเคราะห์และกาหนดสมรรถนะแต่ละสายงานแต่ละตาแหน่งให้ชัดเจน
(2) กาหนดหลักสูตรที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสมรรถนะแต่ละสายงาน โดยแบ่งเป็นสมรรถนะ
หลัก สมรรถนะประจาสายงาน และสมรรถนะเฉพาะด้าน
(3) ออกแบบการพัฒนาที่หลากหลายเหมาะสมกับสายงานและให้ความสาคัญกับการใช้
ทรัพยากรร่วมกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก
(4) ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการวางแผนพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดความ
ต่อเนื่อง
(5) จัดทาแผนพัฒนาบุคลากรของแต่ละสายงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่อง
8) สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รายการสังเคราะห์ผลวิจัยใน
โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียน มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายควรมีหน่ วยงานกลางเป็นเจ้าภาพระดับนโยบายและการปฏิบัติให้ชัดเจน
โดยอาจเริ่มจากสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดทาแผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น
รูปธรรม มีทรัพยากรสนับสนุนการดาเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยมีมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเป็นเครือข่ายเป็นแกน
นาสาคัญในการขับเคลื่อนหน่วยบริหารระดับพื้นที่คือสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เทศบาล รวมทั้งภาคเอกชน
ตัว แทนประชาชนเข้ามามีส่ ว นร่ ว ม นอกจากนี้รัฐ ควรเร่งสนับสนุนให้ โครงการต่างๆ ที่เป็นการพัฒ นาครู
233

ดาเนินการอย่างเป็นรูปธรรมโดยด่วน นอกจากนี้สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษายังมีบทบาทในการติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่นในปี 2556 พบว่าครูและผู้บริหารเห็นด้วยการใช้คูปองการพัฒนา
ครูเพื่อพัฒนาครูให้สอดคล้องกับความต้องการครูและสถานศึกษา
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้วิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนา
ครูแบะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ซึ่งพบว่ามี 3 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการพัฒนา
ครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ โดยเน้นการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่
สถานศึกษา (School-based Training) 2) รูปแบบการพัฒนาครูโดยการพัฒนาที่สถานศึกษาเป็นหลักผูกกับ
การพัฒนาและปฏิบัติงาน ประกอบกับการใช้การวิจัยในการปฏิบัติ งานแบบต่อเนื่อง และ (3) รูปแบบการ
พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาที่สถานศึกษาโดยการพัฒนาการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้ใช้การวิจัยปฏิบัติการอย่าง
ต่อเนื่องและใช้วงจร PDCA ในการปฏิบัติงานทุกด้านของโรงเรียนเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน เน้นการ
บริ ห ารแบบมีส่ ว นร่ ว มจากทุ ก ภาคส่ ว น ให้ มีก ารสั ม มนา การศึก ษาดูง าน อบรมปฏิ บัติ การ และประชุ ม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ตรงกับความต้องการจาเป็นใน
การปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียน
9) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สถาบั น ส่ งเสริ มการสอนวิ ทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ด าเนินการผลิ ตครูที่ มี
ความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ตั้งปี พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน มีผู้สาเร็จและ
บรรจุเข้ารับราชการครูในสังกัดต่างๆ เป็นจานวนมาก และด้วยเห็นถึงความสาคัญที่จะพัฒนาเพิ่มพู นทักษะ
ความสามารถของครู สควค. สสวท.ได้จัดทาโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยการพัฒนาเสริมสร้าง
ความเป็นครูผู้นาการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นผู้นาทางการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สาหรับครุ สควค. ซึ่ง
เป็นโครงการ 5 ปี (2553-2557) โดยหวังผลผลิต ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 120 คน ครูที่เข้าร่วมโครงการ 950 คน
ประกอบด้วยครูพี่เลี้ยงวิชาการวิทยาศาสตร์ 150 คน ครูพี่เลี้ยงวิชาการคณิตศาสตร์ 100 คน ครูผู้นา
คณิตศาสตร์ 250 คน เป็นครู สควค. จานวน 150 คน ครูผู้นาวิทยาศาสตร์ 450 คน เป็นครู สควค. จานวน
180 คน หลักสูตรพัฒนาครูผู้นาการเปลี่ยนแปลงมี 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการ
เรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับเนื้อหาตามมาตรฐานหลักสูตร หลักสูตรการอบรม
ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่มีประสิทธิผลสูงสุด
และหลักสูตรวิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรสาหรับพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชาการเพิ่มขึ้นอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการ
เป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการขั้นพื้นฐานและขั้นก้าวหน้า นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้เชี่ยวชาญ อีก
ทั้งมีหลักสูตรผู้บริหารกับความเป็นผู้นาด้านวิชาการในโรงเรียนสาหรับผู้บริหารโรงเรียนร่วมโครงการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและ
พัฒนาคุณภาพดาเนินการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ปีงบประมาณ 2554-2556 พบว่าการดาเนินโครงการมีประสิทธิภาพอยู่ใน
234

ระดับสูง การปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงและของผู้เชี่ยวชาญ การบริหารงานของโรงเรียนและการปฏิบัติงานของ


สสวท. ส่งผลทางตรงต่อการปฏิบัติงานของครูผู้นาและพบว่าการปฏิบัติงานของครูผู้นาส่งผลต่อคุณภาพของ
นักเรียนสูงมาก สูงกว่าตัวแปรแฝงอื่นทุกตัว นอกจากนี้ยังพบว่าการปฏิบัติงานของครูพี่เลี้ยงได้รับอิทธิพล
ทางตรงจากการปฏิบั ติงานของผู้เชี่ยวชาญ และอิทธิพลทางอ้อมจากการปฏิบัติงานของ สสวท. มากที่สุ ด
การบริหารงานของโรงเรียนได้รับอิทธิพลจากการปฏิบัติงานของ สสวท. มากที่สุด และการปฏิบัติงานของ
ผู้เชี่ยวชาญได้รับอิทธิพลทางตรงจากการปฏิบัติงานของ สสวท. เท่านั้น
10) สานักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ส านั ก ประสานและพั ฒ นาการจั ด การศึ ก ษาท้ อ งถิ่ น กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ่ น
กระทรวงมหาดไทยได้จัดทาแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี (พ.ศ.2558-2560) โดยมีวิสัยทัศน์ดังนี้
“ท้อ งถิ่ น จั ด การศึ ก ษาตลอดชี วิ ต มี คุ ณ ภาพ ได้ ม าตรฐานสากล ประชาชนมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี มี คุ ณ ธรรม
จริยธรรม อยู่ร่วมกันอย่างปรองดองสันติสุขและยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อการพัฒนา 5 ข้อ คือ
(1) สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
(4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริม สนับสนุนท้องถิ่นมีความสมานฉันท์ อยู่ร่วมกันอย่าง
สันติสุขและยั่งยืน
(5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแหล่งท่องเที่ยว จัดการศึกษาเพื่อรองรับการส่ งเสริมการ
ท่องเที่ยวในท้องถิ่น
ในแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี ได้กาหนดยุทธศาสตร์ดาเนินการไว้ 6 ยุทธศาสตร์
คือ
(1) พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย (0-3 ปี) ให้ผู้เชี่ยวชาญมีพัฒนาการอย่างรอบด้าน
และสมดุลตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยในแนวทางการพัฒนาที่ 1.4 กาหนดให้พัฒนาครูผู้ดูแลเด็กมี
คุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ 1.7 ส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายครูผู้ดูแลเด็กให้มีความเข้มแข็ง และ 1.8 พัฒนา
คณะกรรมการสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งและเข้าไปมีบทบาทในการจัดการศึกษา
(2) พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลตามแนวปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้เรีย นได้เรีย นรู้เต็มตามศักยภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน แนวทางการ
พัฒนาเกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กาหนดไว้ใน 2.4 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร
ทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีความสามารถสูงในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น
ผู้เรียนเป็นสาคัญ
235

(3) พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เยาวชนและประชาชน
ในท้องถิ่นได้เรียนรู้ตลอดชีวิต สู่ความเป้นเลิศตามอัจฉริยภาพและสามารถนาความเป็นเลิศนั้นไปประกอบ
สัมมาชีพได้
(4) พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
(5) เสริมสร้างสังคมท้องถิ่นให้มีความสมานฉันท์ อยู่ร่วมกันด้วยความปรองดอง เกิดสันติสุข
อย่างยั่งยืน
(6) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวให้แก่เด็ก เยาวชน และ
ประชาชนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยว
ทั้ ง นี้ การพั ฒ นาครู ที่ ป ฏิ บั ติ ง านในสถานศึ ก ษาสั ง กั ด องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ส่ ว นวิ ช าการ
มาตรฐานการศึกษาท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จะเป็นผู้จัดการอบรมโดยเน้นการพัฒนาความรู้ทักษะตาม 8
กลุ่มสาระวิชาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้ นฐาน โดยในการจัดโครงการพัฒนาครู จะพิจารณาเลือกหัวข้อการ
อบรมจากผลการประเมินตนเอง (SAR) ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพภายในและพิจารณาผลการประเมิน
ภายนอก (สมศ.) โดยจะเลือกตัวชี้วัดที่มีคะแนนต่าเป็นหลัก ที่ผ่านมามีอาทิ กลุ่ม STEM วิทยาศาสตร์ ไทย
อังกฤษ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้จัดอบรมครูตามนโยบายรัฐบาล เช่น ค่านิยม 12 ประการ วิชาหน้าที่
พลเมือง เป็นต้น สาหรับผู้ที่จะเข้ารับการอบรม ทางสถานศึกษาจะเป็นผู้คัดเลือกส่งมาอบรม
ปัญหาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการศึกษาเอกสารและการสนทนากลุ่มพบว่ามีปัญหาเชิง
ระบบที่สาคัญ คือ การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผล
ต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ ไม่มีระบบการพัฒนาครูใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างสานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครุสภา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการครู และต้น สั งกัดอื่น อีกทั้งปั ญหาของการพัฒ นาครูสื บเนื่องมาจากการผลิ ตครูไม่ตรงกับความ
ต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ การใช้ครูไม่ตรงวุฒิ การใช้ครูไม่ได้แยกครูรายวิชาและครูประจาชั้น ที่สาคัญ
ยิ่ง คือ การที่สถานศึกษาไม่มีความเป็นนิติบุคคลที่แท้จริงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กล่าวคือ สถานศึกษา
ไม่มีบทบาทอานาจหน้าที่ในการสรรหาครู รายละเอียดของสภาพปัญหาการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แสดงในแผนภูมิที่ 6.1
236
 วิทยฐานะไม่สอดคล้อง
กับสมรรถนะครู
ปัญหาเชิงระบบ  การประเมินวิทยาฐานะ ครูก่อนเกษียณอายุราชการ
 การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ ไม่เชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของผู้เรียน
 เป็นการอบรมเป็นครั้งคราว ขาดความต่อเนื่อง ไม่มีนวัตกรรมใหม่ ยังเน้นทฤษฎีมากกว่า
 ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่าง สกอ. คุรุสภา สพฐ. กคศ. ครูมืออาชีพ ปฏิบัติ ขาดระบบการนิเทศติดตาม
 สมรรถนะครูที่กาหนดไม่ชัดเจน
มีครูเป็นจานวนน้อยที่ได้รับการพัฒนา พัฒนาครูไม่ตรงความต้องการของครู
 การผลิตครูไม่สอดคล้องกับ ครูประจา และไม่สอดคล้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ดึงครูออกมาจาก
ความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ
ห้องเรียน ขาดกองทุนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมครู
 การใช้ครูไม่แยกครูรายวิชาและครูประจาชั้น
ครูผู้ช่วย มีครูผู้ช่วย 2 ปี แต่ไม่มรี ะบบพัฒนาเช้าสู่วิชาชีพ (induction teacher education)
โดยเฉพาะความเป็นครูขาดการแนะนาสอนงาน เน้นการศึกษาต่อแต่ไม่ตรงสาขา

ผู้สมัครเป็นครู ใบอนุญาตได้แบบอัตโนมัติ ไม่ได้คดั กรองคุณภาพ ใบอนุญาตไม่แยกสาขา/ระดับ ทาให้ใช้ครูไม่ตรงกับความสามารถ


สอบบรรจุครูเป็นการวัดความรู้ ไม่เน้นประเมินสมรรถนะ โรงเรียนไม่มโี อกาสคัดครูที่ต้องการ
มีความรู้ในเนื้อหาที่สอน ยังต้องปรับปรุง ขาดเทคนิคการสอน เน้นสอนเป็นชั้น ไม่มีการสอนจุลภาค การฝึกสอนไม่จริงจัง น่าจะนา
นักศึกษาครู
สหกิจศึกษาไปบูรณาการ นิเทศไม่เป็นระบบ ขาดการปฏิบัติที่ดี ระบบการรับรองหลักสูตร ยังไม่สะท้อนคุณภาพการผลิต

ผู้สมัครเรียนเพื่อเป็นครู ปริมาณความต้องการเรียนสูง แต่ไม่มีระบบคัดกรอง ต่างคนต่างรับ สถาบันไม่มีเกณฑ์กลางในการคัดร่วมกัน

แผนภูมิ 6.1 แสดงปัญหาของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


(ประวิต เอราวรรณ์: 2557; สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา: 2557; ผลการประชุมสนทนากลุ่ม: 2558)
237

6.2 ความต้องการในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการสอบถามผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จานวน 33 คน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 (ภาคผนวก ข)
พบว่าการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องที่ มีความต้องการจาเป็นเป็นลาดับแรก (ดัชนีความต้องการ
จาเป็น (PNI) = 0.71) รองลงมา คือ ความต้องการจาเป็นในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.60)
และความต้องการจาเป็นในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.54)
เมือ่ พิจารณาความต้องการจาเป็นด้านการพัฒนาครูเป็นรายข้อ แสดงในตารางที่ 6.2

ตารางที่ 6.2 ความต้องการจาเป็นด้านการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจาแนกเป็นรายข้อ


ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพพึง ความต้องการ ลาดับ
ประสงค์ จาเป็น ความสาคัญ
(PNI)
1. ครูได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและสมรรถนะสาหรับการศึกษา 2.83 4.69 0.66 7
ในศตวรรษที่ 21
2. ครูได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างพัฒนาการเรียนการสอนอย่าง 2.97 4.60 0.55 9
สม่าเสมอและต่อเนื่อง
3. มีองค์กรพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการพัฒนาครู 2.94 4.40 0.50 10
อย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง
4. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เอื้อต่อการพัฒนาครูการศึกษาขั้น 2.83 4.51 0.60 8
พื้นฐาน
5. มีรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับครูทมี่ ีประสบการณ์ 2.37 4.54 0.92 1
ทางานในแต่ละช่วง เช่น ช่วงปีแรก ช่วง 5-10 ปี และช่วง
หลังจาก 10 ปีขึ้นไป
6. มีระบบการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาครูการศึกษา 2.29 4.31 0.89 2
ขั้นพื้นฐาน
7. มีระบบการพัฒนาทีต่ รงกับความต้องการของครู 2.46 4.34 0.77 5
8. รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันเพื่อพัฒนาครูอย่าง 2.51 4.54 0.81 3
เพียงพอ
9. สถาบันจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาครูให้กับครูการศึกษา 2.63 4.60 0.75 6
ขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ
10. ระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูที่เป็น 2.43 4.34 0.79 4
มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

จากตารางที่ 6.2 แสดงว่าข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ


มากต้องดาเนินการเร่งด่วน (ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65) มีจานวน 7 ข้อ จาก 10 ข้อ ซึ่ง
เรียงลาดับสาคัญความต้องการจาเป็นได้ตามลาดับ ดังนี้
238

ลาดับที่ 1 มีรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับครูที่มีประสบการณ์ทางานในแต่ละช่ว ง เช่น ช่วงปี


แรก ช่วง 5-10 ปี และช่วงหลัง 10 ขึ้นไป (PNI = 0.92)
ลาดับที่ 2 มีระบบการวิเคราะห์ความต้องการจาเป็น ในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI =
0.89)
ลาดับที่ 3 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันพัฒนาครูอย่างเพียงพอ (PNI = 0.81)
ลาดับที่ 4 มีระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI
= 0.79)
ลาดับที่ 5 มีระบบการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของครู (PNI = 0.77)
ลาดับที่ 6 สถาบันจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาครูให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ (PNI
= 0.75) และ
ลาดับที่ 7 ครูได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและสมรรถนะสาหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (PNI =
0.66)
สาหรับความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะและสมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต แสดงเป็นรายข้อในตารางที่ 6.3
239

ตารางที่ 6.3 ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณ ลักษณะและสมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่


สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
คุณลักษณะและสมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ สภาพ สภาพที่พึง ความต้องการ ลาดับ
สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต ปัจจุบนั ประสงค์ จาเป็น ความสา
(PNI) คัญ
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน และเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้อง 3.20 4.74 0.48 30
2. มีความสามารถด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาไทยและ 2.49 4.63 0.86 5
ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา
3. มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน 3.40 4.69 0.38 40
4. มีความสามารถในการพัฒนาและประเมินหลักสูตร 2.51 4.49 0.78 8
5. มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับ 3.06 4.69 0.53 25
วัยของผู้เรียน
6. มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผูเ้ รียนเป็น 2.71 4.69 0.73 9
สาคัญ
7. มีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อการ 2.77 4.66 0.68 11
เรียนรู้
8. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทาง 2.89 4.60 0.59 15
การศึกษาเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการสื่อสาร
9. สามารถวัดและประเมินผลผูเ้ รียนเป็นรายบุคคลได้ตาม 2.60 4.66 0.79 7
สภาพจริงเพื่อเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนและประเมินการเรียนรู้
10. สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้การสอนและพัฒนา 2.17 4.40 1.03 1
ผู้เรียน
11. มีความสามารถด้านจิตวิทยาสาหรับครู ช่วยเหลือผู้เรียน 2.66 4.54 0.71 10
เป็นรายบุคคลให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตามศักยภาพของตน
12. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน 3.23 4.49 0.39 39
13. มี กั ล ยาณมิ ต รธรรม คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และ 3.20 4.60 0.44 38
จรรยาบรรณวิชาชีพมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ปฏิบัติ
ตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสานึกสาธารณะ และเสียสละให้
สังคม
14. มีภาวะผู้นาและการทางานเป็นทีมร่วมกับผูเ้ รียนและ 3.17 4.63 0.46 35
ผู้ร่วมงานทุกกลุม่
240

ตารางที่ 6.3 (ต่อ)


ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของครูไทย สภาพ สภาพที่พึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบนั ประสงค์ จาเป็น ความสา
(PNI) คัญ
15. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 3.09 4.57 0.48 31
16. มีความสามารถในการพัฒนาคุณลักษณะของผูเ้ รียนด้าน 3.09 4.57 0.48 31
คุณธรรมจริยธรรม ความเป็นไทย ความเป็นประชาธิปไตย
และทักษะชีวิต
17. มีความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์องค์ความรูเ้ พื่อ 2.76 4.50 0.63 13
นาไปใช้พัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาสถานศึกษา
18. มีจิตวิญญาณความเป็นครู สร้างแรงบันดาลใจ และ 3.06 4.65 0.52 27
กระตุ้นเร้าให้ผเู้ รียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
19. มีความสามารถในการประกันคุณภาพการศึกษา 2.91 4.44 0.53 25
โดยเฉพาะการประกันคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่อง
20. มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดริเริ่ม 3.62 4.56 0.26 42
สร้างสรรค์ และการแก้ปัญหา
21. มีการตระหนักรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ 3.15 4.59 0.46 35
สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
22. มีความสามารถในการบริหารจัดการความเสีย่ ง 2.24 4.24 0.89 3
23. มีเจตคติที่ดตี ่องานครู และศรัทธาในวิชาชีพครู 3.24 4.85 0.50 29
24. มีความอดทน ใจกว้าง มีความรับผิดชอบสูง 3.09 4.68 0.51 28
25. มีความรู้ และมีความสามารถประยุกต์ทุกทฤษฎีและ 2.35 4.41 0.88 4
ระเบียบวิธีวิจยั เพื่อสร้างความรู้ใหม่
26. มีความสามารถในการพัฒนาแสวงหา และเสนอแนะ 2.68 4.44 0.66 12
แนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพ และสังคม
อย่างมีเหตุผล และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
27. มีความสามารถในการติดตามพัฒนาการของศาสตร์ 2.88 4.50 0.56 19
ทั้งหลาย และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสมรรถนะของ
ตนเองอยู่เสมอ
28. มีความสามารถการรู้ดิจติ ัล คือ การรู้ข้อมูล ข่าวสาร 3.12 4.62 0.48 31
สารสนเทศ การรู้ด้านสื่อ และการรู้ด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
29. มีความสามารถด้านการเรียนรู้ และนวัตกรรมโดยเฉพาะ 2.85 4.62 0.62 14
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ และนวัตกรรม
241

ตารางที่ 6.3 (ต่อ)


ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของครูไทย สภาพ สภาพที่พึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบนั ประสงค์ จาเป็น ความสา
(PNI) คัญ
30. มีความรู้และความเข้าใจตนเอง และผู้อื่น 3.15 4.65 0.48 31
31. มีทักษะการมีส่วนร่วม และความร่วมมือ มีความสามารถ 3.37 4.51 0.34 41
ในการทางานอย่างมีประสิทธิภาพและเคารพต่อกลุ่ม
ผู้ร่วมงานที่มีความยืดหยุ่น และเต็มใจที่จะช่วยเสนอแนะ
ประนีประนอม เพื่อผลสาเร็จตามเป้าหมาย
32. มีจิตสานึกผู้ประกอบการ และมีความเคารพในการ 2.77 4.29 0.55 20
จัดการเพื่อความสาเร็จ
33. เป็นผู้ที่ยอมรับหลักการและค่านิยมโลกในความเป็น 3.06 4.46 0.46 35
มนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล สิทธิมนุษยชน ความ
ยุติธรรม ประชาธิปไตย และการรักษาสิ่งแวดล้อม
34. มีความรู้ความสามารถในการจัดทาแผนการจัดการ 3.03 4.69 0.55 20
เรียนรู้ทเี่ หมาะสมกับเนื้อหา และผลการเรียนรู้ในรายวิชาที่
สอน
35. มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนสอน ตาม 3.09 4.74 0.54 23
มาตรฐานหลักสูตร ผลการเรียนรูแ้ ละตัวชีวัดโดยการสร้าง/
พัฒนา หรือใช้วิธีการสอนและสื่อที่เหมาะสม มีประสิทธิผล
36. มีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 3.03 4.66 0.54 23
การประเมินระหว่างเรียนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และ
ปรับปรุงการเรียนการสอนและการประเมินเพื่อตัดสินผลการ
เรียนรู้ของผูเ้ รียน
37. มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงแผนการจัดการ 3.00 4.66 0.55 20
เรียนรู้ทมี่ ีการนาไปใช้จริง และเกิดประสิทธิผล
38. มีความรู้ความสามารถในการทาวิจัยในชั้นเรียนและ 2.40 4.60 0.92 2
นาไปสู่การพัฒนาการเรียน การสอนอย่างสม่าเสมอ
39. มีความสามารถในการเป็นผู้นาการขยายผลการจัดการ 2.43 4.51 0.86 5
เรียนการสอน ที่มีประสิทธิผล ให้ครูในโรงเรียนและครู
โรงเรียนอื่น
40. มีความคิดริเริ่ม กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และ 2.91 4.60 0.58 18
สามารถแรงบันดาลใจ ให้เพื่อนครูเห็นคุณค่าและร่วม
พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อผู้เรียน
41. มีความเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวิชาการ ศรัทธาและยึด 2.97 4.71 0.59 15
มั่นปฏิบัตติ นตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชา
ครู
242

ตารางที่ 6.3 (ต่อ)


ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของครูไทย สภาพ สภาพที่พึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบนั ประสงค์ จาเป็น ความสา
(PNI) คัญ
42. ร่วมกิจกรรมเครือข่ายครูผู้นาการเปลีย่ นแปลงและ 2.86 4.54 0.59 15
เครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้โดยมีการแลกเปลีย่ นเรียนรู้กับ
ครูผู้นาการเปลี่ยนแปลง ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนครู ปฏิบตั ิการ
เป็นประจา

จากตารางที่ 6.3 คุณลักษณะและสมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้


สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต จานวน 42 ข้อ ในกรณีพิจารณาจากความต้องการจาเป็น ระดับมากต้อง
ดาเนินการเร่งด่วนที่มีค่าดัชนีไม่ต่ากว่า 0.65 มีจานวนทั้งสิ้น 12 ข้อ ได้แก่
ลาดับที่ 1 สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การสอนและพัฒนาผู้เรียน (PNI = 1.03)
ลาดับที่ 2 มีความรู้ความสามารถในการทาวิจัยในชั้นเรียนและนาไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน
อย่างสม่าเสมอ (PNI = 0.92)
ลาดับที่ 3 มีความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง (PNI = 0.89)
ลาดับที่ 4 มีความรู้และมีความสามารถประยุกต์ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่ (PNI
= 0.88)
ลาดับที่ 5 มีความสามารถในการเป็นผู้นาการขยายผลการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลให้ครู
ในโรงเรียนและโรงเรียนอื่น (PNI = 0.86)
ล าดั บ ที่ 5 มี ค วามสามารถด้ า นการสื่ อ สารและการใช้ ภ าษาไทยและภาษาอั ง กฤษหรื อ
ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา (PNI = 0.86)
ลาดับที่ 7 สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตามสภาพจริงเพื่อเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน
และประเมินการเรียนรู้ (PNI = 0.79)
ลาดับที่ 8 มีความสามารถในการพัฒนาและประเมินหลักสูตร (PNI = 0.78)
ลาดับที่ 9 มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (PNI = 0.73)
ลาดับที่ 10 มีความสามารถด้านจิตวิทยาสาหรับครู ช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ได้เรียนรู้และ
พัฒนาตามศักยภาพของตน (PNI = 0.71)
ลาดับที่ 11 มีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อการเรียนรู้ (PNI = 0.68)
ลาดับที่ 12 มีความสามารถในการพัฒนา แสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาด้าน
วิชาการ วิชาชีพ และสังคมอย่างมีเหตุผล และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (PNI = 0.66)
243

6.3 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวคิดการพัฒนาครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต แสดงในแผนภูมิที่
6.2

ครู ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับ สังคม

สถานภาพครู

สถานภาพส่วนตัว สถานภาพทางวิชาชีพ สถานภาพทางสังคม

- ความรับผิดชอบ - เงินเดือน
- ภาวะเสรี - วิทยฐานะ
- ความรับผิดรับชอบ - เงินตาแหน่ง
- สมรรถนะครูเพื่อศิษย์ - สวัสดิการ
- การวิจัยครู - ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น
- ผลงานตีพิมพ์ - เงินบาเหน็จบานาญ
- องค์การวิชาชีพ - การเป็นที่ยกย่องนับถือใน
- การจัดการแบบมีส่วนร่วม สังคม
- หุ้นส่วน
- ความไว้วางใจ
- ภาวะผู้นา

แผนภูมิที่ 6.2 แนวคิดในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


244

จากแผนภูมิที่ 6.2 .ในการพัฒนาครูในอนาคตจาเป็นต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับสังคม


โดยรวม โดยพิจารณาจากสถานภาพครูในปัจจุบันและสถานภาพครูที่พึงประสงค์ในอนาคตโดยพิจารณาทั้ง
สถานภาพส่วนตัวโดยเฉพาะความภูมิใจในตนเอง วิสัยทัศน์ การผูกพัน แรงจูงใจ ความปรารถนาในชีวิต และ
ความมีศักดิ์ศรีในตน ด้านสถานทางวิชาชีพครูในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง สมรรถนะครูเพื่ อศิษย์ บทบาท
ครูในการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้ศิษย์ ผลงานการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากรเรียนการสอนและการ
สร้างองค์ความรู้ใหม่ในวิชาชีพครู ครูกับบทบาทองค์กรวิชาชีพ ความสามารถในการจัดการการเรียนการสอน
และการทางานแบบเครือข่าย มีส่วนร่วม รักในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครองตนความเป็นครู
เพื่อศิษย์ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และสังคมโดยทั่วไป นอกจากนี้การพัฒนาครูเพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลและ
ความยั่งยืนต้องคานึงถึงการพัฒนาครูในมิติสังคม คือ การพัฒนาครูให้สามารถครองตนอยู่ในสังคมในฐานะผู้
ประกอบวิชาชีพชั้นสูงเป็นที่น่าเชื่อถือ ศรัทธา ยอมรับและยกย่องของสังคม ดังนั้น การพัฒนาครูมุ่งสู่การเป็น
ครูเพื่อศิษย์และเพื่อสังคมเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมโดยคานึงทั้งสามมิติ คือ มิติด้านบุคคล มิติด้านวิชาชีพ
และมิติด้านสังคมไปพร้อมกัน
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตมีดังนี้
1) ให้ เ ครื อข่า ยสถาบั น อุด มศึก ษา 9 เครื อข่ ายทั่ ว ประเทศ มีห น้าที่ และความรั บผิ ด ชอบร่ว มกั บ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัด และทุกระบบการศึกษา และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต และ
กศน. ในการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาครูโดยยึดสมรรถนะและผลการ
ปฏิบัติงาน (Performance ที่ส่งผลถึงผู้เรียน) เป็นหลัก ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเส้นทางอาชีพและวิทย
ฐานะ โดยเฉพาะครูผู้ช่วยและครูประจาการ เพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิ ตและพัฒนาสู่ครูมืออาชีพให้สมกับเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพชั้นสูง
2) จัดตั้งสานักงานกองทุนพัฒนาครูตามมาตรา 52 และส่งเสริมสนับสนุนริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น
และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติคุณครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 55 ของพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ให้เป็นหน่วยงานอิสระในระบบ
องค์การมหาชน
3) ปรับระบบวิทยฐานะครูใหม่ให้เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานครูตามข้อตกลง และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของผู้เรียน ตลอดจนการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างเป็นระบบครบวงจร
4) จัดระบบการปฏิบั ติงานครูเพื่อผู้เรียนอย่างประกันคุณภาพ ให้ควบคู่กับการพัฒ นาตนเองและ
พัฒนางาน อาทิ การจัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสอนเป็นทีมที่มีการวางแผน และการสอนบทเรียน
ร่ ว มกั น มี ร ะบบพี่ เ ลี้ ย งให้ ค รู ใ หม่ สนั บ สนุ น ให้ ค รู ไ ด้ ใ ช้ เ ทคโนโลยี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการพั ฒ นาความรู้
ความสามารถ มีการติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง มีการมอบรางวัลเพื่อเสริมพลังการ
เรียนรู้ของครู
5) ให้มีหน่วยงานระดับนโยบายเป็นหน่วยงานอิสระ โดยอาจเรียก ราชวิทยาลัยศึกษาศาสตร์ หรือ
สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ หรือ สภาครุศาสตร์แห่ งชาติ มีหน้าที่ในการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูของ
245

ประเทศ กาหนดอุปสงค์ความต้องการครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์


ความรู้ด้านการผลิต และการพัฒนาครูของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน
การพัฒนาครู และเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ
6) ยกฐานะสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) จากส่วนราชการใน
สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นหน่วยงานอิสระในรูปแบบองค์การมหาชนตามมาตรา 52 ของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 โดยนาหน่วยงาน
จากทุกสังกัดรวมทั้งหน่วยงานด้าน กศน. เข้ามาร่วมในการพัฒนาด้วยอย่างค่อยไปค่อยไป
7) ให้เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต จัดให้ตั้งระบบกัลยาณมิตรนิเทศการปฏิบัติงานครูและระบบ
การปฏิบัติงานของโรงเรียน ทั้งการนิเทศภายในโรงเรียนและการนิเทศจากภายนอกอย่างเป็นระบบ เพื่อให้
โรงเรียนมีการจัดการศึกษาและพัฒนาครูอย่างครบวงจรเพื่อผู้เรียน
8) ปฏิรูปการวิจัยของสถาบันผลิตและพัฒนาครูโดยเฉพาะวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาครู
9) ให้ดาเนินการรับรองมาตรฐานสถาบันหรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมครูทั้งของรัฐและเอกชน และให้
มีสถาบันหรือศูนย์ที่ได้มาตรฐานกระจายทั่วประเทศ
10) จัดระบบเชื่อมโยงระหว่างสถาบันผลิตครู หน่วยงานผู้ใช้ครู หน่วยงานกากับมาตรฐานวิชาชีพครู
หน่วยงานพัฒนาครู และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดเอกภาพในการผลิตและพัฒนาครูให้ตรงความต้องการ
ครูของประเทศ
11) จั ดระบบการต่ อใบอนุ ญาตประกอบวิช าชีพครู ปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครู มัธ ยมศึกษา ครู
การศึกษานอกระบบ และครูอาชีวศึกษา โดยให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาครูพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน และ
ผลการพัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งระดับวิทยฐานะของครู
12) กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนให้สมาคมวิชาการและสมาคมวิชาชีพทางการศึกษามีความเข้มแข็ง
และมีบทบาทในการพัฒนาครูให้สมกับเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เป็นผู้ที่มีสมรรถนะทั้งความรู้ ความคิด
ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และความเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริง
บทที่ 7
สรุป อภิปราย และเสนอแนะ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และ


การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาความต้องการการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษา
ขั้นพื้นฐานในอนาคต และ 3) เพื่อจัดทาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต โดยการศึกษาครั้งนี้ได้กาหนดที่จะศึกษาการผลิต การใช้ และ
การพัฒ นาครู การศึกษาขั้น พื้น ฐานในสั งกัด ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส านักงานส่ งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สานักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการศึกษาเอกชน สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยใช้การวิจัย
แบบผสมวิธี (Mixed Methods Approach) สรุปได้ดังนี้
การศึกษาวัตถุประสงค์ข้อแรกใช้การวิจัยเอกสาร การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ ากหน่ ว ยผลิ ต และพั ฒ นาครู และหน่ ว ยงานใช้ ค รู เมื่ อ วั น ที่ 11 กุ ม ภาพั น ธ์ 2558 รวมทั้ ง ให้
ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าประชุมสนทนากลุ่มตอบแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และ
การพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่ว งปี พ.ศ.2546-2556 และสภาพที่พึงประสงค์ของการผลิต การใช้ และ
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคตช่วงปี พ.ศ.2557-2566 แล้วนาข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยการหา
ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ค่าความต้องการจาเป็น (Needs Assessment) เพื่อประเมินความต้องการจาเป็น ซึ่ง
เป็นกระบวนการประเมินเพื่อกาหนดความแตกต่างของสภาพที่เกิดขึ้นกับสภาพที่ควรจะเป็นโดยใช้สูตร Modified
Priority Needs Index (PNI modified)
การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ สอง ใช้การวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการครูและการ
ผลิ ต ครู ก ารศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานในอนาคต โดยใช้ ก ารวิ เ คราะห์ แ นวโน้ ม และความต้ อ งการในอนาคต ( Trend
Analysis) ซึ่งเป็นการคานวณข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.2546-2557 กับการประชุมกลุ่มเพื่อทาวงล้ออนาคต (Future
Wheel) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 โดยมีผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและผู้ที่
ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การนาเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย ผู้วิจัยนาข้อมูลข้างต้นมายกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนาเสนอในการ
ประชุมสนทนากลุ่มหรือการประชุมวิทยาพิจารณ์ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ดารงตาแหน่ง/
เคยดารงตาแหน่ งผู้ บ ริห ารระดับสู ง จากหน่ว ยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้อง คือ สานักงานเลขาธิการคุรุส ภา
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สานักงานเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานเลขาธิการ
247

คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักงานเลขาธิการคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (กลุ่ม 16) สานักงานกรุงเทพมหานคร และกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นผู้วิจัยนาข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุง เป็นข้อเสนอเชิง
นโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
สรุปผลการวิจัย
7.1 สภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7.1.1 การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การปฏิรูปครูทั้งระบบเป็นเปูาหมายสาคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญ
พุทธศักราช 2540 และ 2550 เมื่อมีการตราพระราชพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงมีการบัญญัติ
เรื่ องครู คณาจารย์ และบุ คลากรทางการศึกษาไว้เป็น หมวดต่างหาก โดยมาตรา 52 กาหนดไว้ชัดเจนว่า ให้
กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้
มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกากับและประสานให้สถาบันที่ทาหน้าที่ผลิต
และพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุ คลากร
ใหม่ แ ละการพั ฒ นาบุ ค ลากรประจ าการอย่ า งต่ อ เนื่ อ งรั ฐ พึ ง จั ด สรรงบประมาณและจั ด ตั้ ง กองทุ น พั ฒ นาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเอกสารยังพบว่าที่ผ่านมาการผลิต
ครูไทยมีสภาพปัญหาสาคัญที่ส่งผลไปยังอนาคต 3 ประการ คือ 1) นโยบายการผลิตครูของรัฐ ที่ไม่มีความแน่นอน
มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวาระการบริหารประเทศของคณะรัฐบาลแต่ละชุ ด 2) สถาบันการผลิตครูยังมีคนเก่งเข้า
เรียนครูจานวนน้อย และ 3) กระบวนการผลิตครูของสถาบันผลิตครูแต่ละแห่งคุณภาพไม่เท่ากัน ดังนี้ (สานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2557: 13-16 และวิชุดา กิจธรธรรมและคณะ, 2554)
สาหรับปัญหาด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และ
มาตรฐานบัณฑิต สรุปได้ดังนี้
7.1.1.1 มาตรฐานหลักสูตร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ
ผลิตครู เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกตามนัย
ของกฎหมายแม่บทดังกล่าวเพื่อบัญญัติความเกี่ยวกับวิชาชีพทางการศึกษา จึงกาหนดให้วิชาชีพทางการศึกษา
ประกอบด้วยวิชาชีพครู วิชาชีพผู้บริ หารสถานศึกษา วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพควบคุมอื่นตามที่
กาหนดในกฎกระทรวง เป็นวิชาชีพควบคุม โดยผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
และมีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ หากผู้ใดประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใ บอนุญาต
248

ประกอบวิชาชีพหรือไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา อาจถูกลงโทษจาคุกหรือโทษปรับได้ การที่กาหนดให้วิชาชีพครู


เป็นวิชาชีพชั้นสูงและเป็นวิชาชีพควบคุมก็เพื่อยกระดับสถานะของวิชาชีพ และหวังว่าจะดึงดูดคนดี คนเก่งเข้ามา
เป็นครู หลังจากนั้นได้มีการปฏิรูปหลักสูตรผลิตครู ครั้งใหญ่โดยสถาบันผลิตครูต้องปรับหลักสูตรปริญญาตรีทาง
การศึกษาจากหลักสูตร 4 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี การปรับปรุงครั้งนี้หวังว่าจะสามารถสร้างครูที่มีความลึกซึ้งทาง
วิชาการ มีความเชี่ยวชาญในทางปฏิบัติและมีจิตวิญญาณในการเป็นครู สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนา
ผู้เรี ย นได้เต็มตามศักยภาพตามแนวทางที่ยึดผู้ เรียนเป็นส าคัญ ซึ่งเป็นเปูาหมายใหญ่ของการปฏิรูปการศึกษา
หลักสูตร 5 ปีจึงได้กาหนดให้ผู้เรียนผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็น
เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ขณะเดียวกัน สานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ออกประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระ
ความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้
และประสบการณ์วิชาชีพ ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการ
ประกอบวิชาชีพ ซึ่งในประกาศข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิช าชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548
กาหนดมาตรฐานความรู้ ให้ครูมีคุณวุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภา
รับรอง โดยมีความรู้ 9 ด้าน ได้แก่ 1) ภาษาและเทคโนโลยีสาหรับครู 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การจัดการเรียนรู้
4) จิตวิทยาสาหรับครู 5)การวัดและประเมินผลการศึกษา 6) การบริหารจัดการในห้องเรียน 7) การวิจัยทาง
การศึกษา 8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 9) ความเป็นครู ส่วนประกาศของคุรุสภา เรื่อง
การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2548 กาหนดองค์ประกอบ
ของมาตรฐานและเกณฑ์การรับรองปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) กาหนดมาตรฐานไว้สามด้าน คือ
มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิตหรือมาตรฐานผู้สาเร็จการศึกษา ล่าสุดมีประกาศ
คณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์คุณสมบัติของสถานศึกษาสาหรับปฏิบัติการสอน ล่าสุดสานักงานเลขาธิการ
คุรุสภาได้ออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 กาหนดมาตรฐานความรู้และประสบการณ์
วิช าชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน ในด้านมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
กาหนดให้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุ
สภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้ 11 ด้าน คือ 1) ความเป็นครู 2) ปรัชญาการศึกษา 3) ภาษาและวัฒนธรรม 4)
จิตวิทยาสาหรับครู 5) หลักสูตร 6) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 8)
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 9) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ 10) การประกัน
คุณภาพการศึกษา 11) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ส่วนมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ กาหนดให้ผ่าน
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์
การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนดสาหรับการฝึก
ปฏิบั ติวิ ช าชีพระหว่า งเรี ย น และการปฏิ บั ติ ก ารสอนในสถานศึก ษาในสาขาวิช าเฉพาะ และยั งได้ มีก ารปรั บ
249

หลักเกณฑ์อื่นๆ แต่ที่สาคัญคือการกาหนดว่าผู้สาเร็จการศึกษาที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่คุรุ สภาให้การ


รับรองต้องผ่านการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากาหนด
ขณะเดียวกันสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้กรอบ
มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:
HEd) ในปี พ.ศ. 2552 และประกาศกรอบมาตรฐานคุณวุฒิครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ในปี
พ.ศ. 2554 กรอบมาตรฐานดังกล่าวเป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ เพื่อให้
สถาบันอุดมศึกษานาไปจัดทาหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิต
ในสาขาหรื อสาขาวิช าของแต่ล ะระดับ คุณวุ ฒิ มี มาตรฐานใกล้ เคี ยงกั น ซึ่งได้ก าหนดมาตรฐานคุ ณวุฒิ ส าขา/
สาขาวิชา (มคอ. 1) รายละเอียดหลักสูตร (มคอ. 2) กาหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสาคัญ ผล
การเรียนรู้ และโครงสร้างหลักสูตรกับรายวิชา รายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) รายละเอียดของประสบการณ์
ภาคสนาม (มคอ. 4) รายงานผลการดาเนินการของรายวิชา (มคอ. 5) รายงานผลการดาเนินการของประสบการณ์
ภาคสนาม (มคอ. 6) และรายงานผลการดาเนินการของหลักสูตร (มคอ. 7)
ผลการวิจัยจากเอกสารและการสนทนากลุ่มที่น่าสนใจ คือ
1) โครงสร้างหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตรผลิตครู พบว่าหลักสูตรของสถาบันผลิตครู
แต่ละสถาบันมีโครงสร้างหลักสูตรจานวนหน่วยกิตรวมและจานวนหน่วยกิตในหมวดวิชาต่างๆ ไม่ต่ากว่าที่คุรุสภา
กาหนดโดยมีจานวนหน่วยกิตในหลักสูตรระหว่าง 100-174 หน่วยกิตและทุกสถาบันกาหนดให้นิสิตนักศึกษาผ่าน
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี อย่างไรก็ตาม
ผู้ทรงคุณวุฒิยังมีความไม่พอใจหลักสูตร 5 ปีในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตครูที่มีคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ เป็น ครู เก่งครู ดี มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และมีประเด็นให้ทบทวนประสิ ทธิภ าพและความ
แตกต่างของการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษาหลักสูตร 5 ปีและหลักสูตร 4 ปีเดิม
2) กรอบมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานวิชาชีพครู มีประเด็นว่าการกาหนดกรอบมาตรฐานหลักสูตร
และมาตรฐานวิชาชีพ มีความสาคัญแต่หลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มีกรอบมาตรฐานกากับมาก
เกินไปทั้งมาตรฐานที่กาหนดจากสานักงานเลขาธิการคุรุสภาและสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ
มาตรฐานที่กาหนดเพิ่มเติมของสถาบันอุดมศึกษา และในทางปฏิบัติ มีปัญหาในการดาเนินการให้เป็นไปตาม
ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ ทั้งที่ใช้กรอบมาตรฐานดังกล่าวมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะการสร้างคุณลักษณะที่
สาคัญของบัณฑิตครู คือ ความเป็นครู คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
7.1.1.2 มาตรฐานการผลิต พบว่าการยกระดับสถานะวิชาชีพครูเป็นวิชาชี พชั้นสูงและมีบัญชีเงินเดือน
พร้อมเงินวิทยฐานะที่ค่อนข้างสูงกว่าวิชาชีพอื่นเป็นบัญชีต่างหาก มีส่วนทาให้มีผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรของ
คณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์มากขึ้นจนเป็นอันดับต้นๆ แต่ก็ยังไม่ได้เป็นการรับรองว่าจะมีคนดีคนเก่งมาสมัครและ
250

สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรได้ และยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการแก้ปัญหาที่สถาบันการผลิตครู มีคน


เก่งเข้าเรียนครูจานวนน้อย ทั้งนี้ มีผลการวิจัยที่สาคัญ คือ
1) การผลิตครูใหม่ ในเชิงปริมาณ ข้อมูลนักศึกษาเข้าใหม่ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/
ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-2556 ของสถาบันผลิตครูจานวน 79 แห่งสารวจโดยสานักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษาพบว่าในภาพรวมมีแนวโน้มรั บนักศึกษาใหม่จานวนเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจาก 25,333 คน ในปี
การศึกษา 2551 เป็ น 50,131 คน ในปี การศึกษา 2556 หากพิจารณาเป็นรายปีจะพบว่า ในช่ว งสองปีแรกมี
จานวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นมาสถาบันผลิตครูรับนักศึกษาจานวนเพิ่มขึ้นระหว่าง
50,000-60,000 คน และเมื่อพิจารณาประเภทของสถาบันผลิตครูจะพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ รับนักศึกษา
จ านวนเพิ่มขึ้ น มากที่ สุ ดโดยรั บ นั ก ศึก ษาเพิ่มจาก 13,779 คน ในปีก ารศึกษา 2551 เป็ น 39,217 คน ในปี
การศึกษา 2556 ในทานองเดียวกัน มหาวิทยาลัยรัฐไม่จากัดรับ ก็รับนักศึกษาเพิ่มจาก 2,064 คน ในปีการศึกษา
2551 เป็น 4,742 คน ในปีการศึกษา 2556 และสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการรับนักศึกษาเพิ่มจาก
3,179 คน ในปีการศึกษา 2551 เป็น 6,495 คน ในปีการศึกษา 2556 แต่ที่น่าสังเกตคือกรณีของมหาวิทยาลัย
เอกชนซึ่งเริ่มรับนักศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 แต่รับมากขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ทาให้จานวนการรับ
นักศึกษาเพิ่มจาก 100 คนในปีการศึกษา 2551 เป็น 969 คนในปีการศึกษา 2556 ในจานวนนี้เป็นนักศึกษา
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีซึ่งเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นปีแรกถึง
400 คน นอกจากนี้ยังน่าสังเกตด้วยว่า วิทยาลัยสันตพลรับนักศึกษาเพิ่มจาก 8 คนในปีการศึกษา 2551 เป็น 140
คน ในปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล รับนักศึกษาใหม่ปีแรกแต่รับจานวนมากถึง 92 คน (ตารางที่
7.1 ข้อมูลสรุปจากตารางที่ 4.2 และ 4.3)
251

ตารางที่ 7.1 สรุปจานวนนักศึกษาเข้าใหม่ ในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา


2551-2556 จาแนกตามสังกัด
ปีการศึกษา
ประเภทสถาบัน
2551 2552 2553 2554 2555 2556
รวมทั้งหมด 25,333 36,601 52,336 61,472 54,679 50,131
มหาวิทยาลัยรัฐ 4,623 5,726 6,856 6,690 6,112 5,831
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 1,588 2,037 1,725 1,827 1,975 1,877
มหาวิทยาลัยรัฐไม่จากัดรับ 2,064 3,670 4,366 5,471 6,028 4,742
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 13.779 21,453 34,263 40,896 32,965 39,217
สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 3,179 3,615 5,026 6,279 7,294 6,495
มหาวิทยาลัยเอกชน 100 100 100 309 305 969
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี - - - - - 400
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น - - - 50 50 50
มหาวิทยาลัยปทุมธานี - - - - - 29
มหาวิทยาลัยราชธานี 100 100 100 100 100 100
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล - - - - - 92
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา - - - 151 143 128
มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนเทเรซา - - - - - 27
วิทยาลัยสันตพล - - - 8 10 140
สถาบันอาศรมศิลป์ - - - - 2 3
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558

ในด้านสาขาวิชาที่ผลิตครู ผลการสารวจของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพบว่า สาขาวิชาที่รับ


นักศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุดห้าอันดับแรก คือ พลศึกษา ภาษาต่างประเทศ การศึกษาปฐมวัย สังคมศึกษา
และคณิตศาสตร์ (ตารางที่ 7.2 ข้อมูลสรุปจากตารางที่ 4.4) โดยสาขาวิชาเหล่านี้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย
ประมาณสองเท่าในระหว่างปีการศึกษา 2551-2556 แต่หลายสาขาวิชาไม่ใช่สาขาวิชาที่ขาดแคลนครู
252

ตารางที่ 7.2 สาขาวิชาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จานวนมากที่สุด 5


อันดับแรกในระดับปริญญา จาแนกตามสาขาวิชา ปีการศึกษา 2551-2556
จานวน ปีการศึกษา
สาขาวิชา
สถาบัน 2551 2552 2553 2554 2555 2556
พลศึกษา 39 3,123 4,226 5,859 7,131 6,439 6,685
ภาษาต่างประเทศ 55 3,120 4,504 6,088 6,808 6,197 5,572
การศึกษาปฐมวัย 58 3,960 4,988 6,625 6,812 5,788 5,324
สังคมศึกษา 46 1,962 2,917 5,242 6,969 5,210 4,751
คณิตศาสตร์ 50 2,137 3,524 5,148 5,980 4,909 4,213
ที่มา: สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558

ขณะเดียวกันจากตารางที่ 4.2 พบว่าการผลิตครูอาชีวศึกษากลับมีจานวนน้อย กล่าวคือมหาวิทยาลัย


เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ที่เป็นสถานบันหลักในการผลิตครูอาชีวศึกษารับนักศึกษาใหม่ไม่มากนัก ระหว่างปี
การศึกษา 2551-2556 ในภาพรวม มทร. รับนักศึกษา 1,588 คน ในปีการศึกษา 2551 ต่อมาปีการศึกษา 2552
รับนักศึกษา 2,037 คน ปีการศึกษา 2553 จานวน 1,725 คน ปีการศึกษา 2554 รับนักศึกษา 1,827 คน
ปีการศึกษา 2555 รับนักศึกษา 1,975 คน และ 1,877 คน ในปีการศึกษา 2556 เมื่อเทียบกับความต้องการครู
อาชีวศึกษาของประเทศจะเห็นว่ามีจานวนรับไม่มากและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนครูอาชีวศึกษา เป็น
เหตุให้คณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ สาขาวิชา เป็นสาขา 86 ให้ประกาศรับรอง 2557 ตุลาคม 16
วิชาชีพที่ขาดแคลน สามารถสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูได้ตามที่ สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เสนอดังจะกล่าวต่อไป (.สอศ)
2) ระบบและกระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา ปัจจุบันสถาบันผลิตครูทุกสถาบันมีการกาหนดวิธีการ
รับเข้าศึกษา 3 วิธี คือ การรับแบบโควตา การรับสมัครผ่านมหาวิทยาลัยโดยตรง และการรับสมัครผ่านระบบกลาง
การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา แต่น่าสนใจว่าสถาบันผลิตครูค่อนข้างมีอิสระในกระบวนการ
คัดเลือกนิสิตนักศึกษาตั้งแต่การกาหนดจานวนรับนักศึกษาใหม่ สาขาวิชาที่จะรับเข้าศึกษา แม้จะต้องแจ้งจานวน
ในหน่วยกลางทราบแต่ก็แทบจะไม่มีการเปลี่ ยนแปลง มีแต่แนวโน้มจะรับเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการวางแผนการรับ
นักศึกษาจากส่วนกลาง การรับนักศึกษาครูมากเกินไปจะสะท้อนถึงคุณภาพการจัดการศึกษาที่ส่งผลถึงคุณภาพ
บัณฑิต จึงอาจสรุปได้ว่าสถาบันผลิตครูไม่ได้ผลิตตามต้องการในการใช้ครูและความต้องการในการพัฒนาประเทศ
แต่ผลิตตามความต้องการของตนเอง จานวนการผลิตยังไม่สอดคล้องกับความต้องการทั้งในด้านจานวนรวมและ
การรับในแต่ละสาขาวิชา กล่ าวคือ มีการผลิตเกินบางสาขาวิชาและขาดในบางสาขาวิชา แต่ยังไม่มีการแก้ไข
นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าสนทนากลุ่มยังเห็นว่าสถาบันผลิตครู ยังไม่ได้คนเก่ง คนดี คนอยากเป็นครู มาเรียนครู
ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เท่าที่ต้องการ การสอบคัดเลือกเน้นเรื่องความรู้
253

วิช าการมากกว่าความถนัดวิชาชีพครู ส่ว นแบบวัดความเป็นครูไม่ส ามารถวัดความถนัดได้จริง ที่น่าสนใจอีก


ประการหนึ่ง คือ ที่ประชุมมีข้อสังเกตในด้านเปูาหมายการผลิตครูว่าสถาบันผลิตครูไม่ควรมุ่งผลิตบัณฑิตสาหรับไป
ประกอบวิชาชีพในโรงเรียนรัฐเท่านั้น โรงเรียนประเภทอื่น เช่น โรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนในสังกัดองค์การ
ปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยังมีความต้องการครูอีกมาก
ผู้ทรงคุณวุฒิจึงมีความเห็นเป็นสามทาง แนวทางที่หนึ่ง เห็นว่าควรใช้การคัดเลือกนิสิตนักศึกษาแบบ
ระบบปิด กล่าวคือ ผลิตตามจานวนที่ต้องการ ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีฐานข้อมูลจานวนครูที่ต้องการที่ถูกต้อง
เพื่อจะได้มีการกาหนดจานวน สัดส่วน ให้สถาบันผลิตครูแต่ละแห่งนาไปผลิตตามที่กาหนด ขณะเดียวกันก็อาจมี
มาตรการอื่ น ด้ ว ยเพื่ อ ให้ ส ามารถผลิ ต ครู ไ ด้ ร งความต้ อ งการของสถานศึ ก ษาในสั ง กั ด ต่ า งๆ เช่ น ให้
กระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันผลิตครูร่วมมือกับท้องถิ่นกาหนดโควตารับเข้าเพื่อจะได้ผลิตครูตรงความต้องการ
ท้องถิ่นและเป็นครูที่จะออกไปทางานในท้องถิ่นนั้นๆ แนวทางที่สอง เห็นว่าหากยังไม่มีการปรับจานวนรับนิสิต
นักศึกษาในสถาบันผลิตครูซึ่งมีจานวนมากกว่า 5 หมื่นคนต่อปีตามตารางที่ 5.1 ก็จะต้องมีมาตรการในการสอบ
เพื่อสาเร็จการศึกษา (exit exam) และ/หรือการรับใบประกอบวิชาชีพครูที่เข้มข้นเพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพ มีใจรัก
และศรัทธาวิชาชีพครู แนวทางที่สาม เสนอให้ผสมผสานแนวทางที่หนึ่งและสองโดยให้เริ่มใช้ระบบปิดกับบาง
สาขาวิชาก่อน
3) กระบวนการผลิตครูและการบริหารหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่าเมื่อนักศึกษาเข้ามาศึกษาหลักสูตรครุ
ศาสตร์ศึกษาศาสตร์ของสถาบันผลิตครู แล้ว การจัดการเรียนการสอนยังเน้นการถ่ายทอดความรู้มากกว่าการ
พัฒนาทักษะความเป็นครูมืออาชีพ และจิตวิญญาณของความเป็นครู การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะความเป็น
ครูในบางสถาบันยังมีความไม่เหมาะสม การฝึกปฏิบัติการในสถานศึกษายังมีปัญหาหลายด้าน นอกจากนี้ยังพบ
ประเด็น ที่น่ าสนใจเกี่ย วกับ บุคคลที่รับ ผิ ดชอบหลั กสูตรปริญญาทางการศึกษาหลายประการ โดยสรุปเห็ นว่า
สถาบันผลิตครูบ างแห่งมีจานวนคณาจารย์ประจาหลักสูตรไม่เพียงพอตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ บาง
สถาบันไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่คุรุสภากาหนดสาหรับอาจารย์ประเภทต่างๆ และ/หรือครูพี่เลี้ยง ที่สาคัญมีข้อสังเกต
เกี่ย วกับ คุณสมบั ติของบุ คคลที่รั บ ผิ ดชอบหลั กสู ตรปริญ ญาทางการศึก ษาโดยเห็ นว่า ในขณะที่มีการกาหนด
มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสาหรับผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแต่
คณาจารย์ในสถาบันผลิตครูซึ่งเป็นคนผลิตครูส่วนหนึ่งกลั บไม่เคยเป็นครูจึงไม่ได้ประสบการณ์ของความเป็นครูมา
สอนนักศึกษา ทานองเดียวกันผู้ที่สอนวิชาบริหารการศึกษาส่วนหนึ่งแต่ไม่เคยบริหารสถานศึกษา ไม่เคยนิเทศ
การศึกษา ทาให้ความรู้ที่นักศึกษาได้รับเป็นทฤษฏีเสียส่วนใหญ่ ส่วนการประเมินและนิเทศการสอนก็ยังไม่ได้ทา
อย่างเป็นระบบทาให้นักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์หรือประยุกต์สิ่งที่เรียนมาใน
การทางานได้จริง จึงมีการตั้งประเด็นว่าคณาจารย์ผู้สอนและผู้ที่ทาหน้าที่นิเทศการศึกษาควรมีประสบการณ์เป็น
ครูมาก่อนด้วย และควรปรับแนวคิดการฝึก ปฏิบัติการในสถานศึกษาให้มีความร่วมมือกันระหว่างสถาบันผลิตครู
และสถานศึกษาเพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝุาย
254

4) การประกันคุณภาพการศึกษา ผลการวิจัยพบว่ามีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินคุณภาพ
มาตรฐานของสถาบันผลิตครูเพื่อให้ได้มาตรฐานคุณภาพ แต่ปัจจุบันการตรวจสภาบันการศึกษาเพื่อรับประกัน
คุณภาพยังเน้นเอกสารมากเกินไป โดยเสนอว่าสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) หรือ สมศ. ควรมีการทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา และให้ใช้การประเมินเชิง
ประจักษ์แทนการประเมินทีเ่ น้นเอกสารซึ่งเป็นภาระของสถาบันผลิตครู รวมทั้งควรทบทวนระยะเวลาการประเมิน
หลักสูตรทีก่ าหนดให้ประเมินทุก 5 ปี แต่ในความเป็นจริง จะได้ประเมินเมื่อผู้เรียนอยู่ปี 4 ซึ่งยังไม่สาเร็จการศึกษา
จึงยังไม่สามารถประเมินหลักสูตรได้
7.1.1.3 มาตรฐานบัณฑิต ในเชิงปริมาณเมื่อพิจารณาจากตารางที่ 4.8 และ 4.9 พบว่าผู้สาเร็จการศึกษา
พบว่าระหว่างปีการศึกษา 2551- 2555 มีจานวนผู้สาเร็จการศึกษาไม่มากนักเมื่อเทียบกับจานวนรับนักศึกษาใหม่
ในแต่ละปีการศึกษา โดยมี ผู้ที่สาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมากที่สุด รองลงมามหาวิ ทยาลัยของรัฐ
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ส่วนสาขาวิชาที่คาดว่านักศึกษาคณะครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ จะสาเร็จ
การศึ ก ษา 5 อั น ดั บ สู ง สุ ด จาก 50 กลุ่ ม สาขาวิ ช า ตั้ ง แต่ ปี 2556-2560 คื อ การศึ ก ษาปฐมวั ย พลศึ ก ษา
ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ (ภาพที่ 4.2) ในด้านคุณภาพ ส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ การปฏิบัติการสอน
การปฏิบัติตน และการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครู ผลการประชุมสนทนากลุ่มเห็นว่าคุณภาพบัณฑิตยังมี
ปัญหาอยู่กระบวนการเรียนการสอนไม่ได้เน้นความเป็นครู และเทคนิควิธีการสอนส่งผลให้นิสิตนักศึกษาสาเร็จ
การศึกษาออกไปเป็นครูที่ขาดเรื่องทักษะ วิธีการ และจิตวิญญาณความเป็นครู กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะความ
เป็ น ครู ไ ม่ เ หมาะสม สถาบั น ผลิ ต ครู ยั ง ไม่ ไ ด้ ท าหน้ า ที่ อ ย่ า งดี ที่ สุ ด ในด้ า นการนิ เ ทศประสบการณ์ วิ ช าชี พ ครู
การคัดเลือกครูพี่เลี้ยงไม่ได้ทาอย่างรัดกุม ส่งผลให้นิสิตนักศึกษาทีเ่ ลือกเข้ามาศึกษาในสถาบันผลิตครูเพราะมีความ
อยากเป็นครูส่วนหนึ่งกลับไม่ประสงค์ที่จะประกอบวิชาชีพครูเมื่อสาเร็จการศึกษา จึงมีการเสนอให้เน้นการพัฒนา
คุณลักษณะความเป็นครู และมีข้อเสนอให้สถาบันผลิตครูปรับบทบาทโดยให้การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิต
นั ก ศึ ก ษาเป็ น การพั ฒ นาทั้ ง สถานศึ ก ษาและสถาบั น ผลิ ต ครู เช่ น การท าโครงการโรงเรี ย นร่ ว มพั ฒ นาหรื อ
Professional Development School (PDS) เป็นต้น
7.1.2 การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีหลักการให้กระจายอานาจ
ในการบรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ งข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาไปยัง เขตพื้ น ที่ การศึ ก ษาและสถานศึ ก ษา
โดยหมวดที่ 4 ว่าด้วยการบรรจุและแต่งตั้ง (มาตรา 45-71) กาหนดให้อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษาประจาเขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้ดาเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุ
และแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
หรือหน่วยงานการศึกษาอาจรับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษในสาขาวิชาใด และผู้อานวยการ
สถานศึกษา โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีอานาจบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครู (ที่ยังไม่ได้รับเลื่อน
255

วิทยฐานะ) และตาแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสถานศึกษา ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและ


บุคลากรทางการศึกษาซึ่งมิได้อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของส่วนราชการที่ผู้นั้นสังกัดอยู่
เป็นผู้มีอานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) หรือ
อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย เว้นแต่ตาแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ทั้งนี้ ในกรณีทั่วไป การบรรจุบุคคล
เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจาก
ผู้สอบแข่งขันได้สาหรับตาแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้ งตามลาดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สาหรับ การย้าย
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปดารงตาแหน่งในหน่วยงานการศึกษาอื่นภายในส่วนราชการหรือภายใน
เขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษาต้องได้รับอนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่
ก.ค.ศ. ตั้ง ของผู้ประสงค์ย้ายและผู้รับย้าย แล้วแต่กรณี และให้สถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษาเสนอ
ความเห็นประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง ด้วย และเมื่อ
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอานาจตามที่กฎหมายกาหนด
สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นต่อไป
ในด้านสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ครูนั้น ข้อมูลจากเอกสารพบว่าครูส่วนใหญ่เป็นข้าราชการสังกัด สพฐ.
เมื่ อ ส านั ก งาน กคศ. ได้ ส ารวจจ านวนข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาสายงานการสอนที่ จ ะครบ
เกษียณอายุราชการจนถึงปี 2570 ที่สังกัด สพฐ. ว่ามีทั้งสิ้น 270,332 คน โดย 5 อันดับแรกที่จะเกษียณมากที่สุด
คือสาขาวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย พลศึกษา การบริหารการศึกษา และภาษาอังกฤษ (ตารางที่ 4.12) ส่วนผล
การสารวจความต้องการครูเพื่อทดแทนครูเกษีย ณอายุราชการ 6 ปีข้างหน้า (2557-2562) ของ สพฐ. พบว่ามีครู
เกษียณอายุราชการทั้งสิ้นจานวน 109,245 คน เป็นสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 14,399 คน ภาษาอังกฤษ 13,852 คน
ภาษาไทย 11,454 คน สังคมศึกษา 7,487 คน วิทยาศาสตร์ศึกษา 7,462 คน ปฐมวัย 6,918 คน คอมพิวเตอร์
6,160 คน ศิลปศึกษา 4,162 คน พลศึกษา 3,889 คน ดนตรี/ดุริยางคศิลป์ 3,695 คน ประถมศึกษา 3,393 คน
จิตวิทยาและการแนะแนว 2,831 คน นาฏศิลป์ 2,831 คน ฟิสิกส์ 2,676 คน สุขศึกษา 2,586 คน การงานพื้นฐาน
อาชีพ 2,411 คน ชี ว วิทยา 2,271 คน เคมี 1,446 คน บรรณารักษ์ 1,443 คน คหกรรมศาสตร์ 1,137 คน
อุตสาหกรรมศิลป์ 1,104 คน การเงิน/บัญชี/ธุรกิจ 1,093 คน และโสตทัศนศึกษา 483 คน ส่วนผลการสนทนา
กลุ่มทั้งสองครั้ง คือวันที่ 11 และ 24 กุมภาพันธ์ 2558 พบว่ามีความต้องการพัฒนาทักษะการสอนแต่ ครูบางส่วน
ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยเห็นว่า สพฐ. ไม่มีแผนการพัฒนาครูในสังกัดที่ชัดเจนว่าในแต่ละปีครูต้อง
ได้รับการพัฒนาหรือเข้าร่วมอบรมเรื่องใดบ้าง และควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อน
วิทยฐานะเนื่องจากครูที่สอนบางสาขาวิชาไม่มีความถนัดด้านการวิจัย
สาหรั บครูสั งกัดหน่วยงานอื่นๆ คือ ครูในสังกัดสานักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มี 4
รู ป แบบ ได้แก่ ครู กศน. ตาบล ครู อาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครูปอเนาะ และครู ศรช. ข้อมูล จาก
สานักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ มีครู กศน. ทุกรูปแบบ จานวน 13,021 อัตรา โดย พบว่ามีการใช้ครู กศน.
256

ตาบลที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลเมื่อปี 2556 มีครู กศน. ตาบล จานวน 8,445 อัตรา และในปี 2557 มีครู กศน. ตาบล
จานวน 8,710 อัตรา (ตารางที่ 4.13) นอกจากนี้ กคศ. ยังได้สารวจจานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาสายงานการสอนที่จะครบเกษียณอายุราชการจนถึงปี 2570 ที่สังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยพบว่ามีทั้งสิ้น 919 คน โดย 5 อันดับแรกที่จะเกษียณมากที่สุดเป็นผู้ที่มีวุฒิการบริหาร
การศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ การจัดการทั่วไป สังคมศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา (ตารางที่ 4.14) ส่วนผล
การสนทนากลุ่มพบว่าปัญหาสาคัญคือการประเมินผลการปฏิบัติงานจากหน่วยงานภายนอกซึ่งมักใช้การพิจารณา
จากเอกสารหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกับการทางานของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน โดยเห็นว่าควรใช้การประเมิน
การทางานในเชิงประจักษ์ที่พิจารณาจากผลการเรียนของผู้เรียนเป็นสาคัญ
ครูโรงเรียนสาธิต ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์
ของมหาวิ ท ยาลั ย ที่ สั ง กั ด สกอ. มี ค รู / คณาจารย์ / ผู้ ส อนรวมทั้ ง สิ้ น 2,127 คน แบ่ ง เป็ น สถานศึ ก ษาใน
กรุงเทพมหานคร 1,164 คน และส่วนภูมิภาค 963 คน ซึ่งสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ผลการประชุม สนทนากลุ่มพบว่าครู โรงเรียนสาธิต มีปัญหาด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและ
การเสนอผลงานเพื่อขอตาแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งการขาดอัตราบรรจุทาให้มีการลาออกเป็นจานวนมากในแต่ละ
ปี
สถานศึกษาเอกชนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนแบ่งเป็นโรงเรียนในระบบ
(โรงเรียนประเภทสามัญศึกษาและประเภทนานาชาติ ) และโรงเรียนนอกระบบ (หลักสูตรระยะสั้น ศูนย์การศึกษา
อิสลามประจามัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ) สาหรับการศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า มี
จานวนทั้งสิ้น11,971 โรง/แห่ง นักเรียน 3,591,155 คน ครู 160,307 คน (ตารางที่ 4.16) จากการประชุมสนทนา
กลุ่ม พบว่าสถานศึกษาเอกชนมีปัญหาด้านการว่าจ้างครูเนื่องจากมีผู้สอบไม่ผ่านจานวนมากซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพ
ของการผลิต แต่หากเข้มงวดมากเกินไปก็ไม่มีผู้มาสมัคร นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการลาออก โอนย้าย เพราะ
โรงเรียนไม่สามารถตอบสนองสวัสดิการได้ดังเช่นครูโรงเรียนรัฐบาล ครูส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะสอบบรรจุเป็นครูใน
โรงเรียนสังกัดของรัฐ และการบรรจุข้าราชการครูระหว่างภาคการศึกษาได้ส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาเอกชนมาก
ส่ ว นการผลิ ต และการใช้ ค รู อ าชี ว ศึ ก ษามี ลั ก ษณะต่ า งออกไป กล่ า วคื อ ส านั ก งานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา (สอศ.) มีสถานศึกษาในสังกัด 421 แห่งทั่วประเทศ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร
ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ หลักสูตรพัฒนาอาชีพเฉพาะทาง จัดการเรียนการสอน 9 ประเภท
วิช า มีส าขาวิ ช าให้ เลื อกเรี ย นมากกว่า 350 สาขาวิ ช า บุ คลากรในส านักงานคณะกรรมการการอาชีว ศึกษา
ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือนในส่วนกลาง ข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากรทางการศึกษา) และ
ข้าราชการครู ข้อมูล ณ วันที่ 26 กันยายน 2555 พบว่ามีบุคลากรในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จานวน 17,455 คน เป็นข้าราชการพลเรือนในส่วนกลาง 348 คน ข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษา (บุคลากร
257

ทางการศึกษา) 279 คน และข้าราชการครู (คศ.) 16,828 คน และในปี พ.ศ. 2556 มีการสารวจความต้องการครู


รายสาขาวิชาที่มีของสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่า มีความต้องการครูทั้งสิ้น 1,831 คน จานวน 34
สาขา ดังนี้ ภาษาอังกฤษ 184 คน เรื่องกล 163 คน การจัดการทั่วไป 127 คน คอมพิวเตอร์การศึกษา 125 คน
คณิตศาสตร์ 117 คน อิเล็กทรอนิกส์/ไฟฟูาสื่อสาร 116 คน ไฟฟูากาลัง 114 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 103 คน
เครื่องมือกล 100 คน ภาษาไทย 96 คน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 83 คน การโรงแรม 63 คน พลศึกษา 56 คน
เชื่อมและประสาน 50 คน อาหารและโภชนาการ 45 คน โยธาก่อสร้าง 38 คน การตลาด 32 คนสังคมศึกษา 28
คน เคมี 22 คน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 22 คน สัตวศาสตร์ 18 คน เพาะเลี้ยงสัตว์น้า/ประมง 17คน คหกรรม
ศาสตร์ทั่วไป 16 คน พืชศาสตร์ 13 คน คอมพิวเตอร์อาร์ต 12 คน ผ้าและเครื่องแต่งกาย 10 คน วิทยาศาสตร์
(ชีววิทยา) 9 คนสถาปัตยกรรม 9 คน ศิลปกรรม 9 คน เกษตรศาสตร์/เกษตรศึกษา 9 คน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
อาหาร 9 คน การออกแบบตกแต่งภายใน 8 คน ช่างกลเกษตร/เกษตรวิธาน 7 คน และเคมีสิ่งทอ 1 คน และ
เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนครูอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 คณะกรรมการคุรุสภาจึงมีมติเห็นชอบให้
ประกาศรับรอง 86 สาขาวิชา เป็นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน สามารถสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูได้ตามที่
สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอ แบ่งเป็นประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 35 สาขาวิชา
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4 สาขาวิชา ประเภทวิชาพณิชยกรรม 10 สาขาวิชา ประเภทวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 3 สาขาวิชา ประเภทวิชาเกษตรศาสตร์ 9
สาขาวิชา ประเภทวิชาการประมง 5 สาขาวิชา ประเภทวิชาคหกรรม 7 สาขาวิชา ประเภทวิชาศิลปกรรม 11
สาขาวิชา แต่มีข้อแม้ว่า เมื่อสอบบรรจุเป็นครูได้แล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากาหนด คือ ภายใน
ระยะเวลา 2 ปี ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สาหรับผลการสนทนากลุ่มพบว่าแม้
ผู้สอนไม่จาเป็นต้องจบการศึกษาจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่ก็ยังมีการขาดแคลนครูในบางสาขาวิชาและ
จาเป็นต้องบรรจุครูที่ไม่ตรงกับความต้องการเนื่องจากลักษณะการเรียนการสอนที่ต้ องใช้ครูหลากหลายสาขา
แต่ส ถานศึก ษาไม่มีง บประมาณเพีย งพอ ท าให้ ต้อ งใช้ ครูจ ากสาขาวิ ช าอื่ นมาทดแทน นอกจากนี้ ครู ในสถาน
อาชีวศึกษายังมีภาระงานอื่นนอกเหนือจากงานสอน ไม่มีแผนความก้าวหน้าในการทางานที่ชัดเจนและหน่วยงาน
ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสนใจพัฒนาครูในบางสาขาทาให้เป็นภาระของสถานศึกษา
สาหรับครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยมี
ประกาศหลักเกณฑ์การกาหนดจานวนตาแหน่งข้าราชการหรือพนักงานครูส่วนท้องถิ่นและบุคลากรสนับสนุนการ
สอนที่สังกัดสถานศึกษาเป็นการเฉพาะโดยเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วน
จังหวัด ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล และประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตาบล ซึ่งมี
เกณฑ์การกาหนดจานวนตาแหน่งสาหรับสถานศึกษาที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา สถานศึกษาที่มีนักเรียน
ตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป ซึ่งจากข้อมูล ล่าสุด พบว่า ครูองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีภาระสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับ
อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงอาชีวศึกษา (ปวช. ปวส./ปกศ. สูง) และ
258

ปริญญาตรี หลั กสูตร 2 ปี รวมทุกระดับ 687,303 คน ในด้านจานวนครูมีข้อมูล ของกรุงเทพมหานคร พบว่า


ข้าราชการครูมีจานวนค่อนข้างคงที่ระหว่างปีการศึกษา 2546-2557 ตามตารางที่ 7.3 และจากการประชุมสนทนา
กลุ่มพบว่าครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะเฉพาะและมี ความใกล้ชิดกับท้องถิ่นมาก แต่ครูในสังกัดนี้
ก็มีปัญหาในลักษณะใกล้เคียงกับครูสังกัดอื่น กล่าวคือ มี การใช้ครูนอกเหนือจากงานสอนหรือนอกเหนือเวลางาน
ปกติ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูจานวนน้อยและขาดบุคลากรสายสนับสนุน แต่มีภาระงานด้านต่างๆ
เท่ากับสถานศึกษาขนาดใหญ่ นอกจากนี้สืบเนื่องมาจากแนวทางการบรรจุครูในสถานศึกษาสังกัดองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่ดาเนินการในปัจจุบันทาให้เกิดปัญหาการขอย้ายกลับภูมิลาเนาแม้ว่าจะปฏิบัติงานในโรงเรียนที่บรรจุ
ไม่นานนัก แม้ว่าจะมีการให้ขวัญกาลังใจมากก็ตาม ซึ่งที่ประชุมเสนอให้ปรับวิธีการคัดเลือกครูโดยให้สถานศึกษาใน
ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการคัดเลือกครู หรือตั้งกฎเกณฑ์เพื่อขอโอนย้าย โดยผู้ต้องการขอโอนย้าย ต้องทางานใน
โรงเรียนที่บรรจุอย่างน้อย 5-10 ปี เป็นต้น

ตารางที่ 7.3 จานวนข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546-2557


จานวนข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา
รวม ชาย หญิง
2557 14,331 3,353 10,978
2556 14,503 3,439 11,064
2555 14,867 3,564 11,303
2554 14,461 3,610 10,851
2553 15,150 3,781 11,369
2552 15,094 3,720 11,374
2551 15,244 3,764 11,480
2550 14,609 3,622 10,987
2549 14,684 3,610 11,074
2548 12,840 3,200 9,640
2547 13,012 3,285 9,727
2546 13,167 3,294 9,873
ที่มา : สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2546 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา , 2547.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2547 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา , 2548.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2548 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา , 2549.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2549 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา , 2550.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2550 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา , 2551.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2551 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา , 2552.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2552 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จากัด, 2553.
259

สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2553 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง


ประเทศไทย จากัด, 2554.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2554 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จากัด, 2555.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2555 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิ มพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จากัด, 2556.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2556 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จากัด, 2557.
สานักการศึกษา, กรุงเทพมหานคร. รายงานสถิติการศึกษา 2557 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จากัด, 2558.

ในด้านปัญหาการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ พบว่ามีประเด็นที่มีความสอดคล้องกันระหว่างการประชุม
สนทนากลุ่มและการทาวงล้ออนาคต สรุปได้ดังต่อไปนี้
1) การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง เห็นว่ามีประเด็นจานวนการผลิตครูในสถาบันผลิตครูไม่สอดคล้องกับความ
ต้องการในการใช้ครู การบรรจุครูไม่ตรงความต้องการใช้ครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และบางครั้งมีการเมืองเข้า
มาแทรกแซง จึงต้องมีการวางแผนอัตรากาลังระยะยาวที่มีความชัดเจนและเชื่อมโยงกับฝุายผลิต ทั้งฝุายวิชาการ
และฝุายสนับสนุน นอกจากนี้ยังเห็นว่าช่วงเวลารับสมัครและบรรจุ ครูไม่สอดคล้องกับภาคการศึกษา โดยเห็นว่า
ควรกาหนดช่วงการบรรจุครูที่ไม่ส่งผลต่อการสอนระหว่างภาคการศึกษา จึงควรให้ครูเกษียณอายุราชการในเดือน
มีนาคมไม่ใช่ กันยายนเหมือนข้าราชการทั่วไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดครูในสถานศึกษา ส่วนสถานศึกษา
ประเภทอาชีวศึกษามีปัญหาการว่าจ้างครูเนื่องจากต้องการครูผู้สอนที่มีความรู้เฉพาะด้านแต่มักจะไม่มีใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู
ทั้งนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหนึ่งที่เห็นว่า มีความล่าช้าในการดาเนินการบรรจุ การแต่งตั้ง การโอนย้ายครู
โดยเฉพาะการขอโอนย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิมของครู ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานใช้ครูอื่นๆ เช่น สถานศึกษา
อาชีวศึกษาให้ความเห็นว่า มีปัญหามากด้านการสรรหาครูเพราะไม่สามารถสรรหาครูที่มีวุฒิตรงกับวิชาที่สอน
ทาให้บางครั้งจาเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์มาสอนแทน
2) การปฏิบัติงาน เห็นว่ายังมีปัญหาครูสอนไม่ตรงวุฒิ ไม่ตรงสาขาวิชาที่สาเร็จการศึกษา และครูมีภาระ
งานมากรวมทั้งงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ที่น่าสนใจ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าควรมีการปรับหลักเกณฑ์การ
คานวณอัตรากาลังใหม่โดยคิดคานวณจานวนครูที่ต้องการบรรจุจากภาระงานมิใช่จากจานวนนักเรียน อย่างไรก็
ตามเห็นว่าเมื่อสถานศึกษามีอิสระในการสรรหาครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว ปัญหาน่าจะน้อยลง และทาให้
สามารถใช้ครูได้เหมาะสมกับบริบทของการศึกษาและสามารถปรับปรุงตนเองได้ ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับภาระงานอื่น
ที่มิใช่การสอนเสนอให้บรรจุเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนเพิ่มขึ้น โดยอาจไม่จาเป็นต้องกาหนดให้มีวุฒิปริญญาตรี
260

นอกจากนั้น ผู้ ทรงคุณวุฒิ ยั งเห็ น ว่ายังมี ช่องว่างระหว่างครูต่างวัย ที่ทาให้ เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกัน


เห็นควรให้มีระบบครูรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องเพื่ อสร้างความเข้าใจในการทางานที่สอดคล้องกันและทางานร่วมกันได้
ควรให้ครูมีการฝึกอบรมวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน รวมทั้งเห็นว่าควร
มีการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาให้เข้าใจงานครูมากขึ้นเพราะปัจจุบัน ผู้บริหารสถานศึกษายังขาดความเข้าใจการ
ปฏิบัติงานโรงเรียน และไม่มีประสบการณ์การสอน
3) การสร้างขวัญและกาลังใจ เสนอให้พิจารณาทบทวนระบบการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนตาแหน่ง
วิทยฐานะ เนื่องจากเห็ น ว่า ไม่ควรเหมือนกันหมดส าหรับครู ทุกสั งกัด ควรให้ มีการประเมินที่แตกต่างกัน ตาม
ลักษณะงาน รวมทั้งเห็นว่าครูสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ สพฐ. ส่วนมากมีปัญหาการ
เขียนผลงานวิชาการเพราะไม่มีความถนัดในการทาผลงานรูปแบบของงานวิจัยและพัฒนาแต่ถนัดที่จะทางานใน
พื้นที่ปฏิบัติงานได้แก่ สถานศึกษาและเขตพื้นทีก่ ารศึกษามากกว่า อีกประการหนึ่งผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าจาเป็นต้องมี
มาตรการที่ตอบสนองความต้องการของครูที่แท้จริง เช่น ให้มสี วัสดิการทั้งขณะทางานและหลังเกษียณอายุราชการ
เพื่อเป็นการจูงใจไม่ให้ครูลาออกหรือโอนย้าย ในทานองเดียวกันครูสถานศึกษาเอกชนอาจได้รับสวัสดิการขณะ
ปฏิบัติงานหากทางานได้ดี และการที่ไม่ได้รับสวัส ดิการหลังเกษียณอายุ การทางานจึงไม่จูงใจครูให้ ทางานใน
สถานศึกษาเอกชนและมักจะลาออกมาสอบบรรจุเข้ารับราชการ
4) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้รงคุณวุฒิเห็นว่าควรมีการติดตามและประเมินการปฏิบัติงาน
ของครูอย่างต่อเนื่องแบบกัลยาณมิตร ไม่เป็ นภาระกับครูมากนัก เป็นการประเมินแบบมีส่วนร่วมและเป็นการ
ประเมินเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของครูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่ทาให้การใช้ครูเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ การที่ครูมีขวัญและกาลังใจที่ดี ครู
ได้ รั บ การประเมิ น ผลการท างานและการเกณฑ์ ก ารรั บ รองความก้ า วหน้ า ที่ ชั ด เจน มี ก ารก าหนดเส้ น ทาง
ความก้ า วหน้ า ในสายวิ ช าการหรื อ บริ ห าร มี เ ส้ น ทางการเติ บ โตก้ า วหน้ า โดยเส้ น ทางอาชี พ ของครู ค วรมี
ความก้าวหน้าเท่าเทียมผู้บริหารเพื่อจูงใจมิให้ลาไปศึกษาต่อเพื่อย้ายไปทาหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ครูรู้สึกมี
ความมั่นคงในการทางานว่ามีโอกาสก้าวหน้า ทางานด้วยความสบายใจ มีการรักษาและพัฒนาครู
7.1.3 การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ.2542 กาหนดให้ บุคลากรประจาการได้รับการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง และรัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา อย่าง
เพียงพอ ส่วนพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กาหนดว่าคุรุสภาต้อ งจัดให้มีการ
ประเมินระดับคุณภาพของผู้รับใบอนุญาตอย่างต่อเนื่องเพื่อดารงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ และความชานาญการ
ตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คุรุสภากาหนด ทั้งนี้ในการต่อ
อายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหลังได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไปแล้ว 5 ปี คุรุสภาได้กาหนดให้ผู้ยื่นขอ
261

ต้องเข้าอบรม/สัมมนาที่จัดโดยหน่ วยงานภายนอก โดยถือเป็นส่ว นหนึ่งของการพัฒ นาตนตามมาตรฐานการ


ปฏิบัติงาน นอกจากนี้การพัฒนาครูยังเป็นประโยชน์ต่อการเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูด้วยโดยเฉพาะเมื่อไม่
นานมานี้ กคศ. ได้กาหนดหลักเกณฑ์และวิธิการในการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งวิธี คือ
หลักเกณฑ์ในการทาข้อตกลงการพัฒนางาน เพื่อเป็นทางเลือกแทนการเขียนผลงานวิชาการที่ครูไม่ถนัด ปัจจุบัน
ครู จึ ง สามารถท าข้ อ ตกลงการพัฒ นางานของตนเอง ท างานในพื้ น ที่ ป ฏิ บั ติ งานของตนเอง ประเมิ น ในพื้ น ที่
ปฏิบัติงานของตนเอง ที่สาคัญประเมินที่ความสาเร็จและคุณภาพที่เกิดกับนักเรียนในความรับผิดชอบของตนเอง
เพื่อให้การพัฒนาตนของครู เกิดประโยชน์กับนักเรียนโดยตรง โดย กคศ.ได้กาหนดให้ครูที่จะขอทาข้อตกลงการ
พัฒนางานจะต้องผ่านการพัฒนาตามที่ส่วนราชการ (สพฐ.) กาหนด 2 ส่วนก่อน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การพัฒนาความรู้
ความสามารถเชิงทฤษฎี ส่วนที่ 2 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูประจาการในปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน โดยมีสถาบันพัฒนาและ
ส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) เป็นหน่วยงานกลาง หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ
สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สานักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอั ธ ยาศั ย (กศน.) ในส่ ว นครู อ าชี ว ศึ ก ษามี ส านั ก พั ฒ นาสมรรถนะครู บุ ค ลากรอาชี ว ศึ ก ษา ส านั ก งาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นผู้ดาเนินการ ส่วนครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่ว น
ท้องถิ่น สานักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ได้จัดทาแผนพัฒนา และส่วนวิชาการมาตรฐานการศึกษาท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จัดการอบรมโดยเน้น
การพัฒนาความรู้ทักษะตาม 8 กลุ่มสาระวิชาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยในการจัดโครงการพัฒนาครู
จะพิจารณาเลือกหัวข้อการอบรมจากผลการประเมินตนเอง (SAR) ซึ่งเป็นการประกันคุณภาพภายในและพิจารณา
ผลการประเมิ น ภายนอก (สมศ.) โดยจะเลื อ กตั ว ชี้ วั ด ที่ มี ค ะแนนต่ าเป็ น หลั ก ที่ ผ่ า นมามี อ าทิ กลุ่ ม STEM
วิทยาศาสตร์ ไทย อังกฤษ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้จัดอบรมครูตามนโยบายรัฐบาล เช่น ค่านิยม 12
ประการ วิชาหน้าที่พลเมือง เป็นต้น
ในส่วนของ สพฐ. พบว่าในปีงบประมาณ 2556 ได้จัดโครงการพัฒนาครูที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งของ
สมรรถนะด้ า นการจั ด การเรี ย นการสอนในบริ บ ทที่ ห ลากหลายของลั ก ษณะและขนาดของโรงเรี ย นโดยใช้
กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching และให้เป็นไปตามความต้องการจาเป็นของสานักงานสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา/มัธ ยมศึกษา โดยให้ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษาประสาน
สถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมกันเป็นคู่พัฒนา การพัฒนาจึงเน้นรูปแบบการพัฒนาฐานโรงเรียนในขณะปฏิบัติการสอน
(On the job training) และให้มีระบบสนับสนุนในรูปแบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching และ
Mentoring) โดยให้เน้นการพัฒนาเพื่อส่งเสริมจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความเป็นครู การพัฒ นาผู้เรียนให้มี
ความรู้ความสามารถด้าน Literacy, Numeracy และ Reasoning Ability ตามระดับชั้น ควบรวมกับกระบวนการ
262

จัด การเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และตาม


แนวทางของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปัจจุบัน สพฐ. ได้เริ่มโครงการสาคัญอีกโครงการหนึ่งคือโครงการนาร่อง
คูปองพัฒนาครู รวมทั้งมีโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดถือภารกิจและพื้นที่
การปฏิบัติงานเป็นฐาน ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ TEPE Online (Teachers and Educational
Personnel Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Major) เพื่อรองรับการอบรม
พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 4 แสนกว่าคนทั่วประเทศ โดยเน้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนา
ตนเองผ่านระบบออนไลน์ ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และมีกระบวนการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพให้
บรรลุตามเปูาหมายของการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จาเป็น
และสาคัญในการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละตาแหน่งและความก้าวหน้าของครู ระบบ TEPE Online ประกอบด้วยส่วน
ของการพัฒนาตนเอง และส่วนการรับรองความรู้ โดยเริ่มจากความต้องการในการพัฒนาตนเองตามวัตถุประสงค์
การพัฒนา เลือกหลักสูตรเพื่อศึกษาเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การพัฒนาที่มีอย่างหลากหลายสอดคล้องกับมาตรฐาน
วิชาชีพ และองค์ความรู้สาคัญที่จาเป็น
ในด้านปัญหาการพัฒนาครูจากการศึกษาเอกสารและการสนทนากลุ่มพบว่ามีปัญหาเชิงระบบที่สาคัญ คือ
การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ
ไม่มีระบบการพัฒนาครูใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ครุสภา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและต้นสังกัดอื่น อีก
ทั้งปัญหาของการพัฒนาครูสืบเนื่องมาจากการผลิ ตครูไม่ตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ การใช้ครู
ไม่ได้แยกครูรายวิชาและครูประจาชั้น การใช้ครูไม่ตรงวุฒิ ที่สาคัญยิ่งสถานศึกษาไม่มีความเป็นนิติบุคคลที่แท้จริ ง
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายกล่าวคือ สถานศึกษาไม่มีบทบาทอานาจหน้าที่ในการสรรหาครู

7.2 ความต้องการการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต


การวิจัยครั้ งนี้พบผลวิจัยที่น่าสนใจจากข้อมูลการตอบแบบสอบถามซึ่งเปรียบเทียบความคิดเห็ น ของ
ผู้เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่มจานวน 35 คน เกี่ยวกับสภาพการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์จากแบบสอบถาม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 พบว่า “การพัฒนาครู” เป็น
เรื่องที่มีความต้องการจาเป็นอยู่ในลาดับแรก (PNI = 0.71) คือมีค่าความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงใน
ปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด รองลงมา คือ “การผลิตครู” (PNI =0.60) และ “การใช้ครู” (PNI = 0.54)
ตามลาดับ ดังแสดงในตารางที่ 7.4
263

ตารางที่ 7.4 ความต้องการจาเป็นของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ประเด็น สภาพ สภาพพึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบัน ประสงค์ จาเป็น ความ
(PNImonification)
การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.76 4.40 0.60 2
การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.94 4.53 0.54 3
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.63 4.49 0.71 1

ทั้งนี้ หากแบ่งเป็นด้านพบว่าข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้อง
ดาเนินการเร่งด่วน (ค่าดัชนีความต้องการจาเป็นไม่ต่ากว่า 0.65) มี 5 ข้อ เรียงตามลาดับ คือ มีระบบการติดตาม
และประเมินผลการผลิตครูที่เป็น มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI =1.01) การผลิ ตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สอดคล้องกับความต้องการในเชิงคุณภาพ (PNI =0.91) และรัฐบาลมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างชัดเจน (National Goal) (ข้อ 1) (PNI =0.71) กับการมีระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดี คนเก่ง มีใจรัก
วิชาชีพครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.71) และกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน (PNI = 0.70) ดังแสดงในตารางที่ 4.12
ด้านการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในด้านการใช้ครูที่ต้องดาเนินการเร่งด่วน
มีจานวน 5 ข้อเรียงลาดับ คือ สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI =0.78) สถาบันมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึ กษาขั้นพื้นฐาน
อย่างเหมาะสม (PNI = 0.73) มีระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง
ประเทศ (PNI = 0.73) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบจัดสรรครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่ที่
เหมาะสม เช่น ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และครูเป็นคนในท้องถิ่น เป็นต้น (PNI = 0.70) และสถาบันและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบการรับฟังความต้องการและข้อเสนอแนะจากครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.67)
ดังแสดงในตารางที่ 5.26
ส่วนด้านการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าข้อที่เป็นความต้องการจาเป็นในด้านการใช้ครูที่ต้อง
ดาเนินการเร่งด่วนมีจานวน 7 ข้อเรียงลาดับ คือ มีรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับครูที่มีประสบการณ์ทางาน
ในแต่ละช่วง เช่น ช่วงปีแรก ช่วง 5-10 ปี และช่วงหลัง 10 ขึ้นไป (PNI = 0.92) มีระบบการวิเคราะห์ความ
ต้องการจาเป็นในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI = 0.89) รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันพัฒนา
ครูอย่างเพียงพอ (PNI = 0.81) มีระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง
ประเทศ (PNI = 0.79) มีระบบการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของครู (PNI = 0.77) สถาบันจัดสรรงบประมาณ
เพื่อพัฒนาครูให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ (PNI = 0.75) และครูได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและ
สมรรถนะสาหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (PNI = 0.66) ดังแสดงในตารางที่ 6.2
264

ส าหรั บ คุ ณ ลั ก ษณะและสมรรถนะของครู ไ ทยพบว่ า มี ค วามต้ อ งการจ าเป็ น ที่ ต้ อ งพั ฒ นาความรู้


ความสามารถอย่างเร่งด่วน (ค่าดัชนีไม่ต่ากว่า 0.65) จานวน 12 ข้อ เรียงตามลาดับ คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ การสอนและพัฒนาผู้เรียน (PNI = 1.03) การทาวิจัยในชั้นเรียนและนาไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอน
อย่างสม่าเสมอ (PNI = 0.92) การบริหารจัดการความเสี่ยง (PNI = 0.89) การประยุกต์ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย
เพื่อสร้างความรู้ใหม่ (PNI = 0.88) การเป็นผู้นาการขยายผลการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลให้ครูใน
โรงเรียนและโรงเรียนอื่น (PNI = 0.86) การสื่อสารและการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศ
อย่างน้อย 1 ภาษา (PNI = 0.86) การวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตามสภาพจริงเพื่อเรียนรู้ พัฒนา
ผู้เรียน และประเมินการเรียนรู้ (PNI = 0.79) การพัฒนาและประเมินหลักสูตร (PNI = 0.78) การจัดการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (PNI = 0.73) จิตวิทยาสาหรับครู ช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตาม
ศักยภาพของตน (PNI = 0.71) การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อการเรียนรู้ (PNI = 0.68) และการพัฒนา แสวงหา
และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาด้านวิชาการ วิชาชีพ และสังคมอย่างมีเหตุผล และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
(PNI = 0.66) (ดูตารางที่ 7.5 ซึ่งปรับมาจากตารางที่ 6.3)
265

ตารางที่ 7.5 ความต้องการจาเป็นของการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ประเด็น สภาพ สภาพพึง ความต้องการ ลาดับ
ปัจจุบัน ประสงค์ จาเป็น ความ
(PNImonification) สาคัญ
สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรูก้ ารสอนและพัฒนาผูเ้ รียน 2.17 4.40 1.03 1
มีความรู้ความสามารถในการทาวิจัยในชั้นเรียนและนาไปสู่ 2.40 4.60 0.92 2
การพัฒนาการเรียน การสอนอย่างสม่าเสมอ
มีความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง 2.24 4.24 0.89 3
มีความรู้ และมีความสามารถประยุกต์ทุกทฤษฎีและระเบียบ 2.35 4.41 0.88 4
วิธีวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่
มีความสามารถด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาไทยและ 2.49 4.63 0.86 5
ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา
มีความสามารถในการเป็นผู้นาการขยายผลการจัดการเรียน 2.43 4.51 0.86 5
การสอน ที่มีประสิทธิผล ให้ครูในโรงเรียนและครูโรงเรียนอื่น
มีความสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตาม 2.60 4.66 0.79 7
สภาพจริงเพื่อเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนและประเมินการเรียนรู้
มีความสามารถในการพัฒนาและประเมินหลักสูตร 2.51 4.49 0.78 8
มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ 2.71 4.69 0.73 9
มีความสามารถด้านจิตวิทยาสาหรับครู ช่วยเหลือผู้เรียนเป็น 2.66 4.54 0.71 10
รายบุคคลให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตามศักยภาพของตน
มีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อการเรียนรู้ 2.77 4.66 0.68 11
มีความสามารถในการพัฒนาแสวงหา และเสนอแนะแนวทาง 2.68 4.44 0.66 12
ในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพ และสังคมอย่างมีเหตุผล
และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อพิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ข้างต้นจะเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นความรู้ความสามารถในการทาวิจัย
การบริหารจัดการความเสี่ยง การสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และการให้ครูเป็นผู้นาการจัดการ
เรียนการสอนที่มีประสิทธิผลให้กับครูในโรงเรียนและครูโรงเรียนอื่น
ในด้านปริมาณ จากการวิเคราะห์ Trend Analysis จากข้อมูลจานวนความต้องการครูระหว่างปี 2553-
2567 โดยใช้ฐานข้อมูลครูปี 2553 ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สาขาวิชาที่มีแนวโน้มต้องการครูมากที่สุดในปี
2567 คื อ สาขาวิ ช าภาษาไทย จ านวน 5,244 คน รองลงมาคื อ สาขาวิ ช าคณิ ต ศาสตร์ สั ง คมศึ ก ษารวม
มนุษยศาสตร์และจิตวิทยา และประถมศึกษา (4,504 3,819 และ 3,743 คน ตามลาดับ) เมื่อพิจารณาระหว่าง
266

ความต้องการครูและการผลิตครู พบว่า สถาบันการศึกษาผลิตครูในสาขาวิชาส่วนใหญ่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ


โดยสาขาวิชาที่มีแนวโน้มขาดแคลนครูมากที่สุดในปี 2567 คือ สาขาวิชาประถมศึกษา ผลิตขาดจานวน 3,365
คน รองลงมาคือ สาขาวิชาภาษาไทย สังคมศึกษารวมมนุษ ยศาสตร์และจิตวิทยา การงานและพื้นฐานอาชีพ และ
ภาษาอั ง กฤษ (ผลิ ต ขาดจ านวน 3,530 1,710 1,554 และ1,231 คน ตามล าดั บ ) ส าหรั บ สาขาวิ ช าที่
สถาบันการศึกษาผลิตครูมากกว่าความต้องการมี 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาปฐมวัย สุขศึกษา/พลศึกษา และ
วิทยาศาสตร์ (ผลิตเกิน 1,467 1,002 และ 692 คน ตามลาดับ) (ตารางที่ 4.27)
สาหรับผลจากการทาวงล้ออนาคต (Future Wheel) พบว่าประเด็นที่เห็นควรให้ดาเนินการในช่วงระยะ 5
ปีสาหรับการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การปรับกระบวนการรับนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการ
ครูโดยมีเงื่อนไขให้มีการจัดทาฐานข้อมูลความต้องการครูที่ตรงกับความเป็นจริงและนามาใช้ในการวางแผนรับนิสิต
นักศึกษาร่วมกับสถาบันผลิตครู การผลิตบัณฑิตที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู การประเมินคุณภาพสถาบันการผลิต
ในเชิงประจักษ์ การกาหนดนโยบายการศึกษาชาติในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (National Goal) ที่ไม่
เปลี่ย นแปลงตามการเมือง ส่วนประเด็นที่ควรดาเนินการในระยะยาว คือ การมี นโยบายที่สร้างแรงจูงใจให้ ผู้
ประกอบวิชาชีพครูมากขึ้น ในด้านการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประเด็นเรื่องการกระจายอานาจการว่าจ้างและ
บรรจุครูให้สถานศึกษาและท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน การคัดเลือก และการบรรจุครูให้ตรงตามความ
ต้องการ กาหนดเงื่อนไขระยะเวลาสาหรับการโอนย้าย การปรับระบบการบรรจุให้มีความรวดเร็วมากขึ้นเนื่องจาก
ปัจจุบันบัณฑิตในโครงการพิเศษได้รับการบรรจุล่าช้ากว่าบัณฑิตทั่วไปทาให้ขาดขวัญกาลังใจ การเพิ่มบุคลากรสาย
สนับสนุน การปรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน การขอกาหนดหรือการเลื่อนวิทยฐานะให้อิงกับ พัฒนาการของ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน การกาหนดเส้นทางอาชีพสายวิชาการหรือบริหารให้มีเส้นทางความก้าวหน้า
(Career Path) แยกกันอย่างชัดเจนเพื่อมิให้ครูที่มีความสามารถเปลี่ยนสายงานไปเป็นผู้บริหาร ส่วนด้านการ
พัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากการกาหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน และการใช้ คูปองการพัฒนาครู
ที่ต รงตามความต้ องการของครู แล้ ว ควรให้ ส ถาบั นผลิ ต ครูเ ข้า มามี บทบาทในการพัฒ นาครูม ากขึ้ นโดยอาจ
กาหนดให้สถาบันผลิตครูรับผิดชอบการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในลักษณะอิงพื้นที่ (Area-based)
267

7.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความ


ต้องการในอนาคต
ผลการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในระดับนโยบายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดต่างๆ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 สรุปได้ดังนี้
7.3.1 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) ระบบและกระบวนการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา มีข้อเสนอทางเลือกสามข้อ ข้อเสนอที่ 1 ให้
ปรับการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเป็นการรับแบบระบบปิด (Closed Admission) คือ กาหนดจานวนและสาขาวิชาที่
จะรับนิสิตนักศึกษาตามความต้องการของสถานศึกษาและท้องถิ่น ทั้งนี้ มีข้อเสนอด้วยว่าหากต้องการจูงใจให้คนดี
คนเก่งมาประกอบวิชาชีพครูอาจให้ผู้เข้าศึกษาได้รับทุนการศึกษา หรือมีเงินเดือนระหว่างการศึกษา และให้มีระบบ
ประกันการมีงานทาเมื่อสาเร็จการศึกษา รวมทั้งมีระบบพี่เลี้ยงดูแลเมื่อเริ่มทางานด้วย ข้อเสนอที่ 2 ยังคงเป็นการ
รับนิสิ ตนักศึกษาระบบเปิ ดแบบปัจ จุบัน แต่มีความเข้มงวดในการอนุมัติให้ส าเร็จการศึกษาเพื่อรับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู หรือใช้ระบบ Exit Exam มีการสอบเพื่อสาเร็จการศึกษาอย่างเข้มงวดเพื่อให้ผู้สาเร็จการศึกษา
มีคุณภาพสูง ข้อเสนอที่ 3 ให้มี การคัดเลือกนิสิตนักศึกษาทั้งสองระบบ ทั้ง ระบบเปิดและระบบปิดเป็นระบบ
คู่ขนาน โดยในระยะแรกใช้ระบบปิดในบางสาขาวิชา
2) นโยบายการผลิตครู มีข้อเสนอให้มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิตครูโดยให้สถาบันผลิต
ครูแต่ละแห่งผลิตครูตามความเชี่ยวชาญของตน และให้เน้นการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู
3) โครงสร้างหลักสูตร มีข้อเสนอให้ทบทวนการใช้หลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร
5 ปี) ซึ่งใช้มาระยะหนึ่งแล้วเพื่อพิจารณาว่าบัณฑิตที่สาเร็จการศึกษามีคุณภาพต่างจากหลักสูตรเดิมที่ใช้ระยะเวลา
ศึกษา 4 ปี เนื่องจากการทบทวนเอกสารการผลิตครูในต่างประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงใน
ระดับสากลก็ไม่ได้เปิดหลักสูตร 5 ปี แต่ให้ความสาคัญกับกระบวนการเรียนการสอนและการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพมากกว่า นอกจากนี้ควรทบทวนการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรที่ให้ผู้สาเร็จการศึกษาสาขาวิชาอื่นมาเข้า
ศึกษาโดยเน้นเฉพาะสาขาวิชาขาดแคลน
7.3.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ประการแรก เห็นควรยึดหลักการกระจายอานาจการบริหารงาน
บุคคลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงควรให้สถานศึกษาและ/หรือท้องถิ่น มีส่วนร่วมใน
วางแผน การคัดเลื อก และการบรรจุครู เพื่อให้ สถานศึกษาได้บรรจุครูที่ตรงความต้องการทั้งในด้านปริมาณ
คุณภาพ และสาขาวิชาที่ต้องการ และยังเสนอให้หน่วยงานที่คัดเลือกครูสามารถกาหนดวิธีการคัดเลือกที่เหมาะสม
เพิ่มเติมได้ ซึ่งข้อเสนอนี้จะสอดคล้องกับนโยบายสถานศึกษานิติบุคคล ประการที่สอง เสนอว่าจากสภาพปัญหาที่
พบว่าจานวนผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นครูผู้ช่วยสาขาวิชาต่างๆ มีจานวนมากกว่าอัตราว่างทุกสาขาวิชา
แม้แต่สาขาวิชาที่ขาดแคลนครู ซึ่งอาจมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากการจัดสรรอัตราที่ไม่เหมาะสม จึงควรทบทวน
268

หลักเกณฑ์การกาหนดจานวนตาแหน่งข้าราชการครู แทนการใช้จานวนนักเรียน โดยให้พิจารณาจากภาระงานครู


สาขาวิชาที่ขาดแคลน และต้องจัดสรรครูให้เพียงพอแม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก รวมทั้งให้เพิ่มจานวนบุคลากร
สายสนับ สนุ นในสถานศึกษาโดยไม่จ าเป็ น ต้องกาหนดให้ สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ประการที่ส าม มี
ข้อเสนอให้ทบทวนกาหนดช่วงเวลาการสอบคัดเลือกและบรรจุครูในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่กระทบต่อการเรียนการ
สอนและไม่ให้ครูขาดแคลนในบางช่วงเวลาโดยเฉพาะในสถานศึกษาเอกชน ส่วนการจัดสรรอัตราทดแทนการ
เกษียณอายุราชการโดยเฉพาะสถานศึกษาที่ขาดแคลนครู ให้กระทรวงอนุมัติอัตราเกษียณให้สถานศึกษาต้นสังกัด
ก่อนการเกษียณ เพื่อสถานศึกษาจะได้บรรจุครูใหม่ทันการเปิดภาคการศึกษา
2) การปฏิบัติงาน ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบและกลไกสนับสนุนการปฏิบัติงานของครูบรรจุ
ใหม่ เช่น การจัดครูพี่เลี้ยง การกาหนดหลักเกณฑ์การมอบหมายงาน/ภาระงานที่ชัดเจนสาหรับครูในแต่ละสังกัดที่
อาจมีความแตกต่างกัน
3) การสร้างขวัญและกาลังใจ ให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดสวัสดิการแก่ครูอย่างเท่าเทียมกันทั้ง
ระหว่างการปฏิบัติงานและหลังเกษียณอายุการปฏิบัติงานเพื่อลดปัญหาการโอนย้ายและลาออก โดยเฉพาะครูใน
ท้องถิ่นทุรกันดาร ครูชายแดน ครูสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น
4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันสาหรับครู
แต่ละสังกัด และควรเชื่อมโยงการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และให้
การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเช่นกัน
7.3.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) ให้เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่ายทั่วประเทศ มีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัด และทุกระบบการศึกษา และสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต และ กศน.
ในการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่โดยเฉพาะการพัฒนาครูโดยยึดสมรรถนะและผลการปฏิบัติงาน
(Performance ที่ส่งผลถึงผู้เรียน) เป็นหลัก ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเส้นทางอาชีพและวิทยฐานะ โดยเฉพาะ
ครูผู้ช่วยและครูประจาการ เพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาสู่ครูมืออาชีพให้สมกับเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง
2) จัดตั้งสานักงานกองทุนพัฒนาครูตามมาตรา 52 และส่งเสริมสนับสนุนริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน
ดี เ ด่ น และเป็ น รางวั ล เชิ ด ชู เ กี ย รติ คุ ณ ครู คณาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา ตามมาตรา 55 ของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ให้เป็นหน่วยงานอิสระ
ในระบบองค์การมหาชน
3) ปรับระบบวิทยฐานะครูใหม่ให้เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานครูตามข้อตกลง และผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างเป็นระบบครบวงจร
4) จัดระบบการปฏิบัติงานครูเพื่อผู้เรียนอย่างประกันคุณภาพ ให้ควบคู่กับการพัฒนาตนเองและ
พัฒนางาน อาทิ การจัดให้มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสอนเป็นทีมที่มีการวางแผน และการสอนบทเรียนร่วมกัน
269

มีระบบพี่เลี้ยงให้ครูใหม่ สนับสนุนให้ครูได้ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถ มีการ


ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง มีการมอบรางวัลเพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ของครู
5) ให้มีหน่วยงานระดับนโยบายเป็นหน่วยงานอิสระ โดยอาจเรียก ราชวิทยาลัยศึกษาศาสตร์
หรือสถาบั นคุรุ ศึกษาแห่ งชาติ หรือสภาครุศาสตร์แห่งชาติ มีหน้าที่ในการวางแผนการผลิ ตและพัฒ นาครูของ
ประเทศ กาหนดอุปสงค์ความต้องการครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และส่ง เสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
ด้านการผลิต และการพัฒนาครูของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการพัฒนา
ครู และเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ
6) ยกฐานะสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) จากส่วนราชการ
ในส านักงานปลั ดกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นหน่ว ยงานอิส ระในรูปแบบองค์การมหาชนตามมาตรา 52 ของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 โดยนาหน่วยงานจาก
ทุกสังกัดรวมทั้งหน่วยงานด้าน กศน. เข้ามาร่วมในการพัฒนาด้วยอย่างค่อยเป็นค่อยไป
7) ให้เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต จัดให้ตั้งระบบกัลยาณมิตรนิเทศการปฏิบัติงานครูและ
ระบบการปฏิบัติงานของโรงเรียน ทั้งการนิเทศภายในโรงเรียนและการนิเทศจากภายนอกอย่างเป็นระบบ เพื่อให้
โรงเรียนมีการจัดการศึกษาและพัฒนาครูอย่างครบวงจรเพื่อผู้เรียน
8) ปฏิรูปการวิจัยของสถาบันผลิตและพัฒนาครูโดยเฉพาะวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาครู
9) ให้ดาเนินการรับรองมาตรฐานสถาบันหรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมครูทั้งของรัฐและเอกชน
และให้มีสถาบันหรือศูนย์ที่ได้มาตรฐานกระจายทั่วประเทศ
10) จัดระบบเชื่อมโยงระหว่างสถาบันผลิตครู หน่วยงานผู้ใช้ครู หน่วยงานกากับมาตรฐานวิชาชีพ
ครู หน่วยงานพัฒนาครู และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดเอกภาพในการผลิตและพัฒนาครูให้ตรงความต้องการ
ครูของประเทศ
11) จัดระบบการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครูมัธยมศึกษา ครู
การศึกษานอกระบบ และครูอาชีวศึกษา โดยให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาครูพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน และผล
การพัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งระดับวิทยฐานะของครู
12) กระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนให้สมาคมวิชาการและสมาคมวิชาชีพทางการศึกษามีความ
เข้มแข็ง และมีบทบาทในการพัฒนาครูให้สมกับเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เป็นผู้ที่มีสมรรถนะทั้งความรู้ ความคิด
ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และความเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริง
270

อภิปรายผลวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีสาระสาคัญที่นาไปสู่การอภิปรายผลในประเด็นต่อไปนี้
1) การพัฒนาคุณภาพครูประจาการ ผลการวิจัยจากการคานวณค่าความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็น
จริงในปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์ โดยใช้การประเมินความต้องการจาเป็นด้วยค่า PNImonification พบว่าการ
พัฒนาครูค่าความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด (PNI = 0.71)
รองลงมา คือ การผลิตครู (PNI = 0.60) และการใช้ครู (PNI = 0.54) ตามลาดับ การกาหนดนโยบายครูจึงควรให้
ความส าคัญ กับ การพัฒ นาครู ป ระจ าการ ปั จจุบัน มีห น่ ว ยงานที่เกี่ ยวข้องกับ การพั ฒ นาครู จานวนมาก แต่ล ะ
หน่วยงานก็ทาตามหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม บทบาทองค์กรที่ทาหน้าที่ประสาน คือ สคบศ. มี
ฐานะเป็นกองในสานักปลัดศึกษาธิการทาให้ไม่สามารถทาหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ทางกฎหมายการศึกษา ที่ผ่านมา
มีความพยายามเสนอให้เป็นองค์กรมหาชน 2-3 ครั้งแต่ไม่ประสบความสาเร็จ จึงอาจทาให้การพัฒนามีหลาย
เจ้าภาพ ไม่มีเจ้าภาพตัวจริง ไม่มีหน่วยประสานที่ได้ผล จึงถือเป็นนโยบายสาคัญประการแรกที่ควรได้รับการแก้ไข
อีกประการหนึ่ง หากพิจาณาข้อค้นพบจากตารางที่ 6.3 ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะ
และสมรรถนะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต พบว่าคุณลักษณะที่ต้องได้รับ
การพัฒนาเป็นการด่วนเพราะสภาพจริงยังห่างจากสภาพที่พึงประสงค์อันดับแรกๆ ที่สาคัญมาก คือ ทักษะด้าน
การวิจัยคือ วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การสอนและพัฒนาผู้เรียน การทาวิจัยในชั้นเรียนและนาไปสู่การพัฒนาการ
เรียนการสอนอย่างสม่าเสมอ ความสามารถประยุกต์ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่ อีกทักษะหนึ่ง
คือทักษะในการสอน ได้แก่ ความสามารถในการวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตามสภาพจริงเพื่อ
เรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน และประเมินการเรียนรู้ กับความสามารถในการเป็นผู้นาการขยายผลการจัดการเรียนการ
สอนที่มีประสิทธิผลให้ครูในโรงเรียนและโรงเรียนอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าควรพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร
และการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา และความสามารถในการบริหาร
จัดการความเสี่ยงด้วย ข้อค้นพบดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยของพิมพันธ์ เดชะคุปต์ กับพรทิพย์ แข็งขัน (2551)
ที่เห็นว่าควรพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้ ความรู้และทักษะดังกล่าวเป็นคุณลักษณะที่จาเป็นสาหรับครู
ในศตวรรษที่ 21 และเป็นคุณลักษณะที่พึงปรารถนาในการปรับหลักสูตรผลิตครูเป็นหลักสูตร 5 ปี และ
2) คุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตครูตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า
บัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาหลักสูตร 5 ปี ยังมีปัญหาเชิงคุณภาพ และไม่ตอบสนองเปูาหมายในการสร้างคุณลักษณะ
ความเป็นครู ข้อค้นพบดังกล่าวไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของวิชุดา กิ จธรธรรม และคณะ (2554) ที่ได้ทาการ
เปรียบเทียบการผลิตครูระหว่างหลักสูตร 4 ปี กับหลักสูตร 5 ปีแล้วพบว่าหลักสูตร 5 ปีที่มีการกาหนดมาตรฐาน
หลักสูตรจากองค์กรวิ ชาชีพ คือ คุรุสภามีการกาหนดสาระความรู้และสมรรถนะชัดเจนกว่าโดยหลักสูตรนี้เน้น
ความรู้และทักษะการวิจัยในชั้นเรียน ในด้านกระบวนการผลิตมีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนทีเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และลักษณะสาคัญของหลักสูตร 5 ปี คือ มีระยะเวลา
271

ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ปีต่างจากหลักสู ตร 4 ปีซึ่งใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา ด้านผลผลิต พบว่าผู้สาเร็จ


การศึกษาหลักสูตร 5 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านการสอน การเขียนแผนการสอน และการจัดชั้นเรียนมากกว่า
หลักสูตร 4 ปี ส่วนในด้านผลกระทบพบว่าครูใหม่ที่สาเร็จการศึกษาหลักสูตร 5 ปี มีทักษะเชี่ยวชาญในการพัฒนา
นักเรียนมากกว่าและมีความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษามากกว่าครูใหม่ในหลักสูตร 4 ปี ผู้วิจัยได้นา
ประเด็นดังกล่าวให้ผู้ทรงคุณวุฒิสนทนาถึงสองครั้งในการประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก็ยังปรากฏว่า
ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นเช่นเดิมพร้อมทั้งมีข้อเสนอให้ทบทวนการใช้หลักสูตร 5 ปีซึ่งผู้สาเร็จการศึกษาในสถาบัน
การผลิตครูที่คุรุสภารับรองหลักสูตรจะได้ใบประกอบวิชาชีพทันที ซึ่งเมื่อผลการวิจัยที่มีข้อค้นพบแตกต่างกันเช่นนี้
จึงควรมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อศึกษาคุณภาพของผู้สาเร็จการศึกษาจากสถาบันผลิตครูว่าเป็นไปตามเปูาหมายหรือไม่
3) กระบวนการผลิตครู จากการวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม และการทาวงล้ออนาคตดังแสดงในบทที่ 4
พบว่ากระบวนการผลิตครูของสถาบันผลิตครูแต่ละแห่งคุณภาพไม่เท่ากัน เป็นประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข
โดยด่วนอีกประการหนึ่ง เนื่องจากการปฏิรูปครูทั้งระบบเป็นเจตนารมณ์ที่ จะให้ได้คนดี คนเก่ง คนที่มีจิตวิญญาณ
ความเป็นครูเข้ามาศึกษาแล้วออกไปเป็นครูดี ครูเก่ง ครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู แต่การผลิตครูยังมีปัญหาทั้ง
เชิงปริมาณและคุณภาพ ในเชิงปริมาณมีการผลิตครูไม่ตรงความต้องการ และมีจานวนผู้สาเร็จการศึกษาน้อยว่า
จานวนรับเข้าศึกษาจานวนมาก ซึ่งข้อมูลนี้สะท้อนถึงทั้งคุณภาพของผู้เข้าศึกษาและคุณภาพของสถาบันผลิตครู
นอกจากนี้ยังมีข้อเท็จจริงในเชิงคุณภาพอีกประการหนึ่ง เมื่อพิจารณาจานวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาในสถาบันผลิตครู
แต่ละปีเทียบกับจานวนการรับบรรจุในตาแหน่งครูผู้ช่วยพบว่ามีสาขาที่เปิดสอบเกือบทุกสาขามีการแข่งขันสูง
เพราะมีอัตราว่างน้อยกว่าจานวนผู้สมัครจานวนมาก ดังเช่นข้อมูลการรับสมัครสอบแข่งขันคัดเลือกบุคคลเพื่อ
บรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ประจาปี พ.ศ. 2557 ซึ่ง
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้น ฐาน (สพฐ.) เปิดสอบครูผู้ ช่วยใน 89 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(สพท.) และสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวม 1,888 อัตรา ใน 40 กลุ่มสาขาวิชา ปรากฏว่าหลังการ
รับสมัครช่วงวันที่ 17-24 มีนาคม 2557 มีจานวนผู้สมัครสอบครูผู้ช่วยในทุกเขตพื้นที่รวมทั้งสิ้น 104,545 คน โดย
เกือบทุกสาขาวิชามีผู้สมัครเกินตาแหน่งว่างยกเว้นสาขาวิชากิจกรรมบาบัด และสาขาวิชากายภาพบาบัด ส่วน
สาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุดคือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จานวน 13,253 คน มีตาแหน่งว่าง 54 อัตรา รองลงมา คือ
สาขาวิชาปฐมวัย/อนุบาลศึกษา มีผู้สมัคร 12,127 คน ตาแหน่งว่าง 119 อัตรา สังคมศึกษามีผู้สมัคร 11,507 คน
ตาแหน่งว่าง 94 อัตรา ภาษาอังกฤษมีผู้สมัคร 10,632 คน ตาแหน่งว่าง 227 อัตรา วิทยาศาสตร์ มีผู้สมัคร 9,181
คน ตาแหน่งว่าง 65 อัตรา สุขศึกษา/พลศึกษา มีผู้สมัคร 8,562 คน ตาแหน่งว่าง 77 อัตรา ขณะที่สาขาวิชาที่มี
ผู้สมัครน้อยที่สุดคือกายภาพบาบัด สมัคร 1 คน ตาแหน่งว่าง 17 อัตรา นอกจากนี้ยังน่าสังเกตว่าสาขาวิชาที่ขาด
แคลนครู เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มีจานวนผู้สมัครมากกว่าตาแหน่งว่างทุกสาขาวิชา กล่าวคือ
คณิตศาสตร์ มีผู้สมัคร 8,999 คน ตาแหน่งว่าง 407 อัตรา วิทยาศาสตร์ มีผู้สมัคร 9,181 คน ตาแหน่งว่าง 65
อัตรา วิทยาศาสตร์ทั่วไป มีผู้สมัคร 4,096 คน ตาแหน่งว่าง 39 อัตรา ฟิสิกส์ มีผู้สมัคร 1,240 คน ตาแหน่งว่าง 86
272

อัตรา เคมี มีผู้สมัคร 1,106 คน ตาแหน่งว่าง 26 อัตรา ชีววิทยา มีผู้สมัคร 1,572 คน ตาแหน่งว่าง 21 อัตรา
(ดูรายละเอียดในตารางที่ 5.10) จึงแสดงได้ว่า จานวนการผลิตและจานวนอัตราว่างที่มีรองรับบัณฑิตที่สาเร็จ
การศึกษาใหม่ไม่สอดคล้องกันทั้งในภาพรวมและสาขาวิชา และการที่ยังมีครูขาดแคลนในบางสาขาวิชานั้น ปรากฏ
ว่าสถาบันผลิตครูสามารถผลิตบัณฑิตในสาขาวิชานั้นๆ ได้เห็ นความต้องการ หากผู้เข้าสอบมีคุณภาพก็อนุมานได้
ว่ามีสาเหตุประการหนึ่งจากการที่มีอัตราว่างที่จะบรรจุครูใหม่ในสาขาวิชานั้นไม่เพียงพอ

ตารางที่ 7.6 จานวนผู้สมัครสอบคัดเลือกตาแหน่งครูผู้ช่วยและอัตราว่าง ปี พ.ศ.2557


สาขาวิชา สมัคร (คน) ว่าง (อัตรา) สาขาวิชา สมัคร (คน) ว่าง(อัตรา)
ภาษาไทย 6,768 307 ศิลปศึกษา 1,372 28
คณิตศาสตร์ 8,999 407 ทัศนศิลป์ 71 5
ภาษาอังกฤษ 10,632 227 วิจิตรศิลป์ 13 1
ภาษาจีน 717 49 นาฏศิลป์ 1,571 46
ภาษาเกาหลี 4 1 คอมพิวเตอร์ 13,253 54
ภาษาญี่ปุน 190 8 อุตสาหกรรมศิลป์ 913 9
ภาษาฝรั่งเศส 34 1 เกษตร 1,236 7
พม่าศึกษา 5 1 คหกรรม 750 6
วิทยาศาสตร์ 9,181 65 ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 12,127 119
วิทยาศาสตร์ทั่วไป 4,096 39 ประถมศึกษา 3,251 6
ฟิสิกส์ 1,240 86 จิตวิทยาและการแนะแนว 681 13
เคมี 1,106 26 เทคโนโลยีทางการศึกษา 63 3
ชีววิทยา 1,572 21 บรรณารักษ์ 457 7
สังคมศึกษา 11,507 94 การเงิน/บัญชี 1,186 7
ประวัติศาสตร์ 12 2 วัดผลและประเมินผลการศึกษา 81 2
สุขศึกษา/พลศึกษา 8,562 77 โสตทัศนศึกษา 113 1
ดนตรีศึกษา 816 26 ธุรกิจ 516 1
ดนตรีไทย 415 20 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ 48 1
ดนตรีสากล 417 26 กิจกรรมบาบัด 4 10
ดุริยางคศิลป์ 3 2 กายภาพบาบัด 1 17
ที่มา: เดลินิวส์,ออนไลน์, วันอังคาร 25 มีนาคม 2557

สาหรับปี พ.ศ. 2558 มีข้อมูลจากเอกสารแนบหนังสือสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ด่วนที่สุดที่ ศธ. 04009/ว 905 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2558 เรื่อง การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับ
ราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2558 แสดงบัญชีข้อมูลตาแหน่ง
ว่าง/สาขาวิชาเอก ของสานักงานเขตพื้นที่ที่ประสงค์ดาเนินการสอบแข่งขั นตาแหน่งครูผู้ช่วย ประจาปี พ.ศ.2558
273

รวม 64 เขต จานวน 697 ตาแหน่ง ในจานวนนี้เป็นตาแหน่งใน สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) จานวน


30 ตาแหน่ง สาขาที่เปิดรับสมัครมากที่สุด คณิตศาสตร์ 100 ตาแหน่ง ภาษาไทย 95 ตาแหน่ง ภาษาอังกฤษ 87
ตาแหน่ง สังคมศึกษา 52 ตาแหน่ง วิทยาศาสตร์ 41 ตาแหน่ง การศึกษาปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 41 ตาแหน่ง
ปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไปกว่า 135,000 คน นอกจากนี้ สพฐ. ยังเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อ
บรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการตาแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมี ความจาเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว16, ว17 ประจาปี 2558
ระหว่างวันที่ 16-22 กุมภาพันธ์ 2558 เปิดสอบคัดเลือกทั้งสิ้น 226 เขตทั่วประเทศ มีอัตราว่างบรรจุจานวน
5,430 อัตรา เปิดสอบใน 66 กลุ่มวิชาเอก แบ่งเป็นสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 3,207
อัตรา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) 1,928 อัตรา และ สศศ. 295 อัตราแต่คาดว่าจะมีผู้สมัคร
สอบไม่ต่ากว่า 20,000คน (ส านักข่าวสยามเอ็ดดูนิว ส์, ออนไลน์ ) อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวอาจสื่ อความที่
คลาดเคลื่อนเนื่องจากน่าจะเป็นตัวเลขจานวนผู้สาเร็จการศึกษาสะสม แต่ที่น่าสนใจคือควรพิจารณาด้วยว่าอัตราที่
ได้รับการจัดสรรให้บรรจุครูสะท้อนถึงความต้องการจาเป็นในด้านความขาดแคลนอย่างแท้จริงนอกเหนือจากการ
จัดสรรทดแทนอัตราการเกษี ยณอายุราชการหรือไม่เพียงใด ประเด็นที่ควรพิจารณา คือ การทบทวนหลักเกณฑ์
การก าหนดจ านวนตาแหน่ ง ข้าราชการครู แทนการใช้ จานวนนัก เรีย น โดยให้ พิจ ารณาจากภาระงานครูและ
สาขาวิชาที่ขาดแคลน ในการบรรจุควรจัดสรรครูให้เพียงพอแม้จะเป็นสถานศึกษาขนาดเล็กและควรเพิ่มจานวน
บุคลากรสายสนับสนุนในสถานศึกษาเพื่อบรรเทาภาระงานธุรการของครู
3) ความไม่สอดคล้องระหว่างการผลิตและการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยทั้งจากเอกสาร
และการสนทนากลุ่มรวมทั้งแบบสอบถามพบว่ามีปัญหาการใช้ครูที่ไม่ตรงวุฒิ ไม่ตรงความต้องการ และยังมีปัญหา
การโอนย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเป็นจานวนมาก จึงเสนอให้มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้ทุกระดับและสังกัด
แต่มีปัญหาด้านฐานข้อมูลจึงควรพัฒนาฐานข้อมูลครูและความต้องการครูอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกสังกัด
เพื่อให้สถานศึกษาได้ครูตามที่ต้องการและยังมีโอกาสเลือกครูที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งลดโอกาสการโอนย้ายในอนาคต
อีกประการหนึ่ง ในส่วนของการบรรจุครู ยังพบว่าการบริหารงานบุคคลของคุรุสภา หรือหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องกับ
การบรรจุ แต่งตั้ง โอน/ย้ายครู มีความล่าช้า และแก้ปัญหาด้วยการกระจายอานาจการคัดเลือกครูไปสู่โ รงเรียน
หรือผู้ใช้ครูโดยตรงเพื่อให้เลือ กรับบุคลากรที่ตรงกับความต้องการทั้งวิธีการรับสมัคร การบรรจุ และอัตรากาลัง
แต่ระบบและวิธีการคัดเลือกเพื่อบรรจุครูจาเป็นต้องดาเนินงานให้โปร่งใส ปราศจากการแทรกแซง
4) ระบบการคัดเลือกนักศึกษา ผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนวทางการรับนักศึกษาเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
ในหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์สามแนวทาง คือ การรับแบบระบบปิด การรับแบบระบบเปิด และการรับแบบ
ผสมโดยมีก ารรั บ ระบบเปิ ด บางส่ ว นและรั บ ระบบปิ ด ในบางสาขาวิ ช า อย่า งไรก็ ต าม จากการติ ดตามความ
เคลื่ อนไหวพบว่า มีแนวโน้มที่จ ะกาหนดให้ ส ถานศึกษารับนักศึกษาในระบบปิด จึงควรมีการเตรียมการอย่าง
รอบคอบ โดยเฉพาะการจัดทาฐานข้อมูลความต้องการครูทั้งครูที่ต้องการชดเชยการเกษียณอายุการทางาน ครูใหม่
และสาขาวิช าที่ต้องการโดยต้องมีการประสานกับผู้ใช้ทั้งจากสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น
274

การศึกษานอกระบบโรงเรียน รวมทั้งสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมทั้งให้พิจารณาศักยภาพและคุณภาพของ


สถาบันผลิตครูอย่างจริงจังด้วยให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนดไว้ การประกัน
คุณภาพการศึกษาควบคู่กันไปด้วย
5) บทบาทของคุรุสภาเกี่ยวกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุรุสภาเป็น
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.
2546 กาหนดให้คุรุสภามีวัตถุประสงค์สามประการ คือ การกาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต
กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ การกาหนด
นโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ และการประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
คุรุสภาจึงมีบทบาททั้งที่เกี่ยวกับการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.1) คุรุสภากับการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะคุรุสภาเป็นสภาวิชาชีพ คุรุสภามี
บทบาทในการทานุบารุงให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงให้เป็นที่ยอมรับของสังคม กล่าวคือ คุรุสภาจะต้องเรียกร้อง
และกากับให้การผลิตครูตรงกับความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ คุรุสภาต้องกากับมิให้สถาบันผลิตครูผลิต
ตามความต้องการที่ทาให้เกิดสภาพของครูเกินและครูขาดในเวลาเดียวกัน ขณะเดียวกันคุรุสภาก็มีบทบาทในการ
กาหนดมาตรฐานวิชาชีพทั้งมาตรฐานความรู้และมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ โดยการรับรองหลักสูตรการผลิต
ครูที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากาหนด เพื่อประสิทธิภาพในการรับรองมาตรฐานวิชาชีพของหลักสูตร
คุรุสภาพึงร่วมกับสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการพิจารณารับทราบหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐาน
ทางวิชาการและคุรุสภาพิจารณารับรองหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งมีหน้าที่หลักในการออก
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยพิจารณาจากการรับรองหลักสูตรการผลิตครูและออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูแก่บัณฑิตทุกคนจากหลักสูตรที่ผ่านการรับรองของคุรุสภาแล้ว คุรุสภาน่าจะพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพครูเฉพาะ เช่น ใบอนุญาตครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา และครูมัธยมศึกษา ครู กศน. อีกทั้งน่าจะปรับเปลี่ยน
การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากการรับรองหลักสูตรเป็นการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากผล
การทดสอบและประเมินบัณฑิตครู
โดยสรุปคุรุสภามีบทบาทและหน้าที่ในการควบคุมให้การผลิตครูตรงตามความต้องการทั้งด้านปริมาณและ
คุณภาพโดยใช้กลไกการกาหนดมาตรฐานวิชาชีพครูและกลไกในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผลการวิจัย
ครั้ ง นี้ พบว่ า จากการที่ คุ รุ ส ภาก าหนดให้ ผู้ ส าเร็ จ การศึ ก ษาจากหลั ก สู ต รที่ ไ ด้ รั บการรั บรองจากคุ รุ ส ภาได้ รั บ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อยังไม่มีการควบคุมจานวนการผลิต จึงพบว่ามีผู้ได้รับใบอนุญาต
จานวนมากดังจะเห็นจากตารางที่ 5.6 และตารางที่ 7.7 ซึ่งพบว่ามีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามข้อมูล
ณ วันที่ 20 เมษายน 2558 ทั้งหมด 769,145 คน มีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่ได้รับปริญญาทาง
การศึกษา 627,828 คน จาแนกเป็นปริญญาตรี 496,786 คน ประกาศนียบัตรบัณฑิต 67,206 คน ปริญญาโท
63,550 คน ปริญญาเอก 286 คน แต่น่าสนใจว่ามีผู้ที่ได้รับปริญญาสาขาวิชาอื่นจานวนมากถึง 90,431 คนจาแนก
275

เป็นปริญญาตรี 84,140 คน ปริญญาโท 6,107 คน และปริญญาเอก 184 คน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู


เหล่ า นี้ ส่ ว นใหญ่ป ฏิบั ติง านในสถานศึ กษาสั งกั ดส านั ก งานคณะกรรมการการศึก ษาขั้ นพื้ นฐาน รองลงมาคื อ
สานักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สานัก
การศึกษา กรุงเทพมหานคร สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒน
ศิลป์ สถาบันการพลศึกษา และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ จากจานวนผู้ได้รับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครูทั้งหมด 769,145 คน มีผู้ได้รับใบอนุญาตที่มิได้ประกอบวิชาชีพตามประเภทใบอนุญาตที่ได้รับ
จ านวนมากถึ ง 281,089 คน ซึ่ง น่ าจะแปลความได้ ห ลายประการ อาทิ ผู้ ที่ ส าเร็จการศึ กษาด้ านครุศาสตร์ /
ศึกษาศาสตร์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหลายประเภททั้งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพผู้บริหาร ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไม่ได้ประกอบ
วิชาชีพครูจริง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลของคุรุสภาตามตารางที่ 7.7 ก็จะพบว่ามีจานวนเกือบเท่าผู้ที่ประกอบ
วิชาชีพครูสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งมีจานวน 360,204 คน
ตารางที่ 7.7 สถิติจานวนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจาแนกตามสังกัด
หน่วย : คน
ที่ หน่วยงานต้นสังกัด ครู ผู้บริหาร ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ รวม
สถานศึกษา การศึกษา
1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 360,204 48,423 4,483 6,277 419,387
2 สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 19,530 2,111 122 78 21,841
3 สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม 8,900 925 253 194 10,272
อัธยาศัย
4 สานักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน 54,171 4,543 94 52 58,860
5 สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1,467 26 0 5 1,498
6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 131 2 0 1 134
7 สานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 11,266 1,728 26 250 13,270
8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 26,172 3,900 186 321 30,579
9 สถาบันการพลศึกษา 345 40 1 0 386
10 สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 1,089 33 0 3 1,125
11 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 818 26 0 0 844
12 สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3,963 701 22 95 4,781
13 ผู้ได้รับใบอนุญ าต ที่มิได้ป ระกอบวิชาชีพ ตามประเภท 281,089 8,887 882 342 291,200
ใบอนุญาตที่ได้รับ
รวมทั้งสิ้น 769,145 71,345 6,069 7,618 854,177
ข้อมูล ณ วันที่ 17 เมษายน 2558 ที่มา: คุรุสภา, ออนไลน์
276

การควบคุมให้การผลิตครูโดยใช้กลไกการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วยการรับรองหลักสูตรที่
ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพจึงควรเป็นประเด็นที่นามาพิจารณาอีกประเด็นหนึ่ง อย่างไรก็ตามในกรณีจาเป็นเช่น
การขาดแคลนครูอาชีวศึกษาหรือสาขาวิชาที่ขาดแคลนก็อาจมีมาตรฐานต่างหากซึ่งคุรุสภาก็ได้เริ่มดาเนินการแล้ว
อาทิ การประกาศรับรอง 86 สาขาวิชา เป็นสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนที่สามารถสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู
ได้ตามที่สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอโดยมีข้ อแม้ว่าเมื่อสอบบรรจุเป็นครูได้แล้ว ต้อง
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากาหนด คือ ภายในระยะเวลา 2 ปี ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพครู นอกจากนี้ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพิ่มเติมได้ข้อสังเกตว่า
ในภาพรวมท้องถิ่นมีกรอบอัตรากาลัง แต่ยังไม่มีแผนความต้องการครูที่ชัดเจน เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีความเป็น
อิสระในการกาหนดจานวนความต้องการครูและสาขาวิชาที่ต้องการ การสรรหาครูจะเป็นลักษณะของการสอบ
คัดเลือก ถ้าเป็นวิชาเฉพาะต้องเป็นการคัดเลือกพิเศษ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ
แต่มีปัญหาในการดาเนินการเนื่องจากมีระเบียบให้สถาบันอุดมศึกษาซึ่งโดยปกติ คือมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นผู้ออก
ข้อสอบ มีการจัดสอบอย่างเข้มงวด และใช้งบประมาณสูง แต่บางครั้งพบว่ามีจานวนผู้สมัครไม่มาก หรือไม่มีผู้สอบ
ผ่าน หรือต้องจัดสอบเพื่อรับบรรจุเพียงตาแหน่งเดียว ทาให้ต้องเสียงบประมาณจานวนมาก ปัจจุบันคือมีอัตราว่าง
จ านวนมากแต่ ไ ม่ ส ามารถบรรจุ ค รู ไ ด้ จึ ง มี ข้ อ เสนอให้ มี ก ารประสานงานระหว่ า งกระทรวงมหาดไทยกั บ
กระทรวงศึกษาธิการในด้านบัญชีผู้ผ่านการสอบบรรจุเป็นครู
อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับการเสนอให้คุรุสภาพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูที่เชื่อมโยงกับกลไกการกาหนดมาตรฐานวิชาชีพครูโดยใช้ก ลไกการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเฉพาะ
แทนที่จะให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทั่วไปที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน โดยพิจารณาผลการทดสอบสมรรถนะครูของ
บัณฑิตครู เป็ น รายบุ คคลแทนการรับ รองหลั กสู ตรนั้น ปรากฏว่าประกาศคุรุส ภาฉบับล่ าสุด เรื่อง หลักเกณฑ์
คุณสมบัติของสถานศึกษาสาหรับปฏิบั ติการสอน และข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 ได้มี
การกาหนดให้ผู้สาเร็จการศึกษาที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่คุรุสภาให้การรับรองต้องผ่านการทดสอบ
เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากาหนดแล้ว แต่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปว่าการสอบเพื่อ
ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจะสอบวัดด้านใด ทั้งนี้ การสอบดังกล่าวไม่ควรเป็นการวัดความรู้ความสามารถ
ในเชิงวิชาการอย่างเดียวแต่ควรเป็นเรื่องของการวัดสมรรถนะ (Competency) เช่น จิตวิญญาณครู ทักษะการ
สอน เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจึงควรปรับระบบวิทยฐานะครูใหม่
ให้เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานครูตามข้อตกลงและผลสั มฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนการพัฒนาตนเองทั้งด้าน
วิชาการและวิชาชีพอย่างเป็นระบบครบวงจร
5.2) คุรุสภากับการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุรุสภามีบทบาทและอานาจหน้าที่ตามมาตรา
48 ในการกากับให้ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามที่กาหนด
ในข้อบังคับของคุรุสภาซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน กับ
277

มาตรฐานการปฏิบัติตน โดยในส่วนมาตรฐานปฏิบัติงานได้กาหนดไว้ 12 ประการ คือ 1) ปฏิบัติกิจกรรมทาง


วิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ 2) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคานึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
3) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ 4) พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5) พัฒนาสื่อการ
เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 6) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน 7)
รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ 8) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน 9) ร่วมมือกับ
ผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 10) ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ 11) แสวงหาและใช้ข้อมูล
ข่าวสารในการพัฒนา 12) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ สาหรับมาตรฐานการปฏิบัติตนหรือ
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้กาหนดไว้ทั้งจรรยาบรรณต่อตนเองจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อสังคม ดังนั้นคุรุสภาควรร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดใน
การติดตามประเมินว่าครูได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานครูและจรรยาบรรณวิชาชีพเพียงใด มาตรฐานการ
ปฏิบัติงานครูและจรรยาบรรณวิชาชีพครูที่คุรุสภากาหนดน่าจะใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินการปฏิบัติงานครูเพื่อ
ใช้ในการพิจารณาความดีความชอบ และการเลื่อนวิทยฐานะครูด้วย นอกจากนี้ในบทบาทของสภาวิชาชีพ คุรุสภา
จึงมีภาระหน้าที่ในการส่งเสริมและยกย่องครูให้มีสถานภาพในสังคม มีสถานภาพส่วนตัวและสถานภาพทางวิชาชีพ
ให้สมกับครูเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง โดยสรุปคุรุสภามีบทบาทหน้าที่ในการดูแลและการปฏิบัติตามมาตรฐาน
วิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพของครู รวมทั้งการส่งเสริมยกย่องครูให้สมฐานะที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง
5.3) คุรุสภากับการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการติดตามดูแลการปฏิบัติตาม
มาตรฐานวิช าชีพและจรรยาบรรณวิช าชีพครูที่ คุรุส ภากาหนดน่าจะเป็นสาระสนเทศส าคัญในการพั ฒ นาครู
การศึกษาขั้นพื้นฐานให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพตามหมวด 2 ข้อ 11`ของมาตรฐานการปฏิบัติงาน
และการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ ประเด็นการพัฒนาตามมาตรฐาน
การปฏิบัติงานสามารถดาเนินการได้โ ดยต้นสังกัด ภาระหน้าที่ของคุรุสภาคือ การพัฒ นาครูให้มีจรรยาบรรณ
วิชาชีพครูโดยเฉพาะ “จิตวิญญาณความเป็นครู” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของครูผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง คุรุสภาร่วมมือ
กับสถาบันอุดมศึกษาและต้นสังกัดในการวิจัย ค้นคว้า และแสวงหารูปแบบและแนวทางในการพัฒนาจิตวิญญาณ
ความเป็น ครูเพื่อนาไปขยายผลในการพัฒนาครูใหม่และครูประจาการ และอีกกลไกหนึ่งของคุรุสภาก็คือการ
กาหนดให้การต่อใบอนุ ญาตประกอบวิชาชีพครูเชื่อมโยงกับการพัฒนาครู เช่น ครูได้รับการพัฒนาวิชาชีพครูจาก
สถาบันที่คุรุสภารับรองไม่น้อยกว่าปีละ 30 ชั่วโมงจะได้รับการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ คุรุสภาจึงมีบทบาท
สาคัญในการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง และปฏิบัติงานตาม
จรรยาบรรณวิชาชีพครูโดยเฉพาะการกาหนดการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาครู
อีกประการหนึ่ ง คุรุส ภามีอานาจหน้าที่ตามกฎหมายประการส าคัญ คือ การพัฒนาวิช าชีพครูให้ เป็น
วิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง แนวทางหนึ่งที่สาคัญในการพัฒนาวิชาชีพชั้นสูงก็คือการสร้างศาสตร์แห่งวิชาชีพครูให้
เป็นองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ที่เข้มแข็งโดยกลไกการสนับสนุนให้มีการวิจัยค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้
278

ทางด้านศึกษาศาสตร์ ทั้งการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์โดยเฉพาะการวิจัยค้นคว้าทางด้านการผลิตครู การ


ใช้ครูและการพัฒนาครู ดังนั้นจะเห็นว่าคุรุสภาในฐานะสภาวิชาชีพมีอานาจหน้าที่และบทบาทความสาคัญตาม
กฎหมายในการส่งเสริมและกากับการผลิต ครู การใช้ครู และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตาม
มาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
1) ในด้ า นการผลิ ต ผลการวิ จั ย พบว่ า สถาบั น ผลิ ต ครู มี จ านวนมาก และเริ่ ม ได้ รั บ ความสนใจจาก
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งเพิ่มจานวนรับนักศึกษาใหม่อย่างรวดเร็ว แต่ยังมีประเด็นความแตกต่างในด้านคุณภาพ
ของสถาบันผลิตครูและคุณภาพของผู้สาเร็จการศึกษา ทั้งที่คุรุสภาและสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึก ษาได้
กาหนดกรอบมาตรฐานหลั กสู ตรไว้อย่ างชัดเจนเพื่อให้ การผลิตครูมีมาตรฐานเดียวกัน จึงควรมีการพิจารณา
ทบทวนระบบและกระบวนการผลิต รวมทั้งมาตรการที่จะประกันคุณภาพได้ว่าสถาบันผลิตครูจะมีคุณภาพและ
ผู้สาเร็จการศึกษาก็มีคุณภาพเช่นกัน โดยเฉพาะคุณภาพของผู้สอนในสถาบันผลิต ครู ซึ่งในประเด็น นี้สานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ประกาศหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับผลผลิตทางวิชาการของผู้ดารงตาแหน่งทางวิชาการ
ในระดับต่างๆ รวมทั้งเกณฑ์การขอกาหนดตาแหน่งทางวิชาการไว้แล้ว การกากับให้เป็นไปตามมาตรฐานก็จะช่วย
ให้ผู้สอนมีคุณภาพส่งผลดีต่อการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต
นอกจากนี้ การที่คุรุ ส ภาได้ออกประกาศฉบับล่ าสุ ดที่มีการกาหนดเกณฑ์ มาตรฐานส าหรับการรับรอง
หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก จึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะให้สถาบันผลิตครูมี
คุณภาพมาตรฐาน แต่ควรมีการเตรียมมาตรการติดตามให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ส่วนหลักสูตรประกาศนียบัตร
บัณฑิตก็ควรพิจารณาไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้สาเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี โดยควรเน้นให้เปิดสอนใน
สาขาวิชาที่ขาดแคลนจาเป็น เช่น การผลิตครูอาชีวศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ ควรมีหน่วยงานที่ทาหน้าที่กากับดูแลใน
เรื่องการวางแผน การกากับ (monitor) อย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นบทบาทของสานักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา หรือ Super Board ทางการศึกษาที่จะมีการแต่งตั้งต่อไป
2) ในด้ า นระบบการรั บ นั ก ศึ ก ษา ผลการวิ จั ย สนั บ สนุ น การรั บ นั ก ศึ ก ษาในระบบปิ ด จึ ง ควรมี ก าร
ปรึกษาหารื อกับ องค์กรและหน่ว ยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถาบันผลิตครู สถานศึกษา ผู้ใช้ครู เพื่อร่วมกันวาง
แผนการรับนักศึกษาในเชิงปริมาณ สาขาวิชาที่ต้องการ รวมทั้งร่วมพิจารณาความเชื่อมโยงในการผลิตและการใช้
ครู ให้นักศึกษาทางานภายหลังสาเร็จการศึกษาและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังควรศึกษารูปแบบ
การรับนักศึกษาในประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี อาทิ การผลิตครูของ National Institute of Education (NUS)
หน่วยงานในสังกัดของ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
3) ในด้ า นการใช้ค รู ควรพิจ ารณาแนวทางการกระจายอานาจการบรรจุและการใช้ครูตามที่ได้เป็น
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อจะได้ครู ตามความต้องการ รวมทั้งพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกาหนด
จานวนตาแหน่งข้าราชการครูแทนการใช้จานวนนักเรียน โดยให้พิจารณาจากภาระงานครูและสาขาวิชาที่ขาด
279

แคลน ในการบรรจุควรจัดสรรครูให้เพียงพอแม้จะเป็นสถานศึกษาขนาดเล็กและควรเพิ่มจานวนบุคลากรสาย
สนับสนุนในสถานศึกษา รวมทั้งเสนอให้ทบทวนกาหนดช่วงเวลาการสอบคัดเลือกและบรรจุครูในสถานศึกษาของ
รั ฐ ที่ไ ม่กระทบต่อการเรี ย นการสอนและไม่ให้ ครูข าดแคลนในบางช่ ว งเวลาโดยเฉพาะในสถานศึก ษาเอกชน
นอกจากนี้ ยั งควรหาแนวทางให้ ค รู ที่ บ รรจุ ต่ างสั งกั ดได้รับ การพัฒ นาและสร้ างเสริ มขวั ญก าลั ง ใจทั้งระหว่า ง
ปฏิบัติงานและหลังเกษียณอายุการปฏิบัติงานหรือสัญญาจ้างในมาตรฐานเดียวกัน ดังที่ผลการวิจัยพบปัญหาของ
ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น
4) ในด้านการพัฒนาครู ผลการวิจัยพบว่าหน่วยงานที่ทาหน้าที่พัฒนาครูมีจานวนมาก แต่ยังมีปัญหาการ
ดาเนินงานหลายด้าน อีกทั้ง รูปแบบการพัฒนายังไม่ตรงความต้องการของครู และยังไม่แสดงให้เห็นว่าการที่ครู
ได้รับ การพัฒนาจะส่ งผลต่อคุณภาพของผู้ เรียนโดยตรง จึงน่าที่จะมีการทบทวนการดาเนินงานในหลายด้าน
ประการแรก ควรเน้นการพัฒนาครูโดยมีข้อตกลงการปฏิบัติงานหรือ Performance Agreement โดยเชื่อมโยง
การพัฒนาตนกับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบการประเมินผลการ
ปฏิบัติงานด้วย ประการที่ส อง ควรให้ กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ร่วมกับ
กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาจัดให้มีการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา
ในรูปแบบพี่เลี้ยงหรือ Coaching and Mentoring ที่กาลังดาเนินการอยู่และขยายเครือข่ายให้เกิดชุมชนแห่งการ
เรียนรู้และการพัฒนา (Performance development community) ประการที่สาม ปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง
กองทุนพัฒนาและส่งเสริมครูตามนัยของกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีการดาเนินการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควร
ติดตามและเร่งรัดการดาเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนดังกล่าว ประการที่สี่ ควรมีการนาระบบคูปองพัฒนา
ครูใช้ในทานองเดียวกับคูปองการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนของครูประจาการ ทั้งนี้ สานักงานเลขาธิการ
คุรุสภา ควรเป็นหน่วยงานที่ให้ความสาคัญกับการกากับดูแลเรื่อง “คุณภาพ” ของสถาบันการผลิตครูและคุณภาพ
ของครูก่อนประจาการและครูประจาการ
5) ในด้านวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่าการกาหนดเส้นทางอาชีพ (Career Path) ที่แสดงความก้าวหน้า
ของผู้ ป ระกอบวิช าชีพครู เป็ น สิ่ งจ าเป็ น เพื่อจูงใจให้ ครูปฏิบัติงานในด้านการสอนแทนการเพิ่มวุฒิ เพื่อย้ายไป
ปฏิบัติงานในสายบริหาร ทาให้เกิดสภาพการขาดแคลนครูไม่สิ้นสุด วิชาชีพครูควรเป็นวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพมี
ความชานาญอย่างดิ่งเดี่ยว มีความตั้งใจเป็นครูอย่างมั่นคง และควรได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติงานเป็นครูอย่าง
จริงจัง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะพิจารณากาหนดเส้นทางอาชีพของครูแยกจากเส้นทางอาชีพของผู้บริหาร
และแสดงให้เห็นความเท่าเทียมกันเพื่อจูงใจให้ปฏิบัติงานสอนต่อไปด้วย
280

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสู่ปฏิบัติ
1) สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สานักงบประมาณ คุรุสภา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทาแผนการผลิตและการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในอีกสิบปีข้างหน้าเพื่อ
นาเสนอคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือซุปเปอร์บอร์ดการศึกษา (Super Board) หรือที่ตาม
(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติฉบับใหม่ เรียกว่า คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์
แห่งชาติ ซึ่งจะมีหน้าที่เสนอแนะนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา
และการเรียนรู้ตามนโยบายรัฐบาล ให้ความเห็นชอบเพื่อให้การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับการใช้ครู
ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2) คุรุสภาพึงปรับปรุงการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยกาหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เฉพาะสาหรับครูปฐมวัย ครูประถมศึกษา ครูมัธยมศึกษา ครู กศน. ครูวัดผล ครูแนะแนว และอื่นๆ
3) คุรุสภาพึงใช้วิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากาหนดในการออก
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแทนการรับรองหลักสูตร
4) คุรุสภาพึงพัฒนาระบบและกลไกในการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงาน
ตามมาตรฐานที่กาหนดรวมทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู การใช้ครู และการพัฒนาครู
5) สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พึงปรับปรุงระบบวิทยฐานะใหม่ให้
เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานปกติของครูส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
6) สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษาพึงรื้อฟื้น
โครงการคุรุทายาทเพื่อทดแทนโครงการผลิตครูมืออาชีพหรือครูพันธุ์ใหม่เพื่อให้ได้คนดี คนเก่ง มาเรียนครูและเป็น
ครูเพื่อศิษย์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง
7) สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมมือกับเครือข่ายคณะศึกษาศาสตร์ 9 เครือข่ายและต้นสังกัด
ในการดาเนินโครงการผลิตและพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่เพื่อยกคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนของรัฐ
เอกชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
8) สานักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ น่าจะดาเนินการเสนอให้ยกฐานะสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ให้เป็นนิติบุคคลเพื่อให้มีเอกภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการและจะ
ได้สามารถดาเนินการตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 52
9) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับศูนย์มหาวิทยาลัยทั้ งในประเทศ
และนอกประเทศ พึงขยายโครงการผลิตครูผู้มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สควค.) โดย
เปิดโอกาสให้ผู้ สาเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เป็นครูประจาการอยู่แล้ ว
สามารถสมัครศึกษาต่อปริญญาโททางการศึกษาโครงการ สควค. ได้ รวมทั้งผู้สาเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต
281

การศึกษาบัณฑิต ศึกษาศาสตรบัณฑิต รวมทั้งวิทยาศาสตร์ศึกษาและคณิตศาสตร์ศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษา


ต่อรดับปริญญาโทตามโครงการ สควค. ของ สสวท. ได้
10) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) น่าจะขยายผลโครงการพัฒนาครูผู้นา
การเปลี่ยนแปลงให้เข้าสู่กลุ่มเปูาหมายมากขึ้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป
1) คุรุสภาน่าจะสนับสนุนให้มีการวิจัยติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและการปฏิบัติ
ตามจรรยาบรรณครูเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการควบคุมดูแลและพัฒนาครูการศึกษาขั้นพืน้ ฐานอีกทั้งใช้เป็นข้อมูลเพื่อ
ปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตนให้เหมาะสมทันสมัยยิ่งขึ้น
2) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยงานต้นสังกัด และคุรุสภาน่าจะสนับสนุนให้มีการ
วิจัยและประเมินความต้องการจาเป็นของครูประจาการระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการ
พัฒนาครูประจาการเพื่อสนองความต้องการในอนาคต
รายการอ้างอิง

ภาษาไทย
คณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สานักงาน. (ม.ป.ป.). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544. แหล่งทีม่ า:
http://academic.obec.go.th/resources/node/1/7/multimedia_sec_detail/313 [2558,
มีนาคม 9]
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สานักงาน. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี).
แหล่งที่มา: http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ministry%20law/1-
49%20TQF%20education5years.pdf [2558, เมษายน 11]
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สานักงาน. (2556). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทาง
การผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ, 23 พฤศจิกายน 2556
ณ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สานักงาน. (2556). รายงานข้อมูลนักศึกษาเข้าใหม๋ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5
ปี สาขาวิชาด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในปี 2555-2551. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
การจัดทาแผนการผลิตกาลังคนสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ , 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมปริ๊น
พาเลส กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สานักงาน. (2557). การผลิตและการพัฒนาครู. การประชุม
คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ 7/2557, 3 กรกฎาคม 2557 ณ สานักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สานักงาน. (2558). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจาปี
งบประมาณ 2558. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู
ในอนาคต: ปัญหาและการแสวงหาแนวทางแก้ไข, 2 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเดอะสุโกศล
กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สานักงาน. (2558). การจัดทาแผนการผลิตและพันาครู สังกัดสานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง การปฏิรูประบบการผลิต
และพัฒนาครูในอนาคต: ปัญหาและการแสวงหาแนวทางแก้ไข, 2 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรม
เดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร.
283

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สานักงาน. (2555). พระราชบัญญัติเงินเดือน


เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
แหล่งที่มา: http://www.otepc.go.th/index.php/notice-law-rule/law-act/471-2012-07-16-
02-04-57 [2558, มิถุนายน 1]
คุรุสภา, สานักงาน. (2554). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
คุรุสภา, สานักงาน. (2557). ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อ
การประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557.
คุรุสภา, สานักงาน. (2558). ผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจาแนกตามสังกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2557.
คุรุสภา, สานักงาน. (2558). ใบประกอบวิชาชีพทางการศึกษากับป.บัณฑิต: ผู้ที่จบสาขาอื่นแล้วต้องการเป็นครู.
แหล่งที่มา: http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=92&did=784&tid=
[2558, มิถุนายน 1]
คุรุสภา, สานักงาน. (ม.ป.ป). พระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488. แหล่งที่มา:
http://news.ksp.or.th/library/rebook/bookn.php?id_e=MjQ= [2558, มิถุนายน 1]
คุรุสภา, สานักงาน. (ม.ป.ป.). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556. แหล่งที่มา:
http://www.ksp.or.th/ksp2013/download-
file/index.php?ref=qmyZBJ00M3S0EJyxrTyjMT0zq3AZMJ1fM2y0EzyyrT5jG21kq0IZoz
1iM2y0qTywrTRoSo3Q [2558, มิถุนายน 1]
จรวยพร ธรนินทร์. (2556). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้แล้ว
คุรุสภาโฉมใหม่. แหล่งที่มา:
http://www.moe.go.th/main2/article/article_jarauwporn/Act_teach2546.htm
[2558, มีนาคม 15]
ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2548). รายงานการวิจัยสภาวะขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของประเทศออสเตรเลีย. สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2548). รายงานการวิจัยสภาวะขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของประเทศสหรัฐอเมริกา. สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ดาวรุ่ง ชะระอ่า. (2547). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูวิชาชีพของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎี
บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชุมช่างจากัด.
นารีรัตน์ เจริญเดช. (2555). ความสาคัญและองค์ประกอบของมาตรฐานวิชาชีพครู. แหล่งที่มา:
http://special.obec.go.th/Upload/Document/FILE0000060001.pdf [2558, มิถุนายน 1]
284

บุญกรม ดงบังสถาน. (2553). โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่. กรุงเทพฯ:


รัก 99 พริ้นติ้ง.
ปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2530). ครุศึกษา. โครงการตาราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ปฏิรูปการศึกษา, สานักงาน. (2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพมหานคร: สานักงานปฏิรูปการศึกษา (องค์การมหาชนเฉพาะกิจ).
ประยูร ศรีประศาสน์. (2543). รายงานภาพอนาคตการศึกษาและเเนวทางการผลิตเเละพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 9 (พ.ศ. 2546-2549) และระยะ
ที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554).
พะยอม วงศ์สารศรี. (2538). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการ
จัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (12 กรกฎาคม 2550). ราชภัฏวันนี้. ข่าวสด.
แหล่งที่มา: http://www.moe.go.th/news_center/news12072550_07.htm [2558, มีนาคม15]
ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ. (2543). การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทางครุศาสตร์ในสถาบัน
ราชภัฎ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่
เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จากัด.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2543). การวิจัยเอกสารเรื่องนโยบายการผลิตและการพัฒนาครู เสนอต่อสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ. (2556). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเป็นผู้นา
การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ปีงบประมาณ 2554-2556)
ฉบับสมบูรณ์ เสนอสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อัดสาเนา).
ยนต์ ชุ่มจิต. (2535). การพัฒนาครู. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2553). การฝึกหัดครูของประเทศฟินแลนด์. วารสารการศึกษาไทย, 7 (71),
33-38.
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สานักงาน. (ม.ป.ป.). การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี.
แหล่งที่มา: http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb_main31.htm [2558, พฤษภาคม 10]
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2546). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546.
แหล่งที่มา:
http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Category&categoryID=CAT0000011
[2558, มีนาคม 10]
285

เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ


ศึกษา พ.ศ.2547. แหล่งที่มา:
http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Category&categoryID=CAT0000011
[2558, มีนาคม 10]
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2550). รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551.
http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Category&categoryID=CAT0000011
[2558, มีนาคม 10]
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2553). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. แหล่งที่มา:
http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Category&categoryID=CAT0000011
[2558, มีนาคม 10]
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครู
และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค จากัด.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2554). รายงานการสังเคราะห์ผลการวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนา
นวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2557). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาตาม
นโยบายการศึกษาของรัฐบาลปี 2556. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการ
เตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่
ศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา: http://www.onec.go.th/onec_backoffice/uploads/Book/1316-
file.pdf" [2558, เมษายน 15]
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สานักงาน. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.
แหล่งที่มา: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons40-
50/cons2540/16cons2540.pdf" [2558, เมษายน 15]
วิชุดา กิจธรธรรม และคณะ. (2554). โครงการการศึกษาวิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน และโอกาส/ความคาดหวัง
ในอนาคตของการผลิตครูในประเทศไทย. สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
286

วิเศษ ชิณวงศ์. (2552). กระบวนทัศน์ใหม่ของการผลิตครู. แหล่งที่มา:


http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=10277&Key=hotnews
[2558, มีนาคม 9]
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. แหล่งที่มา:
http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm [2558, มีนาคม 9]
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขา
ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี).
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2556). รมว.ศธ.มอบนโยบายแนวทางการผลิตครูให้สอดคล้องกับความต้องการ.
แหล่งที่มา: http://www.moe.go.th/websm/2013/nov/406.html [2558, มีนาคม 9]
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2555). พิพิธภัณฑ์การฝึกหัดครูไทย. แหล่งที่มา:
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.ph
p?id=102&CID=2859 [2558, มีนาคม 9]
ศิริพร พูลรักษ์. (2547). การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู
และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิรินธรราชวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. แหล่งที่มา:
http://www.psc.ac.th/docs/laws/education_core2551.pdf [2558, พฤษภาคม 30]
สุรพันธ์ ยันต์ทอง. (2533). การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กรมศาสนา.
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัย ประเมินความต้องการจาเป็น . กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่ ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.). โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มี
ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. แหล่งที่มา:
http://www.dpstcenter.org/psmt/page/?mem=psmt [2558, มีนาคม 9]
สมหวัง พิธิยานุ วัฒ น์. (2543). ข้อเสนอเชิงนโยบายการปฏิรูปวิช าชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สานักงานปฏิรูปวิชาชีพครู สานักงานคณะกรรมการ การศึกษา
แห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี.
ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, สานักงาน. (2555). นโยบายและจุดเน้นการ
ดาเนินงานของสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. 2556.
สมใจ เกิดพูลผล. (2554). การศึกษาความท้อแท้ของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชน สังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
287

อภิชัย พันธเสน. (2542). รายงานผลการวิจัยโครงการประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8


ในระยะ 2 ปีแรก (2540-2541). แหล่งที่มา:
http://issuu.com/volunteerspirit/docs/apichai061?e=1698150/4811165 [2558, มีนาคม 9]
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2553). เทคนิคการนิเทศ: ระบบพี่เลี้ยงและการให้คาปรึกษา (Mentoring). แหล่งที่มา:
http://panchalee.wordpress.com/2009/07/28/mentoring/ [2558, เมษายน 20]
อัจฉราพร กลิ่นเกสร. (2555). การวิเคราะห์ความพร้อมของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Arizona State Universiy. (2000). Arizona State University information technology strategic plan
[Online]. Available from: www.asu.edu./it/fyi/strategic/plans/stratplan00.html
[2006, October 21]
Park, John Ellis. (1997). A case study analysis of strategic planning in a continuing higher
education organization. [Online]. Abstract from: dissertation Abstract Online. (Volume
58-05)
Parkay, F.W. & Stanford, B.. (2001). Becoming a teacher. 5 ed. Boston: Allyn and Bacon.
288

บรรณานุกรม
คณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู. (2557). รายงานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบการผลิต
และพัฒนาครู ครั้งที่ 2/2557 วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557, 6-8.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ บรรณารั กษ์ และแนะแนว สั งกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้น ฐาน ปีงบประมาณ 2555 เสนอคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
(อัดสาเนา).
คณะทางานการวางแผนการผลิตและการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบ. (2553). เอกสาร
การประชุมการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (อัดสาเนา).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ ปีงบประมาณ 2555
และวิจัยรูปแบบการพัฒนาครูทั้งระบบ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (อัดสาเนา).
สถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ สมศ.. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ผลการศึกษาแนวทางการดาเนินโครงการ
ผลการวิ เ คราะห์ แ ละประมวลผลการด าเนิ น งานจากรายงานการประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ข อง
สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาและครู เสนอสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทาวงศึกษาธิการ. (อัดสาเนา).
ส่วนแผนและงบประมาณทางการศึกษาท้องถิ่น สานักงานประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะที่ 3 (พ.ศ.
2558-2560).
289

ภาคผนวก ก
ประเด็นสาหรับการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาสภาพและปัญหา การผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต”
ในวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาสภาพและปัญหา การผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่


สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต” โดยวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และ
การพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ในช่วงปี พ.ศ. 2546-2566) 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการผลิ ต การใช้
และการพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต (ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2566) และ 3) เพื่อจัดทาข้อเสนอเชิง
นโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
สาหรับการประชุมสนทนากลุ่มในครั้งนี้ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิตามวัตถุประสงค์ข้อที่
1 เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 6 สังกัด ได้แก่ 1) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน 2) สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3) สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) สานักงาน
ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 5) สานักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และ 6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประเด็นดังนี้
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาของการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. สภาพปัจจุบันและปัญหาพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
290

ภาคผนวก ข
แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และสภาพที่พึงประสงค์ของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
---------------------------------------------
โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาสภาพและปัญหา การผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต” เป็นโครงการที่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุน
สนับสนุนจากสานักงานเลขาธิการคุรุสภาให้ดาเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา
การผลิ ต การใช้ และการพัฒ นาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ในช่ว งปี พ.ศ.2546-2556) (2) เพื่อศึกษาความ
ต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต (ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2566)
และ (3) เพื่อ จั ด ทาข้ อเสนอเชิง นโยบายด้ านการผลิ ต การใช้ และการพัฒ นาครูการศึ กษาขั้น พื้นฐานที่
สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต แบบสอบถามนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ออกแบบ
สอบถาม (2) ความเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของครูไทย และ (4) ข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติม
---------------------------------------------
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คาชี้แจง โปรดทาเครื่องหมาย  หรือ  ในช่อง  และกรอกข้อมูลที่ตรงกับความเห็นของท่าน
1. ตาแหน่ง……………………………………………………………………………………………………….
2. หน่วยงาน………………………………………………………………………………………………………
3. อายุ……………………………………………………………………………………………………………..
4. เพศ
 หญิง  ชาย
5. ระดับการศึกษา
 ปริญญาตรี  ปริญญาโท  ปริญญาเอก  อื่นๆ ……………………(โปรดระบุ)
6. ท่านเกี่ยวข้องกับขั้นตอนใดของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอบได้
มากกว่า 1 ข้อ)
 การผลิตครู  การใช้  การพัฒนา
 อื่นๆ …………………………………………………………………..…(โปรดระบุ)
291

ส่วนที่ 2 ความเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน


(ในช่วงปี พ.ศ.2546-2556) และสภาพที่พึงประสงค์ของการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2566)
คาชี้แจง โปรดทาเครื่องหมาย  หรือ  ในช่อง  ที่ตรงกับความเห็นของท่าน
เกณฑ์ค่าระดับคะแนนในช่อง “สภาพปัจจุบัน”
5 หมายถึง สภาพตรงกับความเป็นจริงในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง สภาพตรงกับความเป็นจริงในระดับมาก
3 หมายถึง สภาพตรงกับความเป็นจริงในระดับปานกลาง
2 หมายถึง สภาพตรงกับความเป็นจริงในระดับน้อย
1 หมายถึง สภาพตรงกับความเป็นจริงในระดับน้อยที่สุด
เกณฑ์ค่าระดับคะแนนในช่อง “สภาพที่พึงประสงค์”
5 หมายถึง สภาพที่ควรจะเป็นจริงในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง สภาพที่ควรจะเป็นจริงในระดับมาก
3 หมายถึง สภาพที่ควรจะเป็นจริงในระดับปานกลาง
2 หมายถึง สภาพที่ควรจะเป็นจริงในระดับน้อย
1 หมายถึง สภาพที่ควรจะเป็นจริงในระดับน้อยที่สุด

ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์


5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
การผลิต
1. รัฐบาลมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง
ชัดเจน (National Goal)
2. กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการผลิตครูการศึกษาขั้น
พื้นฐานอย่างชัดเจน
3. สถาบันผลิตครูมีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการผลิต
ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการ
ในเชิงปริมาณ
5. การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการ
ในเชิงคุณภาพ
6. ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดี คนเก่ง มีใจรักวิชาชีพ
ครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7. ระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการสามารถถึงดูดให้คนดี
คนเก่ง เข้าสู่วิชาชีพครู
292

ส่วนที่ 2 (ต่อ)
ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
8. ผู้สาเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นสาขาหลักที่ไม่มีวุฒิทาง
ครูได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
9. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกาหนดมาตรฐานการผลิตครูของ
สถาบันการผลิตครูทั้งประเทศ
10. มีระบบการติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็น
มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
การใช้
1. สถาบันบรรจุครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับ
วุฒิที่สาเร็จการศึกษา
2. สถาบันมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างเหมาะสม
3. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหลักเกณฑ์การประเมินครู
ที่เป็นมาตรฐานและจูงใจให้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคณ
ุ ภาพ
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบเงินเดือนและสวัสดิการที่จูงใจ
ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทางานได้อย่างมีคุณภาพ
5. ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความก้าวหน้าทางสายงานที่
เหมาะสม
6. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบการรับฟังความ
ต้องการและข้อเสนอแนะจากครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบครูพเี่ ลี้ยงที่ส่งเสริม
การปฏิบัติงานของครูการศึกษาขัน้ พื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก
8. สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบที่ส่งเสริมขวัญและ
กาลังในการปฏิบตั ิหน้าที่ของครู เช่น ความก้าวหน้าทางสาย
งาน และการให้รางวัล เป็นต้น
9. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบจัดสรรครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้ปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่ที่เหมาะสม เช่น ตรงกับความต้องการ
ของท้องถิ่น และครูเป็นคนในท้องถิ่น เป็นต้น
10. มีระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบตั ิงานครูที่เป็น
มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
293

ส่วนที่ 2 (ต่อ)
ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
การพัฒนา
1. ครูได้รับการพัฒนาให้มีทักษะและสมรรถนะสาหรับ
การศึกษาในศตวรรษที่ 21
2. ครูได้รับการพัฒนาเพื่อสร้างพัฒนาการเรียนการสอนอย่าง
สม่าเสมอและต่อเนื่อง
3. มีองค์กรพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการพัฒนาครู
อย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง
4. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เอื้อต่อการพัฒนาครูการศึกษาขั้น
พื้นฐาน
5. มีรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับครูทมี่ ีประสบการณ์
ทางานในแต่ละช่วย เช่น ช่วงปีแรก ช่วง 5-10 ปี และช่วง
หลังจาก 10 ปีขึ้นไป เป็นต้น
6. มีระบบการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
7. มีระบบการพัฒนาทีต่ รงกับความต้องการของครู
8. รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับสถาบันเพื่อพัฒนาครูอย่าง
เพียงพอ
9. สถาบันจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาครูให้กับครูการศึกษา
ขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ
10. ระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูที่เป็น
มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
294

ส่วนที่ 3 ความเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะและสมรรถนะของครูไทย
ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาทีส่ อน และเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสามารถด้านการสื่อสารและการใช้ภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา
3. มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
4. มีความสามารถในการพัฒนาและประเมินหลักสูตร
5. มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับ
วัยของผู้เรียน
6. มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สาคัญ
7. มีความสามารถในการบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อการ
เรียนรู้
8. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทาง
การศึกษาเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการสื่อสาร
9. สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตาม
สภาพจริงเพื่อเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนและประเมินการเรียนรู้
10. สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้การสอนและพัฒนา
ผู้เรียน
11. มีความสามารถด้านจิตวิทยาสาหรับครู ช่วยเหลือ
ผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตามศักยภาพ
ของตน
12. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
13. มีกัลยาณมิตรธรรม คุณธรรม จริยธรรม และ
จรรยาบรรณวิชาชีพมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ปฏิบัติ
ตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตสานึกสาธารณะ และเสียสละให้
สังคม
14. มีภาวะผู้นาและการทางานเป็นทีมร่วมกับผู้เรียนและ
ผู้ร่วมงานทุกกลุ่ม
15. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
16. มีความสามารถในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน
ด้านคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นไทย ความเป็น
ประชาธิปไตย และทักษะชีวิต
295

ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์


5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
17. มีความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อ
นาไปใช้พฒ ั นาตน พัฒนางาน และพัฒนาสถานศึกษา
18. มีจิตวิญญาณความเป็นครู สร้างแรงบันดาลใจ และ
กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
19. มีความสามารถในการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยเฉพาะการประกันคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่อง
20. มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ และการแก้ปัญหา
21. มีการตระหนักรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ
สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
22. มีความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยง
23. มีเจตคติที่ดีต่องานครู และศรัทธาในวิชาชีพครู
24. มีความอดทน ใจกว้าง มีความรับผิดชอบสูง
25. มีความรู้ และมีความสามารถประยุกต์ทุกทฤษฎีและ
ระเบียบวิธีวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่
26. มีความสามารถในการพัฒนาแสวงหา และเสนอแนะ
แนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพ และสังคม
อย่างมีเหตุผล และเกิดการพัฒนาที่ยงั่ ยืน
27. มีความสามารถในการติดตามพัฒนาการของศาสตร์
ทั้งหลาย และมีความมุ่งมัน่ ในการพัฒนาสมรรถนะของ
ตนเองอยู่เสมอ
28. มีความสามารถการรู้ดิจิตัล คือ การรู้ข้อมูล ข่าวสาร
สารสนเทศ การรู้ดา้ นสื่อ และการรู้ด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
29. มีความสามารถด้านการเรียนรู้ และนวัตกรรม
โดยเฉพาะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การ
คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
30. มีความรู้และความเข้าใจตนเอง และผู้อื่น
296

ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์


5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
31. มีทักษะการมีส่วนร่วม และความร่วมมือ มี
ความสามารถในการทางานอย่างมีประสิทธิภาพและเคารพ
ต่อกลุ่มผู้ร่วมงานที่มีความยืดหยุ่น และเต็มใจที่จะช่วย
เสนอแนะ ประนีประนอม เพื่อผลสาเร็จตามเป้าหมาย
32. มีจิตสานึกผู้ประกอบการ และมีความเคารพในการ
จัดการเพื่อความสาเร็จ
33. เป็นผู้ที่ยอมรับหลักการและค่านิยมโลกในความเป็น
มนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล สิทธิมนุษยชน ความ
ยุติธรรม ประชาธิปไตย และการรักษาสิ่งแวดล้อม
34. มีความรู้ความสามารถในการจัดทาแผนการจัดการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา และผลการเรียนรู้ในรายวิชาที่
สอน
35. มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนสอน ตาม
มาตรฐานหลักสูตร ผลการเรียนรู้และตัวชี้วัดโดยการสร้าง/
พัฒนา หรือใช้วิธีการสอนและสือ่ ที่เหมาะสม มีประสิทธิผล
36. มีความรู้ความสามารถในการประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง
การประเมินระหว่างเรียนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และ
ปรับปรุงการเรียนการสอนและการประเมินเพื่อตัดสินผล
การเรียนรู้ของผู้เรียน
37. มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงแผนการจัดการ
เรียนรู้ที่มีการนาไปใช้จริง และเกิดประสิทธิผล
38. มีความรู้ความสามารถในการทาวิจัยในชัน้ เรียนและ
นาไปสู่การพัฒนาการเรียน การสอนอย่างสม่าเสมอ
39. มีความสามารถในการเป็นผูน้ าการขยายผลการจัดการ
เรียนการสอน ที่มีประสิทธิผล ให้ครูในโรงเรียนและครู
โรงเรียนอื่น
40. มีความคิดริเริ่ม กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และ
สามารถแรงบันดาลใจ ให้เพื่อนครูเห็นคุณค่าและร่วม
พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อผู้เรียน
41. มีความเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวิชาการ ศรัทธาและยึด
มั่นปฏิบัตติ นตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของ
วิชาครู
297

ประเด็น สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์


5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
42. ร่วมกิจกรรมเครือข่ายครูผู้นาการเปลีย่ นแปลงและ
เครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กับครูผู้นาการเปลี่ยนแปลง ผู้เชีย่ วชาญ เพื่อนครู
ปฏิบัติการ เป็นประจา

ส่วนที่ 4 ความเห็นเพิ่มเติม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ
298

ภาคผนวก ค

วงล้ออนาคต

ช่วง 5 ปี
ช่วง 10 ปี
299

ภาคผนวก ง

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ

ประชุมสนนากลุ่ม วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558


ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยผลิตและพัฒนาครู
1) ผู้แทนเลขาธิการคุรุสภา (ดร.พรศรี ฉิมแก้ว)
2) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นายอรรณพ วิริยะวิทย์)
3) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายวันนิมิต สายสิทธิ์ นักทรัพยากรปฏิบัติการ
สานักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
4) ผู้แทนเลขาธิการสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (นางอุบลวรรณ
เสถียรรัตน์)
5) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นายพินัน ผลทรัพย์)
6) คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7) ผู้แทนคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน (รองศาสตราจารย์
อธิเกียรติ ทองเพิ่ม รองคณบดี)
8) ผู้แทนคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (อาจารย์ ดร.พันพัชร ปิ่นจินดา)
9) ผู้แทนคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (นางสาวอธิกมาส มากจุ้ย)
10) หัวหน้าภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย (รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญศรี มาดิลกโกวิท)
11) หัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา)
12) ประธานสาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์)
13) ประธานสาขาวิ ช าธุ ร กิ จ และอาชี ว ศึ ก ษา คณะครุ ศ าสตร์ จุ ฬ าลง กรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรุจ กิจนันทาวิวัฒน์)
14) ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
ดาเนินงานโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring
(รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา)
15) อาจารย์ สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒ นาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ย
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ สุดรุ่ง)
300

16) อาจารย์ ส าขาวิช าการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลั ยศิล ปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์


(อาจารย์ ดร.ภัทรพล มหาขันธ์)
17) นักวิชาการชานาญพิเศษ สานักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (นางญาณิศา
สุขอุดม)
18) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ดร.สุพัชชา ซิ้มเจริญ)
19) ศึกษานิเทศก์ สานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (นายสมควร วรสันต์)
20) ศึกษานิเทศก์ สานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา (นายสมชาย มิตรมูลพิทักษ์)

ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานใช้ครู
1) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (นายพิชัย แก้วสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
ด้านส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน)
2) ผู้ อ านวยการกลุ่ ม งานโรงเรี ย นอาชี ว ศึ ก ษา ส านั ก งานคณะกรรมการส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาเอกชน
(นางพวงพรรณ ขันติธรรมากร)
3) ผู้อานวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ชั่งใจ)
4) ผู้แทนผู้อานวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมพล
เดาวเรือง)
5) ผู้อานวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (นายวิสิทธิ์ ใจเถิง)
6) ผู้อานวยการโรงเรียนในเครือภาษานุสรณ์ (อาจารย์ชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน)
7) ผู้อานวยการโรงเรียนเพลินพัฒนา (รองศาสตราจารย์ลัดดา ภู่เกียรติ)
8) ผู้อานวยการโรงเรียนบางชวดอนุสรณ์ (นางงามเนตร เบ็ญจมาศ)
9) ผู้อานวยการโรงเรียนสังข์อ่าวิทยา (นางสาวลัดดา อิ่มอกใจ)
10) ผู้อานวยโรงเรียนวัดเปรมประชากร (นางนันทกิจ เที่ยงพูนโภค)
11) ผู้อานวยการโรงเรียนวัดมกุฎกษัตริยาราม (นายธงชัย โคระทัต)
12) ผู้อานวยการโรงเรียนวัดมะลิ (ดร.กิ่งแก้ว วานิชกูล)
13) ผู้อานวยการโรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิต (นายสักการะ พิทักษ์วงศ์)
14) ผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษาเขตมัธยม เขต 1 (ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ สุขภาคกิจ)
15) ผู้อานวยการโรงเรียนสารพัดช่างพระนคร (นางยุพิน พิมศร)
16) ผู้อานวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี (ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา)
301

วงล้ออนาคต วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558


รอบเช้า
1) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน (รองศาสตราจารย์ ดร.
บรรจบ ภิรมย์คา)
2) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (รองศาสตราจารย์ ดร.สาราญ มีแจ้ง)
3) ผู้แทนคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อาจารย์ ดร.วรวุฒิ สุภาพ)
4) ผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษาเขตมัธยม เขต 1 (ว่าที่ร้อยตรีอานนท์ สุขภาคกิจ)
5) ผู้อานวยการโรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ (ว่าที่ร้อยตรีสรยุทธ สืบแสงอินทร์)
6) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายวันนิมิต สายสิทธิ์ นักทรัพยากรปฏิบัติการ
สานักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
7) ผู้อานวยการโรงเรียนเขารทะลุพิทยาคม (ดร.ฑีฆาวุฒิ บุญสวัสดิ์)
8) ผู้แทนสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ดร.ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น)
9) ผู้แทนสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (นางสาวพิชญา ดานิล)
รอบบ่าย
1) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายวันนิมิต สายสิทธิ์ นักทรัพยากรปฏิบัติการ
สานักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
2) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (รองศาสตราจารย์ ดร.สาราญ มีแจ้ง)
3) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์)
4) คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์)
5) ผู้แทนคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อาจารย์ ดร.วรวุฒิ สุภาพ)
6) ผู้อานวยการศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
ดาเนินงานโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring
(รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา)
7) อาจารย์ สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒ นาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ย
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ สุดรุ่ง)
8) ผู้อานวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ชั่งใจ)
9) ผู้ อ านวยการโรงเรี ย นสาธิ ต จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ฝ่ า ยประถม (รองศาสตราจารย์ สุ พ ร
ชัยเดชสุริยะ)
10) ผู้อานวยการโรงเรียนวัดมกุฎกษัตริยาราม (นายธงชัย โคระทัต)
11) ผู้อานวยการโรงเรียนในเครือภาษานุสรณ์ (อาจารย์ชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน)
302

12) ผู้อานวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี (ดร.ณพสร สวัสดิบุญญา)


13) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ดร.สุพัชชา ซิ้มเจริญ)
14) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาตลอดชีวิต (ดร.ปาน กิมปี)

ประชุมสนทนากลุ่ม วันที่ 6 มีนาคม 2558


1) ผู้แทนเลขาธิการคุรุสภา (นางสาวกรรณิการ์ บารมี)
2) ผู้แทนเลขาธิการสภาการศึกษา (นางสาวสมรัชนีกร อิ่มเอิบ)
3) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายเชาวลิต โพธิ์นคร)
4) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (นางศุทธินี
งามเขตต์)
5) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นางพุทธชาด คุภลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ประเมินผล)
6) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (นายพิชัย แก้ วสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
ด้านส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน)
7) ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (นางอัจฉรา สระวาสี)
8) ผู้แทนผู้อานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศาสตราจารย์ ดร.วรรณทิพา
รอดแรงค้า)
9) ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรวาท ทองบุ)
10) ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (กลุ่ม 16) (รองศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ศิริ
สุเสารัจ)
11) อดีตประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์และอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย (ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์)
12) ผู้แทนสานักการศึกษากรุงเทพมหานคร (นางจิราภรณ์ รักษาศรี)
13) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร (ดร.มิ่งขวัญ กิตติวรรณกร)
14) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร (นายอรรถพร สุวัธนเดชา)
15) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดร.ผุสดี ตามไท)
16) ผู้แทนอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายเอกโอสถ รักเฉียด)
17) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดร.อัจฉรา วงษ์เอก)
18) ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายวิรัตน์ พุ่มพวง)
303

ภาคผนวก จ
นิสิตและเจ้าหน้าที่ช่วยงานวิจัย
จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. นางสาวณิชกมล ขจรบุญ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา


2. นายโอฬาร คาจีน นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
3. นางปภัสรา ระกิติ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
4. นางสาวรุจิเรข โกมินทรชาติ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
5. นางสวิตตา สุตตานนท์ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
6. นายณัฐพล แจ้งอักษร นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
7. นางสาวดารุวรรณ ศรีแก้ว นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวัดและประเมินผลการศึกษา
8. นายชัยยุทธ กลีบบัว นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
9. นางพรพรรณ สวัสดิสิงห์ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
10. นายปรเมศวร์ ชะรอยนุช นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
11. นางสาวสุคนธ์ทิพย์ รื่นเริงใจ นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
12. นางสาววิภาสิริ บุญชูช่วย นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
13. นางสาวพัทธานันท์ สมานสุข นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
14. นายวีรภาคย์ ซาศิริพงษ์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
15. นายธนสรรค์ เกตุพุฒ นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
16. นางเสงี่ยม จิตจันทร์เพ็ญ เจ้าหน้าที่ประจาโครงการ
304

ประวัติและผลงานของหัวหน้าโครงการวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง

1. ประวัติส่วนตัว
1.1 วัน เดือน ปี เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2497
1.2 อายุ 61 ปี
2. ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา
2.1 น.บ. (เกียรตินิยม) 2518 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.2 M.A. (Socio-Philosophical Foundations of 2519 Michigan State University
Education)
2.3 Ph.D. (Socio-Philosophical Foundations of 2523 Michigan State University
Education)
3. ประวัติการรับราชการ/ปฏิบัติงาน
3.1 ดารงตาแหน่งนักวิชาการศึกษา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523 –
ฝุายงานนโยบายและการศึกษาเปรียบเทียบ กรกฎาคม พ.ศ. 2524
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สานักนายกรัฐมนตรี
3.2 ดารงตาแหน่งอาจารย์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2524
3.3 ดารงตาแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2525
3.4 ดารงตาแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2528
3.5 ดารงตาแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 17 ธันวาคม 2555 – 30 กันยายน 2557
มหาวิทยาลัย
4. ตาแหน่งปัจจุบัน
4.1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.1.1 อาจารย์ประจาสาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทาง
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.2 Comparative Education Society of Asia (CESA)
4.2.1 President, Comparative Education Society of Asia (CESA) (2012 – ปัจจุบัน)
4.3 กรรมการอื่นๆ
4.3.1 กรรมการการวิจัยและพัฒนา สภาผู้แทนราษฎร
305

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (สิงหาคม 2549 – ปัจจุบัน) อนุกรรมการพิจารณาให้


ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทนิสิตนักศึกษา (ธันวาคม 2548 – ปัจจุบัน)
5. ผลงาน
5.1 ด้านบริหาร
5.1.1 กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเภทผู้แทนคณาจารย์
(พ.ศ. 2554 – 16 ธันวาคม 2555)
5.1.2 หัวหน้าภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2548 - 2555)
5.1.3 ผู้อานวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นาทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2550 - 2555)
5.1.4 รักษาการหัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์
(1 พฤษภาคม 2554 – 24 พฤศจิกายน 2554)
5.1.5 กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาพัฒนศึกษา
บริหารการศึกษา นิเทศการศึกษา อุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและ
ความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ (12 เมษายน 2548 – ปัจจุบัน)
5.1.6 กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขาและวิชาเอก
ธุรกิจศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ (12 เมษายน 2548 – ปัจจุบัน)
5.1.7 ผู้รักษาการในตาแหน่งหัวหน้าภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ (17 กันยายน 2547 – 27 มกราคม 2548)
5.1.8 หัวหน้าภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ (1 พฤศจิกายน 2545 – 1 กันยายน 2547)
5.1.9 ประธานคณะกรรมการสาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์
(พ.ศ.2545 – 2547)
5.1.10 ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ (พ.ศ.2545 – 2547)
5.1.11 ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา
ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ (พ.ศ.2537 – 2543)
5.1.12 ผู้อานวยการฝุายวิจัยสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ ฝุายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พ.ศ.2535 – 2537)
5.1.13 กรรมการประจ าบั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ประเภทผู้ แ ทนคณาจารย์
สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (พ.ศ. 2533 – 2535)
5.1.14 รองคณบดีฝุายบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ (พ.ศ.2533 – 2535)
5.1.15 เลขานุการบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ (พ.ศ.2531 – 2535)
306

5.1.16 ผู้ช่วยเลขานุการ ฝุายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2530 – 2531)


5.1.17 ผู้ ป ระสานงานบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา และเลขานุ ก ารคณะกรรมการบริ ห ารหลั ก สู ต รครุ ศ าสตร์
มหาบัณฑิต สาขาวิชาพื้นฐานการศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์
(พ.ศ.2528 – 2530)
5.1.18 ผู้ช่วยคณบดีฝุายวิชาการ คณะครุศาสตร์ (พ.ศ.2525 – 2527)

5.2 ด้านวิชาการ
5.2.1 หนังสือ ตารา และบทความ
5.2.1.1 Chanita Rukspollmuang (2013). “The Thai Academic Profession in
Transition”. Paper presented at XV Comparative Education World Congress,
Buenos Aires, June, 24 – 28, 2013.
5.2.1.2 Chanita Rukspollmuang (2013). “Comparative Education in K to
12Curriculum”, Paper presented at The Philippine Educators Management
Consultants Inc. (PEMCI) International Curriculum Planning Seminar,
Baguio City, Republic of the Philippines, April, 28 - 30, 2013.
5.2.1.3 Chanita Rukspollmuang (2013). “Science Education Curriculum Framework
and Policy of Thailand”, Paper presented at East-West Conference in
Science Education, The National Center for Teacher Education, Philippine
Normal University, Manila, Republic of the Philippines, April, 27, 2013.
5.2.1.4 Chanita Rukspollmuang (2013). “Education for International Understanding
and its Roles for Living Together in a Changing World”, Paper presented at
the ๓rd IOCES (Indian Ocean Comparative Education Society) Conference:
Challenging Education for Future Change, Khon Kaen University, Thailand,
January, 21-23, 2013.
5.2.1.5 Chanita Rukspollmuang (2012). “Practices and Trends in Internationalization
of Higher Education to Promote Education Hubs”. Paper presented at the ๘
th Biennial Conference of the Comparative Education Society of Asia (CESA)
at Chulalongkorn University, Bangkok, July, 8-11, 2012.
5.2.1.6 Chanita Rukspollmuang (2010), “The Role of HE in Promoting Intellectual
Property under the Creative Economy Policy”. Paper presented at the 7th
Biennial Conference of the Comparative Education Society of Asia (CESA) at
Gwangju University of Education, Republic of Korea, November, 10-13, 2010.
5.2.1.7 Chanita Rukspollmuang (2010), “EIU in Thai Higher Education: a Case Study
307

of Chulalongkorn University”. Paper presented at Asia-Pacific Centre of


Education for International Understanding (APCEIU) Policy Meeting for EIU in
Higher Education: Seoul, Republic of Korea, October, 12-14, 2010.
5.2.1.8 Chanita Rukspollmuang (2010), “Thailand National System of Education”. In:
Penelope Peterson, Eva Baker, Barry McGaw, (Editors), International
Encyclopedia of Education. Volume ๕, pp. 847-857. Oxford: Elsevier.
5.2.1.9 Chanita Rukspollmuang (2007), “Current Situation of EIU in South-East Asia:
Thailand”, in Asia-Pacific Centre of Education for International Understanding
(APCEIU), Situational Analysis on Education for International Understanding in
South-East Asia, , pp. 121-144.
5.2.1.10 ชนิตา รักษ์พลเมือง, ผู้นาทางการศึกษากับการเสริมสร้าง “สังคมธรรมปัญญา”, ใน
ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย (บรรณาธิการ), หนังสือรวมบทความภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิตเรื่อง
ความเป็นผู้นาทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, กรุงเทพมหานคร: ศูนย์
ตาราและเอกสารทางวิชาการ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554,
หน้า 25-41.
5.2.1.11 ชนิตา รักษ์พลเมือง, การปฏิรูปการศึกษาที่แท้, คอลัมภ์เปิดประเด็น, วารสารครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
5.2.1.12 ชนิตา รักษ์พลเมือง "การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย" ใน ทศพร ศิริสัมพันธ์ (บรรณาธิการ),
เทคนิคการวิเคราะห์นโยบาย, กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2551. (พิมพ์ครั้งที่ 7)
5.2.1.13 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “การพัฒนากับการศึกษา: ความเชื่อมโยงระหว่างสองกระบวนทัศน์”,
ใน วรรัตน์ อภินันท์กุล (บรรณาธิการ), แนวคิดและทฤษฎีที่น่ารู้ทางการศึกษานอกระบบ
โรงเรียน, กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2551, หน้า 19-37.
5.2.1.14 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “การเปรียบเทียบกฎหมายที่ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษาในสถานศึกษา”, รายงานการประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัย
ระดับชาติเรื่อง “โอกาสและความหวังในการพัฒนาการศึกษาไทย” เนื่องในโอกาสเฉลิม
ฉลอง 50 ปีคณะครุศาสตร์ 90 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 115 ปีการฝึกหัด
ครูไทย วันที่ 10-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550.
5.2.1.15 ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: หน้าที่และ
บทบาท, โครงการจัดทาตาราเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา, สานักงาน
คณะกรรมการอุดมศึกษา, 2549.
5.2.1.16 ชนิตา รักษ์พลเมือง, "สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: บทเรียนจาก
308

ต่างประเทศ”, วารสารวิธวี ิทยาการวิจัย, ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2549), หน้า


269-290.
5.2.1.17 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “ผู้นาการศึกษายุคใหม่: หัวใจปฏิรูป" ใน พรชุลี อาชวอารุง
(บรรณาธิการ), ภาวะผู้นาและหลักการบริหารการศึกษา, กรุงเทพมหานคร: โครงการตารา
และเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
5.2.1.18 ชนิตา รักษ์พลเมือง. “การพัฒนาระบบข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน”, ในเอกสารการประชุมทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่ 10 จัดโดย
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสานักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ, วันที่ 18-19 กันยายน 2546.
5.2.1.19 ชนิตา รักษ์พลเมือง, บทปริทัศน์บทความเรื่อง “ปัญหาและข้อเท็จจริงในการโอนอานาจจัด
การศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, วารสารวิธวี ทิ ยาการวิจัย, ปีที่ 16
เล่มที่ 7, 2546.
5.2.1.20 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา: กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลง" เอกสาร
ประกอบโครงการพัฒนาผู้นาด้านนโยบายการศึกษากับการพัฒนาของอัครสังฆมณฑล
กรุงเทพ จัดโดยภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับอัคร
สังฆมณฑลกรุงเทพ, สิงหาคม 2545.
5.2.1.21 ชนิตา รักษ์พลเมือง, "บทบาทใหม่ของผู้นาชุมชนยุคปฏิรูปการศึกษา", ใน ชุดฝึกอบรมผู้นา
ชุมชน: ประมวลสาระ, กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอล.ที.เพรส จากัด, 2545. (จัดพิมพ์
หนังสือและ CD โดยโครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นาชุมชน
และผู้นาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545.)
5.2.1.22 ชนิตา รักษ์พลเมือง “สิทธิทางการศึกษาของประชาชนตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542” เอกสารเผยแพร่ในการประชุมวาระนิติศาสตร์แห่งชาติ (National
Congress of Law) ครั้งที่ 2 จัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์
ร่วมกับคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ, วันที่ 27-28 กันยายน 2544.
5.2.1.23 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “การจัดการศึกษาสาหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรและเด็กที่
ไม่มีสัญชาติไทย”, เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการศึกษาสาหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐาน
ทะเบียนราษฎรและเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย จัดโดยศูนย์พัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา,
วันที่ 12 มกราคม 2544.
5.2.1.24 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “กฎหมายการศึกษา: มิติใหม่ของการวิจัย”, วารสารครุศาสตร์,
ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มีนาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2544, หน้า 97-90.
5.2.1.25 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “สภาพการวิจัยทางกฎหมายการศึกษาในประเทศไทย”, เอกสาร
เผยแพร่ในการประชุมวาระนิติศาสตร์แห่งชาติ (National Congress of Law) จัดโดย
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ,
309

วันที่ 14-15 กันยายน 2543.


5.2.1.26 ชนิตา รักษ์พลเมือง, “หลักสูตรพัฒนศึกษาในต่างประเทศ: การวิเคราะห์เพื่อบทเรียน
สาหรับประเทศไทย”, วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2541 - กุมภาพันธ์
2542, หน้า 73-88.
5.2.1.27 Somwung Pitiyanuwat and Chanita Rukspollmuang. “National Case Studies of
Citizenship Education - Thailand”, in John J. Cogan and Ray Derricott (1998).
Citizenship for the 21st Century: An International Perspective on Education,
London: Kogan Page.

5.2.2 งานวิจัย
5.2.2.1 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ. โครงการวิจัยนโยบายและทิศทางการ
ส่งเสริมการศึกษาข้ามชาติ/ข้ามพรมแดน (Transnational Education) ของนานาชาติ.
กาลังดาเนินการ.แหล่งทุน: สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
5.2.2.2 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ (2555). โครงการประเมินผลการพัฒนา
กระบวนการเข้าสู่ตาแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. แหล่งทุน:
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
5.2.2.3 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ (2554). ทิศทางและแนวโน้มการจัด
การศึกษาระหว่างประเทศเพื่อการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา แหล่งทุน: สานักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา.
5.2.2.4 ชนิตา รักษ์พลเมือง (2553). แนวทางการพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. แหล่งทุน: สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
5.2.2.5 ชนิตา รักษ์พลเมือง (2553). แนวทางการตรากฎหมายเพื่อส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาใน
สถาบันอุดมศึกษา แหล่งทุน: สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
5.2.2.6 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ (2553). การติดตามและประเมินผล
ความก้าวหน้าของ นปร. รุ่นที่ 2 ในการดารงตาแหน่งในหน่วยงานภาครัฐที่มีความสาคัญ
เชิงยุทธศาสตร์. แหล่งทุน; สถาบันส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี สานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
5.2.2.7 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ (2553). แนวทางการจัดการศึกษา
เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ. แหล่งทุน: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
5.2.2.8 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ (2550). การวิจัยและพัฒนารูปแบบ
ความร่วมมือในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แหล่งทุน :
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
310

5.2.2.9 ชนิตา รักษ์พลเมือง (2550). แนวคิดและกระบวนการในการจัดทาประมวลกฎหมาย


การศึกษาไทย. แหล่งทุน : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
5.2.2.10 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และคณะ (2549). การวิจัยและพัฒนานโยบาย
ส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันการศึกษา. แหล่งทุน : สานักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา
5.2.2.11 ชนิตา รักษ์พลเมือง (2549). การเปรียบเทียบกฎหมายที่ส่งเสริมการพัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา แหล่งทุน : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
5.2.2.12 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (หัวหน้าโครงการ) ชนิตา รักษ์พลเมือง (ผู้ร่วมวิจัย) และคณะ
(2549). มาตรฐานการวิจัยในหน่วยงานวิจัยภาครัฐ. แหล่งทุน : สานักงานคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ
5.2.2.13 ศรีราชา เจริญพานิช (หัวหน้าโครงการ) ชนิตา รักษ์พลเมือง (ผู้ร่วมวิจัย) และคณะ
(2548). กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพการจัด
การศึกษาของเอกชน. แหล่งทุน : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
5.2.2.14 ชนิตา รักษ์พลเมือง (2548). การกระจายอานาจทางการศึกษาของประเทศอังกฤษ. แหล่ง
ทุน : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
5.2.2.15 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และจรรยาภรณ์ อุสาโห (2548). การวิเคราะห์
โครงการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาขั้นสูง ณ ต่างประเทศของจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. แหล่งทุน : สานักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5.2.2.16 ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการ) และจรูญศรี มาดิลกโกวิท (2547).
สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งทุน :
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
5.2.2.17 ชนิตา รักษ์พลเมือง (2544). การพัฒนาระบบข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน. แหล่งทุน : ทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5.2.2.18 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง (หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม) และคณะ (2538).
การศึกษาแนวโน้มความต้องการและการผลิตกาลังคนระดับสูงกว่าปริญญาตรี.
แหล่งทุน : งบประมาณทบวงมหาวิทยาลัย.

5.3 ด้านอื่นๆ
5.3.1 กรรมการการวิจัยและพัฒนา สภาผู้แทนราษฎร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (สิงหาคม 2549 –
ปัจจุบัน)
อนุ กรรมการพิจ ารณาให้ทุนอุด หนุนการวิจัยประเภทนิสิ ตนักศึกษา (ธันวาคม 2548 –
ปัจจุบัน)
5.3.1 อนุ กรรมการสภาการศึก ษาด้า นกฎหมายการศึ กษา ส านัก งานเลขาธิก ารสภาการศึก ษา
311

(กรกฎาคม 2551-2555)
5.3.1 กรรมการบริหารกองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม (กุมภาพันธ์ 2553 –สิงหาคม 2555)
5.3.1 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ
ค่าใชัจ่ายแก่จาเลยในคดีอาญา กระทรวงยุติธรรม (ตุลาคม 2553 – ตุลาคม 2555)
5.3.1 ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใชัจ่ายแก่
จาเลยในคดีอาญา (กรุงเทพมหานคร 2) กระทรวงยุติธรรม (พ.ศ.2554 - ปัจจุบัน)
5.3.1 กรรมการพัฒนานโยบายและขับเคลื่อนด้านการจัดการศึกษาและ
การวิจัยเพื่อผลิตบัณฑิตครุศาสตร์และพัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
(กรกฎาคม 2553 – 2554)
5.3.1 กรรมการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ.) (พฤศจิกายน 2552 – ปัจจุบัน)
5.3.1 กรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประจาปี 2553–2554 (สิงหาคม 2553 –กรกฎาคม 2554)
5.3.1 กรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลส่วนราชการ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (ก.พ.ร.) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2551, 2552, 2553 และ 2554.
5.3.1 คณะทางานด้านการผลิตและใช้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ในอนุกรรมการ
คุรุศึกษาแห่งชาติ (มิถุนายน – สิงหาคม 2553)
5.3.1 กรรมการวิ เ ทศสั ม พั น ธ์ ส านั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา
(สมศ.) (ธันวาคม 2551 – 2553)
5.3.1 ผู้ทรงคุณวุฒิของสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการ
ประเมินสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2549 และ 2550 ตามการ
มอบหมายของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
5.3.1 คณะกรรมาธิการปูองกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประจาคณะกรรมาธิการ พ.ศ. 2546 – 2547
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ พ.ศ.2545 – 2546
อนุกรรมาธิการกฎหมายและวิชาการ พ.ศ.2544 – 2547.
5.3.1 คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ พ.ศ.2540.
5.3.1 สมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อุปนายกฝุายวิชาการ ชุดที่ 9 พ.ศ.2535 – 2537.
ที่ปรึกษา ชุดที่ 11 พ.ศ. 2539 – 2541 ชุดที่ 12 พ.ศ.2541-2543
และชุดปัจจุบัน พ.ศ.2547 – 2549.
5.3.1 สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
บรรณารักษ์กิติมศักดิ์ พ.ศ.2537 – 2538.
312

คณะกรรมการบริหาร พ.ศ.2539-2540.
5.3.1 คณะทางานในการประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ (National Congress of Law) จัดโดย
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ร่วมกับคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
กลุ่มกฎหมายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครั้งที่ 1, 14-15 กันยายน พ.ศ.2543 และ
ครัง้ ที่ 2, วันที่ 27-28 กันยายน พ.ศ. 2544.
กลุ่มพัฒนากฎหมาย ครั้งที่ 2, วันที่ 27-28 กันยายน พ.ศ. 2544.
5.3.1 คณะอนุกรรมการ โครงการผลิตชุดฝึกอบรมต้นแบบเพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับการปฏิรูป
การศึกษา (ชุดผู้นาชุมชน) สานักงานปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2544.

5.4รางวัล
5.4.1 รางวัลนักเรียนเก่าดีเด่น สมาคมนักเรียนเก่าราชินีในพระบรมราชินูปถัมภ์, ประจาปี 2555.
5.4.2 รางวัลนักเรียนเก่าดีเด่น สมาคมนักเรียนเก่าราชินีในพระบรมราชินูปถัมภ์, ประจาปี 2554.
5.4.3 รางวัลผลงานวิจัยดีมาก กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประจาปี 2549.
5.4.4 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นผู้สร้างชื่อเสียงและทาคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาส
ครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2547.
5.4.5 รางวัลศิษย์เก่าผู้ทาคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2539.
5.4.6 รางวัลผลงานวิจัยดี กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจาปี 2547.
5.4.7 Hiratsuka Memorial Award 1985, Japan Comparative Education Society.
313

ประวัติและผลงานของผู้ร่วมวิจัย
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์

1. ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย) ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์


(ภาษาอังกฤษ) Somwung Pitiyanuwat, Ph.D.

2. ประวัติส่วนตัว
สถานที่ติดต่อ (ที่ทางาน) โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการศึกษา
มหาวิทยาลัยเนชั่น
โทรศัพท์/โทรสาร 081 8386777, 02 9421523
E-mail – address somwung.P@gmail.com
somwung.P@chula.ac.th

3. ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา
2.1 ครุศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 2 สาขาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
สอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
2.2 ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
2.3 Ph.D. (Educational Psychology) University of Minnesota,
เน้นหนักด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา USA.

4. ตาแหน่งปัจจุบัน ศาสตราจารย์, ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน


ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น, ประธานกรรมการบริหาร สทศ.
ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

5. ผลงาน
5.1 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
5.1.1 Somwung Pitiyanuwat. (2011). Chapter 16 Quality Assurance in South-East Asian
Higher Education. In Brock, C. & Symaco, L.P. (Editors). Oxford Studies in
comparative education. Symposium Books Ltd, United Kingdom: Hobbs the
Printers, Southamton, 305-322.
5.1.2 Somwung Pitiyanuwat. (๒๐๐๗). School Assessment in Thailand: Roles and
314

Achievement of ONESQA. Educ Res Policy Prac 6: 261 – 279.


5.1.3 Somwung Pitiyanuwat and Siridej Sujiva. (2001). Civic Education in Thailand: Case
Studies of three Schools. International Journal of education Research, 35 (1), 93-
108.
5.2 ผลงานวิจัยที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้
5.2.1 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2554). การจัดทาแผนแม่บทมาตรฐานการวิจัยของประเทศ.
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
5.2.2 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2551). รายงานการศึกษาวิจัยการประเมินสถาบันอุดมศึกษาใน
ต่างประเทศ : แนวทางสาหรับประเทศไทย. นาเสนอสานักงานพัฒนาระบบราชการ (ส.ก.พ.ร.).
5.2.3 Somwung Pitiyanuwat. (2007). Thai Perspectives on citizenship education for the
Twenty-First Century. Bangkok: Goldenpoint Co, Ltd.
5.2.4 Somwung Pitiyanuwat. (2002). An Analysis of Teachers Situation, Teacher Education
and the Teaching Profession in Thailand: Reform Agenda. ONESQA.
5.3 ผลงานอื่นๆ เช่น ตารา บทความ สิทธิบัตร ฯลฯ
5.3.1 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 369 หน้า
5.3.2 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2528). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. ชุดรวมบทความเล่ม 4.
สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 494 หน้า

5.4 รางวัลผลงานวิจัยที่เคยได้รับ
5.4.1 ได้รับรางวัลชมเชยจากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจากผลงานวิจัยเรื่อง Civic
Education in Thailand เมื่อปี 2547
5.4.2 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาและ
ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์(พสวท.) ระยะที่ 1, 2532.
5.4.3 ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจาปี 2548 สาขาการศึกษาจากสภาวิจัยแห่งชาติ
5.5 สาขาที่เชี่ยวชาญ
5.5.1 การประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา
5.5.2 การวิจัยการศึกษา
5.5.3 การคุรุศึกษา
5.5.4 การศึกษาเพื่อเป็นพลเมืองดีและพลโลกที่ดี
315

5.6 งานวิจัยที่รับผิดชอบในปัจจุบัน
5.6.1 การวิจัยประเมินผลเพื่อจัดระดับคุณภาพเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2554
มีนักวิจัยรับผิดชอบ 5 คน
5.6.2 การสารวจสถานภาพตัวบ่งชี้ 1.6 ผู้สาเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณภาพระดับสากลและ
เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ จะเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2555 มีนักวิจัยรับผิดชอบ 5 คน
316

ประวัติและผลงานของผู้ร่วมวิจัย
ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก

1. ประวัติส่วนตัว
วัน เดือน ปี เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2500
สถานที่ติดต่อ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทร 022885858 โทรสาร 022827895

2. ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา
2.1 กศ.บ. ฟิสิกส์/คณิตศาสตร์ 2522 มศว. บางแสน
2.2 ค.ม. วัดผลการศึกษา 2528 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.3 กศ.ด. วัดผลการศึกษา 2540 มศว. ประสานมิตร
2.4 วปอ. การปูองกันราชอาณาจักร 2552 วิทยาลัยปูองกัน
ราชอาณาจักร

3. ประวัติการรับราชการ/ปฏิบัติงาน
3.1 ข้าราชการครู อาเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ.2518-2524
3.2 ศึกษานิเทศก์อาเภอเมืองปราจีนบุรี พ.ศ.2525-2527
3.3 ศึกษานิเทศก์จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ.2528-2529
3.4 วิชาการศึกษา สานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา
สปช. กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2530-2541
3.5 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กองนโยบายและแผน
3.6 สปช. กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2542-2545
ผู้อานวยการกองนโยบายและแผน สปช. พ.ศ.2545-2546
3.7 รองผู้อานวยการสานักนโยบายและแผน สพฐ. พ.ศ.2546-2549
3.8 ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2549-2551
3.9 ผู้อานวยการสานักนโยบายและแผน สพฐ. พ.ศ.2551-2555
3.10 รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. พ.ศ.2555-25
3.11 รักษาการที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน พ.ศ.2556
317

4. ตาแหน่งปัจจุบัน ผู้อานวยการสานักนโยบายและแผน
รักษาการในตาแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน

5. ผลงาน
5.1 งานตารา
ชื่อตารา ปีที่ทา ผู้ร่วมผลิตงาน
5.1.1 แนวทางการประเมินตามสภาพที่แท้จริง 2541 กลุ่มวิจัยและประเมินคุณภาพ
การศึกษาระดับประถมศึกษา
5.1.2 เอกสารชุดประกันคุณภาพการศึกษา 2541 กลุ่มวิจัยและประเมินคุณภาพ
การศึกษาระดับประถมศึกษา
5.1.3 แนวทางการดาเนินงานของคณะกรรมการ 2543 คณะทางานทั้งส่วนกลางและส่วน
โรงเรียน ภูมิภาค
5.1.4 การวางแผนกลยุทธ์สาหรับสถานศึกษาขั้น 2546
พื้นฐาน

5.2 งานวิจัย
ชื่องานวิจัย ปีที่ทา ผู้ร่วมทาวิจัย
5.2.1 รายงานวิจัย เรื่อง ผลการทดลองใช้แบบ 2525
ฝึกทักษะการอ่าน
5.2.2 รายงานการวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบ 2527 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
ความเที่ยงของแบบสอบอิงเกณฑ์เมื่อใช้
วิธีการกาหนดจุดตัดที่ต่างกัน
5.2.3 รายงานการสามะโนนักเรียน 2531
5.2.4 รายงานการประเมินโครงการคุรุทายาท 2532
5.2.5 รายงานการประเมินคุณภาพ 2534
นักเรียนชั้น ป.6
5.2.6 รายงานการวิจัย เรื่อง ผลของตัวแปรบาง 2540 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก
ตัวต่อความเที่ยงตรงเชิงสภาพและจานวน
ข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบแบบปรับเหมาะ
ด้วยคอมพิวเตอร์
5.2.7 รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัด 2542
การศึกษาที่เหมาะสมสาหรับโรงเรียน
ประถมศึกษาขนาดเล็ก
318

5.2.8 รายงานการประเมินมาตรฐาน 2543


โรงเรียน สังกัด สปช. ปีการศึกษา 2541
5.2.9 รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการ 2543
ประเมินตนเองของสถานศึกษาสังกัด
สปช.
5.2.10 รายงานการประเมินตนเองตามมาตรฐาน 2543
การจัดการทางการเงิน
5.2.11 รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบ ปัจจัยเอื้อ 2544
และข้อจากัดในการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่
มาตรฐาน
5.2.12 รายงานการวิเคราะห์สภาพการจัด 2548
การศึกษาขั้นพื้นฐานของสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.2.13 รายงานการประเมินโครงการยกระดับ 2548
คุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก
5.2.14 รายงานการพัฒนาแนวทางและเกณฑ์การ 2548
ประเมินโรงเรียนในฝัน
5.2.15 รายงานการวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการ 2551
ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสาหรับการจัด
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.2.16 รายงานการพัฒนาสูตรการจัดสรร 2555
งบประมาณของสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่สานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาและโรงเรียน
5.2.17 รายงานการพัฒนาประสิทธิภาพ 2556
นักวางแผนเชิงกลยุทธ์ระดับเขตพื้นที่
การศึกษา
319

ประวัติและผลงานของผู้ร่วมวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก

1. ประวัติส่วนตัว
1.1 ชื่อ-นามสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
Associate Professor Fuangarun Preededilok, Ph.D.
1.2 ตาแหน่งปัจจุบัน ผู้อานวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุสาสตร์ จุฬาฯ
1.3 สถานที่ติดต่อ (ที่ทางาน) สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นา
ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
1.4 โทรศัพท์ 0 2218-2565 โทรสาร 0 2218-2562
1.5 E-mail: fuangarun.p@chula.ac.th

2. ประวัติการศึกษา (เริ่มตั้งแต่ปริญญาตรี)

คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา


ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา เอกวิทยาศาสตร์ 2537 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั่วไป-ภาษาอังกฤษ)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต 2543 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนศึกษา) 2550 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ประวัติการรับราชการ/ปฏิบัติงาน
พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน อาจารย์ประจา สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็น
ผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 ตุลาคม 2557-ปัจจุบัน เลขานุการคณะกรรมการบริ หารหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
พัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2555-18 ธันวาคม 2557 เลขานุการภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทาง
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1 ตุลาคม 2557-18 ธันวาคม 2557 เลขานุการสาขาวิชาพั ฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2553-2557 ผู้ช่วยคณบดี (รับผิดชอบด้านแผนและงบประมาณ) คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
320

พ.ศ.2555-2557 เลขานุการคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พ.ศ. 2551-2556 ผู้ช่วยเลขานุการ ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2553-2556 เลขานุการ สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะ
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2552 -ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพัฒนศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2554-2556 กรรมการบริหารศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

4. ตาแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชาพัฒนศึกษาและผู้อานวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทาง
การศึกษา คณะครุสาสตร์ จุฬาฯ

5. ผลงาน
5.1 ด้านการบริหาร
5.1.1 พ.ศ. 2555-18 ธันวาคม 2557 เลขานุการภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทาง
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.1.2 1 ตุลาคม 2557-18 ธันวาคม 2557 เลขานุการสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.1.3 พ.ศ. 2553-2557 ผู้ช่วยคณบดี (รับผิดชอบด้านแผนและงบประมาณ) คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.1.4 พ.ศ.2555-2557 เลขานุการคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.1.5 พ.ศ. 2551-2556 ผู้ช่วยเลขานุการ ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทาง
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.1.6 พ.ศ. 2553-2556 เลขานุการ สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.1.7 พ.ศ. 2554-2556 กรรมการบริ ห ารศู น ย์ ต าราและเอกสารทางวิ ช าการ คณะครุ ศ าสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.2 ด้านวิชาการ
5.2.1 เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. การพัฒนาที่ยั่งยืนในวิถีชีวิตชาวเบอร์ลิน (SUSTAINABLE
DEVELOPMENT IN THE BERLINER WAY OF LIFE). วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2555) หน้า 33-42.
5.2.2 เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. แนวโน้มและทิศการพัฒนาการศึกษานานาชาติเพื่อการเป็นศูนย์กลางทาง
321

การศึกษาของประเทศสิงคโปร์. วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน-ธันวาคม


2555) หน้า 60-74.
5.2.3 จุฑารัตน์ ขนอม และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. แนวทางการจัดสรรงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี
15 ปีสาหรับคนพิการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. Vol.7, No.2, 2012, pp.110-
124.
5.2.4 อัจฉรา ศรีพันธ์ และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. การพัฒนานวัตกรรมความรู้ด้วยกลยุทธ์การถ่ายโอน
ความรู้เพื่อปรับปรุงผลิตภาพสินค้าและบริการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมในประเทศไทย.
วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 59-69.
5.2.5 ทวิช มณีพนา และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากาลังคนใน
อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง
การศึกษา Vol.8., No.1, 2013, pp.1136-1150.
5.2.6 เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. ทิศทางการเปิดหลักสูตรนานาชาติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2557) หน้า 111-124.
5.2.7 สุภาพร จตุรภัทร และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. แนวทางการพัฒนาการลูกเสือไทยเพื่อส่งเสริม
ความเป็นพลเมืองดี. วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 42 (เมษายน-มิถุนายน 2557) หน้า 51-71.
5.2.8 ชนิตา รักษ์พลเมือง ณัฐภรณ์ หลาวทอง กมลวรรณ ตังธนกานนท์ เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และสุ
มิตร สุวรรณ. การพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตาแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ใน
สถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิธวี ิทยาการวิจัย ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2556) หน้า
301-321.
5.2.9 Fuangarun Preededilok (2014). “The Development of Human Resources and
Productivity of Human Resources to serve ASEAN Free Trade” Paper presented
at “The 1st International Conference on Lifelong Learning for All 2013
(LLL2013)”. Chulalongkorn University, Thailand, July 18-19, 2014.
5.2.10 Fuangarun Preededilok (2015). “ESD in the Faculty of Education, Chulalongkorn
University”. Paper presented at workshop on “Sustainability in Education:
Pedagogical Themes and Practices in Asian Countries”. Nanyang Technological
University, Singapore, February 4-7, 2015.
5.2.11 Chanita Rakspollmuang, Fuangarun Preededilok, Suwithida Charungkaittikul and
Sornnate Areesophonpichet. (2014). “Policies and Directions for the Promotion
of Transnational Education in Thailand.” Paper presented at “The 9th CESA
Biennial Conference”. Hangzhou, China, May 17, 2014.
5.2.12 Chanita Rakspollmuang, Fuangarun Preededilok, Suwithida Charungkaittikul and
Sornnate Areesophonpichet(2015). “Transnational Education Policy and Trends
322

in the Globalized Age: Thailand as case study.” Paper presented at “The 2015
Global Conference on Teaching and Learning with Technology (CTLT 2015).” .
Singapore, June 9-11, 2015.

5.3 งานวิจัย
5.3.1 จรูญศรี มาดิลกโกวิท ชื่นชนก โควินท์ เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก พรทิพย์ อันทิวโรทัย. (2553). การ
จัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย, สานักงานเลขาธิการรัฐสภา.
5.3.2 เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2555). “ทิศทางการเปิดหลักสูตรนานาชาติของคณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” พิมพ์อัดสาเนาเย็บเล่ม, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
5.3.3 พัชราวลัย วงศ์บุญสินและคณะ (2555) “การพัฒนาบุคลากรและผลิตภาพบุคลากรเพื่อรองรับ
การเปิดเสรีอาเซียน (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)” พิมพ์อัดสาเนาเย็บเล่ม, กรุงเทพมหานคร:
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5.3.4 ชนิตา รักษ์พลเมือง ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง กมลวรรณ ตังธนกานนท์ เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
สุมิตร สุวรรณ . (2556). โครงการประเมินผลการพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตาแหน่งทาง
วิชาการของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
323

ประวัติและผลงานของผู้ร่วมวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

1. ประวัติส่วนตัว
สถานที่ทางาน สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา
2.1 ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.เกียรตินิยมอันดับ 1) 2547 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(การศึกษานอกระบบโรงเรียน-ภาษาอังกฤษ)
2.2 M.A. (English as an International 2549 Graduate School,
Language) Chulalongkorn
Multidisciplinary and International University
Program
2.3 Research Fellowship in the Andragogy 2553- Lindenwood University,
Emphasis Specialty, 2554 MO, U.S.A., (ได้รับทุนทาวิจัย
Doctoral Program, School of Education, จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Instructional Leadership, Lindenwood
University, MO, U.S.A.
2.4 ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต 2554 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(การศึกษานอกระบบโรงเรียน)

3. ตาแหน่งปัจจุบัน
3.1 ผู้ช่วยคณบดีฝุายวิรัชกิจงานต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2557-
ปัจจุบัน) 3.2 ผู้ช่วยคณบดีฝุายวิจัยและบริการวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2556-2557)
3.3 รองผู้อานวยการบริหารศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.4 กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชา
การศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.5 เลขานุการคณะกรรมการสมาคมการศึกษาเปรียบเทียบแห่งภูมิภาคเอเชีย (Assistant
Secretary of the Comparative Education Society of Asia: CESA) (2555- ปัจจุบัน)
324

คณะกรรมการบริหารวารสาร Board Member of ELA Journal of Educational


Leadership in Action (EIA), Lindenwood University, U.S.A. (2554- ปัจจุบัน)

4. ผลงานทางวิชาการ/งานวิจัย
4.1 งานวิจัย
4.1.1 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย)สู่การเป็น
สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ได้รับทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ประจาปี 2558 จากสานักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (อยู่ระหว่างการดาเนินการ)
4.1.2 อาชัญญา รัตนอุบล วีรฉัตร์ สุปัญโญ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา มนัสวาสน์ โกวิทยา วรรัตน์
ปทุมเจริญวัฒนา สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่
สามเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสาหรับผู้สูงอายุไทย. ได้รับทุนโครงการยุทธศาสตร์การวิจัยเชิง
ลึก กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อยู่ระหว่างการดาเนินการ)
4.1.3 อาชัญญา รัตนอุบล วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา มนัสวาสน์ โกวิทยา วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
ณัฏฐลักษณ์ ศรีมี มีชัย สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และคณะ. การวิจัยเชิงเปรียบเทียบกรอบด้าน
นโยบายและยุทธศาสตร์กรณีของประเทศในประชาคมอาเซียนในรอบ 3 ทศวรรษ:
กรณีศึกษาประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย. ได้รับทุนสนับสนุนจากสานักงานสภา
วิจัยแห่งชาติ, 2546.
4.1.4 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และคณะ. การประเมินผลการดาเนินงานการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย ของสานักงาน กศน. ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ได้รับทุนสนับสนุนจากสานักงานส่งเสริมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ, 2555.
4.1.3 ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุวิธิดา จรุงกียรติกุล และคณะ. นโยบายและทิศทางการส่งเสริมการจัด
การศึกษาข้ามชาติ / ข้ามพรมแดน (Transnational Education) ของนานาชาติ.
งานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (อยู่ระหว่างการดาเนินการ,
2555)
4.1.6 อาชัญญา รัตนอุบล และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. อนาคตภาพรูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สาม.
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554.
4.1.7 อาชัญญา รัตนอุบล ปาน กิมปี สารีพันธุ์ ศุภวรรณ วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา มนัสวาสน์
โกวิทยา วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และระวี
สัจจโสภณ. การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนา
ศักยภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2553.
4.1.8 Charungkaittikul, S., & Loima, J. (in press). Leadership for Learning? A Case
Study on Self-Leadership and Learning Organizations in Basic Education
325

Schools in Thailand.
Wirathep Pathumcharoenwattana, Kiatiwan Amatayakul, Manasawas Kovitaya,
and Suwithida Charungkaittikul. Research Study on Effectiveness and
Achievement of Using Mother Tongue for Ethnic Minority Learners.
Bangkok: APPEAL, UNESCO , Bangkok Thailand. 2009.
4.1.9 Wirathep Pathumcharoenwattana and Suwithida Charungkaittikul. Lifelong
Learning in Thailand. Bangkok: APPEAL, UNESCO , Bangkok Thailand. 2009

4.2 บทความ
4.2.1 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และคณะ. การประเมินผลการดาเนินงานการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยของสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย (สานักงาน กศน.) ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2555.
4.2.2 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. บทบาทการศึกษาตลอดชีวิตต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในยุคสังคม
แห่งการเรียนรู้ ใน ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย (บรรณาธิการ). ความเป็นผู้นาทางการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการ
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554, หน้า 224-257.
4.2.3 Suwithida Charungkaittikul and John A. Henschke. (2014). Strategies for
developing a sustainable learning society: An analysis of lifelong learning in
Thailand. The International Review of Education. Vol. 60, 499–522. DOI
10.1007/s11159-014-9444-y
4.2.4 Suwithida Charungkaittikul and John A. Henschke. The Scenario of a Learning
Society Model Toward Promoting Positive Paradigm Shift for Communities.
In the Proceeding of the30th Annual Midwest Research-to-Practice Conference
in Adult, Continuing, Community, and Extension Education. September 21-23,
2011. Lindenwood University: St. Charles, MO, U.S.A.
4.2.5 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. หน่วยที่ ๖ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรและชุมชน. เอกสารชุด
วิชา การจัดการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 1-8 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556.

4.3 งานแต่ง เรียบเรียง และแปลตารา


4.3.1 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. หนังสือการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong education and
326

Learning). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์


มหาวิทยาลัย, 2557.
4.3.2 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. หนังสือการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong education
and Learning). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
4.3.3 สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. การจัดทาต้นฉบับชุดความรู้การดูแลตนเองและการพัฒนาศักยภาพ
ผู้สูงอายุ: การเรียนรู้สาหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและ
พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ, 2555.
4.3.4 Cheryl Heykoop, Philip Cook, Suzanne Williams,Athapol Anuntavorasakul,
Jutarat Vibulphol and Suwithida Charungkaittikul. (2011). Exploring ICT Enabled
Child Sexual Exploitation Through The Lived Realities Of Young People.
International Institute for Child Rights and Development Centre for Global
Studies. Victoria, BC Canada: University of Victoria.

4.4 รางวัลและผลงานอื่นๆ
บทความวิจัย เรื่องอนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวก
สาหรับชุมชน (THE SCENARIO OF A LEARNING SOCIETY MODEL TOWARD A POSITIVE PARADIGM
SHIFT FOR COMMUNITIES) ได้รับรางวัลบทความวิจัย ดีเยี่ยม ระดับชาติ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โครงการประกวดบทความวิจัยด้านพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประจาปี
2555 และได้รับการยกย่องจากวุฒิสภา ให้เป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคม ประจาปี 2556 อีกด้วย

You might also like