You are on page 1of 6

อิทธิพลของแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมที่มีตอการอุดมศึกษา

อัจฉรา วัฒนาณรงค

บทนํา
การพัฒนาประเทศไปสูการเปนประเทศอุตสาหกรรมของประเทศไทยทําใหมีการขยายตัวและพัฒนาภาคอุตสาห
กรรมทั้งในดานปริมาณ แนวคิดการบริหาร ตลอดจนวิธีการของระบบการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม อิทธิพลของแนว
คิดเชิงระบบการผลิต และการบริหารและการจัดการดานคุณภาพของโรงงานอุตสาหกรรมเปนแนวคิดทางอุตสาหกรรม
ที่มีการนํ าเขามาใชในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะเห็นไดจากการเปรียบเทียบปจจัยนํ าเขา (Inputs) กระบวนการ
(Processes) และผลผลิต (Outputs) ในระบบการผลิตโรงงานอุตสาหกรรมกับระบบการจัดการศึกษาของสถาบันอุดม
ศึกษา นอกจากนี้ มีการนําการบริหารและการจัดการดานคุณภาพที่ใชในการผลิตสินคาของโรงงานอุตสาหกรรมมา
ใชในสถาบันอุดมศึกษา เชนการควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance
หรือ QA) และการประกันคุณภาพทั้งองคกร (Total Quality Management หรือ TQM) รวมทั้งการนํามาตรฐานผลิต
ภัณฑอุตสาหกรรม BS 5750 และ ISO 9000 มาปรับใชในการกําหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพมาตรฐานทาง
การศึกษา

อิทธิพลแนวคิดเชิงระบบการผลิต
แนวคิดเชิงระบบการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมถูกนํ ามาใชในสถาบันอุดมศึกษา โดยการนํ าเขาสูระบบ
(System Approach) อันประกอบดวยปจจัยนําเขา (Inputs) กระบวนการ (Processes) และผลผลิต (Outputs) ดัง
ลักษณะการเปรียบเทียบตอไปนี้

1
เปรียบเทียบระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมและในสถาบันอุดมศึกษา
ระบบการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม สถาบันอุดมศึกษา
Inputs - วัตถุดิบ - นิสิตนักศึกษา
- คนงาน - อาจารยและบุคลากรสนับสนุน
- เครื่องจักร - วัสดุ อุปกรณ
- เงินทุน, ทรัพยสิน - เงินทุน, ทรัพยสิน
- โรงงาน - สถาบันอุดมศึกษา
Processes - กระบวนการผลิต - กระบวนการเรียนการสอน
- กระบวนการควบคุมคุณภาพ - การวัดและประเมินผล
- กระบวนการใชเทคโนโลยี - กระบวนการและวิธีการบริหารหลักสูตร
Outputs - สินคาที่ผลิตได - ผูสําเร็จการศึกษา

แนวคิดเชิงระบบการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อนํามาเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในสถาบันอุดม
ศึกษาจะพบวาอาจารยและผูเรียนเปนปจจัยนําเขา (Inputs) โดยเฉพาะผูเรียนจะเสมือนวัตถุดิบที่จะปอนเขาโรงงานเพื่อ
ใหไดผลิตภัณฑที่ตองการ แตผูเรียนเปนมนุษยซึ่งมีความแตกตางกันระหวางบุคคล ผลผลิตที่ออกมายอมแตกตางกันใน
รายบุคคล ไมสามารถหลอมรวมกันออกเปนผลิตภัณฑสําเร็จรูปที่มีลักษณะเหมือนกัน เชน ผลิตภัณฑจากโรงงานได ดังที่
Lyton Gray ไดกลาววา “Human beings are notoriously non-standard, and they bring into educational
situations a range of experiences, emotions and opinions which cannot be kept in the background of the
operation. Judging quality is different from inspecting the output of factory, or judging the service provided
by a retail outlet.”
นอกจากนี้ ในระบบทางการผลิตยังมีระบบยอย ๆ ในแตละสวนของระบบใหญ เชนเดียวกับระบบการศึกษาใน
สถาบันอุดมศึกษา และระบบยอย ๆ ที่แฝงอยูจํานวนมาก หากวิเคราะหแลวจะพบวามีความแตกตางกันมาก
การพยายามนําแนวความคิดเชิงระบบโดยรวมมาเปรียบเทียบกันสามารถทําใหดูเหมือนสมเหตุสมผล แตไมสอดคลอง
กับความเปนจริง เพราะในความคลายกันของภาพรวมนั้นสวนประกอบยอย หรือระบบยอยที่แฝงอยูมีความแตก
ตางกัน อนึ่งผลผลิตทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา นอกจากบัณฑิตแลวยังมีผลงานการวิจัยและการบริการวิชา
การแกสังคมอีกดวย

อิทธิพลแนวคิดการบริหารและการจัดการดานคุณภาพ
การนําเอาแนวคิดการบริหาร และการจัดการดานคุณภาพผลผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมาใชในการจัดการ
ดานคุณภาพผลผลิตของการศึกษานั้น เริ่มจากคําถามวา ผลผลิตของการศึกษาคืออะไร คําตอบคือ ผูเรียนที่จบการ
ศึกษาและคุณภาพในทางการศึกษา แตมนุษยไมเหมือนผลิตภัณฑจากโรงงาน ดังนั้นความคิดของการเปรียบเทียบผูเรียน
เปนผลิตภัณฑที่จะควบคุมคุณภาพเปนการละเลยความซับซอนของกระบวนการเรียนรู และความแตกตางระหวางบุคคล
ตามทฤษฎีที่นํามาใชในทางการศึกษา

2
สําหรับแนวคิดเรื่องการควบคุมคุณภาพมีการอธิบายถึงความแตกตาง และแสดงลําดับขั้นของความคิดดาน
คุณภาพที่ใชในโรงงานอุตสาหกรรม และมีอิทธิพลตอสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หรือ QC การควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมหมายถึง
การตรวจจับผลิตภัณฑจากโรงงานที่ไมไดมาตรฐานตามที่กําหนด แลวคัดออก โดยมีผูทําหนาที่คอยควบคุมตรวจจับ
เรียกวา Inspector หรือ Controller สวนในสถาบันอุดมศึกษา การควบคุมคุณภาพเปนการใหออกหากสอบไมไดตาม
เกณฑ การควบคุมคุณภาพในที่นี้จึงใชในการอธิบาย กระบวนการภายในในการรักษาไวซึ่งคุณภาพการศึกษา
2. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หรือ QA การประกันคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมเปน
ระบบของการสรางความมั่นใจในการผลิตสินคาและการบริการ โดยเนนการปองกันความผิดพลาดและใหไดผลตามที่
ตองการอยางแนนอน (Zero Defects) สวนในสถาบันอุดมศึกษา การประกันคุณภาพหมายถึงปฏิบัติการทั้งหลายที่มี
แผนและเปนระบบ เพื่อใหเกิดความมั่นใจวา การใหการศึกษาจะใหคุณภาพ ตามปรัชญาอุดมศึกษาที่กําหนด
3. การบริหารคุณภาพทั้งองคกร (Total Quality Management) หรือ TQM การบริหารคุณภาพทั้ง
องคกรเปนระบบจัดองคกรที่นํามาใชเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ เรื่องนโยบาย และกระบวนการเพื่อที่จะใหประสบความ
สําเร็จ ในเปาหมายที่กําหนดในระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมหมายถึงการพัฒนาตัวสินคาและบริการใหเปนที่
พอใจของลูกคามากขึ้น สวนในสถาบันอุดมศึกษาหมายถึง การพัฒนาระบบทางบริหาร การประเมินหลักสูตร
และพัฒนาหลักสูตร การประเมินอาจารย และการพัฒนาองคกรในทุกระบบอยางตอเนื่อง เพื่อคุณภาพใน
การจัดการศึกษา
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการบริหารคุณภาพ
ทั้งองคกรมีความสัมพันธกันตามลําดับขั้นดังนี้

3
แสดงลําดับขั้นของความคิดดานคุณภาพ (The Hierarchy of Quality Concepts)

การพยายามหาวิธีการ เพื่อใชในการควบคุมคุณภาพการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเปนความถูกตอง แต


การนําวิธีการหรือแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมมาใชนั้นจําเปนตองพิจารณา และปรับรูปแบบของวิธีการและแนวความคิดเรื่อง
คุณภาพใหเหมาะสมสอดคลองกับความเปนจริง และลักษณะของระบบการศึกษา การมองภาพรวมอยางเดียว โดยไมเขา
ถึงรายละเอียดจะทําใหความเขาใจเรื่องคุณภาพที่ใชกับโรงงานและคุณภาพในทางการศึกษาผิดพลาดจากความเปนจริง
ได

อิทธิพลแนวคิดมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม BS 5750 และ ISO 9000 (BS = BRITISH STANDARDS, ISO =
INTERNATIONAL STANDARDS ORGANIZATION โดยมีหนวยงาน INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR
STANDARDIZATION เปนผูกําหนด) เปนมาตรฐานที่ใชในการกําหนด และตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ รวมถึง
กระบวนการผลิต และการประกันความมั่นใจแกลูกคาวาผูผลิตสินคา และใหบริการตามคุณภาพที่ไดจดทะเบียนไวอยาง
ตอเนื่อง ปจจุบันไดมีการนําแนวคิดมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมดังกลาวมาใชสถาบันอุดมศึกษา โดยการนํามา
ประยุกตและถายโอนหลักการและวิธีการดังในหนาถัดไป
แนวคิดการนํามาตรฐาน BS 5750 และ ISO 9000 ของอุตสาหกรรมมาใชในการจัดการศึกษานั้น เปนการ
พยายามปรับใหมีระบบคุณภาพขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา โดยการถายโอนแนวคิดการปฏิบัติในดานอุตสาหกรรมใหเปน
เนื้อหาของการจัดการศึกษา แนวคิดดังกลาวยังมีคนในวงการศึกษาอีกมากที่ใหมตอแนวคิดนี้ และตองใชความพยายาม
อยางมากที่จะทําความเขาใจถึงความเปนไปไดในการนําแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมมาใชกับระบบการศึกษา ซึ่งมีลักษณะที่
แตกตางกันโดยเฉพาะเรื่องความหมายของผลผลิตซึ่งทางอุตสาหกรรมหมายถึง ผลิตภัณฑ สวนในการศึกษาผลผลิตนั้น
หมายถึง ผูเรียน และขณะเดียวกันผูเรียน ก็ถือวาเปนลูกคา (Primary Customer) ดวย นอกจากนี้ในเรื่องของมาตรฐาน
ผลิตภัณฑในทางอุตสาหกรรม เราสามารถกําหนดมาตรฐานและใชวิธีตรวจสอบวัดมาตรฐานผลิตภัณฑตามที่กําหนดได
แตผลผลิตทางการศึกษาเปนสิ่งมีชีวิต จึงยากที่จะระบุระดับมาตรฐานที่มีความเที่ยงตรงได

4
BS 5750/ ISO 9000 : การถายโอนแนวคิดสูระบบการศึกษา
สาระสําคัญของ BS 5750 และ ISO 9000 การถายโอนเขาสูระบบการศึกษา
1. ความรับผิดชอบเรื่องการจัดการ 1. การจัดการการศึกษายึดคุณภาพเปนสําคัญ
2. ระบบการควบคุมคุณภาพ 2. ระบบการควบคุมคุณภาพ
3. การทบทวนและตอขอตกลง/ขอสัญญา 3. ขอตกลง/สัญญากับผูเรียนและผูปกครอง
4. การควบคุมเอกสาร 4. การควบคุมเอกสาร
5. การจัดซื้อ 5. นโยบายการคัดเลือก และการรับนิสิตนักศึกษา
6. ผลิตภัณฑ/วัตถุดิบที่จัดให 6. งานบริการนิสิตนักศึกษา เชน การบริการใหคําปรึกษา
การจัดสอนซอมเสริม ฯลฯ
7. การแสดงหลักฐาน หรืองานทะเบียนของผลิตภัณฑ 7. การจัดทําทะเบียนขอมูลของนิสิตนักศึกษา
วัตถุดิบที่จัดซื้อและการติดตามการใช และรายงานผลความกาวหนาทางการศึกษา
8. กระบวนการการควบคุมการผลิต 8. การพัฒนาหลักสูตร การออกแบบ และการจัดดําเนิน
การเรียนการสอน
9. การตรวจสอบและทดสอบ 9. การวัดและประเมินผล
10. เครื่องมือที่ใชในการตรวจสอบ และทดสอบ 10. วิธีการประเมินผลที่มีความเที่ยงตรง
11. สถานภาพในการตรวจสอบและทดสอบ 11. รายงานผลประเมินความสําเร็จทางการศึกษา
ซึ่งรวมถึงกระบวนการดวย
12. การควบคุมผลิตภัณฑที่ไมเปนไปตามที่กําหนด 12. กระบวนการ/วิธีการในการวิเคราะห และตรวจสอบ
ความลมเหลวทางการเรียนของผูเรียน
13. การแกไขขอผิดพลาด 13. การแกไขขอผิดพลาด ความลมเหลวทางการเรียน
ของผูเรียน รวมทั้งระบบสําหรับดําเนินการในการ
รองทุกขหรือยื่นอุทรณ
14. การบรรจุ การจัดเก็บ และการนําสงผลิตภัณฑ 14. อาคารสถานที่ และสภาพแวดลอม รวมทั้งวัสดุ
อุปกรณเครื่องมือ เครื่องอํานวยความสะดวกอื่น ๆ
ที่จําเปนในการสงเสริมกระบวนการเรียนการสอน
รวมทั้งที่ใชในกิจกรรมเสริมหลักสูตร
15. บันทึกคุณภาพ 15. บันทึกคุณภาพ
16. การตรวจสอบคุณภาพภายใน 16. การตรวจสอบคุณภาพภายในวาเปนไปตามแผน
ที่จัดทําไวหรือไม และวิธีการที่ใชมีประสิทธิภาพ
และความเหมาะสมอยางไร
17. การฝกอบรม 17. การพัฒนา หรือการฝกอบรมบุคลากร และกระบวนการ
ประเมินความตองการที่จําเปนและการวัดประสิทธิผล
ของการฝกอบรมที่จัด
18. เทคนิควิธีทางสถิติ 18. วิธีการในการทบทวน/ตรวจสอบ ติดตามดูแล
และการประเมินผลงาน

5
สรุป
อิทธิพลของแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมที่มีตอการอุดมศึกษาเกิดขึ้นจากการที่นักการศึกษา/นักวิชาการไดรับเอาแนว
ความคิดเชิงระบบการผลิต การลงทุน และการจัดการดานคุณภาพของโรงงานอุตสาหกรรมเขามาในฐานะที่เปนศาสตร
เพื่อใชในการศึกษา ซึ่งในบทความนี้ไดกลาวถึงเฉพาะแนวคิดเชิงระบบการผลิตและการจัดการดานคุณภาพ ตอมาไดมี
การพยายามเปรียบเทียบและนําวิธีการของโรงงานอุตสาหกรรมมาปรับใชในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเปนการพยายามจัด
ใหมีระบบคุณภาพขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อใหการจัดการศึกษามีคุณภาพสูงสุดหรือเปนมาตรฐานที่ทั้งโลกยอมรับ
เชนเดียวกับผลิตภัณฑอุตสาหกรรมหรือการบริการจากโรงงานที่ไดรับการรับรองมาตรฐานสากล อยางไรก็ตามโรงงาน
และสถาบันอุดมศึกษามีลักษณะที่แตกตางกันเริ่มจากลักษณะวัตถุดิบของโรงงาน และนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดม
ศึกษารวมทั้งระบบการผลิตในโรงงานและระบบการศึกษา ซึ่งเมื่อมองจากภาพโดยรวมอาจคลายคลึงกัน แตภายใน
ระบบใหญของแตละระบบยังมีสวนประกอบที่เปนระบบยอย ๆ ที่แตกตางกัน ดังนั้นการพิจารณาเลือกใชแนวทางที่
เหมาะสมหรือการปรับประยุกต (Adapt) แนวคิดเชิงอุตสาหกรรมเปนเรื่องที่สําคัญ และปจจุบันการควบคุมคุณภาพทั้ง
ของระบบโรงงานและระบบสถาบันอุดมศึกษาตางก็มีจุดแข็งและจุดออน การพิจารณานําขอดีที่เหมาะสมของแตละระบบ
มาใช คงจะเปนแนวทางที่ดีในการประสานแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมที่จะนํามาใชในสถาบันอุดมศึกษา

แหลงอางอิง
รายงานการประชุมทางวิชาการเรื่องการประกันคุณภาพทางวิชาการ :หลักการ แนวคิดและวิธีปฏิบัติ. สงขลา :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร, 2537.
Craft, Alma. Quality Assurance in Higher Education. London : The Farmer Press, 1991
Cryer, Pat. Preparing for Quality Assessment and Audit. Sheffield : University House.1993.
Gray, Lynton. Total Quality Management, Coombe Lodge Report. 13Z1) : 2 ; Blagdon : The Staff College,
1992.
Miller, Richard. Total Quality Management. Ohio : Ohio University, 1995.
Powar, K.B. “Quality Assurance in Higher Education”, Journal of Higher Education 17 Z4) : 469-475 ; Autumn,
1994.
Sallis, Edward. Total Quality Management in Education. Kogan Page Educational management Series;
London: Kogan Page Limited, 1993.

ประวัติผูเขียน
ชื่อ : อาจารย ดร.อัจฉรา วัฒนาณรงค
การศึกษา : Ph.d. (Higher Education Administration)
การทํางาน : อาจารยประจําแผนกวิชาการอุดมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร มศว ประสานมิตร

You might also like