You are on page 1of 108

กิตติกรรมประกาศ

คณะผูจ้ ดั ทำขอขอบพระคุณ ผูต้ รวจประเมินเพือ่ การรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตรทุกท่าน


ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า
สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8
ISBN : 978-974-436-662-7 และขอบพระคุณ ผูป้ ระกอบการโรงงานผลิตสินค้าเกษตรทุกประเภท ทีไ่ ด้ให้ความช่วยเหลือ
และร่วมมือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านโรงคัดบรรจุสินค้าเกษตร โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร โรงรมสารเคมี
ที่ปรึกษา 1. นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ ผูอ้ ำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ศูนย์กระจายสินค้า และโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
2. นางบุษรา จันทร์แก้วมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร

คณะผู้จัดทำ ว่าที่ ร.ต. ธงชัย วรวงศากุล
นางสาวอุมาภรณ์ สุจริตทวีสุข
นายเกรียงไกร สุภโตษะ
นางสาวอุมาพร สีวิลัย
นางดวงภร ตั้งมงคลวณิช
นางสาวฐิติภา ทรัพย์ปรีชา
นายสุรพันธ์ พงษ์เจริญ
นายวรเดช ทองธรรมชาติ

พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จำนวน 2,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2550 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 1)
พิมพ์ครั้งที่ 3 กันยายน 2552 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 2)
พิมพ์ครั้งที่ 4 กันยายน 2554 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 3)
พิมพ์ครั้งที่ 5 มิถุนายน 2556 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 4)

กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า (กตม.)
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (สมพ.)
กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2940-7422, 0-2940-6464 โทรสาร 0-2940-6470
จำนวน 2,000 เล่ม จำนวน 105 หน้า
พิมพ์ที่ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
โทรศัพท์ 0-2525-4807-9 โทรสาร 0-2525-4855
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
คำนำ

เวทีการค้าโลกมีการแข่งขันสูงและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยอาหาร จึงเป็นสิ่งจำเป็น
อย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืชให้มีคุณภาพมาตรฐาน
ปลอดภัยตามความต้องการของคู่ค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดการค้าของโลก
การจัดทำหนังสือระบบรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร ของกลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรอง
มาตรฐานสินค้าฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความทันสมัย เพื่อให้ผู้ตรวจประเมิน ผู้ประกอบการและผู้ที่
เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนได้เข้าใจในหลักการของ หลักปฏิบัติที่ดีของ
โรงงานผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งประกอบด้วย หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรง
คัดบรรจุผลไม้หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงงาน
แปรรูป หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรมเมทิลโบร์ไมด์ และ
ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ซึ่งในแต่ละหัวข้อจะมีรายละเอียดในจุดที่สำคัญที่แตก
ต่างกันออกไป เพื่อที่ให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และผลิตสินค้า
เกษตรด้านพืชของประเทศไทยมีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก

คณะผู้จัดทำ
กันยายน ๒๕๕๖

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
บทนำ

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ยอดการผลิตแต่ละปีมี
จำนวนมากเพื่อใช้ในการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกปีละจำนวนมาก สินค้าเกษตรของไทยมีหลาก
หลายและศักยภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดโลก แต่สถานการณ์การค้าในปัจจุบันมีการแข่งขันกันค่อน
ข้างสูงทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงให้
ทัดเทียมนานาชาติ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีหน้าที่รับผิดชอบการผลิตสินค้า
เกษตรด้านพืช ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ จึงได้จัดทำ
แผนปฏิบัติงานในโครงการความปลอดภัยอาหาร โดยจัดให้ปี ๒๔๔๗เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้าน
อาหาร ซึ่งมีแผนการดำเนินการ ๔ ยุทธศาสตร์ คำนึงถึงหลักปฏิบัติและการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน
เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เริ่มตั้งแต่การควบคุมปัจจัยการผลิต
ซึ่งประกอบด้วย ดิน น้ำ พีช ปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีการควบคุมแหล่งปลูกโดยใช้หลักเกณฑ์
เกษตรดีที่เหมาะสม(Good Agriculture Practice : GAP ) เมื่อได้ผลผลิตแล้วต้องมีการควบคุมขั้นตอน
หลังการเก็บเกี่ยว ขั้นตอนการแปรรูปต้องมีการควบคุมขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามที่มีการศึกษามา ให้
ได้มาตรฐานโรงงานผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice : GMP ) และในปี ๒๕๕๖ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ได้มีการปรับยุทธศาสตร์ ความมั่นคงด้านอาหาร โดยมีหลักการเพื่อให้ประเทศไทยมี
ความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน มีบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพโดย
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นฐานทรัพยากรในการผลิตอาหารที่สมบูรณ์
และยั่ ง ยื น รวมทั้ ง การสร้ า งความร่ ว มมื อ ในการจั ด ทำกรอบความร่ ว มมื อ (Country Programming
Framework) หรือ CPF ระหว่างประเทศสมาชิก และเอฟ เอ โอ และเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ
สมาชิกที่เป็นสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน สำหรับยุทธศาสตร์นี้ มีระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี
คือ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ ซึ่งประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ผลิตอาหารอย่าง
เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศอย่างยั่งยืน โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์รายสินค้าทั้ง
ด้านพืช ประมง และ ปศุสัตว์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิต การป้องกันและลดผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสนับสนุนการลงทุนภาคการเกษตรจากทุกภาคส่วน และที่
สำคัญคือ การสร้างเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ โดยสร้างมาตรการจูงใจดึงคนรุ่นใหม่หรือบุตรหลานของ
เกษตรกรให้คงอยู่ในภาคเกษตร ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สนับสนุนให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงอาหารอย่างเพียง
พอได้ตลอดเวลา ซึ่งจะเน้นให้เกิดการเพิ่มผลผลิตในชุมชน ฟื้นฟูวัฒนธรรมการเก็บสำรองอาหารของครัว
เรือน และสนับสนุนมาตรการป้องกันและรองรับภัยพิบัติธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมการผลิต
อาหารคุณภาพดี ลดการสูญเสีย และมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม โดยให้การสนับสนุนการผลิตที่ได้
มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตที่จะดำเนินการตามยุทธศาสตร์มาตรฐานความ
ปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงการพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า และสร้างความเข้มแข็ง

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
ให้แก่โครงการระบบข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงอาหารในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ
และยุทธศาสตร์ที่ ๔ รักษาเสถียรภาพการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน โดยเร่งส่งเสริมคุ้มครองพื้นที่เกษตร
การแบ่งสัดส่วนการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานอย่างเหมาะสม และการสนับสนุนการสร้างความ
มั่นคงทางรายได้ให้แก่เกษตรกร
กรมวิชาการเกษตร สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช(สมพ.) โดยกลุ่ม
พัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า(กตม.) มีหน้าที่ในการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองโรงงาน
ผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช ภายใต้เครื่องหมายการรับรอง Q Logo ตามยุทธศาสตร์ที่ ๓ โดยการส่งเสริม
การผลิตอาหารคุณภาพดี ให้การสนับสนุนการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร โดยมีการ
ตรวจประเมินเพื่อให้การรับรอง โรงคัดบรรจุสินค้าเกษตรในระบบ GMP และ HACCP โรงงานแปรรูป
สินค้าเกษตรในระบบ GMP และ HACCP โรงรมสารเคมี (โรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงรมเมทิล
โบรไมด์) ในระบบ GFP ศูนย์กระจายสินค้าในระบบ GMP และ โรงรวบรวมในระบบ GHP ดังนัน้ สมพ.กตม.
จึงได้จัดทำเอกสารนี้ขึ้นเพื่อให้ความรู้ ความเข้าในกับผู้ประกอบการ ผู้ตรวจประเมิน ผู้สนใจทั่วไป
สามารถนำมาศึกษาหาความรู้หรือใช้ในการตรวจสอบรับรอง ได้ทราบถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอ
การรับรองในระบบต่างๆ และเพื่อให้มีแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรด้าน
พืชให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
สารบัญ
หน้า
สารบัญ
บทนำ
ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการรับรอง 1
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ 6
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ(ผลไม้ที่ส่งออกทั้งผลและเปลือก) 11
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร (ข้าวโพดฝักอ่อน) 15
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
(สำหรับผลไม้ที่ต้องระวังศัตรูพืชแมลงวันผลไม้ เช่น ชมพู่ มะม่วง ฝรั่ง) 17
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร (หอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ) 20
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงงานแปรรูป 22
ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) 27
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงงานผลิตน้ำตาลทราย 33
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 40
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรมเมทิลโบรไมด์ 46
ภาคผนวก 61
- แบบฟอร์ม 63
- ประกาศ 66

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการรับรอง

กรมวิ ช าการเกษตรได้ รั บ มอบหมายหน้ า ที่ ต ามมติ ค ณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ รั บ ผิ ด ชอบดู แ ลและ
ควบคุมสินค้าเกษตรด้านพืช กรมวิชาการเกษตรจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ด้านการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช โดยมีเป้าหมายให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพตรงตามที่ผู้บริโภค
ต้องการ ผู้บริโภคมีความปลอดภัย ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรที่ผลิตได้นั้น จะต้องมี
การตรวจสอบรับรองเพื่อควบคุมคุณภาพทั้งระบบการผลิต ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภค (From Farm
to Table) ขั้นตอนเหล่านี้จะต้องสามารถทวนสอบย้อนกลับได้ (Traceability) การควบคุมคุณภาพการ
ผลิตสินค้าหลังการเก็บเกี่ยวแล้วเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายนี้ กรมวิชา
การเกษตรจึงตรวจรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร ได้แก่ โรงคัดบรรจุสินค้าเกษตร ศูนย์กระจายสินค้า
เกษตร โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร โรงรมสารเคมี และโรงรวบรวม ซึ่งเป็นการรับรองคุณภาพการผลิต
ตามหลักปฏิบัติที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) และในส่วนการผลิตอาหารยังเพิ่มการ
ประกันคุณภาพด้านความปลอดภัย โดยใช้ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard
Analysis Critical Control Point : HACCP) โดยผู้ประกอบการโรงงานประเภทต่างๆ สามารถยื่นขอการ
รับรองได้ที่กรมวิชาการเกษตร

การยื่นขอการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะยื่นขอการรับรองกับกรมวิชาการเกษตรจะต้องเป็นผู้ที่ผลิตสินค้า
เกษตรด้านพืชเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำระบบการผลิตที่ดี โดยสามารถขอและยื่นเอกสาร
คำร้องขอหนังสือรับรองโรงงานได้ ดังนี้
โรงคัดบรรจุ โรงงานแปรรูป ศูนย์กระจายสินค้า โรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงรมเมทิล
โบรไมด์ และโรงรวบรวม ขอและยื่นเอกสารคำร้องขอหนังสือรับรองโรงงาน สมพ.2 (ยื่นขอใหม่) หรือ
สมพ. 3 (ต่ออายุ) ได้ที่
1. กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (กตม.) สำนักพัฒนาระบบและรับรอง
มาตรฐานสินค้าพืช (สมพ.) เลขที่ 50 พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.
10900 โทรสาร 02-9406470
2. กลุ่มประสานการตรวจรับรองมาตรฐาน (กสร.) สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐาน
สินค้าพืช (สมพ.) โทรสาร 02-5796133-4
3. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 (สวพ.)
- สวพ. 1 ตู้ ปณ.170 ปทฝ. มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ อ.เมื อ ง จ.เชี ย งใหม่ 50202
โทรสาร 053-114126-7
- สวพ. 2 ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65130 โทรสาร 055-311406
- สวพ. 3 อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทรสาร 043-203501
- สวพ. 4 ตู้ ปณ.79 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรสาร 045-02193

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
1
- สวพ. 5 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 17150 โทรสาร 056-413045
- สวพ. 6 ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110 โทรสาร 039-458765
- สวพ. 7 ตู้ ปณ.125 อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทรสาร 077-259447
- สวพ. 8 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทรสาร 074-445907
3. ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
www.doa.go.th/psco/
กระบวนการตั้งแต่ยื่นคำร้องจนถึงการออกใบรับรองใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ
60 วัน (หากไม่มีข้อปรับปรุง)

การให้การรับรอง
กรมวิชาการเกษตรให้การรับรองโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ผ่านการประเมิน โดยคณะผู้ตรวจ
ประเมินจัดทำรายงานผลการตรวจผ่านคณะทำงานกลั่นกรองผลการตรวจประเมิน เพื่อทบทวนและ
รวบรวมรายงานผลการตรวจประเมินที่ผ่านการกลั่นกรอง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการรับรองการตรวจ
ประเมินมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช พิจารณาให้การรับรองและออกใบรับรองเสนออธิบดีกรมวิชา
การเกษตรลงนาม

การแก้ไขข้อปรับปรุง
เมื่อผู้ประกอบการ/โรงงาน/ผู้ส่งออก ได้รับแจ้งให้ทำการปรับปรุง ต้องดำเนินการแก้ไข
พร้อมแจ้งการแก้ไขมาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขภายในเวลา 60 วัน
พร้อมรูปถ่าย (ถ้ามี) ขอผ่อนผันเวลาออกไปได้อีก 30 วัน

การตรวจติดตาม
กรมวิชาการเกษตรจะตรวจประเมินเพื่อการติดตามระบบที่ได้รับการรับรองอย่างน้อยปีละ 1
ครัง้ โดยอาจตรวจประเมินตามขอบข่ายทีไ่ ด้รบั การรับรองแล้วทัง้ หมดหรือเพียงบางส่วนตามความเหมาะสม
แต่ต้องมีการตรวจติดตามครบทุกกิจกรรมตามข้อกำหนด ในช่วงอายุของการรับรอง

การคงไว้ซึ่งการรับรอง
กรมวิ ช าการเกษตรจะคงไว้ ซึ่ ง การรั บ รอง เมื่ อ ผู้ ป ระกอบการต้ อ งผ่ า นเกณฑ์ ก ารตรวจ
ติดตามไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี

การต่ออายุใบรับรอง
เมื่อผู้ได้รับการรับรอง ได้รับการรับรองครบกำหนด หากผู้ได้รับการรับรองมีความประสงค์
จะขอต่ออายุการรับรอง ให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมยื่นแบบคำร้องขอต่ออายุการรับรองโรงงาน
และสำเนาใบรับรองที่หมดอายุให้กรมวิชาการเกษตร ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน ก่อนใบรับรองหมด
อายุ เมื่อผู้ได้รับการรับรองแจ้งยืนยันการต่ออายุการรับรอง กรมวิชาการเกษตรจะตรวจประเมินเพื่อต่อ
อายุการรับรอง โดยขั้นตอนต่างๆ จะเหมือนกับการตรวจประเมินเพื่อการรับรองครั้งแรก

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
2
ความรับผิดชอบของสถานประกอบการที่ได้รับรอง
1. สถานประกอบการต้องแจ้งให้กรมวิชาการเกษตรทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1.1 ชื่อสถานประกอบการ
1.2 ที่ตั้งสถานประกอบการ
1.3 ขอบข่าย และกระบวนการผลิตที่ได้รับรอง
2. สถานประกอบการมีหน้าที่ในการคงไว้ซึ่งมาตรฐานการผลิตตามระบบที่ได้รับรอง โดย
ควรจัดให้มีการตรวจประเมินภายใน (Internal audit) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบยังสามารถใช้
งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ใบรับรองระบบการผลิตของกรมวิชาการเกษตร มีอายุ 1 - 3 ปี แล้วแต่ประเภทการ
รับรอง สถานประกอบการควรยื่นขอต่ออายุการรับรองก่อนใบรับรองหมดอายุ 60 วัน
โดยผู้ประกอบการต้องดำเนินการตามขั้นตอนการยื่นขอการรับรอง

การพักใช้และการเพิกถอนการรับรอง
1. การพักใช้การรับรอง
1.1 เมื่อคณะผู้ตรวจประเมิน เข้าทำการตรวจติดตามและพบว่าสถานประกอบการไม่คง
ไว้ซึ่งมาตรฐานระบบการผลิตที่ดี โดยมีข้อบกพร่องรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการ
แก้ไขเพื่อคงไว้ซึ่งระบบการผลิต และความปลอดภัยของสินค้า ให้หัวหน้าคณะ
ผู้ตรวจประเมิน ทำเรื่องเสนอกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
1.2 กรมวิชาการเกษตรจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน กรณีที่
ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติการแก้ไขตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 1.1 หรือ กรณีได้รับรายงานว่า
ผู้ ป ระกอบการถู ก ปฏิ เ สธสิ น ค้ า จากประเทศปลายทางซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาด้ า นความ
ปลอดภั ย อาหาร ระยะเวลาพั ก ใช้ ใ บอนุ ญ าตให้ เ ป็ น ไปตามระเบี ย บกรมวิ ช า
การเกษตร “ว่าด้วยการตรวจรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช ตามมาตรฐาน
หลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช” พ.ศ. 2553
2. การเพิกถอนการรับรอง
2.1 กรมวิชาการเกษตรจะสั่งเพิกถอนใบรับรอง หากปรากฏว่าผู้ประกอบการไม่แก้ไข
ข้อบกพร่องสำคัญหลังจากถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ภายในระยะเวลา 30 วัน
2.2 กรมวิชาการเกษตรจะสั่งเพิกถอนใบรับรอง หากปรากฏว่าผู้ประกอบการจงใจใช้ใบ
รับรองและเครื่องหมายคุณภาพนอกเหนือจากขอบข่ายที่ได้รับรองเพื่อการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์ หรือไม่ทำตามหลักเกณฑ์การใช้ใบรับรองและเครื่องหมายคุณภาพ
ที่กำหนด หรือการใช้ใบรับรองและเครื่องหมายคุณภาพระหว่างถูกพักใช้ใบรับรอง
2.3 กรมวิชาการเกษตรจะสั่งเพิกถอนใบรับรอง เมื่อพบว่าผู้ที่ได้รับการรับรอง
- ปลอมแปลงเอกสารใบรั บ รองสุ ข อนามั ย หรื อ เอกสารอื่ น ใดที่ มี ผ ลต่ อ ความ
ปลอดภัยสินค้า

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
3
- ปฏิเสธการเข้าตรวจโดยไม่มีเหตุอันควรอย่างต่อเนื่อง
- ผลการตรวจสอบโรงงานไม่ผ่านมาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตร
ด้านพืชติดต่อกัน 2 ครั้ง
3. ในกรณีมีการสั่งพักใช้ หรือสั่งเพิกถอนใบรับรอง ให้ถือว่าเครื่องหมายรับรองถูกพักใช้
หรือถูกเพิกถอนด้วย
4. ผู้ได้รับใบรับรองซึ่งถูกเพิกถอนใบรับรอง จะขอรับใบรับรองใดๆ ตามระเบียบนี้อีกไม่ได้
จนกว่าจะพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบรับรอง

อัตราค่าธรรมเนียม
อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร

หลักเกณฑ์การใช้ใบรับรอง และเครื่องหมายรับรอง
1. ใบรับรองรูปแบบตามประกาศกรมวิชาการเกษตร
2. ผู้ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เท่านั้นจึงจะมี
สิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองนี้
3. ห้ามนำใบรับรองไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ เมื่อมีการพักใช้ ยกเลิก เพิกถอน การรับรองหรือ
ใบรับรองสิ้นอายุ
4. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะกำหนดระยะเวลาใช้
เครื่องหมายรับรองนี้ และมีสิทธิ์เพิกถอนโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า
5. การใช้เครื่องหมายรับรอง ให้ใช้ตามคู่มือการแสดงเครื่องหมายรับรอง มาตรฐานสินค้า
เกษตร ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.๒๕๕๑

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
4
แผนภูม!"#$% &'()*#+,#-.//)
ิขั้นตอนการรั 0/,12/11.#"!"#$"ต%สิ&'น()*+#,)-.
บรองโรงงานผลิ /0*(,$12่อ00*
ค้าเกษตรเพื
!"#$%&'()*#+,#-.//)0/,12/11.#"!"#$"%&'()*+#,)-./0*(,$1200*
การส่งออก
!"#$%&'()'*%+%,,*-!"#$!"#$%&'()*+',-./(&+!01//(2-.#$3&+%/1
!"#$%&'()'*%+%,,*-!"#$!"#$%&'()*+',-./(&+!01//(2-.#$3&+%/1

!"#$%&'!'"(!)*""+,-.'"/0123425/1678$91'7:;<(!;<9$=/01
!"#$%&'!'"(!)*""+,-.'"/0123425/1678$91'7:;<(!;<9$=/01

!"#!"#$%&'(%)*+,(!"#.)
! /!"#$%&'(%#)*+,
1. !"#!" $
# %&'(%)*+,
!"#$%&'()"*+,-&%&'()"%./ ! /!"#$%&'(%#)*+
(!"#.)
01%!/1 ,
1.2. !"#$%&'()"*+,-&%&'()"%./
!"#$%&'()*(+,-.$, /012"3/40--&! 01%!/1 30&/56-78&$!#9"!:;,&<09+
2.3. !"#$$%&'()*(+,
!"# -.$, /01)2"3/40--&! 30&/56-78&$!#9"!:;,&<09+
%&#'()&*+,!*-./#
3.4. !"#
!"#$$%&'(")"*+$",-./
%&#'()&*+,!*-./#)0
4. !"#$%&'(")"*+$",-./0

!"#$%&$$'(!)#*+
!"#$ !"#$#%& !"#!"$%&$$'(!)#
#$%&'$%()*+
!"#$ !"#$#%& !"#$%&'$%()

!"#!"$%&'$() *)+,-./01!1231!
!"#!"$%&'$() *)+,-./01!1231!

!"#$%%&$'%!"#$%!&'(!"#$%&%'()%*+,-.,$&%/$.0%11$.!"-&2-.34$567
!"#$%%&$'%!"#$%!&'(!"#$%&%'()%*+,-.,$&%/$.0%11$.!"-&2-.34$567

!"#$ !"#$#%&
!"#$ !"#$#%&

!"#!""#!$"!"#!$%&'!(!!"#$%&'()'*+$,*)-$..*)/0(+1()23*456
!"#!""#!$"!"#!$%&'!(!!"#$%&'()'*+$,*)-$..*)/0(+1()23*456

!"#$ !"#$#%&
!"#$ !"#$#%&

!!"#$%&$%!'
!!"#$%&$%!'

!"#$%&'%&(#$)*+,*-&./(%/0&
!"#$%&'%&(#$)*+,*-&./(%/0&
!"#$%!&' : !"#$%&'()*+,$$&-./012,#2,3$4"05%67)'&,8,5%89/8&7
!"#$%!&' : !"#$%&'()*+,$$&-./012,#2,3$4"05%67)'&,8,5%89/8&7

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
5

หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ

1. สถานที่ประกอบการ
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของโรงคัดบรรจุควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อนจาก
สัตว์ แมลง พาหะนำโรค วัตถุอันตราย ตลอดจนฝุ่นละอองหรือฝุ่นควัน สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล และ
สาเหตุของการปนเปื้อนอื่นๆ นอกจากนี้ควรมีท่อและทางระบายน้ำทิ้ง รวมถึงทางรับน้ำฝนนอกอาคาร
ที่ดี ไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก
1.2 อาคารผลิต
1.2.1 บริเวณผลิตแยกออกจากที่พักอาศัย มีพื้นที่เพียงพอ การจัดพื้นที่ผลิตเป็น
สัดส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน จัดบริเวณการผลิตให้เป็นไปตามลำดับ
ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และสะดวกต่อการ
ปฏิบัติงาน
1.2.2 อาคารผลิต พื้นอาคารเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความลาดเอียงเพียงพอ
ไม่ควรมีนำ้ ขัง ฝาผนังและเพดาน ภายในอาคารผลิต สร้างด้วยวัสดุทคี่ งทน เรียบ
ทำความสะอาดง่าย ต้องดูแลให้อยู่ในสภาพดี ไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง
และเชื้อจุลินทรีย์ หน้าต่างและประตู ของอาคารผลิตควรปิดสนิท และมีวิธีการ
ป้องกันการปนเปื้อน ก่อนเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตหรือถ้าเป็นระบบเปิด ควรมี
มาตรการการป้ อ งกั น การปนเปื้ อ นจากสั ต ว์ แ ละแมลงจากภายนอกอาคาร
ตามความเหมาะสม
1.2.3 พื้นที่การผลิตมีการระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน การวาง
พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศต้องให้ทิศทางลมพัดจากส่วนที่สะอาดไปยังส่วนที่
ไม่สะอาด
1.2.4 บริเวณที่ทำการผลิตต้องมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับปฏิบัติงาน และทำให้การ
มองเห็นไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะจุดที่ต้องการตรวจสอบ และมีการจัดการให้ถูก
สุขลักษณะ

2. เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
2.1 จำนวน
เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต มีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ภาชนะบรรจุ
หรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น ตะกร้า มีด โต๊ะ เครื่องชั่ง ต้องสะอาด อยู่ในสภาพที่
พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดหรือแตกหัก และต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อันเป็นอันตรายต่อ
ผู้บริโภคได้

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
6
2.2 การออกแบบติดตั้ง
เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม
ไม่เป็นพิษ และทนต่อการกัดกร่อน หลีกเลี่ยงการมีซอก มุม และสามารถถอดเพื่อทำความสะอาดได้ง่าย
และทัว่ ถึง ต้องอยูใ่ นตำแหน่งทีเ่ หมาะสม สามารถปฏิบตั งิ านได้สะดวก คำนึงถึงการปนเปือ้ นทีอ่ าจเกิดขึน้
ติดตั้งในตำแหน่งที่ทำความสะอาดสะดวก เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือก ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต หรือสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบ
เพื่ อ ตรวจสอบคุ ณ ภาพให้ ต รงตามลั ก ษณะที่ ต้ อ งการ เช่ น สารพิ ษ ตกค้ า ง
จุลินทรีย์ สิ่งปนเปื้อนอื่นๆ มีข้อมูลการสุ่มวิเคราะห์สารพิษตกค้างในวัตถุดิบ
และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ ควรซื้อวัตถุดิบที่มาจากแปลงเกษตรกรที่ได้รับรอง
GAP
3.1.2 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่ง ควรเป็นภาชนะที่สะอาด ทำมาจาก
วัสดุที่ไม่เป็นอันตราย และไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือสารพิษมาก่อน โรงคัด
บรรจุ อ าจมี ก ารควบคุ ม ให้ ผู้ ส่ ง วั ต ถุ ดิ บ มี ก ารทำความสะอาดภาชนะที่ ใ ช้ ใ ส่
วัตถุดิบ
3.1.3 บริเวณที่รับวัตถุดิบต้องสะอาด บนพื้นต้องไม่มีน้ำขังและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ตะกร้า
ที่ใส่วัตถุดิบต้องไม่วางกับพื้นโดยตรง
3.1.4 การเก็บรักษาก่อนการผลิต ในกรณีที่วัตถุดิบเข้ามามากเกินไปหรือผลิตไม่ทัน
ทางโรงงานควรเก็บไว้ในห้องที่สะอาด ไม่มีน้ำขัง ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ควรวาง
ตะกร้าวัตถุดิบกับพื้นโดยตรง มีการจัดระเบียบภายในห้อง ภาชนะหรือตะกร้า
ที่ใช้ใส่ควรมีป้ายที่สื่อถึงวัตถุดิบในแต่ละรุ่นได้ การนำวัตถุดิบออกจากห้องเย็น
ต้องเรียงตามลำดับก่อนหลัง ห้องเย็นที่ใช้เก็บวัตถุดิบควรแยกจากห้องที่เก็บ
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ นอกจากนั้ น ต้ อ งควบคุ ม อุ ณ หภู มิ ห้ อ งเย็ น และความชื้ น โดยมี
พนักงานคอยตรวจสอบอุณหภูมิและทำความสะอาดห้องเย็น เพื่อไม่ให้เกิด
การสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ การขนย้าย เพื่อการเก็บรักษา และ
การผลิต ต้องดำเนินการในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
3.2 ภาชนะบรรจุ
มีการควบคุมคุณภาพของภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ ต้องมีการห่อหุ้มมิดชิด เพื่อป้องกัน
ฝุ่นละอองต่างๆ และต้องเก็บในที่สะอาด
3.3 กระบวนการผลิต
3.3.1 บริเวณผลิตควรแยกเป็นสัดส่วน การตัดแต่งต้องทำอย่างระมัดระวัง อุปกรณ์ที่
ใช้ต้องสะอาด ไม่ขึ้นสนิม และไม่ใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ทำอย่างอื่นระหว่างการผลิต
3.3.2 การล้างทำความสะอาดวัตถุดิบ ต้องถูกสุขลักษณะ ควรมีการควบคุมคุณภาพ
น้ำที่ใช้ในการล้าง

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
7
3.3.3 การคัดคุณภาพและการบรรจุผลิตภัณฑ์นั้น พนักงานต้องปฏิบัติตามหลักให้ถูก
สุขอนามัย เช่น สวมถุงมือ
3.4 การบรรจุและการปิดผนึก
3.4.1 ฟิล์มและถุงพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุและปิดผนึกต้องเป็นชนิดที่ใช้กับอาหาร
การปิดผนึกต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดรอยรั่วซึ่งจะเป็นสาเหตุที่
ทำให้เกิดการปนเปื้อนได้
3.4.2 ควรมีการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบน้ำหนัก การปิดผนึก และตำหนิต่าง ๆ เพื่อ
ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรายละเอียดตรงตามที่กำหนด
3.5 การปิดฉลาก
การระบุข้อความบนฉลาก ต้องมีข้อความชัดเจน ถูกต้องสมบูรณ์ ระบุชื่อที่ตรงกับ
ผลิตภัณฑ์จริง ผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปี ที่ผลิต/หมดอายุ เป็นต้น และมีข้อมูลระบุครบตามที่
กฎหมายของประเทศผู้นำเข้าของแต่ละประเทศกำหนดไว้ โดยผู้ผลิตต้องทราบกฎหมายเกี่ยวกับฉลาก
ของประเทศลูกค้าด้วย
3.6 การบรรจุหีบห่อ
3.6.1 วัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ต้องสะอาด มีขนาดเหมาะสม และมีความทนทาน
เพียงพอต่อการจัดเรียงผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง นอกจากนั้นระหว่างที่ยังไม่มี
การใช้ ต้องเก็บไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง น้ำ และสัตว์พาหะอีกด้วย
3.6.2 การบรรจุหีบห่อ ควรทำอย่างระมัดระวัง ภายนอกของภาชนะบรรจุหีบห่อ ควร
มีฉลากที่บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ในรุ่นนั้นอย่างชัดเจน
3.7 การควบคุมผลิตภัณฑ์สุดท้าย
ผลิตภัณฑ์ทที่ ำการบรรจุหบี ห่อเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการเก็บรักษาไว้ในห้องทีเ่ หมาะสม
เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดการเสื่อมเสีย นอกจากนั้นต้องมีการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพด้วย

4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
4.1 การทำความสะอาด
4.1.1 อาคารผลิ ต จั ด ให้ มี ก ารทำความสะอาดของตั ว อาคาร พื้ น ผนั ง เพดาน
อุปกรณ์ทยี่ ดึ ติดกับผนัง หรือเพดาน อย่างสม่ำเสมอ อาจมีการระบุผรู้ บั ผิดชอบ
รวมถึงวิธี และความถี่ของการทำความสะอาด
4.1.2 เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้องทำความสะอาดก่อนและหลังการปฏิบัติ
งาน และดูแลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างดี อุปกรณ์ที่ทำความสะอาด
แล้วควรเก็บให้เป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสม
4.2 มาตรการป้องกันกำจัดสัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต
4.2.1 มีมาตรการในการป้องกันและกำจัดไม่ให้สัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต ซึ่ง
จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
4.2.2 มีการเฝ้าระวังและตรวจหาร่องรอยทำการอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้องดำเนิน
การกำจัดทันที โดยวิธีที่เหมาะสมและไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อผลิตภัณฑ์

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
8
4.2.3 การซ่อมบำรุงอาคาร การดูแลและซ่อมแซมอาคารผลิตให้อยู่ในสภาพดี ประตู
หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ และช่องทางระบายน้ำ ควรปิดสนิทหรือมีมุ้งลวด
ลูกกรงกั้นไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะนำเชื้อเข้ามา
4.3 การควบคุมสารอันตราย
4.3.1 การจัดเก็บสารเคมี และสารอันตราย ต้องเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด ห่างจากบริเวณ
ที่ทำการผลิต และมีป้ายที่บ่งบอกชัดเจน นอกจากนั้นต้องแยกสารที่ใช้เป็น
ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์กับสารที่ไม่ใช้กับอาหารออกจากกัน เพราะจะ
ทำให้เกิดการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ได้
4.3.2 สารเคมีที่เหลือจากการใช้ควรมีวิธีการกำจัดที่ถูกต้องและเหมาะสม
4.4 การระบายน้ำและการกำจัดของเสีย
4.4.1 การระบายน้ำในบริเวณอาคาร และส่วนที่ทำการผลิต ต้องมีการระบายน้ำที่ดี
ไม่ควรให้มีเศษที่เหลือจากการผลิตติดค้างในท่อ
4.4.2 สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล ต้องแยกออกจากพื้นที่ทำการผลิต ภายในอาคาร
ผลิตควรมีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยในจำนวนที่เพียงพอ มีระบบกำจัดขยะ
มูลฝอยที่เหมาะสม
4.5 ห้องสุขาสำหรับพนักงาน
4.5.1 ที่ตั้ง ของห้ อ งสุ ข า ต้ อ งไม่ เ ปิ ด สู่ บ ริ เ วณการผลิ ต โดยตรง ควรแยกออกจาก
บริเวณผลิต และควรมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
4.5.2 ลักษณะของห้องสุขา ต้องถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และมีอ่างล้าง
มือหน้าห้องสุขาพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือ
4.6 อุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง
อุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ที่เป่ามือ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น ควรมีให้
เพียงพอสำหรับพนักงาน ควรมีอยู่บริเวณหน้าทางเข้าสู่บริเวณที่ทำการผลิต เพื่อให้พนักงานหรือบุคคล
ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิต ได้ทำความสะอาดมือก่อนเข้าปฏิบัติงาน

5. บุคลากร
5.1 พนักงานที่ทำการผลิตหรือผู้ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตต้องมีการแต่งกายและปฏิบัติ
ตามที่โรงงานกำหนด หรือทำตามความเหมาะสม
5.2 ขณะที่ทำการปฏิบัติงานพนักงานต้องไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง ถ้ามี
บาดแผลควรมีการแจ้งหัวหน้าก่อน เพื่อที่จะได้มีการปฏิบัติกับบาดแผลให้ถูกต้อง เพื่อ
ป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์
5.3 พนักงานทีท่ ำการผลิตต้องล้างมือให้สะอาด ก่อนทีจ่ ะเข้าสูพ่ นื้ ทีท่ กุ ครัง้ บุคคลภายนอก
ทีจ่ ะเข้าสูบ่ ริเวณทีท่ ำการผลิตต้องปฏิบตั ติ วั เช่นเดียวกับพนักงานทีท่ ำการผลิต
5.4 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิต
รวมถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไป ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งมีการทบทวนการฝึก
อบรมและปรับให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
9
6. การเก็บรักษาและการขนส่ง
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่รอการขนส่งจะต้องเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เป็นระเบียบ สะดวกต่อ
การตรวจสอบ
6.2 ภาชนะที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการขนส่งนั้น ควรทำมาจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย
ควรเป็นภาชนะที่สะอาด และไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือมีพิษมาก่อน
6.3 สภาพของพาหนะขนส่งและตู้ขนส่ง ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถเก็บรักษา
ผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่เกิดความเสียหาย มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง
หรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง

7. การจัดทำบันทึก
7.1 เก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ ค้นหาได้ง่าย
7.2 เก็บบันทึกข้อมูลที่สำคัญครบถ้วน ได้แก่ ข้อมูลวัตถุดิบ แผนภูมิการผลิต แผนผังการ
ผลิต และข้อมูลเสริมที่เป็นประโยชน์ที่สามารถทวนสอบกลับได้ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์มี
ปัญหา

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
10

หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้
(ผลไม้ที่ส่งออกทั้งผลและเปลือก)

1. สถานที่ประกอบการ
1.1 สถานที่ตั้ง
1.1.1 สถานที่ตั้งของโรงคัดบรรจุควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม หลังคาสามารถกันแดด
และฝน ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อน
1.1.2 ต้องไม่อยู่ในบริเวณเดียวกับสถานที่ประกอบการเพื่อเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด เช่น เป็ด
ไก่ หากมีสตั ว์เลีย้ ง เช่น สุนขั ต้องจัดบริเวณให้เป็นสัดส่วน ไม่ให้เข้าสูบ่ ริเวณผลิต
1.1.3 แบ่งแยกพื้นที่ผลิต และพื้นที่จอดรถเพื่อส่งวัตถุดิบให้ชัดเจน
1.1.4 บริเวณพื้นที่ของสถานประกอบการต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสม บริเวณผลิตต้อง
เป็นพื้นปูน และพื้นที่รอบบริเวณผลิตต้องไม่เป็นพื้นดินหรือพื้นหญ้า อาจปรับ
พื้นที่ด้วยวัสดุต่างๆ ที่ป้องกันการปนเปื้อนเข้าสู่บริเวณผลิต
1.2 อาคารผลิต
1.2.1 อาคารผลิตต้องแยกออกจากที่พักอาศัย ไม่มีสัตว์เลี้ยงในบริเวณผลิต
1.2.2 มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดการผลิตให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อทำให้กระบวนการ
ผลิตสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง สะดวกต่อการปฏิบัติงาน และสามารถ
ป้องกันการปนเปื้อนจากสภาพโดยรอบ
1.2.3 พื้นบริเวณผลิตต้องเป็นพื้นปูน เรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่ควรมีน้ำขัง ไม่ใช้
เป็นที่จอดรถเพื่อรับส่งวัตถุดิบ ห้ามนำรถยนต์เข้าในพื้นที่บริเวณผลิต
1.2.4 พื้นที่การผลิตมีการระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน การวางพัดลม
หรือเครื่องปรับอากาศต้องให้ทิศทางลมพัดจากส่วนที่สะอาดไปยังส่วนที่ไม่สะอาด
1.2.5 บริเวณที่ทำการผลิตต้องมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับปฏิบัติงาน และทำให้การมอง
เห็นไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะจุดที่ต้องตรวจสอบบริเวณนั้น และมีการจัดการให้ถูก
สุขลักษณะ

2. เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
2.1 จำนวน
เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องมีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ภาชนะบรรจุ
หรืออุปกรณ์ในการผลิต เช่น ตะกร้า มีด โต๊ะ เครื่องชั่ง ฐานรองผลิตภัณฑ์ต้องสะอาด อยู่ในสภาพที่
พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดหรือแตกหัก และต้องจัดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเมื่อไม่ใช้งาน

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
11
2.2 การออกแบบติดตั้ง
เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องทำด้วยวัสดุที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน
ทำความสะอาดได้ง่าย และต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่มีคราบสกปรก น้ำมันหรือจาระบีตามจุด
ต่างๆ ที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือก ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต หรือการสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบ
เพื่ อ ให้ ไ ด้ วั ต ถุ ดิ บ ตรงตามลั ก ษณะที่ ต้ อ งการ มี ข้ อ มู ล การสุ่ ม วิ เ คราะห์ ส ารพิ ษ
ตกค้างในวัตถุดิบ และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้
3.1.2 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่งนั้น ควรเป็นภาชนะที่สะอาด ทำมาจาก
วัสดุที่ไม่เป็นอันตราย และไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือสารพิษมาก่อน โรงคัด
บรรจุอาจมีการควบคุมให้ผู้ส่งวัตถุดิบมีการทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ใส่วัตถุดิบ
3.1.3 บริเวณที่รับวัตถุดิบต้องสะอาด บนพื้นต้องไม่มีน้ำขังและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ตะกร้าที่
ใส่วัตถุดิบต้องไม่วางกับพื้นโดยตรง
3.1.4 การเก็บรักษาก่อนการผลิต ในกรณีที่วัตถุดิบเข้ามามากเกินไปหรือผลิตไม่ทัน
ทางโรงงานควรเก็บไว้ในห้องหรือบริเวณที่สะอาด ไม่มีน้ำขัง ไม่ควรวางตะกร้า
วัตถุดิบกับพื้นโดยตรง ภาชนะหรือตะกร้าที่ใช้ใส่ควรมีป้ายที่สื่อถึงวัตถุดิบในแต่ละ
รุ่นได้ การขนย้าย เพื่อการเก็บรักษา และการผลิต ต้องดำเนินการในสภาพที่ถูก
สุขลักษณะ
3.2 กระบวนการผลิต
3.2.1 บริ เ วณผลิ ต ต้ อ งมี พื้ น ที่ เ พี ย งพอ แบ่ ง แยกให้ เ ป็ น สั ด ส่ ว น เพื่ อ หลี ก เลี่ ย งการ
ปนเปื้อน จัดบริเวณการผลิตให้เป็นไปตามลำดับ ทำให้กระบวนการผลิตสามารถ
ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน
3.2.2 การตัดแต่งต้องทำอย่างระมัดระวัง อุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาด ไม่ขึ้นสนิม และไม่ใช้
อุปกรณ์นั้นๆ ทำอย่างอื่นระหว่างการผลิต
3.3 การบรรจุ ภาชนะบรรจุ และการบรรจุหีบห่อ
3.3.1 ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ ต้องเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ผลิตต้องวางบนฐาน
รอง ห้ามวางบนพื้น และควรเก็บรักษาในที่สะอาดป้องกันฝุ่นละออง
3.3.2 ควรมีการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบน้ำหนัก การปิดผนึก และตำหนิต่างๆ เพื่อให้
ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรายละเอียดตรงตามที่กำหนด
3.3.3 การบรรจุหีบห่อ ควรทำอย่างระมัดระวัง ภายนอกของภาชนะบรรจุหีบห่อ ควรมี
ฉลากที่บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ในรุ่นนั้นอย่างชัดเจน
3.3.4 วัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ต้องสะอาด มีขนาดเหมาะสม และมีความทนทาน
เพียงพอต่อการจัดเรียงผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง ระหว่างที่ยังไม่มีการใช้ ต้องเก็บ
ไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่น ละอองน้ำ และแมลง

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
12
3.4 การปิดฉลากบนผลิตภัณฑ์ หรือบนหีบห่อบรรจุ
3.4.1 การระบุข้อความบนฉลาก ต้องมีข้อความชัดเจน ถูกต้องสมบูรณ์ ระบุชื่อที่ตรงกับ
ผลิตภัณฑ์จริง ผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปี ที่ผลิต/ หมดอายุ เป็นต้น
3.4.2 ผู้ผลิตต้องทราบกฎหมายเกี่ยวกับฉลากของประเทศลูกค้าด้วย เพื่อเตรียมข้อมูลที่
ต้องระบุให้ครบตามที่กฎหมายของประเทศผู้นำเข้าของแต่ละประเทศกำหนดไว้
3.5 การควบคุมผลิตภัณฑ์สุดท้าย
3.5.1 ผลิตภัณฑ์ทที่ ำการบรรจุหบี ห่อเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการเก็บรักษาไว้ในห้องทีเ่ หมาะสม
เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์เกิดการเสื่อมเสีย
3.5.2 การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ หรือเพื่อออกหนังสือรับรอง ต้องเป็นไปตาม
กำหนดเกณฑ์การส่งออก และตามที่ประเทศปลายทางกำหนด

4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
4.1 การทำความสะอาด
4.1.1 จัดให้มีการทำความสะอาดของตัวอาคารผลิต พื้น ผนัง เพดาน อุปกรณ์ที่ยึดติด
กับผนัง หรือเพดาน รวมถึงหลังคา อย่างสม่ำเสมอ อาจมีการระบุ ผู้รับผิดชอบ
รวมถึงวิธี และความถี่ของการทำความสะอาด
4.1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ ต้องทำความสะอาดก่อนและหลังการปฏิบัติงาน และดูแลให้
มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างดี อุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้วควรเก็บให้เป็น
สัดส่วน ในสถานที่เหมาะสม
4.2 มาตรการป้องกันกำจัดสัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต
4.2.1 มีมาตรการในการป้องกันและกำจัดไม่ให้สัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต ซึ่งจะ
ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
4.2.2 มีการเฝ้าระวังและตรวจหาร่องรอยอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้องดำเนินการกำจัด
ทันที โดยวิธีที่เหมาะสมและไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อผลิตภัณฑ์
4.3 การควบคุมสารเคมีที่ใช้ในการผลิต
4.3.1 การผลิตทีใ่ ช้สารเคมี จะต้องระบุชนิดและอัตราทีใ่ ช้ให้ถกู ต้อง และลงบันทึกทุกครัง้
4.3.2 การจัดเก็บสารเคมี และสารอันตราย ต้องเก็บไว้ในที่เหมาะสม และมีป้ายที่บ่งบอก
ชัดเจน
4.4 การกำจัดของเสีย
4.4.1 สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล ต้องแยกออกจากพื้นที่ทำการผลิต
4.4.2 ต้องมีภาชนะรองรับขยะที่เพียงพอ และกำจัดขยะไม่ให้สะสมอยู่บริเวณผลิตและ
โรงงาน
4.5 ห้องน้ำสำหรับพนักงาน
4.5.1 ที่ตั้งของห้องน้ำ ต้องไม่เปิดสู่บริเวณการผลิตโดยตรง แยกออกจากบริเวณผลิต
และควรมีจำนวนเพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
13
4.5.2 ลักษณะของห้องน้ำและห้องส้วม ต้องถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และมี
อ่างล้างมือหน้าห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือ
4.6 อุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง
4.6.1 อุปกรณ์ลา้ งมือและทำให้มอื แห้ง เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ทีเ่ ป่ามือ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
ควรมีให้เพียงพอสำหรับพนักงาน และตั้งอยู่บริเวณหน้าทางเข้าสู่บริเวณที่ทำการ
ผลิต เพือ่ ให้พนักงานหรือบุคคลทีจ่ ะเข้าสูพ่ นื้ ทีท่ ำการผลิต ได้ทำความสะอาดมือก่อน

5. บุคลากร
5.1 พนักงานที่ทำการผลิตหรือผู้ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตต้องแต่งกายและปฏิบัติตาม
ที่โรงงานกำหนด ขณะปฏิบัติงานต้องสวมเสื้อ
5.2 พนักงานที่ทำการผลิตต้องไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง ขณะที่ทำการ
ปฏิบัติงาน ถ้ามีบาดแผลควรมี ก ารแจ้ ง หั ว หน้ า ก่ อ นเพื่ อ ที่ จ ะได้ มี ก ารปฏิ บั ติ กั บ
บาดแผลให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์
5.3 พนักงานที่ทำการผลิตต้องล้างมือให้สะอาด ก่อนที่จะเข้าสู่พื้นที่ทุกครั้ง บุคคล
ภายนอกที่จะเข้าสู่บริเวณที่ทำการผลิตต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับพนักงานที่ทำ
การผลิต
5.4 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิต
รวมถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไป

6. การเก็บรักษาและการขนส่ง
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่รอการขนส่งจะต้องเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เป็นระเบียบ สะดวก
ต่อการตรวจสอบ
6.2 ภาชนะที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการขนส่งนั้น ควรทำมาจากวัสดุที่ไม่เป็น
อันตราย ควรเป็นภาชนะที่สะอาด และไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือมีพิษมาก่อน
6.3 สภาพของพาหนะขนส่งและตู้ขนส่ง ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถเก็บ
รักษาผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่เกิดความเสียหาย มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนจาก
ฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง

7. การจัดทำบันทึก
7.1 เก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ อย่างมีระเบียบ ค้นหาได้ง่าย
7.2 เก็บบันทึกข้อมูลที่สำคัญครบถ้วน ได้แก่ ข้อมูลวัตถุดิบ แผนภูมิการผลิต แผนผัง
การผลิ ต และข้ อ มู ล เสริ ม ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ที่ ส ามารถทวนสอบกลั บ ได้ ใ นกรณี ที่
ผลิตภัณฑ์มีปัญหา

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
14

หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
(ข้าวโพดฝักอ่อน)

1. สถานที่ประกอบการ
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของจุดรวบรวมควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อน
จากสัตว์ แมลง พาหะนำโรค วัตถุอันตราย ตลอดจนฝุ่นละอองหรือฝุ่นควัน สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล
และสาเหตุของการปนเปื้อนอื่นๆ ไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก
1.2 บริเวณผลิต
1.2.1 บริเวณผลิตแยกออกจากที่พักอาศัย มีพื้นที่เพียงพอ การจัดพื้นที่ผลิตเป็น
สัดส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ควรมีมุ้งลวด
เพื่อป้องกันสัตว์ และแมลง
1.2.2 พื้นเรียบ ทำความสะอาดง่ายไม่มีน้ำขัง สร้างด้วยวัสดุที่คงทน ต้องดูแลให้อยู่
ในสภาพดีและสะอาด
1.2.3 บริเวณที่ทำการผลิตต้องมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับปฏิบัติงาน

2. เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต
เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ใ นการผลิ ต มี เ พี ย งพอต่ อ การปฏิ บั ติ ง าน ภาชนะบรรจุ หรื อ
อุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น ตะกร้า มีด โต๊ะ เครื่องชั่ง ต้องสะอาด อยู่ในสภาพที่พร้อม
ใช้งาน ไม่ชำรุดหรือแตกหัก และต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อันเป็นอันตรายต่อ
ผู้บริโภคได้

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือก ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต
3.1.2 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่งนั้น ควรเป็นภาชนะที่สะอาด ทำมา
จากวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย และไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือสารพิษมาก่อน มีการควบคุมให้ผู้ส่งวัตถุดิบ
มีการทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ใส่วัตถุดิบ
3.1.3 การเก็บรักษาก่อนการผลิต ควรเก็บไว้ในบริเวณทีส่ ะอาด ไม่มนี ำ้ ขัง ไม่มกี ลิน่ เหม็น
3.2 กระบวนการผลิต
ควรแยกบริเวณกรีดเปลือกข้าวโพด และบริเวณรูดไหมออกจากกัน ห้ามผลิตบนพื้น
ควรทำการผลิตบนโต๊ะที่สูงอย่างน้อย 50 ซม. อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น มีด ตะกร้า ถุง ห้ามวางกับพื้น และต้อง
สะอาดไม่ขึ้นสนิม และไม่ใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ทำอย่างอื่นระหว่างการผลิต

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
15
3.3 การบรรจุ
วัสดุที่ใช้ในการบรรจุ ต้องสะอาด มีขนาดเหมาะสม และมีความทนทานเพียงพอต้อง
เก็บในที่สะอาด
3.4 การควบคุมผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ที่ทำการบรรจุเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการเก็บรักษาไว้ในสภาพที่เหมาะสม
ห้ามวางบนพื้น ควรมีป้ายบอกแหล่งที่มา เช่น วันที่ผลิต จำนวน และชื่อแปลงเกษตรกร

4. การบำรุงรักษาความสะอาด
4.1 การทำความสะอาด
ต้องมีการทำความสะอาดบริเวณผลิต เครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ ก่อนและหลังการปฏิบตั งิ าน
4.2 มีมาตรการป้องกันกำจัดสัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต
4.3 บริเวณผลิต
บริเวณผลิต ต้องมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรมีน้ำขัง ขยะ เศษที่เหลือจากการผลิต
และสิ่งที่ไม่ใช้แล้วต้องแยกจากบริเวณผลิต มีระบบกำจัดขยะที่เหมาะสม
4.4 ห้องน้ำสำหรับพนักงาน
4.4.1 ที่ ตั้ ง ของห้ อ งสุ ข า น้ ำ ต้ อ งไม่ เ ปิ ด สู่ บ ริ เ วณผลิ ต โดยตรง ควรแยกออกจาก
บริเวณผลิต และควรมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
4.4.2 ลักษณะของห้องน้ำห้องส้วม ต้องถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และมี
อ่างล้างมือ หน้าห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือ

5. บุคลากร
5.1 พนักงานทีท่ ำการผลิตหรือผูท้ จี่ ะเข้าสูพ่ นื้ ทีท่ ำการผลิต ต้องแต่งกายสะอาดและเหมาะสม
5.2 ไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง นำอาหารเข้ามารับประทานขณะที่ทำการปฏิบัติ
งาน ถ้ามีการบาดเจ็บหรือป่วยต้องแจ้งผู้รับผิดชอบเพื่อหาทางป้องกัน
5.3 ต้องล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด และเช็ดให้แห้งทุกครั้งก่อนเข้าบริเวณผลิต และออกจาก
ห้องน้ำ น้ำล้างมือต้องเป็นน้ำสะอาด
5.4 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิต
รวมถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไป ตามความเหมาะสม

6. การส่ง
สภาพของพาหนะขนส่งต้องสะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถป้องกันการ
ปนเปื้อนจากฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง

7. การจัดทำบันทึก
ควรมีการจัดทำบันทึกในเรื่อง
7.1 วันที่รับและผลิต ชื่อเกษตรกร แหล่งที่มา ปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต
7.2 วันที่จำหน่าย ผู้รับซื้อสินค้า ปริมาณการซื้อ ขาย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
16
หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
(สำหรับผลไม้ทตี่ อ้ งระวังศัตรูพชื แมลงวันผลไม้ เช่น ชมพู่ มะม่วง ฝรัง่ )
1. สถานที่ประกอบการ
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ ตั้ ง ของจุ ด รวบรวมควรตั้ ง อยู่ ใ นบริ เ วณที่ ไ ม่ ท ำให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ เ กิ ด การ
ปนเปื้อนจากสัตว์ แมลงพาหนะนำโรค วัตถุอันตราย ตลอดจนฝุ่นละอองหรือฝุ่นควัน สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือ
สิ่งปฏิกูล และสาเหตุของการปนเปื้อนอื่น ๆ ไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก
1.2 บริเวณผลิต
1.2.1 บริเวณผลิตแยกออกจากที่พักอาศัย มีพื้นที่เพียงพอ การจัดพื้นที่ผลิตเป็น
สัดส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน อยู่ภาย
ใต้โครงสร้างหลังคาแข็งแรง ป้องกันการปนเปื้อนได้
1.2.2 ต้องใช้ตาข่ายขนาด 30 mesh กางรอบบริเวณที่ใช้เป็นจุดรวบรวม เพื่อ
ป้องกันแมลงวันผลไม้เข้าไปวางไข่ และบริเวณทางเข้า-ออก ต้องทำเป็น
ประตู 2 ชั้น
1.2.3 พื้นปูนเรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขัง ต้องดูแลให้อยู่ในสภาพดีและ
สะอาด
1.2.4 บริเวณที่ทำการผลิตต้องมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับปฏิบัติงาน

2. เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต มีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ภาชนะบรรจุหรือ
อุปกรณ์ในผลิตที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น ตะกร้า มีด โต๊ะ เครื่องชั่ง ต้องสะอาด อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้
งาน ไม่ชำรุดหรือแตกหัก และทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อันเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือก ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต
3.1.2 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่งนั้น ควรเป็นภาชนะที่สะอาด
และวัตถุดิบต้องไม่ถูกเปิดออกจากถุงห่อก่อนเข้าโรงรวบรวม
3.2 กระบวนการผลิต
ต้องทำการผลิตบนโต๊ะสูงอย่างน้อย 50 เซนติเมตร อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ถุง วัสดุ
สำหรับห่อผล ตะกร้า ห้ามวางกับพื้น
3.3 การบรรจุหีบห่อ
3.3.1 วัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ต้องสะอาด มีขนาดเหมาะสม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
17
3.3.2 ภาชนะบรรจุตอ้ งปิดมิดชิด เพือ่ ป้องกันแมลงวันเข้าไปวางไข่ เช่น กล่องโฟม
กล่องกระดาษ ที่ไม่มีรู (ถ้ามีรูต้องปิดรูด้วยตาข่ายขนาด 30 mesh) ในกรณีใช้ตะกร้าผลไม้ต้องรองตะกร้า
ด้วยกระดาษสีน้ำตาลหรือสีขาว หนา 2 ชั้น ทุกด้านรวมถึงด้านบนด้วย
3.4 การควบคุมผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ที่ทำการบรรจุหีบห่อเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการเก็บรักษาไว้ในสภาพที่
เหมาะสม ห้ามวางบนพื้น ต้องมีการชี้บ่งเพื่อให้สามารถตามสอบได้
กรณีบรรจุพร้อมส่งออกต้องมีการติดป้าย หรือฉลาก หรือประะทับข้อความเป็น
ภาษาอังกฤษ โดยต้องแสดงข้อมูลดังนี้
✜ ชื่อผู้ประกอบการส่งออก/หมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
✜ รหัสการรับรองโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
✜ รหัสการรับรองแหล่งผลิตพืชตามการปฏิบัติที่ดีสำหรับพืช
✜ ชื่อสามัญของพืช
✜ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช
✜ รหัสรุ่นที่ผลิต (Lot No. หรือ Batch No. หรือ Code No.)
✜ ประเทศผู้ผลิต
หรือตามเงื่อนไขกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า

4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
4.1 การทำความสะอาด
ต้องทำความสะอาดบริเวณผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ ก่อนและหลังการปฏิบัติงาน
ตามความเหมาะสม
4.2 มีมาตรการป้องกันกำจัดสัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต
ควรติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง ขนาด 15x20 เซนติเมตร ไว้ใต้หลอดนีออนที่
ระดับต่ำลงมาประมาณ 15 เซนติเมตร อัตรา 1 กับดักต่อพื้นที่ 4 ตารางเมตร หรือติดไฟดักแมลง
4.3 บริเวณผลิต
บริเวณผลิต ไม่ควรมีขยะ เศษเหลือจากการผลิตและสิ่งที่ไม่ใช้แล้วต้องแยกจาก
บริเวณผลิตตามความถี่ที่เหมาะสม มีการจัดการขยะที่เหมาะสม จุดรวบรวมขยะด้านนอกต้องปิดมิดชิด
4.4 ห้องน้ำสำหรับพนักงาน
4.4.1 ที่ตั้งของห้องน้ำ ต้องไม่เปิดสู่บริเวณการผลิตโดยตรง ควรแยกออกจาก
บริเวณผลิต และควรมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
4.4.2 ลักษณะของห้องน้ำและห้องส้วม ต้องถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพที่ใช้งาน
ได้ และมีอ่างล้างมือหน้าห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือ
4.5 อุปกรณ์ทำความสะอาดมือและทำให้มือแห้ง
อุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ที่เป่ามือ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
ควรมีอยู่บริเวณหน้าทางเข้าสู่บริเวณผลิต เพื่อให้พนักงานหรือบุคคลที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิต ได้
ทำความสะอาดมือก่อน

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
18
5. บุคลากร
5.1 พนักงานที่ทำการผลิตหรือผู้ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตต้องมีการแต่งกายสะอาด
และเหมาะสม
5.2 ต้องไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง นำอาหารเข้ามารับประทานในบริเวณ
ผลิต ขณะที่ทำการปฏิบัติงาน ถ้ามีบาดแผลหรือป่วยต้องแจ้งผู้รับผิดชอบ เพื่อหา
ทางป้องกัน
5.3 พนักงานต้องล้างมือให้สะอาด ก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณผลิตทุกครั้ง
5.4 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการ
ผลิต รวมถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไป และความรู้เรื่องแมลงศัตรูพืช ตามความ
เหมาะสม

6. การขนส่ง
สภาพของพาหนะขนส่งต้องสะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถป้องกันการ
ปนเปื้อนจากฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง

7. การจัดทำบันทึก
ควรมีการจัดทำบันทึกในเรื่อง
7.1 วันที่รับและผลิต ชื่อเกษตรกร แหล่งที่มา ปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต
7.2 วันที่จำหน่าย ผู้รับซื้อสินค้า ปริมาณการซื้อ ขาย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
19
หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
(หอมแดง/หอมหัวใหญ่/กระเทียม)
1. สถานที่ประกอบการ
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของโรงรวบรวมควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปน
เปื้อนจากสัตว์ แมลง พาหะนำโรค วัตถุอันตราย ตลอดจนฝุ่นละอองหรือฝุ่นควัน สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่ง
ปฏิกูล และสาเหตุของการปนเปื้อนอื่นๆ ไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก
1.2 บริเวณผลิต
1.2.1 บริเวณผลิตแยกออกจากที่พักอาศัย มีพื้นที่เพียงพอ การจัดพื้นที่ผลิต
เป็นสัดส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน และสะดวกต่อการปฏิบัติงาน อยู่
ภายใต้โครงสร้างหลังคาแข็งแรง ป้องกันการปนเปื้อนจากสภาพโดยรอบ
1.2.2 เป็นพื้นปูน เรียบ ทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขัง ต้องดูแลให้อยู่ในสภาพดี
และสะอาด
1.2.3 บริเวณที่ทำการผลิตต้องมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับปฏิบัติงาน
1.2.4 จุดบรรจุเป็นระบบปิด มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์ และแมลง
ตามความเหมาะสม
2. เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต มีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ภาชนะบรรจุหรือ
อุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เช่น ตะกร้า มีด กรรไกร โต๊ะ เครื่องชั่ง ต้องสะอาด อยู่ในสภาพ
ที่พร้อมใช้งาน ไม่ชำรุดหรือแตกหัก และต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อันเป็นอันตราย
ต่อผู้บริโภคได้
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือก ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต
3.1.2 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่งนั้น ควรเป็นภาชนะที่สะอาด
3.2 กระบวนการผลิต
ต้องทำการผลิตบนโต๊ะ ห้ามวางสัมผัสพื้นโดยตรง อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ถุง ตะกร้า
ห้ามวางกับพื้น
3.3 การบรรจุหีบห่อ
3.3.1 ภาชนะหรือวัสดุที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ต้องสะอาด มีขนาดเหมาะสม
3.3.2 ภาชนะหรือวัสดุบรรจุผลิตภัณฑ์ ต้องมีการห่อหุ้มมิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่น
ละออง และเก็บในที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ
3.4 การควบคุมผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ที่ทำการบรรจุเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการเก็บรักษาไว้ในสภาพที่เหมาะสม
ห้ามวางกับพื้น ต้องมีการชี้บ่งเพื่อให้สามารถตามสอบได้ การระบุฉลากต้องมีข้อมูลระบุครบตามที่
กฎหมายของประเทศผู้นำเข้าของแต่ละประเทศกำหนดไว้

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
20
4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
4.1 การทำความสะอาด
ต้องทำความสะอาดบริเวณผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ ก่อนและหลังการปฏิบัติงาน ตาม
ความเหมาะสม
4.2 มีมาตรการป้องกันกำจัดสัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต
4.2.1 มีมาตรการในการป้องกันและกำจัดไม่ให้สัตว์หรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต ซึ่ง
จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
4.2.2 มีการเฝ้าระวังและตรวจหาร่องรอยอย่างสม่ำเสมอ
4.2.3 มีการซ่อมแซมอาคารผลิตให้อยู่ในสภาพดี ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ
ควรปิดสนิทหรือมีมุ้งลวด ตะแกรง กั้นเพื่อป้องกันสัตว์พาหะได้
4.3 บริเวณผลิต
บริเวณผลิต ไม่ควรมีขยะ เศษเหลือจากการผลิตและสิ่งที่ไม่ใช้แล้วต้องแยกจากบริเวณ
ผลิตตามความถี่ที่เหมาะสม มีการจัดการขยะที่เหมาะสม จุดรวบรวบขยะด้านนอกต้องปิดมิดชิด
4.4 ห้องน้ำสำหรับพนักงาน
4.4.1 ที่ตั้งของห้องน้ำ ต้องไม่เปิดสู่บริเวณการผลิตโดยตรง ควรแยกออกจากบริเวณ
ผลิต และควรมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
4.4.2 ลักษณะของห้องน้ำและห้องส้วม ต้องถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
และมีอ่างล้างมือหน้าห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือ
4.5 อุปกรณ์ทำความสะอาดมือและทำให้มือแห้ง
อุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ที่เป่ามือ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น ควร
มีอยู่บริเวณหน้าทางเข้าสู่บริเวณผลิต เพื่อให้พนักงานหรือบุคคลที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิต ได้ทำความ
สะอาดมือก่อนเข้าปฏิบัติงาน
5. บุคลากร
5.1 พนักงานที่ทำการผลิตหรือผู้ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตต้องมีการแต่งกายสะอาดและ
เหมาะสม
5.2 ต้องไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง นำอาหารเข้ามารับประทานในบริเวณผลิต
ขณะที่ทำการปฏิบัติงาน ถ้ามีบาดแผลหรือป่วยต้องแจ้งผู้รับผิดชอบเพื่อหาทางป้องกัน
5.3 พนักงานต้องล้างมือให้สะอาด ก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณผลิตทุกครั้ง
5.4 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิต
รวมถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไป ตามความเหมาะสม
6. การขนส่ง
สภาพของพาหนะขนส่งต้องสะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถป้องกันการปน
เปื้อนจากฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง
7. การจัดทำบันทึก
ควรมีการจัดทำบันทึกในเรื่อง
7.1 วันที่รับและผลิต ชื่อเกษตรกร แหล่งที่มา ปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต
7.2 วันที่จำหน่าย ผู้รับซื้อสินค้า ปริมาณการซื้อ ขาย และข้อมูลเสริมที่เป็นประโยชน์
สามารถใช้ในการตามสอบได้ กรณีผลิตภัณฑ์มีปัญหา

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
21

หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงงานแปรรูป

1. สถานที่ประกอบการ
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของโรงงานแปรรูปควรตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ไม่อยู่ใน
บริเวณที่จะก่อให้เกิดการปนเปื้อน ซึ่งอาจทำให้อาหารที่ผลิตไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น
v บริเวณที่มีฝุ่นหรือควันมาก
v บริเวณที่มีสัตว์พาหะนำเชื้อ
v บริเวณที่มีการสะสมสิ่งปฏิกูล ของเสีย
v บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง
v สถานที่เลี้ยงสัตว์
1.2 อาคารผลิต
1.2.1 การออกแบบและการวางแผนผังอาคารผลิต
การออกแบบและการวางแผนผังผลิตอาหาร ควรเอื้ออำนวยให้มีการปฏิบัติตาม
สุขลักษณะอาหารที่ดี
v บริเวณผลิตอาหารต้องไม่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
v มี พื้ น ที่ เ พี ย งพอสำหรั บ ติ ด ตั้ ง เครื่ อ งมื อ และอุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ใ นการผลิ ต เพื่ อ ความ
สะดวกในการปฏิบัติงานและป้องกันการปนเปื้อน
v มีการจัดบริเวณการผลิตให้เป็นสัดส่วนตามลำดับสายการผลิต เริ่มตั้งแต่ขั้นตอน
การรับวัตถุดบิ กระบวนการผลิต จนเป็นผลิตภัณฑ์ โดยไม่กอ่ ให้เกิดการปนเปือ้ นข้าม
1.2.2 โครงสร้างภายใน
โครงสร้างภายในอาคารผลิตควรใช้วสั ดุทคี่ งทน บำรุงรักษา ทำความสะอาด และฆ่าเชือ้
ได้ง่าย
v พื้นควรทำด้วยวัสดุคงทน ไม่เป็นพิษ มีพื้นผิวเรียบ และมีความลาดเอียงสามารถ
ระบายน้ำได้ดี
v ผนังและฝากั้น ควรมีพื้นผิวเรียบ ทำด้วยวัสดุคงทน ไม่เป็นพิษ และสูงพอเหมาะ
กับการปฏิบัติงาน
v เพดานและอุปกรณ์ที่ติดอยู่ด้านบนควรทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นที่สะสมของ
สิ่งสกปรก หยดน้ำ รวมทั้งไม่มีการหลุดลอกของชิ้นส่วน
v ประตูและหน้าต่าง ควรปิดสนิทและมีผิวเรียบ ถ้าติดมุ้งลวดควรถอดทำความ
สะอาดได้
v สถานที่ แ ละสิ่ ง ก่ อ สร้ า งที่ ใ ช้ ชั่ ว คราวสำหรั บ การปฏิ บั ติ ง านที่ เ กี่ ย วกั บ การผลิ ต
อาหารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังที่กล่าวมาด้วย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
22
1.2.3 คุณภาพและการระบายของอากาศ
พื้นที่การผลิตต้องไม่ร้อนอบอ้าว ไม่มีกลิ่นอับ มีการระบายอากาศ และมีการดัก
หรือกรองอากาศตามความเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน ป้องกันการปนเปื้อนและการควบแน่นของ
ไอน้ำ ควรมีทิศทางการระบายอากาศจากส่วนที่สะอาดไปยังส่วนที่ไม่สะอาด
1.2.4 แสงสว่าง
บริเวณที่ทำการผลิตควรมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานให้ถูกต้องและ
ถูกสุขลักษณะ แสงสว่างไม่ควรมีผลต่อเรื่องสี ซึ่งอาจทำให้สีผิดเพี้ยนไป ควรมีการป้องกันหลอดไฟที่
เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่แตกกระจายปนเปื้อนกับอาหาร

2. เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ต้องได้รับการออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และการ
ทำความสะอาด มีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และลดความเสี่ยงต่อการ
ปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
v ทำด้วยวัสดุผิวเรียบไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน
v ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก
v หลีกเลี่ยงการมีซอกมุม สามารถทำความสะอาด และฆ่าเชื้อได้อย่างทั่วถึง
v หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนจากน้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบี
v พื้นผิวปฏิบัติงานที่สัมผัสกับอาหารควรอยู่ในสภาพดี ทนทาน ไม่ทำปฏิกิริยากับ
อาหาร สารที่ใช้ทำความสะอาด และสารฆ่าเชื้อ
v เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการผลิต ให้ความร้อน ทำความเย็น เก็บรักษา หรือ
แช่แข็งอาหาร ต้องมีการควบคุมให้มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้
v อุปกรณ์ที่ใช้ชั่ง ตวง วัด และเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบต้องมีการสอบเทียบ
v ต้องจำแนกและชี้บ่งภาชนะที่ใช้งาน ให้ถูกต้องและเหมาะสม
v ภาชนะสำหรับเก็บของเสียควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับอาหาร

3. กระบวนการผลิต
ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสม ในจุดที่อาจก่อ
ให้เกิดความไม่ปลอดภัยของอาหาร และสามารถตรวจติดตามการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.1 วัตถุดิบ
v มีการจัดการผลิตในขั้นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบมีความปลอดภัย
v มีการจัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบ
v คัดเลือกวัตถุดิบและส่วนผสมที่ปลอดภัย เหมาะสม และจัดเก็บให้อยู่ในสภาพดี
ป้องกันการปนเปื้อน
v ควรมีการหมุนเวียนนำวัตถุดิบและส่วนผสมมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
23
3.2 การผลิต
v ต้องควบคุมเวลา อุ ณ หภู มิ และปั จ จั ย อื่ น ที่ มี ผ ลต่ อ ความปลอดภั ย ของอาหาร
ให้ถูกต้องตามวิธีการผลิต
v ต้องควบคุมค่าอันตราย (จุลินทรีย์ เคมี และกายภาพ) ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
v ต้องมีการศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ และควรศึกษาตามสภาวะความเป็นจริง
v มีการป้องกันการปนเปื้อนข้ามอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 การบรรจุ
v บรรจุภัณฑ์สามารถป้องกันความเสียหายและการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์อย่าง
เพียงพอ
v ภาชนะบรรจุที่สัมผัสกับอาหารวัสดุหรือก๊าซที่ใช้บรรจุจะต้องไม่เป็นพิษ
v มีการแสดงข้อมูลบนฉลากอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการฉลาก พร้อมทั้งมี
ข้อมูลและความรู้ของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้บริโภคนำไปใช้อย่างถูกต้อง
v ภาชนะบรรจุทนี่ ำกลับมาใช้อกี ควรมีความทนทาน ทำความสะอาดง่าย และฆ่าเชือ้ ได้
3.4 น้ำ
v น้ำที่สัมผัสกับอาหาร น้ำที่เป็นส่วนผสม น้ำแข็ง และไอน้ำ ต้องใช้น้ำบริโภค
v น้ำบริโภค ควรมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่ระบุใน WHO Guideline for Drinking
Water Quality ฉบับล่าสุด และมีความถี่ในการเฝ้าระวังที่เหมาะสม
v น้ำที่ใช้ล้างอุปกรณ์ เครื่องมือ ภาชนะบรรจุที่สัมผัสกับอาหาร ควรใช้น้ำบริโภค
3.5 การควบคุมผลิตภัณฑ์
v มีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเชื่อถือ ทุกปี มีการเก็บ
บันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้เป็นหลักฐานมากกว่าอายุของผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี
v มีการคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานไปดำเนินการอย่างเหมาะสม
v มีวิธีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ

4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
สถานที่ประกอบการและเครื่องมือควรมีการซ่อมบำรุง ดูแลรักษา และทำความสะอาดอย่าง
สม่ำเสมอ และอาจจำเป็นต้องฆ่าเชื้อหลังทำความสะอาด รวมถึงมีการตรวจติดตามประสิทธิภาพและ
ประเมินผลตามระยะเวลาที่เหมาะสม
4.1 การทำความสะอาด
4.1.1 อาคารผลิต
ดูแลทำความสะอาดสถานทีแ่ ละอาคารผลิต พืน้ ผนัง เพดาน อุปกรณ์ทยี่ ดึ ติดกับ
ผนังหรือเพดานอย่างสม่ำเสมอ อาจมีการระบุผรู้ บั ผิดชอบ รวมถึงวิธแี ละความถีข่ องการทำความสะอาด
4.1.2 เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์
ทำความสะอาดก่อนและหลังการปฏิบัติงาน และดูแลให้มีประสิทธิภาพในการ
ทำงานอย่างดี อาจมีการระบุรายการของเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบ รวมถึงวิธีและความถี่ของ
การทำความสะอาด อุปกรณ์ทำความสะอาดควรเก็บให้เป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
24
4.2 มาตรการป้องกันกำจัดสัตว์และแมลง
มีมาตรการในการป้องกันและกำจัดไม่ให้สัตว์และแมลงเข้าในบริเวณผลิต ซึ่งจะก่อให้
เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
v ดูแลและซ่อมแซมอาคารผลิตให้อยู่ในสภาพดี ช่องระบายอากาศและช่องทาง
ระบายน้ำ ควรป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะเข้ามา
v เฝ้าระวัง และตรวจหาร่องรอยอย่างสม่ำเสมอ
v มี ก ารกำจั ด ตามวิ ธี และความถี่ ที่ เ หมาะสม และไม่ ท ำให้ เ กิ ด การปนเปื้ อ นต่ อ
ผลิตภัณฑ์
4.3 การกำจัดของเสีย
v สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูลต้องแยกออกจากพื้นที่ทำการผลิตตามระยะเวลาที่
เหมาะสม
v อาคารผลิตควรมีภาชนะรองรับของเสียในจำนวนที่เพียงพอ และมีการบ่งชี้เพื่อ
แยกจากภาชนะที่ใช้ในการผลิต
v มีระบบกำจัดของเสียที่เหมาะสม
v ต้องรักษาความสะอาดของภาชนะรองรับของเสีย
4.4 สุขลักษณะส่วนบุคคล
4.4.1 อุปกรณ์ล้างมือ
อุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ที่เป่ามือ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
ควรมีให้เพียงพอสำหรับพนักงาน ติดตั้งอยู่บริเวณหน้าทางเข้าสู่ที่ทำการผลิตเพื่อให้พนักงาน หรือบุคคล
ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตได้ทำความสะอาดมือก่อน รวมทั้งมีการติดตั้ง ณ จุดที่มีความจำเป็นภายใน
อาคารผลิต
4.4.2 ห้องสุขา
ห้องสุขาต้องถูกสุขลักษณะ ไม่เปิดสู่บริเวณการผลิตโดยตรง ควรแยกออกจาก
บริเวณผลิต และควรมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับพนักงาน มีอุปกรณ์ทำความสะอาดมือ และทำให้มือแห้ง
ติดตั้งอยู่ในบริเวณหน้าห้องสุขา
4.5 การระบายน้ำ
ต้องมีการจัดระบบการระบายน้ำที่ดี บริเวณการผลิตไม่ควรมีน้ำขัง และไม่มีเศษที่
เหลือจากการผลิตติดค้างในท่อระบายน้ำ
4.6 การควบคุมสารอันตราย
การจัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการผลิต สารทำความสะอาด และสารอันตรายอื่นๆ ต้อง
เก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด ห่างจากบริเวณที่ทำการผลิตและมีป้ายที่บ่งบอกชัดเจน นอกจากนั้นต้องแยกสารที่
ใช้กับอาหารและสารที่ไม่ใช้กับอาหารออกจากกัน เพราะอาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ได้

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
25
5. บุคลากร
5.1 ต้องจัดทำประวัติและตรวจสุขภาพก่อนรับพนักงานเข้าทำงาน
5.2 พนักงานหรือบุคคลที่จะเข้าสู่พื้นที่ผลิตต้องมีการแต่งกายและปฏิบัติตามข้อ
กำหนดของโรงงานและสุ ข อนามั ย ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด การปนเปื้ อ น
ผลิตภัณฑ์ เช่น ไม่สวมเครื่องประดับ ไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง
ขณะที่ทำการผลิต
5.3 พนักงานที่ทำการผลิตต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเข้าสู่พื้นที่ผลิตทุกครั้ง
5.4 ควรมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของการล้างมือ โดยเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยงต่อ
ความปลอดภัยของอาหารตามความถี่ที่เหมาะสม
5.5 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการ
ผลิ ต รวมถึ ง เรื่ อ งของสุ ข ลั ก ษณะทั่ ว ไปตามความเหมาะสม พร้ อ มทั้ ง มี ก าร
ทบทวนการฝึกอบรมและปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5.6 ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงาน พนักงานต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้าย
แรงโดยเฉพาะพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร พนักงานที่เจ็บป่วยและมี
บาดแผลควรจะรายงานต่อผู้ควบคุมให้ทราบเพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นในการ
รักษาโดยแพทย์ และ/หรือแยกออกจากการปฏิบัติงาน

6. การเก็บรักษาและการขนส่ง
6.1 ผลิตภัณฑ์จะต้องเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เป็นระเบียบ มีป้ายระบุวันผลิต
เพื่อสะดวกในการนำไปใช้และการตรวจสอบ
6.2 บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง ควรทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย ควรเป็นภาชนะที่
สะอาดและไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือมีพิษมาก่อน
6.3 ชนิดของพาหนะขนส่ง ต้องเหมาะสมกับชนิดของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้
สามารถเก็บรักษาได้โดยไม่เกิดความเสียหาย
6.4 สภาพของพาหนะขนส่ ง และตู้ ข นส่ ง ต้ อ งถู ก สุ ข ลั ก ษณะและพร้ อ มใช้ ง าน
มีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง
6.5 การเก็บรักษาและการขนส่งต้องมีการควบคุมสภาวะให้เหมาะสม เพื่อป้องกัน
การเสื่อมสภาพหรือความไม่ปลอดภัยต่อผลิตภัณฑ์

7. การจัดทำเอกสารและบันทึก
7.1 เก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ อย่างมีระเบียบ และค้นหาง่าย
7.2 เก็บบันทึกข้อมูลที่ ส ำคั ญ ให้ ค รบถ้ ว น เช่ น ข้ อ มู ล ขององค์ ก ร ข้ อ มู ล วั ต ถุ ดิ บ
แผนผังการผลิต ผลการวิเคราะห์ ข้อร้องเรียน เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อน
กลับได้ในกรณีที่มีปัญหา
7.3 การเก็บรักษาบันทึกเอกสารควรมีอายุมากกว่าอายุของผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
26

ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP)

ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control
Point : HACCP) เป็นระบบที่อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดอันตรายเฉพาะและตรวจ
ติดตาม เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารปลอดภัยต่อการบริโภค HACCP เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์อันตราย
และสร้างระบบควบคุมซึ่งมุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย และเป็นระบบที่
สามารถประยุกต์ใช้ได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร
ก่อนจะนำ HACCP มาประยุกต์ใช้ในห่วงโซ่อาหารควรดำเนินการจัดทำโปรแกรมพื้นฐาน
ให้สำเร็จก่อน เช่น หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (Codex General Principles of Food
Hygiene the appropriate Codex Codes of Practice) และข้อกำหนดที่เหมาะสมของความปลอดภัย
อาหาร (Food Safety) รวมถึงมีการฝึกอบรมที่ดี นำไปปฏิบัติครบถ้วน สามารถทวนสอบ เพื่อให้การนำ
ไปประยุกต์ใช้ในระบบ HACCP ประสบความสำเร็จ
ความสนใจและคำมั่นสัญญาระดับบริหารของผู้ประกอบการด้านอาหารทุกประเภท มีความ
สำคัญสำหรับการทำให้ระบบ HACCP มีประสิทธิภาพ และยังขึ้นอยู่กับการมีความรู้และความชำนาญใน
ระบบ HACCP ของระดับบริหารและพนักงาน
ระหว่างการชี้บ่งอันตราย การประเมินผล และการจัดทำขั้นตอนการผลิตและประยุกต์ใช้ใน
ระบบ HACCP จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบของวัตถุดิบ ส่วนประกอบ กระบวนการผลิต และขั้นตอน
การผลิ ต เพื่ อ ควบคุ ม อั น ตราย ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ การใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ของกลุ่ ม ผู้ บ ริ โ ภค และโรคระบาดซึ่ ง
เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร
วัตถุประสงค์ของระบบ HACCP เพื่อควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Critical Control
Points : CCPs) ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจะต้องพิจารณาว่ามีการชี้บ่งถึงอันตรายซึ่งจะ
ต้องถูกควบคุมแต่ไม่พบจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
HACCP ควรจะนำไปประยุกต์ใช้ พิจารณาในแต่ละการผลิต CCPs ที่ถูกยกเป็นตัวอย่างใน
Codex Code of Hygienic Practice อาจไม่ใช่ CCPs เดียวกันสำหรับนำไปประยุกต์ใช้หรืออาจจะมีที่มา
แตกต่างกัน HACCP ที่ถูกประยุกต์ใช้ควรจะถูกทบทวนและถ้าจำเป็นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการ
ดัดแปลงในผลิตภัณฑ์ขั้นตอนการผลิตหรือขั้นตอนอื่นๆ
การประยุกต์ใช้หลักการของ HACCP ควรเป็นความรับผิดชอบของแต่ละผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม HACCP ถูกยอมรับในภาครัฐและเอกชนว่าอาจเกิดปัญหาและอุปสรรคขึ้นเมื่อผู้ผลิตแต่ละ
รายนำหลักการ HACCP ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดกับผู้ผลิตขนาดเล็ก และ/หรือมีการ
พัฒนาน้อย ขณะเดียวกันเป็นที่ยอมรับว่าเมื่อได้ประยุกต์ใช้ HACCP ความยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับธุรกิจ
เป็นสิ่งสำคัญ หลักการทั้งหมด 7 ข้อ จะต้องถูกประยุกต์ใช้ในระบบ HACCP ความยืดหยุ่นดังกล่าวได้แก่
ธรรมชาติ และขนาดของการผลิตรวมถึงบุคลากรและแหล่งเงินทุน โครงสร้าง กระบวนการผลิต ความรู้
และอุปสรรคในการปฏิบัติงาน

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
27
ผู้ประกอบการขนาดเล็กและ/หรือการพัฒนาน้อยมักจะขาดทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่
จำเป็นสำหรับการพัฒนาและการนำแผน HACCP ที่มีประสิทธิภาพไปใช้ ในสถานการณ์ดังกล่าวควรจะ
ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากแหล่งอื่นๆ เช่น จากสมาคมการค้าและอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ
อิสระและหน่วยงานที่มีอำนาจควบคุมตามกฎหมาย เอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับ HACCP และโดย
เฉพาะเอกสารคู่มือแนะนำ HACCP เฉพาะเรื่องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ข้อแนะนำ HACCP โดยผู้เชี่ยวชาญ
ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือประเภทของการผลิต อาจจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบ
การในการออกแบบ และนำแผน HACCP ไปใช้ ถ้าผู้ประกอบการนำคู่มือ HACCP ไปใช้ จำเป็นจะต้อง
พิจารณาว่าตรงกับชนิดของอาหารและ/หรือกระบวนการผลิตที่ผลิตอยู่ รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับ
อุปสรรคในการนำ HACCP ไปใช้และคำแนะนำในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะสำหรับกลุ่ม SLDBs สามารถ
ค้นหาได้ใน “Obstacles to the Application of HACCP, Particularly in Small and Less Developed
Businesses, and Approaches to Overcome Them” (document in preparation by FAO / WHO)
ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพของระบบ HACCP จะขึ้นอยู่กับผู้บริหารและพนักงานที่มีความรู้และ
ความชำนาญในเรื่อง HACCP การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ยังมีความจำเป็นกับทุกระดับของพนักงานและ
ผู้บริหารตามความเหมาะสม

การประยุกต์
การประยุกต์ใช้ของหลักการ HACCP ประกอบด้วยขั้นตอนที่ระบุไว้ลำดับขั้นตอนในการ
ประยุกต์ใช้ HACCP (แผนภูมิที่ 1)
1. การจัดตั้งทีม HACCP
ผู้ประกอบการจัดตั้งทีมงาน HACCP โดยเลือกสรรบุคลากรจากฝ่ายหรือแผนกต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องภายในองค์กร ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และมีความรู้ในการจัดทำระบบ
HACCP หรื อ อาจนำบุ ค คลที่ มี ค วามรู้ ภ ายนอกองค์ ก รมาร่ ว ม เช่ น ผู้ ป ระกอบการอุ ต สาหกรรม
ผู้เชี่ยวชาญอิสระ ผู้มีอำนาจออกกฎระเบียบ และผู้มีประสบการณ์ทางด้าน HACCP คณะทำงานควรจะ
ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดทำระบบ HACCP เป็นอย่างดี เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้ความ
ชำนาญในการพัฒนาแผน HACCP จนสามารถระบุอนั ตรายต่างๆ ทีม่ แี นวโน้มทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้อย่างถูกต้อง
รู้ระดับความเสี่ยงว่ามีมากน้อยเพียงใด สามารถกำหนดช่วงกิจกรรมในห่วงโซ่อาหารและรายละเอียด
ประเภทอันตรายที่จะนำมาพิจารณา
2. การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์
ควรมีการจัดทำคำอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น
องค์ประกอบลักษณะทางกายภาพ/เคมี (รวมถึง ปริมาณน้ำอิสระ (Aw) ความเป็นกรด-ด่าง เป็นต้น) การ
ควบคุมจุลินทรีย์ (การใช้ความร้อน การแช่เยือกแข็ง การดองเค็ม การรมควัน เป็นต้น) ภาชนะบรรจุ
ระยะเวลาและสภาพการเก็บรักษา วิธีกระจายสินค้า กรณีที่มีหลายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์
อาหารควรมีการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะและขบวนการผลิตที่คล้ายกันไว้ด้วยกัน เพื่อพัฒนาระบบ
HACCP ได้ง่ายขึ้น

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
28
3. การระบุวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นการระบุกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหรือกลุ่มผู้บริโภค
สุดท้าย โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ และข้อมูลที่เกี่ยวในด้านโภชนาการและ
ความปลอดภัย
4. การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต
ทีม HACCP จะต้องจัดทำแผนภูมิการผลิตที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้น
ถึงสุดท้าย ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตที่เหมือนกัน สามารถใช้แผนภูมิการผลิตเดียวกันได้ กรณีที่จำเป็นจะ
ต้องใช้แผนภูมิการผลิตร่วมกันควรระบุหมายเลขขั้นตอนการผลิตในแผนภูมิการผลิตให้ชัดเจน
5. การตรวจสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต
ทีม HACCP จะต้องตรวจยืนยันความถูกต้องของกระบวนการผลิต ณ จุดการผลิตจริง
จัดทำขั้นตอนทุกขั้นตอนและแก้ไขแผนภูมิให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ผู้ที่มีหน้าที่ทวนสอบแผนภูมิ
การผลิต ควรที่จะมีความรู้และเข้าใจในกระบวนการผลิต และมีการลงนามและระบุวันที่ทวนสอบ
6. การระบุ ก ารวิ เ คราะห์ อั น ตรายและพิ จ ารณาหามาตรการในการควบคุ ม
(หลักการที่ 1)
ทีม HACCP พิจารณาระบุอันตรายทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกรรมวิธีผลิต
ตามแผนภูมิกระบวนการผลิตที่จัดทำขึ้นตั้งแต่การผลิตในขั้นต้น กระบวนการผลิตและการกระจายสินค้า
จนถึงผู้บริโภค รวมถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนอื่น นอกเหนือจากขอบข่ายของกิจกรรมที่องค์กร
กำหนด และสามารถควบคุมได้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งภายในขอบข่ายกิจกรรมที่องค์กรกำหนดและ
ระบุมาตรการควบคุม (control measure) ที่องค์กรได้ดำเนินการอยู่แล้วเพื่อป้องกัน ขจัด หรือลด
อันตรายที่ระบุไว้ในแต่ละขั้นตอนนั้นๆ หากมาตรการควบคุมที่องค์กรอ้างถึง คือ โปรแกรมพื้นฐานด้าน
สุขลักษณะ เช่น การทำความสะอาด สุขลักษณะส่วนบุคคล การป้องกันกำจัดสัตว์พาหะนำเชื้อ ฯลฯ
องค์กรต้องจัดทำเอกสารอธิบายรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติการดังกล่าว และมีการนำไปประยุกต์ใช้
7. การกำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (หลักการที่ 2)
จุดวิกฤต 1 จุด อาจมีค่าวิกฤตมากกว่า 1 ค่า การตรวจสอบจุดวิกฤตในระบบ HACCP
สามารถใช้ผังการตัดสินใจ (Decision Tree) แสดงดังแผนภูมิที่ 2 ในการวิเคราะห์และควรมีการอบรม
การใช้ผังการตัดสินใจ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต การแปรรูป
การเก็บรักษา การกระจายสินค้า หรืออื่นๆ
ถ้ า อั น ตรายถู ก ระบุ ที่ ขั้ น ตอนซึ่ ง มี ก ารควบคุ ม เพื่ อ ความปลอดภั ย แต่ ไ ม่ มี ม าตรการ
ควบคุม ณ ขั้นตอนนั้น ควรพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมหรือปรับกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์
ในขั้นตอนดังกล่าว หรือขั้นตอนก่อนหรือหลังขั้นตอนนั้น เพื่อให้เกิดมาตรการควบคุมอันตราย
v อันตรายที่จะเกิดขึ้นและความรุนแรงมีผลต่อสุขภาพ
v ควรมีการประเมินทางด้านคุณภาพและ / หรือปริมาณของอันตรายที่มีอยู่
v การอยู่รอดและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้อง
v การสร้างหรือการคงอยู่ของสารพิษ สารเคมี และอันตรายทางกายภาพของอาหาร
สภาพที่ก่อให้เกิดลักษณะดังกล่าวข้างต้น อาจจะมีมาตรการควบคุมมากกว่าหนึ่งมาตรการ
ในการควบคุมอันตรายหนึ่งจุดอันตรายหรือหนึ่งมาตรการสามารถควบคุมได้หลาย ๆ จุดอันตราย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
29
8. การกำหนดค่าวิกฤตของแต่ละจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (หลักการที่ 3)
ในจุดวิกฤตแต่ละจุด ค่าวิกฤตจะต้องเป็นค่าเฉพาะที่มีข้อมูลด้านวิชาการยืนยันว่าเป็น
ค่าที่ถูกต้อง ในบางกรณีอาจมีค่าวิกฤตมากกว่าหนึ่งค่าในหนึ่งขั้นตอนของกระบวนการผลิตนั้น เกณฑ์ที่
ใช้อยู่เสมอได้แก่ การวัดอุณหภูมิ เวลา ระดับความชื้น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณน้ำอิสระ ปริมาณ
คลอรีนที่ใช้ และค่าทางประสาทสัมผัส เช่น ลักษณะปรากฏ และเนื้อสัมผัส
คำแนะนำในการจั ด ทำระบบ HACCP ถู ก พั ฒ นาโดยผู้ เ ชี่ ย วชาญที่ มี ป ระสบการณ์
ซึ่งกำหนดค่าวิกฤต และทำให้มั่นใจว่าค่าวิกฤตดังกล่าว สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ผลิตภัณฑ์
หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้การตัดสินใจ และสามารถตรวจวัดได้
9. การกำหนดการตรวจติดตามของแต่ละจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (หลักการที่ 4)
ต้องมีการกำหนดการตรวจเฝ้าระวังการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม โดยระบบที่
กำหนดขึ้นต้องสามารถตรวจพบการเบี่ยงเบนจากค่าควบคุมในแต่ละจุดวิกฤต และนำข้อมูลมาใช้ และ
สามารถแจ้งเตือนข้อมูล ปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้ทัน ก่อนที่จะเกินค่าวิกฤตที่กำหนด หากความถี่ของการ
ตรวจเฝ้าระวังไม่เป็นแบบต่อเนื่อง จะต้องมีการระบุความถี่ในการเฝ้าระวัง โดยความถี่ที่กำหนดต้อง
เหมาะสมเพียงพอเพื่อประกันว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมอยู่ภายใต้การควบคุม ข้อมูลการตรวจเฝ้าระวัง
ควรให้ผลอย่างรวดเร็ว ได้รับการลงนามโดยผู้ที่มีหน้าที่ตรวจเฝ้าระวัง และทบทวนโดยผู้ที่ได้รับมอบ
หมายจากองค์กร
10. การกำหนดวิธีการแก้ไข (หลักการที่ 5)
ต้องระบุรายละเอียดกิจกรรมวิธีการแก้ไข สำหรับจุดวิกฤตแต่ละจุด เมื่อพบว่ามีการเบี่ยง
เบนขึ้น โดยกิจกรรมที่ดำเนินการนั้น ต้องสามารถทำให้จุดวิกฤตกลับสู่สภาพการควบคุมตามปกติ อีกทั้ง
วิธีการแก้ไขต้องครอบคลุมถึงการตัดสินและดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเกิดผลกระทบจากการเบี่ยง
เบนนั้น โดยต้องมีการบันทึกข้อมูลการเบี่ยงเบนและการจัดการสินค้าที่อาจเกิดปัญหา
11. การกำหนดวิธีการทวนสอบ (หลักการที่ 6)
การจัดทำขั้นตอนในการทวนสอบ การทวนสอบและวิธีการตรวจประเมิน ขั้นตอนการ
ปฏิบัติงานและวิธีการทดสอบ รวมทั้งการสุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์สามารถใช้เพื่อตัดสินว่าระบบ
HACCP ยังดำเนินการอย่างถูกต้อง ความถี่ในการทวนสอบควรเพียงพอที่จะยืนยันว่าระบบ HACCP
ยังดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การทวนสอบควรถูกดำเนินการโดยผู้ที่ไม่ได้รับผิดชอบในการปฏิบัติการเฝ้าระวัง และ
วิธีการแก้ไข ณ ที่ซึ่งกิจกรรมการทวนสอบไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรอาศัยผู้เชี่ยวชาญภายนอก หรือ
บุคคลที่สามที่มีคุณสมบัติหรือมีความสามารถ
1. ทบทวนแผนของระบบและแผน HACCP และบันทึก
2. ทบทวนค่าเบี่ยงเบนและผลิตภัณฑ์
3. เพื่อให้แน่ใจว่าจุดวิกฤตยังอยู่ภายใต้การควบคุม
ควรรวมถึงการประเมินความใช้ได้ (validation) เพื่อยืนยันว่าระบบ HACCP ทั้งระบบมี
ประสิทธิภาพ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
30
12. การกำหนดวิธีจัดทำเอกสารและการจัดเก็บบันทึกข้อมูล (หลักการที่ 7)
การจัดเก็บบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นในการประยุกต์ใช้ระบบ
HACCP ขั้นตอนการปฏิบัติของ HACCP ควรจัดทำเป็นเอกสาร การจัดทำเอกสารและการจัดเก็บบันทึก
ควรมีความสอดคล้องกับลักษณะและขนาดของการปฏิบัติงานและพอเพียงในการช่วยเหลือธุรกิจเพื่อ
ทวนสอบว่า การควบคุมของระบบ HACCP ยังคงอยู่ เอกสารคำแนะนำ HACCP ที่ถูกพัฒนาขึ้นอาจใช้
ประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งของเอกสาร หรืออาจเป็นเอกสารของโรงงานผลิตอาหาร
ตั ว อย่ า งของการจั ด ทำเอกสาร เช่ น การวิ เ คราะห์ อั น ตราย การกำหนดจุ ด วิ ก ฤต
การกำหนดค่าวิกฤต เป็นต้น
ตั ว อย่ า งบั น ทึ ก เช่ น การเฝ้ า ระวั ง ณ จุ ด วิ ก ฤต การเบี่ ย งเบนรวมทั้ ง วิ ธี ก ารแก้ ไ ข
การทวนสอบประสิทธิภาพของระบบ การปรับปรุงแผน HACCP
ตัวอย่างของแผ่นงานในการพัฒนาแผน HACCP แสดงดังแผนภูมิที่ 3
ระบบการจัดเก็บบันทึกข้อมูลอย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการใช้งานของ
พนักงาน สามารถใช้ร่วมกับการทำงานและเอกสารที่มีอยู่ เช่น ใบสั่งซื้อประจำวัน บันทึกรายการตรวจ
ตัวอย่าง เช่น อุณหภูมิของผลิตภัณฑ์

การฝึกอบรม
การฝึกอบรมบุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถานศึกษา ในเรื่องหลักการ
HACCP และการประยุกต์ใช้ และการเพิ่มความตระหนักของผู้บริโภคเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดทำ
ระบบ HACCP เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรรวมการฝึกอบรมเฉพาะด้านในหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อสนับสนุนแผน HACCP โครงสร้างการทำงาน และการปฏิบัติงานควรถูกพัฒนา เพื่อระบุหน้าที่ของ
ผู้ปฏิบัติงานที่ประจำแต่ละจุดวิกฤต
ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตขั้นต้น ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ค้า องค์กรเพื่อผู้บริโภค และผู้รับ
ผิดชอบในการควบคุม เป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น ควรมีการร่วมมือกันในการฝึกอบรมของ
ผู้ประกอบการ และผู้มีอำนาจควบคุมเพื่อคงไว้ซึ่งความต่อเนื่อง และเสริมสร้างความเข้าใจในหลักปฏิบัติ
ของระบบ HACCP









ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
31
แผนภูมิที่ 1
ลำดับขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ HACCP

1 การจัดตั้งทีม HACCP

2 การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์

3 การระบุวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์

4 การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต

5 การตรวจสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต

การระบุการวิเคราะห์อันตราย
6
และพิจารณาหามาตรการในการควบคุม

7 การกำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

8 การกำหนดค่าวิกฤตของแต่ละจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

9 การกำหนดการตรวจติดตามของแต่ละจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

10 การกำหนดวิธีการแก้ไข

11 การกำหนดวิธีการทวนสอบ

12 การกำหนดวิธีจัดทำเอกสารและการจัดเก็บบันทึกข้อมูล

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
32
แผนภูมิที่ 2
ตัวอย่าง DECISION TREE เพื่อชี้หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCP)
(ตอบคำถามตามลำดับขั้นตอน)

คำถามที
่ 1 มีมาตรการในการควบคุมอยู่หรือไม่ ?
ปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการหรือ
มี ไม่มี
ผลิตภัณฑ์

การควบคุมในขั้นตอนนี้
จำเป็นต่อความปลอดภัย
ใช่
ใช่หรือไม่ ?

ไม่ใช่ ไม่ใช่ CCP หยุด (*)


คำถามที ่ 2 ขั้นตอนนี้ได้รับการออกแบบเฉพาะ
เพื่อขจัดหรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นสู่ ใช่
ระดับที่ยอมรับได้ ใช่หรือไม่ ?

ไม่ใช่


คำถามที
่ 3 การปนเปื้อนโดยอันตรายที่ตรวจพบนี้เกิดขึ้นใน
ระดับมากเกินระดับที่ยอมรับได้ หรือเพิ่มขึ้นเป็น
ระดับที่ยอมรับไม่ได้ ใช่หรือไม่ ?

ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ CCP หยุด (*)


คำถามที
่ 4 ขั้นตอนต่อไปจะช่วยขจัดอันตรายที่
ตรวจพบ หรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
สู่ระดับที่ยอมรับได้ ใช่หรือไม่ ?

ใช่ ไม่ใช่ จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

ไม่ใช่ CCP หยุด (*)

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
33
แผนภูมิที่ 3
ตัวอย่างของแผ่นงาน HACCP

1. อธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์
2. แผนภูมิการผลิต
3.
รายการ
มาตรการ
ขั้นตอน อันตราย จุดวิกฤต ค่าวิกฤต วิธีตรวจติดตาม วิธีการแก้ไข บันทึก
ควบคุม










4. วิธีการทวนสอบ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
34
หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงงานผลิตน้ำตาลทราย
1.สถานทีป่ ระกอบการ
1.1 สถานทีต่ งั้
สถานทีต่ งั้ ของโรงงานผลิตน้ำตาลทรายควรตัง้ อยูใ่ นบริเวณทีม่ สี งิ่ แวดล้อมทีเ่ หมาะสม ไม่อยู่
ในบริเวณทีจ่ ะก่อให้เกิดการปนเปือ้ น ซึง่ อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิตไม่ปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค เช่น บริเวณที่
มีฝุ่นหรือควันมาก บริเวณที่มีสัตว์พาหะนำโรค บริเวณที่มีการสะสมของสิ่งปฏิกูล บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง
และสถานทีเ่ ลีย้ งสัตว์
1.2 อาคารผลิต และบริเวณโดยรอบ
1.2.1 การออกแบบและการวางแผนผังอาคารผลิต
การออกแบบและการวางแผนผังผลิตน้ำตาล ควรเอื้ออำนวยให้มีการ
ปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดี โรงงานที่มีโครงสร้างอาคารเป็นระบบเปิด ต้อง
ออกแบบกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการต้มไปจนถึงการบรรจุและจัดเก็บ
ผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นระบบปิด เช่น ภายใต้ท่อส่ง ถังพัก สายพานลำเลียงหรือ
บางส่วนจำเป็นต้องเป็นห้องปิดเพือ่ ป้องกันการปนเปือ้ น
- บริเวณผลิตต้องไม่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และควรจัดสถานที่พักรับประทาน
อาหารให้เป็นสัดส่วน
- มีพื้นที่เพียงพอสำหรับติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเพื่อความ
สะดวกในการปฏิบตั งิ านและป้องกันการปนเปือ้ น
- มีการจัดบริเวณการผลิตให้เป็นสัดส่วนตามลำดับสายการผลิต เริม่ ตัง้ แต่ขนั้
ตอนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนเป็นผลิตภัณฑ์ โดยไม่ก่อให้เกิด
การปนเปือ้ นข้าม
1.2.2 โครงสร้างภายใน
โครงสร้างภายในอาคารผลิตควรใช้วัสดุที่คงทน บำรุงรักษา ทำความ
สะอาด และฆ่าเชือ้ ได้งา่ ย
- พื้น ผนัง เพดาน ควรทำด้วยวัสดุคงทน ไม่เป็นพิษ มีพื้นผิวเรียบ และมี
ความลาดเอียงสามารถระบายน้ำได้ดี ทั้งภายในอาคารผลิตและภายนอก
อาคารผลิต และพืน้ บริเวณเทอ้อยควรเป็นพืน้ ปูน
- การระบายอากาศภายในห้องบรรจุ ควรมีการระบายอากาศและการดักหรือ
กรองอากาศตามความเหมาะสมสำหรับการปฏิบตั งิ าน ป้องกันการปนเปือ้ น
และการควบแน่นของไอน้ำ ควรมีทศิ ทางการระบายอากาศจากส่วนทีส่ ะอาด
ไปยังส่วนทีไ่ ม่สะอาด
- บริเวณทีท่ ำการผลิตควรมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับการปฏิบตั งิ าน และควร
มีการป้องกันหลอดไฟที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการแตกกระจายปน
เปือ้ นสูผ่ ลิตภัณฑ์

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
35
2. เครือ่ งมือ เครือ่ งจักรและอุปกรณ์การผลิต
2.1 เครือ่ งมือ เครือ่ งจักร และอุปกรณ์ ต้องได้รบั การออกแบบทีเ่ หมาะสมต่อการใช้งานและ
การทำความสะอาด มีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และลดความเสี่ยงต่อ
การปนเปือ้ นของผลิตภัณฑ์
2.2 สถานทีจ่ ดั เก็บวัสดุ ภาชนะ อุปกรณ์ หรือสารเคมีตา่ งๆจะต้องมีการควบคุมทีเ่ หมาะสม
แยกเก็บเป็นสัดส่วนและมีปา้ ยบ่งชี้
2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการชั่ง ตวง วัด ควรมีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมี
การสอบเทียบตามระยะเวลาทีเ่ หมาะสม

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเหมาะสม ในจุดที่อาจ
ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยของน้ำตาลและสามารถตรวจติดตามการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 วัตถุดบิ
3.1.1 มีการจัดการผลิตในขัน้ ต้น เพือ่ ให้แน่ใจว่าวัตถุดบิ มีความปลอดภัย
3.1.2 มีการจัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุดบิ
3.1.3 คัดเลือกวัตถุดบิ และส่วนผสมทีป่ ลอดภัย เหมาะสม และจัดเก็บให้อยูใ่ นสภาพที่
สามารถป้องกันการปนเปือ้ นได้
3.2 กระบวนการผลิต
3.2.1 การรับวัตถุดิบอ้อย ลานรับอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิต และบริเวณรอบๆ ควร
เป็นพืน้ ปูน และ/หรือ ลาดยาง เป็นต้น สายพานลำเลียงอ้อยไม่มนี ำ้ ขังและเศษ
อ้อยสะสม
3.2.2 การตัดและทุบอ้อย
- บริเวณรอบ ๆ เครือ่ งตัด และเครือ่ งทุบอ้อยควรวางอุปกรณ์หรืออะไหล่ของ
เครือ่ งมือเครือ่ งจักรให้เป็นระเบียบ และไม่สะสมสิง่ ของทีไ่ ม่ใช้แล้ว
- มีการเก็บกวาดเศษอ้อยตามความถีท่ เี่ หมาะสม
- ไม่มมี กี ลิน่ บูดเน่า หรือกลิน่ ทีไ่ ม่พงึ ประสงค์
3.2.3 การสกัดน้ำอ้อย
- บริเวณลูกหีบ ใต้ลูกหีบสะอาด ไม่มีน้ำขัง ไม่เป็นแหล่งสะสมของสิ่งปฏิกูล
รางระบายน้ำต้องไม่มมี กี ลิน่ บูดเน่า
- รางลำเลียงน้ำอ้อย ถังพักน้ำอ้อยควรเป็นระบบปิดสามารถป้องกันการปน
เปือ้ น และควรทำจากวัสดุทไี่ ม่กอ่ ให้เกิดการปนเปือ้ น
- ไม่มนี ำ้ จากน้ำหล่อเย็น หรือน้ำมันเครือ่ งไหลลงไปภายในรางลำเลียงน้ำอ้อย
- ไม่มสี งิ่ อืน่ ใดสามารถปนเปือ้ นลงในรางลำเลียงน้ำอ้อย
- บริเวณเครือ่ งส่งกำลัง มีการทำความสะอาดทีเ่ หมาะสม
- หากมีการใช้สารเคมีหรือจุลนิ ทรีย์ ควรมีการควบคุมปริมาณทีเ่ หมาะสม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
36
3.2.4 การทำใสน้ำอ้อย ต้องควบคุมการใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม บริเวณกรองน้ำ
อ้อยควรควบคุมการฉีกขาดของผ้ากรอง พื้นบริเวณโดยรอบสะอาด และใช้
อุปกรณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสมไม่วางสัมผัสพื้น ควบคุมค่าต่างๆ ให้ได้ตามที่
ศึกษาและกำหนดไว้
3.2.5 การต้มน้ำอ้อยและกรองน้ำอ้อย หม้อต้มน้ำอ้อยต้องสะอาด ทั้งบริเวณภายใน
และภายนอกหม้อ ไม่มกี ารสะสมของสิง่ ปฏิกลู และสิง่ ทีไ่ ม่ใช้ในบริเวณนี้ พืน้ ต้อง
สะอาด และมีการควบคุมค่าต่างๆ ให้ได้ตามกำหนด เช่น อุณหภูมิ ค่า pH
เป็นต้น
3.2.6 การฟอกหรือลดค่าสีน้ำเชื่อม น้ำเชื่อมที่ผ่านการทำความสะอาดและฟอกสีใน
ขัน้ ตอนต่างๆ เช่น ขัน้ ตอนการฟอกด้วยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbonatation)
ขั้นตอนการกรอง ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) และ
กรอง เป็นต้น ต้องเป็นระบบปิด สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานได้
หากมีการใช้สารเคมีตอ้ งเป็นสารเคมีทอี่ นุญาตให้ใช้กบั อาหาร
3.2.7 การเคี่ยวน้ำเชื่อม หม้อเคี่ยวน้ำเชื่อมต้องสะอาดทั้งภายในและภายนอก ราง
กวนและถังพักน้ำตาลทีเ่ คีย่ วแล้วของน้ำตาลทรายขาว ต้องเป็นระบบปิด และมี
การควบคุมค่าต่างๆ ให้ได้ตามที่ได้ศึกษาและกำหนดไว้ และบริเวณเตรียมหัว
เชือ้ น้ำตาลทรายขาวต้องถูกสุขลักษณะ
3.2.8 การปัน่ แยกผลึกน้ำตาลทรายขาว หม้อปัน่ และบริเวณหม้อปัน่ ควรเป็นระบบปิด
เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ตลอดจนสายพานลำเลียงน้ำตาลจากหม้อปั่นจนถึง
ห้องบรรจุต้องเป็นระบบปิด และมีการทำความสะอาดสายพานและพื้นตาม
ความถีท่ เี่ หมาะสม
3.2.9 การแยกและลำเลียงผลึกน้ำตาล
- บริเวณห้องตะแกรงโยกต้องเป็นระบบปิด พื้นต้องสะอาดไม่มีน้ำขัง มีการ
ทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
- กะพ้อลำเลียงน้ำตาล ต้องเป็นระบบปิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และมีการ
ทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
3.2.10 การอบน้ำตาล บริเวณหม้ออบน้ำตาลควรเป็นระบบปิดเพือ่ ป้องกันการปนเปือ้ น
มีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม จุดดักจับโลหะควรใช้แม่เหล็กที่มีระดับ
ความแรง (GAUSS) เหมาะสมมีการตรวจสอบและบันทึก แผ่นกรองลมเข้าหม้อ
อบไม่มรี อยฉีกขาด มีการทำความสะอาดและจัดเก็บอย่างเหมาะสม
3.2.11 การบรรจุนำ้ ตาลทราย
- พนักงานเข้าภายในห้องบรรจุและห้องสวมถุงบรรจุน้ำตาล ต้องปฏิบัติตาม
สุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี เช่น สวมหมวกคลุมผม เปลี่ยนชุดและรองเท้าที่
สะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนทำงาน เป็นต้น
- หน้าห้องบรรจุและห้องเตรียมถุงบรรจุ ต้องมีอ่างล้างมือ อุปกรณ์ล้างมือและ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
37
ทำให้มอื แห้ง แยกบริเวณจัดเก็บชุดและรองเท้าเพือ่ เปลีย่ นก่อนเข้าห้องบรรจุ
ให้เป็นสัดส่วน และมีจำนวนเพียงพอ
- ต้องมีการควบคุมการเข้าออกของพนักงานและบุคคลทีม่ คี วามจำเป็นต้องเข้า
ภายในห้องบรรจุและห้องเตรียมถุงบรรจุ
- พืน้ เครือ่ งมือ เครือ่ งจักร และอุปกรณ์ตา่ งๆ ภายในห้องบรรจุและห้องเตรียม
ถุงต้องสะอาด และมีการทำความสะอาดตามความถีท่ เี่ หมาะสม
- อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สัมผัสกับน้ำตาลทราย ต้องไม่วางสัมผัสพื้นโดยตรง และ
อุปกรณ์ทสี่ วมถุงควรสูงจากพืน้ พอสมควร
- ไม่มสี ตั ว์พาหะและสิง่ ทีไ่ ม่ใช้แล้วสะสมภายในห้องบรรจุและห้องเตรียมถุง
3.2.12 การควบคุมและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นำ้ ตาลทราย
3.2.12.1 การควบคุมผลิตภัณฑ์นำ้ ตาล
- มีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเชื่อถือ
ทุกปี และการเก็บบันทึกผลการวิเคราะห์ไว้เป็นหลักฐานมากกว่า
อายุของผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี
- มีการคัดแยกผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานไปดำเนินการ
อย่างเหมาะสม
- มีวธิ กี ารเรียกคืนผลิตภัณฑ์ทมี่ ปี ระสิทธิภ์ าพ
3.2.12.2 การเก็บผลิตภัณฑ์นำ้ ตาล
- พื้นต้องสะอาดไม่มีน้ำขัง ไม่มีเศษสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง และมีระบบ
ป้องกันสัตว์พาหะ
- การจัดเก็บและการขนส่งต้องถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่ควรนำรถยนต์
เข้าไปในห้องเก็บผลิตภัณฑ์นำ้ ตาล
- ไม่ควรใช้รถยกที่ใช้น้ำมัน และควรมีการจัดการที่เหมาะสม กับ
น้ำมันเครือ่ งรถโฟล์คลิฟ เพือ่ ป้องกันการปนเปือ้ นข้ามสูผ่ ลิตภัณฑ์
น้ำตาล
3.2.13 น้ำ
- น้ำทีส่ มั ผัสกับอาหาร น้ำทีเ่ ป็นส่วนผสม น้ำแข็ง และไอน้ำ ต้องใช้นำ้ บริโภค
- น้ำบริโภค ควรมีคณ ุ สมบัตเิ ป็นไปตามทีร่ ะบุใน WHO Guideline for Drinking
Water Quality ฉบับล่าสุด และมีความถีใ่ นการเฝ้า ระวังทีเ่ หมาะสม
- น้ำที่ใช้ล้างอุปกรณ์ เครื่องมือ ภาชนะบรรจุที่สัมผัสกับอาหาร ควรใช้น้ำ
บริโภค

4. การบำรุงรักษาและสุขาภิบาล
สถานที่ประกอบการเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ควรมีการซ่อมแซมบำรุง ดูแลรักษา
และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ และอาจจำเป็นต้องฆ่าเชื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์หลังทำความสะอาด
เสร็จ รวมถึงมีการตรวจติดตามประสิทธิภาพตามระยะเวลาทีเ่ หมาะสม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
38
4.1 การทำความสะอาด
4.1.1 อาคารผลิต
ทำความสะอาดสถานทีแ่ ละอาคารผลิต พืน้ ผนัง เพดาน อุปกรณ์ทยี่ ดึ ติด
กับผนังหรือเพดานอย่างสม่ำเสมอ อาจมีการระบุผู้รับผิดชอบ รวมถึงวิธีและ
ความถีใ่ นการทำความสะอาด
4.1.2 เครือ่ งมือ เครือ่ งจักรและอุปกรณ์
ทำความสะอาดก่ อ นและหลั ง ปฏิ บั ติ ง าน และดู แ ลให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ในการทำงาน ควรมีการระบุรายการของเครือ่ งมือ หรืออุปกรณ์ ผูร้ บั ผิดชอบรวมถึง
วิ ธี แ ละความถี่ ข องการทำความสะอาดอุ ป กรณ์ และควรเก็ บ ให้ เ ป็ น สั ด ส่ ว น
ในสถานทีเ่ หมาะสม
4.2 มาตรการป้องกันกำจัดสัตว์พาหะ และแมลง
มี ม าตรการในการป้ อ งกั น และกำจั ด ไม่ ใ ห้ สั ต ว์ แ ละแมลงเข้ า ในบริ เ วณผลิ ต
ซึง่ จะก่อให้เกิดการปนเปือ้ นในผลิตภัณฑ์
4.2.1 ดูแลและซ่อมแซมอาคารผลิตให้อยู่ในสภาพดี ช่องระบายอากาศและช่องทาง
ระบายน้ำ ควรมีการป้องกันสัตว์พาหะ และมีการระบายน้ำทีด่ ี
4.2.2 มีการเฝ้าระวังและตรวจหาร่องรอยสัตว์พาหะอย่างสม่ำเสมอ
4.2.3 มีการกำจัดตามวิธี และความถี่ที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อ
ผลิตภัณฑ์
4.3 การกำจัดของเสีย
4.3.1 สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูลต้องแยกออกจากพื้นที่ทำการผลิตตามระยะเวลาที่
เหมาะสม
4.3.2 อาคารผลิตควรมีภาชนะรองรับของเสียในจำนวนที่เพียงพอ และมีการบ่งชี้เพื่อ
แยกจากภาชนะทีใ่ ช้ในการผลิต
4.3.3 มีระบบกำจัดของเสียทีเ่ หมาะสม
4.3.4 ต้องรักษาความสะอาดของภาชนะรองรับของเสีย
4.4 สิง่ อำนวยความสะดวก
4.4.1 อุปกรณ์ลา้ งมือ
อุ ป กรณ์ ล้ า งมื อ และทำให้ มื อ แห้ ง เช่ น อ่ า งล้ า งมื อ สบู่ เครื่ อ งเป่ า มื อ
ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น มีให้เพียงพอสำหรับพนักงาน ติดตัง้ อยูบ่ ริเวณหน้าทางเข้าสูพ่ นื้ ที่
ทำการผลิตเพื่อให้พนักงาน หรือบุคคลที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิต รวมทั้งมีการ
ติดตั้ง ณ จุดที่มีความจำเป็นภายในอาคารผลิต อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน
4.4.2 ห้องสุขา
ห้ อ งสุ ข าต้ อ งสะอาดถู ก สุ ข ลั ก ษณะ ไม่ เ ปิ ด สู่ บ ริ เ วณการผลิ ต โดยตรง
ควรแยกออกจากบริเวณผลิตและควรมีจำนวนให้เพียงพอต่อจำนวนพนักงาน
มีอปุ กรณ์ทำความสะอาดมือ และทำให้มอื แห้ง ติดตัง้ อยูใ่ นบริเวณหน้าห้องสุขา

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
39
4.4.3 ตูเ้ ก็บของส่วนบุคคล
สถานประกอบการต้ อ งมี ตู้ เ ก็ บ ของใช้ ส่ ว นบุ ค คลโดยเฉพาะพนั ก งาน
ห้องบรรจุ ห้องสวมถุง
4.5 การระบายน้ำ
มีการจัดทำระบบการระบายน้ำที่ดี บริเวณการผลิตไม่มีน้ำขัง และไม่มีเศษที่
เหลือจากการผลิตติดค้างในท่อระบายน้ำ ไม่ควรมีกลิน่ บูดเน่าภายในบริเวณผลิต
4.6 การควบคุมสารอันตราย
การจัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการผลิต สารทำความสะอาด และสารอันตรายอื่นๆ ต้อง
เก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด ห่างจากบริเวณที่ทำการผลิตและมีป้ายที่บ่งบอกชัดเจน นอกจาก
นั้นต้องแยกสารที่ใช้กับอาหารและสารที่ไม่ใช้กับอาหารออกจากกัน เพราะอาจจะทำให้
เกิดการปนเปือ้ นสูผ่ ลิตภัณฑ์ได้

5. สุขลักษณะส่วนบุคคล
5.1 ต้องจัดทำประวัตแิ ละตรวจสุขภาพก่อนรับพนักงานเข้าทำงาน
5.2 พนักงานหรือบุคคลที่เข้าสู่พื้นที่ผลิตต้องแต่งกายและปฏิบัติตามข้อกำหนดของโรงงาน
ให้ถูกสุขลักษณะที่ดี ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนลงผลิตภัณฑ์ เช่น ไม่สวม
เครือ่ งประดับ ไม่สบู บุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคีย้ วหมากฝรัง่ ขณะทำการปฏิบตั งิ าน เป็นต้น
5.3 พนักงานทีท่ ำการผลิตต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเข้าสูพ่ นื้ ทีผ่ ลิตทุกครัง้
5.4 ควรมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของการล้างมือ โดยเฉพาะจุดที่มีความเสี่ยงต่อความ
ปลอดภัยของอาหารตามความถีท่ เี่ หมาะสม เช่น ห้องบรรจุ เป็นต้น
5.5 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิตรวม
ถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไปตามความเหมาะสม พร้อมทั้งมีการทบทวนการ ฝึกอบรม
และปรับให้ทนั สมัยอยูเ่ สมอ
5.6 ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้พนักงาน พนักงานต้องไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โดย
เฉพาะพนั ก งานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การผลิ ต พนั ก งานที่ เ จ็ บ ป่ ว ยและมี บ าดแผลควรจะ
รายงานต่อผู้ควบคุมให้ทราบเพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นในการรักษาโดยแพทย์ และ/
หรือแยกออกจากการปฏิบตั งิ าน

6. การเก็บรักษา และการขนส่ง
6.1 ผลิตภัณฑ์จะต้องเก็บในสภาพทีเ่ หมาะสม เป็นระเบียบ มีปา้ ยระบุวนั ผลิต เพือ่ สะดวกใน
การนำไปใช้และการตรวจสอบย้อนกลับ
6.2 บรรจุภณั ฑ์ทใี่ ช้ในการขนส่ง ควรทำจากวัสดุทไี่ ม่เป็นอันตราย ควรเป็นภาชนะทีส่ ะอาด
และไม่เคยบรรจุวตั ถุอนั ตรายหรือมีพษิ มาก่อน
6.3 ชนิดของพาหนะขนส่ง ต้องเหมาะสมกับชนิดของวัตถุดบิ และผลิตภัณฑ์ เพือ่ ให้สามารถ
เก็บรักษาได้โดยไม่เกิดความเสียหาย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
40
6.4 สภาพของพาหนะขนส่งและตูข้ นส่ง ต้องถูกสุขลักษณะ มีมาตรการป้องกันการปนเปือ้ น
จากฝุน่ ละอองหรือสิง่ สกปรกระหว่างการขนส่ง และพร้อมใช้งานอยูเ่ สมอ
6.5 การเก็บรักษาและการขนส่งต้องมีการควบคุมสภาวะให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสื่อม
สภาพหรือความไม่ปลอดภัยต่อผลิตภัณฑ์

7. การจัดทำเอกสารและบันทึก
7.1 เก็บบันทึกข้อมูล อย่างเป็นระเบียบ และค้นหาง่าย
7.2 เก็บบันทึกข้อมูลทีส่ ำคัญให้ครบถ้วน เช่น ข้อมูลขององค์กร ข้อมูลวัตถุดบิ แผนผังการ
ผลิต ผลการวิเคราะห์ ข้อร้องเรียน ข้อมูลกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถตรวจสอบ
ย้อนกลับได้ในกรณีทมี่ ปี ญ
ั หา
7.3 การเก็บรักษาบันทึกเอกสารควรมีอายุมากกว่าอายุของผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ปี

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
41

หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์

1. สถานที่ประกอบการ อาคารผลิต และห้องรม
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ ตั้ ง ของโรงรมควรตั้ ง อยู่ ใ นพื้ น ที่ ห่ า งจากชุ ม ชน ไม่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเดื อ ดร้ อ น
อันเนื่องมาจากกลิ่นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีบริเวณสำหรับปฏิบัติงานเพียงพอ และอยู่ในบริเวณที่
ไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน
จากสัตว์พาหะ ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อคุณภาพสินค้า
1.2 อาคารผลิต
1.2.1 อาคารผลิตควรมีบริเวณกว้างขวางพอที่จะรับวัตถุดิบและวางผลิตผลที่ผ่าน
การรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้ว อย่างน้อย 3 เท่าของพื้นที่ห้องรม และควรจัด
แบ่งพื้นที่ใช้งานให้ชัดเจน
1.2.2 ตัวอาคารและบริเวณโดยรอบสะอาด บริเวณพื้นไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก และมี
ระบบระบายน้ำทิ้งอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้มีการสะสมขยะและสิ่งที่ไม่ใช้
1.2.3 พื้น ฝาผนัง และหลังคาของอาคารสถานที่ผลิตต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทน
ทำความสะอาดง่าย และสะดวกต่อการบำรุงรักษา
1.2.4 จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการปฏิบัติ
งานในบริเวณผลิต
1.2.5 ไม่ควรใช้บริเวณบนห้องรมและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่พักของพนักงาน
1.3 ห้องรม
ห้องรมที่ดีต้องมีโครงสร้างห้องรมที่มั่นคงแข็งแรง ประกอบด้วย เตาเผากำมะถัน ระบบ
หมุนเวียนอากาศ อุปกรณ์สำหรับการรม หอกำจัดก๊าซหลังการรม และขนาดของห้องรมขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของลำไยที่ต้องการรม
1.3.1 โครงสร้างของห้องรม
1.3.1.1 พื้นผนังทุกด้านของห้องรมต้องแข็งแรง พื้นผิวเรียบไม่มีรอยร้าว ใช้
วัสดุที่เหมาะสมทนต่อการกัดกร่อน ป้องกันการดูดซึมก๊าซได้ดี
1.3.1.2 ประตูต้องใช้วัสดุที่สามารถป้องกันการรั่วของก๊าซได้ดี เช่น เหล็ก
ปลอดสนิม ไม้อัดโฟเมก้า เป็นต้น
1.3.1.3 ต้องป้องกันการรั่วตามรอยต่อต่างๆ โดยใช้วัสดุที่เหมาะสม ได้แก่ ยาง
ขอบประตู ซิลิโคน หรือวัสดุคงทนอุดตามรอยต่อต่างๆ
1.3.1.4 อุปกรณ์เพื่อให้แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมควรตรวจสอบ
ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดีทุกครั้งก่อนใช้งาน
1.3.1.5 ควรมีช่องกระจกเพื่อสังเกตการทำงานของก๊าซในห้องรม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
42
1.3.2 เตาเผากำมะถัน
เตาเผากำมะถันอาจใช้ไฟฟ้าหรือก๊าซเพื่อเผากำมะถันและอาจติดตั้งอยู่ภายใน
หรือภายนอกห้องรม
Y เตาเผาพร้ อ มอุ ป กรณ์ เ ผากำมะถั น ต้ อ งอยู่ ใ นสภาพสมบู ร ณ์ ดี
มีประสิทธิภาพเผากำมะถันได้หมด
Y ควรมีช่องกระจก สังเกตการเผาไหม้กำมะถัน
1.3.3 ระบบหมุนเวียนอากาศ
ภายในห้องรมต้องมีระบบหมุนเวียนอากาศที่สามารถกระจายก๊าซซัลเฟอร์
ไดออกไซด์ให้ทั่วถึง อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเหมาะสมและอยู่ในสภาพสมบูรณ์
1.3.4 หอกำจัดก๊าซ
ต้องเป็นระบบที่กำจัดก๊าซเข้าสู่บรรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงสร้าง
แข็งแรง ไม่ชำรุด มีส่วนประกอบแต่ละส่วนชัดเจนและใช้งานได้ตั้งแต่ท่อดูด พัดลมดูด หอพ่นน้ำ ถังพัก
น้ำ สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำปูนขาวและตรวจสอบการทำงานได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

2. เครื่องมือและอุปกรณ์
2.1 เครือ่ งมือ และอุปกรณ์ ทีใ่ ช้ในการผลิตต้องมีเพียงพอ และอยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน
2.2 สถานที่จัดเก็บวัสดุ ภาชนะ อุปกรณ์ หรือสารเคมีต่างๆ จะต้องมีการแยกเก็บเป็น
สัดส่วน และมีป้ายชี้บ่งชัดเจน
2.3 เครื่องมือการชั่ง ตวง วัด ต้องใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเฉพาะเครื่องชั่ง
กำมะถัน ควรใช้เครื่องชั่งที่มีความละเอียด ควรมีการตรวจสอบให้เครื่องชั่งสามารถ
ชั่งน้ำหนักได้ถูกต้องแม่นยำอยู่เสมอ

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือก ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต หรือการสุ่มตัวอย่าง
วัตถุดิบเพื่อให้ได้วัตถุดิบตรงตามลักษณะที่ต้องการ มีข้อมูลการสุ่มวิเคราะห์
สารพิษตกค้างในวัตถุดิบ และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้
3.1.2 บริเวณที่รับวัตถุดิบต้องสะอาด บนพื้นต้องไม่มีน้ำขังและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ตะกร้า
ที่ใส่วัตถุดิบต้องไม่วางกับพื้นโดยตรง
3.2 ภาชนะบรรจุ
3.2.1 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่งนั้น ควรเป็นภาชนะที่สะอาด ทำมา
จากวัสดุที่ไม่เป็นอันตราย และไม่เคยบรรจุวัตถุอันตรายหรือสารพิษมาก่อน
โรงคัดบรรจุอาจมีการควบคุมให้ผู้ส่งวัตถุดิบมีการทำความสะอาดภาชนะที่ใช้
ใส่วัตถุดิบ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
43
3.2.2 มีการควบคุมคุณภาพของภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ และต้องห่อหุ้มมิดชิดเก็บใน
ที่สะอาดเพื่อป้องกันฝุ่นละอองต่างๆ
3.3 กระบวนการรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์
การรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะต้องศึกษาและดำเนินการโดยผู้ชำนาญการ และ
ต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่เขียนไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดดังนี้
v การออกแบบโครงสร้างและขนาดของห้องรม
v การทดสอบประสิทธิภาพห้องรมควันเปล่าและห้องมีลำไย ที่แสดงให้เห็นถึง
ห้องรม เตาเผากำมะถัน และอุปกรณ์ภายใน มีความสม่ำเสมอของการกระจายก๊าซทั่วห้องรมและเก็บ
ก๊าซไม่ให้รั่วออกมาภายนอก
v ต้องแสดงตารางการใช้กำมะถัน และแผนผังขั้นตอนการผลิตในที่เห็นได้ชัดเจน
v การจัดการด้านวัตถุดิบ
v การเรียงลำไยในตะกร้า ขนาดตะกร้า การวางและจำนวนตะกร้าในห้องรม
v การรมลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เช่น ปริมาณกำมะถันที่ใช้ ระยะเวลา
การเผากำมะถัน ระยะเวลาการรม ระยะเวลาการกำจัดก๊าซ
v การกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
3.3.1 การเตรียมก่อนรม
Y การตรวจสอบห้องรมและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรมให้อยู่ในสภาพที่
เหมาะสมกับการพร้อมใช้งาน
Y คำนวณหาอัตราการใช้กำมะถันโดยเทียบปริมาณลำไยกับขนาด
ของห้องรม ตามอัตราการใช้กำมะถันที่ศึกษาไว้
3.3.2 การรม
ต้องควบคุมปริมาณการใช้กำมะถัน การวางตะกร้าในห้องรม ระยะ
เวลาการเผากำมะถัน ระยะเวลาการรม ระยะเวลาการกำจัดก๊าซ และการหมุนเวียนของก๊าซซัลเฟอร์
ไดออกไซด์ ตามที่ ไ ด้ ศึ ก ษาไว้ และในระหว่ า งการรมควรมี ก ารตรวจสอบการเผาไหม้ ข องกำมะถั น
การหมุนเวียนของก๊าซ เป็นระยะ
3.3.3 การปฏิบัติหลังการรม
Y เมื่อครบเวลาการรมต้องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่คงเหลือ
ออกจากห้องรมอย่างรวดเร็ว โดยผ่านระบบบำบัดก๊าซ
Y ต้องนำผลิตภัณฑ์ออกจากห้องรม และระบายก๊าซที่หลงเหลือใน
ผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันการตกค้างของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
เกินค่ามาตรฐาน
Y เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในสภาวะที่เหมาะสม
3.3.4 การกำจัดก๊าซ
ควรเปิดระบบบำบัดให้พร้อมก่อนการดูดก๊าซที่ยังคงเหลือภายในห้อง
รมออกไปภายนอกห้องและผ่านระบบบำบัดที่ใช้น้ำผสมปูนขาวหรือวิธีอื่นๆ ตามกระบวนการที่ศึกษาไว้
สามารถตรวจสอบการทำงานได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
44
3.4 การปิดฉลาก
การระบุข้อความบนฉลาก ให้มีข้อความชัดเจน ถูกต้องสมบูรณ์ เช่น ชื่อสินค้าและ
รายละเอียด เกรดสินค้า รุ่นการผลิต ชื่อผู้ผลิตพร้อมรหัสโรงคัดบรรจุ ชื่อผู้จำหน่าย และมีข้อมูลระบุครบ
ตามที่กฎหมายของประเทศผู้นำเข้าของแต่ละประเทศกำหนดไว้

4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
4.1 การทำความสะอาด
4.1.1 อาคารผลิต ห้องรม จัดให้มีการทำความสะอาด พื้น ผนัง เพดาน อุปกรณ์ที่
ยึ ด ติ ด กั บ ผนั ง หรื อ เพดาน อย่ า งสม่ ำ เสมอ อาจมี ก ารระบุ ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ
รวมถึงวิธี และความถี่ของการทำความสะอาด
4.1.2 เครื่องมือเครื่องจักร หอกำจัดก๊าซ และอุปกรณ์ ต้องทำความสะอาดและ
ดูแลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างดี อุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้ว
ควรเก็บให้เป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสม
4.2 มาตรการป้องกันกำจัดสัตว์พาหะหรือแมลงเข้าในบริเวณผลิต
มีมาตรการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะเข้าในบริเวณผลิต หากมีการใช้สารฆ่าแมลง
ในบริเวณผลิตจะต้องคำนึงถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
4.3 การควบคุมสารอันตราย
การจัดเก็บสารเคมี และสารอันตราย ต้องเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด ห่างจากบริเวณ
ที่ทำการผลิต และมีป้ายที่บ่งบอกชัดเจน
4.4 การระบายน้ำและการกำจัดของเสีย
4.4.1 การระบายน้ำในอาคารและบริเวณโดยรอบ ต้องมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควร
ให้มีเศษที่เหลือจากการผลิตติดค้างในท่อ
4.4.2 สิ่งที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล ต้องแยกออกจากพื้นที่ทำการผลิต ภายใน
อาคารผลิตควรมีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยในจำนวนที่เพียงพอ มีระบบ
กำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
4.5 ห้องสุขาสำหรับพนักงาน
4.5.1 ที่ตั้งของห้องสุขา ควรแยกออกจากบริเวณผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิต
โดยตรง และมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
4.5.2 ลักษณะของห้องสุขาต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และ
มีอ่างล้างมือหน้าห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือและทำให้มือแห้ง

5. บุคลากร
5.1 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิต
รวมถึงเรื่องของสุขลักษณะทั่วไป ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งมีการทบทวนการฝึกอบรมและปรับให้
ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
45
5.2 ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคดีซ่าน ท้องเสีย อาเจียน
เป็นไข้ เจ็บคอและมีไข้ มีแผลติดเชื้อที่ผิวหนัง หูน้ำหนวก ตาแฉะหรือมีน้ำมูก หรือเป็นพาหะนำโรค
5.3 พนักงานที่ทำการผลิตหรือผู้ที่จะเข้าสู่พื้นที่ทำการผลิตต้องมีการแต่งกาย ล้างมือให้
สะอาด รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในพื้นที่เสี่ยง และปฏิบัติตามที่กำหนด
5.4 พนักงานที่ทำการผลิตต้องไม่สูบบุหรี่ ถ่มน้ำลาย เคี้ยวหมากฝรั่ง ขณะที่ทำการ
ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์

6. การเก็บรักษาและการขนส่ง
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่รอการขนส่งจะต้องเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เป็นระเบียบ สะดวก
ต่อการตรวจสอบ
6.2 สภาพของตู้ขนส่ง ต้ อ งอยู่ ใ นสภาพพร้ อ มใช้ ง าน ควบคุ ม อุ ณ หภู มิ ไ ด้ แ ละมี ก าร
บันทึก การขนส่ง สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่เกิดความเสียหาย มีมาตรการป้องกันการปนเปือ้ น
จากฝุ่นละออง แมลง หรือสิ่งสกปรกระหว่างการขนส่ง

7. การจัดทำบันทึก
7.1 ต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ครบถ้วนในกระบวนการผลิต ได้แก่ การตรวจรับ
วัตถุดิบ แหล่งที่มา การรมควันและกำจัดก๊าซ การส่งออก และข้อมูลเสริมที่เป็นประโยชน์ที่สามารถทวน
สอบย้อนกลับได้
7.2 ควรมีบันทึกผลวิเคราะห์การตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซด์
7.3 เก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ และค้นหาง่าย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
46
ขั้นตอนการผลิตลำไยรมควันและปัจจัยที่ต้องควบคุม

ขั้นตอนการผลิต ปัจจัยที่ต้องควบคุม

การคัดขนาด คัดขนาดและคุณภาพ จัดแยกเกรด

การบรรจุและการชั่งน้ำหนัก รูปแบบและคุณภาพของภาชนะบรรจุ วิธีการเรียงใน
ภาชนะบรรจุ การชั่งน้ำหนักให้ได้ตามที่กำหนด

การตรวจรับและการปิดฉลาก สภาพของวัตถุดิบ การถูกน้ำหรือเปียกฝน คุณภาพ
และน้ำหนัก รายละเอียดของฉลาก

การลำเลียงเข้าห้องรมควัน ขนาดของห้อง วัสดุก่อสร้าง จำนวนชั้น รูปแบบการ
จัดเรียง

การรมก๊าซ SO2 การทดสอบห้องก่อนใช้งาน (การกระจายก๊าซและ

ความสม่ำเสมอ) ปริมาณกำมะถันและเวลาที่ใช้
ประสิทธิภาพการเผาไหม้กำมะถัน

การทดสอบ ระบบบำบัด การตรวจสอบคุณภาพของ
การบำบัดก๊าซ SO2 อากาศที่ระบาย

การเป่าลมระบายก๊าซตกค้าง การตรวจสอบคุณภาพหลังการรมควัน การสุ่มชัก
ตัวอย่าง

การลดอุณหภูมิ (Precooling) การตรวจสอบปริมาณสาร SO2 ทั้งผลและในเนื้อ
อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องเย็น เวลาที่ใช้
อุณหภูมิและคุณภาพการผลิต

การขนส่งโดยรถควบคุมอุณหภูมิ การจัดเรียง และปริมาณสินค้า อุณหภูมิและความชื้น
สัมพัทธ์ เวลาที่ใช้ขนส่ง คุณภาพของสินค้าที่ปลายทาง

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
47

หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรมเมทิลโบรไมด์

1. สถานที่ประกอบการ อาคารผลิต และห้องรม
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของโรงรมควรตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างจากชุมชน ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
อันเนื่องมาจากการรมเมทิลโบรไมด์ มีบริเวณสำหรับปฏิบัติงานเพียงพอ และอยู่ในบริเวณที่ไม่ทำให้
ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน จากสัตว์
พาหะ ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่จะมีผลต่อคุณภาพของผลิตผลเกษตร
1.2 อาคารผลิต
1.2.1 อาคารผลิตควรมีบริเวณกว้างขวางพอที่จะเตรียมวัตถุดิบก่อนและหลังการ
รมเมทิลโบรไมด์ และควรจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานให้ชัดเจน
1.2.2 ตัวอาคารและบริเวณโดยรอบสะอาด บริเวณพื้นไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก และ
มีระบบระบายน้ำทิง้ อย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้มกี ารสะสมขยะ และสิง่ ทีไ่ ม่ใช้
ที่เป็นอุปสรรคต่อการรม
1.2.3 พื้น ฝาผนัง และหลั ง คาของอาคารสถานที่ ผ ลิ ต ต้ อ งก่ อ สร้ า งด้ ว ยวั ส ดุ ที่
คงทน ทำความสะอาดง่าย และสะดวกต่อการบำรุงรักษา
1.2.4 จั ด ให้ มี แ สงสว่ า งและการระบายอากาศที่ เ หมาะสมเพี ย งพอสำหรั บ การ
ปฏิบัติงานในบริเวณผลิต
1.2.5 ไม่ควรใช้พื้นที่ใกล้เคียงเป็นที่สำหรับใช้รับประทานอาหาร
1.3 ห้องรม
ห้องรมที่ดีต้องมีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ประกอบด้วย ระบบหมุนเวียนอากาศ
อุปกรณ์สำหรับการรม อุปกรณ์กำจัดก๊าซหลังการรม มีประสิทธิภาพในการเก็บกักก๊าซในขณะที่รมได้
อย่างดี ไม่รั่วซึมและขนาดของห้องรมขึ้นอยู่กับปริมาณของผลิตผลที่ต้องการรม
1.3.1 โครงสร้างของห้องรม
ห้องรมแบบใช้ผ้าพลาสติกรมยาคลุม
v สร้างตู้รมโดยใช้เหล็กชนิดหนา สามารถรับน้ำหนักของผ้าพลาสติกได้ดี
นำมาประกอบเป็นตู้รมสี่เหลี่ยม
v ใช้ผ้าพลาสติกสำหรับรมยา (PVC หนา 0.3 มิลลิเมตร) คลุมโดยรอบตู้
v ใช้ถุงทรายทับชายผ้าพลาสติกเพื่อเก็บกักก๊าซ
ห้องรมแบบตู้รม
v พื้นผนังทุกด้านของห้องรมต้องแข็งแรง พื้นผิวเรียบไม่มีรอยร้าว ใช้วัสดุ
ที่เหมาะสมทนต่อการกัดกร่อน ป้องกันการดูดซึมก๊าซได้ดี
v ประตูต้องใช้วัสดุที่สามารถป้องกันการรั่วของก๊าซได้ดี
v ต้องป้องกันการรั่วตามรอยต่อต่าง ๆ โดยใช้วัสดุที่เหมาะสม ได้แก่ ยาง
ขอบประตู ซิลิโคน หรือวัสดุคงทนอุดตามรอยต่อต่าง ๆ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
48
v ภายในตูร้ มต้องมีแสงสว่างทีเ่ หมาะสม ทีส่ ามารถทำให้ปฏิบตั งิ านได้ถกู ต้อง
1.3.2 อุปกรณ์การปล่อยก๊าซ
อุปกรณ์การปล่อยก๊าซ ประกอบด้วยกระบอกตวงก๊าซ สายเชื่อมต่อจากถัง
ก๊าซเมทิลโบรไมด์ และสายนำก๊าซเข้าภายในตู้รม ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี และไม่มีการรั่วซึม
1.3.3 ระบบหมุนเวียนอากาศ
ภายในห้องรมต้องมีระบบหมุนเวียนอากาศที่สามารถกระจายก๊าซเมทิล
โบรไมด์ให้ทั่วถึง อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเหมาะสมและอยู่ในสภาพสมบูรณ์
1.3.4 การกำจัดก๊าซ
ต้องเป็นระบบทีก่ ำจัดและระบายก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่อทีใ่ ช้แข็งแรง
ตรง ไม่ชำรุด และควรอยู่สูงจากตู้รมประมาณ 75 เซนติเมตร

2. เครื่องมือและอุปกรณ์
2.1 เครื่องมือ และอุปกรณ์ เช่น หน้ากากกันก๊าซ เสื้อแขนยาว ตะเกียงเฮไลน์ ที่ใช้ใน
การผลิตต้องมีจำนวนเพียงพอ และ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2.2 สถานที่จัดเก็บวัสดุ ภาชนะ อุปกรณ์ หรือสารเคมีต่างๆ จะต้องมีการแยกเก็บเป็น
สัดส่วน และมีป้ายชี้บ่งชัดเจน
2.3 ควรมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิง

3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 การเตรียมวัตถุดิบ
3.1.1 มีการคัดเลือกผลิตผล ให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิต
3.1.2 ภาชนะบรรจุที่ใส่วัตถุดิบระหว่างการขนส่งนั้น ควรเป็นภาชนะที่สะอาด
เหมาะสมกับสภาพห้องรม
3.1.3 บริเวณที่ผลิตต้องสะอาด บนพื้นไม่มีน้ำขัง และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ
3.1.4 การวางผังขบวนการผลิตควรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.2 ภาชนะบรรจุ
มีการควบคุมคุณภาพของภาชนะบรรจุ และควรเก็บในที่สะอาดเพื่อป้องกันฝุ่น
ละอองต่าง ๆ
3.3 กระบวนการรมเมทิลโบรไมด์
การรมก๊าซเมทิลโบรไมด์จะต้องศึกษา และดำเนินการโดยผู้ชำนาญการ และผู้
ประกอบการรมยาควรต้องผ่านการอบรมจากกรมวิชาการเกษตร และต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่เขียน
ไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดดังนี้
3.3.1 การเตรียมก่อนรม
v ตรวจสอบห้องรมและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรมให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับ
การปฏิบัติงาน เช่น กระบอกตวงก๊าซ ถังสารรมเมทิลโบรไมด์ วาล์วปิด

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
49
เปิดทุกตัว พัดลม ผ้าพลาสติกสำหรับรมยาคลุมรมสารเคมี ถุงทราย
หากพบอุ ป กรณ์ ช นิ ด หนึ่ ง ชนิ ด ใดชำรุ ด จะต้ อ งทำการซ่ อ มแซมหรื อ
เปลี่ยนใหม่เสียก่อน โดยเฉพาะผ้าคลุมซึ่งอาจจะมีรอยขาดหรือรูรั่ว
v คำนวณหาอัตราของสารรมเมทิลโบรไมด์กับขนาดของห้องรม ตามอัตรา
ที่ได้กำหนดให้ใช้
3.3.2 การรม
v นำผลิตผลหรือดอกกล้วยไม้ที่จะทำการรมจัดวางไว้ในตู้รม
v ห้ อ งรมแบบใช้ ผ้ า พลาสติ ก รมยาคลุ ม ดำเนิ น การคลุ ม ตู้ ร มด้ ว ยผ้ า
พลาสติก แล้วทับชายผ้าด้วยถุงทราย ตรวจดูผ้าพลาสติกให้อยู่ในสภาพ
ดี หากพบรอยรั่วหรือฉีกขาด ต้องทำการซ่อมแซม
v ห้องรมแบบตู้รม เมื่อปิดห้องรมแล้ว ต้องตรวจสอบบริเวณประตู และ
บริเวณรอยต่อต่าง ๆ หากพบรอยรั่ว ต้องดำเนินการซ่อมแซม
v เปิดวาล์วถังก๊าซเมทิลโบรไมด์ เพื่อปล่อยก๊าซตามอัตราที่กำหนด
v เปิดพัดลมเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายในตู้
v ปิดป้ายเพื่อระบุเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดการรม
v ตรวจสอบการรั่วของก๊าซในขณะที่รม
3.3.3 การปฏิบัติหลังการรม
v เมื่อครบเวลาการรมควรระบายก๊าซเมทิลโบรไมด์จากห้องรมให้หมดโดย
ใช้ตะเกียงเฮไลน์ในการตรวจสอบ
v ต้ อ งนำผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ อกจากห้ อ งรม และระบายก๊ า ซที่ ห ลงเหลื อ ใน
ผลิตภัณฑ์
v เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในสภาพที่เหมาะสม
v กรณีในการเก็บตัวอย่าง ควรมีถุงหรือภาชนะในการเก็บตัวอย่าง
3.4 การปิดฉลาก
การระบุข้อความบนฉลาก ให้มีข้อความชัดเจน ถูกต้องสมบูรณ์ เช่น ชื่อสินค้าและ
รายละเอียด เกรดสินค้า รุน่ การผลิต ชือ่ ผูผ้ ลิตพร้อมรหัสโรงคัดบรรจุ ชือ่ ผูจ้ ำหน่าย ป้ายแสดงอัตรา ป้ายชีบ้ ง่
แสดงสถานะของตูร้ ม และมีขอ้ มูลระบุครบตามทีก่ ฎหมายของประเทศผูน้ ำเข้าของแต่ละประเทศกำหนดไว้

4. การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล
4.1 การทำความสะอาด
4.1.1 อาคารผลิต ห้องรม ต้องจัดให้มกี ารทำความสะอาด พืน้ ผนัง เพดาน อุปกรณ์
ที่ยึดติดกับผนัง หรือเพดาน อย่างสม่ำเสมอ อาจมีการระบุผู้รับผิดชอบ
รวมถึงวิธี และความถีข่ องการทำความสะอาด
4.1.2 เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต้องทำความสะอาดและดูแลให้มีประสิทธิภาพดี
พร้อมสำหรับการทำงานอย่างสม่ำเสมอ อุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้วควร
เก็บให้เป็นสัดส่วน ในสถานที่เหมาะสม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
50
4.1.3 ควรมีอุปกรณ์ล้างมือและทำให้มือแห้ง
4.2 มาตรการป้องกันสัตว์พาหะและแมลงเข้าในบริเวณผลิต
มีมาตรการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะและแมลงเข้าในบริเวณผลิต เพื่อป้องกันการ
ปนเปื้อน
4.3 การควบคุมสารอันตราย
การจัดเก็บสารรม ต้องเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิด และมีป้ายที่บ่งบอกชัดเจน
4.4 การระบายน้ำและการกำจัดของเสีย
4.4.1 การระบายน้ำในอาคารและบริเวณโดยรอบ ต้องมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควร
ให้มีเศษที่เหลือจากการผลิตติดค้างในท่อ สิ่งที่ไม่ใช้แล้ว ขยะหรือสิ่งปฏิกูล
ต้องแยกออกจากพื้นที่ทำการผลิต
4.4.2 ภายในอาคารผลิตควรมีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยในจำนวนที่เพียงพอ มี
ระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
4.5 ห้องน้ำ ห้องส้วม สำหรับพนักงาน
4.5.1 ที่ตั้งของห้องน้ำ ห้องส้วม ควรแยกออกจากบริเวณผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณ
ผลิตโดยตรง และมีจำนวนให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
4.5.2 ลักษณะของห้องน้ำ ห้องส้วม ต้องถูกสุขลักษณะ สะอาด อยูใ่ นสภาพทีใ่ ช้งาน
ได้ และมีอา่ งล้างมือหน้าห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ในการล้างมือและทำให้มอื แห้ง

5. บุคลากร
5.1 มีการให้ความรู้ ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนการผลิต
การรม รวมถึงเรื่องของสุ ข ลั ก ษณะทั่ ว ไป ตามความเหมาะสม พร้ อ มทั้ ง มี ก าร
ทบทวนการฝึกอบรมและปรับให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
5.2 พนั ก งานที่ ป ฏิ บั ติ ก ารรม ต้ อ งแต่ ง กายให้ เ หมาะสม มี ห น้ า กากป้ อ งกั น สารพิ ษ
รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในพื้นที่เสี่ยง และปฏิบัติตามที่กำหนด

6. การเก็บรักษาและการขนส่ง
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่รอการขนส่งจะต้องเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เป็นระเบียบ สะดวก
ต่อการตรวจสอบ
6.2 สภาพของตูข้ นส่งต้องอยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน ควบคุมอุณหภูมไิ ด้
6.3 สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในระหว่างการขนส่งได้โดยไม่เกิดความเสียหาย
6.4 มีมาตรการป้องกันการปนเปือ้ นจากฝุน่ ละออง แมลง หรือสิง่ สกปรกระหว่างการขนส่ง

7. การจัดทำบันทึก
7.1 ต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ในกระบวนการผลิต เช่น แหล่งรับวัตถุดบิ การผลิต และการรม
7.2 ข้อมูลการส่งออก และข้อมูลเสริมที่เป็นประโยชน์ที่สามารถทวนสอบย้อนกลับได้
7.3 เก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ และค้นหาง่าย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
51
กระบวนการคัดบรรจุ

การรับวัตถุดิบ การคัดคุณภาพ

การล้างวัตถุดิบ การคัดขนาดและตัดแต่ง

เคลือบผิวส้มโอ คัดคุณภาพส้มหลังเคลือบผิว

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
52
กระบวนการคัดบรรจุ

การผึ่งผัก

การชั่งน้ำหนัก

บรรจุถุง บรรจุถาด

การลดอุณหภูมิ การขนส่งผลิตภัณฑ์สุดท้าย

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
53
การตรวจสอบกระบวนการผลิต

ตรวจสอบแมลงศัตรูพืช ตรวจสอบแมลงศัตรูพืช

ตรวจสอบแมลงศัตรูพืช ตรวจสอบกับดักแมลง

ตรวจสอบความสะอาดตะกร้าบรรจุ ตรวจสอบความสะอาดอุปกรณ์ในการผลิต

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
54
กระบวนการผลิต

จุดรับวัตถุดิบ ล้างมือก่อนเข้าสู่สายการผลิต

การทำความสะอาด การลดขนาด

การคัดคุณภาพ การเติมน้ำปรุง

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
55
การตรวจสอบกระบวนการผลิต

ตรวจสอบความเข้มข้นคลอรีน ตรวจสอบความเข้มข้นของน้ำยาฆ่าเชื้อ

ตรวจสอบสายการผลิต ตรวจสอบความสะอาดเครื่องมือ

ตรวจสอบบันทึก ณ จุดปฏิบัติงาน การตรวจสอบความสะอาดเครื่องจักร

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
56
การตรวจสอบกระบวนการผลิต

ตรวจสอบตะเข็บกระป๋อง ตรวจสอบหม้อฆ่าเชื้อ

ตรวจสอบรูกระจายไอน้ำ ตรวจสอบคลังสินค้า

ตรวจสอบสถานที่เก็บสารเคมี ตรวจสอบห้องน้ำพนักงาน

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
57
กระบวนการผลิตและตรวจสอบการรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลำไย

ตรวจสอบคุณภาพ โรคและศัตรูพืช บรรจุในภาชนะตามขนาดที่กำหนดและชั่งน้ำหนัก

เตาเผาซัลเฟอร์ไดออกไซด์แบบต่าง ๆ

การเผากำมะถัน ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
58
กระบวนการผลิตและตรวจสอบการรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลำไย

หอบำบัด การตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง
ของน้ำที่ผ่านการบำบัด

สุ่มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ SO2 ตกค้าง การวิเคราะห์ปริมาณ SO2 ตกค้าง

การตรวจสอบแมลงศัตรูพืชหลังการรม SO2 ขนส่งโดยรถควบคุมอุณหภูมิ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
59
ห้องรมเมธิลโบรไมด์แบบต่าง ๆ

ห้องรมแบบใช้พลาสติกคลุม ห้องรมเมธิลโบรไมด์

ห้องรมเมธิลโบรไมด์ ห้องรมเมธิลโบรไมด์

การตรวจสอบรอยรั่ว การตรวจสอบแมลงศัตรู

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
60
ภาคผนวก

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
61
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
62
60
พฤษภาคม 2554

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
63
60
พฤษภาคม 2554

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
64
โทรศัพท์ 0-2940-7422, 0-2940-6464 โทรสาร 0-2940-6470

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
65
®œoµ Ó
Á¨n¤ ÒÓØ ˜°œ¡·Á«¬ ÒÓÕ Š
™»œ µ¥œ
¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µ Ó× ˜»¨µ‡¤ ÓÖÖÔ

¦³Á¸¥„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦
ªnµ—oª¥„µ¦˜¦ª‹¦´¦°Š¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º
˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
¡.«. ÓÖÖÔ

×¥š¸ÉÁž}œ „µ¦­¤‡ª¦„ε®œ—®¨´„Á„–”r¨³ª·›¸„µ¦ž’·´˜·Ä œ„µ¦˜¦ª‹¦´¦°Š¤µ˜¦“µœ


把µœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º ˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º…°Š„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦
Ä®oÁž}œ¤µ˜¦“µœÁ—¸¥ª„´œÂ¨³Áš¸¥Ášnµ¤µ˜¦“µœ­µ„¨ ‡¦°‡¨»¤„µ¦‹´—„µ¦„¦³ªœ„µ¦Ÿ¨·˜°¥nµŠÁž}œ¦³
˜´ÊŠÂ˜nª´˜™»—· „µ¦‡´—Á¨º°„ „µ¦Âž¦¦¼ž „µ¦¦¦‹» ‹œÁž}œ Ÿ¨·˜ £´– ”rš¸É¤¸‡»– £µ¡Â¨³ž¨°—£´¥
°›·—¸„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦ ‹¹Š°°„¦³Á¸¥Åªo—´Šœ¸Ê
…o° Ò ¦³Á¸¥œ¸ÊÁ¦¸¥„ªnµ “¦³Á¸¥„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦ ªnµ—oª¥„µ¦˜¦ª‹¦´¦°Š¤µ˜¦“µœ
把µœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º ¡.«. ÓÖÖÔ”
…o° Ó ¦³Á¸¥œ¸ÊÄ®očo´Š‡´˜´ÊŠÂ˜nª´œ™´—‹µ„ª´œž¦³„µ«Áž}œ˜oœÅž
…o° Ô Äœ¦³Á¸¥œ¸Ê
“®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º” ®¤µ¥‡ªµ¤ªnµ œªšµŠ„µ¦ž’·´˜·Äœ„µ¦
Ÿ¨·˜­·œ ‡oµÁ„¬˜¦—o µœ¡º Á¡ºÉ° čo‡ª‡»¤„µ¦Ÿ¨·˜­·œ ‡oµ Á„¬˜¦—oµœ¡º Ä®o¤¸ ‡»–£µ¡Â¨³ž¨°—£´ ¥
ŤnÁ„·—„µ¦žœÁžg°œ‹µ„šµŠ¸ª£µ¡ Á‡¤¸Â¨³„µ¥£µ¡Äœ°µ®µ¦š¸ÉÁž}œ°´œ˜¦µ¥˜n°Ÿ¼o¦·Ã£‡ ¨³Ä®o
®¤µ¥‡ªµ¤¦ª¤™¹Š¦³ª·Á‡¦µ³®r°œ´ ˜¦µ¥Â¨³‹»—ª·„§˜š¸É˜o°Š‡ª‡»¤­Îµ®¦´Ã¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oª¥
“把µœ” ®¤µ¥‡ªµ¤ªnµ ­™µœš¸Éš¸ÉšÎµ„µ¦Ÿ¨·˜®¦º°­™µœš¸ÉÁ„ȝ¦´„¬µ­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
¨³Ÿ¨·˜£´–”r¡º ¨³Ä®o®¤µ¥‡ªµ¤¦ª¤™¹Š„µ¦¦ª¦ª¤ „µ¦‡´—Á¨º°„ „µ¦¦¦‹» „µ¦Âž¦¦¼žÂ¨³„µ¦
Á„ȝ¦´„¬µ—oª¥
“ĝ¦´  ¦°Š” ®¤µ¥‡ªµ¤ªn µ ĝ¦´  ¦°Š¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨· ˜ ­· œ ‡o µ ¡º  ˜µ¤¤µ˜¦“µœ
®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
“®œnª¥¦´¦°Š” ®¤µ¥‡ªµ¤ªnµ ®œnª ¥Šµœ…°Š„¦¤ª· µ„µ¦Á„¬˜¦®¦º°®œnª¥Šµœ°ºÉœ š¸É
„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦ ¤°®¤µ¥Ä®ošÎµ®œoµš¸ÉÁž}œŸ¼o˜¦ª‹¦´¦°Š˜µ¤¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º˜µ¤
¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
66
®œoµ Ô
Á¨n¤ ÒÓØ ˜°œ¡·Á«¬ ÒÓÕ Š
™»œ µ¥œ
¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µ Ó× ˜»¨µ‡¤ ÓÖÖÔ
“Ÿ¼o˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ” ®¤µ¥‡ªµ¤ªnµ Ÿ¼ošÎµ®œoµš¸É˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º
˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
“‡–³„¦¦¤„µ¦¦´¦°Š„µ¦˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ” ®¤µ¥‡ªµ¤ªnµ ‡–³„¦¦¤„µ¦š¸É„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦
˜nŠ˜´ÊŠÁ¡ºÉ°šÎµ®œoµš¸É¡·‹µ¦–µŸ¨„µ¦˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ…°ŠŸ¼o˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º
˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
…o° Õ Ÿ¼ož¦³„°„µ¦š¸Éž¦³­Š‡r‹ ³…°¦´„µ¦¦´¦°Š¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ ‡oµ¡º 
˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡ºÄ®o¥ºÉœ‡Îµ…°˜µ¤Â‡Îµ…°®œ´Š­º°¦´¦°Š
把µœÂœšoµ¥ž¦³„µ«œ¸Ê ˜n°„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦ ¡¦o°¤Á°„­µ¦š¸ÉÁ„¸É¥ª…o°Š – ­Îµœ´„¡´•œµ¦³
¨³¦´¦°Š¤µ˜¦“µœ­·œ‡oµ¡º ®¦º° ­Îµœ´„ª·‹´¥Â¨³¡´•œµ„µ¦Á„¬˜¦ Á…˜š¸É Ò - Ù „¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦
…o° Ö Ÿ¼ož¦³„°„µ¦š¸É‹³…°¦´„µ¦¦´¦°Š¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º˜µ¤¤µ˜¦“µœ
®¨´ „ ž’· ´ ˜· š¸É —¸Ä œ„µ¦Ÿ¨· ˜ ­·œ ‡o µ Á„¬˜¦—oµ œ¡º  ˜o ° Š¤¸ à ¦ŠŠµœŸ¨·˜ ­· œ ‡o µ ¡º  ¨³Ÿ¨· ˜ £´ – ”r ¡º 
š¸ÉÁ®¤µ³­¤Â¨³‹—š³Á¸¥œ™¼„˜o°Š˜µ¤„‘®¤µ¥š¸ÉÁ„¸É¥ª…o°Š
把µœ Ò Â®nŠ ­µ¤µ¦™°°„ĝ¦´¦°ŠÃ¦ŠŠµœÅ—o®¨µ¥ž¦³Á£š Ç ¨³ Ò Œ´ ˜n˜o°ŠÁž}œ
Ÿ¼ož¦³„°„µ¦¦µ¥Á—¸¥ª„´œ
…o° × Á¤ºÉ°Å—o¦´‡Îµ…°—´Š„¨nµªÂ¨oª Ä®oÁ‹oµ®œoµš¸É ˜¦ª‹­°‡Îµ…°Â¨³‡»–­¤´˜·…°ŠŸ¼o…°
®µ„Á®Èœªnµ™¼„˜o°Š‡¦™oªœ Ä®o‹oŠÄ®oŸ¼o…°š¦µÂ¨³­nŠ‡Îµ…°Ä®oŸ¼o˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ Á¡ºÉ°—εÁœ·œ„µ¦˜¦ª‹
ž¦³Á¤·œ˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
…o° Ø Äœ„µ¦—Î µ Áœ· œ „µ¦Á¡ºÉ ° ˜¦ª‹ž¦³Á¤· œ ®µ„Ÿ¼o ˜ ¦ª‹ž¦³Á¤· œ ž¦³­Š‡r ‹ ³­»n ¤
Á„ȝ˜´ª°¥nµŠ¤µšÎµ„µ¦˜¦ª‹ª·Á‡¦µ³®ršµŠ®o°Šž’·´˜·„µ¦ Ä®o­µ¤µ¦™­»n¤Á„ȝ˜´ª°¥nµŠÅ—o š´ÊŠœ¸ÊÄ®o°°„
®œ´Š­º°Â­—Š„µ¦¦´˜´ª°¥nµŠ Ä®o把µœÅªoÁž}œ®¨´„“µœ
…o° Ù ®œo µ š¸É… °ŠŸ¼o… °¦´ „µ¦¦´  ¦°Š¤µ˜¦“µœÃ¦ŠŠµœŸ¨· ˜ ­·œ ‡o µ ¡º ˜µ¤¤µ˜¦“µœ
®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º
Ù.Ò ˜o°ŠÄ®o‡ªµ¤¦nª¤¤º°Äœ„µ¦Ä®o…o°¤¼¨ ¨³°Îµœª¥‡ªµ¤­³—ª„Äœ„µ¦˜¦ª‹
ž¦³Á¤·œ˜µ¤¦³Á¸¥œ¸Ê …o°¤¼¨š¸Éŗoš´ÊŠ®¤—‹³™¼„Á„ȝÁž}œ ‡ªµ¤¨´ Ťn¤¸„µ¦Ážd—ÁŸ¥ÁªoœÂ˜n‹³Å—o¦´
°œ»µ˜‹µ„Ÿ¼o…°
Ù.Ó ˜o ° Š—Î µ Áœ· œ „µ¦ž¦´  ž¦» Š „o Å …˜µ¤š¸É Å —o ¦´  ‹o Š ‹µ„Ÿ¼o ˜ ¦ª‹ž¦³Á¤· œ
¡¦o ° ¤Â‹o Š „µ¦Â„o Å …Áž} œ ¨µ¥¨´ „ ¬–r °´ „ ¬¦ £µ¥Äœ¦³¥³Áª¨µ ×Ñ ª´ œ œ´  ˜n ª´ œ š¸É Å —o ¦´  ‹o Š
¨³­µ¤µ¦™…°…¥µ¥¦³¥³Áª¨µ°°„Şŗo°¸„ ÔÑ ª´œ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
67
®œoµ Õ
Á¨n¤ ÒÓØ ˜°œ¡·Á«¬ ÒÓÕ Š
™»œ µ¥œ
¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µ Ó× ˜»¨µ‡¤ ÓÖÖÔ
…o° Ú Á¤ºÉ ° Ÿ¼o ˜ ¦ª‹ž¦³Á¤· œ ˜¦ª‹­°Â¨o ª Á®È œ ªn µ 把µœŸ¨· ˜ ­· œ ‡o µ ¡º  Áž} œ ޘµ¤
¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º Ä®oÁ­œ°‡–³„¦¦¤„µ¦¦´¦°Š„µ¦˜¦ª‹
ž¦³Á¤·œ¡·‹µ¦–µ ®µ„‡–³„¦¦¤„µ¦¦´¦°Š„µ¦˜¦ª‹ž¦³Á¤·œ¡·‹µ¦–µÂ¨oªÁ®ÈœªnµÃ¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡º
Áž}œÅž˜µ¤¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡ºÄ®oÁ­œ°°›·—¸„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦
®¦º ° Ÿ¼o š¸É Å —o ¦´  ¤°®¤µ¥ Á¡ºÉ ° ¡· ‹ µ¦–µÄ®o „ µ¦¦´  ¦°ŠÂ¨³°°„ĝ¦´  ¦°Š˜µ¤ÂÄ¦´  ¦°Š
¨³Á‡¦ºÉ°Š®¤µ¥¦´¦°Š Ä®o„´Ÿ¼o…°
¤µ˜¦“µœ®¨´„ž’·´˜·š¸É—¸Äœ„µ¦Ÿ¨·˜­·œ‡oµÁ„¬˜¦—oµœ¡º ĝ¦´¦°Š ¨³Á‡¦ºÉ°Š®¤µ¥¦´¦°Š
Ä®oÁž}œÅž˜µ¤¦µ¥¨³Á°¸¥—Âœšoµ¥¦³Á¸¥œ¸Ê
…o° ÒÑ Ä¦´¦°ŠÂ˜n¨³ž¦³Á£š¤¸°µ¥» —´Šœ¸Ê
ÒÑ.Ò Ä¦´¦°ŠÃ¦Š‡´—¦¦‹»¤¸°µ¥» Ò že œ´˜´ÊŠÂ˜nª´œš¸É°°„ĝ¦´¦°Š
ÒÑ.Ó Ä¦´¦°ŠÃ¦Š¦¤­µ¦Á‡¤¸¤¸°µ¥» Ó že œ´˜´ÊŠÂ˜nª´œš¸É°°„ĝ¦´¦°Š
ÒÑ.Ô Ä¦´¦°ŠÃ¦ŠŠµœÂž¦¦¼ž¤¸°µ¥» Ô že œ´˜´ÊŠÂ˜nª´œš¸É°°„ĝ¦´¦°Š
ÒÑ.Õ Ä¦´¦°ŠÃ¦Š¦ª¦ª¤¤¸°µ¥» Ò že œ´˜´ÊŠÂ˜nª´œš¸É°°„ĝ¦´¦°Š
…o° ÒÒ „¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦‹³˜¦ª‹Á¡ºÉ°˜·—˜µ¤Ã¦ŠŠµœŸ¨·˜­·œ‡oµ¡ºš¸Éŗo¦´„µ¦¦´¦°ŠÂ¨oª
°¥nµŠœo°¥že¨³ Ò ‡¦´ÊŠ ץŤn‹ÎµÁž}œ˜o°ŠÂ‹oŠÄ®oš¦µ¨nªŠ®œoµ
…o° ÒÓ Ÿ¼oŗo¦´Ä¦´¦°Šš¸É¤¸‡ªµ¤ž¦³­Š‡r‹³…°˜n°°µ¥»Ä¦´¦°ŠÄ®o‹oŠÁž}œ¨µ¥¨´„¬–r°´„¬¦
¡¦o°¤¥ºÉœÂ‡Îµ…°˜n°°µ¥»Ä¦´¦°ŠÃ¦ŠŠµœ ¨³­ÎµÁœµÄ¦´¦°ŠŒ´Á—·¤ „n°œÄ¦´¦°Š®¤—°µ¥»
ÚÑ ª´œ
Á¤ºÉ°Å—o¥ºÉœ‡Îµ…°—´Š„¨nµªÂ¨oªÄ®o—εÁœ·œ„µ¦˜n°ÅžÅ—o‹œ„ªnµÁ‹oµ®œoµš¸É‹³Â‹oŠ„µ¦Å¤n°œ»µ˜
Ä®o˜n°°µ¥»Ä¦´¦°Š
…o° ÒÔ Ÿ¼oŗo¦´Ä¦´¦°Š˜o°Šž’·´˜· —´Šœ¸Ê
ÒÔ.Ò Â‹oŠÄ®o„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦š¦µÁ¤ºÉ°¤¸„µ¦Áž¨¸É¥œÂž¨Š Ánœ
- ºÉ°­™µœž¦³„°„µ¦
- š¸É˜´ÊŠ­™µœž¦³„°„µ¦
- …°…nµ¥®¦º°„¦³ªœ„µ¦Ÿ¨·˜
ÒÔ.Ó ¦´„¬µÅªoŽ¹ÉŠ¤µ˜¦“µœ„µ¦Ÿ¨·˜˜µ¤¦³š¸Éŗo¦´„µ¦¦´¦°Š Á¡ºÉ°Ä®o¤´ÉœÄ‹ªnµ
¦³¥´Š­µ¤µ¦™ÄoŠµœÅ—o°¥nµŠ¤¸ž¦³­·š›·£µ¡

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
68
®œoµ Ö
Á¨n¤ ÒÓØ ˜°œ¡·Á«¬ ÒÓÕ Š
™»œ µ¥œ
¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µ Ó× ˜»¨µ‡¤ ÓÖÖÔ
ÒÔ.Ô „µ¦Â­—ŠÁ‡¦ºÉ ° Š®¤µ¥¦´  ¦°Š Ä®o  ­—ŠÁ¡ºÉ ° „µ¦˜· — ˜n ° ɬ–µ
¨³­nŠÁ­¦·¤„µ¦…µ¥Ášnµœ´Êœ ¨³˜o°ŠÅ¤nčoœ°„Á®œº°‹µ„…°…nµ¥š¸Éŗo¦´„µ¦¦´¦°Š ®¦º°šÎµÄ®oŸ¼o°ºÉœ
Á…oµÄ‹Ÿ·—Äœ…°…nµ¥š¸Éŗo¦´„µ¦¦´¦°Š
ÒÔ.Õ ®oµ¤Â­—ŠÁ‡¦ºÉ°Š®¤µ¥¦´¦°ŠœŸ¨·˜£´–”r ®¦º°£µœ³¦¦‹»Ÿ¨·˜£´–”r
Ž¹ÉŠ‹³šÎµÄ®oÁ…oµÄ‹Ÿ·—ªnµŸ¨·˜£´–”rœ´ÊœÅ—o¦´„µ¦¦´¦°Š (Product Certification)
ÒÔ.Ö ®oµ¤œÎµÄ¦´¦°ŠÂ¨³Á‡¦ºÉ°Š®¤µ¥¦´¦°ŠÅžÄoŤnªnµ„¦–¸Ä— Ç Á¤ºÉ°™¼„¡´„čo
¥„Á¨·„ Á¡·„™°œÄ¦´¦°Š ®¦º°Ä¦´¦°Š®¤—°µ¥»
…o° ÒÕ ®µ„¤¸ „ µ¦ i µ  g œ ®¦º ° Ťn ž ’· ´ ˜· ˜ µ¤®¨´ „ Á„–”r ˜ µ¤š¸É „Î µ ®œ—Ūo Ä œ¦³Á¸ ¥ œ¸Ê
°›·—¸„¦¤ª· µ„µ¦Á„¬˜¦®¦º°Ÿ¼oš¸Éŗo¦´¤°®¤µ¥ ­µ¤µ¦™Â‹oŠÁ˜º°œ ­´ÉŠ¡´„čo ®¦º°­´ÉŠÁ¡·„™°œ
ĝ¦´¦°ŠÅ—o ˜µ¤®¨´„Á„–”r¨³ª·›¸„µ¦ —´Š˜n°Åžœ¸Ê
ÒÕ.Ò  iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·˜µ¤¦³Á¸¥ ®¦º°Ÿ¨‹µ„„µ¦˜¦ª‹˜·—˜µ¤¡ž{®µ
—oµ œ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥°µ®µ¦ ®¦º °Å—o¦´  „µ¦Â‹o ŠÁ˜º° œ‹µ„ž¦³Áš«Ÿ¼o œÎµ Á…o µ Á„¸É ¥ª„´ ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥
—oµœ°µ®µ¦ ‡¦´ÊŠš¸É Ò Ä®oÁ‹oµ®œoµš¸É‹oŠÁ˜º°œŸ¼oŗo¦´ ĝ¦´¦°ŠÁž}œ®œ´Š­º°
ÒÕ.Ó  iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·˜µ¤¦³Á¸¥ ®¦º°Ÿ¨‹µ„„µ¦˜¦ª‹˜·—˜µ¤¡ž{®µ
—oµ œ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥°µ®µ¦ ®¦º °Å—o¦´  „µ¦Â‹o ŠÁ˜º° œ‹µ„ž¦³Áš«Ÿ¼o œÎµ Á…o µ Á„¸É ¥ª„´ ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥
—oµœ°µ®µ¦ ‡¦´ÊŠš¸É Ó Ã—¥Áž}œ „µ¦ iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·˜µ¤¦³Á¸¥ ®¦º°Ÿ¨‹µ„„µ¦˜¦ª‹˜·—˜µ¤
¡ž{  ®µ—o µ œ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥ °µ®µ¦ ®¦º ° ŗo ¦´  „µ¦Â‹o Š Á˜º ° œ‹µ„ž¦³Áš«Ÿ¼o œÎ µ Á…o µ Á„¸É ¥ ª„´ 
‡ªµ¤ž¨°—£´¥—oµœ°µ®µ¦£µ¥Äœ¦³¥³Áª¨µ Ô Á—º°œœ´Â˜nª´œš¸Éŗo„¦³šÎµ„µ¦ iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·
˜µ¤¦³Á¸¥ ®¦º°Å—o¦´Â‹oŠÁ˜º°œ˜µ¤ ÒÕ.Ò Ä®o¡´„čoĝ¦´¦°Š¤¸„ε®œ— ÔÑ ª´œ
ÒÕ.Ô  iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·˜µ¤¦³Á¸¥ ®¦º°Ÿ¨‹µ„„µ¦˜¦ª‹˜·—˜µ¤¡ž{®µ
—oµ œ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥°µ®µ¦ ®¦º °Å—o¦´  „µ¦Â‹o ŠÁ˜º° œ‹µ„ž¦³Áš«Ÿ¼o œÎµ Á…o µ Á„¸É ¥ª„´ ‡ªµ¤ž¨°—£´ ¥
—oµœ°µ®µ¦ ˜´ÊŠÂ˜n Ô ‡¦´ÊŠ…¹ÊœÅž ×¥Áž}œ„µ¦ iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·˜µ¤¦³Á¸¥®¦º°Ÿ¨‹µ„„µ¦˜¦ª‹
˜·—˜µ¤¡ž{®µ—oµœ‡ªµ¤ž¨°—£´¥°µ®µ¦ ®¦º°Å—o¦´„µ¦Â‹oŠÁ˜º°œ‹µ„ž¦³Áš«Ÿ¼oœÎµÁ…oµÁ„¸É¥ª„´
‡ªµ¤ž¨°—£´¥—oµœ°µ®µ¦£µ¥Äœ¦³¥³Áª¨µ × Á—º°œ œ´Â˜nª´œš¸Éŗo„¦³šÎµ„µ¦ iµ gœ ®¦º°Å¤nž’·´˜·
˜µ¤¦³Á¸¥ ®¦º°Å—o¦´Â‹oŠÁ˜º°œ˜µ¤ ÒÕ.Ó Ä®oÁ¡·„™°œÄ¦´¦°Š
Ĝ„¦–¸¤¸„µ¦­´ÉŠ¡´„čo ¥„Á¨·„®¦º°­´ÉŠÁ¡·„™°œÄ¦´¦°Š Ä®o™º°ªnµÁ‡¦ºÉ°Š®¤µ¥¦´¦°Š™¼„¡´„čo
¥„Á¨·„®¦º°­´ÉŠÁ¡·„™°œ—oª¥

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
69
®œoµ ×
Á¨n¤ ÒÓØ ˜°œ¡·Á«¬ ÒÓÕ Š
™»œ µ¥œ
¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µ Ó× ˜»¨µ‡¤ ÓÖÖÔ
Ÿ¼oŗo¦´Ä¦´¦°ŠŽ¹ÉŠ™¼„Á¡·„™°œÄ¦´¦°Š ‹³…°¦´Ä¦´¦°ŠÄ— Ç ˜µ¤¦³Á¸¥œ¸Ê°¸„Ťnŗo
‹œ„ªnµ‹³¡oœ„ε®œ—®„Á—º°œœ´˜´ÊŠÂ˜nª´œš¸É™¼„Á¡·„™°œÄ¦´¦°Š
…o° ÒÖ °›·—¸„¦¤ª· µ„µ¦Á„¬˜¦®¦º°Ÿ¼oš¸Éŗo¦´¤°®¤µ¥¤¸°Îµœµ‹­´ÉŠ™°œ‡Îµ­´ÉŠ¡´„čo
„n°œ„ε®œ—Áª¨µÅ—o Á¤ºÉ°Áž}œš¸É¡°Ä‹ªnµŸ¼oŗo¦´Ä¦´¦°ŠÅ—o„oŅž¦´ž¦»ŠÄ®oÁž}œÅž˜µ¤¦³Á¸¥œ¸Ê¨oª
…o° Ò× Äœ„¦–¸¤¸ž{®µÁ„¸É¥ª„´„µ¦ž’·´˜·˜µ¤¦³Á¸¥œ¸Ê Ä®oÁ­œ°°›·—¸„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦
¡·‹µ¦–µª·œ·‹Œ´¥
…o° ÒØ Ä®o°›·—¸„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦ ¦´„¬µ„µ¦˜µ¤¦³Á¸¥œ¸Ê

ž¦³„µ« – ª´œš¸É ÒÔ „´œ¥µ¥œ ¡.«. ÓÖÖÔ


­¤µ¥ µ–¦Š‡r„»¨
°›·—¸„¦¤ª·µ„µ¦Á„¬˜¦

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
70
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
71
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
72
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
73
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
74
®œoµ ÖÕ
Á¨n¤ ÒÓ× ˜°œ¡·Á«¬ ×Ô Š ¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µ ÓÚ Á¤¬µ¥œ ÓÖÖÓ

ž¦³„µ«„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r
Á¦ºÉ°Š „ε®œ—¡ºÁž}œ¡º‡ª‡»¤ÁŒ¡µ³
¡.«. ÓÖÖÓ

°µ«´ ¥°Î µœµ‹˜µ¤‡ªµ¤Äœ¤µ˜¦µ ÒÖ Á‹ ®n Š¡¦³¦µ´ ´ ˜·„´ „¡º  ¡.«. ÓÖÑØ
Ž¹ÉŠÂ„oŅÁ¡·É¤Á˜·¤Ã—¥¡¦³¦µ´´˜·„´„¡º (Œ´š¸É Ô) ¡.«. ÓÖÖÒ °´œÁž}œ„‘®¤µ¥š¸É¤¸š´´˜·
µŠž¦³„µ¦Á„¸É¥ª„´„µ¦‹Îµ„´—­·š›·Â¨³Á­¦¸£µ¡…°Š»‡‡¨ Ž¹ÉŠ¤µ˜¦µ ÓÚ ž¦³„°„´¤µ˜¦µ ÔÓ
¤µ˜¦µ ÔÔ ¤µ˜¦µ ÕÒ Â¨³¤µ˜¦µ ÕÔ …°Š¦´“›¦¦¤œ¼Â®nŠ¦µ°µ–µ‹´„¦Åš¥ ´´˜·Ä®o„¦³šÎµÅ—o
×¥°µ«´ ¥ °Î µ œµ‹˜µ¤š´  ´ ˜·  ®n Š „‘®¤µ¥ ¦´ “ ¤œ˜¦¸ ªn µ „µ¦„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r
×¥‡ÎµÂœ³œÎµ…°Š‡–³„¦¦¤„µ¦„´„¡º°°„ž¦³„µ«Åªo —´Š˜n°Åžœ¸Ê
…o° Ò Ä®o¡º˜µ¤šoµ¥ž¦³„µ«œ¸ÊÁž}œ¡º‡ª‡»¤ÁŒ¡µ³
…o° Ó „µ¦­nŠ °°„Åžœ°„¦µ°µ–µ‹´ „¦Ž¹ÉŠ ¡º ‡ª‡»¤ ÁŒ¡µ³˜µ¤…o° Ò Åž¥´ Šž¦³Áš«
˜µ¤šoµ¥ž¦³„µ«œ¸Ê ˜o°ŠŸnµœ„µ¦˜¦ª‹­° ÁºÊ°‹»¨·œ š¦¸¥r ®¦º °­·ÉŠ°ºÉœ ėš¸ÉÁž}œ °´œ ˜¦µ¥˜n°­»…£µ¡
…°Š¤œ»¬¥r ˜µ¤®¨´„Á„–”r ª·›¸„µ¦ ¨³ÁŠºÉ°œÅ…š¸É°›·—¸„ε®œ—
…o° Ô œ· — …°ŠÁºÊ ° ‹» ¨· œ š¦¸ ¥r ®¦º ° ­·É Š °ºÉ œ ėš¸É Á ž} œ °´ œ ˜¦µ¥˜n ° ­» … £µ¡…°Š¤œ» ¬ ¥r
š¸É‹³˜¦ª‹­° Ä®oÁž}œÅž˜µ¤šoµ¥ž¦³„µ«œ¸Ê
ž¦³„µ«Œ´œ¸ÊÄ®očo´Š‡´œ´˜´ÊŠÂ˜nª´œ™´—‹µ„ª´œž¦³„µ«Äœ¦µ„·‹‹µœ»Á„¬µÁž}œ˜oœÅž

ž¦³„µ« – ª´œš¸É ÓÔ „»¤£µ¡´œ›r ¡.«. ÓÖÖÓ


›¸¦³ ªŠ«r­¤»š¦
¦´“¤œ˜¦¸ªnµ„µ¦„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
75
¦µ¥º
¦µ¥ºÉ°É°œ· ¦µ¥º
œ· ——¡º¡ºÉ°œ· ž¦³Áš« —¡º ž¦³Áš«
ž¦³Áš« ¨³ÁºÊ°Ê°‹»Â¨³Áº
¨³Áº š¦¸Ê°¥‹»¥r ¨®¦º
‹»¨¨·œ·œš¦¸ ·œ°š¦¸
r ®¦º °­·­·¥ÉŠÉŠ°ºr °º®¦º °Ä—š¸
ɜɜėš¸­·ÉŠÉÁ°ºž}ÉÁž}ɜœÄ—š¸ ÉÁž}œ°´œ°°­»˜¦µ¥˜n
°´°´œœ˜¦µ¥˜n
˜¦µ¥˜n ­»……£µ¡…°Š¤œ» °­»…£µ¡…°Š¤œ»
£µ¡…°Š¤œ» ¬¬¥r¥r ¬¥r
œšo œšo µ¥ž¦³„µ«„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r
œšoµµ¥ž¦³„µ«„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r
¥ž¦³„µ«„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r
Á¦ºÁ¦ºÉ°É°ŠŠ „΄εÁ¦ºµ®œ—¡º É°Š „΍µ®œ—¡º
®œ—¡º Áž}Áž}œœ¡º¡º‡ª‡» Áž} œ¡º¤¤ÁŒ¡µ³
‡ª‡» ‡ª‡»
ÁŒ¡µ³¤¡.«. ÁŒ¡µ³
¡.«. ÓÖÖÓ
ÓÖÖÓ ¡.«. ÓÖÖÓ
ÁºÁºÊ°Ê°‹»‹»¨¨·œ·œÁºš¦¸Ê°¥‹»¥r ¨®¦º
š¦¸ ·œ°š¦¸
r ®¦º °­·­·¥ÉŠÉŠ°ºr °º®¦º °Ä—š¸
ɜɜėš¸ ­·ÉŠÉÁ°ºž}ÉÁž}ɜœÄ—š¸ ÉÁž}œ°´œ˜¦µ¥
°´°´œœ˜¦µ¥
˜¦µ¥
œ· œ·——¡º¡ºœ·—¡º ž¦³Áš«ž¦³Áš«
ž¦³Áš«
˜n°­»…£µ¡…°Š¤œ»
˜n˜n°°­»­»……£µ¡…°Š¤œ»
£µ¡…°Š¤œ» ¬¬¥r¥r ¬¥r
¡¦·
¡¦·„„ ®œn ®œn ¡¦·°°Å¤o„Ťo®œn   ¦´¦´ŠÉ ŠÉ °Å¤o
„¦³Á‹¸
„¦³Á‹¸  ¦´ŠÉ ˥˥Á…¸ „¦³Á‹¸
Á…¸¥¥ªªË¥…·Á…¸ …·ŠŠ ¥ª …·Š­®£µ¡¥» ­®£µ¡¥»­®£µ¡¥» ¦ž Ĩ»
Ãæž „¨»¦žn¤n¤Organophosphates
„¨»n¤ Organophosphates
Organophosphates :: :
š»š»ÁÁ¦¸¦¸¥¥œœ š»¨Î¨ÎµÁµ¦¸Å¥ Å¥ ¥œ¨·¨·¨Îʜʜµ‹¸‹¸Å¥
É É ¤´¤´Š¨·Š‡»‡»Êœ——‹¸É ­o­o¤´¤¤ŠÃ° ‡»Ã°— ­o¤Ã° ­·­·ŠŠ‡Ãž¦r ‡Ãž¦r­·Š‡Ãž¦r DDVP, DDVP,DDVP, methamidophos,
methamidophos, methamidophos, diazinon,
diazinon, diazinon,
¤³¤nªªŠŠ ¤³¤n
¤³¤n ™´™´ÉªÉª { {„ª„¥µª
Š¥µª ™´Éª {‡³œo „¥µª
‡³œo µµ „ªµŠ˜» ‡³œoµoŠoŠ„ªµŠ˜»oŠ ¸¸ÉžÉž»iœ»iœ ¸Éž»iœ chlorpyrifos,
„ªµŠ˜» chlorpyrifos, chlorpyrifos,pirimiphos
pirimiphos pirimiphos ethyl, ethyl,
ethyl,
Ÿ´Ÿ´„„¸¸ÅŚ¥ š¥Ÿ´„¸Åš¥¦µ¥ºÉ°œ·—¡º ž¦³Áš« ¨³ÁºÊ°‹»¨·œš¦¸¥r ®¦º°pirimiphos ­·ÉŠ°ºÉœÄ—š¸
pirimiphos ÉÁmethyl,
pirimiphosž}methyl,
œ°´œ˜¦µ¥˜n methyl,
parathion,
parathion, °­»parathion,
…£µ¡…°Š¤œ»¬¥r
œšoµ¥ž¦³„µ«„¦³š¦ªŠÁ„¬˜¦Â¨³­®„¦–r parathion
parathion parathion
methyl,methyl,
methyl, mevinphos,
mevinphos, mevinphos,
malathion,
malathion, malathion,
Á¦ºÉ°Š „ε®œ—¡ºÁž}œ¡º‡ª‡» ¤ÁŒ¡µ³
profenofos,
profenofos, ¡.«.
profenofos,
prothiophos,
prothiophos,ÓÖÖÓprothiophos, monocrotophos,
monocrotophos, monocrotophos,
dimethoate,
dimethoate, Áºdimethoate,
Ê°‹»¨omethoate,
·œš¦¸¥r ®¦º
omethoate, omethoate,°dicrotophos,
­·dicrotophos,
Ɋ°ºÉœÄ—š¸ ÉÁž}œ°´œ˜¦µ¥
dicrotophos,
œ·—¡º ž¦³Áš«
phosalone,
phosalone, phosalone,
triazophos,
triazophos, ˜n°triazophos,
­»…£µ¡…°Š¤œ»
fenitrothion,
fenitrothion, fenitrothion,´r
¡¦·„ ®œn°Å¤o ¦´ŠÉ „¦³Á‹¸Ë¥Á…¸¥ª …·Š ­®£µ¡¥»Ã¦žmethidathion, „¨»n¤methidathion,
methidathion, Organophosphates
ethion,
ethion,EPN ethion,
EPN ¨³ :EPN ¨³
¨³
‡º‡ºÉœÉœฉ่nnš»µาµ¥ย ¥Á¦¸‡º¥‡³œo
ɜœnµ¨Îµµ¥µÅ¥
‡³œo „„¸¸¨·  Êœµ¦´¦´‹¸ÉŠŸ´ÉŠÉ „¤´Ÿ´Ÿ´¸Š„„ ‡»¸¸¦´—¨¨ÉŠµªµª
Ÿ´Ÿ´‡³œo ­oŸ´¤„𠍸¨µª ¸¸ÉžÉž»iœ»iœ­·Š‡Ãž¦r ¸Éž»iœ azinphos azinphos DDVP, azinphos
ethyl
ethyl methamidophos,
ethyl diazinon,
¡µ
¡µ ¤³¤n¡µ ªŸ´Ÿ´Š„„™´¸¸Éª {„³Á¡¦µ
„Ÿ´¥µª
„³Á¡¦µ „¸ „³Á¡¦µ ‡³œo Ÿ´Ÿ´„„‡³Â¥Š µ „ªµŠ˜»
‡³Â¥Š ¥¸¥¸É®oŠÉ®¦n¦nµµ ¥¸É®¦nµ¸Éž»iœ
Ÿ´„‡³Â¥Š chlorpyrifos, pirimiphos ethyl,
¤Š¨´Ÿ´„„„¸Â¤Š¨´
¤Š¨´ Ś¥„ ­³¦³Â®œn
­³¦³Â®œn
­³¦³Â®œn Ÿ´Ÿ´„„¡¦ª ¡¦ªŸ´„ĝ´ ¡¦ª
ĝ´ ªª„„ĝ´ª„ „¨»n¤n¤pirimiphos
„¨» „¨»n¤ Pyrethroids
Pyrethroids
Pyrethroids methyl,
:: parathion,
:
™´™´ÉªÉª¨´¨´œœÁ˜µ Á˜µ ™´Éª„³®¨É
¨´„³®¨É
œÁ˜µÎµÎµž¨¸ „³®¨É
ž¨¸ ­o­o¤¤Îµžiž¨¸ ži°°¥¥­o³°¤ ¤³°¤
ži°¥ ³°¤ permethrin,parathion
permethrin, permethrin, methyl,
cypermethrin,
cypermethrin, mevinphos,
cypermethrin, cyhalothrin,
cyhalothrin, malathion,
cyhalothrin,
ĝ¤³„¦¼Ä¤³„¦¼
ĝ¤³„¦¼ ——Ÿ´Ÿ´„„„¦³ÁŒ— „¦³ÁŒ—— Ÿ´„„¦³ÁŒ— ˜³Å‡¦o ˜³Å‡¦o
˜³Å‡¦o Ÿ´Ÿ´„„Áž}Áž}—— Ÿ´„Áž}— profenofos,
fenvalerate,
fenvalerate, fenvalerate,
cyfluthrin
cyfluthrin prothiophos,
cyfluthrin
¨³ ¨³deltamethrin monocrotophos,
¨³ deltamethrin
deltamethrin
dimethoate, omethoate, dicrotophos,
„¨»n¤n¤°ºphosalone,
„¨» Ç::n¤°ºÉœÇtriazophos,
°ºÉœÉœÇ„¨» : fenitrothion,
Endosulfan methidathion,
Endosulfan Endosulfanethion, EPN ¨³
‡ºÉœnµ¥ ‡³œoµ Ÿ´„¸ ¦´ÉŠ Ÿ´„¸¨µª ¸Éž»iœ Carbamate
Carbamateazinphos Carbamate ethyl
Ÿ´Ÿ´„„¸¸Å¡µ
Ś¥ š¥Ÿ´„Ÿ´Ÿ´¸„„ō¸¸š¥ Ÿ´  „¦´¦´ŠÉ ¸ŠŸ´É „„¦³Á¡¦µ
„³Á¡¦µ Ÿ´Ã®¦³¡µ
¸ ¦´ŠÉ „¦³Á¡¦µ
„¦³Á¡¦µ „‡³Â¥ŠÃ®¦³¡µ
¡µ ¥¸É®¦n­®£µ¡¥»
µ
­®£µ¡¥» ­®£µ¡¥» ¦ž Escherichia
¦ž ÃEscherichia
Ãæž Escherichia coli coli
coli
Ÿ´Ÿ´„„‡³Â¥Š
‡³Â¥ŠÂ¤Š¨´ Ÿ´„„‡³Â¥Š ­³¦³Â®œn
­³¦³Â®œn
­³¦³Â®œn Ÿ´Ÿ´„„Ÿ´Â¡¦ª
­³¦³Â®œn „¡¦ª
¡¦ª œœÄ´
Ÿ´„˜o˜o¡¦ª ®°¤
®°¤ª˜o„œœ°¦r
®°¤ „¨»n¤Salmonella
ª¥rœ°¦rÁª¥r Salmonella
œ°¦rÁÁª¥r Salmonella Pyrethroids
spp. spp.:
spp.
‡º‡ºÉœÉœฉ่nn™´µาµ¥ย ɪ¥¨´‡º„»„»œÉ ¥¥Á˜µ
nōn
ōn „³®¨É
µ¥ ³°¤ „»¥Ån垨¸
³°¤ ³°¤
˜³Å‡¦o
˜³Å‡¦o ­o¤ži˜³Å‡¦o
Ÿ´Ÿ´°„„¥»»oŠ³°¤
oŠ Ÿ´„»oŠÅ°Žr
Å°Žr¨œ—rÅ°Žr¨œ—r permethrin, cypermethrin, cyhalothrin,
¨œ—r
ªnĝ¤³„¦¼
Ÿ´Ÿ´„„ªn œœŸ´Ÿ´Ÿ´„„„ªn —œ Ÿ´Ÿ´„„„¦³ÁŒ—
„¦³ÁŒ—
„¦³ÁŒ— „¦³ÁŒ—
ĝ´
ĝ´ªª„ ˜³Å‡¦o
„ĝ´ ĝ³¡¨¼ª„
ĝ³¡¨¼ Ÿ´„Áž} —
ĝ³¡¨¼ fenvalerate, cyfluthrin ¨³ deltamethrin
ŤŸ´™´™´„ªÉ ªÉ Ť
Ÿ´Ÿ´„„Ã…¤  { {„„¥µª
¥µª ™´ªÉ  {®œn „¥µª
®œn°°Å¤oŤo®œn
  ¦´¦´ÉŠÉŠ°Å¤o ¦´ÉŠ
¡¦·„„…¸…¸Ê®Ê®œ¼¡¦·
¡¦· œ¼­­„——…¸Ê®Ÿ´Ÿ´„œ¼„ž¨´ ­ž¨´—ŠŠŸ´„ž¨´Š „¨»n¤°ºÉœÇ :
Endosulfan
Å¥­—¨ÎµÅ¥­—
¨Î¨ÎµµÅ¥­— ­µ›µ¦–¦´
­µ›µ¦–¦´ ­µ›µ¦–¦´
““ Ž´Ž´“¨¨ÁºÁ¢°¦r
Á¢°¦r ‹»¨Ž´Å·œÅ¨—°°„ÅŽ—r
Ê°Carbamate Á¢°¦r
—°°„ÅŽ—r
š¦¸ ŗ°°„ÅŽ—r
¥r ®¦º °­·(SO
(SO ) (SO
Ɋ°ºÉœ22)ėš¸ ÉÁž}œ2)°´œ˜¦µ¥
œ·—¡º ž¦³Áš«
Ÿ´„¸Åš¥ Ÿ´„¸ ¦´ŠÉ „¦³Á¡¦µ ¡µ ž¦³µœ‹¸ ž¦³µœ‹¸ ž¦³µœ‹¸
­®£µ¡¥» œœÃ¦ž œ Escherichia ˜n°­»…coli
£µ¡…°Š¤œ»¬¥r
Á¤¨È—Ÿ´Â¤Š¨´ „‡³Â¥Š „ ¨¼„­³¦³Â®œnÁ—º°¥ ¡¦·„®o Ÿ´„¡¦ªŠ ˜oœ®°¤ ¸Éž»iœœ°¦rÁª¥r °³¢¨µšÈ °„Ž·œ ¸spp.
Salmonella 1 (Aflatoxin B1)
‡ºÉœnµ¥ „»¥Ån ³°¤ ˜³Å‡¦o Ÿ´„»oŠ Å°Žr¨œ—r
Ÿ´„ªnœ Ÿ´„„¦³ÁŒ— ĝ´ª„ ĝ³¡¨¼
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
76 Ÿ´„Ã…¤ ™´ªÉ  {„¥µª ®œn°Å¤o ¦´ÉŠ
¡¦·„…¸Ê®œ¼­— Ÿ´„ž¨´Š





ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๒
--------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ เบญจ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติ
บางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา
๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัย
อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคำแนะนำของ
คณะกรรมการกักพืชออกประกาศกำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พืชตามท้ายประกาศนี้เป็นพืชควบคุมเฉพาะ
ข้อ ๒ การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งพืชควบคุมเฉพาะตามข้อ ๑ ไปยังประเทศ
ตามท้ายประกาศนี้ ต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ข้อ ๓ ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ที่จะ
ตรวจสอบ ให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้

ประกาศฉบับนีใ้ ห้ใช้บงั คับนับตัง้ แต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒




(นายศุภชัย โพธิ์สุ)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
77
รายชื่อชนิดพืช ประเทศ และเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉนับที่ 2) พ.ศ. 2552

เชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตราย
ชนิดพืช ประเทศ
ต่อสุขภาพของมนุษย์
มะเขือ สหภาพยุโรป กลุ่ม Organophosphates :
นอร์เวย์ DDVP, methamidophos, diazinon,
chlorpyrifos, pirimiphos ethyl,
pirimiphos methyl, parathion,
parathion methyl, mevinphos, malathion,
profenofos, prothiophos, monocrotophos,
dimethoate, omethoate, dicrotophos,
phosalone, triazophos, fenitrothion,
methidathion, ethion, EPN และ
azinphos ethyl

กลุ่ม Pyrethroids :
permethrin, cypermethrin, cyhalothrin,
fenvalerate, cyflluthrin และ deltamethrin

กลุ่มอื่นๆ :
Endosulfan
Carbamate

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
78
หน้า ๓๖
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

ประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย
พ.ศ. ๒๕๕๒

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ฉ แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
กักพืช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ
เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร โดยคำแนะนำของคณะกรรมการกักพืชออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บุคคลใดประสงค์จะขอใบรับรองสุขอนามัย ให้ยื่นคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศ
นี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้
(๑) ใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสารตกค้าง ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักพัฒนาระบบ
และรับรองมาตรฐานสินค้าพืช หรือสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ก่อนการส่งออก
อย่างน้อยเจ็ดวัน
(๒) ใบรับรองสุขอนามัยสำหรับจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ของมนุษย์ ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ก่อน
การส่งออกอย่างน้อยเจ็ดวัน
ข้อ ๒ คุณสมบัติของผู้ขอใบรับรองสุขอนามัย
๒.๑ ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมวิชการเกษตร
๒.๒ ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการ
เกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร หรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับ โดยที่
(๑) มีแปลง GAP ของตนเอง หรือเกษตรกรเครือข่าย หรือ
(๒) ไม่มีแปลง GAP ของตนเอง แต่พืชส่งออกรวบรวมจากแปลง GAP ของ
เกษตรกร

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
79
หน้า ๓๗
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

๒.๓ ต้องมีโรงคัดบรรจุสินค้าที่ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐาน ตามหลัก
ปฏิบตั ทิ ดี่ ใี นการผลิตโดยกรมวิชาการเกษตรหรือมาตรฐานทีก่ รมวิชาการเกษตรยอมรับ ในกรณีไม่มโี รงคัด
บรรจุ สิ น ค้ า จะต้ อ งแจ้ ง ว่ า สิ น ค้ า ที่ ส่ ง ออกมาจากโรงคั ด บรรจุ สิ น ค้ า ที่ ไ ด้ รั บ การรั บ รองคุ ณ ภาพและ
มาตรฐาน ตามหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตโดยกรมวิชาการเกษตรหรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตร
ยอมรับ
ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบรับรองสุขอนามัยที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๒.๒ (๑) ต้องจัดทำระบบตรวจ
สอบย้อนกลับแผนการผลิต แผนการควบคุมระบบความปลอดภัยของพืช และการส่งออกแนบมาพร้อม
กับคำขอ
ข้อ ๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๑ และตรวจหลักฐานหรือเอกสารตาม
ข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว เห็นว่าถูกต้องและครบถ้วน และหลักฐานตามข้อ ๓ เห็นว่ามีระบบการควบคุม
สุขอนามัยที่มีประสิทธิภาพให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
๔.๑ กรณีผู้ขอได้รับ การรั บ รองมาตรฐานระบบการจั ด การคุ ณ ภาพการปฏิ บั ติ
ทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ตามข้อ ๒.๒ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองสุขอนามัยให้
กับผู้ขอ ตามแบบใบรับรองสุขอนามัยท้ายประกาศนี้ โดยไม่ต้องไปดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุม
เฉพาะ เพื่อตรวจสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
๔.๒ กรณีผู้ขอได้รับ การรั บ รองมาตรฐานระบบการจั ด การคุ ณ ภาพการปฏิ บั ติ
ทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ตามข้อ ๒.๒ (๒) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ เพื่อตรวจสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็น
อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
ข้อ ๕ ผู้ขอรับใบรับรองสุขอนามัย ตามข้อ ๒.๒ (๒) ต้องปฏิบัติ ดังนี้
๕.๑ จัดเตรียมพืชควบคุมเฉพาะที่จะส่งออก
๕.๒ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับ
มอบหมาย
ข้อ ๖ ชนิดของสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของ
มนุษย์ ที่จะตรวจสอบให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการกำหนด
พืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
80
หน้า ๓๘
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ
แล้วให้ดำเนินการตรวจสอบสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
เพื่อประกอบการขอใบรับรองสุขอนามัย
ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่ง
อื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแนบท้ายประกาศนี้ ให้ออก
ใบรับรองสุขอนามัยให้กับผู้ขอ ตามแบบใบรับรองสุขอนามัยท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙ ใบรับรองสุขอนามัยให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในใบรับรองสุขอนามัย แต่ทั้งนี้ไม่
เกินสามสิบวัน
ข้อ ๑๐ มาตรการตรวจสอบติดตามภายหลังได้รับใบรับรองสุขอนามัย พนักงานเจ้าหน้าที่
สุ่มเก็บตัวอย่างที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า หรือด่านตรวจพืชที่ส่งออก โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
๑๐.๑ กรณีผู้ขอได้รับใบรับรองสุขอนามัย ตามข้อ ๔.๑ หากพบสารตกค้างหรือ
เชือ้ จุลนิ ทรียห์ รือสิง่ อืน่ ใดทีเ่ ป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เกินเกณฑ์มาตรฐานทีก่ ำหนด โดยพบจาก
การสุ่มที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า หรือด่านตรวจพืชที่ส่งออก หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศปลาย
ทาง ครัง้ ที่ ๑ กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งเตือนผูส้ ง่ ออกเป็นลายลักษณ์อกั ษร และให้ผสู้ ง่ ออกชีแ้ จงสาเหตุ
และการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตภายในระยะเวลาทีก่ ำหนด ถ้าพบครัง้ ที่ ๒ ในพืชชนิด
เดิมภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันที่พบครั้งที่ ๑ กรมวิชาการเกษตรจะระงับระยะเวลาที่เหลือของ
ใบรับรองสุขอนามัย การส่งออกครัง้ ต่อไปต้องทำการตรวจวิเคราะห์เช่นเดียวกับผูม้ คี ณ ุ สมบัตติ ามข้อ ๒.๒
(๒) เป็นระยะเวลา ๓ ครัง้ ติดต่อกัน ก่อนอนุญาตให้ดำเนินการเช่นผูม้ คี ณ ุ สมบัตติ ามข้อ ๒.๒ (๑) ได้อกี
๑๐.๒ กรณีผู้ขอได้รับใบรับรองสุขอนามัย ตามข้อ ๘ หากพบสารตกค้างหรือเชื้อ
จุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยพบจากการ
สุ่มที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า หรือด่านตรวจพืชที่ส่งออก หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศปลายทาง
ครั้งที่ ๑ กรมวิชาการเกษตรจะแจ้งเตือนผู้ส่งออกเป็นลายลักษณ์อักษร ระงับระยะเวลาที่เหลือของ
ใบรับรองสุขอนามัย และให้ผู้ส่งออกชี้แจงสาเหตุและการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิต
ภายในระยะเวลาทีก่ ำหนด ถ้าพบครัง้ ที่ ๒ ในพืชชนิดเดิมภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วนั ทีพ่ บครัง้ ที่ ๑
กรมวิชาการเกษตรจะระงับระยะเวลาที่เหลือของใบรับรองสุขอนามัย การส่งออกครั้งต่อไปต้องทำการ
ตรวจวิเคราะห์สินค้าก่อนส่งออกทุกครั้ง เป็นระยะเวลา ๓ ครั้งติดต่อกัน ก่อนอนุญาตให้ดำเนินการเช่น
ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๒.๒ (๒) ได้อีก

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
81
หน้า ๓๙
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

ข้อ ๑๑ เหตุแห่งการระงับการใช้ใบรับรองสุขอนามัย
๑๑.๑ ผู้ยื่นคำขอแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต
จากแปลงที่ได้รับ การรับรองการผลิตอาหารปลอดภัยจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ระบบการ
จัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
๑๑.๒ ผลการตรวจติ ด ตามพื ช ส่ ง ออกพบการปนเปื้ อ นสารตกค้ า งหรื อ เชื้ อ
จุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
๑๑.๓ จงใจแจ้งข้อมูลเท็จหรือปกปิดข้อมูลที่มีผลต่อความปลอดภัยอาหาร
ข้อ ๑๒ ความในข้อ ๒.๒ ข้อ ๒.๓ ข้อ ๓ ข้อ ๔ มิให้นำมาใช้บังคับกับการขอใบรับรอง
สุขอนามัย เพื่อส่งพืชควบคุมเฉพาะไปประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ข้อ ๑๓ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของ
มนุษย์ ให้เป็นไปตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๑๔ ก่ อ นส่ ง ใบรั บ รองสุ ข อนามั ย ให้ กั บ ผู้ ข อให้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ เ รี ย กเก็ บ ค่ า
ธรรมเนียมใบรับรองสุขอนามัยตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

สมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
82

อัตราค่าตรวจสอบสารตกค้างหรือเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อ
สุขภาพของมนุษย์แนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. 2552

1. ค่าวิเคราะห์สารตกค้าง ตัวอย่างละ 3,500 บาท
2. ค่าวิเคราะห์จุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อ ตัวอย่างละ 1,000 บาท
สุขภาพของมนุษย์
3. ค่าวิเคราะห์อะฟลาทอกซิน ตัวอย่างละ 3,500 บาท
4. ค่าวิเคราะห์ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตัวอย่างละ 400 บาท


เกณฑ์มาตรฐานแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ. 2552

1. เกณฑ์มาตรฐานสารตกค้าง
(1) ให้ใช้ค่า Maximum Residue Limit (MRL) ของ Codex เว้นแต่ประเทศผู้ซื้อ
ประสงค์จะให้ใช้ค่าของประเทศผู้ซื้อ
(2) ให้ใช้ค่า Maximum Level ของสารเจือปนของ Codex เว้นแต่ประเทศผู้ซื้อ
ประสงค์จะให้ใช้ค่าของประเทศผู้ซื้อ
(3) ถ้าไม่มีค่า MRL หรือ ML ของ Codex และของประเทศผู้ซื้อ ให้ใช้ค่า MRL
หรือ ML ของประเทศไทย
2. เกณฑ์มาตรฐานจุลินทรีย์หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
(1) Escherichia coli น้อยกว่า 100 ซีเอฟยู (CFU) ต่อกรัม
(2) Salmonella spp. ต้องไม่พบใน 25 กรัม

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
83
Āîšć ģĥ
đúŠö ĢģĪ êĂîóĉđýþ ĥĨ Ü
ëčîć÷î
øćßÖĉÝÝćîčđïÖþć Ī öĊîćÙö ģĦĦĦ

ðøąÖćýÖøöüĉßćÖćøđÖþêø
đøČęĂÜ ÖćøĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČßĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð
îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ

éšü÷ðøąđìýĕì÷đðŨîõćÙĊĂîčÿĆââćüŠćéšü ÷ÖćøĂćøĆÖ×ćóČßøąĀüŠćÜðøąđìý (International


Plant Protection Convention : IPPC) àċęÜ êćöĂîčÿĆââćéĆÜÖúŠć üÖĞć ĀîéĔĀšð øąđìýÿöćßĉÖ
êšĂÜÖĞ ćĀîéöćêøÖćøêŠćÜ ė đóČęĂðŜ ĂÜÖĆî öĉĔĀš ēøÙĒúąýĆ ê øĎóČß ĒóøŠø ąïćéđךć ĕðĔîðøąđìýÿöćßĉ Ö
Ēúąðøąđìýĕì÷ĕéšøĆïÖćøĒÝšÜđêČĂîÝćÖÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿđÖĊę÷üÖĆïÖćøêøüÝóï
ýĆê øĎóČßĒúąÿćøêÖÙš ćÜðîđðŚŪĂ îĕðÖĆïÿĉî ÙšćóČß×ĂÜðøąđìýĕì÷ìĊęÿŠÜĕðÿĀõćó÷č ē øð đðŨ îøą÷ą ė
êĆĚÜĒêŠðŘ ģĦĥĪ ÝîÖøąìĆęÜðŦÝÝčïĆî đðŨî ÝĞćîüî ĨĢĦ ÙøĆĚÜ ÿŠÜñúÖøąìïêŠĂßČęĂđÿĊ÷ Ü×ĂÜðøąđìý
ÝċÜÝĞćđðŨîêšĂÜÖĞćĀîéöćêøÖćøĒúąĒîüìćÜĔîÖćøĒÖšĕ×ðŦâĀćéĆÜÖúŠćü
éĆ Ü îĆĚ î đóČę Ă đðŨ î Öćøðäĉ ïĆ êĉ ê ćöĂîč ÿĆ â âćéĆ Ü ÖúŠ ć ü ĒúąðŜ Ă ÜÖĆ î öĉ Ĕ Āš ÿ Āõćó÷č ē øðøąÜĆ ï
ÖćøîĞć đך ćÿĉ î Ùš ćóČ ßÝćÖðøąđìýĕì÷ Öøöüĉ ßćÖćøđÖþêøĔîåćîąĀîŠü ÷ÜćîìĊę öĊĂĞ ćîćÝÖĞć ÖĆï éĎĒ ú
ÖćøÿŠÜĂĂÖÿĉîÙšćóČßñĆÖ êćöóøąøćßïĆââĆêĉÖĆÖóČß ó.ý. ģĦġĨ ĒúąìĊęĒÖšĕ×đóĉęöđêĉö ĒúąóøąøćßïĆââĆêĉ
øąđïĊ÷ïïøĉĀćøøćßÖćøĒñŠîéĉî ó.ý. ģĦĤĥ ĒúąìĊęĒÖšĕ×đóĉęöđêĉö ĂĂÖðøąÖćýĕüš éĆÜêŠĂĕðîĊĚ
ךà Ģ ÖøöüĉßćÖćøđÖþêøÝąĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ óČßĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ ÿĞćĀøĆï
ÿĉîÙšćóČßñĆÖÿé ÝĞćîüî Ħ ÖúčŠö Ģħ ßîĉé êćöøć÷ßČęĂĒîïìšć÷ðøąÖćýîĊĚ ìĊęÝąÿŠÜĕðÿĀõćó÷čēøð
îĂøŤđ ü÷Ť Ē úąÿöćóĆî íøĆå ÿüĉ ÿ êŠ ĂđöČęĂ ñĎš ÿŠÜ ĂĂÖĕéšð äĉïĆ êĉê ćööćêøÖćøÙüïÙč ö óĉđ ýþÖćøÿŠ ÜĂĂÖñĆ Ö
ĒúąñúĕöšÿéĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ Ēîïìšć÷ðøąÖćýîĊĚ
ךà ģ ðøąÖćýÞïĆïîĊĚ ĔĀšöĊñúĔßšïĆÜÙĆïîĆïêĆĚÜĒêŠüĆîìĊę Ģĥ öĊîćÙö ó.ý. ģĦĦĥ đðŨîêšîĕð

ðøąÖćý è üĆîìĊę ĩ öĊîćÙö ó.ý. ģĦĦĥ


ÝĉøćÖø ēÖýĆ÷đÿüĊ
ĂíĉïéĊÖøöüĉßćÖćøđÖþêø

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
84
øć÷ßČęĂóČß Ħ ÖúčöŠ Ģħ ßîĉé
Ēîïìšć÷ðøąÖćýÖøöüĉßćÖćøđÖþêø
đøČęĂÜ ßąúĂÖćøĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČßĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð
îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ
-------------------------------------

Ģ. óČß Ocimum spp. ĕéšĒÖŠ Öąđóøć ēĀøąóć ĒöÜúĆÖ ÷ĊĀę øŠć


ģ. óČß Capsicum spp. ĕéšĒÖŠ óøĉÖĀ÷üÖ óøĉÖßĊĚôŜć óøĉÖ×ĊĚĀîĎ
Ĥ. óČß Solanum melongena ĕéšĒÖŠ öąđ×ČĂđðøćą öąđ×ČĂ÷ćü öąđ×ČĂöŠüÜ öąđ×ČĂđĀúČĂÜ
öąđ×ČĂ×ćü öąđ×ČĂ×Čęî
ĥ. óČß Momordica charantia ĕéšĒÖŠ öąøąÝĊî öąøą×ĊĚîÖ
Ħ. óČß Eryngium foetidum ĕéšĒÖŠ ñĆÖßĊòøĆÜę

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
85
Āîšć ģģ
đúŠö ĢģĪ êĂîóĉđýþ ĦĤ Ü
ëčîć÷î
øćßÖĉÝÝćîčđïÖþć ģĢ öĊîćÙö ģĦĦĦ

ðøąÖćýÖøöüĉßćÖćøđÖþêø
đøČęĂÜ ÖćøĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČßĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð
îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ (ÞïĆïìĊę ģ) ó.ý. ģĦĦĦ

êćöðøąÖćýÖøöüĉ ß ćÖćøđÖþêø đøČę Ă Ü ÖćøĂĂÖĔïøĆ ï øĂÜÿč × ĂîćöĆ ÷ óČ ß ĒúąĔïøĆ ï øĂÜ


ÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ úÜüĆîìĊę ĩ öĊîćÙö ģĦĦĥ
ÖĞćĀîéĔĀšóČß ÝĞćîüî Ħ ÖúčŠö Ģħ ßîĉé êćöøć÷ßČęĂĒîïìšć÷ðøąÖćýéĆÜ ÖúŠćüìĊę ÿŠÜĂĂÖĕð÷Ć Ü
ÿĀõćó÷čē øð îĂøŤ đü÷ŤĒ úąÿöćóĆî íøĆå ÿüĉÿ êšĂÜðäĉïĆêĉê ćööćêøÖćøÙüïÙčö óĉđýþÖćøÿŠÜ ĂĂÖñĆ Ö
ĒúąñúĕöšÿéĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ îĆĚî
đîČęĂÜÝćÖÖøöüĉßćÖćøđÖþêøĕéšøĆïÖćøĒÝšÜđêČĂîÝćÖÿĀõćó÷čēøðđÖĊę÷üÖĆïÖćøêøüÝóïýĆêøĎóČß
ðŦâĀćÿćøêÖÙšćÜ ĒúąđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷ŤðîđðŚŪĂîĕðÖĆïÿĉîÙšćóČß×ĂÜðøąđìýĕì÷ìĊęÿŠÜĕðÿĀõćó÷čēøð đóĉęöđêĉö
ÖøöüĉßćÖćøđÖþêøĔîåćîąĀîŠü÷ÜćîìĊęöĊĂĞćîćÝÖĞćÖĆïéĎĒúÖćøÿŠÜĂĂÖÿĉîÙšćóČßñĆÖ êćöóøąøćßïĆââĆêĉÖĆÖóČß
ó.ý. ģĦġĨ ĒúąìĊęĒÖšĕ×đóĉęöđêĉö ĒúąóøąøćßïĆââĆêĉøąđïĊ÷ïïøĉĀćøøćßÖćøĒñŠîéĉî ó.ý. ģĦĤĥ
ĒúąìĊęĒÖšĕ×đóĉęöđêĉö ĂĂÖðøąÖćýĕüš éĆÜêŠĂĕðîĊĚ
ךà Ģ ðøąÖćýîĊĚđøĊ÷ÖüŠć “ðøąÖćýÖøöüĉßćÖćøđÖþêø đøČęĂÜ ÖćøĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČß
ĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ (ÞïĆïìĊę ģ)
ó.ý. ģĦĦĦ”
ךà ģ ðøąÖćýîĊĚ ĔĀšĔßšïĆÜÙĆïîĆïêĆĚÜĒêŠüĆîìĊę ĤĢ öÖøćÙö ģĦĦĦ đðŨîêšîĕð
ךà Ĥ ÖĞćĀîéĔĀšóČß ÝĞćîüî ħ ßîĉé êćöøć÷ßČęĂĒîïìšć÷ðøąÖćýîĊĚ ìĊęÝąÿŠÜĕðÿĀõćó
÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿêšĂÜðäĉïĆêĉê ćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþÖćøÿŠÜĂĂÖñĆÖĒúąñúĕöšÿé
ĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ Ēîïìšć÷ðøąÖćýÖøöüĉßćÖćøđÖþêø đøČęĂÜ ÖćøĂĂÖĔïøĆïøĂÜ
ÿč×ĂîćöĆ÷óČßĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ
úÜüĆîìĊę ĩ öĊîćÙö ģĦĦĥ
ךà ĥ ÖøöüĉßćÖćøđÖþêø ÝąĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČßĒúąĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïóČß
êćöךà Ĥ êŠĂđöČęĂñĎšÿŠÜĂĂÖĕéšðäĉïĆêĉêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþĔîךà Ĥ

ðøąÖćý è üĆîìĊę ħ öÖøćÙö ó.ý. ģĦĦĦ


ÝĉøćÖø ēÖýĆ÷đÿüĉ
ĂíĉïéĊÖøöüĉßćÖćøđÖþêø

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
86

øć÷ßČ
øć÷ßČęĂęĂóČóČßß ħħ ßîĉßîĉéé
Ēîïìš
Ēîïìšć÷ðøąÖćýÖøöüĉ
ć÷ðøąÖćýÖøöüĉßßćÖćøđÖþêø ćÖćøđÖþêø
đøČđøČęĂęĂÜ ÜÖćøĂĂÖĔïøĆ
ÖćøĂĂÖĔïøĆïïøĂÜÿč øĂÜÿč××ĂîćöĆ
ĂîćöĆ÷÷óČóČßßĒúąĔïøĆ
ĒúąĔïøĆïïøĂÜÿčøĂÜÿč××ĂîćöĆ
ĂîćöĆ÷÷ÿĞÿĞćĀøĆ
ćĀøĆïïÿĉÿĉîîÙšÙšćóČćóČßßñĆñĆÖÖÿéĕðÿĀõćó÷č
ÿéĕðÿĀõćó÷čēøð
ēøð
îĂøŤ
îĂøŤđü÷Ť
đü÷ŤĒĒúąÿöćóĆ
úąÿöćóĆîîíøĆíøĆåÿüĉ
åÿüĉÿÿ (ÞïĆ
(ÞïĆïïìĊìĊę ģ)
ę ģ) ó.ý.
ó.ý.ģĦĦĦ ģĦĦĦ
 -------------------------------------
-------------------------------------
Ģ.Ģ. ëĆëĆęüòŦęüòŦÖÖ÷ćü ÷ćüVignaunguiculata
Vignaunguiculata(Yard øć÷ßČlong
(Yard ęĂlong
óČß beans)
ħ ßîĉé
beans)
ģ.ģ. Ùąîš Ùąîšć ćBrassica Ēîïìšć÷ðøąÖćýÖøöüĉ
BrassicaalboglabraL.H.
alboglabraL.H. Bailey
Bailey(Chinese ßćÖćøđÖþêø
(Chinese kale)
kale)
đøČĤ.ęĂĤ.Ü ÖćøĂĂÖĔïøĆ
üćÜêč
üćÜêčšÜ šÜBrassicaïøĂÜÿčchinensis
Brassica ×ĂîćöĆ÷óČ(Chinese
chinensis ß(Chinese
ĒúąĔïøĆïcabbage)
øĂÜÿč×ĂîćöĆ÷ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćóČßñĆÖÿéĕðÿĀõćó÷čēøð
cabbage)
ĥ.ĥ. ñĆñĆÖÖßĊßĊĕì÷ îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆ(Thai
ĕì÷Coriandrumsativum
Coriandrumsativum îíøĆåcoriander)
(Thai ÿüĉ ÿ (ÞïĆïìĊę ģ) ó.ý. ģĦĦĦ
coriander)
Ħ.Ħ. ÿąøąĒĀîŠ ÿąøąĒĀîŠMentha Menthacordifolia -------------------------------------
cordifolia Opiz
OpizexexFresenFresen(Kitchen
(KitchenMint) Mint)
Ģ.ħ.ħ.ëĆęü×ċòŦ×ċĚîÖĚîÞŠ÷ćü Vignaunguiculata
ÞŠć÷ć÷Apiumgraveolens
Apiumgraveolens(Chinese(Yard
(Chineselongcelery)
beans)
celery)
ģ. Ùąîšć Brassica alboglabraL.H. Bailey (Chinese kale)
Ĥ. üćÜêčšÜ Brassica chinensis (Chinese cabbage)
ĥ. ñĆÖßĊĕì÷ Coriandrumsativum (Thai coriander)
Ħ. ÿąøąĒĀîŠ Mentha cordifolia Opiz ex Fresen (Kitchen Mint)
ħ. ×ċĚîÞŠć÷ Apiumgraveolens (Chinese celery)



ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
87
-Ģ-
öćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþÖćøÿŠÜĂĂÖñĆÖĒúąñúĕöšÿé
ĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿĒîïìšć÷ðøąÖćýÖøöüĉßćÖćøđÖþêø
đøČęĂÜ ĀúĆÖđÖèæŤ üĉíĊÖćø ĒúąđÜČĂę îĕ×Öćø×ĂĒúąĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČß
ÿĞćĀøĆïÿĉîÙšćñĆÖñúĕöšÿéÿŠÜĂĂÖĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ ó.ý. ģĦĦħ
-----------------------------
ךà Ģ ĔîöćêøÖćøîĊĚ
“øąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč” Āöć÷ÙüćöüŠć øąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝčêćööćêøÖćø
ÙüïÙčöóĉđýþÖćøÿŠÜĂĂÖñĆÖñúĕöšÿéĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷Ť ĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ
ךà ģ ñĎšÿŠÜĂĂÖàċęÜðøąÿÜÙŤÝą×ĂĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČß êšĂÜÝéìąđïĊ÷îđðŨîñĎšÿŠÜĂĂÖñĆÖĒúą
ñúĕöšÿéĕð÷ĆÜÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷ŤĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ ìĊęÖúčŠöðøąÿćîÖćøêøüÝøĆïøĂÜöćêøåćî ÿĞćîĆÖóĆçîć
øąïïĒúąøĆïøĂÜöćêøåćîÿĉîÙšćóČß ÖøöüĉßćÖćøđÖþêø
ךà Ĥ ñúñúĉêóČßìĊęÝąÿŠÜĂĂÖêćöךà ģ êšĂÜöćÝćÖĒðúÜđÖþêøÖøđÙøČĂ׊ć÷×ĂÜēøÜÙĆé
ïøøÝč ēé÷ēøÜÙĆéïøøÝčöĊĀîšćìĊęĔĀšÙüćöøĎÙš üćöđךćĔÝĒÖŠđÖþêøÖøđÖĊę÷üÖĆïÖćøéĎĒú ÙüïÙčö ÖćøÝĆéÖćøĒðúÜóČß
ĔîđøČęĂÜÿćøđÙöĊìĊęĂîčâćêĔĀšĔßš ÿćøđÙöĊìĊęĀšćöĔßš ÖćøðîđðŚŪĂîđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť ĒúąÖćøÙüïÙčöýĆêøĎóČß êúĂéÝî
đĂÖÿćøÖćøïĆîìċÖêŠćÜė ēé÷ÿŠÜĀúĆÖåćîĒÿéÜÖćøđðŨîđÖþêøÖøđÙøČĂ׊ć÷ ĒúąĔĀšÝĆéìĞćđĂÖÿćøéĆÜêŠĂĕðîĊĚ
(Ģ) ÿøčðøć÷ßČęĂßîĉéóČß øć÷ßČęĂđÖþêøÖø øĀĆÿĒðúÜđÖþêøÖø ĒñîÖćøðúĎÖ Ēúą
ߊüÜđüúćđÖĘïđÖĊę÷ü ñúñúĉêóČßêŠĂóČĚîìĊęðúĎÖ êćöĒïïïĆâßĊøć÷ßČęĂóČßĒúąđÖþêøÖø
(ģ) ÿĞćđîćĔïøĆïøĂÜÖćøñúĉêóČßêćööćêøåćîøąïïÖćøÝĆéÖćøÙčèõćóÖćøðäĉïĆêĉ
ìćÜÖćøđÖþêøìĊęéĊÿĞćĀøĆïóČß (ëšćöĊ)
(Ĥ) ïĆâßĊøć÷ßČęĂÿćøđÙöĊìĊęĔßšĔîĒðúÜðúĎÖóČßĒêŠúąßîĉé
(ĥ) ĒñîĒúąñúÖćøÙüïÙčöÖćøÝĆéÖćøĒðúÜđĂÖÿćøĒúąïĆîìċÖêŠćÜė ìĊęđÖĊę÷üךĂÜ đߊî
(Ö) ïĆîìċÖÖćøêøüÝđ÷Ċę÷ö/êøüÝêĉéêćöĒðúÜđÖþêøÖøìčÖĒðúÜēé÷øąïč
ÖĉÝÖøøöÙüćöëĊę ĔĀšÙøĂïÙúčöÙüćöðúĂéõĆ÷éšćîđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷ŤĒúąÿćøóĉþêÖÙšćÜ øüöëċÜýĆêøĎóČß
(×) ÖćøÝĆéÖćøîĚĞćìĊęĔßšĔîĒðúÜðúĎÖ
(Ù) ÿćøđÙöĊ/ðčŞ÷/ăĂøŤēöî ìĊęĔßšĔîĒðúÜðúĎÖ
(Ü) đÙøČęĂÜöČĂ/üĆÿéčĂčðÖøèŤÖćøđÖþêø (ÖøèĊÖćøñúĉêóČßĂĉîìøĊ÷)Ť
(Ý) ÖćøđÖĘïđÖĊę÷üĒúąÖćøÝĆéÖćøĀúĆÜÖćøđÖĘïđÖĊę÷ü

/(Þ) ÖćøÙüïÙčö…

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
88
-ģ-
(Þ) ÖćøÙüïÙčöÙüćöðúĂéõĆ÷éšćîđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷ŤĒúąÿćøđÙöĊ
(ß) ÖćøÝĆéÖćøýĆêøĎóČß
(à) ÖćøĔĀšÙüćöøĎš/ ÖćøòřÖĂïøöéšćîđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť ÿćøđÙöĊ Ēúą ýĆêøĎóČß
(Ħ) đĂÖÿćøÿĆââćøąĀüŠćÜđÖþêøÖøÖĆïēøÜÙĆéïøøÝč (Farm Contract)
ךà ĥ ēøÜÙĆéïøøÝčêšĂÜĕéšøĆïÖćøøĆïøĂÜÙčèõćóöćêøåćîēøÜÜćîñúĉêÿĉîÙšćóČßêćöćêøåćî
ĀúĆÖðäĉïĆêĉìĊęéĊĔîÖćøñúĉêÿĉîÙšćđÖþêøéšćîóČß ēé÷öĊÖćøðøą÷čÖêŤĔßšøąïïÖćøüĉđÙøćąĀŤĂĆîêøć÷ĒúąÝčéüĉÖùêìĊę
êš Ă ÜÙüïÙč ö Ĕî×ĆĚ î êĂîÖćøÙüïÙč ö ÖøąïüîÖćøñúĉ ê ÝćÖÖøöüĉ ß ćÖćøđÖþêøĀøČ Ă öćêøåćîìĊę
ÖøöüĉßćÖćøđÖþêø÷ĂöøĆï ēé÷ĔĀšÿŠÜĀúĆÖåćîĒÿéÜøąïïÖćøÙüïÙčöÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷ ĕéšĒÖŠ
(Ģ) ÿĞćđîćĔïøĆïøĂÜēøÜÜćîñúĉêÿĉîÙšćóČßêćööćêøåćîēøÜÜćîñúĉêÿĉîÙšćóČßêćö
öćêøåćîĀúĆÖðäĉïĆêĉìĊęéĊĔîÖćøñúĉêÿĉîÙšćđÖþêøéšćîóČß
(ģ) ĒñîÖćøñúĉêóČß ĒúąÖĞćúĆÜÖćøñúĉêóČßêŠĂüĆî/ÿĆðéćĀŤ/đéČĂî
(Ĥ) ĀúĆÖđÖèæŤÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îđÖþêøÖø/ñĎšÿŠÜöĂï (Approved Vendor List: AVL)
ìčÖĒðúÜìĊę×Ă×ċĚîìąđïĊ÷îøąïïïĆâßĊēøÜÙĆéïøøÝčêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþ êšĂÜöĊñúÖćøêøüÝüĉđ ÙøćąĀŤ
đßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť ĒúąÿćøóĉþêÖÙšćÜ êćöðøąÖćýÖøąìøüÜđÖþêøĒúąÿĀÖøèŤ đøČęĂÜÖĞćĀîéóČßđðŨîóČßÙüïÙčö
đÞóćą ó.ý. ģĦĦģ ēé÷ĀšĂÜðäĉïĆêĉÖćøõćÙøĆåĀøČĂĀšĂÜðäĉïĆêĉÖćøìĊęĕéšøĆïÖćøøĆïøĂÜøąïï ISO/IEC 17025
ĒúąñúüĉđÙøćąĀŤñŠćîêćöđÖèæŤìĊęÖĞćĀîé
(ĥ) ĒñîĒúąñúÖćøÙüïÙčöøąïïÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷×ĂÜÿĉîÙšćìčÖóČß
êĆĚÜĒêŠÖćøøĆïüĆêëčéĉïÝîëċÜñúĉêõĆèæŤÿčéìšć÷ ēé÷øąïčÖĉÝÖøøö ÙüćöëĊę ĒúąĒÿéÜđĂÖÿćø ÖćøìüîÿĂïøąïï
ÖćøÙüïÙčöéšćîđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť ÿćøóĉþêÖÙšćÜ ĒúąýĆêøĎóČß
(Ħ) ×ĆĚîêĂîÖćøúšćÜĒúąĒïïôĂøŤöÖćøïĆîìċÖ øüöëċÜđĂÖÿćøÖćøýċÖþćÖćøúšćÜđóČęĂ
úéđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷ŤĒúąÖćøÖĞćÝĆéýĆêøĎóČß
(ħ) đĂÖÿćøÖćøüĉđÙøćąĀŤĂĆîêøć÷ĒúąÝčéüĉÖùêìĊęêšĂÜÙüïÙčö đóČęĂĒÿéÜëċÜÖćø
ðøą÷čÖêŤĔßšøąïï ĕéšĒÖŠ
Ö) ÙèąìĞćÜćîüĉđÙøćąĀŤĂĆîêøć÷ĒúąÝčéüĉÖùêìĊęêšĂÜÙüïÙčö (HACCP Team)
×) øć÷úąđĂĊ÷éñúĉêõĆèæŤ
Ù) ×ĆĚîêĂîÖćøñúĉê (Flow Chart)
Ü) ĒñîüĉđÙøćąĀŤĂĆîêøć÷ĒúąÝčéüĉÖùêìĊęêšĂÜÙüïÙčö (HACCP Plan)
Ý) Öćø÷Čî÷ĆîÙüćöëĎÖêšĂÜ×ĂÜÙŠćüĉÖùê (CCP Validate)

/Þ) Öćøìïìüî…

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
89
-Ĥ-
Þ) ÖćøìüîÿĂïøąïïüĉđÙøćąĀŤĂĆîêøć÷ĒúąÝčéüĉÖùêìĊęêšĂÜÙüïÙčö
(HACCP Verification)
(Ĩ) ĀúĆÖåćîĒÿéÜøąïïÖćøêøüÝÿĂï÷šĂîÖúĆïÖøąïüîÖćøñúĉêêĆĚÜĒêŠÖćøøĆï
üĆêëčéĉïÝîëċÜñúĉêõĆèæŤÿčéìšć÷ đߊî ÖćøïŠÜßĊĚñúĉêõĆèæŤ đóČęĂÖćøêøüÝÿĂï÷šĂîÖúĆï ×ĆĚîêĂîÖćøêøüÝÿĂï
÷šĂîÖúĆï ×ĆĚîêĂîÖøąïüîÖćøđøĊ÷ÖÙČîñúĉêõĆèæŤ (Mock recall)
ךà Ħ óîĆÖÜćîđÝšćĀîšćìĊę ÖøöüĉßćÖćøđÖþêøêøüÝÿĂïđĂÖÿćøĀúĆÖåćîĒúą×šĂöĎúéĆÜÖúŠćü
ĒúšüÝąéĞćđîĉîÖćøêøüÝðøąđöĉî è ĒðúÜđÖþêøÖø ĀøČĂēøÜÙĆéïøøÝč ĒúšüĒêŠÖøèĊ ĀćÖóïüŠćëĎÖêšĂÜÙøïëšüî
ĒúąđðŨîĕðêćöĀúĆÖđÖèæŤìĊęÖĞćĀîéÝą×ċĚîïĆâßĊēøÜÙĆéïøøÝčĕüšĔîøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč
ךà ħ ēøÜÙĆéïøøÝč êćöøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč öĊĀîšćìĊęêšĂÜøĆÖ þćĕüšàċęÜøąïïÖćø
ÙüïÙčöÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷×ĂÜÿĉîÙšćóČß (éšćîđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť/ÿćøóĉþêÖÙšćÜ/ýĆêøĎóČß) ĒúąêšĂÜÿŠÜñú
ÖćøÙüïÙčöÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷ÿĉîÙšćóČßĔĀšÿĂéÙúšĂÜÖĆïĒñîÖćøÙüïÙčöÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷
×ĂÜÿĉîÙšćóČ ß êćöךà Ĥ (ĥ) Ēúą×š Ă ĥ (ĥ) ĒúąêšĂ ÜÿŠÜ ñúÖćøÙüïÙč ö đòŜ ćøąüĆÜ ×ĂÜēøÜÙĆéïøøÝč (Self
Monitoring) ĔĀšÖøöüĉßćÖćøđÖþêø ìčÖ ħ đéČĂî
ךà Ĩ óîĆÖ ÜćîđÝšćĀîš ćìĊę×ĂÜÖøöüĉßćÖćøđÖþêøÝąéĞćđîĉîÖćøêøüÝêĉéêćö è ĒðúÜ
đÖþêøÖø Ă÷ŠćÜîšĂ÷ Ģ ÙøĆĚÜêŠĂðŘ ìĆĚÜîĊĚóîĆÖÜćîđÝšćĀîšćìĊę×ĂÜÖøöüĉßćÖćøđÖþêøÿćöćøëđךćêøüÝÿĂïךĂöĎú
Ēúąðøąđöĉî è ĒðúÜđÖþêøÖøĕéšēé÷ĕöŠêšĂÜĒÝšÜĔĀšìøćïúŠüÜĀîšć ÖøèĊóïךĂöĎúìĊęöĊñúêŠĂÙčèõćóĒúąÙüćö
ðúĂéõĆ÷ĂćĀćø đóČęĂìüîÿĂïÖĉÝÖøøöÖćøÙüïÙčöÖćøéĎĒúÝĆéÖćøĒðúÜđÖþêøÖøđÙøČĂ׊ć÷×ĂÜēøÜÙĆéïøøÝč
êćöךà Ĥ ĒúąóĉÝćøèćìĞćÖćøÿčŠöêĆüĂ÷ŠćÜóČßüĉđÙøćąĀŤđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť ÿćøóĉþêÖÙšćÜ ĒúąýĆêøĎóČß
ךà ĩ óîĆÖÜćîđÝšćĀîšćìĊę×ĂÜÖøöüĉßćÖćøđÖþêø êøüÝêĉéêćö è ēøÜÙĆéïøøÝč Ă÷ŠćÜîšĂ÷
Ģ ÙøĆĚÜêŠĂðŘ ìĆĚÜîĊĚóîĆÖÜćîđÝšćĀîšćìĊÖę øöüĉßćÖćøđÖþêøÿćöćøëđךćêøüÝÿĂïךĂöĎúĒúąðøąđöĉî è ēøÜÙĆéïøøÝč
ĕéšēé÷ĕöŠêšĂÜĒÝšÜĔĀšìøćïúŠüÜĀîšćÖøèĊóïךĂöĎúìĊęöĊñúêŠĂÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷ĂćĀćø đóČęĂìüîÿĂï
øąïïÖćøÙüïÙčöÙčèõćóĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷ĂćĀćø êćöךà ĥ ĒúąóĉÝ ćøèćìĞćÖćøÿčŠöêĆüĂ÷ŠćÜÿĉîÙšćóČß
üĉđÙøćąĀŤđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť ÿćøóĉþêÖÙšćÜ ĒúąýĆêøĎóČß
ךà Ī ĀćÖēøÜÙĆéïøøÝč êćöøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč öĊÖćøđðúĊę÷îĒðúÜךĂöĎúìĊöę Ċñú

/îĆïĒêŠüĆî...

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
90
-ĥ-
êŠĂÙčèõćó ĒúąÙüćöðúĂéõĆ÷éšćîĂćĀćøêšĂÜĒÝšÜךĂöĎúĒÖŠÖøöüĉßćÖćøđÖþêø õć÷Ĕî Ĩ üĆî
îĆïĒêŠüĆîìĊęđðúĊę÷îĒðúÜךĂöĎú

ךà Ģġ ÖøèĊöĊÖćøêøüÝóïðŦâĀćÿč×ĂîćöĆ÷Ēúąÿč×ĂîćöĆ÷óČß ÖøöüĉßćÖćøđÖþêø


ÝąéĞćđîĉîÖćø éĆÜîĊĚ
Ģ) ÖøèĊêøüÝóïýĆêøĎóČß è ÿëćîìĊęĔĀšïøĉÖćøÿŠÜĂĂÖ éĆÜîĊĚ
(Ö) êøüÝóïýĆêøĎóČß ÙøĆĚÜìĊę Ģ öĊĀîĆÜÿČĂĒÝšÜđêČĂî ĔĀšēøÜÙĆéïøøÝčĒÝšÜÿćđĀêč
ĒúąöćêøÖćøĒÖšĕ× ēøÜÙĆéïøøÝčÿćöćøëÿŠÜĂĂÖĕéšêćöðÖêĉ
(×) êøüÝóïýĆêøĎóČß ĔîóČßßîĉéđéĉö ÙøĆĚÜìĊę ģ õć÷ĔîÿćöÿĉïüĆî îĆïÝćÖüĆîìĊęĕéšøĆï
ÖćøĒÝšÜđêČĂîđðŨîĀîĆÜÿČĂ ÙøĆĚÜìĊę Ģ øąÜĆïÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆé
ïøøÝčĔîóČßìĊęêøüÝóïýĆêøĎóČß đðŨîđüúćÿĉïĀšćüĆî
(Ù) êøüÝóïýĆêøĎóČß ĔîóČßßîĉéđéĉö ÙøĆĚÜìĊę Ĥ õć÷ĔîÿćöÿĉïüĆî îĆïÝćÖüĆîìĊęÙøï
ÖĞćĀîéđüúćÖćøøąÜĆïÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč ÙøĆĚÜìĊę ģ
øąÜĆïÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč ĔîóČßìĊęêøüÝóïýĆêøĎóČß đðŨî
đüúćÿćöÿĉïüĆî
ģ) ÖćøîĆïÙøĆĚÜÖćøòśćòŚî ÖøèĊĕéšøĆïĒÝšÜđêČĂîÝćÖðøąđìýñĎšîĞćđךć éĆÜîĊĚ
(Ö) êøüÝóïýĆêøĎóČß ÙøĆĚÜìĊę Ģ öĊĀîĆÜÿČĂĒÝšÜđêČĂî ĔĀšēøÜÙĆéïøøÝčĒÝšÜÿćđĀêč
ĒúąöćêøÖćøĒÖšĕ× ēøÜÙĆéïøøÝčÿćöćøëÿŠÜĂĂÖĕéšêćöðÖêĉ
(×) êøüÝóïýĆêøĎóČß ĔîóČßßîĉéđéĉö ÙøĆĚÜìĊę ģ õć÷ĔîÿćöÿĉïüĆî îĆïÝćÖüĆîìĊęĕéšøĆï
ÖćøĒÝšÜđêČĂîđðŨîĀîĆÜÿČĂ ÙøĆĚÜìĊę Ģ øąÜĆïÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆé
ïøøÝčĔîóČßìĊęêøüÝóïýĆêøĎóČß đðŨîđüúćÿĉïĀšćüĆî
(Ù) êøüÝóïýĆêøĎóČß ĔîóČßßîĉéđéĉö ÙøĆĚÜìĊę Ĥ õć÷ĔîÿćöÿĉïüĆî îĆïÝćÖüĆîìĊęÙøï
ÖĞćĀîéđüúćÖćøøąÜĆïÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îêćööćêøÖćøÙüïÙč öóĉđýþøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč ÙøĆĚÜìĊę ģ
øąÜĆïÖćø×ċĚîìąđïĊ÷îêćööćêøÖćøÙüïÙčöóĉđýþøąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč ĔîóČßìĊęêøüÝóïýĆêøĎóČß đðŨî
đüúćÿćöÿĉïüĆî
Ĥ) ÖćøêøüÝóïýĆêøĎóČßĔîóČßßîĉéĂČęîė è ÿëćîìĊęĔĀšïøĉÖćøÿŠÜĂĂÖ ÝąéĞćđîĉîÖćøêćöðøąÖćý
ÖøöüĉßćÖćøđÖþêø đøČęĂÜ ĀúĆÖđÖèæŤ üĉíĊÖćø ĒúąđÜČęĂîĕ×Öćø×ĂĒúąĂĂÖĔïøĆïøĂÜÿč×ĂîćöĆ÷óČßÿĞćĀøĆïÿĉîÙšć

/ĥ) ÿĉîÙšć...

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
91
-Ħ-

ñĆÖñúĕöšÿéÿŠÜĂĂÖĕðÿĀõćó÷čēøð îĂøŤđü÷Ť ĒúąÿöćóĆîíøĆåÿüĉÿ ó.ý. .ģĦĦħ


ĥ) ÖćøêøüÝóïđßČĚĂÝčúĉîìøĊ÷Ť Ēúą/ĀøČĂÿćøêÖÙšćÜ ÝąéĞćđîĉîÖćøêćöøąđïĊ÷ïÖøöüĉßćÖćøđÖþêø
üŠćéšü÷ÖćøêøüÝÿĂïøĆïøĂÜöćêøåćîēøÜÜćîñúĉ êÿĉîÙšćóČßêćööćêøåćîĀúĆ Öðäĉ ïĆêĉìĊęéĊĔîÖćøñúĉêÿĉîÙšć
đÖþêøéšćîóČß ó.ý. ģĦĦĤ ĒúąìĊęĒÖšĕ×đóĉęöđêĉö
ךà ĢĢ ĂíĉïéĊÖøöüĉßćÖćøđÖþêøĀøČĂñĎìš ĊęĕéšøĆïöĂïĀöć÷ÝąÿĆęÜëĂîßČęĂēøÜÙĆéïøøÝč ĂĂÖÝćÖ
øąïïïĆâßĊøć÷ßČęĂēøÜÙĆéïøøÝčéĆÜÖúŠćü đöČęĂóïüŠćēøÜÙĆéïøøÝčîĆĚîĒÝšÜךĂöĎúĂĆîđðŨîđìĘÝêćöðøąÖćýîĊĚ

ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
92
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
93
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
94
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
95
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
96
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
97
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร
98
กิตติกรรมประกาศ

คณะผูจ้ ดั ทำขอขอบพระคุณ ผูต้ รวจประเมินเพือ่ การรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตรทุกท่าน
ซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า
สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ระบบการรับรองโรงงานผลิตสินค้าเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8
ISBN : 978-974-436-662-7 และขอบพระคุณ ผูป้ ระกอบการโรงงานผลิตสินค้าเกษตรทุกประเภท ทีไ่ ด้ให้ความช่วยเหลือ
และร่วมมือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านโรงคัดบรรจุสินค้าเกษตร โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร โรงรมสารเคมี
ที่ปรึกษา 1. นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ ผูอ้ ำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ศูนย์กระจายสินค้า และโรงรวบรวมสินค้าเกษตร
2. นางบุษรา จันทร์แก้วมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร

คณะผู้จัดทำ ว่าที่ ร.ต. ธงชัย วรวงศากุล
นางสาวอุมาภรณ์ สุจริตทวีสุข
นายเกรียงไกร สุภโตษะ
นางสาวอุมาพร สีวิลัย
นางดวงภร ตั้งมงคลวณิช
นางสาวฐิติภา ทรัพย์ปรีชา
นายสุรพันธ์ พงษ์เจริญ
นายวรเดช ทองธรรมชาติ

พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2549 จำนวน 2,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2550 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 1)
พิมพ์ครั้งที่ 3 กันยายน 2552 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 2)
พิมพ์ครั้งที่ 4 กันยายน 2554 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 3)
พิมพ์ครั้งที่ 5 มิถุนายน 2556 จำนวน 2,000 เล่ม (แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 4)

กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า (กตม.)
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (สมพ.)
กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2940-7422, 0-2940-6464 โทรสาร 0-2940-6470
จำนวน 2,000 เล่ม จำนวน 105 หน้า
พิมพ์ที่ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
โทรศัพท์ 0-2525-4807-9 โทรสาร 0-2525-4855

You might also like