You are on page 1of 10

Images haven’t loaded yet.

Please exit printing, wait for images to load, and try


George Orwell: 1984 to print again.
โลกไม่พึงประสงค์ที่โดนจับตามองทุกย่างก้าว

Unnamed Sheep Follow


Feb 13, 2017 · 4 min read

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า หนังสือนิยาย 1984 ของจอร์จ ออร์เวล


กลายเป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งในเว็บแอมะซอน ซึ่งในรายงานดังกล่าวชี้ว่า
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งให้ยอดจำหน่ายหนังสือ 1984 เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙,๐๐๐ มา
จากเมื่อ เคลลีแอนน์ คอนเวย์ ที่ปรึกษาของโดนัลด์ ทรัมป์ได้พูดออกมาขณะให้
สัมภาษณ์ในรายการ “พบสื่อมวลชน” ช่องเอ็นบีซีว่า

“Don’t be so overly dramatic about it, Chuck. You’re


saying it’s a falsehood, and … our press secretary,
Sean Spicer, gave alternative facts to that”

“อย่าทำให้มันกลายเป็นละครมากเกินไป ชัค คุณกำลังจะบอกว่ามันเป็นความ


เท็จและ … หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ของเรา ฌอน สไปเซอร์ได้ให้ข้อเท็จจริง
ทางเลือก”

คำว่า ข้อเท็จจริงทางเลือก — alternative facts — กลายเป็นประโยคเด็ดของวัน


และหลายวันหลังจากนั้น

เรื่องนี้มีที่มาจาก ฌอน สไปเซอร์ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ของทำเนียบขาวได้


จัดแถลงข่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๗ ได้กล่าวหาสื่อมวลชน
ได้ประเมินจำนวนคนที่มาร่วมพิธีสาบานตนของโดนัลด์ ทรัมป์ต่ำกว่าความเป็น
จริง เพราะจำนวนคนที่มาร่วมพิธีสาบานตนของโดนัลด์ ทรัมป์มากที่สุดเท่าที่
เคยมีมา คือมีคนมาประมาณ ๗๒๐,๐๐๐ คน

แต่สื่อมวลชนอเมริกันหลายสำนัก เช่น หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ สถานีโทร


ทัศน์เอบีซี และซีเอ็นเอ็นได้โต้แย้งตัวเลขที่นายสไปเซอร์กล่าวอ้างว่าไม่ได้มีคน
มาร่วมพิธีมากขนาดนั้น

คำว่า ข้อเท็จจริงทางเลือก — alternative facts — กลายเป็นประโยคเด็ดของวัน


และหลายวันหลังจากนั้น

หนังสือ 1984 ของจอร์จ ออร์เวล วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. ๑๙๔๙ เขียนถึง


ระบอบเผด็จการ (ในสมัยนั้นคือเทียบเคียงสหภาพโซเวียต) คาดกันว่าเนื้อหา
ว่าด้วยสภาพสังคมที่อาจเกิดขึ้นได้ในยุคปัจจุบันทำให้หนังสือเล่มนี้มีคนสนใจ
อ่านกันมากขึ้น โดยเฉพาะแนวคิดของโดนัลด์ ทรัมป์หลายอย่างที่ไม่สนใจ
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (อ้างว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องหลอกลวงของ
ประเทศจีน) การกระตุ้นความหวาดกลัวต่อต่างชาติ (ชาวมุสลิมและบรรดาผู้
อพยพ) และความพยายามสร้างภาพว่าผู้นำจะปกป้องพวกเขาได้

บิ๊กบราเธอร์ กับประโยคเด็ด “The Big Brother is Watching You” หรือ “พี่ใหญ่


(ท่านผู้นำ) จับตามองคุณอยู่” มีจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ติดตั้งทุกหนแห่ง ๒๔
ชั่วโมงทำหน้าที่แพร่ภาพโฆษณาชวนเชื่อ และบันทึกเสียงประชาชนทั้งในที่
สาธารณะและในบ้านเรือนอาคาร ก็ไม่ได้ไกลตัวประชาชนอเมริกันเพราะไม่นาน
มานี้เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนได้เปิดเผยความจริงอันน่ากลัวว่าสภาความมั่นคงแห่ง
ชาติ (National Security Agency — NSA) ก็เฝ้าดักฟังความเคลื่อนไหวของ
ประชาชนเข้าข่ายละเมิด

ความพยายามจะครอบงำและบิดเบือนความจริง “ข้อเท็จจริงทางเลือก” — 
alternative facts ที่ฌอน สไปเซอร์ และทีมงานของโดนัลด์ ทรัมป์ บอกว่ามีคน
มาร่วมงานพีธีสาบานตนของโดนัลด์ ทรัมป์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งที่มี
ภาพถ่ายให้เห็นชัดเจนว่าคนมาร่วมงานน้อยมาก ข้อเท็จจริงทางเลือกก็ไม่ต่าง
ไปจากการบินเบือนที่อ้างอิงในนิยายว่า

is the freedom to say that two plus two make four,”


even though the Party will force him to agree that
“TWO AND TWO MAKE FIVE

มีเสรีภาพพอจะพูดว่าสองบวกสองทำให้สี่ “แม้ว่าพรรคจะบังคับให้เขายอมรับ
ว่า สองบวกสองเท่ากับห้า

(อ่านเรื่อง 2+5=5 ประกอบได้ที่นี่)

ความคิดแบบชาตินิยมแบบที่โดนัลด์ ทรัมป์กำลังโฆษณาชวนเชื่อว่าจะทำให้
อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง ก็ไม่ต่างจากแนวคิดของ “พี่ใหญ่” ที่ครอบงำโดยมอบ
ความฝันต่อประชาชนว่าจะรวยด้วยล็อตตารี เชื่อตามท่านผู้นำว่า สงครามคือ
สันติภาพ เสรีภาพคือการเป็นทาส และความไม่รู้คือพลัง

นอกจาก 1984 แล้วยังมีนิยายเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับสังคมเผด็จการ เช่น แอนิมอล


ฟาร์ม ของจอร์จ ออร์เวล เบรฟนิวเวิลด์ ของอัลดัส ฮักซ์ลีย์ ฟาร์เรนไฮห์ 451 ของ
เรย์ แบรดบิวรี เดอะแฮนเมดส์เทล ของ มาร์กาเรต แอตวู้ด

ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร หรือรู้สึกว่าอยู่ในสภาวะเผด็จการ มักจะมีการกล่า


วอ้างถึงนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์เสมอ แม้แต่เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ได้
รับตำแหน่งประธานธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ยังมีคนพูดถึง 1984 จนกลายเป็น
ปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง เป็นเพราะอะไร?

เกี่ยวกับหนังสือ
ช่วงระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๓ มีการประชุม
ครั้งสำคัญที่สถานฑูตสหภาพโซเวียตประจำอีหร่าน เรียกว่าการประชุม
เตหะราน (Tehran Conference) ระหว่าง โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต ธี
โอดอร์ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ วินสตัน เชอร์ชิ
ลล์นายกรัฐมนตรีอังกฤษ สามประเทศที่เป็นสามยักษ์ใหญ่ เหตุการณ์นี้และการ
แบ่งขั้วเลือกข้างในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นแรงบันดาลใจให้จอร์จ ออร์เวลล์
นำมาใช้เป็นสภาพจำลองของโลกใน 1984 จอร์จ ออร์เวลล์เคยร่วม
สงครามกลางเมืองสเปน ช่วงระหว่างค.ศ. ๑๙๓๖ — ๑๙๓๙ โดยอยู่ฝ่ายพรรค
แรงงานสามัคคีนิยมมาร์กซิสต์ แต่แล้วพบว่ากลุ่มผู้นำพรรคเริ่มเปลี่ยนจากลัทธิ
คอมมิวนิสต์เป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ ฟรานซิสโก ฟรานโกเป็นผู้นำสเปน
ตั้งแต่ปฏิวัติสำเร็จในปีค.ศ. ๑๙๓๙ และดำรงตำแหน่งผู้นำจนกระทั่งเสียชีวิตใน
ปีค.ศ. ๑๙๗๕

จอร์จ ออร์เวลล์เขียนเรื่อง 1984 ช่วงระหว่างปีค.ศ. ๑๙๔๗ — ๑๙๔๘ ช่วงนั้น


สงครามโลกครั้งที่สองจบแล้วแต่บรรยากาศยังอึมครึม และเป็นช่วงเริ่มยุค
สงครามเย็น เดิมทีเขาตั้งใจจะใช้ชื่อเรื่องว่า ลาส์ตแมนออฟยุโรป (Last Man of
Europe) แต่เปลี่ยนเป็น 1984 เพราะเฟรด วอร์เบิร์ก ผู้พิมพ์โฆษณาของจอร์จให้
คำแนะนำว่ามันจะ “ขาย” มากกว่า ที่มาของชื่อ 1984 ออกจะเป็นปริศนา ความ
เชื่อหนึ่งอ้างว่าเป็นเพราะสมาคมเฟเบียน (Fabian Society — กลุ่มสังคมนิยมใน
อังกฤษ) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. ๑๘๘๔ บ้างก็ว่านิยายเรื่องดิไอออนฮีล ของแจ็ก
ลอนดอน ซึ่งเป็นเรื่องโลกไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับกลุ่มการเมืองที่ยึดครองบริบูรณ์
ในปีค.ศ. 1984 จากบทนำของนิยาย 1984 ฉบับสำนักพิมพ์เพนกวิน เขียนว่า
เดิมทีจอร์จจะเขียนให้เหตุการณ์เกิดขึ้นในปีคงศ. ๑๙๘๐ แล้วเปลี่ยนเป็นค.ศ.
๑๙๘๒ แล้วเปลี่ยนเป็น ค.ศ. ๑๙๘๔

เสร็จสมบูรณ์วางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๙


เกี่ยวกับเนื้อหา
1984 กล่าวถึงโลกเลวร้ายในอนาคต (ซึ่งกลายเป็นอดีตไปแล้วในปัจจุบัน) โลก
เหลือเพียง ๓ รัฐใหญ่ (ในนิยายใช้คำว่า Super State) คือโอเชียเนีย ยูเรเซีย
และอีสเตเซีย (ถ้าเป็นเรื่องจริง ประเทศไทยคงอยู่ในอิสเตเซีย) และยังมีเขต
อิสระที่อยู่ในแนวกันชนของทั้งสามรัฐซึ่งทั้งสามรัฐก็พยายามครอบครองดิน
แดนอิสระเหล่านั้นให้ได้

เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้น ณ ลอนดอน เมืองหลวงของแอร์สตริปวัน (หรือประเทศ


อังกฤษ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโอเชียเนีย ภายใต้การปกครองของพรรค
สังคมนิยมอังกฤษ (English Socialism แต่ “ภาษาใหม่” ใช้คำว่า Ingsoc) ระบบ
ปกครองใช้วิธีโฆษณาชวนเชื่อให้เคารพเชื่อฟัง “พี่ใหญ่” (Big Brother) ทุกคน
จะต้องคิดเหมือนกันหมดใครคิดแตกแยกไปจากที่พี่ใหญ่กำหนดถือเป็น
อาชญากรรมทางความคิด และมีตำรวจ ความคิดคอยดูแลใกล้ชิด ทุกหนแห่ง
แม้แต่ในสถานที่ส่วนตัวก็มีเครื่องฉายภาพซึ่งปิดไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นกล้องสอด
ส่องประชาชนและคอยฉายภาพพี่ใหญ่พร้อมสโลแกน พี่ใหญ่กำลังมองคุณอยู่
(BIG BROTHER IS WATCHING YOU) หรือไม่ก็เป็นโฆษณาชวนเชื่อเรื่องต่าง
ๆ ทุกคนต้องเชื่อตามคำขวัญของพรรค

WAR IS PEACE สงครามคือสันติภาพ

FREEDOM IS SLAVERY เสรีภาพคือการเป็นทาส

IGNORANCE IS STRENGTH ความไม่รู้คือพลัง

ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (totalitarianism)
ระบบการปกครองใน 1984 เป็นระบบเผด็จการสมบูรณ์แบบ ครอบงำความคิด
จากก้นบึ้งของความติด ผ่านสี่กระทรวงคือ กระทรวงสันติภาพ (สำหรับทำ
สงครามเพื่อสันติภาพ) กระทรวงความจริง (สำหรับเผยแพร่ความจริงจากรัฐ)
กระทรวงเศรษฐกิจ (สำหรับควบคุมการลงทุนและระบบการเงิน) กระทรวงความ
รัก (สำหรับควบคุมคัดสรรและคัดเลือกเผ่าพันธุ์ประชากร)

ลดความเป็นปัจเจกชน
สภาพหนึ่งในโอเชียเนียที่น่าสนใจคือ ไม่ปล่อยพื้นที่ว่างสำหรับปัจเจกชนทุกสิ่ง
อยู่ภายใต้การเฝ้าดูของพรรคอิงซ็อค ทุกหนแห่งในโอเซียเนียจะมีเทเลสกรีน
หรือจอภาพขนาดใหญ่ฉายภาพโฆษณาชวนเชื่อและข้อความสื่อสารสั่งการของ
พี่ใหญ่ แม้แต่ในบ้านซึ่งเป็นสถานที่ส่วนตัวก็ไม่เว้น จอภาพนี้ปิดไม่ได้และยังทำ
หน้าที่เป็นกล้องโทรทัศน์คอยจับตาการเคลื่อนไหวพูดคุย ไม่ว่าใครก็ไม่มีเวลา
คิดหรือพูดคุยซึ่งจะนำไปสู่การจับกลุ่มคิดและทำตัวแปลกแยกไปจากสังคมที่
พรรคชี้นำ การกระทำมีทั้งแบบเปิดเผยและแอบแฝง เช่นโอไบรอัน บุคคลที่วินส
ตันคิดว่าจะเป็นเพื่อนต่อต้านรัฐ กลับกลายเป็นสายลับของรัฐ

ทุกคนจึงระมัดระวังตัว เพราะ “พี่ใหญ่เฝ้ามองคุณอยู่”

แต่ชนชั้นแรงงานส่วนใหญ่ไม่โดนบังคับให้มีเทเลสกรีนในบ้าน เหมือน “สมาชิก


พรรควงนอก” ไม่ใช่เพราะได้รับอภิสิทธิ์อะไร แต่พรรคมองชนชั้นแรงงานไม่ต่าง
จากสัตว์ Proles and animals are free เพราะพวกเขามองว่าสามารถควบคุม
ชนชั้นแรงงานได้โดยการมอมเมาวิธีอื่น

ในความเป็นจริงไม่นานมานี้ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนก็ได้เปิดเผยโครงการปริซึมและ


การดำเนินงานต่าง ๆ ของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ของสหรัฐ
ที่แทรกซึมดักฟังการติดต่อสื่อสารของประชาชน

ลัทธิบูชาบุคคล (Cult of Personality)


กลุ่มผู้นำรัฐโอเชียเนียใช้ลัทธิบูชาบุคคลสร้าง พี่ใหญ่ ขึ้นมา พี่ใหญ่ผู้นี้ตามเรื่อง
เล่าของพรรคก็คือผู้นำพรรคอิงซ็อค (Ingsoc) หรือ England Socialist) ซึ่ง
สามารถแย่งชิงการนำได้แบบเบ็ดเสร็จหลังสหรัฐอเมริกาควบรวมกับอังกฤษ
และอัฟริกาใต้ไม่นาน เขาและเอมมานูเอล โกลด์สตีนได้วางรากฐานและระบบ
ต่าง ๆ จนกระทั่งเอมมานูเอลเริ่มรู้สึกว่าพี่ใหญ่เปลี่ยนอุดมการณ์ไปจากเดิม ภาย
หลังจึงแยกตัวมาตั้งกลุ่มบราเธอร์ฮู้ดซึ่งมีวัตถุประสงค์ล้มพรรคอิงซ็อค

ใน 1984 ไม่ได้เอ่ยว่าพี่ใหญ่ชื่อจริงว่าอะไร หรือ ตัวจริงอายุเท่าไหร่ แม้กระทั่ง


อาจไม่มีตัวตนอยู่จริงก็ได้ เช่นเดียวกับเอมมานูเอล โกลด์สตีนอาจไม่มีอยู่จริง
เพราะข้อมูลทั้งหมดที่ประชาชนรู้มาจากการสร้างของรัฐเท่านั้น บทบาทของทั้ง
สองคนในนิยายเป็นสัญลักษณ์มากกว่า

ลัทธิบูชาตัวบุคคลในโลกความจริง มีทั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เบนิโต มุสโสลินี ฟ


รานซิสโก ฟรานโก หรืออาจจะเป็นโจเซฟ สตาลิน ผู้นำลัทธิมาร์กซิสต์มา
ดัดแปลงเพื่อผลประโยชน์ในการปกครองในแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ โดย
เฉพาะบทบาทของพี่ใหญ่และเอมมานูเอล โกลด์สตีนก็คล้ายกับโจเซฟ สตาลิ
นกับเลออน ทรอตสกี

ความเชื่อลวง (Pseudophilosophy)
ความสำเร็จของพรรคอิงซ็อคเกิดจากทำให้ประชาชนมีความเชื่อแบบผิด ๆ
อย่างคำขวัญของพรรคคือ สงครามคือสันติภาพ เสรีภาพคือการเป็นทาส ความ
ไม่รู้คือพลัง ด้วยเหตุนี้ชนชั้นแรงงานจึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งจอภาพในบ้าน
เหมือนสมาชิกพรรควงนอก เพราะพรรคล้างสมองเบ็ดเสร็จ แต่ก็ยังมีสายลับ
คอยแทรกซึมเพื่อกำกับอีกชั้นหนึ่ง

การสร้างความเชื่อลวง ต้องสร้างความจริงลวงขึ้นมา และเป็นตัวอย่างอันดีของ


คำว่า ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์ เพราะพวกเขาจะแก้ไขประวัติศาสตร์ รวม
ทั้งสร้างหลักฐานขึ้นมาด้วยความเชื่อมั่นว่า ใครที่ควบคุมอดีตได้ก็จะควบคุม
ปัจจุบันและอนาคตได้ อย่างเช่นวินสตัน สมิธ ตัวเอกของเรื่องทำงานอยู่ใน
กระทรวงความจริง มีหน้าที่เขียนประวัติศาสตร์และสร้างหลักฐานเพื่อสนับสนุน
ความจริงตามหน้าที่หลักของกระทรวงความจริงคือจัดการข่าวสารทุกรูปแบบให้
ประชาชนรับรู้และเชื่อในสิ่งที่ผู้นำพรรคอยากให้รู้

การสร้างความเชื่อลวงแบบนี้ขึ้นมาได้ต้องควบคุมการรับรู้ทุกวิถีทาง ซึ่งทำได้
ยากในปัจจุบันที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกที่ แต่ก็มีเช่นประเทศจีนจำกัดการรับรู้ด้วย
วิธีการหลากหลาย หรือเกาหลีเหนือที่ควบคุมทุกสื่อ หรือแม้แต่ประเด็นซิงเกิล
เกตเวย์ที่เคยพูดถึงในประเทศไทย

ความคิดสองชั้น (Double Think)


เครื่องมือหนึ่งที่พรรคอิงซ็อคใช้คือ “ความคิดสองชั้น” (Double Think) ซึ่งเป็น
หัวใจสำคัญของพรรคอินซ็อค เพราะเป็นเครื่องมือควบคุมความเชื่อที่ขัดแย้งใน
ใจของคนให้ยอมรับความหมายทั้งสองทาง คือเชื่ออย่างจริงใจเต็มใจทั้งที่รู้ว่า
เป็นเท็จ หรือเชื่อในสิ่งนั้นโดยไม่ไตร่ตรอง เช่นเชื่อว่าแม่ชีปัดระเบิดปรมาณูที่
หย่อนลงกรุงเทพไปตกที่ฮิโรชิมาหรือนางาซากิ ทั้งที่ความจริงคือไม่มีแนวโน้ม
จะเอาระเบิดปรมาณูมาทิ้งกรุงเทพเพราะไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์สำคัญแต่อย่างใด

ด้วยวิธีนี้นี้เหมือนฝังความทรงจำลงในหัวเลยว่าจะให้รับรู้เรื่องใดอย่างไร โดย
ใช้เทคนิคเล่นกับความจริง และเป็นการทำให้ประชาชนไม่เชื่อความจริง (หรือ
คิดว่าความจริงคือเรื่องหลอกลวง) หันมาเคารพการนำของพรรคอย่างหมด
หัวใจ ดังที่บอกไว้ในนิยายว่า In the end the Party would announce that
two and two made ^ve, and you would have to believe it. ท้ายที่สุดถ้า
พรรคประกาศว่าสองบวกสองเท่ากับห้าแล้ว คุณก็จะเชื่ออย่างนั้น

ภาษาใหม่ (Newspeak)
การสร้างความจริงลวง ต้องควบคุมความคิดและเครื่องมือสำคัญอีกอย่างคือ
ภาษา โดยพรรคอินซ็อคได้สร้างภาษาใหม่ หรือ Newspeak ขึ้นมาแทน ภาษา
เก่า หรือ Oldspeak ซึ่งหมายถึงภาษาอังกฤษ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือจากชื่อพรรค
English Socialism กลายเป็น Ingsoc หรือ

· Ministry of Love กลายเป็น miniluv

· Ministry of Peace กลายเป็น minipax

· Ministry of Truth กลายเป็น minitrue

· Ministry of Plenty กลายเป็น miniplenty

แต่ภาษาใหม่ไม่ได้มีแค่ใช้แทนคำเดิมหรือใช้เป็นสื่อกลางการสื่อสาร แต่ใช้เป็น
เครื่องมือกำหนดความคิดประชาชน ให้คิดน้อยลงจะได้ปกครองง่ายขึ้น

ภาษาใหม่เปลี่ยนโครงสร้างไวยากรณ์ทั้งหมดและให้เหลือคำศัพท์น้อยลง คำที่
ใช้แทนกันได้จะยุบให้เหลือเพียง ๑ เดียวโดยไม่สนใจว่าเป็นคำนามหรือกริยา
เช่น เช่นจะไม่ใช้ Thought ให้ใช้ Think เช่นในนิยายใช้คำว่า Crimethink แต่
ตามหลักภาษาจะต้องใช้ Thoughtcrime หรือ Good ถ้าเป็นคำตรงข้ามให้ใช้
Ungood แทนที่จะเป็น Bad ขณะเดียวกัน บางคำก็เลือกเก็บคำที่มีความหมาย
เชิงลบเอาไว้ เช่น ไม่เย็น (Uncold) ใช้แทน อุ่น (Warm) เพราะคำว่าเย็นจะให้
ภาพทางลบ คำในกลุ่มนี้จึงใช้ Uncold (ไม่เย็น) Cold (เย็น) Pluscold (หนาว)
และ Doublepluscold (หนาวมาก)

โดยเชื่อว่ายิ่งศัพท์น้อยลงเท่าไหร่จะทำให้คนคิดน้อยลงและยิ่งโง่มากขึ้น
สามารถควบคุมได้ง่าย เขียนถึงตรงนี้แล้วนึกถึงสมัยปฏิวัฒนธรรมของจีนช่วง
ปีค.ศ. ๑๙๖๖ เป็นต้นมาจนเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิต และก็นึกถึงสมัย จอมพล ป.
พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วสั่งปรับปรุงวัฒนธรรมและภาษาไทย

1984 โลกไม่พึงประสงค์
นิยาย 1984 สร้างโลกที่น่ารังเกียจและหวาดกลัวภายใต้ระบบเผด็จการสมบูรณ์
แบบ โดยเน้นล้างสมองสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง และท้าย
สุดสร้างบรรยากาศความกลัวเพื่อให้ปกครองง่าย มีตำรวจความคิดตามจับคน
ที่คิดออกนอกลู่นอกทาง และไม่มีใครไว้วางใจเพราะคนที่คุยด้วยอาจะเป็น
สายลับของพรรค

การเอ่ยอ้างความเท่าเทียมซึ่งก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเท่าเทียม แม้จะบอกว่าทุก
คนจะเท่าเทียมด้วยความรักและเมตตา แต่ความจริงโอเชียเนียมีชนชั้นสาม
ระดับ คือ “สมาชิกพรรคระดับวงใน” (Inner Party) ที่เป็นระดับผู้นำ “สมาชิก
พรรคระดับวงนอก” (Outer Party) เป็นเจ้าหน้าที่คอยรับใช้และทำตาม “คนใน
พรรค” สั่ง และสุดท้ายคือประชากร ๘๕ เปอร์เซ็นต์ในประเทศเป็นแค่โพรล
(Proles หรือ Proletariat แปลว่าชนชั้นแรงงานก็ได้ ประชาชนธรรมดาสามัญ
ก็ได้)

น่าสังเกตว่าพี่ใหญ่ไม่ได้สนใจเฝ้ามองชนชั้นแรงงานเข้มงวดเต็มร้อย อย่างที่เฝ้า
ดูสมาชิกวงนอกและวงใจพรรคเพราะมองว่าคนกลุ่มนี้มีหน้าที่แค่ทำงานและ
สืบพันธุ์ แต่พรรคให้ความหวังและความฝันว่าชนชั้นแรงงานเหล่านี้มีอิสระเสรี
พรรคใช้เครื่องจักรผลิตความบันเทิงหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นเพลง นิยาย
และสื่ออื่น ๆ เพื่อหลอกให้ชนชั้นแรงงานเหล่านี้เพ้อฝันไปวันวัน ใช้ชีวิตหมกมุ่น
เรื่องทางเพศ เป็นผลงานอะไรก็ได้ที่จะไม่มีเนื้อหาอะไรให้คนอ่านสะดุดใจคิด
เรื่องต่อต้านพรรค ปล่อยให้ชนชั้นแรงงานเพ้อฝันว่าจะรวยด้วยสลากกินแบ่ง มี
การซื้อขายสินค้าเสรีที่ความจริงแล้วไม่เสรีจริงเพราะระบบเศรษฐกิจและผลิตผล
ทุกประการล้วนอยู่ในมือพรรค ขณะเดียวกันสายลับของพรรคจะแทรกซึมคอย
ปล่อยข่าวลือ และกำจัดคนที่มีแนวโน้มจะแปลกแยกต่อต้านพรรค

If there is hope,’ wrote Winston, ‘it lies in the proles. “ถ้ามันมียังมีความ


หวัง” วินสตันเขียน “มันอยู่กับชนชั้นแรงงาน” If there was hope, it MUST lie
in the proles “ถ้ามันยังมีความหวังอยู่ มันต้องอยู่ในชนชนแรงงาน” วินสตัน
เขียนเช่นนี้เพราะเขารู้สึกว่าชนชั้นแรงงานเหล่านี้ยังมีอารมณ์และชีวิตเหมือน
มนุษย์ทั่วไปมากกว่าโดนควบคุมล้างสมองกว่าอีกสองชนชั้น

ท้ายที่สุด วินสตันก็พ่ายแพ้ เขาโดนล้างสมองด้วยวิธีทารุณในห้องหมายเลข


๑๐๑ ห้องที่น่าหวาดกลัวจนเขาต้องตะโกนออกมาว่า “ไปทำกับจูเลีย อย่าทำผม
ผมไม่สนใจว่าคุณจะทำอะไรกับเธอบ้าง ลอกผิวหน้าเธอออกหรือว่าสับกระดูก
เธอ แต่อย่าทำกับผม ทำกับจูเลีย อย่างทำผม”

ช่างเป็นวีรบุรุษในอุดมคติที่โบ้ยไปให้หญิงคนรัก หมดกันผู้หาญกล้า และ


สุดท้ายเขาก็กลายเป็นพลเมืองธรรมดาสามัญที่เคารพรักเชิดชูพี่ใหญ่ไม่ต่าง
จากคนอื่น

You might also like