You are on page 1of 4

หนาหลัก Plearn เพลิน > Business > Marketing > เทรนดรถไฟฟา EV Car: บทเรียนจากญี่ปุน

เทรนดรถไฟฟา EV Car: บทเรียนจากญี่ปุน

By เกตุวดี Marumura 0 Share

รถยนตไฟฟาทางเลือกใหมที่ดี นํามาสูการปรับตัวครั้งใหญของอุตสาหกรรมยานยนต โดยเฉพาะประเทศผูนําเทคโนโลยีจาก


ญี่ปุน สูการจับตามองจากทั่วโลก และบทเรียนที่นาเรียนรูสําหรับประเทศไทย ขณะเดียวกันก็ยังมีบางประเด็นที่ทั้งรัฐบาลและ
บริษัทเอกชนตองใหความใสใจ

9 ปกอน... “โตโยตา พรีอุส” กลายเปนรถไฮบริดรุนแรกของโลกที่สามารถผลิตและจําหนายในเชิงพาณิชย กลาวคือผลิตขายปริมาณมาก ๆ ได

จุดเริ่มตนของรถไฮบริดรุนนี้ จริง ๆ แลว เริ่มตั้งแตชวงป ค.ศ. 1975 หลังจากทุกประเทศทั่วโลกตองเผชิญกับวิกฤตินํ้ามันในชวงป ค.ศ. 1973


แตกวาโตโยตาจะผลิตเครื่องยนตพิเศษที่ประหยัดนํ้ามันไดจริงนั้น ก็ลวงเขาชวงป ค.ศ.  1980 แตเครื่องยนตยังดีไมพอ เมื่อเขาชวงป ค.ศ.
1993 โตโยตาผลิตรถตนแบบสําเร็จ แตคาดวายังเร็วเกินกวาความตองการของตลาดในยุคนั้น (และราคายังสูงอยูมาก)

กวารถพรีอุสจะคลอดสูตลาดผูบริโภค โตโยตาตองอดทนรอจนถึงป ค.ศ. 1997

ดวยการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุน ซึ่งจายเงินชดเชยใหผูที่ซื้อรถไฮบริดจํานวนรถไฮบริดเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในป ค.ศ. 2016 รถไฮบริดมีสวนแบง


การตลาดอยูรอยละ 9.1 แลว

ขณะที่ความพยายามของโตโยตากวาสามสิบปกําลังจะเริ่มผลิดอกออกผล บริษัทก็ตองเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งใหญ... การ


เขามาของรถยนตพลังไฟฟา (Electric Vehicle: EV) นั่นเอง
 
เครดิตภาพ : EV World

การปรับตัวของคายรถญี่ปุน
โตโยตาตองเผชิญกับการตัดสินใจครั้งใหญ... จะทุมเทพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดตอไป หรือจะหันมาพัฒนา EV เพื่อไลตามคายรถใหญ ๆ ใน
อเมริกาและยุโรป

ขณะที่โตโยตาและฮอนดามัวแตทุมเทพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดนั้น นิสสันก็หันมาพัฒนารถยนตไฟฟาและสามารถจําหนาย Nissan Leaf รถยนต


ไฟฟาของตัวเองไดในป ค.ศ. 2010 และมุงมั่นผลิตรถ EV เพื่อเจาะตลาดตอไป

เมื่อเห็นกระแสคายรถทั่วโลกหันไปทาง EV มากขึ้น ในที่สุด ในป ค.ศ. 2015 โตโยตาตัดสินใจจับมือรวมกับมาสดาเพื่อพัฒนารถ EV อยางจริงจัง


และในปนี้ ทั้งสองบริษัทก็ประกาศรวมทุนสรางรถพลังไฟฟาดวยกัน

กระแสรถ EV ในญี่ปุน
ปจจุบัน รถยนตไฟฟาในญี่ปุนยังมีจํานวนแค 6 หมื่นกวาคัน หรือประมาณ รอยละ 0.1 เทานั้น (ขอมูลป 2016 จาก ischool) ประชาชนญี่ปุนสวน
ใหญยังคงลังเลและรอศึกษาขอมูลตอไปเรื่อย ๆ

ฝงรัฐบาลเองก็ไมยอมแพ เดินหนาสนับสนุนรถยนตพลังไฟฟาอยางเต็มที่ เนื่องจากในป ค.ศ. 2015 รัฐบาลญี่ปุนไดตกลงในสนธิสัญญาปารีสวา


จะลดการปลอยกาสเรือนกระจกอีกรอยละ 26 ภายในป ค.ศ. 2030 นี้ การใชรถยนตไฟฟาเพิ่มขึ้นจึงเปนปจจัยสนับสนุนสําคัญที่จะชวยลด
ปรากฏการณโลกรอนได

รัฐบาลญี่ปุนจึงดําเนินมาตรการตาง ๆ เพื่อรณรงคใหคนใชรถยนตไฟฟามากขึ้น เชน

1. มอบเงินสนับสนุน
ซึ่งทํามาตั้งแตการสนับสนุนรถไฮบริด โดยจายเงินสนับสนุนประมาณ 4 แสนเยน (1.5 แสนบาท) แกผูซื้อรถไฟฟา (จํานวนเงินอาจแตกตางไป
ตามรุน)

2. รัฐบาลทองถิ่นก็รวมดวย
นอกจากเงินสนับสนุนจากรัฐบาลแลว ในบางเขต รัฐบาลทองถิ่นยังมอบเงินสนับสนุนใหอีก 5 หมื่นเยน

3. ลดภาษี
ผูซื้อรถยนตไฟฟา จะไดลดภาษีรถยนตไปอีกประมาณ 1.2 แสนเยน

แมราคารถยนตไฟฟาจะยังคอนขางสูงอยู (ประมาณ 3 ลานกวาเยน) แตดวยการสนับสนุนจากรัฐบาล และคุณสมบัติในการประหยัดเชื้อเพลิง


รถยนตไฟฟาควรเปนตัวเลือกที่นาสนใจสําหรับประชาชนญี่ปุน

แต... ผูบริโภคก็ยังกลัวที่จะหันมาใชรถยนตไฟฟา

ความกังวลอันดับแรก คือ จะมีที่ชารจพอหรือไม รถยนตไฟฟาวิ่งไดเต็มที่ระยะทางประมาณ 400 กวากิโลเมตรเทานั้น หากไฟหมด ก็ไมสามารถ


วิ่งตอไดเลย (ตางจากรถยนตนํ้ามัน ที่เราอาจซอนมอเตอรไซคไปซื้อนํ้ามันมาเติมได)
ทางรัฐบาลและบริษัทเอกชนญี่ปุนก็พยายามแกปญหานี้ ดวยการเพิ่มสถานีชารจไฟ โดยปจจุบันมีแทนชารจแบบดวนอยู 7,100 แหง และสถานี
ชารจแบบปกติกวา 2.8 หมื่นแหง ซึ่งรวมแลวมีจํานวนใกลเคียงกับจํานวนของสถานีบริการนํ้ามันเลยทีเดียว

สถาบันวิจัยพลังไฟฟาของญี่ปุนไดวิเคราะหวา หากญี่ปุนสามารถสรางสถานีชารจไฟไดทุก 30 กิโลเมตร ผูขับขี่ไมตองหวงปญหาไฟหมดแนนอน

หากหารจํานวนสถานีชารจกับความยาวของถนนทั้งหมด สถานีชารจไฟจะมีทุก 26.5 กิโลเมตร แตปญหาในปจจุบัน คือ สถานีชารจมีใหบริการ


ในเมืองใหญ ๆ จํานวนมาก แตในจังหวัดเล็ก ๆ จํานวนที่ชารจอาจยังไมครอบคลุมนัก

ปจจุบัน มีบริษัทเอกชนกอตั้งเว็บไซต ชื่อ EV Gogo โดยเปนคอมมูนิตี้ของคนขับรถยนตไฟฟา ผูขับสามารถอัพโหลดภาพสถานีชารจ ใหคะแนน


หรือรายงานความเสียหายตาง ๆ ได (คลาย ๆ เว็บ Wongnai แตเปนเวอรชั่นสถานีชารจ)
 

ตัวอยางภาพ ที่ชาวเว็บ EV Gogo ชวยกันอัพโหลดภาพ


 

ภาพแผนที่สถานีชารจที่ User ชวยกันปกหมุด

โจทยของประเทศญี่ปุน
รถยนตไฟฟานั้น ดูเสมือนเปนทางเลือกใหมที่ดี แตยังมีบางประเด็นที่ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนคํานึงอยู ไดแก

1. ประหยัดนํ้ามันแนหรือ?
ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลญี่ปุนไดกลาวไวอยางนาสนใจ คือ การหมั่นทบทวนวา รถยนตไฟฟาดีตอสิ่งแวดลอมแนหรือ

กลาวคือ ตัวรถยนตไฟฟานั้น ประหยัดนํ้ามัน และลดการปลอยคารบอนไดออกไซดก็จริง แตในการผลิตกระแสไฟฟานั้น หากญี่ปุนยังใชเชื้อเพลิง


จากนํ้ามันหรือถานหินในการผลิตกระแสไฟฟา ปริมาณกาซเรือนกระจกอาจไมไดลดลงเทาที่ตั้งเปาไวก็ได โดยเฉพาะอยางยิ่ง หลังเกิดเหตุการณ
ภัยพิบัติสึนามิ ทําใหโรงไฟฟาปรมาณูไมสามารถกลับมาผลิตกระแสไฟไดอยางปรกติ

2. การปรับตัวของอุตสาหกรรมรถยนต

ในญี่ปุนนั้น อุตสาหกรรมรถยนตสรางงานใหแกประชากรกวา 5.3 ลานคน หรือประมาณรอยละ 8.3 ของประชากร นอกจากนี้ อุตสาหกรรมนี้ยัง


สงผลดีตออุตสาหกรรมอื่น ๆ เชน อุตสาหกรรมเหล็ก สถานีบริการนํ้ามัน ตลอดจนธุรกิจสงออกรถยนต เรียกงาย ๆ คือ อุตสาหกรรมรถยนต เปน
หนึ่งในอุตสาหกรรมสรางรายไดอยางดีใหแกประเทศญี่ปุน

ทวา หากทั่วโลกปรับมาใชรถยนตพลังไฟฟา ซึ่งโครงสรางรถเรียบงาย ใชอะไหลรถยนตนอยกวารุนปรกติถึงรอยละ 40 ซัพพลายเออรอะไหล


รถยนตสวนใหญอาจไดรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

ขณะเดียวกัน ผูผลิตรถญี่ปุนอาจสูญเสียความสามารถในการแขงขันไป จากเดิม จุดแข็งของบริษัทญี่ปุน คือ การผลิตแบบ Just-in-Time ไลนการ


ผลิตสามารถผลิตรถยนตคละแบบ คละรุนไดตามออเดอร ซึ่งการจะสรางระบบนี้ไดนั้น ผูผลิตตองมีความสัมพันธที่แข็งแกรงและไดรับความรวม
มือรวมใจจากซัพพลายเออรนับรอยราย เราจึงมักเห็นโรงงานอะไหลรถยนตญี่ปุน ตั้งอยูลอมรอบโรงงานผูผลิตรถยนต เพื่อจัดสงอะไหลไดตรง
เวลา ซึ่งเปนการยากที่บริษัทผลิตรถจากประเทศอื่น ๆ จะลอกเลียนแบบได (โดยมาก อะไหลมาจากคนละประเทศ จึงตองสั่งลวงหนาทีละมาก ๆ
ไมสามารถทําแบบ Just-in-Time ได)

ทวา เทคโนโลยี EV กําลังทําใหจุดแข็งดังกลาว ไมไดกลายเปนพลังอีกตอไป ไลนการผลิตจะเรียบงายขึ้น เนื่องจากใชอะไหลนอยลง แขงกันที่


ศักยภาพของแบตเตอรี่แทน

บทเรียนสําหรับประเทศไทย

1. บทบาทที่สําคัญของรัฐบาล

จากสถานการณของญี่ปุนขางตน จะเห็นวา รัฐบาลมีสวนสําคัญมากในการผลักดันกระแสรถยนตไฟฟานี้ ตั้งแตการสนับสนุนการซื้อรถ ผาน


มาตรการทางภาษีและเงินสนับสนุน การชวยภาคเอกชนกอตั้งสถานีชารจไฟฟา ผูเกี่ยวของในอุตสาหกรรมนี้ จึงมีเปนจํานวนมาก ตั้งแตผูผลิตรถ
ซัพพลายเออร บริษัทผลิตแทนชารจ โรงไฟฟา ตลอดจนกระทรวงตาง ๆ อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสิ่งแวดลอม

การสรางกระแสใชรถยนตไฟฟานี้ จึงไมอาจเกิดไดเพียงแคการผลักดันจากภาคเอกชนเทานั้น รัฐบาลตองประเมินสถานการณวา

…ทําอยางไรใหรถยนตไฟฟา กลายเปนรถยนตประหยัดพลังงานและลดการใชนํ้ามันอยางแทจริง (เชน หาแหลงผลิตไฟฟาพลังงานหมุนเวียน


หรือสนับสนุนการผลิตไฟฟาจากพลังนํ้ามากขึ้น) วางนโยบายใหชัดเจนเองวา ตองการสราง

...ทําอยางไรใหมีโครงสรางพื้นฐาน โดยเฉพาะอยางยิ่ง สถานีชารจ พอเพียงตอความตองการของประชาชน

2. การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม

บริษัทเอกชนในอุตสาหกรรมรถยนตตองเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

สําหรับบริษัทที่ทําดานแบตเตอรี่ ซึ่งเปนชิ้นสวนสําคัญของรถยนตไฟฟา นี่อาจเปนโอกาสสําคัญในการเรียนรูเทคโนโลยีและพัฒนาสินคา


เนื่องจากยังมีความตองการแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานไดนาน และเรงความเร็วใหไดสูงกวานี้ (พานาโซนิคกลายเปนผูผลิตแบตเตอรี่อันดับ 1 ของ
โลกดวยสวนแบงการตลาดรอยละ 16.5)

สําหรับซัพพลายเออรอะไหลและชิ้นสวนรถยนตตาง ๆ บางรายอาจเผชิญกับยอดขายลดลงในอนาคตอันใกลนี้ อาจตองปรับเทคโนโลยีที่มีใน


ปจจุบัน ไปนําเสนออุตสาหกรรมอื่น หรือหันมาพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทยรถยนตไฟฟาแทน

และสําหรับคนที่อยากมีรถในฝนก็สามารถวางแผนไดดวยตัวเอง ที่ Plan your money ไมวาจะเปนทั้งการคํานวณสินเชื่อหรือการลงทุนเพื่อรถที่


คุณหมายตาไว ไมแนหรอก เมื่อรถยนตพลังไฟฟา (Electric Vehicle: EV) เขามาใกลพอจะเอื้อมถึง คุณเองก็อาจจะเปนคนหนึ่งที่สามารถเปน
เจาของมันไดเหมือนกัน

Tags: Japan Marumura Plan your money Technology

RECOMMENDED

You might also like